อุปสมานุสติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 3 พฤษภาคม 2010.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อุปสมานุสติ
    หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย



    อุปสมานุสติ คือ ให้ระลึกถึงความสงบ ได้แก่ พระนิพพาน บางคนอาจจะคิดว่าสูงเหลือเกินถึงพระนิพพานโน่น ความสงบของท่านไม่ได้แสดงไว้ จึงไม่ทราบว่าสงบละเอียดแค่ไหนจึงถึงพระนิพพาน แต่ท่านบอกว่าให้ระลึกถึงความสงบได้แก่พระนิพพาน ดังนี้
    เราทั้งหลายพากันทำความสงบ ก็รู้สึกว่ามันวางจากสิ่งทั้งปวง ถ้าท่านหมายเอาตอนนี้ เราก็ถึงซึ่งพระนิพพานแล้วล่ะ อย่างไรก็ดี จะถึงหรือไม่ถึงก็แล้วแต่ ขอให้ระลึกถึงความสงบ พอระลึกถึงความสงบ ใจมันก็แน่วแน่แล้ว นั่นแหละท่านให้ระลึกถึงความสงบเช่นนั้นแหละ ถ้าระลึกถึงไม่สงบมันก็วุ่นวาย
    เมื่อเราสงบแล้วแต่ไม่สงบมากถึงของท่าน เราได้สัมผัสพระนิพพานของท่านสักนิดเดียวก็พอใจแล้ว เอาเท่านั้นก่อน เพียงแต่สงบจากอารมณ์ สงบจากนิวรณ์ ๕ ได้ชั่วครั้งชั่วคราว การสงบจากนิวรณ์มันยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงอีก อนุสัยมันมีเยอะแยะเหลือเกินที่เราสงบนั้นเราไม่ทราบว่าเราสงบได้เพียงแค่ไหน แต่ก็ยังดี ท่านยังยกให้เรียกว่า สงบ
    ระลึกเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ท่านว่าอย่างนั้น พระนิพพานคงจะสงบอย่างนี้กระมัง คือ ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลงใหลขณะนั้น ไม่ใช่ขณะอื่น ในขณะที่สงบจากโลภ โกรธ หลง จึงมีความสงบเยือกเย็นไปเสียทุกอย่าง ท่านคงจะหมายเอาความสงบนั้นว่าเป็นพระนิพพาน ท่านจึงให้ระลึกเอาความสงบเป็นอารมณ์ พระนิพพานนั้นยากจะตัดสินว่าอะไรเป็นอะไร แต่เราก็เชื่อความสงบของเราว่าเราทำความสงบได้เพียงแค่นี้ แม้จะไม่ถึงความสงบของท่าน เราก็คงได้เฉียด ๆ พระนิพพาน หากสงบอยู่ได้นานก็ได้พระนิพพานนาน สงบประเดี๋ยวเดียวก็ได้พระนิพพานประเดี๋ยวเดียว พระนิพพานของท่านสงบเยือกเย็นเอาจริงๆ จัง ๆ จะคิดนึกก็เป็นเรื่องพระนิพพาน ท่านไม่คิดนึกส่งส่ายไปเพื่อกิเลสหากคิดนึกเป็นไปเพื่อความสงบสุขเท่านั้น
    ธรรมดาจิตมันย่อมคิดนึกอยู่เสมอ แต่สติคอยควบคุมจิตใจให้เห็นจิตอยู่ทุกขณะ จิตก็ไม่ออกไปนอกขอบเขตอยู่ในบังคับของท่าน มันไม่เป็นเหตุให้เกิดกิเลสบาปกรรม เป็นแต่กิริยาคิดเฉย ๆ พวกเราควรให้เป็นอย่างท่านบ้าง ถึงแม้พวกเราเพียงแต่เกิดความสงบเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เอาเสียก่อน และจงรักษาความสงบนั้นไว้ให้มั่งคงถาวร แล้วเราจะเห็นของเราเอง ถ้าเราสงบได้นานก็ได้ความสงบสุขมาก คือได้พระนิพพานมากนั่นเอง ถ้าสงบได้ชั่วครู่ก็ได้พระนิพพานครู่หนึ่ง ถ้าไม่สงบเลย อันนั้นเป็นรกแล้ว นรกกับพระนิพพานมันตรงกันข้ามกัน มันเป็นเรื่องต่อสู้กันอยู่อย่างนั้น
    แต่ไหนแต่ไรมา คนเราเกิดมาแล้วมีแต่วุ่นวายสารพัดอย่าง ปรุงแต่งต่าง ๆ นานานับไม่ถ้วน เมื่อเรามาทำความสงบแม้ประเดี๋ยวเดียว ก็รู้สึกว่าเย็นใจสบายใจเราก็ควรรักษาความเย็นอันนั้น ความสบายอันนั้นไว้ให้มั่นคงถาวรสืบไป จึงจะเป็นไปเพื่อความสุข ความสุขย่อมเป็นความปรารถนาของคนทั่วไป เมื่อได้ความสุขนั่นมาแล้วก็จงรักษาความสุขนั้นไว้ ของหาได้ง่ายแต่รักษาได้ยาก ความสุขนั้น ถ้าผู้จะได้ ทำประเดี่ยวประด๋าวก็ได้ ถ้าผู้ไม่ได้ ก็ไม่ได้เหมือนกันแหละ ครั้นทำได้แล้วที่จะรักษาไว้ให้ได้นานนั้นยากที่สุด เพราะอะไร เพราะกิริยาอาการทุกอย่างของเรามันกระทบกระเทือนอยู่ตลอดเวลาเป็นต้นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน การพูด การคุย การกิน สารพัดทุกอย่าง เป็นเรื่องกระทบอายตนะทุกสิ่งทุกประการ จิตมันก็ส่งไปตามอายตนะ จึงว่ารักษาได้ยาก
    ถ้าหากผู้ทำได้ชำนิชำนาญคล่องแคล่วเสียแล้ว ท่านรู้เท่ารู้เรื่อง ท่านตามรู้ตามเห็นทุกสิ่งทุกประการ มันจะมาแบบไหนก็ตามรู้เรื่องของมัน จิตส่งไปก็เป็นธรรมะจะคิดนึกก็เป็นธรรมะ มันปรุงมันแต่งก็เป็นธรรมะ ถ้ารู้เท่ารู้เรื่องมันเป็นธรรมะทั้งหมดผู้ปฏิบัติจะเห็นความดีความชั่วของตนตรงนั้นแหละ มันเป็นธรรมหรือมันเป็นโลกก็เห็นมันตรงนั้นแหละ ถ้าคิดเรื่องโลกมันก็เป็นเรื่องโลกทั้งหมด ไม่มีสติควบคุมดูแลรักษาถ้าหากมันเป็นเรื่องธรรมะแล้ว ตามรู้เหตุรู้ผลมันตลอดเวลา จะให้อยู่มันก็อยู่ ถึงคิดมันก็ไม่เกินขอบเขต จะดึงเอามาให้นิ่งสงบเวลาใดก็ได้ เปรียบเหมือนกับวัวความที่เขาเลี้ยงนั่นแหละ เขาเลี้ยงไว้ในทุ่งกว้าง ๆ ก็ตามเถิด ผู้เลี้ยงเขาขึ้นต้นไม้มองดูอยู่ทุกตัว ตัวไหนมันจะไปไหนก็เห็นอยู่ตอนเย็นก็ต้อนมาเข้าคอกแล้วก็ปิดประตูคอก เจ้าของนอนสบายไม่ต้องรักษา
    นี่แหละ อุปสมานุสติ ให้ระลึกถึงความสงบได้แก่พระนิพพานเป็นอารมณ์ อารมณ์ของท่านนั้นเป็นอย่างไรก็ตามเถิด ของเราเอาเพียงแค่นี้เสียก่อน ถ้าหากว่าเป็นถึงของท่านแล้วมันจะทราบได้เอง จะไปบอกกันสอนกันก็ไม่ได้ จะไปตกต่างก็ไม่ได้ ใครเห็นใครรู้ด้วยตนเอง จะไปคิดนึกตามปริยัติตามตำรามันไม่ตรงกับความเป็นจริงหรอก เมื่อปฏิบัติเป็นไปแล้ว ไปเทียบไปวัดกับปริยัติมันจึงถูกต้องไม่ผิดสักนิดเดียว
    คนปฏิบัติทั้งหลายอยากได้ขั้นอยากได้ภูมิหนักหนาอยากได้โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี หลับตาสักประเดี๋ยวเดียวก็แลเห็นแล้ว ครั้นออกจากสมาธินั้นมากิเลสยังท่วมตัวอยู่ อะไร ๆ ทั้งหมดยังมีอยู่เท่าเดิมส่วนของท่านนั้นเมื่อเห็นแล้ว ท่านไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายก็หมดไป ท่านกล่าวไว้ว่าโสดาบันคือผู้ตกกระแสพระนิพพาน พอมองเห็นริบหรี่แต่ไม่ถึงพระนิพพาน สกิทาคามีก็เห็นแจ้งเข้าไป เห็นใกล้เข้าไปอนาคามีก็เห็นใกล้เข้าไปอีก เห็นแจ้งชัดไปมากกว่านั้นต่อเมื่อถึงพระอรหันต์ จึงเห็นแจ้งชัดขึ้นมาตามธรรมดาความเป็นจริงว่า ธรรมะที่ทำให้เป็นพระอรหันต์อย่างนี้โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่นและคำบอกเล่าของใคร ๆ ทั้งหมดแต่ว่าไปตรงกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการ
    คนโดยส่วนมากอยากได้ พระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์ โดยนึกคิดเอาว่าถ้าละกิเลสอย่างนั้น ๆ เป็นพระโสดาบัน ละอย่างนี้ ๆ เป็นพระสกิทาคามี เป็นพระอรหันต์ อยากได้อย่างท่าน แต่เราไม่ละกิเลสอย่างท่าน เอากิเลสมาอมไว้แล้วกล่าวถึงท่านมันจะถึงท่านได้อย่างไร แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ละความอยาก สมกับโบราณท่านว่าไว้ ผู้อยากย่อมไม่ได้กิน ผู้กินอยู่ย่อมไม่อยาก

    จาก หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่44 กรกฎาคม 2547
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    สอุปาทิเสส นิพพาน คือ นิพพานที่ยังเหลืออุปาทาน เพราะอุปาทานนั้นเป็นเป็นไปตามขันธ์และไม่ได้จับยึดไว้ ดังนั้นการมีก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่การไม่คล้อยตามไปไม่หลงยึดนั้นเป็นเรื่องไม่ธรรมดา มีแต่ผู้หมดซึ่งกิเลสแล้วเท่านั้น แต่ความรู้คือ ความเจ็บปวด ป่วย ไข้ หิว อิ่ม อันมาจากกายหรือขันธ์อันเรียกว่า อุปาทาน นั้นยังไงก็ยังต้องมี พอเป็นแบบนี้เหมือนกับว่า อุปาทาน อันหมายถึงความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์นั้นยังเกิดอยู่แต่อันที่จริง ไม่ใช่อุปาทานเพราะมีกิเลส แต่เป็นอุปาทานเพราะมีขันธ์เพียงแต่ไม่จับยึดไว้เท่านั้น ผมเห็นว่าเป็นไปได้ทางเดียว สำหรับเรื่องนี้ จึงเห็นว่า มีเพียงพระอรหันต์เท่านั้น พระอรหันต์ที่ยังไม่ดับขันธ์ปริพนิพพานเท่านั้น ที่จะกล่าวว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ได้ครับ
     
  3. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อุปสมานุสติ ไม่ได้ทำได้เฉพาะพระอรหัน
    กรรมฐานกองนี้สามารถทำได้ทั้งปุถุชนและอริยะชน
    ปุถุชนย่อมรู้เห็นนิพพานด้วยสัญญาอาการแต่สามารถละลึกเอาอาการนั้นเป็นอารมได้ เพราะสมถะกรรมฐานคือการเพ่งเพ่งในอารมพระนิพพาน เพ่งในความสิ้นไปของราคะ โทสะ โมหะ ความไม่ยึดมั่นถือมั่น
    อริยะชน มี 4 เหล่าย่อมรู้เห้นนิพพานตามกำลังของตน ย่อมละลึกเอานิพพานเป็นอารมได้ด้วยผลจากการปติบัติ โดยปกติจะคลองใจอยู่ในกรรมฐานกองนี้เป็นปกติตามแต่กำลังของแต่ละท่าน
     
  4. arrin123

    arrin123 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    325
    ค่าพลัง:
    +1,759
    อนุโมทนาค่ะ

    _________________________________
    "สุขใดเหมือนแม้นการไม่เกิดไม่มี" "จะไม่ละความเพียรถ้ายังไม่ถึงซึ่งนิพพาน"
    "สุขใดในโลกล้วนไม่ยั่งยืน ผู้ใดปล่อยวางพิจารณาในความทุกข์เห็นโทษของความสุขผู้นั้นชื่อได้ว่าพบความสุขอันยิ่งใหญ่"<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ข้อนี้เห็นด้วยครับ
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ตนเองเท่านั้นที่จะรู้ได้ว่าสิ่งที่ตนรู้นั้นเรียกว่า รู้ตามความเป็นจริงในสิ่งที่ตนเองมี หรือรู้ตามความเป็นจริงในสิ่งที่ตนเองไม่มี ข้อนี้พึงระลึกไว้เสมอครับ ผมแนะนำได้เท่านี้เพราะผมเองก็ไม่ได้พิจารณาอะไรแบบนั้น แต่ก็เห็นว่าที่กล่าวมานั้นถูกต้องไม่ผิดเพี้ยนไปครับ จึงมีข้อระลึกเอาไว้เตือนใจตนเองเพียงเท่านี้ครับ เมื่อใดเห็นว่านั่นคือธรรมอันพระศาสดาตรัสไว้ดีแล้วเมื่อนั้นก็ไม่ต้องสงสัย ไม่มีถอดใจ ไม่มีกังวล ไม่มีเร็วไม่มีช้า ไม่อยาก หรือ อยาก หรือ ไม่มี ตัณหาความทะยานอยากมารุมเร้านั่นเบื้องสูง แต่เบื้องต้นอย่างน้อยสิ่งที่ทำให้เป็นแบบนั้นก็น้อยลงเพราะผลของอุปมานุสติ นั่นก็หมายถึง เมื่อสงบแล้วพิจารณาถอดถอนมันก็จะเป็นเช่นเดียวกับที่อุปสมากำหนดขึ้นมา หากอุปสมาที่กำหนดขึ้นมารับเอาเพียงอารมณ์ได้ความสงบแต่ไม่พิจารณาถอดถอน ก็จะไม่ได้อะไรเลย ได้แค่รู้เหมือนที่หลวงปู่เทสก์บอกไว้นั่นเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    แต่เบื้องต้นอย่างน้อยสิ่งที่ทำให้เป็นแบบนั้นก็น้อยลงเพราะผลของอุปมานุสติ นั่นก็หมายถึง เมื่อสงบแล้วพิจารณาถอดถอนมันก็จะเป็นเช่นเดียวกับอุปสมาที่กำหนดขึ้นมา หากอุปสมาที่กำหนดขึ้นมารับเอาเพียงอารมณ์ได้ความสงบแต่ไม่พิจารณาถอดถอนหรือไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญถึงเหตุผลแห่งอุปสมาที่กำหนดนั้น ก็จะไม่ได้อะไรเลย
    อนุโมทนาเช่นกันครับ ก็ได้แต่หวังว่าปฏิบัติในลักษณะเดียวกันนะครับ
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สิ่งที่เราควรมีคือ สติ
    เมื่อมีสติย่อมละลึกในกาย ใน ใจ ตนเองย่อมมีความเห็นในตนเอง
    หากสิ่งที่มีเป็นเสาหลักไม่ใช่สติแต่เป็น กิเลส
    กิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ตันหา มีแต่ควมส่งออกไปเล่นไปย่อมเห็น แต่สิ่งที่ตนพอใจไม่พอใจและความหลงไม่เข้าใจ เพราะมีกิเลสเป็นหลักจึงไม่อาจเห็นตรงใด้เพราะมองผุ้อื่นไม่ได้มองใจตน เมื่อกระทบด้วยความพอใจก้หลงไปด้วยไม่รู้ กระทบด้วยความไม่พอใจก้หลงไปด้วยความไม่รู้ ไม่หยุดรู้ลงที่กายใจตนเอง

    สิ่งที่ควรรู้คือ ไตรลักษณ์
    รู้สภาวะธรรมตามเป้นจริงว่ามัน ไม่เที่ยง เป็นทุข และเป็นอนัตตา
    เพื่อละคลายความยึดมั่นถือมั่น
    สิ่งที่เรามีอยู่และไม่รุ้คือ โมหะ ไม่รู้ใน ราคะ และ ดทสะที่มี ไม่รุ้ในสภาวธรรมที่เป็นจึงหลงเข้าไปยึดเป็นอัตตา

    สิ่งที่ทำได้เหมือนกันคือ มรรค
    มรรคคือทางดับทุข อันมี ศิล สมาทิ และปัญญา สิ่งเหล่านี้กระทำเหมือนกันได้ให้ผลเหมือนกัน
    หากกระทำสิ่งที่ไม่ใช่มรรค แต่เป็นกระทำตาม ตันหา และ กิเลส ย่อมให้ผลเป็นทุข ไม่ใช่นิโรธอันเป็นทางดับทุข

    ขอให้เจริญในธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อย่ากังวลในสิ่งที่ตนเองไม่แจ้งชัดนั้นดีที่สุดครับ เอาคำเดียวเลย สติ กับกิเลส ผมไม่อยากกล่าวมากเพราะผมเองก็รู้ว่าอะไรเป็นอะไรอยู่ สติ นั้นต่างกับกิเลสจมฟ้ากับเหวเลยก็ว่าได้ เมื่อมีสติย่อมไม่มีกิเลส และคำว่าสติตัวเดียวที่ผมเน้นไว้กับน้องอัลมานานแล้วว่า มีเพียงเท่านั้น แม้บางคนจะว่าสติเป็นเจตสิกชนิดหนึ่งก็ไม่ผิดเพราะ สติเป็นกุศลเจตสิก ไม่มีในอกุศลเจตสิก เมื่อไม่มีในอกุศลเจตสิกย่อม ไม่ใช่ ฐานะหากกล่าวว่า สติเป็นกิเลส และกิเลสเป็นสติ เพียงแต่ การจะมีสติจนถึงขนาดพิจารณาถอดถอนกิเลสได้จริงๆไม่ใช่เพียงความนึกคิดนั้น เป็นเรื่องที่ตนเองนั่นแหละรู้ดีกว่าใคร เมื่อยังมีความยึดมั่นถือมั่นว่า ตนดีกว่าหรือเลวกว่าใครอยู่ ก็พิจารณาได้ว่าอะไรคืออะไร ควรพิจารณาเอาเองครับ อย่าไปถึงความไม่รู้หรืออวิชชา เพราะผมไม่เห็นว่า สติปัญญาเพียงเท่านี้จะสามารถดับอวิชชาได้ ส่วนเรื่องมรรค หรือ อริยะสัจย์ นั้นผมถามจริงๆ ไม่เอะใจเลยหรือครับน้องอัล ส่วนของอัลนั้นเป็นการเห็นอริยะสัจแล้วจึงเห็นมรรค หรือว่าเห็นมรรคแล้วจึงเห็นอริยสัจย์ เพราะไม่ว่าจะเห็นมาทางไหนสิ่งที่ได้ก็เป็นเหมือนกัน ดังที่กล่าวไว้ ต่อเนื่องจากเหตุแห่ง อุปสมานุสติ นั่นแหละ คือ กิเลสตัณหาต้องเบาบางลง ไม่เห็นว่ามีสิ่งใดกดดันหรือเห็นว่าคนอื่นเป็นเช่นไร เช่น ตอนนี้ปัจจุบันนี้ผมเองก็ไม่เห็นว่า สิ่งที่เราถามตอบกันนี้เป็นไปเพราะกิเลสแต่อย่างใดเป็นแต่การตอบไปตามความเข้าใจ หากได้จากการพิจารณาด้วยสติก็ย่อมเห็นว่านั้นเป็นเรื่องสมควรพิจารณาได้ด้วยตนเอง จริงไหมครับ เพราะความจริงไม่ชอบตอบใครมากๆหรอกครับ เว้นเสียว่ามันสำคัญจริงๆ ผมไม่มีบารมีพอจะสอนใครได้หรอกครับ เพียงแค่กล่าวไปตามความเข้าใจที่ออกมาจากใจเท่านั้นครับ อย่าได้ถือโทษให้เกิดเป็นอกุศลกรรมต่อกันเลยครับ
    ปล.อาจมีส่วนที่ผิดอยู่นะครับ ส่วนนั้นคือ ระหว่างการเห็นมรรคก่อนการเห็นไตรลักษณ์ หรือการเห็นไตรลักษณ์ ก่อนการเห็นมรรค สุดท้ายก็นำไปสู่อริยะสัจย์๔ ซึ่งเป็นเหตุให้กิเลสตัณหาอันเป็นกองทุกข์ เบาบางลง และดับลงในที่สุด อันเป็นเบื้องสูงครับ ขออภัยด้วยครับที่กล่าวผิดไปจากความคิดความรู้สึกของตนอย่งแท้จริง ในส่วนนี้ในตอนต้น
    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,463
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาครับพี่เก่ง * *
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...