อุเบกขา’สติมา ปัญญาเกิด’ โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 16 มิถุนายน 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b882e0b8b2e0b8aae0b895e0b8b4e0b8a1e0b8b2-e0b89be0b8b1e0b88de0b88de0b8b2e0b980e0b881e0b8b4e0b894.jpg

    หยุดพักยาวช่วงวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสฟังเทปของท่านสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ซึ่งท่านได้แสดงธรรมกถาให้ญาติโยมที่มาวัดฟัง ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์คุณค่าควรแก่การเผยแพร่ให้เพื่อนๆ แฟนมติชนได้รับทราบโดยทั่วกัน

    วันปาฏิโมกข์ เรียกภาษาพระว่า “ธรรมอุโบสถ” ชาวบ้านพูดกันว่ามาฟังธรรมปาฏิโมกข์ เป็นภาษาง่ายๆ เกร็ดความรู้ธรรมต่อท้ายจากฟังธรรมปาฏิโมกข์

    วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า คือ วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์ แต่ก่อนมีวันเดียวที่สำคัญในพระพุทธศาสนา “วันวิสาขบูชา” เพราะฉะนั้นจึงถือวันนี้เป็นวันสำคัญที่สุด

    อนุโมทนาที่ญาติโยมที่ได้มาร่วมในการเวียนเทียน เริ่มทั้งหมดก็เป็นการวิธีบูชา ที่มาเริ่มต้นด้วย 1.“กำลังศรัทธา” เรียกว่า “ศรัทธาพลัง” หลังจากมีกำลังศรัทธา ศรัทธาพลัง ก็ทำให้เกิด 2.“วิริยะพลัง” กำลังความเพียร เช่น ต้องออกเดินทางมาใกล้บ้าง ไกลบ้าง ทำโน่นทำนี่ก็ใช้เรี่ยวแรงกำลัง มีความเพียรจึงทำได้ เมื่อเริ่มต้นมีพลังแล้ว ตามหลักธรรมก็ควรมีให้ครบ เพราะฉะนั้น ถ้าได้สองอย่างที่กล่าวมา ก็ควรเจริญภาวนาพัฒนาตนเอง พลังเราเรียกง่ายๆ ว่า พละ คืออันเดียวกัน 3.สติพลัง กำลังสติ เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าไม่มีสติ วิริยะจะพาหลงมาพลาดได้ ได้แต่วิ่งเต้นจะทำโน่นทำนี่ไม่มีสติ จับจุดให้ถูกคอยกันไว้ไม่ให้พลาดและจับให้อยู่ในทางให้มั่น สติ
    จะเป็นตัวที่คุมไว้จะเรียกว่าเป็นหางเสือก็ได้ ทำให้เราได้ทำตรงเรื่องตรงจุดและสำเร็จด้วย ต่อจากสติ ก็ต้องมี 4.สมาธิพลัง กำลังของสมาธิ จิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ และสุดท้ายที่จะทำให้ทุกอย่างสำเร็จก็คือ 5.ปัญญาพลัง กำลังปัญญา รวมแล้ว 5 พละ ถ้าทำได้ครบจะทำให้ตรัสรู้ได้เลย พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า พละ 5 อยู่ในชุดธรรมบทใหญ่ที่นำไปสู่การตรัสรู้ เรียกว่า “โพธิปักขิยธรรม” 37 ประการ

    การดำเนินชีวิตในการปฏิบัติธรรม ต้องอาศัยองค์ประกอบตั้งแต่ร่างกาย ต้องรู้จักปฏิบัติต่อร่างกาย ให้ดำเนินไปให้ถูกต้อง ในการดำเนินชีวิตในด้านร่างกาย ที่มาด้วยวิริยะความเพียร ก็ต้องเดินบ้าง ขึ้นรถยนต์บ้าง มานั่ง มาเดิน มายืน เรียกว่า วิริยะความเพียร ชีวิตของเราอยู่ได้ด้วย อิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน แต่ได้เคยบอกญาติโยมแล้วว่าภาษาพระเรียกอิริยาบถ 4 ว่า “จตุจักร” แปลว่า จักร 4 หรือ 4 ล้อ จักแปลว่า ล้อ จตุ แปลว่า สี่ 4 ล้อของมนุษย์ ก็มี ยืน เดิน นั่ง นอน พระพุทธเจ้าเรียกเป็นล้อของเรา ทางพระมีคำที่พูดกันมาเป็นเหมือนประเพณี ว่าร่างกายของเราเหมือนเป็นเครื่องยนต์ เพราะฉะนั้นถ้าจะใช้คำพูดคำหนึ่งที่ติดอยู่ในคัมภีร์ว่า “สรีระยนต์” แปลว่า เครื่องยนต์ คือ สรีระ หรือร่างกาย สรีระยนต์ก็จะมี 1.จตุจักรกัง มี 4 ล้อ จตุจักรเห็นชัดในภาษาบาลี แล้วมาเป็นชื่อสวนในจตุจักร เป็นที่บริหารอิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าอิริยาบถเป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องบริหารพอดีให้สมดุลให้พร้อม อย่าให้ขาดจะทำให้สุขภาพของเราเสีย เพราะฉะนั้นชีวิตด้านร่างกายท่านไม่มองข้าม ที่เรามาทำบุญทำทาน เราก็ต้องใช้จตุจักรนี้ด้วย คือ 4 ล้อ พาโยมมา 2.นวัตร ธวารัง มีทวาร 9 มี 9 ประตู มี ตา หู จมูก ปาก ทวารหนัก ทวารเบา มนุษย์เราอยู่ได้ด้วย จักร 4 มี 4 ล้อ กับประตูทวาร 9 ชีวิตของเราดำเนินไป

    วันหนึ่งมีคนมาเฝ้าพระพุทธเจ้าพูดถามขึ้นมา จตุจักรกัง นวัตรธวารัง ปุญนัง โลเภตะสังยุตัง ปังกะชาตัง มหาวีระถังญาตราภวิสติ : บอกว่าสรีระยนต์ เครื่องยนต์ที่เป็นร่างกายมี 4 ล้อ และมีประตูทวาร 9 ตอนนี้มันถูกผูกมัดรัดด้วยความโลภอยากได้นั่นอยากได้นี่เอานั่นเอานี่เต็มไปหมด มันก็เลยกลายเป็นหล่มดักตนเอง ที่นี้รถติดหล่มก็ไปไม่ได้ ก็ได้ถามญาติ จะญาตตราไปได้อย่างไร พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า เชตวานัตทิงวรัตตังจะ อิจฉาโลพันจะปาปะกัง สบูรังตันหังอัปปุยหะ เอวังญาตราภวิสติ : ตัดเงื่อนปมเชือกที่ผูกมัดทิ้งไปเสียพร้อมทั้งเจ้าตัวความอยากความโลภ แล้วถอนตัณหาพร้อมทั้งราก คือ อวิชชา เสร็จแล้วก็จะญาตตราไปได้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้

    คนเรามีปัญหามากเรื่องกิเลสที่ผูกมัดตัว ทำให้ไม่คล่อง ทำให้ดำเนินชีวิตเจริญงอกงามไม่ได้ดี แม้มาปฏิบัติธรรมถ้าถูกผูกรัดมัดอยู่ก็ทำให้ไปได้ยากไม่คล่อง จึงต้องใช้จตุจักรให้ดี คนเรามีปัญหามากจากกิเลสที่รัดตัว ต้องแก้มัดออก เปรียบเหมือนรถจะแล่นได้ต้องแก้เชือกออก สรีระยนต์มันพาชีวิตไปดีไม่ได้เพราะถูกกิเลสผูกรัดอยู่เพราะฉะนั้นต้องแก้มัดซะ รถมันจะไปดีต้องมีสารถีที่เก่ง สารถีเป็นศัพท์ที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในพุทธคุณ 9 คือ ปุริสธมฺมสารถิ : พระพุทธเจ้าเป็นสารถีฝึกมนุษย์ ฝึกคนที่ยอดเยี่ยมไม่มีใครยิ่งกว่า คือ งานที่สำคัญของพระพุทธเจ้าก็คือ ฝึกมนุษย์ ศัพท์ สารถี เป็นศัพท์ที่สำคัญมากในประเพณีโบราณ คือแต่ก่อนยุคที่มีรถเกิดขึ้นมีพาหนะ แม้ตอนนั้นมีรถ ก็ยังใช้พวกสัตว์ (ม้า) จะเห็นว่ายานพาหนะรถม้าสำคัญมาก มาเป็นรถศึกในสงครามมหาพรรณตยุติเป็นเครื่องใหญ่มากของชมพูทวีป ในดินแดนชมพูทวีปจะเห็นว่าเป็นแผ่นดินใหญ่ อินเดียเขาเรียกว่า ชมพูทวีป ก็เป็นทวีปเล็กๆ และสิ่งที่เจริญสมัยพุทธกาลจะเห็นว่าอยู่ใกล้ภูเขาหิมาลัยซึ่งอยู่ส่วนบนส่วนเหนือ มีแต่แผ่นดิน ส่วนน้ำก็มีแค่แม่น้ำที่ใหญ่ๆ สำคัญ เช่น แม่น้ำคงคา เป็นต้น ไม่ได้อยู่ใกล้ทะเล ไม่เหมือนอย่างฝั่งตะวันตก จะเห็นว่าสารถีไม่ค่อยพูด เขาจะพูดว่ากัปตัน พวกขับเรือ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน แต่ฝั่งอินเดีย สารถี จะเป็นขับรถ สารถีเป็นบุคคลสำคัญที่มีงานสำคัญ 2 อย่าง 1.ฝึกสัตว์ที่เอามาใช้เทียม โดยเฉพาะม้าที่จะมาใช้ เทียมรถที่จะพารถ 2.ความสามารถในการขับ สารถีก็คือ ผู้ที่ขับ ทำให้รถวิ่งแล่นไป ต้องมีความเชี่ยวชาญ

    สารถีนำมาเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นสารถีฝึกมนุษย์ ฝึกคนให้สำเร็จได้อย่างดี เป็นสารถีอย่างไร เช่น คาถา 1 : อุปติธัง โกธัง รัตธังพันตัง วธารเย เป็นต้น บอกว่า บุคคลใดมีความโกรธพุ่งขึ้นมาก็ระงับได้ ยังกับสามารถบังคับรถที่วิ่งแล่น และวิ่งแล่นส่ายให้กลับทรงตัวเข้าที่ได้ นี่แหละคนแบบนี้เป็นสารถีที่เก่ง เราต้องหัดตัวเองฝึกชีวิตให้ดำเนินไปได้อย่างดี เป็นสารถีที่เก่ง ลักษณะของสารถี ต้องขับรถให้ชำนาญ และพาคนไปสู่จุดหมายให้ดี

    ลักษณะของสารถีที่เก่งที่ท่านเปรียบไว้ เวลาปฏิบัติธรรมสูงๆ ถึงจุดหนึ่งถ้าจะเทียบ จิตของคนที่พัฒนาได้ดี เหมือนจิตใจของสารถีที่ขับรถอย่างเชี่ยวชาญ พารถม้าเข้าทางใช้ความเร็วกำกับได้เข้าทาง ก็จะนั่งนิ่ง ไม่มีความกังวล มีอะไรผิดพลาดนิดหน่อย สารถีที่ชำนาญที่รู้ทันและแก้ไขได้ทันเวลา

    [​IMG] [​IMG]

    “จิต” ของสารถีที่เชี่ยวชาญและเก่งกาจ เรียกว่า อุเบกขา อุเบกขาที่ฝึกจริงๆ ก็จะเหมือนจิตสารถี คือ นิ่ง สบาย มีความสุข แต่ว่างานไม่เสีย ถ้ารถหรือม้าที่ผิดปกติจะแก้ไขได้ทัน จะมีสภาพจิตที่เป็นอุเบกขา คือ 1.มีสติพร้อม 2.มีปัญญาที่รู้เจนจนครบกระบวน “สติเกิดปัญญามาพร้อม” จึงนิ่งได้

    จิตอุเบกขาลงตัวมีเหนือสมาธิให้ท่านนึกถึงเข้าสมาธิ เริ่มต้น ให้มีปราโมทย์ จิตใจร่าเริงเบิกบานปลอดโปร่ง โล่ง คล่อง ปิติ อิ่มใจ ปลื้มใจ ผ่อนคลายกายใจ ไม่มีความเครียด สุข สมาธิ พอสมาธิจิตอยู่ตัวได้ที่ เข้าที่ ที่นี้พอถึงสมาธิขั้นต่อไปจึงจะมีอุเบกขา อุเบกขาใหญ่กว่าสมาธิ พอมันได้ที่เข้าที่ ลงตัวหมดก็คือ “พระอรหันต์” ถ้าพัฒนาได้อย่างดีที่สุด ลงตัวกับทุกสิ่งทุกอย่าง ในการฝึกสมาธิก็จะเห็นว่าที่เราเริ่มปราโมทย์จนถึงสมาธิ พอสมาธิถึงจุด ก็จะเข้าเป็นฌาน ฌานที่ 1 ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ วิตก วิจาร ปิติ
    สุขเอกัคคตา (สมาธิ) ฌานที่ 2 ทุติยฌาน ประกอบด้วย ปิติ สุข เอกัคคตา (สมาธิ) ฌานที่ 3 ตติยฌาน ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา (สมาธิ) ฌานที่ 4 จตุตถฌาน ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา อุเบกขาเป็นตัวทำให้สติบริสุทธิ์

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสหลักธรรมสำคัญว่า “ชุดโพชฌงค์” ประกอบด้วยสติ ระลึกเรื่องที่จะทำ ที่จะพิจารณา ที่จะคิด ส่งให้ธรรมะวิริยะปัญญา และวิริยะความเพียรคิดค้น ไม่มีท้อถอย วิริยะความเพียรไปในการใช้สร้างปัญญานั้น ทำด้วยความที่มีสติ ทำให้เกิดปัญญา ก็เกิดความสว่างแจ่มแจ้ง เข้าใจ รู้ ก้าวหน้า ก็นำไปปราโมทย์ เกิดปิติ อิ่มใจ สุขภาพจิตดี ทำงานไม่มีทุกข์ และก็ปัสสัทธิ ผ่อนคลาย และก็เกิดสมาธิ ถ้ามีสมาธิจิตก็แน่วแน่ อยู่ตัว เข้าที่ สมาธิเป็นคุณสมบัติทุกตัวมาร่วมกันแน่วแน่ไปที่จุดหมายหรือเป้าหมายที่จะทำอันเดียวกัน

    วิธีง่ายๆ ในการพัฒนาจิต ขั้น 1 ใช้สติ ทำหน้าที่เป็นยาม เป็นผู้ตรวจ พิจารณาก่อน แล้วสู่ขั้นที่ 2 จะส่งให้ปัญญาทำงาน ปัญญาเป็นตัวแก้ปัญหา เมื่อสติเจอปัญหาก็ส่งให้ปัญญาแก้ปัญหา

    สรุป ร่างกายนี้ คือ สรีรยนต์ ต้องบริหาร อิริยาบถ 4 ยืน เดิน นั่ง นอน คือจักร 4 มี 4 ล้อ จึงต้องใช้จตุจักรให้ดี คนเรามีปัญหามากจากกิเลสที่รัดตัว ต้องแก้มัดออก เปรียบเหมือนรถจะแล่นได้ต้องแก้เชือกออก…

    “สารถี” เปรียบกับจิตที่ดี ใจมอง เฉย ดู นิ่ง ในความนิ่ง ความเฉยนั้น คือความพร้อมและความรู้ ทันการและรู้เจนจบ ครบกระบวน นี่คือ สารถีที่เชี่ยวชาญ ก็เป็นสภาพจิตที่เป็นอุเบกขา

    ท้ายสุดนี้กล่าวได้ว่า พระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างของ “สารถี” พระองค์มิใช่มาฝึกสัตว์อย่างสารถีทั่วไป แต่มาฝึกมนุษย์ให้รู้จักใช้ความเป็นสารถี ให้อยู่ในวิถีทางที่ไปสู่จุดหมายที่สำเร็จ บรรลุความสำเร็จ และหมดปัญหาหมดทุกข์หมดภัย แล้วก็ไม่เฉพาะตนเอง ถ้าเก่งจริงก็จะนำพาคนอื่นและกิจการต่างๆ นำไปสู่ความสำเร็จได้ด้วย และขอให้เป็นสารถีที่มีความชำนาญดังที่ว่านี้ ก็จะได้สมกับเกิดที่มาเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าที่พระองค์เป็น ปุริสธมฺมสารถิ แปลว่า สารถีฝึกมนุษย์ฝึกคนที่ไม่มีใครยิ่งกว่า คือ “ยอดเยี่ยม” ไงเล่าครับ

    ขอให้ทุกท่านระลึกเสมอว่า ดำรงตนอยู่ในอุเบกขา “สติมาทันปัญญาเกิดพร้อม” ก็จะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ทุกเมื่อ ไงเล่าครับ

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.matichon.co.th/columnists/news_1540622
     

แชร์หน้านี้

Loading...