อ่านใจตนเอง

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 24 มีนาคม 2008.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514

    เหมือนกับพระภิกษุสามรูปจำพรรษาอยู่ พอออกพรรษาแล้วท่านก็มาถามกันว่า เธอทำอย่างไรตลอดสามเดือน องค์ที่หนึ่งก็บอกว่า กระผมควบคุมจิตไม่ให้ออกไปนอกเขตวัดเลยตลอดสามเดือน องค์ที่สองบอกว่า ผมก็ควบคุมจิตไม่ให้ออกนอกกุฏิเลยตลอดสามเดือน แล้วองค์ที่สามก็บอกว่า ผมก็ควบคุมจิตไม่ให้ออกนอกขันธ์ห้าเลย เสียงพระคุณเจ้าสององค์แรกสาธุองค์ที่สามที่ว่าไม่ให้จิตออกนอกขันธ์ห้าเลย ข้อนี้เราจะต้องทำกันให้ได้เพราะว่าการพิจารณาจิตในจิตอยู่เป็นประจำนี้ มันอยู่ข้างในแล้วไม่ออกนอกขันธ์ห้า แล้วพร้อมกันนั้นก็ได้พิจารณาขันธ์ห้าโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วย มีผัสสะอะไรก็พิจารณาให้เห็นเป็นความว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตนไม่ไปยึดถือ ไปหมายดี ชั่วอะไรพยายามพิจารณาปล่อยวางไป ถ้าผัสสะมันว่าง ไม่เข้าไปหมายดีหมายชั่วแล้ว จิตก็ว่าง ไม่มีอะไรเข้ามายึดถือ

    เราต้องให้ได้รับผลประโยชน์ในทางจิตทั้งนั้น เพราะว่ามันเป็นทางๆ เดียวที่จะออกไปจากทุกข์โทษสารพัดอย่างต้องควบคุมอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ แล้วจึงจะละได้ และจะรู้ได้ด้วยตนเองว่าการปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรมวินัยของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้านี้มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง ขณะนี้ยังทำได้ให้รีบทำ สิ่งที่ยังไม่ถึงก็จะได้ถึง สิ่งที่ยังไม่รู้แจ้งก็จะได้รู้แจ้งทำให้สม่ำเสมอให้ตลอดไป การเกิดมามันไม่ได้ประสงค์อะไรแล้ว จะประพฤติให้บริสุทธิ์ครบถ้วน แล้วมรรค ผล นิพพาน จะมีขึ้นเอง

    ถ้าไม่ทำแล้วไม่พบนิพพาน เหมือนอย่างกับเรานอนเสียขี้เกียจก็ไม่รู้อะไร ทีนี้การตื่นจะต้องอดทนต่อสู้กับนิวรณ์ ความง่วง ฟุ้งซ่าน ความไม่พอใจ พอใจอะไรก็ยังดีกว่าการนอนมากเกินไป การนอนเป็นการพักผ่อน แต่ว่าการตื่นอยู่เช่นการถือเนสัชชิก คืองดการนอนตลอดคืนยังรุ่ง ไม่ได้ทำมานานแล้วเพราะว่าบางคนร่างกายไม่สู้สมประกอบ ก็เพียงแต่ทดลองอะไรในระยะที่พอจะทำได้มีการพักผ่อนบ้างตามสมควร แต่ถ้ามีกำลังแล้ว ก็ควรจะทำ เพราะเนสัชชิกนี้ เป็นการเฝ้าคนไข้ คือว่าอวิชชา กิเลส ตัณหา ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน แต่ถ้าไม่ได้ทดลอง ไม่ได้ฝึกหัดทำแล้ว ก็นอนเป็นนอนตายไป จะเอาสบายในการนอน นอนเท่าไรก็ไม่พอจะกินจะนอนมากๆ แล้วอย่างนี้ก็เห็นหมูไม่รู้อะไรหรอก

    พระท่านไม่ได้เอาแต่การกินการนอนมาบำรุงบำเรอตัว เพราะว่ามันอยู่ในความไม่เที่ยง อยู่ในความเป็นทุกข์จะต้องพิจารณาให้เห็นว่ารูปนามขันธ์ห้านี้ ไม่ใช่เป็นตัวเรา ไม่ใช่ของของเราไม่มีแก่นสาร ต้องย้ำแล้วย้ำอีกให้มากๆ ว่าทุกข์โทษของกิเลสตัณหา อุปาทานทุกชนิด จะต้องค้นคว้าให้รอบรู้เราจะต้องทำให้เป็นพิเศษในพรรษานี้ ถ้าทำได้พร้อมเพรียงกันจะเป็นการดีที่สุด

    ทีนี้สำหรับการจะปรารภทำความเพียรในวันธรรมดาก็เอาครึ่งคืนก็ได้ ผ่อนลงมา เพราะว่าจะได้มีการพักกายสำหรับคนที่ร่างกายไม่ปกติ แต่ถ้าจะทำรวมหมู่กันจะต้องพยายามให้เต็มความสามารถ เพราะก็ว่าอยู่แล้วว่า "ยะถาสติ ยะถาพลัง มนสิกโรมะ" บอกอยู่กับตัวเองทุกวันๆ แล้ว ก็ต้องทำให้เต็มสติกำลัง คำพูดของตัวเองจะได้เกิดประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่พูดว่าไปตามตัวหนังสือตามบทพยัญชนะ แต่ต้องเอามาประพฤติปฏิบัติในการกำหนดให้รูปอุปทานขันธ์ทั้งห้า นี่ก็บอกอยู่แล้วว่าเพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง แต่ว่าในฐานะที่เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้ากำหนดกันหรือเปล่าว่าอุปาทานขันธ์ห้าเป็นอย่างไร ถ้ารู้แล้วก็ต้องรู้เรื่องความป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา

    ทีนี้ก็ต้องกำหนดอยู่ในเรื่องความเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตาอย่างนี้ก็เรียกว่าได้ทำการกำหนดพิจารณาโดยความไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นี้เป็นพหุลานุสาสนีย์ คือ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากในเรื่องไตรลักษณ์ เพราะว่ามันเป็นการที่จะอ่านภายในตัวเองได้โดยไม่เกี่ยวกับข้อความอะไรมากมายนี่มันง่าย

    การฝึกให้ดูจิตพิจารณาจิตให้ปล่อยวางอะไร หรือเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนนี้ก็ทำอยู่แล้ว ทีนี้ทำให้มันละเอียดเข้า ให้มันรู้จริงๆ ขึ้นมา แล้วข้อปฏิบัติจะได้มีการเจริญก้าวหน้าไป พวกกิเลสตัณหา อุปาทานจะได้หมดกำลังไปทุกที ขอให้ผู้ปฏิบัติจงพยายามอบรมข้อปฏิบัติให้เกิดความรู้ของตัวเองจริงๆ ในการที่จะฝึกจิตภาวนา และในการที่จะต้องใช้ความรอบรู้อะไรเป็นพิเศษ ความรู้พิเศษที่เราอบรมมานี้จะต้องมีแน่นอน เพราะว่าในระยะเจ็ดวัน เอาตั้งแต่วันนี้ไป ฝึกๆ ไปอย่างนี้ พอครบเจ็ดวันก็มาสอบกันเสียทีหนึ่ง

    ทีนี้จะต้องสอบให้ถี่หน่อย ข้อปฏิบัติที่จะรวบรัดเอามาประพฤติปฏิบัติประจำวันจะต้องให้เข้มงวดในศีล สมาธิ และปัญญา แล้วก็ต้องชักชวนกันทำ อย่าเถลไถลไป อย่าขี้เกียจ เพราะมันเป็นความพ้นทุกข์ของเราจริงๆ สิ่งไหนที่ยากต้องเพียรทำให้ได้ ถ้าเห็นว่ายากแล้วจะไม่ทำมันก็เลยแย่ โง่ดักดานอยู่อย่างนั้นต้องเพียร เพียร เพียร เพียร ถ้าพยายามกันจริงๆ พร้อมเพรียง ประพฤติปฏิบัติกันจริงๆ แล้ว ก็มีกำลังใจ คือ ว่ากำลังใจของการมีสามัคคีธรรมมันดีเยี่ยม เพราะว่าบางทีจะไปทำคนเดียวก็ง่วงๆ เหงาๆ มันไม่สนุก ก็ลองมาทำกันหลายๆ คนดูบ้าง ลองมารวมกันดูเพราะว่าการร่วมจิตร่วมใจร่วมกันกระทำความเพรียรนี้มันเป็นเครื่องส่งเสริมกันอยู่ในตัว เช่นการนั่งทำความสงบ ถ้าไปนั่งคนเดียว ประเดี๋ยวก็จะนอนเสียแล้วถ้านั่งอยู่ในหมู่แล้วไม่ได้ ต้องให้ครบชั่วโมง ถ้าไม่ครบชั่วโมงจะไปเลิกก่อนไม่ได้ การกระทำกรรมฐานหมู่มันบังคับดีอย่างนี้

    แต่อีกขั้นหนึ่งนั้น พอเราจะนั่งไปอีกสักครึ่งชั่วโมงหรือชั่วโมงหนึ่งมันต้องมาเลิกเสียแล้ว บางคนอาจจะชอบไปทำคนเดียวเพราะว่ามันอยู่ไปได้นานๆ การทำกรรมฐานหมู่ดีอยู่ขั้นหนึ่ง แต่ถ้าไปทำคนเดียวอีกขั้นหนึ่งมันได้ระยะของการฝึกจิตที่ละเอียดว่า เราก็เลือกทำให้เหมาะสม มันควรจะหมู่ก็หมู่ ถ้าควรจะเดี่ยวก็เดี่ยว ต้องพยายามอยู่ทุกอิริยาบถให้ได้ถึงจะรู้ว่าอิริยาบถทั้งหมดตามแบบของพระอริยเจ้าเป็นที่สบายกาย สบายใจเสียหมด คือว่าใจนี่เองไม่ถูกกิเลสมารบกวน ถ้าไปเปิดช่องให้มันเข้ามาแล้วมันก็วุ่นวายเร่าร้อนไม่สงบ

    เราต้องเพียรพยายามละกิเลสตัณหาอะไรที่มีอยู่ในสันดานด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าถ้าไม่รู้แล้วก็ไม่ได้ละมัน ที่จะละมันนี้ต้องทดลองตามคำของพระพุทธเจ้าที่ให้เพียรเผากิเลสให้เร่าร้อนที่ตรงนี้ต้องอดทน เพราะตัณหามันอยากจะได้แต่ความสุขเพราะฉะนั้นจะต้องหยุดในขณะที่มันมีอยาก อยากอะไรก็ตามที่จะทำให้เสียประโยชน์ในด้านจิตใจ อย่าไปทำตามมันต้องหยุด! เมื่อจะทำแล้วก็พิจารณาดูใหม่ ว่าที่ควรทำก็ทำ ไม่ควรทำก็เลิกไปเลย เราต้องทรมานตัวเอง ในเรื่องทำตามกิเลสตัณหามาแต่ก่อนนั้น เดี๋ยวนี้ต้องงดแล้ว ต้องเชื่อพระพุทธเจ้าแล้ว เพราะว่าเชื่อกิเลสตัณหาที่มายุแหย่แส่ส่ายอะไรต่ออะไรสารพัดสารเพมันทุกข์ทั้งนั้น ทีนี้ต้องเลิกเชื่อกิเลสตัณหาเสียทีเถอะ มาเชื่อพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้าที่ตนจะต้องฝึกด้วยความเอมใจใส่ให้เป็นพิเศษให้ได้ทุกๆ ขณะทีเดียว

    ท่าน ก.เขาสวนหลวง
     

แชร์หน้านี้

Loading...