อ.เสรี ระบุ สถานการณ์พายุยังไม่น่ากลัวเท่าปี 54 แต่ประมาทไม่ได้

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ เตือนภัย, 4 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ เตือนภัย

    โพธิสัตว์ เตือนภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,565
    กระทู้เรื่องเด่น:
    441
    ค่าพลัง:
    +655
    aHR0cDovL3BlMi5pc2Fub29rLmNvbS9ucy8wL3VkLzU5OS8yOTk3OTEwL25ld3MxNC5qcGc=.jpg

    ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมระดับไหน คือ พายุ ที่เวลานี้ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างเฝ้าระวังและจับตาอย่างใกล้ชิด แม้ปัจจัยต่างๆ จะบ่งชี้ในเบื้องต้นว่า อาจไม่รุนแรงเท่าปี 2554


    สถานการณ์น้ำฝนที่เบาบางในช่วงสัปดาห์นี้ ถือว่าเป็นผลดี โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ที่อยู่ระหว่างเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ ก่อนที่ฝนจะตกลงมาเพิ่มปริมาณน้ำอีกรอบ เวลานี้มีพายุที่เกิดขึ้นและกำลังเฝ้าระวัง คือ พายุไต้ฝุ่นโนรู อยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก

    แม้พายุลูกนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง แต่ด้วยอิทธิพล ก็ทำให้กระแสลมพัดพาเอาความชื้นจากฝั่งมหาสมุทรอินเดียมาทางฝั่งตะวันออกของประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกอยู่บ้าง โดยเฉพาะทางพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคอีสานบางส่วน คาดว่าน่าจะตกหนักกว่าเดิมในช่วงบ่ายและค่ำของวันศุกร์นี้

    พายุไต้ฝุนโนรูนี้มีแนวโน้ม เคลื่อนตัวผ่ากลางระหว่างประเทศเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ขึ้นไปด้านบน แต่น่าสนใจว่าเมื่อวานนี้แบบจำลองสภาพอากาศจากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางแห่งยุโรป หรือ ecmwf ตรวจพบว่า 10 วันข้างหน้า

    หลังจากพายุไต้ฝุ่นโนรูเคลื่อนที่จะเกิดหย่อมความกดอากาศต่ำ พูดให้ง่ายก็คือจะมีพายุเริ่มก่อตัวขึ้นมาบริเวณนี้อีกอย่างน้อย 1 ลูก ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีความรุนแรงระดับใด หรือเคลื่อนตัวในทิศทางไหน แต่อาจไม่ถึงขั้นต้องกังวล เพราะล่าสุดแบบจำลองสภาพอากาศขณะนี้ หย่อมความกดอากาศต่ำในมหาสมุทรแปซิฟิกยังมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หมายความว่า พายุลูกนี้อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้

    ถ้าเกิดขึ้นจริงจะมีโอกาสเข้ามาที่ประเทศไทยหรือไม่ ข้อมูลจากรองศาสตราจารย์ เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ระบุว่า ปีนี้เป็นปีเอลนิโญอ่อนๆ หมายความว่า พายุจะเกิดไกลจากประเทศไทย และส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะเดินทางไปทางด้านบน ต่างจากปี 2554 ที่เกิดใกล้ตัวและมีทิศทางซัดเข้าหาประเทศไทยมากกว่า อย่างไรก็ตามก็วางใจไม่ได้เพราะประเทศไทยยังมีโอกาสสูงที่จะโดนพายุ โดยเฉพาะช่วง 1-2 เดือนนี้

    สำหรับสถิติการเกิดพายุในมหาสมุทรแปรซิฟิก ปี 2554 จะเห็นว่ามีพายุโซนร้อนเกิดขึ้นถึง 21 ลูก และพายุไต้ฝุ่นอีก 8 ลูก เมื่อเทียบกับปีนี้เพิ่งจะมีพายุเกิดขึ้นราวๆ 10 กว่าลูกเท่านั้น คาดการณ์ว่าใน 1 ปี มีโอกาสเกิดพายุในมหาสมุทรแปรซิฟิกได้มากกว่า 40 ลูก เพราะฉะนั้นตอนนี้ประเทศไทย ซึ่งยังเหลือเวลาอีกราว 2-3 เดือน จึงเสี่ยงมากที่จะโดนพายุลูกใดลูกหนึ่ง โดยที่ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกรมชลประทานจึงต้องมีแผนเร่งระบายน้ำออกจากเขื่อน และพื้นที่ลุ่มต่างๆในภาคอีสาน





    ขอบคุณที่มา
    http://news.sanook.com/2997910/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 สิงหาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...