เกร็ดประวัติพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 6 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]


    ไม่มีใครคาดคิดว่า พายุฝนที่ตกกระหน่ำ บริเวณเหนือท้องทุ่งรังสิต ในช่วงบ่ายของวันอาทิตย์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๓ จะเป็นเสมือนลางบอกเหตุ แห่งการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ อีกครั้งหนึ่งของคนไทย เพราะในวันเวลาดังกล่าว เครื่องบินของบริษัทเดินอากาศไทย เที่ยวบินจากจังหวัดอุดรธานี ได้เสียหลัก ตกลงในท้องนาเขตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ทำให้มีผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บมากมายจากอุบัติเหตุครั้งนี้



    ในบรรดาผู้โดยสารที่เดินทางมากับเที่ยวบินนั้น มีพระอริยสงฆ์องค์สำคัญ และเป็นที่เคารพนับถือ ของพุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้มรณภาพลงถึง ๕ องค์ คือ พระอาจารย์วัน อุตตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถระ) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วบ้านชุมพล พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน และพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก)


    [​IMG]เพื่อนรุ่นพี่ในกลุ่มเล่าให้พวกเราฟังว่า “พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ” อดีตเจ้าอาวาสวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันเป็น จ.บึงกาฬ) ท่านเป็นศิษย์รุ่นเล็กของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต นอกเหนือไปจากเรื่องของคุณธรรมและพลังของอำนาจจิตแล้ว ท่านยังได้รับการยกย่องว่า เป็นพระผู้มีวิริยะอุตสาหะเป็นเลิศครับ ผลงานการก่อสร้างชิ้นสำคัญของท่าน ที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ การสร้างบันไดและทางเดินรอบๆ ภูทอกครับ



    ด้วยความที่ภูทอกเป็นภูเขาหินทรายที่โดดเด่น ทำให้ภูทอกมีดีตรงทัศนียภาพที่แอบอิงไปกับธรรมชาติรอบๆ พื้นที่ ซึ่งประกอบไปด้วย สัตว์ป่า ต้นไม้ เพิงผาและโขดหิน นอกจากนี้หากมองด้วยสายตาในระยะไกล เราจะเห็นสิ่งปลูกสร้างที่มีเพียงกุฏิสงฆ์และทางเดินซึ่งเป็นสะพานไม้สร้างทอดโค้งไปรอบๆ เขา



    การที่ภูทอกไม่มีสิ่งปลูกสร้างมากเกินความจำเป็น มาบดบังความเป็นธรรมชาติ ทำให้หลายๆ คนเมื่อมาเห็นสถานที่จริง ต่างพูดเป็นแนวทางเดียวกันว่า เป็นภูเขาที่สวยงาม และมีการก่อสร้างที่น่าอัศจรรย์ ราวกับเนรมิตขึ้นจากสรวงสวรรค์เลยทีเดียว


    [​IMG] อย่างไรก็ตามครับ คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่รักความสบาย และต้องการมาที่นี่ในฐานะนักท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว เขาบอกว่าอาจจะรู้สึกผิดหวัง เพราะเส้นทางและจุดหมายปลายทางแห่งนี้ มิได้บรรจุความสะดวกสบายไว้อย่างครบครัน เนื่องจากภูทอกไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวสาธารณะทั่วไป



    อย่าได้หวังว่าจะเจอตู้โทรศัพท์สาธารณะหรือร้านขายของที่ระลึกระหว่างทางเดิน



    เพราะภูทอกคือ ภูเขาที่มากไปด้วยเรื่องราวของความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) หนึ่งในวัดป่ากรรมฐาน ที่ยังคงถือปฏิบัติและถ่ายทอดวิถีชีวิตของพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อย่างเคร่งครัด



    ดังนั้นภูทอกจึงเหมาะสำหรับ ผู้ที่ต้องการเข้ามาหาประสบการณ์ จากการปฏิบัติธรรมหรือมาสัมผัสกับคุณธรรมของพระอาจารย์จวนมากกว่าครับ



    หลังจากที่เดินทางมานานหลายชั่วโมง สี่ล้อคันเก่งก็ค่อยๆ เคลื่อนเข้ามาถึงวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) พวกเราเดินทางมาถึงพร้อมกับแสงแรกของดวงอาทิตย์ยามเช้า



    ว่ากันว่า ณ สถานที่แห่งนี้เป็นที่ซึ่งความศรัทธานำหน้าการดำเนินชีวิต เม็ดดินและก้อนหินทุกก้อนต่างมีเรื่องราวบอกเล่าถึงความศรัทธาที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันครับ


    [​IMG]สระน้ำกว้างใหญ่ ฝูงปลาเวียนว่าย สะท้อนเงาของท้องฟ้าและเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มองจากสายตาเห็นได้ชัดเจนว่าบริเวณรอบๆ องค์เจดีย์ถูกตกแต่งเป็นสวนไม้ดอก ไม้ประดับสลับกับก้อนหินที่ยังคงเว้นพื้นที่รอยต่อไว้สำหรับให้ไม้ดอกขนาดเล็กอีกหลายชนิดคอยขึ้นแซมแทรก ความสดใสและร่มรื่นของสถานที่ทำให้พวกเราลืมความเหนื่อยล้าจากการเดินทางไกลกว่าหลายร้อยกิโลครับ



    พี่ชายคนดูแลสวนของวัดเจติยารามคิรีวิหาร (ภูทอก) เอ่ยแนะนำและชักชวนให้พวกเราเข้าไปกราบนมัสการรูปหล่อและพระธาตุของพระอาจารย์จวน ที่ประดิษฐานอยู่ภายในเจดีย์พิพิธภัณฑ์



    มีบันทึกไว้ว่าเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานพระราชทานเพลิงศพและทรงมีพระราชดำริว่า



    “อัฐิของท่านพระอาจารย์จวนนั้น ไม่ควรจะแบ่งแยกกันออกไป ควรจะเก็บรวมกันไว้ ณ ที่วัดที่เดียวกัน โดยสร้างเป็นเจดีย์เพื่อให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนได้มาเคารพสักการะได้ทั่วกัน”



    ภายในเจดีย์พิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงอัฐบริขารของพระอาจารย์จวนออกเป็นสองกลุ่มครับ กลุ่มแรกเป็นอัฐบริขารและบริขารอาศัยที่ท่านใช้ในชีวิตประจำวัน อีกกลุ่มหนึ่งเป็นอัฐบริขารและเครื่องใช้ของท่านที่นำติดตัวสำหรับไว้ใช้ในวันที่เกิดอุบัติเหตุ



    [​IMG]ตอนที่ผมยังเด็กๆ จำได้ว่า หลังจากที่มีข่าวพระอาจารย์จวนมรณภาพจากเครื่องบินตก ทำให้ความศรัทธาในองค์ท่าน และความนิยมในวัตถุมงคล ที่ท่านได้เคยอธิษฐานจิตไว้ ตกลงอย่างน่าตกใจ เพราะเกิดกระแสว่า เหตุใดท่านถึงต้องมรณภาพด้วยอุบัติเหตุแบบนี้ หรือ ในเมื่อพูดว่าท่านเก่ง และสามารถรู้เห็นเรื่องราวในอดีตและอนาคตได้อย่างชัดเจน ทำไมท่านถึงไม่ยอมหลีกเลี่ยงเที่ยวบินดังกล่าว ฯลฯ



    ผมเองก็ยังเด็กน้อยนัก จึงได้แต่รับฟัง เพราะตัวเองก็ยังไม่เคยเจอพระอาจารย์จวนเลย และยิ่งไปกว่านั้นก็คือผมรู้จักพระอาจารย์จวนก็จากข่าวอุบัติเหตุครั้งนี้แหละครับ



    ต่อมาเมื่อได้สะสมวัตถุมงคลสายวัดป่ากรรมฐาน จึงได้เริ่มศึกษาประวัติของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ และประวัติของพระอาจารย์จวน จากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยพบท่าน และจากหนังสือต่างๆ ที่เคยลงเรื่องราวของท่าน



    ผมจึงได้ทราบว่า โดยแท้จริงแล้ว เรื่องของอุบัติเหตุและการมรณภาพครั้งนี้ พระอาจารย์จวนท่านได้ทราบล่วงหน้ามานานแล้วครับ เพียงแต่ท่านได้ปล่อยวาง เพราะทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับกรรม ไม่มีใครสามารถรับมอบหรือรับช่วงแทนกันได้ กรรมของใครก็กรรมของคนนั้นครับ



    การแสดงออกของท่าน เช่นการมอบหมายภารกิจ การพูดบอกลาเป็นนัย การเร่งรีบบันทึกประวัติผ่านเครื่องบันทึกเสียงด้วยตัวของท่านเอง ฯลฯ ล้วนเป็นประจักษ์พยานรองรับเรื่องการรู้ตัวล่วงหน้าครับ
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    นอกจากนี้ในวันที่เกิดอุบัติเหตุ ช่วงเวลาวิกฤติแห่งความเป็นความตาย ท่านยังสามารถครองสติ และแผ่เมตตาบารมีของท่าน ออกมาช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นภัยอีกด้วยครับ

    อย่างเช่นกรณีของ “บาตรบุบ” หนึ่งในอัฐบริขารที่ท่านได้นำติดตัวไปในวันที่เกิดเหตุ เรื่องมีอยู่ว่า

    [​IMG]

    ข้าราชการผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง มีภารกิจต้องเดินทางมาในเที่ยวบินเดียวกับพระอาจารย์จวน ในการเดินทางครั้งนี้ ข้าราชการผู้นั้นได้นำซองเอกสาร ซึ่งบรรจุความลับของทางราชการติดตัวมาด้วย ภายหลังจากเครื่องบินตก ซองเอกสารดังกล่าวได้สูญหายไป จึงได้มีการออกติดตามค้นหากันอย่างเงียบๆ แต่เจ้ากรรมที่หาเท่าไรก็หาไม่พบ

    ต่อมาคณะลูกศิษย์ของพระอาจารย์จวน ได้มีการออกจัดเก็บอัฐบริขารของท่าน ที่กระจัดกระจายอยู่ในที่เกิดเหตุ ก็พบว่าบาตรของท่านที่นำติดตัวมา มีสภาพที่ฝาบาตรและตัวบาตรบุบยุบลงแน่นเข้าด้วยกันเนื่องจากแรงกระแทก ซึ่งกว่าจะเปิดบาตรได้ต้องใช้วิธีออกแรงงัดจึงสำเร็จ

    ภายในบาตรของท่านพบว่า มีอัฐบริขารและเครื่องใช้ประจำของท่าน เช่นช้อนส้อม กลักสบู่ ฯลฯ ซึ่งโดยปกติแล้ว การพบเห็นสิ่งของเหล่านั้นในบาตร ถือเป็นเรื่องปกติครับ เพราะพระธุดงค์ท่านต้องใช้บาตรแทนกระเป๋า สำหรับเก็บสิ่งของและอัฐบริขารในยามออกเดินธุดงค์ แต่สิ่งของที่สร้างความประหลาดใจให้กับผู้พบเห็นคือ ซองจดหมายหนาๆ ซองหนึ่งที่วางอยู่บนอัฐบริขารภายในบาตร

    ซองดังกล่าวเป็นซองของราชการที่ถูกปิดผนึกอย่างดีและตีตราลับ จากการตรวจสอบในเวลาต่อมา ทำให้ทราบเป็นซองเอกสารซองเดียวกับที่ทางการกำลังติดตามอยู่ คณะศิษย์จึงได้นำส่งคืนให้กับข้าราชการผู้ใหญ่ท่านนั้น

    [​IMG]

    ประเด็นจึงมีอยู่ว่า ซองเอกสารดังกล่าวเข้าไปอยู่ในบาตรของพระอาจารย์จวนได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ข้าราชการผู้ใหญ่ท่านนั้นได้นำติดตัวอยู่ตลอดเวลา
    เรื่องนี้ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่พอจะอนุมานได้ว่า

    ในขณะที่เครื่องบินกำลังจะตก วินาทีนั้นทุกๆ ชีวิตต่างมีความกังวล ความหวาดกลัวและความตายเข้าคุกคามชีวิต การมีสติอย่างมั่นคงและสามารถปล่อยวางได้เท่าที่เห็นน่าจะมีแต่พระอริยสงฆ์ทั้ง ๕ รูปนี้เท่านั้น

    จังหวะนั้นเองพระอาจารย์จวนท่านคงกำหนดจิตดู และเมื่อท่านพบว่า มีข้าราชการผู้ใหญ่ได้นำเอกสารลับ ที่มีความสำคัญต่อชาติบ้านเมืองติดตัวมาด้วย ท่านจึงได้ทำการโอนย้ายซองเอกสารลับซองนั้นมาไว้ในบาตรของท่าน พร้อมกับปิดผนึกความมั่นคงด้วยรอยบุบ (ตามรูป) เพื่อเป็นการเก็บรักษาไว้มิให้สูญหายหรือตกไปอยู่ในมือของผู้ไม่หวังดีต่อชาติของเราครับ

    จะว่าไปแล้ว การจัดแสดงอัฐบริขารนั้น จึงมิใช่เพียงแต่ให้พวกเราได้สัมผัสกับอดีตอันน่าตื่นตาตื่นใจเท่านั้น หากแต่ยังเป็นเหมือนประตูที่เปิดรอรับผู้มาเยือนทั้งหลายให้พึงระลึกถึงหลักพระไตรลักษณ์ไว้เสมอว่า

    “สังขารทั้งหลายทั้งปวงล้วนมีสภาวะดังนี้ ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย ตั้งอยู่อย่างไม่เที่ยง แปรปรวนไปมา จนดับไปในที่สุด ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่ใช่เราหรือของเราอย่างแท้จริง”

    ครับ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่ใช่เราหรือของเราอย่างแท้จริง..

    [​IMG]

    พระอาจารย์จวน มีนามเดิมว่า “จวน นรมาส” เกิดเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฏาคม ๒๔๖๓ ณ บ้านเหล่ามันแกว ตำบลดงมะยาง อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี โยมบิดามารดาของท่านชื่อ “นายสา-นางแหวะ นรมาส”

    บรรพบุรุษของท่านอพยพมาจากเวียงจันทร์ เป็นอุปฮาดของเวียงจันทร์ ต่อมาเมื่อเกิดสงครามและเวียงจันทร์แตก อุปฮาดผู้เป็นต้นตระกูลก็พาอพยพมายังประเทศไทยและได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานีในที่สุด

    เมื่อตอนท่านยังเป็นเด็ก ท่านก็ไม่เหมือนเด็กคนอื่นๆ ทั่วไปครับ กล่าวคือท่านไม่เคยทำอะไรที่ไม่ดี ไม่ถูกต้องและท่านก็ฝักใฝ่ในเรื่องของธรรมะตลอดเวลา

    ท่านเล่าเสมอว่าท่านไม่ชอบฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ในเรื่องของการหยิบฉวยลักขโมยนั้น แม้แต่เข็มสักเล่มท่านก็ไม่เคยหยิบฉวยของผู้ใดเลย
    นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้มีความฉลาดเลิศล้ำตั้งแต่เด็กๆ ชอบใฝ่หาความรู้และพยายามจะเรียนรู้ทุกอย่างเท่าที่จะสามารถเรียนรู้ได้ ในบันทึกประวัติของท่านมีเรื่องที่กล่าวถึงความเป็นอัจฉริยะของท่านก็คือ

    เมื่อท่านอายุได้ ๑๔-๑๕ ปี ท่านได้พบพระธุดงค์มาปักกลดอยู่ใกล้บ้านก็บังเกิดความศรัทธา พระธุดงค์ได้มอบหนังสือ “ไตรสรณาคมน์” ของ “พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม” ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสอนให้พุทธศาสนิกชนรู้จักการเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และการปฏิบัติภาวนา ท่านได้เกิดความศรัทธาและได้หัดปฏิบัติตามนั้น

    [​IMG]

    “เวลานั้นก็ไม่รู้จักอะไรลึกซึ้ง ด้วยหัดเอง ทำเองตามลำพังคนเดียว ไม่มีผู้รู้มาสอนให้ก้าวหน้าขึ้น ได้แต่รู้สึกว่า นั่งสมาธิแล้วก็สบายดี กายเบา จิตขาวนิ่มนวลผ่องใสเหมือนนั่งนอนอยู่บนอากาศอันนิ่มนวล ทำให้จิตใจดูดดื่มมาก นึกอยากจะภาวนาเสมอๆ ถ้าวันไหนใจไม่สบาย ก็ต้องเข้าที่นั่งสมาธิภาวนา สงบใจเสมอ”

    ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ ๑๘ ปี ท่านได้ทำงานรับราชการที่กรมทางหลวงแผ่นดิน สายอุบลราชธานี-นครพนม ในระหว่างนั้นท่านได้ศึกษาพระพุทธศาสนาจากหนังสือ “จตุราลักษณ์” ของ “พระอาจารย์เสาร์ กันสีโล” ด้วยความฉลาดและมีความจำเป็นเลิศ ทำให้ท่านเรียนรู้และเข้าใจในหลักตามหนังสือนั้นอย่างแท้จริง จนเกิดความสลดสังเวช

    คิดได้ว่าคนเราที่เกิดมาถ้าไม่ประกอบคุณงามความดีแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์แก่ชีวิตของตน และไม่มีโอกาสที่จะได้รับความสุขต่อไปในชาติหน้าอีก
    พระอาจารย์จวน ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายเมื่ออายุ ๒๑ ปี ลาสิกขาออกมาและอุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติเมื่ออายุ ๒๓ ปี โดยท่านได้รับฉายาว่า “กุลเชฏโฐ” แปลว่า “พี่ชายใหญ่สุดของวงศ์ตระกูลนี้”
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]ว่ากันว่าอุปสรรคมีเกิดขึ้นทุกวัน คนที่แพ้คือคนที่ยอมถอยก่อนต่อสู้และคนที่เก่งก็ไม่ใช่คนที่ชนะ แต่เป็นคนที่ชนะคือคนที่ไม่ยอมถอยและต่อสู้ต่างหาก



    หลังจากที่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติอย่างที่ตั้งใจ พระอาจารย์จวนท่านได้ตั้งใจศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจังแบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปตามป่า ตามเขา เพื่อปฏิบัติธรรมและศึกษาหาความรู้จากครูบาอาจารย์องค์อื่นๆ



    ด้วยอุปนิสัยที่นอบน้อมและให้ความเคารพครูบาอาจารย์อย่างจริงใจ ทำให้ท่านได้รับความเมตตาจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ โดยเฉพาะกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ให้ความเมตตากับท่านมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวาสนาบารมีต้องกันด้วยว่าท่านเคยเกิดมาเป็นบุตรของหลวงปู่มั่นมาแล้วในอดีตชาติ


    [​IMG]“เมื่อข้าพเจ้าได้รับโอวาทจากท่านเช่นนั้น ก็ยิ่งทวีความตั้งใจทำความเพียรเด็ดเดี่ยวยิ่งขึ้น รู้สึกเหมือนกับว่าได้มีผู้วิเศษมาชี้ประตูสมบัติทิพย์ให้เราแล้ว



    การที่เราจะเปิดประตูก้าวเข้าไปหยิบเอาสมบัติทิพย์มาได้หรือไม่นั้นอยู่ที่ความเพียร ความตั้งใจเอาจริงเอาจังของเราเท่านั้น”



    อย่างไรก็ตามครับ คำพูดที่เราเคยได้ยินเสมอว่า "โลกกับธรรมมักจะสวนทางกันเสมอ" ดูเหมือนจะเป็นความจริงครับ



    เพราะในขณะที่พระอาจารย์จวนเจริญในทางธรรม กิเลสมารต่างๆ ที่เข้ามาผจญในชีวิตท่านก็มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นจากภายนอก เช่น บุคคล สตรี สัตว์ร้าย ภูติผีปีศาจ ฯลฯ หรือจากปัจจัยภายในซึ่งก็คือ บรรดานิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในใจ แต่ท่านก็สามารถเอาชนะกิเลสมารเหล่านั้นได้ด้วยปัญญา



    [​IMG]หลวงพ่อทองพูล สิริกาโม เจ้าอาวาสวัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) จังหวัดบึงกาฬ หนึ่งในพระผู้ร่วมบุกเบิกภูทอกกับพระอาจารย์จวน ผมมีโอกาสได้เข้ากราบนมัสการท่านที่บ้านเพื่อนในกรุงเทพ



    ในช่วงที่ท่านว่างจากแขก ผมได้เรียนถามท่านถึงเรื่องของพระอาจารย์จวน ท่านตอบผมเบาๆ ว่า



    “มากด้วยปัญญาและบุญกิริยา”



    ท่านยิ้มและไม่พูดอะไรอีก ผมเองก็ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ท่านพูดดีนัก คำว่า "มากด้วยปัญญา" คงจะแปลว่าฉลาดล้ำเลิศ แล้ว “บุญกิริยา” คืออะไรกันหนอ แต่ก็ไม่กล้าถามต่อเพราะในวันนั้นมีคนอยู่กันเยอะ



    ก่อนหน้าหนึ่งวันที่จะเดินทางมาวัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) พวกเราได้มีโอกาสเข้ากราบนมัสการหลวงพ่อทองพูล ที่วัดสามัคคีอุปถัมภ์ (ภูกระแต) เมื่อท่านทราบว่าพวกเรากำลังจะเดินทางไปยังภูทอก ท่านจึงบอกว่า กฐินของวัดเจติยาคิรีวิหารในปีนี้ (๒๕๕๓) ท่านก็ได้ไปช่วยในงาน พร้อมกับสอนพวกเราว่า
    [​IMG]“ให้หมั่นทำบุญบ่อยๆ ค่อยๆ สะสมไป พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าให้ทำบุญสิบอย่าง
    ๑. ทานมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ทาน
    ๒. ศีลมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล
    ๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา
    ๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
    ๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายรับใช้
    ๖. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการยินดี
    ๗. ปัตติทานะ บุญสำเร็จได้ด้วยการอุทิศส่วนกุศล
    ๘. ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม
    ๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จได้ด้วยการแสดงธรรม
    ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง”
    เพื่อนรุ่นพี่เจ้าเก่าแอบกระซิบว่า
    “หลวงพ่อสอนเรื่อง บุญกิริยาสิบ”
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]ครับ ไม่มีใครคาดคิดว่าท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพรแห่งหนึ่งในเขตจังหวัดหนองคาย (สมัยนั้น-ก่อนเปลี่ยนเป็นจังหวัดบึงกาฬ ในปัจจุบัน) อันตรายต่างๆ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมาจากอาถรรพ์ของป่า จากสัตว์ป่า หรือ จากมนุษย์ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ



    พระภิกษุองค์หนึ่ง ได้เร่งทำความเพียรด้วยการออกเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมอย่างมอบกายถวายชีวิต


    ณ บริเวณสถานที่ปฏิบัติธรรมของท่าน ท่านได้กำหนดเขตเอาไว้เพื่อเป็นการช่วยรักษาป่าและสงวนชีวิตของสัตว์ป่า พื้นที่ดังกล่าวกินอาณาเขตของภูเขา ๓ ลูก คือ ภูทอกน้อย ภูแจ่มจำรัส (ภูทอกใหญ่) และภูสิงห์



    ไม่มีใครรู้มาก่อนว่าหากท่านไม่ได้กำหนดเขตเอาไว้ในวันนั้น ทุกวันนี้เราจะมีพื้นที่และความเป็นธรรมชาติหลงเหลืออยู่หรือเปล่า
    [​IMG]บนภูทอก ท่านได้ใช้ปัญญา ความอดทน ความเพียรและความบากบั่น จนสามารถสร้างวัดและทางเดินรอบๆ ภูทอกได้เป็นผลสำเร็จ กล่าวกันว่า ทางเดินรอบๆ ภูทอกที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น สวยงามและมั่นคงราวกับไม่ใช่การก่อสร้างที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์


    นอกจากนั้น ด้วยความมีเมตตาธรรมของท่าน ทำให้ป่าดงพงพีหลายๆ แห่งได้กลายมาเป็นหมู่บ้านอันเป็นปึกแผ่นแน่นหนา เม็ดดินที่ครั้งหนึ่งเคยถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างไร้ค่าได้กลับมาเป็นเม็ดดิน ที่ให้ชุ่มชื้นแก่เรือกสวนไร่นาด้วยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวทางของท่าน


    เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับ ณ เชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี



    ในยามนั้นท้าวสักกะจอมเทพ ได้เสด็จไปเข้าเฝ้าและทรงตรัสถามพระพุทธเจ้าว่า
    “สถานที่เช่นใดหนอ เป็นภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์”


    พระพุทธเจ้าทรงตรัสตอบว่า


    “พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด เป็นบ้านหรือป่าก็ตาม เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิสถานอันน่ารื่นรมย์”


    [​IMG]ระหว่างที่พวกเรากำลังเตรียมตัวจะลงจากเจดีย์พิพิธภัณฑ์เพื่อขึ้นไปภูทอก ผมเห็นหญิงสูงวัยคนหนึ่งกำลังเดินชมอัฐบริขารของพระอาจารย์จวนอย่างเงียบๆ



    เสียงผู้ชายในกลุ่มพวกเราถามออกไปว่า
    “จำพระอาจารย์จวนได้หรือเปล่าครับ”


    หญิงสูงวัย พยักหน้าแทนคำตอบ
    “จำได้ว่าอย่างไรครับ”


    หญิงสูงวัยท่านนั้นชี้ไปที่อัฐบริขาร หลังอัฐบริขารมีรูปถ่ายพระอาจารย์ในอิริยาบถนั่งอยู่บนโขดหินบริเวณหน้าผาของภูทอก ข้างใ[​IMG]ต้ของภาพนั้นมีตัวอักษรขนาดใหญ่เขียนไว้ว่า


    “ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ได้กำหนดจิตดูท่านจวน แล้วได้ความเป็นธรรมว่า
    กาเยนะ วาจายะ วะเจตะ วิสุทธิยา
    ท่านจวนเป็นผู้มีกายและจิตสมควรแก่การเป็นอรหันต์”


    ผมอมยิ้ม..เมื่อเห็นหญิงสูงวัยท่านนั้นกวักมือเรียก
    “พาแม่ขึ้นไปกราบรูปหล่อพระอาจารย์บนภูทอกได้แล้ว”


    คุณแม่ของผมเองครับ ท่านกระซิบบอกผมเบาๆ....สวัสดีครับ


    ขอขอบคุณเอกสารอ้างอิงจาก หนังสือกุลเชฏฐาภิวาท คุณพรชนก สุขพงษ์ไทย กับภาพถ่าย เพื่อนต่อสำหรับคำแนะนำ คุณสมบูรณ์ ร้านนายฮ้อ สระบุรีกับกำลังใจที่มีให้เสมอครับ


    Home Main Page
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บุพกรรมในกาลก่อนที่ทำให้ พระอริยเจ้าทั้ง 5 องค์ ต้องเครื่องบินตก

    [​IMG]
    [​IMG]หลวงปู่หลุย จันทสาโร เมตตาเล่าให้ฟังถึงบุพกรรมในกาลก่อนที่ทำให้พระอริยเจ้าทั้ง 5 องค์ ต้องเครื่องบินตก



    ในอดีตชาติที่นานเนมาแล้ว ท่านทั้ง 5 เกิดในสกุลชาวนาที่ยากจน ต้องขวนขวายหาเลี้ยงชีพไปวัน ๆ ทั้งห้าคนเป็นเพื่อนที่คุ้นเคยกันมา เมื่อยังเด็กได้จูงควายออกไปเลี้ยงพร้อมกัน ผูกควายกันแล้วก็พากันเล่นและออกหากบเขียดไปเป็นอาหารประสาจน



    ทีนี้ 1 ใน 5 เกิดไปเห็นรังนกเข้า ก็ช่วยกันหาไม้เขี่ยรังนกให้ตกลงมาเพื่อหวังเอาไข่นกไปกิน แต่เมื่อรังนกตกลงมากลับกลายเป็นลูกนก 3 ตัวแล้วตายสิ้น ไม่ใช่ไข่นกดังที่เข้าใจ



    ด้วยวิบากกรรมอันนี้ส่งผลให้ท่านทั้ง 5 ต้องตกจากที่สูงมามรณภาพ



    ในเครื่องบินลำนั้นมีคุณหญิงท่านหนึ่งกลับจากไปปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์จวนมาด้วย ท่านเลยมาสิ้นชีวิตพร้อมกัน



    ในอดีต ขณะที่เด็กชายทั้ง 5 กำลังเขี่ยรังนกอยู่นั้น เด็กหญิงลูกชาวนาผู้เป็นน้องสาวของ 1 ใน 5 คนก็มายืนเชียร์อยู่ข้าง ๆ



    “จะหล่นแล้ว...จะหล่นแล้ว”


    โดยเธอไม่ได้ลงมือทำ



    เด็กหญิงในภพนั้นคือคุณหญิงในภพนี้



    ก็เพียงมีจิตคิดยินดีในการประกอบอกุศลกรรมของผู้อื่น วิบากนั้นยังส่งผลมาให้เกิดในภพชาติเดียวกัน บันดาลให้ไปตกเครื่องบินพร้อมกัน



    แล้วถ้าทำเองเล่า



    ถึงตรงนี้ หลวงปู่หลุยก็สั่งว่า



    อย่าไปยินดีในการทำชั่วของคนอื่น เพราะเราจะมีส่วนในบาปนั้นด้วย แต่ให้ยินดีในการประกอบคุณงามความดีของตนและของคนอื่น เพราะจะได้แต่บุญโดยฝ่ายเดียว
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บาตรบุบ

    [​IMG]บาตรบุบ


    จาก หนังสือกุลเชฏฐาภิวาท


    ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสทรงเป็นประธานในพิธีบรรจุพระอัฐิธาตุ



    และทรงเปิดพระเจดีย์พิพิธภัณฑ์ พระอาจารย์จวนกุลเชฎฺโฐ



    ณ วัด เจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) ตำบลนาแสง กิ่งอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย

    คุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต ผู้เขียนและเรียบเรียง
    [​IMG]
    บาตรบุบ


    [​IMG]















    ในห้องแสดงอัฐบริขารในเจดีย์พิพิธภัณฑ์ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐนั้น มีการแสดงบริขารกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นบริขารที่ท่านครองอยู่ หรือที่ท่านนำมาเวลาเครื่องบินตกถึงแก่มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๒๓สบง จีวร อังสะ สังฆาฏิ กลด มุ้งกลด กระติกน้ำ ย่าม บาตร รองเท้า เป็นต้น


    ที่มีรอยฉีก ขาด เสียหายบ้าง ก็เข่น เครื่องผ้าอย่างสบง จีวร แต่ที่ดูเสียหายมากจนเห็นชัด คือ บาตร และฝาบาตร ที่แม้เป็นโลหะ แต่ก็บุบยุบลงไปแสดงถึงแรงกระแทกเมื่อเครื่องบินตกลงกระทบพื้นดิน


    บาตรและฝาบาตรที่บุบยุบลงไป หรือที่จะเรียกกันต่อไปสั้นๆ ว่า “บาตรบุบ” นี้เอง เป็นเรื่องที่ประหลาด “ไม่ธรรมดา” อีกเรื่องหนึ่งที่สมควรบันทึกไว้
    [​IMG]คงจะต้องเล่าทวนความจำกันหน่อยว่า ศพของท่านและครูบาอาจารย์องค์อื่นที่มรณภาพพร้อมกันนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ บำเพ็ญพระราชกุศลพระราชทาน ตลอดเวลา ๗ วัน ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร บางเขน
    บริขารที่ท่านครองนอกจากฉีกขาดบ้างแล้ว ยังอยู่ในสภาพเปื้อนโคลนมาก เพราะขณะเกิดเหตุนั้นมีฝนตกใหญ่ ได้มีการจัดนำสบง จีวรชุดใหม่มาเปลี่ยนให้ท่าน สำหรับชุดเดิม ทางพระแต่ละวัด ก็นำมาซัก ทำความสะอาด เก็บรักษาไว้ ส่วนบริขารอื่นๆ ที่ยังหาไม่ได้ เข้าใจว่าคงตกกระจัดกระจายอยู่ในทุ่งนา อย่างเช่น ย่าม บาตร รองเท้า กลด...เหล่านี้ ทางพระลูกศิษย์จึงออกติดตามไปยังที่เกิดเหตุ
    ถึงจะมีพระที่มรณภาพพร้อมกันหลายองค์ แต่บรรดาศิษย์ต่างก็จำ บาตร ย่าม เครื่องใช้ของท่านอาจารย์ของตนได้ จึงไม่เป็นปัญหาอะไร


    ระยะนั้น นอกจากเวลาทั้งสิ้นแล้วผู้เขียนอยู่ที่วัดตลอด เพียงกลับมาอาบน้ำแต่งตัวเท่านั้น ทราบข่าวเป็นระยะ ๆ ว่า บริขารชิ้นใดที่หาได้แล้ว และบริขารชิ้นใดที่ยังหาไม่พบ ที่การหาไม่ง่ายดายนัก ก็เพราะสถานที่เกิดเหตุเป็นโคลน ซากเครื่องบินอยู่ในสภาพพังยับเยิน บางอย่างพบบนดิน บางอย่างก็ต้องไปงัดซากเครื่องบินบางส่วนออก


    สุดท้าย บริขารของท่านอาจารย์จวน ก็หาได้ครบ ยกเว้นแต่รองเท้าข้างเดียว ที่หาอย่างไรก็ไม่ได้ เข้าใจว่าคงถูกแรงอัดของเครื่องบิน จมหายลงไปในดิน
    [​IMG]บาตรซึ่งมีฝาบาตรปิดอยู่ บุบยุบลงไปด้วยกัน ต้องงัดเป็นการใหญ่ จึงสามารถเปิดออกมาได้


    สังฆาฏิ บริขารอาศัย พับอยู่อย่างเรียบร้อยภายในบาตร รวมทั้งเครื่องใช้อื่น ๆ ที่ท่านใช้เป็นประจำ เช่น ซองผ้าใส่ช้อนส้อม กลักสบู่ ในเวลาเดินทาง พระธุดงค์ท่านใช้บาตร เหมือนกับที่พวกเราใช้กระเป๋าเดินทาง จึงไม่ประหลาดที่พบของเหล่านี้



    แต่ที่ประหลาด คือ พบซองจดหมายหนาปึกอยู่ซองหนึ่ง วางอยู่ข้างบนอัฐบริขารทั้งหมด รวมอยู่ในบาตรด้วย


    เป็นซองราชการ ผนึกอย่างดี และตีตราลับ...!


    พระท่านก็นำมาให้ผู้เขียนดู ไม่ทราบว่าของใคร นำมาฝากท่านอาจารย์ไว้


    ผู้เขียนเห็นตรากระทรวงมหาดไทย เห็นมุมซองแสดงว่าเป็นเอกสาร
    [​IMG]จากผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ก็ร้องด้วยความดีใจ
    เราหากันแทบจะพลิกแผ่นดิน (ตรงบริเวณเครื่องตก) เอกสารซองนี้... !


    อยู่ในบาตรท่านอาจารย์นี่เอง....!


    คุณสมพร กลิ่นพงษา...ขอประทานออกนาม ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม-ตำแหน่งในขณะนั้น บัดนี้ท่านเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เดินทางมาในเครื่องบินลำที่เกิดเหตุนี้ด้วย ท่านนั่งทางท้ายเครื่องบิน จึงโชคดีไม่เสียชีวิต แต่ก็บาดเจ็บสาหัส เมื่อมีผู้ไปช่วยเหลือ ท่านยังมีสติอยู่ จึงพอทันบอกความกับผู้ที่ไว้ใจได้ว่า ท่านได้นำเอกสารสำคัญชิ้นหนึ่งติดตัวมาด้วย เอกสารนี้เป็นความลับของประเทศ หากตกไปอยู่ในมือของฝ่ายตรงข้าม จะเกิดอันตรายเป็นผลเสียหายอย่างร้ายแรง ขอให้ช่วยหาให้ได้


    เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทย หาไม่พบ ก็มาติดต่อกับผู้เขียนให้ช่วยหาด้วย


    เมื่อไม่พบกันจริง ๆ ก็ได้แต่ภาวนาขอให้เอกสารนั้น ถูกอัดหายเข้าไปในดินโคลนตม สูญหายไปเลย ดีกว่าจะถูกค้นพบ ตกไปอยู่ในมือฝ่ายตรงข้าม หรือถูกนำไปเปิดเผยให้เสียหายแก่บ้านเมือง


    สองวันเต็ม ๆ ที่ใจคอไม่ดีกันแล้วก็มาพบได้...!


    จึงโทรศัพท์เชิญทางกระทรวงมหาดไทยมาดู ท่านก็ยืนยันว่า ใช่...เป็นเอกสารที่ต้องการจริง ๆ


    ขณะนั้นนึกเพียงว่า ประหลาด ทำไมคุณสมพรนึกยังไง ถึงได้เอาซองเอกสารสำคัญมาฝากท่านอาจารย์ไว้ ไม่เก็บไว้กับตัว หรือเกิดสังหรณ์อะไร จึงฝากไว้ หรือ ท่านอาจารย์ “รู้” ล่วงหน้า ก็เลยเรียกให้ไปฝากไว้


    ว่าจะถาม แต่คุณสมพรก็เจ็บหนัก ไม่ควรไปกวน ต่อมาเมื่อท่านหายเจ็บแล้ว...ตามวิสัยคนกรุง เรื่องผ่านไปแล้ว ก็ลืมไปเลย พบคุณสมพรภายหลัง ก็พูดคุยกันเรื่องอื่นไปหมด


    จนกระทั่งเมื่อจะจัดตั้งเครื่องบริขารในห้องพิพิธภัณฑ์ คิดจะแยกเป็นกลุ่ม แสดงบริขารที่ท่านใช้วันเครื่องบินตกโดยเฉพาะ เห็นบาตรบุบจึงนึกขึ้นได้
    ว่าจะเรียนถามท่านสักหน่อย ว่าคุณสมพรเอาไปฝาก หรือท่านอาจารย์เรียกให้เอาไปฝาก


    โทรศัพท์ติดต่อกับท่านได้เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๒ นี้เองท่านอุทานดังลั่นเมื่อทราบเรื่อง


    "อะไรนะครับ ซองเอกสารนั่นหรือครับ ได้มาจากบาตรท่านอาจารย์จวน...!"
    "ค่ะ"
    "ผมไม่ทราบเลย เพิ่งทราบจากพี่เดี๋ยวนี้เอง โอ...ผมขนลุกไปหมด”
    "ทำไมคะ"
    "ก็ผมไม่ได้เอาไปฝากท่าน อยู่กับตัวผมตลอดเวลาจนเครื่องตก เอกสารลับเป็นความเป็นความตายอย่างนั้น ใครจะให้คลาดจากตัว! แล้วเข้าไปอยู่ในบาตรท่านได้อย่างไร ผมขนลุกจริง ๆ...! พี่บอกว่า บาตรบุบยุบอัดแน่น เปิดไม่ได้ จนพระต้องช่วยกันงัด...! เท่ากับท่านช่วยไว้ไม่ให้ใครไปพบก่อนพวกเราจะพบ...!”


    [​IMG]แล้วคุณสมพร ก็เล่าเท้าความเรื่องเดิมให้ฟังว่า วันเกิดเหตุนั้นท่านเดินทางมาจากนครพนม จะมารับรางวัลชนะเลิศการปราบยาเสพย์ติด (กัญชา) ซึ่งกำหนดจะมีการมอบรางวัลกันในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๒๓

    ปกติทางบริษัทเดินอากาศไทยซึ่งเวลานั้นยังไม่ได้มารวมกิจการกับบริษัทการบินไทย จะสำรองที่นั่งไว้ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเก้าอี้แถวที่หนึ่งเสมอ



    มาถึงอุดรฯ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินก็มาขอร้องให้ยกที่นั่งให้คณะท่านอาจารย์ที่ขึ้นเครื่องบินที่นั่นคุณสมพรก็ย้ายไปอยู่กลางลำ เกิดมีสองสามีภรรยามาบอกว่า เดินทางมากับลูกเล็กอีกคนหนึ่ง ได้ที่นั่งตรงข้างคุณสมพรเพียง ๒ ที่ จึงอยากจะขอแลกเพื่อได้มาอยู่รวมกัน คุณสมพรเห็นใจก็เลยยอมย้ายไปนั่งแทนตรงท้ายเครื่องบิน


    กลายเป็นโชคดีไป เพราะผู้โดยสารทางส่วนท้ายของเครื่องบินรอดตายหลาย
    คน...!


    “แล้วสามคนพ่อแม่ลูกนั่นล่ะคะ?”
    “หมดเลยครับ ผมยังต้องทำบุญให้เขา เท่ากับเขามาตายแทนผมแท้ ๆ เชียว...โธ่”


    เลยปลอบว่า “คุณไม่ได้เป็นคนไปขอแลกที่กับเขา เขามาขอแลกที่กับคุณอง แปลว่า เขาจะถึงที่เองต่างหากค่ะ”


    "เรื่องเอกสารนั้น พอเจ้าหน้าที่เขามาบอกว่า หาได้แล้ว เอามาให้ผมดูให้รู้ว่า ใช่ ก็โล่งใจ ให้จัดส่งกันไปตามระเบียบ โอย...ไม่ทราบจริง ๆ ว่าท่านอาจารย์เอาเข้าไปไว้ในบาตรให้”


    "คุณเรียนท่าน หรือระแคะระคายให้ท่านทราบเรื่องเอกสารนี่ไหม”


    "โธ่...พี่จะเรียนท่านได้อย่างไร เอกสารลับ...นะครับ"


    บอกคุณสมพรว่า ความจริง เราก็ทราบแล้ว ผู้ถือเอกสารลับ ย่อมต้องรักษาสุดชีวิต ยอมแม้ตัวจะตายก็ต้องยอม แต่ที่ถามย้ำ เพื่อให้แน่ใจสิ้นสงสัยในประเด็นของท่านอาจารย์ต่างหาก
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ประมวลเหตุการณ์ พระคณาจารย์ ๕ รูป ที่มรณภาพพร้อมกันด้วยเหตุเครื่องบินตก

    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ (1)​
    โดย อำพล เจน
    หนังสือศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 214
    วันที่ 16 ธันวาคม 2534
    โพสท์ในเวบ AmpolJane Community โดย prigtai เมื่อ 17 กันยายน 2552
    [​IMG]
    [​IMG]ได้กล่าวถึงพระอาจารย์วัน อุตตโมไปแล้ว ต่อจากนี้จะได้กล่าวถึงพระอาจารย์จวน ซึ่งเป็น 1 ในจำนวนพระ 5 รูปที่มรณภาพพร้อมกัน
    คราวเครื่องบินโดยสารตกในท้องที่อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523


    เห็นรูปพระธาตุของพระอาจารย์จวนแล้วนะครับ


    นั่นล่ะกระดูกของพระที่สิ้นไปด้วยอุบัติเหตุ


    ถ้าจะพูดถึงความตายที่กำลังจะมาถึงตัวเรา ในฐานที่รู้ตัวล่วงหน้า เราจะมีใจ กล้าหาญองอาจผึ่งผายเดินเข้าไปหาความตายอย่างเต็มอกเต็มใจกันไหม (คนวิกลจริตไม่ต้องตอบ)


    ผู้ร้ายปากแข็งก็ต้องว่าผมกล้าครับ, ฉันไม่เห็นจะกลัวเลยค่ะ กะอีแค่ความตาย
    ผู้ร้ายปากอ่อนอย่างผมต้องบอกว่าข้าน้อยมืออ่อนตีนอ่อน ขนบนหัวชูชันไปหมดใจฝ่อเหลือเท่าเมล็ดงา เหงื่อกาฬทะลักเหมือนน้ำตกแก่งหลี่ผี



    โอย....บรรยายไม่ถูก มันร่อยถอยแรงอ่อนไปทั้งตัวขะรับ
    [​IMG]ไม่ตายไม่ได้หรือขะรับ


    ปุจฉา-วิสัชนาเล็กๆ สำหรับปุถุชนอย่างเรานี้มีเพื่อปูทางไปถึงปุจฉาสำหรับอริยสงฆ์องค์นั้น
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร ภูทอก กิ่งอ.ศรีวิไล หนองคาย


    ท่านรู้ล่วงหน้าหรือไม่ว่าเครื่องบินลำนั้นมีความตายรออยู่, ถ้ารู้....ทำไมท่านไม่ถอยหลัง?


    ผู้รู้คำตอบอย่างแท้จริงคงมีตัวอยู่ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้รู้ท่านนั้นคือใคร อยู่ที่ไหน บางทีจะเป็นแต่เพียงตัวท่านพระอาจารย์จวนผู้เดียวก็ได้


    ในหนังสือกุลเชฏฐาภิวาท พิมพ์แจกเป็นที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานและเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์จวนกุลเชฏโฐ



    ในภาคมหาการุณิโกนาโถ ซึ่งเรียบเรียงและเขียนโดยคุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต มีคำตอบนี้ปรากฏอยู่อย่างประณีตบรรจง


    ถ้าหากว่าการถ่ายทอดโดยตัดตอนมาบางส่วนนี้เป็นการละเมิดคุณหญิงสุรีพันธ์โดยการถือวิสาสะ โดยความเขลาประการใด ขอความกรุณาอภัยให้ผมด้วย
    คุณสุรีพันธ์ เป็นศิษย์ที่นับว่าใกล้ชิดท่านพระอาจารย์จวนมากที่สุดอีกท่านหนึ่ง ได้พากเพียรพยายามดำเนินการ เขียนบันทึกชีวประวัติของท่านพระอาจารย์จวนอย่างแข็งขัน จนปรากฏเป็นหนังสือเล่มโตดังกล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่าเป็นประวัติของท่านพระอาจารย์จวนฉบับที่เป็นจริงมากที่สุด
    (ขอให้ใจเย็น ๆ อ่านไปเรื่อย ๆ นะครับ)
    คุณสุรีพันธ์ได้เล่าว่า
    [​IMG]สิ่งที่ผู้เขียนสนใจในขณะนั้นก็คือการเขียนประวัติของท่าน ท่านเล่าว่าเคยเล่าประวัติบางตอนให้ศิษย์คนหนึ่งคือ คุณขันธ์ เทศประสิทธิ์ จดเอาไว้ โดยห้ามมิให้นำไปแพร่หลายที่ไหน แต่ปรากฏว่าญาติของคุณขันธ์ผู้หนึ่งคือท่านมหาบุญธรรม อาทรธมฺโม ได้พบบันทึกนั้นเห็นเป็นประดุจมณีมีค่าจึงได้นำไปเขียนลงในหนังสือพิมพ์ลานโพธิ์


    ประวัติชุดนี้ต่อมาท่านมหาบุญธรรมก็นำมามอบลิขสิทธิ์ให้ผู้เขียน เพื่อว่าอาจจะมีโอกาสนำไปเขียนเพิ่มเติมเผยแพร่ให้ดีขึ้น แต่เมื่อท่านอาจารย์ทราบก็ห้ามผู้เขียนไม่ให้เขียนต่อไป ท่านว่าไม่อยากให้เผยแพร่หลาย ที่ลงพิมพ์ไปแล้วก็แล้วไป แต่ไม่อยากให้ทำใหม่จะดูเป็นการโฆษณาหาชื่อเสียงไป


    (ประวัติของท่านมหาบุญธรรมชุดนี้เอง เป็นชุดที่แพร่หลายต่อไป มีคนนำไปพิมพ์และเขียนเพิ่มเติมกันอีกหลายสำนวนด้วยกัน)


    แม้ท่านจะห้ามแล้ว แต่ผู้เขียนก็ไม่ละความพยายาม เรียนท่านว่าการเขียนประวัติบุคคลนั้น ทั่วโลกเขานิยมยกย่องกันมากโดยเฉพาะอัตตโนประวัติหรือ

    Autobiography ซึ่งเจ้าของประวัติเป็นผู้เล่าเอง ถือว่าเป็นการให้บทเรียน แนวทางดำเนินชีวิตแด่อนุชนผู้อยู่หลังอย่างมีค่าที่สุด ประสบการณ์ของผู้เกิดก่อนย่อมเป็นเสมือน “ครู” ให้ผู้อยู่หลังได้ศึกษาสิ่งที่ผิดพลาด ก็จะทำให้ระมัดระวังไม่กระทำผิดซ้ำรอย แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามก็จะเป็นแรงบันดาลใจให้ลูกศิษย์ได้ชื่นชม และพยายามดำเนินตาม “รอยเท้า” ของครูบาอาจารย์ให้ได้


    ระยะนั้นผู้เขียนยัง “เฟื่อง” เรื่องโลก ยังแต่อภิปรายแสดงโวหารอยู่ ก็เลยอวดเก่งกระทั่งกล้าบ่นรำพึงว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าเขียนประวัติเล่าชีวิตของตัวเอง เพราะคนไทยมีนิสัยถ่อมตัวเกรงจะถูกว่าโอ้อวด, วิชาความรู้ต่าง ๆ จึงสูญหายไปกันหมด แรงบันดาลใจของคนรุ่นหลัง จึงไม่ค่อยเกิดขึ้น นิสัยถ่อมตัวนี้ก็เป็นนิสัยที่ดีอยู่ แต่ในขณะเดียวกัน นิสัยถ่อมตัวจนเกินไปนี้ ก็ทำให้ชาติเราไม่เจริญเท่าเทียมซีกโลกตะวันตก น่าเสียดายแทนอนุชนรุ่นหลัง ถ้าเรามีอัตตโนประวัติดีๆ ชาติเราคงจะเจริญกว่านี้มากมายนัก”
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ต่อมาคุณสุรีพันธ์ได้กราบเรียนท่านขอให้ท่านอัดเทปทิ้งไว้ก่อน ซึ่งท่านก็กรุณาอัดไว้ให้ คุณสุรีพันธ์ก็ส่งเทปเปล่าไปถวายท่านเรื่อย ๆ ท่านว่างก็อัดไว้เรื่อย ๆ เช่นเดียวกัน


    คุณสุรีพันธ์เล่าต่อไปว่า

    “สุดท้าย คิดว่าท่านคงลืม หรือไม่สนใจอย่างใดอย่างหนึ่ง กระทั่งวันหนึ่งก่อนเข้าพรรษาปี 2521 ท่านจึงได้เอ่ยขึ้นโดยไม่มีอารัมภบทใดล่วงหน้าเลย”

    “ประวัติเสร็จแล้วจะเอาไหม”

    “ประวัติ?” ผู้เขียนแทบไม่เชื่อหูตัวเอง เป็นเวลา 2 ปีกว่า ท่านไม่เคยเอ่ยถึงแล้วจู่ ๆ ท่านก็มาบอกเช่นนี้

    “ประวัติอาตมาน่ะซีก็เราอยากได้ไม่ใช่หรือ”

    “เจ้าค่ะ” ผู้เขียนยังงงอยู่

    “ถ้าไม่ต้องการแล้วก็ไม่เป็นไร”

    “ต้องการซีเจ้าคะ” ผู้เขียนระล่ำระลักตอบ

    “รับปากได้ไหมว่าจะเก็บไว้ ไม่ให้เอาไปลอกไม่ให้เอาไปเขียน ไม่ให้เอาพิมพ์จนกว่าอาตมาจะตายแล้วจึงให้เขียนได้พิมพ์ได้ ถ้ารับปากไม่ได้อย่าเอาไป”

    แน่นอนผู้เขียนรับปาก

    ต่อมาใกล้เวลาเจียนจะครบรอบอายุ 60 ปีของท่านพระอาจารย์จวนในวันที่ 10 กรกฎาคม 2523 คุณสุรีพันธ์ก็คิดอยากจะพิมพ์ประวัติของท่านเพื่อโอกาสนั้น ทีแรกท่านไม่อนุญาต แต่ภายหลังทนรบเร้าไม่ได้จึงอนุญาต

    ความจริงต้นเหตุที่จะมีการขออนุญาตพิมพ์ประวัติท่านเพื่อแจกในวันครบ 60 พรรษา ทั้งๆ ที่ท่านเคยสั่งเป็นคำขาดห้ามพิมพ์โฆษณาระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น เป็นเพราะระยะหลังนี้ท่านอาจารย์เคยปรารภให้ลูกศิษย์ฟังหลายครั้งว่า ท่านและท่านอาจารย์วันต่างองค์ต่างเข้าที่พิจารณากันว่าจะมีอายุไปเท่าไหร่ เห็นว่าจะมีอายุยืนมาก เฉพาะท่านนั้นจะมีอายุถึง 92 ปีทีเดียว ท่านเล่าว่าตอนนั้นคงไม่ได้พบกันแล้วต่างองค์ต่างอยู่ ไปหากันไม่ไหว ต้องสั่งฝากไปหากันเหมือนหลวงปู่ขาวกับหลวงปู่แหวนน่ะแหละ

    ผู้เขียนฟังแล้วก็เกิดความคิดว่าถ้าท่านจะมีอายุยืนถึงเก้าสิบกว่าปี เราจะเก็บประวัติของท่านไว้อย่างไร เราคงตายก่อนท่านแน่ และน่าเสียดายที่ประวัติดี ๆ อย่างนี้จะต้องเก็บไว้ไม่ยอมเปิดเผยไปอีกหลายสิบปี จึงได้อ้อนวอนขอพิมพ์ก่อนโดยยกการที่ท่านจะมีอายุครบ 5 รอบขึ้นมาเป็นข้ออ้าง
    และกว่าจะพิมพ์ได้ท่านก็ทิ้งพวกเราไปแล้วจริง ๆ

    เรื่องที่ว่าท่านและท่านอาจารย์วันพิจารณาแล้วจะอยู่ไปจนอายุเก้าสิบกว่านี้ ท่านพูดอยู่จนแม้เมื่อเราไปธุดงค์ที่ภูวัวกับท่านตอนต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2523 แต่เมื่อเราได้กราบท่านเดือนมีนาคม ท่านเริ่มพูดถึงการพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจเป็นทุกข์บ่อย ๆ เทศน์เรื่องกรรม เทศน์เรื่องปัจฉิมโอวาทหลายครั้งจนเราออกปากกันและเตรียมอัดเทป ท่านก็ตั้งต้นเลยว่า

    “นับแต่วันนี้ไปอีกสามเดือน เราตถาคตจะขอลาพวกท่านทั้งหลายเข้าสู่พระนิพพาน เพราะอายุสังขารของเราสุดสิ้นลงเพียงแค่นั้น ให้พระอานนท์ประกาศแก่สงฆ์ทั้งหลายให้ทราบทั่วกัน....”

    จริงอยู่! ท่านเพียงได้นำพระพุทธดำรัสปลงพระชนมายุสังขาร ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากล่าวซ้ำในโอกาสวันมาฆบูชา แต่ปกติก่อนเทศน์ท่านต้องมีอารัมภบทเล็กน้อยก่อนเสมอเช่น ให้หลับตานั่งสงบจิต ตั้งใจฟัง... วันนี้จะเทศน์เรื่องปัจฉิมโอวาท ฯลฯ หรืออะไรเหล่านี้ แต่วันนั้นท่านตั้งต้นเช่นนั้นเลยทีเดียว เราฟังยังสะดุ้งกันอยู่ แต่แล้วก็ว่า อ้อ เรื่องพระพุทธเจ้าน่ะ

    การเทศน์เรื่องกรรมเรื่องการเกิดการแก่การเจ็บการตายเป็นธรรมดา การพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจ...เกือบทุกวัน เราคิดกันว่า ท่านเตือนพวกเรามิให้ประมาทต่อความตายเป็นธรรมดาของท่าน

    ต้นเดือนมีนาคม ผู้เขียนไปราชการอเมริกาเสีย 4 อาทิตย์ กลับมาถึงบ้านกลางคืนวันที่ 30 มีนาคม ก็ทราบว่าที่บ้านเตรียมเรือนไทยทางด้านหลังไว้เรียบร้อยแล้ว เพราะพรุ่งนี้บ่ายท่านอาจารย์วันและท่านอาจารย์จวนจะลงมากรุงเทพฯ ในกิจนิมนต์สำคัญ ยังดีใจว่ากลับเมืองไทยก็ได้กราบครูบาอาจารย์เลย

    เสร็จพิธีวันที่ 3 เมษายนแล้วท่านอาจารย์วันต้องกลับไปสกลนครก่อน เพราะทางวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมของท่าน มีงานนมัสการพระมงคลมุจลินทร์ บนถ้ำพวง เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 เมษายนทีเดียว ท่านเป็นประธานในงาน และจะมีพิธีขอฝนช่วยชาวเมืองสกลนครด้วย ท่านจึงอยู่ต่อไปไม่ได้ ต้องกลับทันที เดิมท่านอาจารย์จวนจะกลับไปพร้อมกับท่านอาจารย์วัน ท่านว่ามาด้วยกันก็กลับด้วยกัน แต่เมื่อพวกศิษย์กราบอ้อนวอนท่าน ขอให้อยู่ต่อไปก่อน ถ้าหากท่านจะรอกลับคืนวันศุกร์หรือวันที่ 4 เมษายน พวกศิษย์จะขอตามไปด้วย ไม่ต้องลางาน ท่านก็เมตตารอเราอยู่

    คราวนั้นมีพวกศิษย์ตามท่านกลับไปสิบกว่าคน เราอ้อนวอนว่าขอให้แวะไปเยี่ยมท่านอาจารย์วันด้วย ท่านก็ตกลง ขบวนรถเราวิ่งไปตลอดคืน พอสว่างก็ถึงวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมได้ทันถวายจังหันเช้าพอดี

    เป็นวันสุดท้ายที่เราได้กราบท่านอาจารย์วัน

    และระหว่างอยู่ถ้ำพวง ผู้เขียนตอนนั้นอ่านต้นร่างประวัติของท่านอาจารย์จวนจนขึ้นใจแล้ว จึงได้กราบเรียนถามถึงสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ท่านเล่าไว้ในประวัติระหว่างจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพวง เช่น เรื่องถ้ำพระอรหันต์ชื่อพระนรสีห์มานิพพาน เรื่องกระต่ายมายืนภาวนาเวลาท่านเดินจงกรม ถ้ำที่ท่านพักอยู่ ท่านก็เมตตานำพวกเราไปดูสถานที่ทุกจุด ที่อยู่ในประวัตินั้น ทำให้ภายหลังเราได้กลับไปถ่ายภาพสถานที่เหล่านั้นมาได้ครบ

    ระหว่างอยู่ที่ภูทอกต้นเดือนเมษายนนั้นเอง บ่ายวันหนึ่งท่านหันมาหาผู้เขียน

    “เส....เส ช่วยทำศพให้อาตมาด้วยได้ไหม”

    ระยะหลังตั้งแต่ไปธุดงค์ในเดือนเมษายนปี พ.ศ.2522 แล้ว ท่านก็มักจะไม่เรียกชื่อผู้เขียน แต่เรียก เส-แทน ย่อมาจาก “เสนาธิการ” ต้นเรื่องก็เพราะคุณชายทวีวัฒยา เกษมศรี เรียกนำขึ้นก่อน ว่าผู้เขียนเป็นคนช่างออกความคิด ช่างวางแผน ทั้งเรื่องธุดงค์ เราจะไปเมื่อไหร่ พักที่ไหน กี่วัน ทั้งเรื่องทอดกฐิน ผ้าป่า จะไปกราบท่านอาจารย์หลวงปู่องค์ไหน อย่างไร

    “ต้องถามเสเขา รอเสเขาก่อนครับ”

    ท่านอาจารย์ได้ยินเข้าก็ชอบใจเลยเรียกผู้เขียนว่า “เส” บ้าง ท่านเรียกจนติดปาก มีครูบาอาจารย์องค์อื่นถาม ท่านก็อธิบายว่า เขาเป็นเสนาธิการทางทำบุญ เป็นเสกฐิน เสผ้าป่า เสธุดงค์

    วันนั้นท่านเรียกเส....แต่ผู้เขียนก็ยังจับใจความไม่ถนัด เพราะสมองไม่ทันรับความหมาย ท่านถามซ้ำ

    “ว่าไงเส....ทำศพให้อาตมาได้ไหม”

    ผู้เขียนยังจำได้ เพียง 2 เดือนก่อนหน้านั้นท่านยังพูดถึง เรื่องที่ท่านและท่านอาจารย์วันจะอยู่เหมือนหลวงปู่ขาวและหลวงปู่แหวนจึงค้านว่า

    “จะทำศพอย่างไรเจ้าคะ ท่านอาจารย์จะอยู่ถึงเก้าสิบกว่าไม่ใช่หรือเจ้าคะ”

    หมายความว่าผู้เขียนคงจะตายก่อนท่าน หรือถ้าจะมีชีวิตยืนยาวกว่าท่านแต่ก็คงเฉียดเก้าสิบเหมือนกัน อายุปานนั้นแล้วจะมีสติปัญญาทำอะไรได้
    ท่านก็ว่ายิ้ม ๆ “ก็ถ้าเผื่อมันต้องเปลี่ยนแปลงล่ะ”

    ผู้เขียนจึงตอบว่า “ถ้าอย่างนั้นก็ทำถวายได้ซีเจ้าคะ” กราบเรียนท่านแล้วก็มิได้นึกอะไรอีก จนต่อมาเกิดอุบัติเหตุแล้วเราจึงนึกกันได้
    วันที่กราบลาท่านเป็นครั้งสุดท้ายคือเช้าวันที่ 8 เมษายน ดูเหมือนท่านมีเรื่องสั่งกำชับเรากันหลายคน พวกที่ชอบแขวนเหรียญ มีด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือท่านก็บอกให้ถอดทิ้งในวันนั้นเอง

    “นักปฏิบัติแล้วไม่ต้องมีหรอก”

    “เวลาไม่มีครูบาอาจารย์ ก็ปฏิบัติไปนะอย่าถอยหลัง”

    เราก็นึกว่าท่านสอนให้รู้จักพึ่งตัวเอง เวลาไม่มีครูบาอาจารย์ หมายความว่าไม่มีครูบาอาจารย์อยู่ใกล้ อยู่ห่างกัน ก็ให้ภาวนาไป ไม่เช่นนั้นพวกเราก็มักขี้เกียจกัน คอยแต่จะต้องรอให้ท่านคุม ให้ท่านสอนถึงจะปฏิบัติ

    “อย่าถอยหลังนะ รับคำอาตมาก่อน”

    ท่านสั่งซ้ำผู้เขียนยังยิ้มเฉย นึกในใจว่าวันนี้เราถูกดุมากกว่าเพื่อน เตรียมจะกราบลา ท่านก็ว่าเรานั่นแหละ....

    ”อย่าเพิ่งไปรับคำอาตมาก่อน เราอย่าถอยหลังนะ....”

    ระหว่างที่มาพักอยู่เรือนไทยลาดพร้าวเดือนเมษายนครั้งหลังนี้เอง ที่ท่านอาจารย์วันและท่านคุยกันเรื่องเกษียณไม่รับนิมนต์อีกต่อไป

    ท่านปรารภกันว่า ระยะนี้เหนื่อยเต็มที นิมนต์กันไม่มีเวลาหยุดพักเลย บางทีฉันเช้าเสร็จก็จะมีคนนิมนต์ไปเหยียบบ้านเหยียบโรงงาน เทศน์ จากบ้านนี้ไปต่อบ้านโน้น....โรงงานนั้น โรงพยาบาลนี้....ร้านค้านั้นบางวันกว่าจะกลับถึงที่พักก็สี่ทุ่ม และยังมีแขกคอยรอกราบอีก....ผู้เขียนเคยเห็นท่านรับนิมนต์สวดมนต์เย็นจังหวัดหนึ่ง แล้วไปต่อสวดมนต์พิธีฉลองโบสถ์อีกจังหวัดหนึ่ง กว่าจะถึงบริเวณพิธีก็ตีหนึ่ง เมื่อถึงแล้วท่านก็เริ่มสวดต่อไปจนสว่างเลย

    ใครเห็นก็อดสงสารท่านไม่ได้ รับนิมนต์ทีหนึ่ง ๆ กลับวัดท่านจะแทบ “ล้มพับ” กันไป บางทีก็ไม่ได้สรงน้ำ

    “เมื่อไรเราจะเกษียณกันสักที” ท่านอาจารย์วันปรารภขึ้นในวันนั้นที่ลาดพร้าว

    “เกษียณเป็นอย่างไร” ท่านอาจารย์จวนซัก

    “เกษียณ ก็แบบข้าราชการไงล่ะ เขาทำงานมามาก พออายุครบ 60 ราชการเขาให้พักไม่ต้องไปทำงานอีก เรียกว่าเกษียณ” ท่านอาจารย์วันอธิบาย

    ท่านอาจารย์จวนได้ฟังก็ร้องอ๋อ “งั้นเกษียณกันตอนหกสิบปีนี้แหละ”

    หลังจากท่านมรณภาพแล้ว ระหว่างตั้งศพบำเพ็ญกุศลอยู่ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ สมเด็จพระญาณสังวรได้ซักผู้เขียนว่า ท่านอาจารย์เคยพูดว่าอย่างไรบ้าง เมื่อเล่าถวายมาถึงเรื่องเกษียณ ท่านก็อุทานว่า ความจริงเกษียณนั้นแปลว่า หมดไป สิ้นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2011
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุณสุรีพันธ์ ได้อธิบายต่อไปว่า
    <table style="border-collapse: collapse" id="table3" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="95%"> <tbody><tr> <td> "ตลอดเวลาตั้งแต่ข่าววันประสบอุบัติเหตุมาจนเดี๋ยวนี้เป็นเวลาเกือบหนึ่งปีเต็ม ผู้เขียนได้รับคำถามซ้ำซากอยู่แต่ว่า 'คุณว่าท่านรู้ไหม'
    ผู้ถามเป็นทั้งบรรพชิตและฆราวาส
    ผู้เขียนไม่ทราบจะตอบว่าอย่างไรเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของท่าน ผู้เขียนทำได้แต่เพียง พยายามเล่าเหตุการณ์เท่าที่ประสบพบเห็น ประมวลมาเท่านั้น"
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ซึ่งคุณสุรีพันธ์ได้เล่าถึง
    ครั้งหนึ่งก่อนมรณภาพไม่นานนัก ท่านได้บอกทุกคนว่า ต่อไปใครถามหาเจ้าอาวาสภูทอก ก็ให้บอกว่าท่านแยง ไม่ใช่อาตมา เพราะว่าท่านได้ยกท่านแยงเป็นเจ้าอาวาสแทนแล้ว


    แม้กระทั่งเทปประวัติที่ท่านได้อัดเอาไว้ 7 ม้วนสุดท้ายก่อนมรณภาพเพียง 2-3 วัน ท่านก็สั่งให้ทางวัดเก็บไว้ให้คุณสุรีพันธ์ ทั้ง ๆ ที่ท่านกำลังจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ อยู่แล้ว ท่านได้บอกกับทางวัดว่าคุณสุรีพันธ์จะมารับเทปชุดสุดท้ายนี้เอง


    ถ้าท่านนำเทปชุดนี้มาด้วยก็คงเสียหายไปพร้อมกับชีวิตของท่านอย่างไม่ต้องสงสัย
    คุณสุรีพันธ์ได้เล่าอีกว่า
    <table style="border-collapse: collapse" id="table4" bgcolor="#E9E2D8" border="2" height="78" width="95%"> <tbody><tr> <td> “ศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งได้มีโอกาสกราบท่านก่อนเดินทางมากรุงเทพฯครั้งนี้ เล่าว่าท่านอาจารย์ได้บอกว่า นับแต่นี้ไปอีก 3 วัน จะมีคนเช็ดน้ำตาให้เราทั้งเมือง เหมือนที่เราเคยเช็ดน้ำตามาแล้วนับชาติไม่ถ้วน แต่นี้ไปเราจะไม่ต้องเช็ดน้ำตาอีกแล้ว”
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ถึงตรงนี้ ผู้อ่านคิดอย่างไรครับ
    ท่านรู้หรือไม่ว่าเครื่องบินลำนั้นมีความตายรออยู่ ถ้ารู้ทำไมท่านไม่ถอยหลัง?
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ (2)
    โดย อำพล เจน​
    หนังสือศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 215​
    วันที่ 16 ธันวาคม 2534​
    โพสท์ในเวบ http://forum.ampoljane.com โดย prigtai เมื่อ 17 กันยายน 2552
    [​IMG]


    <table style="border-collapse: collapse" id="table16" border="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td valign="top"> [​IMG]
    </td><td valign="bottom"> [​IMG]</td><td valign="top"> [​IMG]
    </td></tr><tr><td>
    </td><td>
    </td><td>
    </td></tr></tbody></table> ​
    ผมจะได้เก็บความเรื่องของพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ กรณีเครื่องบินตก จนเป็นเหตุให้พระ 4 รูปถึงแก่มรณภาพต่อไป


    “ความ” ที่เก็บมานี้ได้อาศัยข้อเขียนของคุณหญิงสุรีพันธ์ มณีวัต จากหนังสือกุลเชฏฐาภิวาท พิมพ์เป็นที่ระลึกในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินเปิดพิพิธภัณฑ์พระอาจารย์จวน ความดีทั้งหลายถ้ามีแล้ว ขอให้เป็นของคุณหญิงสุรีพันธ์ทั้งหมด ส่วนข้อผิดพลาดทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้น เพราะความเขลาไม่เข้าใจว่าควรไม่ควร ขอให้เป็นของผมผู้เดียว


    คุณสุรีพันธ์อยู่ในฐานะที่ใกล้ชิดท่านอาจารย์จวนเป็นพิเศษ จึงมักถูกรุกเร้าด้วยคำถามทำนองที่ว่า ท่านรู้ล่วงหน้าหรือไม่ว่าเครื่องบินจะประสบอุบัติเหตุ ถ้ารู้ทำไมท่านไม่ถอยหลัง


    คำอธิบายในเรื่องนี้ได้กล่าวไปมากพอสมควรในฉบับที่แล้ว ส่วนที่กล่าวเพิ่มเติมในที่นี้นั้นยังมีอยู่


    ครั้งหนึ่งระหว่างที่ท่านอาจารย์วัน ท่านอาจารย์จวน และท่านอาจารย์สิงห์ทองอยู่ด้วยกัน ท่านทั้ง 3 ได้กล่าวถึงเรื่องตายขึ้นมาเฉย ๆ

    ท่านอาจารย์จวนได้กล่าวว่าตัวท่านคงจะตายอยู่ใกล้กับท่านอาจารย์วัน, ส่วนท่านอาจารย์สิงห์ทองก็บุ้ยใบ้บ้างว่า ตัวท่านก็จะตายพร้อมกับหลวงตาโน่น (ท่านบุ้ยมาทางท่านอาจารย์จวน) แล้วหัวเราะกัน

    หมู่ศิษย์ที่ได้ยินเรื่องนี้ต่างเข้าใจได้เพียงว่าครูบาอาจารย์ทั้ง 3 ท่านมีความสนิทสนมกันเป็นพิเศษ จึงได้แสดงความสนิทสนมกันออกมาเท่านั้นไม่มีใครคิดว่านั่นคือฌานหยั่งรู้ของพวกท่าน

    เกี่ยวกับฌานหยั่งรู้ของครูบาอาจารย์เหล่านี้มีบันทึกแสดงเหตุการณ์เอาไว้มากมาย เพื่อยืนยันการหยั่งรู้ว่าเป็นสมบัติของพวกท่านจริง

    อย่างเช่นครั้งหนึ่งชาวหัวหินครอบครัวหนึ่งเป็นผู้มีอันจะกิน ได้นิมนต์ท่านอาจารย์วันและท่านอาจารย์จวนไปฉันจังหันที่บ้าน ครอบครัวนี้ปรุงอาหารอย่างดี ทำขึ้นเป็นพิเศษเพื่อถวายพระ เจ้าบ้านเกรงว่าพระจะไม่รู้จักรับประทานก็พยายามอธิบายว่า อันนี้ออเดิร์ฟ อันนี้ซุป อันนี้เครื่องเคียง ควรจะรับประทานอย่างไร

    ทั้งสองท่านยังคงตักอาหารทุกอย่างรวมลงในบาตรแล้วฉัน ไม่ได้สนใจว่าจะต้องมีวิธีฉันอย่างไร เจ้าบ้านก็แทบเป็นลมตาย ได้แต่มองท่านฉันอย่างท้อแท้หัวใจ

    จู่ ๆ ท่านอาจารย์วันก็แผดกัมปนาทแห่งเสียงขึ้นลั่นบ้าน

    “ทำไมไปว่าพระท่านโง่ ท่านไม่รู้ท่านก็ถาม ไปว่าท่านโง่ได้อย่างไร ฉันอย่างนี้เป็นวัตรของท่านที่ท่านต้องปฏิบัติต้องทำ ไปว่าท่านโง่นั้นไม่ถูก ประมาทท่านว่าโง่ บาปนี่”

    ผู้คิดประมาทท่านในใจคำประมาทคงไปกระทบจิตท่านเข้า จึงทำให้ท่านอาจารย์วันซึ่งปกติอ่อนโยน พูดจาช้า ๆ นิ่มนวลถึงกับออกปากรุนแรงขนาดนั้น

    ผลก็คือเงียบกริบกันไปทั้งหมด
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุณสุรีพันธ์ ได้เล่าเรื่องฌานหยั่งรู้ของท่านอาจารย์วันและท่านอาจารย์จวนไว้หลายเรื่อง จะยกฌานหยั่งรู้ของท่านอาจารย์จวนมาถ่ายทอดต่อบ้างสักเรื่องหนึ่ง

    <table style="border-collapse: collapse" id="table6" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"><tbody><tr><td> “ขอเล่าอีกเพียงเรื่องหนึ่ง อันเป็นครั้งล่าสุดที่เพื่อน ๆ และผู้เขียนได้ประสบ คือว่าวันนั้นเป็นวันที่ 7 เมษายน 2523 เมื่อเราไปส่งท่านที่ภูทอก และรุ่งขึ้นก็จะลากลับ จึงขอให้ท่านกรุณาพาเราไปดูกุฏิที่เพิ่งสร้างที่ภูทอกใหญ่ หรือ ภูแจ่มจำรัส ท่านก็กรุณาพาไป ภูทอกใหญ่นี้ถ้าเดินตัดไปก็คงราว 1 1/2 กิโลเมตรเท่านั้น แต่ถ้าไปตามถนนก็อ้อมหน่อย เราเลือกไปทางรถ ขาไปเราได้อาศัยรถจิ๊บชาวบ้านไปส่ง เพราะรถของเราไม่อยู่ พอถึงเชิงเขาท่านก็สั่งให้รถจิ๊บกลับวัดและให้ไปตามรถของคณะเรามา

    พอลงจากเขาจะกลับเราเห็นรถจิ๊ปจอดอยู่คันเดียวแต่รถของเราไม่อยู่ ได้ความว่ารถมาแล้วแต่เพิ่งไปส่งพระที่ท่านมีธุระขอกลับก่อน ท่านอาจารย์ลงมาถึงเห็นเราขึ้นไปนั่งบนรถจิ๊ปกันหมดก็บ่นเสียงดัง...

    เอ...ไปขึ้นรถจิ๊ปทำไม บอกให้รอรถมารับไงล่ะ

    ท่านเรียกหารถแล้วสั่งให้พวกเราลงรอรถของเรา ครั้งแรกไม่มีใครยอมลงจากรถจิ๊ป ด้วยนึกเกรงใจผู้ขับ เขาอุตส่าห์กลับมารอรับเรา และกระตือรือร้นเชิญเราขึ้นรถขึ้นไปนั่งแล้วยังลงไปเสียอีก เขาจะนึกว่าเรารังเกียจเขาดูถูกเขา ข้อสำคัญ ขามายังนั่งมาได้ แต่พอมีรถที่ดีกว่าก็จะทิ้งเขาไปทีเดียวเชียวหรือ

    เรายืนกรานว่าเราจะกลับโดยรถจิ๊ป เราชอบรถจิ๊ป นิมนต์ท่านอาจารย์รอรถของเราเถิด บัดนี้มองเห็นรถกำลังย้อนกลับมาแล้ว

    ท่านก็ไม่ยอม สั่งให้ทุกคนลงจากรถจิ๊ป ทุกคนเริ่มคิดว่าท่านคงจะมีเหตุผลอะไรกระมัง เพราะทุกครั้งถ้าท่านสั่งด้วยเสียงอันเฉียบขาดดังนี้ ถ้าไม่เชื่อก็มักจะเหตุอะไรเกิดขึ้นเสมอ เสียงเช่นนี้ ถ้าใช้ตามสำนวนขององค์ท่านเอง เมื่อท่านเล่าในอัตตโนประวัติของท่านก็ต้องว่า “ขู่เข็ญคำราม” นั่นเอง
    ไม่กี่นาทีต่อมา เราก็รู้ว่า “เหตุอะไร” ที่ท่าน “ขู่เข็ญคำราม” ไม่ให้พวกเรากลับโดยรถจิ๊ปที่ตามเรามาก็ไหลลงไปในห้วย ได้ความว่าเบรกแตก แม้คนขับจะไม่เป็นอันตรายมาก ด้วยมือยึดมั่นอยู่กับพวงมาลัย แต่ถ้าพวกเรานั่งอยู่ในรถด้วยก็คงไม่วายเจ็บไปตาม ๆ กัน”
    </td></tr></tbody></table> ​

    คุณสุรีพันธ์บอกว่า

    <table style="border-collapse: collapse" id="table7" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"><tbody><tr><td> ท่านคงหมั่นไส้พวก “ดื้อ” จึงออกปากเป็นเชิงสอนว่า

    “เห็นไหม คนเราต้องรู้จักเลือกนั่งรถซี คันไหนมีอันตรายก็อย่านั่ง คันไหนไม่มีอันตรายถึงจะนั่ง”

    “พวกเราใครจะทราบล่ะเจ้าคะว่ารถคันนั้นเบรกจะแตก ไม่เหมือนท่านอาจารย์นี่นา เราจะได้ทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า”

    ท่านได้ยินใครคนหนึ่งย้อนก็หัวเราะแล้วแก้ว่า

    “เราคุยไปเช่นนั้นเอง....ไม่ได้รู้อะไรหรอก”

    </td></tr></tbody></table> ​

    ถ้าหากเชื่อว่าครูบาอาจารย์ทุกองค์ที่มรณภาพด้วยอุบัติเหตุครั้งนั้น ต่างหยั่งรู้แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรู้แล้วทำไมไม่ถอยหลัง และที่หนักหนาสาหัสที่สุดก็คือในเมื่อพวกท่านรู้แล้วว่าเครื่องบินจะประสบอุบัติเหตุ ทำไมท่านไม่เดินทางกันมาแต่เพียงลำพัง ทำไมไม่บอกผู้โดยสารอื่นให้รู้
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุณสุรีพันธ์ได้เล่าถึงเรื่องนี้ว่า

    <table style="border-collapse: collapse" id="table8" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"><tbody><tr><td>
    “หลายคนโกรธแค้น มาขอให้ผู้เขียนจดหมายโต้ตอบ”


    </td></tr></tbody></table> ​

    คุณสุรีพันธ์หมายถึงการโต้ตอบหนังสือบางฉบับที่ลงข้อเขียนทำนองที่ว่า ท่านเหล่านี้รู้ล่วงหน้าแต่ไม่บอกคนอื่น นับว่าโหดเหี้ยมที่สุด

    “ผู้เขียนก็ได้แต่เตือนให้ระลึกถึงคำพร่ำสอนที่ท่านมีต่อเรา อย่าให้ความโกรธเข้ามาครอบงำ จิตที่มักโกรธจะเศร้าหมองและมีทุคติเป็นที่ไป ลืมเรื่องพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแล้วหรือ ทรงบำเพ็ญทานบารมีเลื่อมใสศรัทธา ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาสักปานใด สุดท้ายเมื่อจิตเศร้าหมองก็ยังไปเกิดเป็นงูเหลือมได้

    สาอะไรกับพวกเรา

    เราก็ได้แต่เตือนสติกัน ช่างเขาเถอะ ถ้าเขาสนใจแก่นแท้พุทธศาสนาจริง เขาต้องเคยอ่านพุทธประวัติเมื่อพระเจ้าวิฑูทภะยกทัพมา เตรียมจะจับพวกกษัตริย์ศากยราชฆ่าให้หมด ไม่ให้เหลือแม้แต่ลูกเล็กเด็กแดงด้วยความแค้นพระทัยว่าถูกเหยียดหยาม พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปขวางทัพไว้ถึง 2 ครั้ง ทุกครั้งพระเจ้าวิฑูทภะก็ยกทัพกลับด้วยความเกรงพระทัยพระพุทธเจ้า สุดท้ายเมื่อพระเจ้าวิฑูทภะยกทัพมาอีกเป็นคำรบสาม พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นเป็นกรรมแต่อดีตของพระประยูรญาติของพระองค์ ที่เคยร่วมกันเอายาเบื่อปลาทั้งสระ กรรมตามทันหลีกเลี่ยงไม่ได้ พระองค์ก็เสด็จหลีกไปปล่อยให้เป็นไปตามกรรม

    ที่พระองค์ไม่เสด็จไปเตือนพระประยูรญาตินั้น เพราะพระองค์มีพระทัยเหี้ยมโหดที่สุดกระนั้นหรือ

    อาจารย์หญิงท่านหนึ่งชื่อ คุณนภัทร ป้องเทียน เดินทางไปจากสงขลา ขอไปถือศีลอยู่กับท่านอาจารย์จวนที่ภูทอกหลายอาทิตย์ในวันที่ 27 เมษายนนั้น ท่านได้ให้คุณนภัทรเดินทางมากับท่านด้วย โดยท่านช่วยจัดซื้อตั๋วโดยสารให้เสร็จเรียบร้อย เป็นเรื่องแปลกที่ท่านไม่ให้คนอื่นมา ให้มาแต่คุณนภัทรคนเดียว

    ระยะหลังได้มีญาติคุณนภัทรฝากเงินมาให้ผู้เขียน 1,000 บาท บอกว่า เป็นเงินทำบุญกับภูทอก ขออุทิศส่วนกุศลให้เธอด้วย

    ญาติเล่าว่า หมอดูดูคุณนภัทรว่าจะเคราะห์ร้ายถึงแก่ชีวิต ให้พยายามถือศีลทำบุญในวาระสุดท้ายนี้จะได้เป็นผลติดตัวไป เธอได้ยินชื่อท่านอาจารย์จวนและเลื่อมใสศรัทธาอย่างยิ่งก็เลยคิดจะไปกราบท่าน เธอเดินทางจากสงขลา ดั้นด้นไปคนเดียวจนถึงภูทอก และได้ขอถือศีลอยู่ที่นั่นตลอดเวลาหนึ่งเดือน

    “ถึงที่จริง ๆ ค่ะ แต่ที่ได้ตายโดยกลับจากถือศีลทำบุญ และโดยเฉพาะได้ตายพร้อมกับท่านนั้น หนทางข้างหน้าคงสว่างจริง ๆ นะคะ” ญาติของเธอกล่าว

    เราถึงคิดกันว่า ท่านคงพิจารณาแล้วเห็นว่า เธอคงเป็นผู้หนึ่งที่จะต้องร่วมชะตากรรมอันนี้อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้”
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    คุณสุรีพันธ์ได้เล่าต่อไปอีกว่า


    <table style="border-collapse: collapse" id="table10" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"> <tbody><tr> <td> เป็นเวลา 9 ปีกว่า ที่ผู้เขียนได้รับคำถามเกี่ยวกับการเดินทางมาประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกของท่าน เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2523


    “ท่านรู้ล่วงหน้าไหม”


    “ถ้ารู้ทำไมท่านจึงมา”


    “พระระดับนี้ทำไมต้องมาตายอย่างนี้”


    แรก ๆ คำถามจะเป็นไปในทำนองก้าวร้าว ดูแคลนแต่เมื่อเวลาผ่านไป เกียรติคุณของท่านเริ่มประจักษ์ พระธาตของท่านเริ่มประจักษ์ พระธาตุของท่านเริ่มปรากฏ น้ำเสียงของคำถามค่อยเปลี่ยนไปนอบน้อมขึ้น คารวะ แต่ก็ยังสงสัยอยู่บ้างตามวิสัยของปุถุชนธรรมดา


    “ท่านรู้....ทำไมจึงเดินทางมา” ยังเป็นคำถามที่ผู้เขียนได้รับและไม่กล้าตอบให้ถึงใจ


    วันนี้น่าจะถึงเวลาที่ควรบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ ถ้าเป็นสำนวนของท่านอาจารย์เอง ท่านจะว่า “เพื่อให้เรื่องสมบูรณ์”

    ผู้เขียนขอเล่าภาพเหตุการณ์ในคืนวันที่ 27 เมษายน 2523 คืนแรกที่ตั้งศพท่านและท่านอาจารย์ทุกองค์ที่วัดพระศรีมหาธาตุฯ เรากำลังเตรียมตัวคอยรดน้ำศพด้วยใจอันโศกสลด


    ท่านผู้ใหญ่ในแผ่นดินท่านหนึ่ง เห็นหน้าผู้เขียนก็เรียกไปหาอย่างเมตตา เป็นการปลอบใจมิให้เศร้าโศกจนเกินไป แล้วท่านก็บอกความข้อหนึ่งให้ฟัง


    “โหรหลวงเขาทำนายไว้ว่า ปีนี้ชะตาเมืองไทยจะตกต่ำถึงขีดสุด อาจจะมีข้าศึกยกเข้ามาในเมืองไทย หรือมิฉะนั้น ก็จะต้องเสียพระอริยเจ้าหลายองค์ในเวลาเดียวกัน”


    ท่านมองเรานิ่งอยู่อย่างเห็นใจในความทุกข์และปลอบประโลมใจ


    ผู้เขียนหายใจขัด ๆ โหรหลวงจะให้คำทำนายแม่นยำถูกต้องหรือไม่นั้นอย่างไรก็เป็นขอนไม้ที่ลอยมาให้เราเกาะ


    นั่นแหละ กราบเรียนถามท่านว่า โหรหลวงทำนายไว้แต่เมื่อใด


    “ท่านบอกว่า โหรบอกไว้แต่เมื่อก่อนปีใหม่”


    ผู้เขียนกราบแทบเท้าของท่าน”


    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ต่อไปนี้จะเป็นสรุปปริศนา


    [​IMG]ทำไมจึงเป็นสรุปปริศนานั่น เพราะคำตอบของคำถามทั้งหลายที่จะตอบในบัดท้ายนี้ ยังคงเป็นปริศนาอยู่ดี


    ตอบคำถามด้วยคำถามว่าอย่างนั้นเถิด


    ก่อนเกิดเหตุเครื่องบินตกนั้น ท่านทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เสมือนผู้จะตายทำพินัยกรรมก่อนจะตายเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุผลอะไร








    ทำไมท่านจึงยอมเล่านิมิตสำคัญอันหนึ่ง ซึ่งคุณหญิงสุรีพันธ์เคยเซ้าซี้ถาม แต่ท่านไม่ยอมบอก คงให้สัญญาว่าเอาไว้ถึงตอนที่ท่านใกล้จะตายจึงจะเล่าให้ฟัง


    ทำไมท่านจึงเล่าในตอนต้นเดือนเมษายน (วันที่ 7) ก่อนมรณภาพสิบกว่าวัน
    ทำไมท่านจึงถามคุณหญิงสุรีพันธ์ว่าช่วยทำศพให้ท่านได้ไหม ถามย้ำถึงสองครั้ง
    ทำไมในเมื่อท่านเคยเข้าที่พิจารณากับท่านอาจารย์ว่า ท่านทั้งสองจะมีอายุยืนนานถึงเก้าสิบกว่าปี แต่แล้วพอถึงต้นเดือนเมษายนท่านกลับบอกใหม่ว่า “ถ้าเผื่อมันจะต้องเปลี่ยนแปลงล่ะ”


    ทำไมท่านจึงแต่งตั้งเจ้าอาวาสไว้ล่วงหน้า ทั้งที่ท่านยังสามารถจะเป็นเจ้าอาวาสไปได้อีกหลายสิบปี


    นี่เป็นปริศนาทั้งนั้น
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ (3)
    โดย อำพล เจน
    หนังสือศักดิ์สิทธิ์ฉบับที่ 216
    วันที่ 1 มกราคม 2535
    โพสท์ในเวบ http://forum.ampoljane.com โดย prigtai เมื่อ 17 กันยายน 2552

    [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    ขอให้พิจารณาภาพถ่าย
    2 ภาพถ่าย 2 ภาพ (ที่จริงมีมากกว่า 2 ภาพ) ที่ได้นำลงพิมพ์ไว้ที่นี้ ภาพแรกชื่อว่า ไฟในบาตร ภาพที่สองเป็นแสงประหลาดที่ปรากฏโดยไม่อาจค้นหาแหล่งกำเนิดแสงได้

    ในหนังสือกุลเชฏฐาภิวาทได้อธิบายภาพไฟในบาตรว่า

    “ปกติบรรดาศิษย์จะแอบถ่ายรูปครูบาอาจารย์ในอิริยาบถตามสบายต่าง ๆ กัน ภาพนี้ผู้ถ่ายแอบถ่ายเมื่อท่านอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ ฉันอาหารเสร็จแล้ว กำลังล้างปาก บาตรที่ตรงหน้าท่านว่างเปล่า ได้เทข้าวก้นบาตรออกหมดแล้ว ผู้ถ่ายก็ดี ผู้นั่งอยู่ตรงหน้าซึ่งมีอยู่ประมาณ 10 กว่าคนก็ดี รวมทั้งท่านพระครู (องค์ทางซ้าย) ไม่เห็นแสงไฟหรือเปลวไฟอะไรเลย แต่เมื่อล้างฟิล์มอัดภาพแล้ว จึงได้เห็นไฟในบาตรปรากฏขึ้น แสงไฟในบาตรจับหน้าท่านและขอบบาตรจนเป็นสีเข้มและสะท้อนมาสู่พื้นศาลาหน้าบาตรด้วย”

    ถ้าเราจะค้นหาไฟที่ปรากฏในบาตรก็อาจกล่าวได้ว่า ท่านอาจารย์จวนได้จุดเทียนขึ้นเล่มหนึ่งแล้วปักลงในบาตรก่อนมีการถ่ายภาพ แต่ว่ามีเหตุผลอะไรที่ท่านจะต้องทำเช่นนั้น ในเวลาดูเป็นการประกอบกิจที่ต่อเนื่องเช่นนั้น คือฉันเสร็จ เทข้าวก้นบาตรออก ล้างปากและแคะฟัน และหากเป็นเทียนที่จุดขึ้น ไฟจากเปลวเทียนไม่มีทางจะลุกโชติช่วงสว่างไสวขนาดนี้

    สมมติว่าเป็นการจัดฉาก จะต้องทำกันเป็นเรื่องใหญ่โต ลูกศิษย์ลูกหาต้องร่วมมือด้วย ต้องมีช่างเทคนิคเข้ามาลงมือ อาจมีการลากสายของแหล่งกำเนิดไฟผ่านมาทางด้านหลัง และให้ท่านอาจารย์นั่งทับแล้ววางกล้องให้อยู่ในตำแหน่งที่บาตรก็สามารถบังสาย หรือท่อกำเนิดไฟจนเกิดภาพไฟในบาตรขึ้น

    นั่นเป็นสิ่งที่อาจเป็นไปได้ แต่ผมก็ไม่เห็นว่าจะมีเหตุผลอะไรที่จะต้องทำเช่นนั้น

    ทีนี้มาดูภาพที่สองแสงประหลาดที่ปรากฏในภาพนี้ หรือแสงทำนองนี้เคยเห็นในภาพถ่ายของครูบาอาจารย์องค์อื่นมากอยู่ บางทีในงานพุทธาภิเษกวัตถุมงคล หรือในระหว่างครูบาอาจารย์ต่าง ๆ กำลังประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ

    ลักษณะของแสงประหลาดแบบนี้เท่าที่ผมได้พบเห็นมา มีทั้ง แสงโง่ และ แสงที่ประหลาดจริง ๆ

    แสงโง่ คือแสงที่มักปรากฏในพิธีพุทธาภิเษกโดยมาก แสงโง่เกิดขึ้นเพราะด้ายสายสิญจน์ที่ผูกระโยงระยางตลอดมณฑลพิธี ช่างภาพเข้าไปถ่ายภาพด้วยไฟแฟลชด้ายสายสิญจน์ หรืออะไรก็ตาม ที่อยู่ใกล้กล้องมากที่สุด จะรับแสงจากไฟแฟลชเต็มที่ จนเกิดเป็นภาพเหมือนลำแสงขาวนวลพาดผ่านในภาพถ่าย พอล้างรูปออกมาดูก็ฮือฮาว่าเป็นแสงปาฏิหาริย์ แล้วเอามาอวดโง่กัน

    แสงโง่ก็เป็นลักษณะหนึ่ง

    ส่วนแสงประหลาดก็เคยพบอยู่มากจริง ๆ เหมือนกัน เป็นแสงที่มีลักษณะอย่างในภาพที่ลงไว้ทั้งสิ้น

    พิเคราะห์ดูลักษณะการเกิดภาพแสงแบบนี้เราจะสามารถเห็นได้ในการถ่ายภาพกลางคืน อย่างเช่น ถ่ายภาพถนนราชดำเนินในคืนวันเฉลิมพระชนม์พรรษา แสงอย่างนี้ปรากฏตลอดแนวยาวของถนน นั่นเป็นเพราะว่าการถ่ายภาพกลางคืนจะต้องเปิดหน้ากล้องค้างไว้นานมาก รถยนต์หรืออะไรก็ตาม ที่สามารถเคลื่อนไหวได้ ก็จะเคลื่อนไหวผ่านหน้ากล้องไปมา ไฟจากหน้ารถก็จะถูกพิมพ์ลงในฟิล์มเป็นสายยาวตลอดจนตกเฟรมไป เมื่อล้างรูปออกมาดูก็จะเห็นแสงอย่างนี้ปรากฏในภาพมากมายไปหมด ซึ่งการถ่ายภาพแบบนี้มีแหล่งกำเนิดแสงอย่างแน่ชัด

    แต่ภาพอย่างที่เห็นว่าแปลกนี้ เป็นภาพถ่ายที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน ดูเหมือนจะตั้งความเร็วปกติคือระหว่าง 60-125, ภาพคนทุกคนที่อยู่ในนั้นไม่มีการเคลื่อนไหว ถ้าหากเป็นการเปิดกล้องค้างไว้นานๆ แล้วแม้อาการหายใจของคน ก็จะทำให้รูปคนพร่ามัวไปได้ทันที และเมื่อมองหาแหล่งกำเนิดแสง ก็ไม่พบว่ามีเทียนหรือไฟอะไรอยู่ในนั้น

    ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

    ถ้าที่นี่เมืองไทยก็มีคนอย่างยอร์ช ลูคัส หรือสตีเว่น สปีลเบิร์กอาศัยอยู่ ภาพนี้คงไม่แปลกประหลาดอะไร

    แต่ภาพนี้ก็เป็นของแปลก โดยเฉพาะถ่ายขึ้นมาด้วยกล้องที่ภาษานักเลงกล้องเรียกอย่างดูหมิ่นว่า “กล้องปัญญาอ่อน” ก็ยิ่งยากที่จะทำอะไรประหลาด ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างจงใจได้

    มีคำบรรยายภาพทั้งหมดนี้ว่า

    “เมื่อมีการนำภาพชุดนี้มากราบเรียนถาม ท่านไม่อธิบายว่าอย่างไร ศิษย์ผู้หนึ่งแสดงความเห็นว่า แสงเป็นสายยาวนั้น คงคล้ายกับการถ่ายภาพรถยนต์เมื่อกำลังวิ่งในเวลากลางคืน ความเร็วของรถทำให้แสงโคมไฟหน้ารถจะเป็นเส้นขาวเช่นนั้น การถ่ายภาพนี้คงเป็นการบังเอิญที่กล้องสามารถจับภาพ “รังสี” ของท่านที่อยู่อีกภพหนึ่ง ซึ่งเราไม่อาจเห็นได้ด้วยตาของสามัญชนธรรมดา และการเคลื่อนไหวของ “ท่าน” เหล่านั้นรวดเร็วมาก “รังสี” ของ “ท่าน” จึงเห็นเป็นเพียงลำแสงปรากฏเป็นเส้น และเวลาต่างกันเพียงอึดใจเดียว ก็เป็นภาพที่แตกต่างกันมาก ไม่ทราบว่าคิดเช่นนี้ถูกผิดประการใด

    ท่านฟังแล้วก็นิ่งอยู่ หากทว่าภายหลังมีผู้มารบเร้าซักถามท่านมาก ๆ ท่านหันมาทางศิษย์ผู้นั้นบอกว่า

    “ไหนช่วยอธิบายให้เขาฟังทีซิ”แล้วท่านก็ลุกหนีไป

    ผู้ที่เคยเห็นภาพชุดพิเศษ ถ่ายในคืนวันพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ขาว อนาลโย ในหนังสืออนาลโยบูชา จะเห็นแสงสีฟ้าลักษณะขาดเป็นช่วง ๆ เช่นนี้มาก รวมทั้งเศียรพญานาคที่กำลังชูคอแผ่พังพานอยู่หลายตัว อาจจะนำมาเทียบเคียงกันได้ อาจเป็นเครื่องยืนยันว่า เมื่อท่านผู้ทรงคุณธรรมเฉกเช่นนี้อยู่ที่ใด ย่อมแวดล้อมด้วย “ท่าน” ผู้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธานุภาพมาพิทักษ์รักษาหรือกราบคารวะ”
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ผู้อ่านคิดอย่างไร

    ในส่วนตัวของผมแม้จะเห็นว่ามีทางถ่ายภาพโดยให้เกิดแสงอย่างนี้ขึ้นได้เหมือนกัน แต่ผมไม่คิดว่าผู้ถ่ายภาพพระอาจารย์จวนจะเป็นผู้รู้จักวิธีการอย่างนั้น หรือผู้ถ่ายภาพแสงประหลาดทั้งหลาย จะรู้จักวิธีทำภาพแบบนี้ ให้ถามนักเลงกล้องมืออาชีพที่อยู่ใกล้ ๆ ตัวก็จะพออธิบายได้ ว่าจะต้องทำอย่างไร ผมจะไม่ชี้โพรงให้กระรอก ไว้วันดีคืนดีผมอาจจะทำให้ดูเล่น ๆ สักภาพ

    ในกรณีของภาพแสงประหลาดที่ลูกศิษย์ถ่ายท่านอาจารย์จวนนี้ ผมเชื่อเต็มหัวใจว่าเกิดขึ้นโดยเหตุบังเอิญหรือด้วยปาฏิหาริย์จริง ๆ ไม่มีเรื่องจัดฉากแต่อย่างใด

    ท่านก็ไม่ฮุบเครดิตนี้มาเป็นของท่านเอง คงยกให้เป็นเทพเทวดาไป

    ไม่อวดอ้างว่าเกิดเพราะอำนาจจิตมหัศจรรย์ของท่านแต่อย่างใด มิหนำท่านก็ได้เห็นความแปลกประหลาดนี้พร้อม ๆ กับลูกศิษย์เหมือนกัน
    เกี่ยวกับอำนาจจิตนี้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นของมีได้เป็นได้ในจิตของพระอริยเจ้าระดับนี้ทุกองค์ ซึ่งเรื่องของอำนาจจิตหรือพลังจิตก็เป็นเรื่องยากจะอธิบายหรือพิสูจน์ได้ คงปรากฏเป็นรูปของปริศนาที่ไม่อาจคลี่คลายออกมาเสมอ

    อย่างเช่นครั้งหนึ่งซึ่งคุณสุรีพันธ์ มณีวัตได้บันทึกไว้ว่า

    <table style="border-collapse: collapse" id="table12" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"><tbody><tr><td> “เราแวะเพชรบุรี เจ้าของโรงงานสับปะรดกระป๋องแห่งหนึ่ง ทราบเรื่องขอนิมนต์ให้ท่านอาจารย์ทั้งสอง (ท่านอาจารย์วันและท่านอาจารย์จวน) แวะเยี่ยมโรงงานให้เป็นมงคล เจ้าของนำท่านดูการผลิตในโรงงานทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปอกสับปะรดเอาไส้ออก ตัดเป็นแว่น บรรจุลงกระป๋อง ซึ่งทุกอย่างทำด้วยเครื่องจักรโดยตลอด

    ทั้งสององค์มองดูภาพกระป๋องสับปะรดที่เรียงตัวเคลื่อนไปตามสายพานอย่างสนใจ ชมว่า เก่งจริง ๆ เครื่องจักรนี่ แต่ท่านอาจารย์จวนเสริมเบา ๆ

    “ใช้เครื่องจักรหมด อีกหน่อยคนอีสานจะมีงานทำหรือ”

    รู้กันว่าคนทางภาคอีสานออกมาหางานทำภาคกลาง ภาคใต้กันอยู่มาก ท่านอดห่วงคนทางอีสานของท่านไม่ได้

    ท่านเดินผ่านๆกันไป จุดสุดท้ายเป็นการทำงานของเครื่องจักรที่ทำตัวกระป๋องสำหรับบรรจุสับปะรด ตั้งแต่ตัดเหล็กวิลาสเป็นแผ่นยาวขนาดสำหรับก้นกระป๋องเคลื่อนตัวม้วนเป็นวง บัดกรีส่วนแผ่นกลมติดข้างล่างเครื่องม้วนขอบด้านล่าง....ฯลฯ จุดนี้ท่านอาจารย์จวนสนใจมาก หยุดอยู่นานจนต้องกลับมาเร่งว่า ท่านอาจารย์วันไปรออยู่ข้างหน้า เจ้าของเขาจะขอให้ท่านทั้งสองเจิมเครื่องจักรให้

    ท่านเดินออกมารำพึงเบา ๆ “อือม์....มันทำอย่างไรนะ” ผู้เขียนกลับมาเร่งท่านเดินตามท่านอยู่จึงได้ยินคำรำพึงของท่าน

    ขาดคำที่ท่านว่า “ทำอย่างไรนะ” ก็ได้ยินเสียงกราวใหญ่ลั่นอยู่ข้างหลังเครื่องจักรหยุดชะงัก แผ่นเหล็กวิลาสกระป๋องเปล่าที่เดินแถวเรียงกันเป็นลำดับนั้น ดีดออกจากสายพานเห็นกระป๋องแผ่นเหล็กวิลาสกลิ้งและกระจัดกระจายเต็มไปหมด เสียงกระป๋องกระทบพื้นยังดังไม่หยุด

    ผู้เขียนมองหน้าท่าน ท่านทำท่าเหมือนเด็กถูกจับได้ รีบเดินไปสมทบกับท่านอาจารย์วัน ซึ่งเมื่อได้ยินเสียงก็เหลียวมาดูเหตุการณ์ และมองยิ้มๆ ไปที่ท่านอาจารย์จวน

    วันหลังเมื่อท่านอาจารย์สอนเรื่องการทำจิตให้สงบสงบให้ถึงขนาด (ถึงขนาดนี่เป็นสำนวนท่าน) จิตจะกล้ามีพลัง มีอานุภาพ แล้วท่านก็ยกตัวอย่างเรื่องท่านอาจารย์ฝั้นหยุดรถยนต์ เพียงสงสัยว่ารถยนต์มันเดินได้อย่างไร จิตของท่านไปพิจารณาเครื่องจักร รถยนต์หยุดทันที

    ผู้เขียนปากอยู่ไม่สุขพูดขึ้นค่อยๆ

    “ก็อย่างที่โรงงานสับปะรดกระป๋องที่หัวหินวันนั้นกระป๋องกระจายเลย”

    ท่านร้อง จุ๊....ทำตาดุมองหน้าผู้เขียน....สั่นหน้าห้ามไม่ให้พูดต่อ แล้วท่านก็รีบชวนทุกคนคุยเรื่องอื่นต่อไป”

    </td></tr></tbody></table> ​

    อีกเรื่องหนึ่ง คุณหญิงสุรีพันธ์เล่าว่า


    <table style="border-collapse: collapse" id="table13" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"><tbody><tr><td> “ระหว่างเดินทางไปปักษ์ใต้ได้พักที่หาดนพรัตน์ธารา ทุกคนเหน็ดเหนื่อยกันมาก ต่างแยกย้ายกันหาร่มไม้พัก คุณสุรีพันธ์เดินอ้อมมาด้านข้างท่านอาจารย์จวน ซึ่งนั่งขัดสมาธิพักอยู่บนโขดหินก็สะดุ้งทั้งตัว เมื่อเห็นภาพท่านอาจารย์จวน

    “นั่งสมาธิในท่าสบาย ๆ แตะอยู่เพียงแค่มุมก้อนหินมุมเดียว เฉพาะส่วนที่ตรงกับกระดูกสันหลังเท่านั้นที่บนก้อนหิน ส่วนต้นขา....ขาที่ขัดสมาธินั้นอยู่บนอากาศ”

    คือความหมายว่ามีเพียงก้นกบของท่านอาจารย์จวนวางอยู่บนก้อนหินหรือแง่หิน นอกนั้นลอยพ้นพื้นขึ้นมา ทุกอวัยวะลอยอยู่พ้นพื้น เว้นแต่ก้นกบเท่านั้นที่แตะกับแง่หินและยังอยู่ในท่าขัดสมาธิหลับตานิ่งอยู่ด้วย

    คุณสุรีพันธ์จึงให้ช่างภาพถ่ายภาพนั้นไว้ บอกว่าเอาไว้เป็นประจักษ์พยาน

    ภายหลังนำภาพนี้ไปถวายท่านดู ท่านร้องเอะอะว่าแอบถ่ายตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทันรู้ตัว

    คุณหญิงสุรีพันธ์อธิบายว่า

    “ดูเหมือนท่านเหนื่อยมาก พอนั่งบนก้อนหินยังไม่ทันนั่งเต็มองค์เพียงแปะไว้กับขอบมุมหิน จิตก็ปล่อยวางพักไปแล้ว”

    ท่านบอกว่า อย่าให้ใครดู เขาจะว่าอวดเล่นฤทธิ์ ผู้เขียนทำหน้าละห้อยบอกว่า เพื่อน ๆ ดูกันเป็นสิบคนแล้ว

    ท่านว่า เก็บ....เก็บ....

    ประหลาดที่ว่า ภาพคู่นี้ ที่หลายคนต่างอัดไว้ดูเป็นของอัศจรรย์นั้น สุดท้ายหายไปหมดทุกบ้าน รวมทั้งฟิลม์ต้นฉบับด้วย

    บันทึกไว้กันเรื่องสูญหาย
    </td></tr></tbody></table> ​

    อีกเรื่องหนึ่งที่นับว่าเป็นเหตุอัศจรรย์อย่างแท้จริง ซึ่งคุณสุรีพันธ์ตั้งชื่อว่า “บาตรบุบเรื่องเป็นอย่างนี้

    [​IMG]
    คุณสมพร กลิ่นพงษา
    (ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมขณะนั้น) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมเดินทาง มากับเครื่องบินลำที่ประสบอุบัติเหตุตก เป็นเหตุให้ท่านอาจารย์จวน, ท่านอาจารย์วัน, ท่านอาจารย์สิงห์ทอง และท่านอาจารย์สุพัฒน์ ถึงแก่มรณภาพ แต่ท่านเป็นผู้โชคดีไม่เสียชีวิตเพราะว่าได้นั่งอยู่ตอนท้ายของเครื่องบิน ซึ่งเป็นส่วนที่ถูกกระทบกระแทกน้อยที่สุด

    ท่านสมพรได้นำเอกสารสำคัญซึ่งหากตกไปอยู่กับฝ่ายตรงข้ามแล้ว จะเกิดความเสียหายและอันตรายอย่างมากแก่ประเทศชาติ

    เมื่อได้รับความช่วยเหลือจากซากเครื่องบิน แล้วท่านสมพรยังมีสติอยู่ จึงบอกแก่ผู้ไว้ใจได้ว่า มีเอกสารลับติดตัวมาด้วย ช่วยหาที
    ปรากฏว่าหากันไม่พบไม่ว่าจะในตัวท่านสมพร หรือที่ไหน ๆ ในบริเวณซากเครื่องบิน

    หลายฝ่ายไม่สบายใจ

    จนกระทั่งได้มีตรวจค้นซากเครื่องบิน เพื่อเก็บอัฐบริขารของครูบาอาจารย์ทุกองค์ เมื่อมาพบบาตรของท่านอาจารย์จวนซึ่งอยู่ในสภาพบุบจนไม่อาจเปิดฝาบาตรได้ด้วยมือเปล่า ต้องใช้เครื่องมือช่วยงัดฝาบาตรให้เปิดออก เมื่อเปิดแล้วก็พบเอกสารซองหนึ่งวางอยู่บนอัฐบริขารทั้งหมด

    <table style="border-collapse: collapse" id="table14" bgcolor="#E9E2D8" border="2" width="100%"><tbody><tr><td>
    “ผู้เขียนเห็นตรากระทรวงมหาดไทย เห็นมุมซองแสดงว่าเป็นเอกสารจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนมก็ร้องด้วยความดีใจ

    เราหากันมาแทบจะพลิกแผ่นดิน (ตรงบริเวณเครื่องตก) เอกสารซองนี้อยู่ในบาตรของท่านอาจารย์นี่เอง

    </td></tr></tbody></table> ​

    หลังจากนั้นได้มอบเอกสารให้กับกระทรวงมหาดไทยไป
    คุณหญิงสุรีพันธ์เล่าต่อไปว่า

    “ขณะนั้นนึกเพียงว่าประหลาด ทำไมคุณสมพรนึกยังไง ถึงได้เอาซองเอกสารสำคัญ มาฝากท่านอาจารย์เก็บไว้ ไม่เก็บไว้กับตัว หรือเกิดสังหรณ์อย่างไรจึงฝากไว้ หรือท่านอาจารย์รู้ล่วงหน้า ก็เลยเรียกให้ไปฝาก

    ว่าจะถาม แต่คุณสมพรก็เจ็บหนัก ไม่ควรไปกวน ต่อมาเมื่อท่านหายเจ็บแล้วตามวิสัยคนกรุง เรื่องผ่านไปแล้วก็ลืมเลย พบคุณสมพรภายหลังก็พูดคุยเรื่องอื่นไปหมด

    จนกระทั่งเมื่อจะจัดตั้งเครื่องบริขารในห้องพิพิธภัณฑ์คิดจะแยกเป็นกลุ่ม แสดงบริขารที่ท่านใช้วันเครื่องบินตกโดยเฉพาะ เห็นบาตรบุบจึงนึกขึ้นได้
    โทรศัพท์ติดต่อกับท่านได้เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2532 นี้เอง ท่านอุทานดังลั่นเมื่อทราบเรื่อง

    “อะไรนะครับ ซองเอกสารนั่นหรือครับได้มาจากบาตรท่านอาจารย์จวน”

    “ค่ะ”

    “ผมไม่ทราบเลย เพิ่งทราบจากพี่เดี๋ยวนี้เอง โอ..ผมขนลุกไปหมด”

    “ทำไมคะ”

    “ผมไม่ได้เอาไปฝากท่าน อยู่กับตัวผมตลอดเวลาจนเครื่องบินตก เอกสารลับเป็นความเป็นความตายอย่างนั้น ใครจะให้คลาดจากตัว แล้วเข้าไปอยู่ในบาตรท่านได้อย่างไร ผมขนลุกจริง ๆ พี่บอกว่าบาตรบุบอัดแน่นเปิดไม่ได้จนพระต้องช่วยกันงัด เท่ากับท่านช่วยไม่ให้ใครไปพบก่อนพวกเราจะพบ”

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2011
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    แปลกดีนะครับ

    เรื่องเอกสารลับที่ว่านี้ แม้ท่านสมพรเองก็เพิ่งรู้ว่า อยู่ในบาตรของท่านอาจารย์จวน หลังจากเวลาผ่านไปนับสิบปี ไม่ได้คิดว่า จะมีเหตุอัศจรรย์นี้เป็นควันหลงอยู่

    นี่เป็นอจินไตยอย่างแท้จริง

    ใครจะเป็นผู้อธิบายได้

    นี่ก็เล่าเรื่องอภินิหารของท่านอาจารย์จวนมาหลายเรื่องแล้ว แม้ว่าจะยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่ได้เล่า ก็นับว่าพอสมควรแก่ความวิเศษของท่าน ไม่จำเป็นต้องเล่ากันยืดยาวกว่านี้ก็ได้

    [​IMG]
    ข้อสงสัยคลางแคลงใจของคนทั้งหลายในข้อที่ว่ากระทั่งท่านยังต้องตาย แล้ววัตถุมงคลของท่านจะขลังหรือ ก็ขอให้เป็นข้อสงสัยของคนขี้สงสัยต่อไป


    จงสงสัยไปตลอดชั่วกัลป์เถิดบ่เป็นหยังดอก

    พระเครื่องของท่านอาจารย์วันและท่านอาจารย์จวนก็ยังคงเป็นพระเครื่องดีที่คนขี้สงสัย

    เมินอยู่เสมอ

    สำหรับผมนั้นไม่เคยสงสัยเลย ตั้งแต่วินาทีแรกที่ได้ยินข่าวเครื่องบินตก จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ก็ไม่สงสัย

    นอกจากจะไม่สงสัยแล้ว แล้วยิ่งแน่ใจยิ่งๆ ขึ้นไปอีกมากกว่าเก่า

    คำพูดเดิมที่ขอทวน

    “ที่ผมแขวนอยู่ในคอนี้ ทุกองค์กระดูกเป็นพระธาตุนะครับ ผมไปดูมาแล้ว”

    เซียนแว่น เมืองอุดรฯบอก

    ในคอของเขาแขวนไว้ด้วย พระอาจารย์วัน, พระอาจารย์จวน, พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่แหวน, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ฝั้น, หลวงปู่ชอบ และอีกสองสามองค์ที่นึกไม่ออก

    ครับผม, ไม่แพงเลยสำหรับพระเครื่องดีที่คนเมินนี้ และยังไม่มีของเก๊ด้วยครับ เจอที่ไหนคว้าเอาไว้โลด
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    พระธรรมจักร ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

    พระธรรมจักร ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย

    โดย รณธรรม ธาราพันธุ์

    จากหนังสือศักดิ์สิทธิ์ ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2540

    โพสท์ใน หน้าแรก โดย เด็กลึกลับ เมื่อ 21 มิ.ย. 2552



    [​IMG]

    คนชอบพระ ทั้งที่อยู่ในวงการมานานปี หรือเพิ่งกระโจนลงสนาม เพื่อให้ผู้รู้ทั้งหลายสอนบ้าง “ทุบ” บ้าง ตามอัธยาศัย ต้องล้วนแล้วแต่ได้ยินคำว่า “จักรพรรดิ” ของพระเครื่องทั้งมวล จะไล่ตามถามใครว่าพระที่เป็นสุดยอดของพระเครื่องคืออะไร คงตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “พระสมเด็จ ของสมเด็จโต วัดระฆังฯ”

    จะเป็นกรุวัดระฆัง หรือกรุบางขุนพรหม จะเป็นกรุเก่าหรือกรุใหม่ก็เอาเถอะ เป็นยอดทั้งนั้น ยอดทั้งคนสร้าง ยอดทั้งเนื้อหา ยอดทั้งความเก่า และว่ากันว่าเป็นยอดของยอดพุทธคุณ

    ผมเคยอยากเถียง ถ้าไม่กลัวโดน “ตื้บ” ว่ารู้ได้ไงว่า “ยอดพุทธคุณ” คนแขวน “เช็ค” พระเป็นหรือไง

    [​IMG]
    ก็ไม่ทันต้องเอ่ยปากให้ใครมาเหยียบ เมื่อแดดร่มลมตกของวันหนึ่งที่วัดป่าชินรังสี จ.ฉะเชิงเทรา ผมนั่งคุยกับองค์อุปัชฌาย์ คือ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย แวดล้อมด้วยศิษย์ 2-3 คน ตอนหนึ่งของการสนทนาท่านถามว่า

    “ต่อรู้ไหมว่าพระอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด”

    ผมประนมมือส่ายหน้าช้าๆ เป็นคำตอบ

    ท่านยิ้มแล้วว่า “พระสมเด็จวัดระฆัง ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด”

    จากนั้นท่านก็ถามอีกว่า “แล้วรู้ไหม พระอะไรที่ศักดิ์สิทธิ์รองลงไป”

    เช่นเคย พนมมือ ส่ายหน้า

    “พระหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด”

    โอ้ ! ได้คำตอบพร้อมของแถมมาเสร็จสรรพ แต่แล้วก็ให้นึกงงว่า เพราะอะไร ท่านจึงว่า พระสมเด็จวัดระฆัง ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด ก็พอดีท่านถามมาอีกว่า

    “รู้ไหมทำไมพระสมเด็จ จึงศักดิ์สิทธิ์ที่สุด”

    คราวนี้ผมไม่ส่ายหน้า ประนมมือแล้วรัวเป็นชุด

    “เพราะเจ้าประคุณสมเด็จท่านเขียนผงเอง ลบเอง ผสมเอง กดพิมพ์เอง และเสกเองด้วยพระคาถาชินบัญชร”

    พูดจบก็ยืดอก ท่านยิ้ม แล้วมองไปข้างหน้า ก่อนจะว่า

    “เพราะท่านแจกฟรี”

    อะหา...โง่ไปถนัด

    ใครจะไปรู้เล่าพ่อเจ้าประคุณเอ๋ย ว่าแจกฟรีน่ะจะขลังได้ขนาดนั้น แต่ผมทราบดีว่าเรื่องของเรื่องไม่ได้อยู่แค่แจกฟรีหรอก แต่เพราะ “เจตนา” ของท่านดีในเบื้องต้น ดีในท่ามกลาง และดีในที่สุดต่างหาก ของเลยขลัง แค่แจกฟรีเฉยๆ ของจะไปขลังอะไรได้ ถ้าคนทำไม่เก่งจริง

    [​IMG]
    นั่นเป็นเรื่องในอดีตที่หยิบยกมาโหมโรงให้ฟัง อาจจริงที่ว่า พระสมเด็จนั้นเป็นยอดของความขลังในหมู่พระเครื่องด้วยกัน แต่ผมเริ่มไม่เห็นด้วยกับคำว่า “จักรพรรดิ” ของหมู่พระเครื่อง เพราะคำๆ นี้เป็นวลีที่เซียนพระกำหนดขึ้นมาเอง ไม่ใช่ออกจากปากของพระผู้ปฏิบัติดี

    ไม่เห็นด้วย เพราะได้ยินท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ ปรารภถึงพระธรรมจักรกับคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต และคณะศิษย์ว่า

    “เก็บรักษาให้ดีนะ ต่อไปนี้พระนี้จะเป็นจักรพรรดิแห่งพระเครื่อง”

    ก่อนท่านมรณภาพ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เคยพิจารณาจิตท่านอาจารย์จวนแล้วพูดต่อหน้าท่านอาจารย์ว่า “กาเย นะ วาจา ยะ วะเจติวิสุทธิยา ท่านจวนเป็นผู้ที่มีกายและจิต...” คำว่า “วิสุทธิจิต” “วิสุทธิเทพ” ล้วนใช้เฉพาะกับพระอรหันต์เท่านั้น และเมื่อท่านอาจารย์มรณภาพ อัฐิของพระอาจารย์ท่านก็กลายเป็นพระธาตุ

    ถึงขนาดนี้แล้วจะว่าท่านเป็นอะไร ?

    ฉะนั้นคำปรารภของท่านที่ว่า “พระนี้จะเป็นจักรพรรดิของพระเครื่อง” ย่อมต้องไม่ใช่คำพูดเล่นลอยๆ แน่แท้ มาดูความขลังของ “จักรพรรดิ” องค์นี้กันหน่อยเถิดว่าเพราะอะไรจึงได้ตำแหน่งมาครอง
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    hist-11-03.jpg ราวต้นปี พ.ศ. 2520 คุณสุรีพันธุ์ มณีวัต ศิษย์ก้นกุฏิของท่านพระอาจารย์จวน และบรรดาศิษย์น้อยใหญ่ก็เห็นพ้องต้องกันว่า สะพานลอยรอบเขา “ภูทอก” ภูมหัศจรรย์แห่งนี้ จำเป็นต้องได้รับการบูรณะเสริมสร้างให้มั่นคงแข็งแรงขึ้น ด้วยสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ย่อมมีความทรุดโทรมเป็นธรรมดา


    และเมื่อใดที่มีผู้ไปแสวงบุญเป็นจำนวนมาก ศาลาวิหารบนเขาชั้นที่ 5 ก็จะพลันแคบคับถนัดใจ สมควรจะขยายให้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งถังน้ำฝนและระบบประปาภายในวัดก็ควรปรับปรุง ดังนั้นคณะศิษย์จึงจัดกฐินขึ้น




    ปกติคุณสุรีพันธุ์เองก็จัดกฐินมา แต่ปี 2519 ไม่ปรากฏมีเครื่องมงคลอะไรมาข้องแวะ ด้วยรู้อยู่ว่าพระสายนี้ไม่นิยม ทว่าปีนั้น เกิดนึกอยากทำของที่ระลึกแจกจ่ายให้แก่กรรมการที่มาร่วมจองกฐินเลยดำริทำ “พระธรรมจักร” เป็นพุทธานุสรณ์ โดยอาศัยเค้าจากพระพุทธรูปสลักหิน อายุ 1,400 ปี ซึ่งขุดพบที่เมืองสารนารถ ประเทศอินเดีย อันเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา มีพุทธลักษณะที่งดงาม ยิ่งบล็อกพระเครื่องชุดนี้แกะโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จึงมีความสวยงามมาก ด้านหลังขององค์พระแกะเป็นรูป “บริโภคเจดีย์” ทั้ง 3 คือ สถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงใช้สอยเมื่อครั้งยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ได้แก่ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน


    คณะกรรมการได้จัดสร้างพระธรรมจักรทั้งหมดรวม 93,409 องค์ โดยทำเนื้อพิเศษสุดขึ้น 9 องค์ เพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ รวมไปถึงพระบรมวงศานุวงศ์ ครบทุกพระองค์


    และได้จัดทำเนื้อพิเศษอีก 1,000 องค์ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงพระราชทานแก่ข้าราชบริพารที่ใกล้ชิด


    นั่นเป็นเนื้อพิเศษ “ในวัง”


    ทีนี้ก็เป็นเนื้อพิเศษ “นอกวัง” จัดทำเป็น 4 สี สีละ 2,100 องค์ เรียกว่าชุด “จตุรงค์ 4 สี” ประกอบด้วย


    hist-11-05.jpg 1. สีเขียว แทนวาระประสูติ หมายถึง ความรื่นเริงของ 3 แดนโลกธาตุ ที่ทราบถึงการอุบัติของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า


    2. สีขาว แทนวาระตรัสรู้ หมายถึง ความสว่างเจิดจ้าของ “ธรรม” ที่ทรงรู้ทรงเห็น จนสามารถเด็ด “อวิชชา” ออกจากพระทัยได้


    3. สีชมพู แทนวาระปฐมเทศนา หมายถึงอาทิตย์อุทัย เปรียบได้กับการเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา


    4. สีดำ แทนวาระปรินิพพาน หมายถึงความโศกสลดของหมู่มนุษย์ และทวยเทพ ที่อาลัยรักในพระพุทธองค์



    ทุกสีที่ว่ามามีมวลสารอย่างเดียวกันหมดในเนื้อพระ แต่สีที่ต่างกันก็ด้วยเน้นหนักของมงคลบางอย่างลงเป็นพิเศษ คือ


    สีเขียว เน้นด้วยกระเบื้องสีเขียวหลังคาวัดบวรนิเวศวิหาร, วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, จันทน์หอมจากภูทอก และที่สำคัญ เตยหอมภูทอก ซึ่งท่านพระอาจารย์จวนได้อธิษฐานจิตให้ว่า “จะแตกไปกี่กอ ทุกต้นทุกกอคือเราเสกไว้แล้ว”


    สีขาว เน้นด้วยเกสรดอกไม้, ผงงาช้าง, กระเบื้องขาววัดบวรนิเวศ และวัดราชบพิธ


    สีชมพู เน้นด้วยชานหมากครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสุปฏิบัติทั้งสิ้น, หินแดงจากภูทอก และที่สำคัญสุดยอด โคตรเหล็กไหล และขี้เหล็กไหล ซึ่งเทพที่รักษามาขอให้ท่านอาจารย์นำออกจากถ้ำบูชาภูวัว ไปแจกจ่ายแก่ประชาชน เทพเหล่านั้นจะได้ได้บุญด้วย


    สีดำ เน้นด้วยพระผงงิ้วดำ, เบ้าหล่อพระพุทธรูป ภปร. และข้าวสารดำที่มีอายุถึง 3,000 ปี นี่เป็นมวลสารที่เป็นตัวหลัก ซึ่งใช้เฉพาะเจาะจงลงไปที่พระชุดพิเศษ 4 สี เท่านั้น



    ต่อไปจะเป็นมวลสารทั้งหมดทั้งปวง ที่ใช้ผสมในพระพิเศษ 4 สีด้วย และพระธรรมดาสีแดงที่มีจำนวนจัดสร้างเท่าพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ ด้วย ดังต่อไปนี้


    saksit-magazine-04.jpg 1. ดิน ใช้ดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แห่ง คือ ประสูติ, ตรัสรู้, ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ดินจากที่ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์, ดินเชตวันมหาวิหาร, ดินรอบสถูปพระสารีบุตร, ดินสถูปพระโมคคัลลาน์, ดินสถูปพระอานนท์, ดินสถูปพระมหากัสสาปะ, ดินสถูปพระอนุรุทธ, ดินสถูปพระราหุล, ดินสถูปพระกัจจายนะ, ดินสถูปพระองคุลีมาล, ดินในถ้ำสุกรขาตา, ดินจากเขาคิชฌกูฏ และดินในพระคันธกุฏีที่ประทับของพระพุทธองค์เมื่อครั้งยังทรงพระชนม์อยู่


    มีเรื่องอัศจรรย์เกี่ยวกับดินที่พระคันธกุฏีนี้ กล่าวคือ ครั้งหนึ่งคุณสุรีพันธุ์เป็นหัวหน้าทีมนำคณะพระกรรมฐานอันประกอบด้วยหลวงปู่หลุย จันทสาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ, หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส, ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม, ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ, ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร และคณะศิษย์ไปนมัสการสังเวชนียสถาน 4 แห่ง ในอินเดีย


    ขณะที่เดินขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏนั้น ครั้นใกล้ถึงพระคันธกุฎี ท่านพระอาจารย์วันกับท่านพระอาจารย์จวนก็ออกวิ่งเหยาะๆนำไป คุณสุรีพันธุ์ประหลาดใจนัก เพราะปกติพระจะไม่วิ่ง ยิ่งเป็นท่านอาจารย์ทั้งสองแล้ว นับแต่เป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันมา ท่านเรียบร้อยที่สุด ลงถ้าท่านวิ่ง ถึงจะช้าๆ แต่เหตุต้องไม่ใช่เรื่อง “ธรรมดา” คุณสุรีพันธุ์จึงตัดสินใจวิ่งตาม


    เมื่อถึงคันธกุฎีก็ทันเห็นปรากฏการณ์มหัศจรรย์พันลึก ด้วยดินใกล้ๆกับที่ท่านอาจารย์ยืนอยู่เกิดการเต้นกระโดดน้อยๆ ชวนขนลุกขนพอง


    ขณะที่ตะลึงพรึงเพริดอยู่นั่นเอง ท่านอาจารย์ทั้งสองก็ก้มลงเก็บดินเหล่านั้นขึ้นมาจำนวนหนึ่ง และเก็บอยู่กับท่านเป็นแรมปี จวบจนมีการสร้างพระธรรมจักร ท่านอาจารย์ทั้งสองจึงได้มอบดินอัศจรรย์นั้นมาให้ผสมเนื้อ


    ไม่ขลังคราวนี้จะไปขลังคราวไหน !!


    2. ใบไม้มงคล ใบโพธิ์ที่ประสูติ ลุมพินีวัน, ใบโพธิ์ตรัสรู้ พุทธคยา, ใบสาละที่ปรินิพพาน กุสินารา, ใบโพธิ์ที่หลังพระคันธกุฎี และใบโพธิ์พระอานนท์ ณ เชตวันมหาวิหาร


    3. เส้นเกศา หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม, ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ, ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร


    lp-kumdee.jpg มีเรื่องแปลกอีกเกี่ยวกับเส้นเกศา กล่าวคือ เมื่อคณะกรรมการกำลังรวบรวมเส้นเกศาอยู่นั้น จู่ๆก็มีพระรูปหนึ่งมาหานำเส้นเกศากับชานหมากจำนวนหนึ่งมาให้ พร้อมแจ้งว่า “หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ สั่งให้เอามาให้ เพราะทราบว่าคุณสุรีพันธุ์จะสร้างพระ” คุณสุรีพันธุ์บอกว่าน่าประหลาดนัก การสร้างพระธรรมจักร ดูจะเป็นงานใหญ่ก็จริง แต่ก็ทำกันเงียบๆ รู้กันเฉพาะคนในเท่านั้น หลวงปู่คำดีทราบได้อย่างไร เพราะในเวลานั้น



    คุณสุรีพันธุ์ไม่เคยรู้จักท่านเลย !!


    เมื่อสืบเสาะภายหลังจึงทราบความว่า หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย เป็นศิษย์องค์สำคัญของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเมื่อพระราชทานเพลิงศพท่านแล้ว อัฐิหลวงปู่คำดี ก็แปรสภาพเป็นธาตุดุจเดียวกับองค์อาจารย์



    4. ดอกไม้ ผงธูป ทองคำเปลว จากพระบรมธาตุ จ.นครศรีธรรมราช, พระธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี, พระธาตุพนม จ.นครพนม, พระธาตุเชิงชุม จ.สกลนคร, พระร่วงโรจนฤทธิ์ จ.นครปฐม, หลวงพ่อโต วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา, พระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา, วัดบวรนิเวศ, วัดราชบพิธ, จากที่บูชาพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม, จากที่บูชาพระรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม


    5. ดอกไม้ ผงธูป จากที่บูชาพระ-สวดมนต์ของสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวัฒฑโน), หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, หลวงปู่ขาว อนาลโย, พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี), หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, พระครูญาณทัสสี (คำดี ปภาโส), พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตตโม), ท่านอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ, ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, พระครูปลัดสัมพิพัฒเมธาจารย์ (ไพบูลย์ สุมังคโล)


    6. ชานหมาก ข้าวก้นบาตร ก้นบุหรี่ ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่หลุย จันทสาโร, ท่านพระวัน อุตตโม,ท่านอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ, ท่านพระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร


    7. พระชำรุดนำมาบด ได้แก่ พระพุทธรูปอายุ 1,000 กว่าปี ที่ท่านพระอาจารย์จวนธุดงค์ไปพบในถ้ำแถบภูสิงห์ ภูวัว, พระสมเด็จวัดระฆัง และบางขุนพรหม, พระดินเผาสมัยสุโขทัย, พระผงกรุวัดสามปลื้ม, พระผงงิ้วดำ, พระพิมพ์วังหน้า


    8. มวลสารมงคลอื่นๆ ได้แก่ โคตรเหล็กไหล และขี้เหล็กไหลจากถ้ำบูชา, ผงงาช้าง, เขากวางคุด, แก่นจันทน์หอม นำมาจากถ้ำจันทน์ดินแดนอาถรรพณ์, ไม้มะขามจากถ้ำขาม ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร, กระเบื้องไม้หลังคากุฏิของหลวงปู่ขาว อนาลโย, หินแดงบนภูทอก, ไม้กลายเป็นหิน ซึ่งหลวงปู่ฝั้นเมตตาสกัดให้ด้วยองค์ท่านเอง, ข้าวตอกพระร่วง จ.สุโขทัย


    โคตรเหล็กไหล และขี้เหล็กไหล ที่ท่านพระอาจารย์จวนมอบให้นั้น คุณสุรีพันธุ์ได้ให้กองกษาปณ์ป่นเหล็กไหลทั้งหมดให้เป็นผงด้วยเครื่องบดพิเศษ เป็นเหล็กเหนียว ชื่อว่า “ไททาเนี่ยม” ว่ากันว่าเป็นเหล็กที่แข็งที่สุด ดีที่สุดในโลก ปรากฏว่า กว่าจะหมด 1 กะละมัง เครื่องสึกไปจนใช้อีกแทบไม่ได้ เลยไม่รู้ว่าใคร “เหล็ก” กว่าใคร


    เมื่อบดมวลสารทุกชนิดพร้อมสรรพ ก็ทำการกดพิมพ์เป็นองค์พระ โดยใช้ระบบอัดแรงสูง นั่นคือความประสงค์ของคณะกรรมการ เพราะไม่ต้องการผสมเนื้อปูน หรือกาวอะไรๆ ลงในพระ ดังนั้นพระทั้งหมดจึงมีแต่มวลสารล้วนๆ


    มาถึงการอธิษฐานจิต คุณสุรีพันธุ์บอกว่า ส่วนใหญ่จะอธิษฐานองค์ละ 1 คืน ทั้งสิ้นมีรายนามดังต่อไปนี้


    1. หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี
    2. หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    3. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี
    4. หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี ***
    5. ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    6. ท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร (ภูทอก) อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
    7. พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วบ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร


    ***หมายเหตุ: เรื่องรายนามพระเถระที่อธิษฐานจิตพระผงธรรมจักรนี้ คุณ im ได้โพสท์ไว้ในเวบ

    www.udon108.com

     
  19. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    น้อมกราบหลวงปู่ด้วยเศียรเกล้า ..........
     
  20. THANARATH 2010

    THANARATH 2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    629
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ของ ดี ดี ที่ท่านพระอาจารย์ ฯ สร้างไว้ให้ศิษย์รุ่นหลังได้มีใว้เป็นที่ระลึกทางใจ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...