เขาพระวิหาร มรดกโลก"กัมพูชา"

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 29 กรกฎาคม 2007.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เขาพระวิหาร มรดกโลก"กัมพูชา"
    http://www.matichon.co.th/khaosod/k...g=03hap03290750&day=2007/07/29&sectionid=0317


    วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6086​
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    เขาพระวิหาร มรดกโลก"กัมพูชา"


    ราชรัฐ มีปรีชา

    </TD><TD vAlign=top align=right>
    [​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]"เขาพระวิหาร" ปราสาทหินบนเทือกเขาพนมดงรัก ในเขต จ.พระวิหาร ของกัมพูชา ติดกับชายแดนไทย ที่ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ นับเป็นปราสาทขอมสำคัญแห่งหนึ่ง ในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู

    ในปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นที่เคารพสักการะของชาวเขมร

    เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันสหวิทยาการศาสตร์และการจัดการความรู้ คณะโบราณคดี และสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดเสวนาทางวิชาการเรื่องเขาพระวิหารมรดกโลกของกัมพูชา

    เนื่องจากบริเวณของเขาพระวิหารอยู่บนเส้นเขตแดนระหว่าง 2 ประเทศ จึงมีปัญหาด้านภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ที่นำมาถกเถียงกันอยู่เสมอ

    ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการประวัติศาสตร์ ย้อนความว่า เมื่อ 45 ปีที่แล้ว เป็นคนหนึ่งที่ไปเดินขบวนประท้วงคำพิพากษาศาลโลก หลังจากกัมพูชายื่นต่อศาลโลกให้ตัดสินว่าเขาพระวิหารเป็นของใคร และศาลโลกก็ตัดสินให้เป็นของกัมพูชา โดยใช้หลักสนธิสัญญา ปีค.ศ.1904 และ ค.ศ.1907 ซึ่งในตอนนั้นพวกเราต่างคิดว่าเขาพระวิหารเป็นของไทย แต่ในปัจจุบันเชื่อว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา

    สำหรับสนธิสัญญาดังกล่าวตรงกับรัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งที่ 2 ที่ฝรั่งเศสขีดพรมแดนให้เขาพระวิหารอยู่ในเขตอินโดจีน รวมถึง เสียมราฐ พระตะบอง และเขตแดนอื่นๆ ครั้งนั้นเราไม่ได้ท้วงติงใดๆ ถือเป็นจุดสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ในสมัยราชาธิปไตย คนไทยสยามเมื่อ 100 ปีที่แล้ว ไม่ได้คิดว่าเขาพระวิหารเป็นของเรา อาจจะไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าเขาพระวิหารคืออะไร อยู่ที่ไหน

    มีเพียงชนชั้นเจ้านาย หรือปราชญ์ไม่กี่คน ที่สนใจทางด้านโบราณคดีจะรู้จักเขาพระวิหาร อย่างกรณีสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 เสด็จไปยังเขาพระวิหาร โดยแจ้งไปยังเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ซึ่งถวายต้อนรับอย่างเป็นทางการ และปักธงเหนือปราสาท แปลว่าผู้ใหญ่ของสยามยอมรับอำนาจของฝรั่งเศสเหนือเขาพระวิหาร

    ดร.ชาญวิทย์ เล่าต่อว่า หลังจากนั้นไม่นานเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ผู้นำใหม่ของคณะราษฎร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพิบูลสงคราม ผลิตลัทธิชาตินิยมขึ้นมาใหม่ เรียกว่า "อำมาตยาเสนาธิปไตย" หรือ "ลัทธิชาตินิยมแบบทหาร" และเริ่มเรียกร้องให้ปรับพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน จนกระทั่งเกิดสงครามในช่วงปี พ.ศ.2483-2484 ทำให้เราได้ดินแดนอินโดจีนเพิ่มขึ้น ช่วงนี้เองที่เขาพระวิหารถูกโอนมาให้ไทยเป็นการชั่วคราว

    ลัทธิชาตินิยมทหารเริ่มลงหลักปักฐานในช่วงนี้ และเริ่มสร้างจิตสำนึกว่าเขาพระวิหารเป็นของไทย เป็นการตีความประวัติศาสตร์ให้ไทยมีความชอบธรรมในการครอบครองเขาพระวิหารมากขึ้น ถึงขนาดเสนอความคิดว่า ขอมไม่ใช่กัมพูชา หรือคนไทยอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยทวารวดี จึงมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะได้เขาพระวิหารไว้

    การตีความประวัติศาสตร์แบบสร้างจิตสำนึกว่าเป็นของไทย มีพบมากมายในงานเขียนยุคนั้น เขียนเชิงประชาสัมพันธ์ชาตินิยมไทย เป็นงานเขียนที่กำหนดวิธีคิด ทำให้รู้สึกไม่ดีต่อกัมพูชาอย่างมาก

    จนเมื่อกัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลโลก ตอนนั้นเราเชื่อมากๆ ว่าจะชนะ ทำ ให้เกิดความโกรธแค้น และเดินขบวนประท้วง โดยมีหลักฐานยืนยันว่าผู้ใหญ่ในรัฐบาล กระซิบผ่านให้ผู้ใหญ่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำนักศึกษาออกมาเดินขบวน

    "จริงๆ ก็คือจัดฉากให้พวกเราเดิน พวกเราก็หลงเชื่อ และออกไปเดินขบวนกันเต็มถนน เป็นการเดินขบวนได้ครั้งเดียวและครั้งสุดท้าย เพราะสมัยนั้นไม่มีประชาธิปไตย ไม่มีรัฐธรรม นูญ ไม่มีพรรคการเมือง ไม่มีการเลือกตั้ง ไม่มีเสรีภาพ และเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลที่ไม่ได้หายไปเลย และอาจพุพองเมื่อไหร่ก็ได้" ดร.ชาญวิทย์ระบุ

    นักวิชาการประวัติศาสตร์คนดังมองเหตุการณ์ในขณะนั้นและสรุปว่า

    เราที่อยู่ตรงนี้อาจคิดว่าเป็นปัญหาที่ไม่น่าจะมีอะไร สามารถพูดคุยกันได้ แต่จริงๆ แล้วเป็นปัญหาในแง่ของความรู้สึก และยังคงฝังลึกอยู่

    ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา เป็นความสัมพันธ์ที่มีปัญหา และละเอียดอ่อนมากที่สุดในบรรดา กลุ่มอาเซียน เป็นความรักและชังที่มาจากประวัติ ศาสตร์

    ดังนั้น ไทยต้องสร้างจิตสำนึก เยาวชนต้องเรียนรู้เรื่องกัมพูชาใหม่ และต้องทำความเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ในอนาคตต่อไป

    น่าจะเลิกได้แล้วกับกระบวนการคิดและสร้างความเป็นชาตินิยมผิดๆ แล้วไปเหยียบย่ำดูถูกเพื่อนบ้าน
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,443
    ค่าพลัง:
    +141,948

แชร์หน้านี้

Loading...