เข้าสู่แดนนิพพาน : หลวงตาพระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 17 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    [​IMG]




    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๐๙<o:p></o:p>

    ตามรอยแห่งธรรม


    <o:p></o:p>

    เราเป็นนักปฏิบัติ นอกจากเป็นพระแล้วยังเป็นนักปฏิบัติ ซึ่งเป็นเพศและหน้าที่ที่เด่นในสังคมแห่งพระพุทธศาสนา ถ้าจะเทียบอย่างทหารก็คือทหารผู้ออกแนวรบแล้วทำหน้าที่ต่อการรบทุก ๆ ด้านและทุก ๆ ประเภท ไม่ว่าข้าศึกจะมาทางด้านใดมาด้วยกลอุบายใด มาบนบก มาใต้น้ำ มาเหนือน้ำ มาบนอากาศ มาเวลาไหนเป็นหน้าที่ของทหารผู้ก้าวเข้าสู่สงครามแล้ว จะต้องทำหน้าที่รบให้เต็มกำลังความสามารถขาดดิ้นในสงคราม หากว่าชีวิตเหลือมาก็ให้มีชัยชนะ ถ้าไม่เหลือก็มอบไว้กับความกล้าหาญ คือตายด้วยความกล้าหาญชาญชัย เป็นวีรบุรุษของชาติฝากชื่อเสียงไว้ตลอดกาลนาน ไม่ท้อถอยต่อปัจจามิตรที่มาจากจตุรทิศ นี่เรื่องของทหารผู้รักชาติที่ทำหน้าที่ในแนวรบเป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นผู้ขี้ขลาดหวาดกลัวต่อข้าศึกแล้ว อย่างไรก็ต้องจมเป็นแน่นอน ความชนะไม่มีหวังเลย

    นักปฏิบัติย่อมเป็นเช่นเดียวกับทหารที่ออกแนวรบแล้ว เวลานี้ต่างท่านต่างสละมาจากบ้านจากเรือน สละหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เราสละทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่เป็นของมีคุณค่ามากทั้งนั้น พ่อ-แม่ พี่น้องแต่ละคน ๆ ก็มีคุณค่ามาก ญาติ มิตรสหาย แต่ระรายก็มีคุณค่ามาก สมบัติเงินทองที่มีมากมีน้อยก็มีคุณค่ามาก ทั้งที่มีอยู่แล้วก็มีคุณค่ามาก จำต้องรักสงวนกัน ทั้งที่ยังไม่มีก็จำต้องเสาะแสวงหามา ซึ่งพร้อมที่จะเป็นสมบัติอันมีค่าในความคุ้มครองของตน

    สิ่งที่กล่าวทั้งนี้ เราสละมาโดยสิ้นเชิงไม่มีสิ่งใดเหลือ หากว่าเรายังเป็นอยู่ในฆราวาส โลกเขามีอย่างใดเราจะต้องมีอย่างนั้น ลูกก็ต้องมีเพราะจะต้องมีเมีย นี่เมียเราก็สละคืนให้โลกเขาเสีย ทานเสียโดยสิ้นเชิง ลูกก็เป็นอันว่าทานไปด้วย สมบัติสิ่งของเงินทองทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นของเคยหวงแหน และโลกเคยหวงแหนมาประจำโลกนั้น เราสละเสียสิ้นไม่มีสิ่งใดเหลือภายในตัวเลย หากจะเหลือก็คือความอาลัยอาวรณ์ซึ่งเป็นของแก้ยาก เพราะเป็นกิเลสที่เป็นสิ่งแก้ยากอยู่แล้ว จึงได้มาถวายตัวเป็นศากยบุตรผู้เป็นนักเสียสละ ผู้เป็นนักต่อสู้ ตัดความอาลัยเสียดายไม่มีหลงเหลือในพระทัย เรียกว่าเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า ผู้บริสุทธิ์ ผู้กล้าหาญชาญชัย ได้ทำหน้าที่การรบกับกิเลสตัณหาทุกประเภทด้วยพระองค์เอง ไม่มีใครที่ช่วยเหลือพระองค์แม้แต่รายหนึ่ง นอกจากเขาให้ทานไปตามธรรมดา ที่เรียกว่าพอเป็นเสบียงกรัง ที่ได้อาศัยยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่ง ๆ เพื่อรบสงครามภายในระหว่างกิเลสกับธรรมะ<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    พระพุทธเจ้าสามารถรบสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ด้วยความกล้าหาญชาญชัย เอาเป็นเอาตายจริง ๆ ผลปรากฏว่าข้าศึกคือกิเลสทั้งมวลตายเรียบ พระองค์ได้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา นั่นแหละคือผลอันยิ่งยวด ไม่มีสิ่งใดเท่าเทียมเสมอได้ ถ้าเรียกว่าสมบัติก็คือโลกุตรสมบัติหรือนิพพานสมบัติ นี้เกิดขึ้นมาจากความกล้าหาญของพระพุทธเจ้าล้วน ๆ ไม่มีใครช่วยแบ่งหนักแบ่งเบาแม้แต่น้อยเลย เป็น อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ของพระองค์โดยแท้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เราผู้เป็นศิษย์ของพระตถาคต ปรากฏว่าเป็นผู้สำคัญคนหนึ่ง ได้มาบวชในพระพุทธศาสนาแล้วยังไม่แล้ว ยังได้ออกแนวรบคือการปฏิบัติที่เป็นหลักสำคัญมาก การรบของเรานั้นไม่ได้หมายถึงการรบปัจจามิตรภายนอกใด ๆ แต่เป็นการรบกับเรื่องของตัวเราเองที่เป็นกิเลสอยู่ภายใน และเกี่ยวกับสิ่งภายนอกที่ผ่านไปมาและคละเคล้ากันอยู่ตลอดเวลา ได้แก่ทางรูป ทางเสียง ทางกลิ่น ทางรส เครื่องสัมผัส ทุกสิ่งทุกอย่างจะผ่านเข้ามา สติปัญญาซึ่งเป็นศาสตราอาวุธอันสำคัญที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้กับเรานั้น เราได้ถือแนบสนิทกับตัวหรือไม่ โปรดได้นำมาพิจารณาและสำนึกตัวอยู่ตลอดเวลาอย่าได้ลดละ นี้คือหน้าที่ของพระผู้ก้าวเข้าสู่สงครามภายในคือกิเลสกับธรรมซึ่งอยู่ในใจเราเอง
    <o:p></o:p>
    หากเราเป็นผู้มีความท้อถอยด้อยความเพียรและสติปัญญาแล้ว จะเอาตัวไปไม่รอด อยู่ที่ไหนก็ยอมแพ้อยู่ตลอดเวลา คนที่แพ้ไม่ว่าแพ้อะไรย่อมเป็นคนหมดสง่าราศี ถ้าคนชนะแล้วอยู่ที่ไหนก็มีความองอาจกล้าหาญสง่าผ่าเผย ไม่อับเฉาเศร้าโศก นี่ถ้าเราอยู่ด้วยอิริยาบถหรือความเคลื่อนไหวไปมาทุกสิ่งทุกอย่างด้วยความแพ้แล้ว ใช้ไม่ได้เลย ไม่ใช่ลูกศิษย์พระตถาคตผู้ทรงความอาจหาญให้โลกได้กราบไหว้บูชาและถือเป็นคติตัวอย่างอันเลิศเรื่อยมาเลย น่าอับอายแค่ไหน เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า แต่กลับมาเป็นคนท้อแท้อ่อนแออย่างนี้ไม่สมควรอย่างยิ่ง โปรดได้นำมาคิดให้สนิทติดใจของตน เรื่องสติเรื่องปัญญาเรื่องความเพียรนี้เป็นเครื่องมือสำหรับรบ ความอาจหาญหรือความอดทนความอุตส่าห์พยายามนี้ เป็นกำลังเครื่องสนับสนุนในการรบของเราผู้เป็นทหารต่อสู้ในแนวรบ อย่าได้ลดละปล่อยวาง จงให้ติดแนบกับใจอยู่เสมอ และอย่าทำความสนิทติดจมกับสิ่งใดในโลกสมมุตินิยม
    <o:p></o:p>
    เรื่องความเป็นอยู่ของเรา เป็นอยู่กับศรัทธาญาติโยม ไปที่ไหนไม่อดตาย เราไม่ต้องกลัวว่าจะอดตาย หากว่าเราเป็นผู้บำเพ็ญตนเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญอยู่แล้ว จะไม่มีใครทอดทิ้งเรา โปรดได้มอบชีวิตจิตใจทุกสิ่งทุกอย่าง บรรดาปัจจัยสี่ที่เป็นเครื่องอาศัยของพระไว้กับฆราวาสญาติโยม แต่หน้าที่ของพระจริง ๆ คือการทำความพากเพียร ระมัดระวังตัวกลัวข้าศึกคือกิเลสจะเข้าทำลายจิตใจนั้น จงผลิตจงฟิตให้ดีขึ้นทุกวันด้วยความเพียร โดยทางสติโดยทางปัญญา นี่ชื่อว่าเป็นผู้ทำหน้าที่อันถูกต้องและจะเป็นผู้ได้รับชัยชนะเป็นลำดับ ๆ ไป การรบข้าศึกภายในนี้เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าข้าศึกใดในสากล
    <o:p></o:p>
    เราไม่ต้องไปมองดูที่อื่น ให้ดูความเคลื่อนไหวของจิตที่เคลื่อนไหวไปแต่ละครั้ง ๆ นี้ หาเรื่องอะไรบ้างมาก่อความรำคาญ หรือมาก่อความเดือดร้อนให้แก่เรา โดยมากจิตจะต้องผลิตเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ได้ผลิตธรรมะ เรื่องธรรมะนั้นเป็นเรื่องที่เราจะต้องตั้งใจผลิตขึ้นมา ด้วยความระมัดระวังตั้งใจจริง ๆ จึงจะปรากฏเป็นธรรมะขึ้นมา เช่น สติคอยระมัดระวังสิ่งที่มาเกี่ยวข้อง นี่แสดงว่าตั้งขึ้นมา ปัญญาตรวจตรองดูสิ่งที่มาเกี่ยวข้องเป็นสิ่งที่ดีหรือชั่ว จะควรปล่อยวางหรือละถอนโดยประการใดบ้าง ต้องนำมาพินิจพิจารณา แล้วแก้ไขไปตามอำนาจแห่งความเพียรและสติปัญญาที่ไม่ลดละของตน นั้นแลจะเป็นผู้เห็นผลโดยลำดับไปสำหรับเราผู้เป็นนักบวช และเป็นผู้ก้าวเข้าสู่สงครามทุกระยะกาลอยู่แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    คำว่า มรรคผลนิพพานเราไม่ต้องไปคาด ขอให้ดำเนินหลักแห่งเหตุอันเป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพานนี้ให้ถูกต้องเท่านั้น เรื่องผลจะหนีไปไหนไม่พ้น เหตุกับผลต้องเป็นของคู่เคียงกันอยู่เสมอไม่ว่ากาลไหนกาลใดมา เราไม่ต้องไปคาดไปหมาย ให้ระมัดระวังตั้งตัวให้ดีด้วยสติ ปัญญา โดยถือจิตเป็นสนามรบกับกิเลสทั้งปวง อย่ามองอย่าสนใจที่อื่นยิ่งกว่าที่ดังกล่าวนี้ ความแพ้ความชนะกิเลสและมรรคผลนิพพานจะปรากฏกันที่ตรงนี้ ชีวิตจิตใจเราไม่ต้องกลัวตาย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การนั่งภาวนา จงนั่งให้เป็นภาวนาจริง ๆ อย่านั่งเพียงสักแต่ว่านั่ง อย่าเดินจงกรมเพียงสักแต่ว่าเดิน ไปไหนมาไหนให้มีสติสตังระมัดระวังตัวเสมอ เราจะเห็นเรื่องของเราทุก ๆ ระยะที่แสดงออกจากใจ และสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมผัสกับใจ ก็จะรับทราบว่าเป็นเรื่องอะไร ควรจะแก้ไขกันโดยวิธีใดบ้าง ถ้าผู้มีสติเป็นอยู่เช่นนี้จะเป็นผู้รู้เรื่องผู้เข้าใจ และมีชัยชนะไปตามอิริยาบถทั้งสี่ไม่ขาดวรรคขาดตอน และจะกำชัยชนะอย่างเอกไว้ได้ในเงื้อมมือโดยไม่ต้องสงสัย
    <o:p></o:p>
    แต่ถ้าเราจะอยู่ด้วยวิธีแพ้ คืออยู่ด้วยความเผอเรอ อยู่ด้วยความนอนใจ อยู่ด้วยความอ่อนแอ อยู่ด้วยความท้อถอยกำลัง อยู่ด้วยความขี้เกียจมักง่าย อยู่ด้วยความเห็นแก่ปากแก่ท้อง เหล่านี้จะเป็นทางที่แพ้เรื่อยไป มีแต่แพ้ไปเป็นลำดับ และนับวันอับเฉาเศร้าใจเข้าทุกวัน สุดท้ายก็จม ไม่เป็นประโยชน์อะไรเลย โปรดพากันสนใจคิดเรื่องแพ้เรื่องขาดทุนสูญดอกให้ถึงใจ และจงมีความเข้มแข็งเพื่อธรรมมงคลแก่ตน เพราะนักบวชคือพระเราแต่ละองค์ เมื่อบำเพ็ญตนจนถึงความเจริญรุ่งเรืองภายในใจโดยลำดับ หรือเจริญเต็มภูมิแล้ว นอกจากจะเป็นหลักมั่นคงตายใจของตัวเอง และเป็นความร่มเย็นไม่เอนเอียงโยกคลอนแล้ว ยังจะเป็นหลักยึดอันมั่นคงของโลก และทำประโยชน์แก่โลก ให้ได้รับความสงบสุขร่มเย็นอย่างมหาศาลไม่มีประมาณอีกด้วย ดังพระพุทธเจ้าแลสาวกท่านเป็นตัวอย่าง มาสมัยปัจจุบันก็เห็นประจักษ์ตาอยู่แล้ว เช่น ท่านพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ตลอดครูอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นลูกศิษย์ท่าน และท่านผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบองค์อื่น ๆ ซึ่งประชาชนชาวพุทธ ยึดถือพึ่งเป็นพึ่งตายถวายชีวิตต่อท่านเป็นลำดับมา มีเป็นจำนวนมากเท่าไร ดูเอาก็รู้เอง
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น ศาสนธรรมก็ดี ผู้ปฏิบัติธรรมก็ดี โลกจึงกราบไหว้บูชาเคารพนับถือเสมอมา ไม่มีวันเสื่อมคลาย จตุปัจจัยไทยทานมีมากมีน้อยให้มาเท่าไรเขาไม่มีความเสียดาย ให้มาด้วยความเสียสละ ให้มาด้วยการบูชาธรรม ให้มาด้วยความเชื่อความเลื่อมใส ให้มาด้วยความเคารพ ไม่มีความห่วงใยเสียดายในวัตถุสิ่งของ แม้มีราคามากเพียงไรที่เขาให้ทานมานั้น
    <o:p></o:p>
    พระไปอยู่ที่ไหน ถ้าเป็นนักปฏิบัติธรรมะจริง ๆ แล้วจะไม่อดอยาก แม้จะเกิดความอดอยากบ้างเป็นบางครั้งบางคราว ก็ให้ถือเสียว่าเรื่องคติธรรมดา เรื่องอนิจจังเป็นของไม่สม่ำเสมอตลอดมาตั้งแต่กาลไหนกาลใด แม้ประชาชนเองก็มีความขาดแคลนเช่นเรา หรือยิ่งกว่าเราในบางครั้งบางราย อย่าได้คิดว่าจะอดตายเฉพาะเราคนเดียว การจะมีความสม่ำเสมอในอาหารปัจจัยที่อยู่อาศัยต่าง ๆ ตลอดไปนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องมีขึ้น ๆ ลง ๆ เป็นธรรมดา ที่สำคัญตามความมุ่งหมายแท้ก็คือ เรื่องความเพียรของเรานั้นอย่าให้ขาดวรรคขาดตอน อย่าให้ด้อยลงได้ ให้มีความขะมักเขม้นเข้มแข็งบึกบึนอยู่เสมอไม่ว่าอดหรืออิ่ม เพราะนั้นมันเรื่องของปากท้องธาตุขันธ์ต่างหากซึ่งเพียงอาศัยกันไปเท่านั้น มิได้ถือเป็นจริงเป็นจังเหมือนปฏิปทาที่จะพาเราให้หลุดพ้นอะไรนัก ผู้ไม่บกพร่องในปฏิปทาที่กล่าวนี้ ชื่อว่าผู้ไม่เสียที ผู้ไม่แพ้ อยู่ที่ไหนก็มีชัยชนะเรื่อยไปจนถึงจุดที่หมายหายกังวล
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    การพิจารณาธรรมะอย่าคว้าโน้นคว้านี้ เราจะตั้งหลักอันใดลงไป จะกำหนดลมหายใจเข้าออก ก็ให้ทำความเข้าใจกับลมของตนจริง ๆ ลมจะเข้าออกยาวหรือสั้น ขอให้ทำการรับทราบอยู่เสมอในขณะที่ลมออกหรือเข้า นี่ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ลมละเอียดเข้าไปเท่าไร ๆ ก็ให้ทราบตามความละเอียดของลม อย่าถอยความรู้ออกมาและส่งไปสู่ที่อื่น ๆ จะไม่ทราบระยะความเข้าออกของลมและความสั้นยาวของลม และจะไม่ทราบคำว่าความขาดวรรคขาดตอนแห่งความเพียรของตนในเวลานั้น เราเผลอไปขณะใดชื่อว่าความเพียรของเราได้ขาดไปในขณะนั้น นี่แลความเพียรหมายความอย่างนี้ต่างหาก มิได้หมายไปตามกิริยาแห่งการนั่ง การเดินที่ไม่มีสติว่าเป็นความเพียร แต่หมายถึงความเพียรด้วยความมีสติกำกับงานภาวนาของตน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เดินจงกรม เดินทั้งวันก็ตาม ถ้าไม่มีสติก็ไม่ผิดแปลกอะไรกับที่เขาเดินกันทั่วโลก นั่งก็เช่นเดียวกัน ทุก ๆ อิริยาบถถ้าไม่มีสติไม่มีปัญญากำกับ ไม่มีความจงใจอยู่กับความรู้สึกตัวว่าทำงานอะไรอยู่เวลานี้ ไม่จัดว่าเป็นความเพียร โปรดทำความเข้าใจไว้อย่างนี้ จะไม่ปล่อยใจให้สนุกเที่ยวเพ่นพ่าน ทั้งที่กำลังเพลินลืมตัว สำคัญตนว่านั่งทำความเพียร เดินทำความเพียร ยืนทำความเพียรในท่าต่าง ๆ
    <o:p></o:p>
    การกำหนดลมตามที่อธิบายมานี้ อธิบายเพียงย่อ ๆ กำหนดจนกระทั่งลมละเอียดสุด ปรากฏในความรู้สึกว่าลมไม่มีเลยก็ไม่ต้องกลัวตาย ขณะที่ลมหายไปนั้นแลจิตยิ่งมีความละเอียดมาก บางครั้งลมได้หายไปจริง ๆ ในความรู้สึกของนักภาวนา บางครั้งที่เรากำหนดลมละเอียดเข้าไป ๆ ถึงกับปรากฏว่า ลมไม่มีเลย เหลือแต่ความรู้ล้วน ๆ ถ้าเป็นเช่นนั้นจิตก็หยุดปรุง มีความสงบแน่วแน่ ความสงบนั้นแลเป็นสิ่งที่จะทรงคุณภาพอันแปลกประหลาด และอัศจรรย์ให้เราเห็นในเวลาที่จิตมีความสงบ และจิตตั้งตัวได้โดยลำพังตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นใดมาเป็นอารมณ์ เช่น ลมหายใจเป็นต้น มีความสุขโดยความสงบของใจเอง
    <o:p></o:p>
    นี่แหละชื่อว่าเป็นตัวของตัวในขั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้หมายถึงขั้นสุดยอด หมายถึงขั้นต้นอย่างนี้เสียก่อน อย่างไรก็ขอให้ทำได้อย่างนี้ จะผูกใจด้วยพุทโธหรือจะตามลมหายใจด้วยพุทโธก็ตาม เราจะตามด้วยพุทโธ ๆ ทั้งระยะเข้าและออก หรือจะตามด้วยพุท เข้า โธ ออกก็ได้ ขอให้เป็นความถนัดใจก็พอ ไม่ผิดทาง เป็นอันถูกในหลักความเพียรสำหรับนิสัยของแต่ละราย ๆ เราไม่ต้องไปคว้าโน้นคว้านี้ ได้ยินท่านว่าท่านภาวนาอย่างนั้นได้ผล ผู้นั้นภาวนาอย่างนั้นได้ผล เราก็คว้าโน้นปล่อยนี้ อย่างนั้นเรียกว่าเป็นคนหลักลอย เป็นคนจับจด โดยไม่ทราบนิสัยของตนว่าจะควรปฏิบัติต่อตนอย่างไร อย่างนี้ทำความเพียรไปเท่าไรก็ไม่ค่อยเห็นผล<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    หลักสำคัญคือให้เป็นคนจริง จะทำความเพียรด้วยธรรมบทใดหรือพิจารณาบริกรรมด้วยธรรมบทใด หรือจะพิจารณาในแง่ใดอาการใด จงทำให้จริงจนเห็นผลขึ้นมา พร้อมกับทราบชัดว่า จริตของเราชอบกับสิ่งนี้ หรือธรรมบทนี้ มีลมหายใจเป็นต้น นี้แลชื่อว่าคิดค้นหาความเหมาะสมให้เห็นชัดเจนในนิสัยของตน แล้วดำเนินต่อไปและทำด้วยความจริงจัง ในเบื้องต้นต้องมีหลักยึดเช่นนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผู้กำหนด พุทโธ โดยลำพังก็ เอ้า เดินไปไหนอย่าให้เผลอคำว่า พุทโธ พุทโธ ในเมื่อได้นำมากำกับใจไม่ให้ขาดวรรคขาดตอนกับความรู้สึก ระหว่างจิตกับพุทโธให้ติดต่อกันเป็นสายไปอยู่แล้ว คำว่าพุทโธกับความรู้นั้นจะค่อยกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเข้าเป็นลำดับๆ จนกลายเป็นว่า คำว่าพุทโธกับความรู้นั้นเป็นอันเดียวกัน ที่นี่เราจะบริกรรมหรือไม่บริกรรมก็ไม่เป็นปัญหาในขณะนั้น เหลือแต่ความรู้ล้วนๆ ถึงเราจะนึกว่าพุทโธ ก็คือความรู้นั้นแลเป็นพุทโธ นี่ถ้าจะเทียบอุปมาก็ คำว่าพุทโธนี้เปรียบเหมือนเราตามรอยเท้าของโคเพื่อจะจับตัวโคให้ได้ โคตัวนั้นไปที่ไหนอย่าปล่อยรอย ให้ตามรอยโคตัวนั้นไปเป็นลำดับๆ ไปที่ไหนตามไปเรื่อยๆ จนถึงตัวโค เมื่อถึงตัวโคแล้วเรื่องของรอยโคนั้นก็หมดปัญหาเพราะไปถึงตัวโคแล้ว ถ้าจะดูรอยโคก็ดูที่เท้าโคก็ทราบ เพราะรอยที่เหยียบย่ำไว้ในที่ต่างๆ ก็ออกจากเท้าของโคตัวที่เราจับได้นี้แล
    <o:p></o:p>
    นี่คำว่าพุทโธก็เป็นร่องรอยที่จะตามรู้คำว่าพุทธะ ซึ่งเป็นเหมือนกับโคตัวนั้น หากเราไม่ปล่อย ตามพุทโธเข้าไปทุกระยะๆ คำว่าพุทโธกับจิตก็จะกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วก็จะหมดปัญหาในคำว่าพุทโธในเวลาเช่นนั้น นี่จิตเมื่อตั้งตัวได้ย่อมมีความสงบร่มเย็นเป็นสุขในเวลานั้นไม่สงสัย ไม่ถามใครให้เสียเวลาและขายโง่ นี่ผลที่เกิดจากการบริกรรมพุทโธ เพื่อเห็นจุดผู้รู้ที่เรียกว่าดวงใจอันแท้จริง
    <o:p></o:p>
    ผู้กำหนดลมหายใจก็เช่นเดียวกัน ลมหายใจก็เหมือนกับรอยโคอันเดียวกัน เราจะพิจารณาอันใดก็ตามเป็นเรื่องของร่องรอยที่จะเข้าไปหาตัวจริงทั้งนั้น จะพิจารณา ผม,ขน,เล็บ,ฟัน,หนัง,เนื้อ,เอ็น,กระดูกทุกๆ ชิ้น เป็นเรื่องที่จิตมาคาดมาหมายมาเหยียบมาย่ำ มาอุปาทานยึดมั่นถือมั่นไว้ทั้งนั้น เมื่อเวลาเราแยกแยะขยายออกให้เห็นตามส่วนแห่งอาการนั้นๆ ให้เห็นตามส่วนแห่งธาตุแห่งขันธ์นั้นๆ แล้ว จิตเราก็หายสงสัย และย้อนเข้าไปๆ จนถึงธรรมชาติของตัวที่แท้จริง คือหยั่งเข้าสู่จิตและความสงบที่เป็นอยู่กับจิตดวงสงบ<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    เราพิจารณาดูอาการใด เมื่อเห็นชัดแล้วจะไปสงสัยอันใดเล่า มันต้องเข้าไปหาที่จิต จิตเป็นผู้มาก่อความรำคาญ จิตเป็นผู้มาก่อความรักความชัง จิตเป็นผู้มาก่อความหลงความหึงหวงกับสิ่งเหล่านี้ต่างหาก ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้เป็นความรักความชังในตัวเอง ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้เป็นความหึงหวงในตัวเอง ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้เป็นผู้มีความหมายในตัวเอง แต่เป็นเรื่องของจิตไปให้ความหมายว่าสิ่งนั้นเป็นนั้นๆ สิ่งนั้นน่ารัก สิ่งนี้น่าชัง แล้วก็ยึดมั่นตามเรื่องแห่งความหมายที่ตนไปทำกรุยทำหมายเอาไว้ ซึ่งเป็นการผูกมัดตนให้ติดจมอยู่ในสิ่งเหล่านั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่การพิจารณาเพื่อจะแก้จุดที่ตนผูกมัดตนนั้นแล ท่านเรียกว่าปัญญา เมื่อพิจารณาเห็นชัดในสิ่งใดแล้ว จิตย่อมปล่อยไปเป็นระยะๆ หากว่ารู้รอบคอบหมดในส่วนแห่งร่างกายนี้ จิตก็ปล่อยได้โดยเด็ดขาด เรียกว่าหมดอุปาทานในกาย แล้วก็เข้าไปถึงตัวจิตนั้นอีกว่า กายเหล่านี้ไม่มีความหมายในตัวเอง แต่เป็นเรื่องของจิตเป็นผู้ไปให้ความหมายในกายนี้ว่าเป็นอย่างนั้นๆ บัดนี้ได้รู้แล้วว่ากายเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก หรือวาธาตุ ส่วนธาตุดินนี้เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จิตก็เป็นอันหนึ่งต่างหากจากสิ่งเหล่านี้ หมดความสงสัยกังวลกันไปเป็นพักๆ การพิจารณาเป็นอย่างนี้ ขอให้พิจารณาจริงๆ ก็แล้วกัน อย่าทำเล่นๆ ทำอะไรให้ทำจริงๆ จังๆ
    <o:p></o:p>
    การพิจารณากายนี้ จะพิจารณากายนอกกายในไม่สำคัญ เพราะสมุทัยมีได้ทั้งภายนอกมีได้ทั้งภายใน เมื่อเป็นเช่นนั้นมรรคคือ ทางดำเนินเพื่อแก้เพื่อปลดเปลื้องสิ่งที่ตนไปเที่ยวสำคัญมั่นหมายไว้ ก็ย่อมมีได้ทั้งภายนอกทั้งภายใน เช่นเรารักรูป ความรักรูปนั้นเป็นสมุทัย หมายรูปนอกนั้นเป็นสำคัญ หมายรูปนั้นน่ารัก รูปนั้นน่ากำหนัดยินดี แล้วนำรูปนั้นมาพิจารณาคลี่คลายดู ให้เห็นชัดตามหลักความจริงของรูปนั้นว่า มีที่สำคัญตรงไหนบ้างพอที่จะให้เกิดความรักความกำหนัดยินดี เมื่อแยกออกทุกอาการแล้วก็เห็นเป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ หรือเห็นแต่เพียงของปฏิกูลน่าเกลียดไปเสียสิ้น หาสิ่งที่น่ารักน่ากำหนัดไม่มีเลย จิตก็ถอนความกังวลความรักในสิ่งเหล่านั้นเข้ามาสู่ตัวเอง เห็นโทษของตัวเองว่าเป็นเพราะตัวเองไปทำความสำคัญมั่นหมายในสิ่งนั้นต่างหาก จึงเกิดความรักความกำหนัดยินดีนั้นขึ้นมา นี่เราก็ได้เห็นโทษของเราด้วย เราก็ได้เห็นโทษในสิ่งที่เราไปสำคัญมั่นหมาย ว่าน่ารักน่ากำหนัดยินดีนั้นด้วย จึงสามารถถอดถอนมาได้เป็นระยะๆ อย่างนี้
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น เรื่องของปัญญาจึงเป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ปัญญาในขั้นของธาตุขันธ์ยังมี ปัญญาในขั้นของธาตุคือรูปธรรมนี้เป็นประเภทหนึ่ง ปัญญาในขั้นของนามธรรมเป็นอีกขั้นหนึ่ง หากว่าจิตของเราตั้งตัวได้ด้วยความสงบเพราะอำนาจของความเพียรพยายาม โดยวิธีภาวนาดังที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นนั้น มีหลักฐานพอที่จะพิจารณาได้แล้ว โปรดพิจารณาทางปัญญา จะเป็นเรื่องนอกก็ตาม จะเป็นเรื่องในก็ตาม ให้แยกส่วนแบ่งส่วนดูดังที่กล่าวนี้ จิตใจให้ทำงานอยู่กับสิ่งเหล่านั้นทั้งวันยิ่งเป็นการดี เมื่อมีความเหนื่อยภายในจิตใจ กำหนดจิตให้เข้าพักในความสงบเป็นสมาธิเยือกเย็นขึ้นมา พอถอนจากความสงบแล้วออกทำหน้าที่การงานของตน เคยพิจารณาอะไรที่ยังไม่ชัด เอ้า..คลี่คลายดูให้ชัด ถืออันนั้นแลเป็นงานของตน พิจารณาจนรู้ชัดตามความเป็นจริงแล้ว จิตนั้นจะปล่อยงานประเภทนั้นโดยไม่ต้องไปบังคับ เพราะรู้รอบคอบแล้วจะถือมั่นไว้ทำไม นี่เป็นเรื่องของจิตจะปล่อยสิ่งที่เคยเกี่ยวข้องกับตัว นี่ขั้นของธาตุแต่อธิบายอย่างสรุป ๆ <o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    ขั้นของขันธ์นี้เป็นอีกประเภทหนึ่ง ขันธ์ในขันธ์สี่คือ เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ อันนี้เป็นส่วนละเอียดมาก ละเอียดยิ่งกว่ารูปขันธ์ แต่ถึงจะละเอียดแค่ไหนก็ตามจะพ้นวิสัยของปัญญาไปไม่ได้ ธาตุทั้งธาตุหรือว่ารูปทั้งกองนี้ในส่วนร่างกายของเรา ปัญญายังสามารถสอดแทรกหรือแทงทะลุ ถอดถอนอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกายออกมาได้ เหตุใดจะไม่สามารถรู้เท่าทันใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณได้ ต้องได้ไม่สงสัย เมื่อสติปัญญามีอยู่และนำมาใช้อยู่แล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    คำว่าเวทนา เวทนาทางกายประเภทหนึ่ง เวทนาทางใจประเภทหนึ่ง เวทนาทางใจนี้เป็นส่วนละเอียดมาก โดยมากถ้าจิตได้รับความสงบเยือกเย็นมาเป็นลำดับแล้ว จะมีแต่สุขเวทนาปรากฏอยู่ภายในใจ สุขเวทนานี้ก็ต้องได้พิจารณาถึงกาลเวลาที่ควรจะพิจารณา จะปล่อยทิ้งไว้หรือนอนใจกับสุขเวทนานั้นไม่ได้ เช่น ผู้ติดสมาธิโดยมากติดสุขเวทนา เมื่อเข้าสมาธิแล้วก็แน่วแน่เป็นอารมณ์เดียว ไม่อยากออกมาคิดมาอ่านไตร่ตรองอะไรให้หนักอกหนักใจ ให้เกิดความลำบากรำคาญ อยู่อย่างนี้สบายดี ทั้งวันทั้งคืนก็สบาย เมื่อถอยออกมากระทบกระเทือนรูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น ก็รู้สึกไม่ค่อยสบาย รำคาญในจิตในใจ แล้วย้อนเข้าไปอยู่ในสมาธินั้นเสียสบายดี นี่คือจิตติดสุขเวทนาในสมาธิ
    <o:p></o:p>
    เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็ควรจะถอยออกมาพิจารณา เพราะการถอดถอนกิเลสนี้ไม่ใช่ถอดถอนด้วยสมาธินะ สมาธิเป็นแต่เพียงต้นทุนให้ใจได้รับความสงบเป็นชั้นหนึ่งต่างหาก แต่การจะถอดถอนกิเลสทุกประเภทนั้นจะต้องถอดถอนด้วยปัญญา ไม่ว่าส่วนหยาบ ไม่ว่าส่วนกลาง ส่วนละเอียด จะต้องถอดถอนด้วยปัญญาทั้งนั้น ถ้าเพียงแต่สมาธิหากไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาเลย ก็จะอยู่แต่ความสงบ หาปรากฏว่าได้ถอดถอนกิเลสตัวใดออกได้ด้วยอำนาจของสมาธิไม่ เห็นแต่ความสงบ ถ้าเราปล่อยไว้บ้างหรือมีความประมาทบ้าง ไม่ค่อยเข้าสมาธิบ่อย ไม่ค่อยทำความเพียรโดยสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับสมาธิไว้ จิตที่เคยเป็นสมาธิก็เสื่อม กลายเป็นจิตที่มีความฟุ้งซ่านรำคาญไปอีก เลยเข้าสมาธิไม่ได้ นี่เรียกว่าสมาธิเสื่อม
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น เพื่อเป็นความเหมาะสมในเวลาจิตที่เป็นสมาธิ ก็ให้พักเสียได้ตามกาลเวลาที่ต้องการ เมื่อถอนออกมาแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญาตามธาตุขันธ์ จะเป็นขันธ์ใดก็ตาม เวทนาขันธ์ก็พิจารณาให้เห็นว่ามันเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่ตัวจิตอันดั้งเดิม พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นส่วนที่แฝงขึ้นมา จะเป็นสุขก็แฝงขึ้นมา จะเป็นทุกข์ก็แฝงขึ้นมา เพราะฉะนั้นสุขทุกข์จึงเป็นของที่เกิดและดับได้ ไม่เป็นของจีรังถาวรและไม่เป็นสิ่งคงที่ สัญญา สังขาร วิญญาณ เหล่านี้มีลักษณะที่ปรากฏกระเพื่อมขึ้นมาแล้วก็ดับไปเช่นเดียวกัน
    <o:p></o:p>
    ทั้งเกิดและดับนี้เป็นตามธรรมชาติของขันธ์ หากจิตจะหลงก็หลงได้อย่างไม่มีปัญหาเพราะเคยหลงมาแล้ว ถ้าพิจารณาก็รู้ฐานที่เกิดที่ดับของเขาได้อย่างชัดเจน ไม่ยึดมั่นถือมั่นในกองแห่งรูป ในกองแห่งเวทนา ทั้งสุขทั้งทุกข์ทั้งเฉย ๆ ทั้งสัญญาความจำหมาย ทั้งสังขารความปรุงว่าดีว่าชั่วว่าสุขว่าทุกข์ ทั้งวิญญาณที่รับทราบ อันเป็นเพียงปรากฏขึ้นแล้วดับไป ๆ นี่คือปัญญาขั้นละเอียดที่สามารถให้เห็นต้นเหตุ หรือเห็นรากฐานของอาการทั้งสี่ทั้งห้านี้ว่า มันปรากฏตัวขึ้นมาได้อย่างไร
    <o:p></o:p>
    รูปที่ปรากฏตัวขึ้นมาเป็นกายนี้ ก็เนื่องจากหลักใหญ่ที่เรายังไม่สามารถค้นพบ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้ก็ออกมาจากหลักใหญ่ ที่เรายังไม่สามารถรู้ด้วยปัญญา แต่เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเข้าไปโดยไม่หยุดยั้งแล้ว รูปก็เห็นชัดว่าเป็นอันหนึ่งต่างหากจากจิต เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่ละอย่าง ๆ ไม่ว่าเวทนาประเภทใด ไม่ว่าสัญญาจะหมายเรื่องอะไร ไม่ว่าสังขารจะปรุงเรื่องอะไร จะเห็นความเกิดของสิ่งเหล่านี้มาจากจิตและดับลงที่จิต และเป็นธรรมชาติอันหนึ่งต่างหากจากจิต และยังจะได้เห็นตัวจิตที่มีธรรมชาติอันหนึ่งหุ้มห่อไว้อย่างมิดชิด ธรรมชาตินั้นเป็นผู้ทำหน้าที่บงการ โดยมากในอิริยาบถทั้งสี่จะเป็นเรื่องของธรรมชาตินี้ทั้งนั้นเป็นตัวเชิด เป็นตัวพาให้คิดให้อ่านให้ปรุงแต่งต่าง ๆ นี่ท่านเรียกว่า อวิชชา<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    อันนี้เป็นสิ่งที่สนิทติดใจกับใจราวกับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนผู้ปฏิบัติเมื่อถึงขั้นละเอียดนี้แล้วไม่สามารถจะทำลายอวิชชานี้ ไม่สามารถจะพิจารณาธรรมชาตินี้ได้ เนื่องจากเข้าใจว่าธรรมชาตินี้แลเป็นตน ตนคือธรรมชาติอันนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งหลายพรากได้หมดแล้ว แต่ธรรมชาตินี้พรากกันไม่ออก เนื่องจากเราเห็นธรรมชาตินี้ว่าเป็นเรา ในขณะเดียวกันเราก็คือธรรมชาติอันนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ธรรมชาตินี้จะต้องแสดงตัวอยู่ตลอดเวลา และแสดงอย่างอาจหาญด้วย คือจิตที่เป็นขั้นละเอียดนี้ จะมีแต่เรื่องความดีแทบทั้งนั้นแสดงตัว ความที่ว่าดีอันนี้แลที่เรียกว่าอวิชชาอันแท้จริง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    หลอกทางชั่ว หลอกทางส่วนหยาบก็ตามกันทันมาเป็นลำดับ เมื่อแสดงความละเอียดถ้าปัญญาไม่สามารถก็จะแสดงตัวตลอดเวลา เช่น ความผ่องใสก็คือธรรมชาตินี้แลแสดงตัว ความองอาจกล้าหาญก็คือธรรมชาตินี้ ความสุขความสบายก็คือธรรมชาตินี้ เพราะธรรมชาตินี้ยังเป็นตัวสมมุติอยู่ สิ่งที่แสดงออกมาทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของสมมุติทั้งนั้น
    <o:p></o:p>
    ถ้าเราได้ทราบ หรือได้ยินได้ฟังจากครูอาจารย์ที่ชี้ช่องบอกทางไว้แล้วอย่างนี้ เรามีทางที่จะพิจารณาจุดที่ว่านี้ได้โดยไม่มีความสะทกสะท้านลังเลใจ โดยไม่มีความหึงหวงในธรรมชาตินี้เลย แต่ถ้าไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนนั้น น่ากลัวจะติดอยู่เป็นเวลานานหรืออาจติดกันไปเลย เพราะไม่สนใจจะถอน เนื่องจากมีความรักมีความสงวน มีความรักชอบ มีความพอใจอย่างยิ่ง แล้วก็ยกธรรมชาติอันนี้ขึ้นว่าเป็นตน กดขี่สิ่งทั้งหลายว่าทุกสิ่งทุกอย่างเรารู้หมดแล้ว ไม่มีสิ่งใดเหลือในโลกนี้ เราเป็นผู้บริสุทธ์แล้วทั้งที่กำลังหลง และยึดถือจิตอวิชชาอยู่อย่างภูมิใจไม่รู้สึกตัวบ้างเลย นี่แลเพลงกล่อมของอวิชชาแท้ ทำให้สติปัญญาหลับใหลไปได้โดยไม่คาดฝัน
    <o:p></o:p>
    เมื่อปัญญามีกำลังพอที่จะพิจารณานี้ได้แล้ว ก็ย้อนเข้าไปดูจุดนี้ คือจุดแห่งความผ่องใส จุดแห่งความองอาจ จุดแห่งความสุขอันละเอียดของอวิชชาที่อาศัยอยู่นี้ จะต้องทลายตัวลงไปด้วยอำนาจของปัญญาที่ละเอียด เมื่อธรรมชาตินี้ได้สลายตัวลงไปด้วยอำนาจของปัญญาแล้วนั้น คำว่าเราก็ดี สิ่งที่เราเคยสงวนก็ดี สิ่งที่เราเคยรักเคยชอบมาก็ดี สิ่งที่องอาจกล้าหาญอันเป็นจุดเดียวกันนั้นก็ดี จะหมดปัญหาไปทันทีไม่มีสิ่งใดเหลืออยู่ภายในนั้น ถ้าหากจะเทียบอุปมาแล้ว จุดอันนี้เป็นเช่นเดียวกับบุคคลที่เข้าไปในห้องว่าง เมื่อเข้าไปสู่ห้องว่างแล้ว ผู้นั้นจะลืมตัวของตัวไปเสีย แต่จะไปชมว่าห้องนี้ว่างโล่งโถงเต็มที่ ไม่มีสิ่งใดอยู่ในห้องนี้เลย ห้องนี้ว่างอย่างเต็มที่ โดยไม่ทราบว่าตัวคนเดียวนั้นแลไปทำการกีดขวางห้องอยู่ในขณะนั้น ห้องจึงยังไม่ว่างเพราะยังเหลือคน ๆ หนึ่งไปทำการกีดขวางห้องนั้นอยู่
    <o:p></o:p>
    พอรู้สึกตัวว่า อ้อ ห้องนี้ว่างจริง แต่ที่ห้องนี้ยังไม่ว่างเต็มที่ก็เนื่องจากเรามาอยู่ในห้องนี้คนหนึ่ง ถ้าเราถอนตัวออกไปเสียจากห้องนี้แล้ว ห้องนี้จะว่างอย่างเต็มที่ ข้อนี้อุปมาฉันใด ทุกสิ่งทุกอย่างว่างปล่อยวางกันได้หมด แต่ยังเหลือคำว่าเราซึ่งเป็นตัวอวิชชาอันแท้จริงอยู่กับใจ นั่นแหละอวิชชาล้วน ๆ คือเราตัวนั้นแหละกีดขวางตัวเองอยู่ในเวลานั้น ไม่ทราบว่าอวิชชานั้นคืออะไร เราจึงเห็นสิ่งทั้งหลายว่าง หรือว่าเราวางสิ่งทั้งหลายได้หมดไม่มีสิ่งใดเหลือ แต่ธรรมชาติอันนั้นทำการกีดขวางตัวของเราอยู่ เราเลยไม่ว่าง<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    พอปัญญาได้หยั่งเข้าไปสู่จุดนี้แล้ว ธรรมชาตินี้ก็สลายตัวลงไป นั้นแลภายนอกก็ว่าง ภายในใจตัวเองก็ว่าง เช่นเดียวกับบุคคลถอนตัวออกมาจากห้อง แล้วห้องนั้นก็ว่างอย่างเต็มที่ จิตรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบด้านหมดแล้วด้วย มารู้รอบตัวเองปล่อยวางภายในตัวเองนี้ด้วย ชื่อว่าจิตนี้ว่างอย่างเต็มที่ ไม่มีสมมุติอันใดแฝงอยู่ภายในนั้นเลย นี่ชื่อว่าจิตว่างจริง จิตปล่อยวางจริง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ถ้าหากจิตยังไม่รู้ตัวเอง ยังไม่ถอดถอนตัวเองตราบใด ถึงจิตจะว่าสิ่งใดว่างหรือปล่อยวางสิ่งใดได้แล้วก็ตาม จิตก็ยังไม่ว่างในตัวเอง จิตยังไม่ปล่อยวางตัวเองอยู่นั้นแล เมื่อเป็นเช่นนั้นคำว่าอวิชชาก็คือ จิตผู้นั้นยังจะมีทางสืบต่อไปได้อีก เมื่อได้ทำลายพืชอันสำคัญหรือตัวอวิชชาอันแท้จริงนี้ได้ด้วยปัญญาแล้ว นั้นแลชื่อว่าเป็นผู้ว่างเป็นผู้วางอย่างเต็มภูมิ ไม่มีสมมุติอันใดเจือปน ความสงวนก็ไม่มี ความรักก็ไม่มี ความองอาจกล้าหาญก็ไม่มี ความที่จะขยาดหวาดกลัวเพื่ออะไรอีกก็ไม่มี เพราะสิ่งทั้งนี้เป็นสมมุติทั้งนั้น เนื่องจากอวิชชาซึ่งเป็นรากแก้วใหญ่อันพาให้เกิดอาการเหล่านี้ขึ้นมาได้สลายลงไปแล้ว เหลือแต่ธรรมชาติล้วน ๆ
    <o:p></o:p>
    นี่จุดสุดท้ายแห่งการปฏิบัติธรรมะ หากเราได้ปฏิบัติอย่างเอาจริงเอาจังตามที่อธิบายมาแล้วนั้น จุดนี้หรือผลสุดท้ายที่อธิบายมานี้จะไม่เป็นสมบัติของใคร แต่จะเป็นสมบัติของท่านผู้ปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้ทั้งนั้น เพราะความรู้อันนี้มีอยู่ตลอดเวลาหลับหรือตื่นไม่นิยม แม้แต่หลับสนิทก็ยังทราบว่าหลับสนิท ตนได้ถึงความบริสุทธิ์จะไม่ทราบตนได้อย่างไร ต้องทราบ ฉะนั้นทุกท่านโปรดได้ทำความพยายามผลิตพระของเรา สร้างพระของเราให้สมบูรณ์เพื่อความเป็นวิสุทธิบุคคล
    <o:p></o:p>
    เรื่องภายนอกจะขาดตกบกพร่องไปบ้าง เปลี่ยนแปลงไปบ้าง สมบูรณ์บ้าง ได้บ้างไม่ได้บ้าง อิ่มบ้างหิวบ้าง อย่าไปทำความสำคัญให้มากไป จะเสียหลักใหญ่คือพระของเราบกพร่อง คำว่าพระนี้หมายถึงจิตที่บริสุทธิ์ ประเสริฐเต็มที่นั่นเอง เราพยายามปรับปรุงกาย วาจา ใจ ของเราด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าให้กลมกล่อมกับจิตใจของตน ให้มีความเจริญด้วยศีล ให้มีความเจริญด้วยสมาธิ ให้มีความเจริญด้วยการสอดส่องมองรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งภายนอกทั้งภายในที่เรียกว่า ปัญญา อยู่ตลอดเวลา นี่ชื่อว่าเป็นผู้สร้างพระขึ้นภายในตน พระผู้นั้นจะไม่บกพร่อง ทุกสิ่งทุกอย่างจะบกพร่องไม่สำคัญ ขออย่าให้พระของเราบกพร่องก็เป็นที่พอใจและชอบธรรม
    <o:p></o:p>
    การสร้างพระนี้สร้างยากมาก สร้างวัตถุอะไร ๆ ไม่ยาก จะสร้างห้างสร้างหออะไร สร้างวัดสร้างวา สร้างโบสถ์สร้างวิหาร ไม่มีอะไรสำคัญ ไม่มีอะไรหนักเท่า ไม่มีอะไรจะยากเท่าการสร้างพระ คือการสร้างตัวของเราให้ดีและดีเด่นเห็นประจักษ์ใจ อันนี้สร้างยากมาก แต่สร้างได้แล้วมีคุณค่าหาประมาณมิได้ ทุกสิ่งทุกอย่างสร้างขึ้นมา หมดเท่าไรเขาก็ประมาณได้ถูกต้องหรือบอกได้ถูกต้อง ว่าสิ่งนั้นสร้างหมดเท่านั้นบาท เท่านั้นแสน เท่านั้นหมื่น เท่านั้นล้าน บอกกันได้ แต่การสร้างจิตนี้หมดไปเท่าไรไม่คำนึงนับอ่าน เพราะเป็นงานที่เลยการนับการประมาณ เมื่อสร้างได้แล้วจะมีราคาค่างวดเท่าไร ก็ไม่มีการจับจ่ายขายกันในตลาด จึงว่าเป็นงานที่ยาก ผลงานที่คาดไม่ได้
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น ทุก ๆ ท่านโปรดพากันสนใจสร้างพระของตนให้เต็มที่ อย่าไปสนใจไยดีลืมตัวกับสิ่งภายนอก เจริญแค่ไหนก็เสื่อมลงเท่ากันไม่มีเศษมีเหลือเลย ในโลกนี้มันโลกวัตถุมันโลกนิยม อะไร ๆ มีไม่อดไม่อยาก อยู่ที่ไหนก็สร้างก็อยู่กันไป เพราะคนมีชีวิตจิตใจ จะไม่มีบ้านมีเรือนมีกุฏิศาลาอยู่อาศัยถ้าไม่สร้างจะอยู่ที่ไหน แม้แต่กระรอกกระแตมันยังมีโพรงมีรัง พระเราก็มี แต่ให้มีเท่าที่เห็นว่าจำเป็นกับเหตุผลอรรถธรรมและธาตุขันธ์ อย่าไปทำความกังวลขนทุกข์ใส่ตัวเพราะสิ่งเหล่านั้นให้มากไป จนลืมมองดูพระของตัว จงสร้างพระนี้ให้ได้ เมื่อสร้างพระสมบูรณ์แล้วอยู่ที่ไหนก็สบาย อยู่ร่มไม้ชายเขา อยู่ในป่าในรก และอดบ้างอิ่มบ้างก็มีความสบายทั้งนั้น เพราะพระนี้สมบูรณ์แบบแล้ว จงทำความสนใจอย่างนี้
    <o:p></o:p>
    ถ้าเป็นผู้ชอบยุ่งกับสิ่งภายนอกแล้ว อย่างไรพระต้องด้อยไปเป็นลำดับ จนหาพระภายในตัวไม่มีเลย ทั้งวันทั้งคืนจะเป็นแต่สัญญาอารมณ์กับเรื่องนั้นเรื่องนี้ยุ่งไปหมด ไปที่ไหนวุ่นไปที่นั่น สร้างนั้นสร้างนี้ เดี๋ยวเกี่ยวกับศรัทธาญาติโยม บอกบุญคนนั้นบอกบุญคนนี้ ติดต่อคนนั้นติดต่อคนนี้ กลายเป็นเรื่องนอกเรื่องแหกคอกแหวกแนวไปหมด หาเรื่องในของพระที่จะให้เป็นพระองค์เจริญ ๆ คงเส้นคงวาไม่มี นี้ผิดกับหลักของพระผู้ตั้งหน้าตั้งตาสละกิเลส ผิดกับหลักของผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอันสมบูรณ์ ก็พระโสดา สกิทาคา อนาคา พระอรหันต์ อย่างไรล่ะ<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ตามรอยแห่งธรรม

    ฉะนั้นงานเช่นนั้น กับงานของพระตามหลักนิสสัย ๔ จึงต่างกันมาก งานนั้นมอบให้ญาติให้โยมให้ศรัทธาพิจารณากันไป แต่เรื่องงานผลิตมรรคผลนิพพานนี้ให้เป็นเรื่องช่าง คือเราเป็นช่างเอง ได้รับโอวาทจากครูบาอาจารย์มาเป็นเครื่องมือแล้ว เอ้า ทำหน้าที่ลงไป งานนี้จะให้คนอื่นทำแทนไม่ได้ การสร้างพระต้องต่างองค์ต่างสร้าง ต่างคนต่างสร้างตัวเอง เป็นแต่ได้รับอุบายจากครูจากอาจารย์หรือหมู่เพื่อนมาเท่านั้น การที่จะทำลงไปนั้นเป็นเรื่องของเราโดยเฉพาะ ใครทำแทนไม่ได้ เป็นส่วนของใครของเรา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เดินจงกรมก็ให้มีสติ นั่งที่ไหนให้มีสติ ไปไหนมาไหนอย่าลืมคำว่าพระต้องดีและสมบูรณ์ด้วยการบำรุงรักษา พระจะบกพร่องไปที่ไหนบ้าง ให้พยายามแก้ไขดัดแปลงจนเป็นพระที่สมบูรณ์ นั่งสมาธิก็เย็น เดินไปไหนมาไหนก็เย็น พิจารณาเรื่องปัญญาก็ปลอดโปร่งโล่งโถง เห็นอรรถเห็นธรรม เห็นความดีความชั่วชัดเจนอยู่ที่ใจของพระเรา มีทางออกทางเข้า มีทางปลดเปลื้องตนเอง มีทางหลบหลีกภัยได้อย่างสบาย ด้วยอำนาจปัญญาของพระ อยู่ที่ไหนก็สบาย เย็นไปหมด ข้าศึกที่เคยก่อความวุ่นวายให้เราวันยังค่ำคืนยังรุ่ง โดยไม่มีวันหยุดยั้ง ก็ยุติกันลงด้วยอำนาจแห่งพระของเรามีเครื่องมือกำจัดและป้องกันตัว มีความกล้าหาญชาญชัยรบกับข้าศึกไม่ถอยทัพกลับแพ้ รุดหน้าเรื่อยไป คว้าหลักชัยที่รออยู่ชั่วเอื้อมมือด้วยข้อปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    เรื่องภายนอกก็ไม่มาเกี่ยวข้องให้เป็นกังวลภายในใจ เรื่องใจก็ไม่เสาะแสวงหา ไม่ฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมกับสิ่งภายนอกเพื่อก่อไฟเผาตัว ต่างอันต่างอยู่ต่างอันต่างจริง พระก็จริงสำหรับพระของเรา ไปที่ไหนก็สบายหายห่วง เมื่อใจถึงความเป็นพระอันสมบูรณ์แล้วอยู่ที่ไหนก็พอตัว ไม่ต้องการอะไรทั้งนั้น อดก็พอตัว อิ่มก็พอตัว อยู่ที่ไหนก็พอตัว สบายอยู่หมดทุกแห่งทุกหน ไม่เลือกสถานที่กาลบุคคล มีความพอตัวอยู่ด้วยจิตที่บริสุทธิ์เต็มที่หมดสิ่งเคลือบแฝง เรียกว่าพระสมบูรณ์แบบแล้วด้วยข้อปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เนื่องจากความเพียรเป็นเครื่องสนับสนุน
    <o:p></o:p>
    นี้แลที่ได้อธิบายว่าการรบข้าศึกภายในหมายถึงกิเลส ซึ่งตัวของเราเสียเองเป็นกิเลส และผู้รบก็คือตัวเราเองเป็นผู้รบ เป็นผู้แก้ความผิดของตนที่มีอยู่แง่ไหนมุมใด รวมแล้วเรียกว่ารบกับกิเลส เมื่อรบให้ถึงจุดหมายปลายของสิ่งที่เป็นข้าศึก ข้าศึกได้สลายยอมแพ้อย่างราบคาบแล้ว ก็เป็นผู้มีความองอาจกล้าหาญ เห็นรูปก็เห็นได้อย่างเต็มตา ฟังได้อย่างเต็มหู เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ทุกสิ่งทุกอย่างที่มาสัมผัส รับทราบได้อย่างเต็มใจ ไม่ติดไม่พันไม่เป็นกังวล ไม่มีท่ามีทางว่าจะต้องระมัดระวังซึ่งกันและกัน หรือไม่มีท่ามีทางว่าใจจะฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมไปตามสิ่งทั้งหลายนั้น เพราะ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ เป็นสิ่งที่เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงแล้วภายในใจ เรียกว่า สุคโต อยู่ก็ สุคโต คืออยู่ก็ดี ไปก็ไปดี คิดก็คิดดี อะไรมาสัมผัสกลายเป็นธรรมะไปตาม ๆ กัน ไม่เป็นโทษไม่เป็นกิเลสดังที่เคยเป็นมา
    <o:p></o:p>
    ถ้าจิตดีจิตหมดโทษเพียงดวงเดียว ไม่มีอะไรจะเป็นข้าศึกในโลกนี้ ที่เป็นข้าศึกที่เป็นความทุกข์ความเดือดร้อน ก็เนื่องจากใจดวงเดียวนี้แล เสาะหาเรื่องก่อเรื่องใส่ตัวเองอยู่ไม่หยุด เกิดเรื่องกับตัวเอง หาที่ปลดที่เปลื้อง หาทนายมาแก้ช่วยไม่ได้ หาผู้ตัดสินหาผู้พิพากษาไม่ได้ นอกจากเราจะเป็นผู้พิพากษา นอกจากเราจะเป็นผู้พินิจพิจารณาคู่ความระหว่างดีกับชั่ว และปลดเปลื้องกันลงไปเอง ด้วยสนฺทิฏฺฐิโก เห็นเอง ไม่ต้องให้ผู้อื่นผู้ใดมาเห็นได้ มาทำนายทายทักให้ เพราะคำว่าสนฺทิฏฺฐิโก นี้พระพุทธเจ้ามอบไว้กับพุทธบริษัททุกรูปทุกนาม ผู้ใดมีข้อปฏิบัติสมควรจะรู้ตาม สันทิฏฐิกธรรม ก็ย่อมมีสิทธิรู้ได้ ไม่เลือกว่าเป็นหญิงเป็นชาย เป็นนักบวชหรือฆราวาส สามารถรู้ได้ด้วยกัน
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นในอวสานแห่งธรรมที่แสดงมานี้ ขอให้ท่านนักปฏิบัติทั้งหลายจงนำไปพินิจพิจารณา แล้วพยายามผลิตพระของตนให้มีความศักดิ์สิทธิ์วิเศษขึ้นมาภายในตนเอง แม้จะไม่ศักดิ์สิทธิ์วิเศษไปทางไหนก็ตาม ก็ขอให้ศักดิ์สิทธิ์วิเศษภายในตัว ระหว่างสิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับใจอย่าให้อาภัพกันเท่านั้น นี่ชื่อว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์วิเศษได้อย่างภาคภูมิ
    <o:p></o:p>
    จึงขอยุติธรรมเทศนาเพียงเท่านี้<o:p></o:p>
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๐



    <o:p></o:p>

    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส



    <o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    ความสำคัญของพระปฏิบัติก็คือหลักใจ คำว่าหลักใจก็คือสมาธิเป็นขั้นๆ ปัญญาเป็นภูมิ ๆ ภายในใจจนถึงอรหัตภูมิ เรียกว่าหลักใจของพระปฏิบัติ ถ้าหลักใจดีแล้วหลักการปฏิบัติทุกด้านก็ดีไปตามกันเพราะใจเป็นผู้บงการ เราจึงเห็นใจเป็นสำคัญ คนที่มีหลักใจกับคนไม่มีหลักใจปฏิบัติจึงผิดกันอยู่มาก การลดหย่อนผ่อนผันตามเหตุการณ์ในบางกาล สถานที่ บุคคล และการเคร่งครัดในเวลาปกติของผู้มีหลักใจ มีเหตุมีผลต่างกันกับผู้ไม่มีหลักใจ ซึ่งมีแต่ความมุ่งมั่นอย่างเดียว ถึงจะเด็ดเดี่ยวอาจหาญก็จริงแต่มันแฝงไปด้วยความผิดพลาด และทิฐิมานะไม่สม่ำเสมอเท่าที่ควรกับธุดงควัตรอันเป็นเครื่องชำระกิเลสทิฐิมานะที่หมักดองอยู่ภายใน เพราะธาตุขันธ์ของเรามันเป็นโลกเหมือนโลกทั่วไป จำต้องเกี่ยวข้องกับโลกที่ควรผ่อนผันสั้นยาวแก่บางคน บางสถานที่บางเวลาอยู่โดยดี แต่เวลาจะควรลดหย่อนผ่อนผันก็ลดหย่อนไม่ได้ กลัวเสียความเคร่งครัดหรือเสียธุดงค์ แต่เมื่อลดหย่อนลงแล้วก็เคร่งตึงขึ้นไม่ได้ เพราะมีทิฐิแทรกอยู่ทั้งสองด้าน แล้วก็ไม่พ้นการกระเทือนตนและผู้อื่นจนได้ ทั้งเวลาเคร่งครัดและเวลาหย่อนยานไปตามเหตุการณ์
    <o:p></o:p>
    ผู้มีหลักใจเห็นสมควรตามเหตุผลแล้ว เวลาจะลดหย่อนผ่อนผันก็ลดหย่อนผ่อนผันไปตามที่เห็นสมควรแก่กาล สถานที่ บุคคล ซึ่งอาจมีตามคราวตามสมัย พอหมดหน้าที่ความจำเป็นนั้นแล้ว ก็ดีดขึ้นและคงเส้นคงวาตามเดิม โดยไม่ยากแก่การบังคับบัญชา เพราะเหตุผลอรรถธรรมภายในใจบังคับภายในตัวอยู่แล้ว จึงไม่ลำบากทั้งเวลาจะลดหย่อนผ่อนผัน และเวลาจะปฏิบัติตามธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดที่เคยดำเนินมา
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้เราเคยปฏิบัติมาแล้วในสมัยอยู่กับท่านอาจารย์มั่น ยกตัวอย่างเช่น เราสมาทานธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อเพื่อปฏิบัติเป็นวัตร โดยไม่เรียนให้ท่านทราบ แต่ท่านก็ทราบได้ดีปิดไม่อยู่ เพราะความเคารพท่านมากที่จำต้องอนุโลมทั้งที่ขัดใจ(ขัดกิเลสเรา)
    <o:p></o:p>
    ถ้าธรรมดาแล้วจะไม่ยอมลดหย่อนลงเลย….นั่น นี่คือความรู้สึกมันขวางอยู่ในจิตเจ้าของเอง เพราะเจตนาเรามุ่งเด็ดเดี่ยวอย่างนั้นจริง ๆ ไม่ให้มีอะไรมาผ่านเอาให้ทะลุปรุโปร่งไปด้วยความตั้งใจอันนี้
    <o:p></o:p>
    พอไปอยู่กับท่านปีแรกก็เห็นท่านพูดถึงเรื่องธุดงควัตร เพราะท่านเคร่งครัดในธุดงควัตรมากมาตามนิสัย มีการรับอาหารเท่าที่บิณฑบาตได้มาเป็นต้น จากนั้นมาเราก็สมาทานธุดงค์เป็นประจำในหน้าพรรษา ไม่เคยลดละเลย สมาทานธุดงค์ข้อฉันของที่ได้มาในบาตรเท่านั้น ใครจะเอาอาหารมาใส่บาตรนอกจากอาหารในบาตรของตัวเเล้ว เป็นไม่รับไม่สนใจ ตั้งแต่บัดนั้นมาเรื่อยไม่เคยลดละ คนเดียวเราก็ทำของเราไม่ให้ขาด เมื่อถึงพรรษาเข้ามาแล้ว เราต้องสมาทานธุดงค์ข้อนี้เป็นหลักเกณฑ์ในจิตใจไม่ให้ขาดแม้แต่ปีเดียว
    <o:p></o:p>
    ปีจำพรรษาบ้านนามน ท่านหูดีตาดีท่านฉลาด จอมปราชญ์ในสมัยปัจจุบันใครจะเก่งไปกว่าท่านอาจารย์มั่นเล่า การสมาทานธุดงค์ท่านก็รู้ว่าเราไม่รับอาหารที่ตามมาทีหลัง แต่บทเวลาท่านจะใส่บาตรเรา ท่านก็พูดเป็นเชิงว่า ขอใส่บาตรหน่อยท่านมหา นี่เป็นสมณบริโภค ท่านว่าอย่างนั้น นี่เป็นเครื่องบริโภคของสมณะขอนิมนต์รับเถอะ ก็หมายความว่าท่านเป็นผู้ใส่เองนั่นแล
    <o:p></o:p>
    บางครั้งก็มีคณะศรัทธาทางจังหวัดหนองคายบ้าง และที่สกลนครบ้าง ที่อื่น ๆ บ้างไปใส่บาตรท่านและพระในวัดบ้านนามน อ.เมือง จ.สกลนคร นาน ๆ มีไปทีหนึ่งเพราะแต่ก่อนรถราไม่มี ต้องเดินด้วยเท้า แต่เขาไปด้วยเกวียน จ้างล้อจ้างเกวียนไป เขาไปพักเพียงคืนสองคืนและไม่ได้พักอยู่ในวัดกับพระท่าน พากันไปพักอยู่กับกระท่อมนาของโยมแพง ตอนเช้าทำอาหารบิณฑบาต เสร็จแล้วก็มาถวายพระในวัดนั้น เขาไม่ได้ไปดักใส่บาตรนอกวัด เราก็ไม่กล้ารับกลัวธุดงค์ขาด เดินผ่านหนีมาเลย สำหรับท่านก็รับให้เพราะสงสารเขาเท่าที่สังเกตดู
    <o:p></o:p>
    อาหารก็เหลือจากใส่บาตรมากมาย นำขึ้นมาบนศาลาอย่างนั้นแล เป็นหมกเป็นห่อและผลไม้ต่าง ๆ น่ะ เราก็ไม่รับ ส่งไปไหนก็หายเงียบ ๆ ไม่มีใครรับ จะมีรับบ้างก็เพียงองค์สององค์ ผิดสังเกตศรัทธาเขาไม่น้อย ส่วนเราไม่กล้ารับเพราะกลัวธุดงค์ข้อนี้ขาด หลายวันต่อมาท่านก็ขอใส่บาตรเรา โดยบอกว่านี้เป็นสมณบริโภค ขอใส่บาตรหน่อย แล้วท่านก็ใส่บาตรเรา ท่านใส่เองนะ ถ้าธรรมดาแล้ว โถ..ใครจะมาใส่เราได้วะ สำหรับเราเองกลัวธุดงค์จะขาด หรืออย่างน้อยไม่สมบูรณ์ ความจริงท่านคงเห็นว่านี่มันเป็นทิฐิแฝงอยู่กับธุดงค์ที่ตนสมาทานนั้น ท่านจึงช่วยดัดเสียบ้างเพื่อให้เป็นข้อคิดหลายแง่หลายกระทง ไม่เป็นลักษณะเถรตรงไปถ่ายเดียว ท่านจึงหาอุบายต่าง ๆ สอนเราทั้งทางอ้อมและทางตรง
    <o:p></o:p>
    เฉพาะเราเถรตรง มีความคิดความมุ่งหมายอย่างนั้น จึงไม่ยอมให้ใครมาใส่บาตร อันเป็นการทำลายธุดงค์เราได้เลย นอกจากท่านอาจารย์มั่นผู้ที่เราเคารพเลื่อมใสเต็มหัวใจเท่านั้น จึงยอมลงและยอมให้ใส่บาตรตามกาลอันควรของท่านเอง เราเองมีความหนักแน่นในใจว่า จะไม่ยอมให้ธุดงค์นี้บกพร่องแม้นิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ระแคะระคายภายในใจ ต้องสมบูรณ์ทั้งธุดงค์ที่เราได้ทำลงไปและจิตใจที่มุ่งมั่นอยู่แล้ว แต่เพราะความเคารพเลื่อมใสท่านความรักท่านทั้ง ๆ ที่ไม่สบายใจก็ยอมรับ นี่แลที่ว่าหลักใจกับหลักปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    ก็ยอมรับว่าถูกในความจริงจังที่ปฏิบัตินี่ แต่มันก็ไม่ถูกสำหรับธรรมที่สูงและละเอียดกว่านั้น เล็งดูเราเล็งดูท่าน มองเราและมองท่านนั้นผิดกันอยู่มาก อย่างท่านอาจารย์มั่นท่านมองอะไร ท่านมองตลอดทั่วถึงและพอเหมาะพอสมทุกอย่างภายในใจ ไม่เหมือนพวกเราที่มองหน้าเดียวแง่เดียวแบบโง่ ๆ ไม่มองด้วยปัญญาเหมือนท่าน เราจึงยอมรับตรงนั้น นี้พูดการปฏิบัติธรรมอยู่บ้านนามนกับท่านอาจารย์มั่น<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    ทีนี้พูดถึงบ้านหนองผือนาใน เวลามาอยู่บ้านหนองผือ เราก็สมาทานธุดงควัตรอย่างนั้นอีก อยู่ที่ไหนก็ตามเรื่องธุดงควัตรนี้ เราจะต้องเอาหัวชนอย่างไม่ถอยเลย ยืนกระต่ายขาเดียวไม่ยอมให้ขาดได้เลย บิณฑบาตมาแล้วก็รีบจัดปุ๊บปั๊บ จะเอาอะไรก็เอาเสียนิด ๆ หน่อย ๆ เพราะการฉันไม่เคยฉันให้อิ่มในพรรษา ไม่เคยให้อิ่มเลย โดยกำหนดให้ตัวเองว่าเอาเพียงเท่านั้น ๆ สัก ๖๐% หรือ ๗๐% เช่นร้อยเปอร์เซ็นต์ เราหักไว้เสีย ๓๐% หรือ ๔๐% ซึ่งคิดว่าพอดี เพราะอยู่กับหมู่เพื่อนหลายองค์ด้วยกัน ถ้าจะอดก็ไม่สะดวก เพราะการงานในวงหมู่คณะเกี่ยวข้องกันอยู่เสมอ เราเองก็เหมือนเป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งอย่างลับ ๆ ทั้งที่ไม่แสดงตัว ทั้งนี้เกี่ยวกับการคอยสอดส่องดูแลความสงบเรียบร้อยของหมู่คณะภายในวัด พรรษาก็ไม่มาก สิบกว่าพรรษาเท่านั้นแหละ แต่รู้สึกว่าท่านอาจารย์ใหญ่ท่านเมตตาไว้ใจในการช่วยดูแลพระเณรอย่างลับ ๆ เช่นกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลาเข้าพรรษาก็ต่างองค์ต่างสมาทานธุดงค์กันทั้งวัด ครั้นสมาทานแล้วไม่กี่วันมันก็ล้มไป ๆ นี่ก็ส่อแสดงให้เห็นความจริงจังหรือความล้มเหลวของหมู่คณะ ก็ยิ่งทำให้เรามีความระมัดระวังและขะมักเขม้นในหน้าที่และธุดงค์ของเรามากขึ้น เมื่อได้เห็นอาการของหมู่เพื่อนเป็นอย่างนี้ ทำให้เกิดความอิดหนาระอาใจไปหลายแง่หลายทางเกี่ยวกับหมู่คณะ จิตใจยิ่งฟิตตัวเอง ปลุกใจตัวเองให้แข็งขัน และย้อนมาถามตัวเองบ้าง ว่าไงเราจะไม่ล้มไม่เหลวไปละหรือเมื่อเหตุการณ์รอบข้างเป็นไปอย่างนี้ ก็ได้รับคำตอบอย่างมั่นใจว่า จะเอาอะไรมาให้ล้มให้เหลวไหลวะ ก็ตัวใครตัวเรานี่ ประกอบกับนิสัยเราเป็นอย่างนี้มาดั้งเดิมอยู่แล้ว ทำอะไรต้องจริงทั้งนั้น ถ้าลงได้ทำแล้วต้องจริง ทำเล่นไม่เป็น เรานี่จะล้มไม่ได้ นอกจากตายเสียเท่านั้นก็สุดวิสัย ใครจะมาใส่บาตรเราไม่ได้เป็นอันขาด ฟังซิว่า “เป็นอันขาด” ความรู้สึกเป็นอย่างไรในเวลานั้น
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นความเปลี่ยนแปลงของหมู่เพื่อน จึงเป็นราวกับแสดงธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งให้เราฟังอย่างถึงใจ จำไม่ลืมจนบัดนี้ พอบิณฑบาตกลับมาแล้วมีอะไรก็รีบจัด ๆ ใส่บาตรเสร็จ แล้วก็รีบไปจัดอาหารเพื่อใส่บาตรท่านอาจารย์ ห่อนั้นหรือห่อนี้ที่เห็นว่าเคยถูกกับธาตุขันธ์ท่าน เรารู้และเข้าใจก็รีบจัด ๆ อันไหนควรแยกออก อันไหนควรใส่ก็จัด ๆ เสร็จแล้วถึงจะมาที่นั่งของตน ตาคอยดู หูคอยสังเกต ฟังท่านจะว่าอะไรบ้างขณะก่อนลงมือฉัน
    <o:p></o:p>
    บาตรเราพอจัดเสร็จแล้วก็เอาตั้งไว้ลับ ๆ ทางด้านหลัง ข้างฝาติดกับต้นเสาเอาฝาปิดไว้อย่างดีด้วย เอาผ้าอาบน้ำปิดอีกชั้นหนึ่งด้วย เพื่อไม่ให้ใครไปยุ่งไปใส่บาตรเรา เวลานั้นใครจะมาใส่บาตรเราไม่ได้ กำชับกำชาไว้อย่างเด็ดขาด แต่เวลาท่านจะใส่บาตรเราท่านก็มีอุบายของท่าน เวลาเราจัดอะไรของท่านเสร็จเรียบร้อยแล้วมานั่งประจำที่ ให้พรเสร็จ ตอนทำความสงบพิจารณาปัจจเวกขณะนั้นแล ท่านจะเอาตอนเริ่มจะฉัน ท่านเตรียมของใส่บาตรไว้แต่เมื่อไรก็ไม่รู้แหละ แต่ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ นี่ ท่านก็รู้เหมือนกันท่านเห็นใจเรา บทเวลาท่านจะใส่ท่านพูดว่า ท่านมหาขอใส่บาตรหน่อย ๆ ศรัทธามาสาย ๆ ท่านว่าอย่างนั้น พอว่าอย่างนั้นมือท่านถึงบาตรเราเลยนะ ตอนเราเอาบาตรมาวางข้างหน้าแล้ว กำลังพิจารณาอาหารนี่แหละ เราเองก็ไม่ทราบจะทำอย่างไรเพราะความเคารพ จำต้องปล่อยตามความเมตตาของท่าน เราให้ใส่เฉพาะท่านเท่านั้น นาน ๆ ท่านจะใส่ทีหนึ่ง ในพรรษาหนึ่ง ๆ จะมีเพียง ๓ ครั้งหรือ ๔ ครั้งเป็นอย่างมาก ท่านไม่ใส่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ เพราะท่านฉลาดมาก คำว่ามัชฌิมาในทุกด้านจึงยกให้ท่านโดยหาที่ต้องติไม่ได้
    <o:p></o:p>
    นี่เรารักษาของเราอย่างนั้นเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ ส่วนพระเณรไม่ได้เรื่องล้มเหลวไปหมด จึงทำให้คิด คิดอยู่ไม่หยุดเกี่ยวกับหมู่คณะ เอ….จิตใจมันเป็นยังไงพระเรานี่ จึงหาหลักเกณฑ์ไม่ได้ ล้มเหลว ๆ ไปอย่างนั้น จะเอาอะไรเป็นหลักอันมั่นคงในอนาคต เมื่อปัจจุบันเป็นความล้มเหลวอยู่แล้ว ทำให้คิดเรื่องเหล่านี้ภายในใจอยู่ไม่หยุดจนถึงหมู่คณะในปัจจุบันที่อยู่กับเราเวลานี้
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นหลักปฏิบัติธุดงควัตรจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก การฉันในบาตร คนจำนวนมากตลอดถึงพระเรายังไม่เห็นคุณค่าของการฉันในบาตร นอกจากไม่เห็นคุณค่าธุดงค์ข้อนี้แล้ว ยังอาจเห็นไปว่าไม่เหมาะไม่สวยงาม ทั้งในส่วนเฉพาะและสังคมทั่วไป เนื่องจากอาหารต้องรวมกันทั้งคาวทั้งหวานในบาตรใบเดียว และยังอาจเห็นเป็นของน่าเกลียด สกปรกมูมมามไปก็ได้ ซึ่งเป็นความคิดเห็นของกิเลสลบล้างธรรมของจริง ธุดงค์ทั้ง ๑๓ นี้ผู้จะเห็นคุณค่ามีน้อย ทั้ง ๆ ที่ธุดงค์ทั้ง ๑๓ ข้อเป็นเครื่องชำระกิเลสของพระเราทั้งนั้นนั่นเอง นี่แลขึ้นชื่อว่ากิเลสกับธรรม ย่อมปีนเกลียวและลบล้างกันเสมอแต่ไหนแต่ไรมา ผู้จะพลีชีพพลีดวงใจเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงสอนไว้ ส่วนผู้จะพลีชาติพลีดวงใจเพื่อบูชากิเลสวัฏฏ์ ก็ปฏิบัติตามความเห็นของกิเลส นี่พวกเราจะบูชาใครเวลานี้ รีบคิดและตัดสินใจอย่าเนิ่นนาน เดี๋ยวกิเลสเอาขึ้นเขียงจะว่าไม่บอก ธรรมท่านบอกสอนไว้แล้วรีบก้าวเดิน อย่ามัวกลัวไม่ทันสมัยจะก้าวไม่ออก<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    ปํสุกูลจีวรํ การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ก็เพื่อตัดความมีราค่ำราคาโอ่อ่าชะล่าใจ ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ความสวยงามแบบส่งเสริมกิเลสและเหยียบย่ำธรรม ไม่ให้พะรุงพะรังภายในใจของนักปฏิบัติผู้กำจัดกิเลสเพื่อส่งเสริมธรรม บำรุงใจให้สง่างาม เครื่องบริโภคใช้สอยที่ได้จากบังสุกุลมาใช้ ย่อมฆ่ากิเลสตัวโลภโลเล ตัวฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมตัวรักสวยรักงาม ตัวเผยอเย่อหยิ่งออกได้เป็นอย่างดี ปราชญ์ท่านจึงชมเชยและปฏิบัติกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ให้พวกเราพอได้เห็นร่องรอยของท่านที่ฆ่ากิเลสด้วยวิธีนี้ไว้เป็นขวัญตาขวัญใจ ไม่ตายเปล่าในชีวิตนักบวช
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การบิณฑบาตเป็นวัตร ก็ให้ทำหน้าที่ของตนตาม ปิณฺฑิยาโลปโภชนํฯ ซึ่งพระองค์ประทานให้ตั้งแต่วันบวช อย่าขี้เกียจขี้คร้าน อย่าลืมตัวเพราะมีอติเรกลาภมากน้อย ใคร ๆ จะมาถวายก็ตาม พึงเห็นว่าเป็นของพิเศษหรือเป็นของเหลือเฟือ ไม่เป็นของจำเป็นยิ่งกว่าที่เราบิณฑบาตหามาได้ด้วยปลีแข้งของเรา ซึ่งเป็นหน้าที่ของพระ เป็นงานของพระซึ่งทำงานของตนโดยถูกต้อง ได้มาโดยเหมาะสมจริง ๆ สมกับปิณฺฑิยาโลปโภชนํฯ ในอนุศาสน์ที่ท่านสอนไว้ แน่ะฟังซิ….นี่เหมาะสม ท่านจึงสอนให้บิณฑบาต ซึ่งเป็นงานที่บริสุทธิ์อันดับหนึ่งของพระ
    <o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าก็ทรงบิณฑบาตตลอด จะทรงพักบ้างก็เวลาไปอยู่ในสถานที่ไม่เหมาะสมที่จะควรบิณฑบาตได้ เช่นทรงไปอยู่ในป่าเลไลยก์กับช้าง ช้างอุปถัมภ์อุปัฏฐากดูแลท่าน เพราะไม่มีบ้านผู้บ้านคน มีงดเว้นบ้างเฉพาะเท่านั้น ปุพฺพเณฺหปิณฺฑปาตญฺจ ในพุทธกิจห้า ตอนเช้าเสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกนั่นฟังซิ สายเณฺห ธมฺมเทสนํ ตอนบ่ายสี่โมงก็ประทานพระโอวาทแก่พุทธบริษัทฝ่ายฆราวาส นับแต่พระราชามหากษัตริย์ เสนาบดี เศรษฐี กุฏุมพี พ่อค้า ตลอดถึงประชาชนธรรมดาทั่วไป
    <o:p></o:p>
    ปโทเส ภิกฺขุโอวาทํ มืดไปแล้วประทานพระโอวาทแก่พระสงฆ์ นี่เป็นข้อที่สองของพุทธกิจ เรียกว่างานของพระพุทธเจ้า
    <o:p></o:p>
    อฑฺฒรตฺเต เทวปญฺหากํ พอหกทุ่มล่วงไปแล้วแก้ปัญหาเทวดาและแสดงธรรมโปรดพวกเทพชั้นต่าง ๆ นับแต่ภูมิต่ำขึ้นไปจนถึงภูมิสูง นี่เป็นข้อสาม
    <o:p></o:p>
    ภพฺพาภพฺเพ วิโลกนํ ตั้งแต่ปัจฉิมยามไปแล้ว ทรงเล็งญาณดูสัตวโลกผู้ใดจะข้องตาข่ายคือ พระญาณของพระองค์ ซึ่งควรจะเสด็จไปโปรดก่อน ว่าผู้นั้นมีนิสัยและจะมีอันตรายแก่ชีวิตอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่อาจจะรออยู่ได้นาน ควรจะไปโปรดคนนั้นก่อนก็เสด็จไปก่อน นี่เป็นข้อที่สี่
    <o:p></o:p>
    ปุพฺพเณฺห ปิณฺฑปาตญฺจ พอรุ่งเช้าก็เสด็จออกบิณฑบาตมาเสวยเป็นประจำ นี่เรียกว่าพุทธกิจห้าของพระองค์ ปกติไม่ทรงลดละ จะลดละบ้างก็เป็นกรณีพิเศษในบางข้อ เช่น ปุพฺพเณฺห ปิณฺฑปาตญฺจ เวลาประทับอยู่ในป่าเลไลยก์เสด็จบิณฑบาตไม่ได้ก็ทรงงด นอกนั้นทรงถือเป็นความจำเป็นในการบิณฑบาต จึงต้องสอนพระให้ถือว่าการบิณฑบาตมาฉันนั้นเป็นงานที่ชอบ เป็นงานที่เหมาะสมอย่างยิ่ง สำหรับพระไม่มีงานใดในการแสวงหาเลี้ยงชีพเหมาะสมยิ่งกว่างานบิณฑบาต ใคร ๆ จะมีศรัทธามาถวายมากน้อยให้ถือเป็นอติเรกลาภ สิ่งเหลือเฟือไปเสีย ไม่ถือเป็นความจำเป็นยิ่งกว่าอาหารที่ได้มาในบาตร เพื่อกันความลืมตัวมั่วสุมกับสิ่งเหล่านั้น
    <o:p></o:p>
    ท่านสอนพระไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ขี้เกียจ เพราะกิเลสตัวขี้เกียจมันสำคัญ ตัวลืมตัวนี้ก็เลวไม่ย่อย เพราะคนเราชอบเย่อหยิ่งเวลามีคนนับถือมาก ๆ ยิ่งมีคนชั้นสูงนับถือมากมีบริษัทบริวารมากยิ่งเบ่ง ผึ่งผาย ลวดลายไม่มีก็เสมือนจะแต้มลวดลายขึ้นเป็นพญาราชสีห์อวดศักดานุภาพโน่นแน่ มันของเล่นเมื่อไร กิเลสของพระน่ะ ท่านจึงสอนให้ปราบกิเลสตัวน่าเกลียดในสังคมชาวพุทธชาวพระเราไม่ให้ลืมตัว ใครจะมานับถือมากน้อยก็เป็นเรื่องของเขา เรื่องของเราอย่าลืมหน้าที่ของเรา อย่าลืมเรื่องของพระเป็นเรื่องของพระ ความลืมตัวไม่ใช่เรื่องของพระ แม้แต่ฆราวาสผู้มีสติเขายังไม่ลืมตัว การวางตัวของเขาสม่ำเสมอ เราเป็นพระและพระปฏิบัติด้วยแล้วก็ยิ่งละเอียดเข้าไปอีก ความมีสติระลึกรู้อยู่กับตัว ปัญญาสอดส่องเหตุการณ์ที่มาเกี่ยวข้องกับตัวอยู่เสมอ ไม่ให้เผลอและหลวมตัวไปกับสิ่งนั้น ๆ นั่นคืองานของพระ นั่นคือลวดลายของพระผู้เห็นภัยในสิ่งที่เป็นภัย
    <o:p></o:p>
    พระผู้ออกจากศากยสกุล คือตระกูลของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเฉลียวฉลาดแหลมคมยิ่งกว่าใคร ๆ ในไตรโลกธาตุ เหตุใดจึงต้องมาโง่ต่อโลกามิสซึ่งมีเต็มแผ่นดิน ไม่ใช่ของหายากเหมือนธรรมเลย การลืมเนื้อลืมตัวผยองพองตัวเพราะอติเรกลาภ หรือความนับถือของประชาชน เป็นเกียรติยศอันชอบธรรมและน่าภูมิใจของพระศากยบุตรดีแล้วหรือ นอกจากจะเห็นธรรมอันประเสริฐว่าเป็นของต่ำกว่าสิ่งเหล่านี้เท่านั้น พระเราจึงจะไม่คิดไม่สำนึกตัวกลัวภัยตามร่องรอยศาสดา
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    สกฺกาโร ปุริสํ หนฺติ ปลาตายเพราะเหยื่อล่อ พระเราไม่ตายเพราะสิ่งเหล่านี้จะตายเพราะอะไร จงพากันพิจารณาให้ดี ว่าธรรมเหล่านี้ท่านสอนปลาตัวโง่ หรือท่านสอนพระเราผู้กำลังขยับตัวเข้าหาเบ็ดอยู่เวลานี้ จงทราบว่าภายนอกนั้นเป็นเหยื่อ แต่ภายในเหยื่อเข้าไปนั้นคือเบ็ดนะ ถ้าไม่อยากฉิบหายล่มจมจงระวังอย่างับเบ็ด
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การฉันในบาตรนี่เป็นกิจสำคัญอยู่มาก แต่เราไม่เห็นความสำคัญของการฉันในบาตร ธรรมดาพระผู้บวชมาในศาสนาแล้ว ไม่มีภาชนะใดที่เหมาะสมยิ่งกว่าบาตรสำหรับใส่อาหาร จะเป็นถ้วยชามนามกรอะไรก็แล้วแต่เถอะ เป็นภาชนะทองคำมาก็ไม่เหมาะสมยิ่งกว่าบาตร บาตรนี้เท่านั้นเป็นภาชนะอันเหมาะสมสำหรับขบฉันของพระ ไม่มีอันใดที่จะควรยิ่งกว่านี้ เหมาะสมยิ่งกว่านี้ ดียิ่งกว่านี้ มีบาตรใบเดียวเท่านั้น มีอะไรก็รวมลงที่นั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงดำเนินเป็นตัวอย่างอันแนบแน่นมาก่อนแล้ว
    <o:p></o:p>
    หรือว่าอาหารที่รวมลงไปแล้วจะทำให้ท้องเสีย ดังที่ส่วนมากว่ากันซึ่งเคยได้ยินมาแล้ว ถ้าเช่นนั้นเวลารวมลงในท้องแล้ว มันไม่ทำให้ท้องเสียหรือ ท้องมีพุงอะไรบ้าง มีกี่พุงมีกี่ไส้ มีกี่ภาชนะสำหรับใส่อาหาร แยกประเภทต่าง ๆ นี้หวานนี้คาว นี้แกงเผ็ด นี้แกงร้อนมีไหม ภาชนะอะไรต่าง ๆ ที่จะไว้อาหารต่างประเภทเป็นแผนก ๆ เพื่อกันท้องเสียน่ะมีไหม เรามาเห็นกันแต่รวมในบาตรว่าท้องจะเสีย ส่วนรวมในท้องไม่เห็นว่าท้องมันจะเสีย ความคิดกลัวท้องเสียเป็นต้นนั้น คือความคิดเพื่อส่งเสริมลิ้น ส่งเสริมพุง ไม่ใช่ความคิดที่ส่งเสริมใจส่งเสริมธรรมด้วยข้อปฏิบัติต่าง ๆ
    <o:p></o:p>
    ถ้าสิ่งที่เป็นพิษมีอยู่ในอาหารนั้นแล้ว จะรวมหรือไม่รวม เมื่อฉันลงไปรับประทานลงไปในท้อง มันก็ทำให้ท้องเสียได้ โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องอาหารรวมหรือไม่รวมเลย เพราะความเป็นพิษนั้นอยู่กับสิ่งที่เป็นพิษต่างหาก ไม่ใช่อยู่กับความรวม เวลาฉันลงไปมันก็เป็นพิษ ถ้าอาหารไม่เป็นพิษแล้ว รวมกันก็ไม่เป็นพิษ จะเอาอะไรมาเป็นพิษเพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นคุณ ไม่มีโทษไม่มีพิษภัยเจือปนอยู่ในนั้นเลย รวมลงในบาตรก็เป็นอาหาร ฉันลงไปในท้องก็เป็นประโยชน์แก่ธาตุขันธ์
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นเราซึ่งเป็นนักบวชและนักปฏิบัติ จงสังเกตข้อแตกต่างระหว่างธรรมกับอธรรมที่คอยลบล้างกันอยู่เสมอ ดังฉันในบาตรท้องเสีย ฉันนอกบาตรท้องดี กิเลสอ้วนพี แต่ธรรมหมอบเผยอไม่ขึ้นเพราะถูกอธรรมเหยียบ ๆ ในทำนองนี้ หลายด้านหลายทางไม่มีประมาณเรื่อยมา
    <o:p></o:p>
    ความจริงในขณะที่อาหารรวมในบาตรก็เป็นเทศนาได้อย่างดี ก่อนฉันก็พิจารณา ในขณะที่ฉันก็กำหนดพิจารณาปัจจเวกขณะ โดยความเป็นต่าง ๆ แห่งอาหาร ย่อมได้อุบายแปลก ๆ ขึ้นมาจากอาหารผสมนั้น เพราะเราไม่ได้ฉันเพื่อความรื่นเริงบันเทิง ไม่ได้ฉันเพื่อความสวยงาม เพื่อความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เพื่อความคึกคะนองอะไร ฉันพอยังอัตภาพให้เป็นไป เพื่อได้ประพฤติพรหมจรรย์ ชำระกิเลสอาสวะซึ่งเป็นตัวพิษรกรุงรังฝังจมลึกอยู่ภายในใจนี้ให้เตียนโล่งออกจากใจ ด้วยการพิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งอาศัยธุดงควัตรเหล่านี้เป็นเครื่องมือต่างหาก
    <o:p></o:p>
    การห้ามอาหารตามมานั้น ก็เพื่อกันความโลภและความลืมตัวอีกเหมือนกัน อาหารมีมาก อาหารเหลือเฟือ ความโลภน่ะมันไม่มีเมืองพอ อันนั้นก็ดีอันนี้ก็ดี อาหารมากเท่าไรปากยิ่งกว้าง ลิ้นยิ่งยาว ท้องยิ่งโต แซงหน้าธรรมไม่มีถอย อันนั้นหวานอันนี้หอมอันนี้มัน และดีไปเรื่อย ๆ ไม่มีเบรกคือสติ ห้ามล้อไว้บ้างเลย ความจริงคำว่าดีนั้นเป็นเรื่องของกิเลสเสกสรรปั้นยอขึ้นลบล้าง อัปปิจฉตาธรรม สันโดษธรรมของนักปฏิบัติโดยเจ้าตัวไม่รู้ จึงมักมัวเพลินไปกับเพลงกล่อมของมันจากคำว่าดีตามกิเลส
    <o:p></o:p>
    ส่วนธรรมจะดีหรือไม่ดีเป็นอีกแง่หนึ่ง หวานก็รู้ หอมก็รู้ มันก็รู้ จิตจะติดรสก็ให้รู้ให้ระวัง และหักห้ามกิเลสตัวอยากได้มาก ฉันมาก ส่วนธรรมให้เอาแต่พอดี หรือเอาแต่น้อยเหมาะกับธรรม และฉันแต่พอดีกับธาตุหรือฉันแต่น้อย ไม่โลภในอาหารปัจจัยบริโภคใช้สอย พอครองตัวไปได้ ไม่อืดอาดเนือยนายหมายแต่ที่หลับที่นอน ยิ่งกว่าหมายความพากเพียรเพื่อละกิเลส<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    พระเราเมื่อฉันมาก ๆ เพราะอติเรกลาภมาก ๆ ทำให้ธาตุขันธ์มีกำลังมากขึ้น แต่จิตใจลืมเนื้อลืมตัวขี้เกียจภาวนา ไม่เป็นท่าเป็นทางอะไรเลย มีแต่อาหารพอกพูน ธาตุขันธ์สกลกาย ไม่ได้พอกพูนจิตใจด้วยอรรถด้วยธรรม ใจหากเคยมีธรรมมาบ้างก็นับวันเหี่ยวแห้งแฟบลงไป ถ้ายังไม่มีธรรมเช่นสมาธิธรรมเป็นต้นก็ยิ่งไปใหญ่ ไม่มีจุดมีหมายเอาเลย ธุดงค์จึงต้องห้ามความโลเลในอาหาร เพื่อให้ใจมีทางเดินโดยอรรถโดยธรรม กิเลสจะได้ไม่ต้องพอกพูนมากมาย กายจะได้เบา ใจจะได้สงบเบาในเวลาประกอบความเพียร และสงบได้ง่ายกว่าเวลาที่พุงกำลังบรรจุอาหารเสียเต็มปี๋ นี่มันน่าอับอายขายหน้าพระกรรมฐานจะตายไปที่เอาท้องมาอวดโลก แทนที่จะนำธรรมมาอวดเขา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การอยู่ป่ากับอยู่บ้านผิดกันอย่างไร นี่ต้องต่างกัน ท่านจึงสอนให้อยู่ป่า และการอยู่ป่าธรรมดากับอยู่ป่าเปลี่ยว ความรู้สึกของผู้อยู่นั้นจะเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าผู้มุ่งอรรถมุ่งธรรมอยู่แล้ว การอยู่ในป่าและป่าเปลี่ยวมีความรู้สึกผิดกันอยู่มาก ตลอดถึงความพากเพียรเพื่อความสงบทางใจ ใจสงบได้ง่ายเพราะความไม่ประมาท ความระมัดระวังตน ความมีสติอยู่ในสถานที่ใดก็เป็นความเพียร กิเลสกลัวคนผู้มีสติ คนระมัดระวังตัวอยู่เสมอ แต่กิเลสไม่กลัวคนที่ประมาท พระพุทธเจ้าเปิดช่องเปิดทางด้วยธุดงควัตร เพื่อต่อสู้เอาชัยชนะกับกิเลสให้ ซึ่งเป็นทางที่จะระงับดับกิเลสเท่านั้น ไม่ใช่เปิดทางให้กิเลสเหยียบย่ำทำลายจิตใจเราด้วยธุดงค์เหล่านี้
    <o:p></o:p>
    ธุดงค์เหล่านี้เป็นเครื่องปราบปรามกิเลสสำหรับผู้ปฏิบัติดำเนินตามทั้งนั้น เช่นเที่ยวอยู่รุกขมูลร่มไม้ ตามป่าตามเขาอันเป็นที่เหมาะสม พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายอุบัติขึ้นด้วยความบริสุทธิ์จากสิ่งนี้ทั้งนั้น เราผู้ปฏิบัติจึงควรคำนึง อย่าลืมเนื้อลืมตัว อะไรจะมีมากน้อยอย่าลืมเนื้อลืมตัวกับสิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่ทางพระผู้ตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าและสาวกท่าน
    <o:p></o:p>
    มีคนนับถือมากน้อยนั่นเป็นเรื่องของเขา ผู้ปฏิบัติธรรมควรระวังเพราะเป็นกังวลวุ่นวาย ไม่สะดวกแก่ความเพียร ไม่ควรยุ่งกับอะไร นอกจากธรรมกับใจสัมผัสสัมพันธ์กันอยู่ตลอดเวลาเท่านั้นเป็นความเหมาะสม ถ้าจิตกลายเป็นโลกสงสาร มันจะเลยโลกไปจนหาเขตหาแดน หากำหนดกฎเกณฑ์ไม่ได้ มีคนนับถือมากเท่าไร ใจพระ ใจคนมีกิเลสคอยรับกันอยู่แล้ว มันก็ยิ่งฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ลืมเนื้อลืมตัว เผยอเย่อหยิ่งยิ่งกว่าน้ำล้นฝั่งนั่นแล เพราะมันเป็นเรื่องของกิเลสไม่ใช่เรื่องของธรรม เรื่องของธรรมต้องสม่ำเสมอ ต้องมีสติไม่ลืมตัวอยู่เสมอ ท่านผู้ปฏิบัติยกตนพ้นทุกข์มาแล้วท่านดำเนินดังที่กล่าวมานี่แล ผู้ต้องการพ้นทุกข์อย่างท่านก็ต้องปฏิบัติแบบท่าน หรือแบบศิษย์มีครู ไม่ใช่จะปฏิบัติแบบถูลู่ถูกัง อวดตนว่าเก่งไม่ยอมฟังเสียงใคร นั่นคือการปฏิบัติเพื่อขึ้นเขียง เพื่อหอมกระเทียม ไม่ใช่เพื่อมรรคผลนิพพาน
    <o:p></o:p>
    เรื่องเหล่านี้เราเคยมีความรู้สึกตั้งแต่เป็นพระหนุ่มน้อย จึงยึดมาเป็นคติได้อย่างดี เราเคยเห็นคนมานับถือครูบาอาจารย์ มันรู้สึกอะไร ๆ ในจิตใจพิกล เป็นความรู้สึกอยากจะให้เขามีความเคารพนับถือตนอย่างนั้น นี่มันมีขึ้นภายในใจ แต่ตอนนั้นมันมีความรู้อย่างนั้น และรู้ว่าจิตเราหยาบมีความปรารถนาลามกขึ้นมา เป็นแต่ไม่ส่งเสริม คอยสกัดเอาไว้และรู้โทษของตัวอยู่เสมอ
    <o:p></o:p>
    เวลามาปฏิบัติเข้าจริง ๆ แล้วก็ยิ่งรู้ชัดว่านั่นเป็นความผิด ความคิดเช่นนั้นไม่ใช่ความถูกต้องเลย นั่นคือความคิดอึ่งอ่างกับวัว นำตัวเข้าไปเทียบกับท่านโดยมิใช่ฐานะ ฐานะของท่านเป็นขนาดครูอาจารย์ ฐานะของเราเท่ากับอึ่งอ่างที่นอนจมอยู่ใต้ดิน จะนำตัวเข้าไปเทียบกับวัวได้อย่างไร ถ้าไม่อยากท้องแตกตายเหมือนอึ่งอ่างกับวัวในนิทานอีสป นิทานนี้จึงเป็นคติได้ดีมากสำหรับพระผู้ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์โดยชอบธรรม
    <o:p></o:p>
    ธุดงค์ข้อเยี่ยมป่าช้า การเยี่ยมป่าช้าไปเยี่ยมทำไม ความจริงคนเราต้องเห็นสิ่งที่เป็นสักขีพยานมันถึงจะรู้เนื้อรู้ตัว ถึงจะได้สติ การเยี่ยมป่าช้าก็ไปเห็นความตายของคน ป่าช้าแต่ก่อนไม่เหมือนทุกวันนี้ มีป่าช้าผีดิบทิ้งเกลื่อนกันอยู่ในที่นั้น ๆ ทั้งตายเก่าตายใหม่ทิ้งเกลื่อนกันอยู่เหมือนท่อนไม้ เมื่อไปดูแล้วก็เห็นประจักษ์ชัดเจนเป็นสักขีพยาน
    <o:p></o:p>
    ท่านสอนไว้ในการไปดูป่าช้าเยี่ยมป่าช้า ให้ไปทางเหนือลม ไม่ให้ไปทางใต้ลม ถ้าซากอสุภที่ตายใหม่ก็อย่าด่วนเข้าไป ให้ไปดูซากอสุภที่ตายเก่าก่อน พิจารณากรรมฐานเรื่อย ๆ และค่อยขยับเข้าไป ๆ จนรู้ว่าใจเรามีสติปัญญาสามารถพอจะพิจารณาซากอสุภที่ตายใหม่ได้ ค่อยขยับเข้าไปพิจารณาอสุภที่ตายใหม่ เพราะที่ตายใหม่มันยังมีรูปร่างลักษณะปกติ ถ้ารูปร่างที่ตายใหม่สวยงาม ความสวยงามอาจทำให้ราคะกำเริบได้ และอาจเป็นกรรมฐานแหวกแนวไปได้ จึงต้องระวัง
    <o:p></o:p>
    ท่านสอนให้เป็นระยะ ๆ การเยี่ยมป่าช้าก็ให้ไปตามระยะหรือขั้นตอน และพิจารณาตามระยะที่เหมาะกับภูมิของตน ไม่ใช่ผลุนผลันก็จะเข้าไปเยี่ยม ทำอย่างนั้นไม่เหมาะ ท่านสอนไว้หมด ซากอสุภอันใดที่ยังไม่ขาดไม่วิ่นไม่มีอะไรกัดกิน เนื้อยังไม่เน่าไม่พองยังใหม่ ๆ เอี่ยม ๆ อยู่อย่าเพิ่งเข้าไป เฉพาะอย่างยิ่งภาพที่เป็นเพศตรงกันข้ามให้ระวังท่านว่า จนกระทั่งจิตใจมีความสามารถพอจะพิจารณาได้แล้วก็พิจารณาได้หมด<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    เมื่อพิจารณาความตายข้างนอกเป็นสักขีพยานแล้ว มันก็ย้อนเข้ามาพิจารณาความตายภายในกายของตน จนได้หลักได้เกณฑ์ขึ้นภายในจิตแล้ว ป่าช้าภายนอกก็ค่อย ๆ หมดความจำเป็นไป เพราะได้หลักขึ้นภายในตัวเราแล้ว ไม่ต้องไปอาศัยภายนอก พิจารณาร่างกายของเราให้เป็นป่าช้าเหมือนป่าช้าภายนอก ทั้งความเป็นอยู่และความตายไป เทียบกันได้ทุกสัดทุกส่วนกับภายนอกแล้ว ใจก็ค่อยหมดปัญหาไปเอง
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เนสัชชิ การไม่นอนเป็นคืน ๆ ไป ก็เพื่อการฝึกการทรมานตนประกอบความพากเพียรให้มากนั่นเอง แต่ไม่ได้หมายถึงไม่นอนตลอดไป เราจะอธิษฐานเช่นไม่นอนคืนนี้ก็เป็นเนสัชชิ ธุดงค์ข้อนี้เป็นกาลเป็นเวลา เป็นคราว ๆ ไป หรือจะไม่นอนสองคืนสามคืนก็แล้วแต่ตั้งสัจอธิษฐานในธุดงค์ข้อนี้
    <o:p></o:p>
    เสนาสนะที่ท่านจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามที่ท่านจัดให้ นี่เป็นธุดงค์ข้อหนึ่ง มีแต่เรื่องปราบกิเลสความลืมตัวของพระทั้งนั้น
    <o:p></o:p>
    ผู้ที่มีธุดงควัตรดี ผู้ที่หนักแน่นในธุดงควัตร ก็คือผู้หนักแน่นในข้อปฏิบัติ คือผู้ตั้งใจเพื่ออรรถเพื่อธรรม เพื่อปราบปรามกิเลสอย่างแท้จริง ไม่ใช่ผู้บวชเข้ามาอยู่เฉย ๆ ลืมเนื้อลืมตัว ในธุดงค์ ๑๓ นี้เป็นเครื่องมือสำหรับปราบปรามกิเลสของผู้ปฏิบัติตามทั้งนั้น ไม่มีอะไรเป็นข้อต้องติได้เลย นอกจากจำพวกเทวทัตเท่านั้นจะตำหนิได้ลงคอ
    <o:p></o:p>
    คนไม่มีธุดงควัตรนั้นแลคือคนวัตรร้าง คนลืมเนื้อลืมตัว สักแต่ว่าเพศของพระเฉย ๆ เอาผ้าเหลืองมาห่อตัวแล้วก็ว่าตัวเป็นพระแล้วเย่อหยิ่ง ยิ่งตั้งยศถาบรรดาศักดิ์ให้เป็นปลัด ให้เป็นสมุห์ ให้เป็นพระครู ให้เป็นเจ้าฟ้าเจ้าคุณ จนกระทั่งให้เป็นสมเด็จขึ้นไปด้วยแล้ว….เอาเถอะ ถ้าใจกำลังเห่อ ๆ ในเรื่องเหล่านั้นอยู่แล้ว มันต้องตื่นเงาตื่นบ้าขึ้นมาเลย โดยไม่ต้องมีปี่มีขลุ่ยมีเครื่องดนตรีแตรวงมาส่งเสริมแหละ ใจมันหากส่งเสริมมันเอง ด้วยอำนาจดินเหนียวติดหัวเข้าใจว่าตนมีหงอนไปทีเดียวแหละ ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้มันยอมอ่อนข้อต่อใครเมื่อไร
    <o:p></o:p>
    เรื่องของพระเลยลืมไปหมด กลายเป็นโลกไปเลย เลยโลกไปอีก ที่ท่านตั้งก็เพื่อให้การส่งเสริมในการประพฤติปฏิบัติดี แต่แทนที่จะเป็นอย่างนั้นจิตใจเลยกลับหยิ่ง กลายเป็นการทำลายตัวเอง ฆ่าตัวเองไปด้วยความสำคัญต่าง ๆ ขึ้นมา ท่านตั้งชื่อตั้งนามให้ว่าเป็นนั้นเป็นนี้ เราก็สำคัญว่าเป็นหงอนไปเสีย ความจริงมันดินเหนียวติดหัวต่างหาก ไม่ใช่หงอนโดยหลักธรรมชาติ อยากให้เป็นหลักธรรมชาติจริง ๆ ก็ปฏิบัติตัวให้ดีซิ อะไรจะเลิศยิ่งกว่าพระในหลักธรรมชาติล่ะ คำว่าพระก็แปลว่าประเสริฐแล้วนั่น จะหลงไปกับดินเหนียวไปกับตุ๊กตาอะไรอีก
    <o:p></o:p>
    พระไม่ใช่ประเสริฐแต่ชื่อ ต้องประเสริฐด้วยการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมวินัย มีธุดงควัตร เป็นต้น มีความหนักแน่นในธุดงควัตร จะค่อยเป็นผู้ประเสริฐขึ้นมาโดยหลักการปฏิบัติของตน สุดท้ายก็โดยหลักธรรมชาติ ประเสริฐโดยหลักธรรมชาติของใจที่บริสุทธิ์หมดจดแล้ว ไม่ได้ประเสริฐด้วยชื่อด้วยนามอะไร ตั้งวันไหนก็ได้ โน่น ตั้งขึ้นฟากฟ้าก็ได้เป็นไรไป การตั้งชื่อก็ยกยอกันไปอย่างนั้นแหละ นี่แหละโลกธรรม เสกสรรปั้นยอกันไป ผู้เสกสรรปั้นยอขึ้นท่านก็มีเจตนาดี เราก็ให้สนองเจตนาของท่าน ด้วยการตั้งใจประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมหลักวินัย หน้าที่ของพระให้สมบูรณ์แบบ มันก็สมกับท่านตั้งชื่อตั้งนามเพื่อส่งเสริมพระให้ดี
    <o:p></o:p>
    อย่าเอาการตั้งชื่อตั้งนาม เอาชื่อเหล่านั้นมาทำลายตัวเอง ด้วยความเย่อหยิ่งจองหองต่าง ๆ ก็แล้วกัน ฉะนั้นความสมบูรณ์ที่สุดตามหลักธรรมชาติโดยไม่ต้องเสกสรร ก็คือการปฏิบัติตัวให้ดี ศีลก็รักษาให้ดี อย่าฝ่าฝืนล่วงเกิน การภาวนาก็ทำจิตให้มีความสงบร่มเย็นด้วยจิตตภาวนา จะกำหนดธรรมบทใดก็ให้มีความจริงจังต่อธรรมบทนั้นด้วยความมีสติ เวลาพิจารณาก็พิจารณาลงไปให้เกิดความเฉลียวฉลาด แยกธาตุแยกขันธ์อายตนะออกให้เห็นตามความจริงของมัน ดังที่เคยอธิบายให้ฟังหลายครั้งหลายหนแล้ว
    <o:p></o:p>
    ธาตุคืออะไร ธาตุก็คือธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเป็นธาตุเดิม เป็นสิ่งดั้งเดิมมีอยู่ดั้งเดิม มาผสมกันเข้า มีจิตเป็นตัวการเข้ามายึดเป็นเจ้าของ ก็เลยเรียกว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลไป ทั้ง ๆ ที่ส่วนนั้น ๆ เป็นธาตุอยู่ตามหลักธรรมชาติของเขา ใครจะเสกสรรปั้นยอว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นอะไร ก็หาได้เป็นไปตามไม่ คงเป็นธาตุนั้น ๆ อยู่ตามเดิมของเขา เราก็ให้ทราบด้วยปัญญาของเราโดยทางพิจารณา
    <o:p></o:p>
    อายตนะความสืบต่อ อายตนะภายในภายนอก ภายในคือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภายนอกคือรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัส ที่เข้ามาสัมผัสสัมพันธ์กับอายตนะภายใน เกิดความรู้สึกขึ้นมา แล้วเกิดความสำคัญไปต่าง ๆ นานา ส่วนมากไปในทางที่ผิด ให้แยกแยะดูให้ดี นี่ท่านเรียกว่าวิปัสสนา วิปัสสนาแปลว่าความเห็นแจ้ง รู้แจ้งเห็นจริง ไม่รู้แบบปลอม ๆ หลอก ๆ หลอน ๆ
    <o:p></o:p>
    จงทำหน้าที่ของตัวให้ถูกต้องและสมบูรณ์ จิตใจหวังพึ่งเราอยู่เสมอ เพราะจิตใจไม่สามารถอยู่โดยอิสระลำพังตัวเองได้ ถูกกดขี่บังคับจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหาประเภทต่าง ๆ อยู่เรื่อยมา ใจจึงเรียกร้องหาความช่วยเหลือจากเราอยู่ตลอดเวลา เราจะเอาอะไรเข้าช่วยเหลือจิตใจที่ถูกกดขี่บังคับอยู่ตลอดเวลานั้นให้พ้นจากภัยได้ ถ้าไม่เอาข้อวัตรปฏิบัติคือ สมาธิ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร เข้าเป็นเครื่องบุกเบิกเพิกถอน ช่วยจิตให้พ้นภัยจากเครื่องบีบบังคับ<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    เวลานี้เรามาเปลื้องภัยที่มีอยู่ภายในใจ เราต้องพยายามทำทุกวิถีทางที่จะปลดเปลื้องให้ได้ หลักใหญ่ของการปฏิบัติก็คือ จงมีความหนักแน่นแก่นนักรบ หวังจบชีวิตในสงครามล้างโลกออกจากใจ ถ้าไม่ชนะก็ต้องตายถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ไปเลย อย่าถอยหลังด้วยความพ่ายแพ้จะเสียหน้าและถูกกิเลสเย้ยหยันไปนาน ทนความต่ำต้อยน้อยหน้า อับอายกิเลสวัฏฏ์ไม่ไหว ไปโลกไหนจะมีแต่กิเลสตามชี้หน้าว่า มาเกิดแบกกองทุกข์หาสมบัติอะไรไอ้คนไม่เป็นท่า รบกันทีไรแพ้เราหลุดลุ่ยทุกที ไม่เคยมีคำว่า “ชนะ” บ้างเล้ย นั่นฟังซิ พวกเราชาวนักรบเพื่ออยู่จบพรหมจรรย์ คำชี้หน้าด่าทอของกิเลสน่ะมันเจ็บแสบไหม เราเองเจ็บแสบลงถึงขั้วหัวใจแม้ตายก็ไม่มีวันลืม พวกเรามีความรู้สึกอย่างไรบ้าง พอมีแก่ใจฮึดสู้กับมันด้วยการถวายหัวบ้างไหม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พระพุทธเจ้าของเราเป็นชาติแห่งนักรบเต็มพระองค์ ทุกพระอาการที่เคลื่อนไหวล้วนเป็นความห้าวหาญชาญชัย ในการต่อสู้กับกิเลสไม่ท้อถอยจนกิเลสบรรลัย กลายเป็นศาสดาขึ้นมาให้โลกได้กราบไหว้บูชามาจนบัดนี้ ร่องรอยที่ทรงดำเนินมายังสด ๆ ร้อน ๆ ด้วยสวากขาตธรรมทุกบททุกบาท ไม่เคลื่อนคลาดเลื่อนลอย จงยึดท่านเป็นหลักใจหลักปฏิบัติตลอดไปทุกลมหายใจขาดดิ้น อย่าปล่อยวาง
    <o:p></o:p>
    แดนชัยชนะเมื่อมวลกิเลสหงายตึงลงไปแล้ว ไม่ต้องถามหากรู้เอง ด้วยสันทิฏฐิกธรรมของผู้ปฏิบัติทุก ๆ รายไป พระองค์มิได้ผูกขาดแต่ผู้เดียว ทรงมอบไว้กับนักปฏิบัติทุกท่านได้ครองทั่วหน้ากัน อย่างสง่างามในท่ามกลางแห่งโลก อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เมื่อขันธ์หมดความสืบต่อแล้ว ก็ครองอนุปาทิเสสนิพพานโดยสมบูรณ์หายห่วง
    <o:p></o:p>
    ธรรมคือธรรมชาติที่เกษมสมบูรณ์ ฝ่ายเหตุเป็นธรรมเหมาะสมกับการแก้การถอดถอนกิเลสทุกประเภท ไม่มีกิเลสตัวใดเหนือธรรมนี้ไปได้เลย พระองค์ตรัสไว้ชอบทุกสิ่งทุกอย่างทุกแง่ทุกมุมแล้วในการแก้กิเลสทุกประเภท ไม่มีอะไรเหนือธรรมนี้ เฉพาะอย่างยิ่งมัชฌิมาธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญาเป็นต้น ที่ย่นย่อเข้ามาแล้ว นี่คือธรรมฝ่ายเหตุ อุบายวิธีการที่จะฝึกฝนอบรมอย่างไร พระองค์ทรงสอนไว้อย่างพร้อมมูล ส่วนธรรมฝ่ายผลก็เป็นไปตามลำดับชั้น จิตมีความมั่นคงไม่แส่ส่ายเอนเอียงไปตามอารมณ์ จิตมีความสงบร่มเย็น มีความสม่ำเสมอคือจิตเป็นสมาธิ จิตมีความแกล้วกล้าสามารถ มีความฉลาดรู้รอบตัวในสิ่งที่มาสัมผัสเกี่ยวข้องทั้งภายนอกภายใน นี่คือจิตเป็นปัญญาและมีความเฉลียวฉลาดมากขึ้น ละเอียดยิ่งกว่านั้นจนฉลาดรอบตัวแล้ว ก็ถึงความหลุดพ้น เป็นธรรมทั้งดวง คือ จิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต เป็นเอกีภาพ ไม่มีคู่แข่งแย่งชิงดังแต่ก่อน
    <o:p></o:p>
    สำหรับในความรู้สึกของผมเอง จะผิดหรือถูกก็กรุณาพิจารณาเอาเอง แต่เป็นความแน่ใจว่าศาสนธรรมที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ท่านพูดไว้ส่วนมากเป็นฝ่ายเหตุ แสดงให้ฟังเรื่องเหตุคือการดำเนินเพื่อแก้หรือถอดถอนกิเลส หรือเพื่อบำเพ็ญความดีทั้งหลาย ผลคือความสุข นี้เป็นแต่แนวทางเป็นเครื่องชี้ทางเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    ส่วนธรรมอันแท้จริงที่จะเกิดขึ้นจากการปฏิบัตินั้น จะให้ชื่อไม่ให้ชื่อก็ตาม นั้นเป็นธรรมในหลักธรรมชาติ ธรรมนั้นเราไม่สามารถอาจเอื้อมเข้าถึงได้อย่างง่าย ๆ ธรรมนี้แลที่ว่ามีอยู่กับโลกตลอดกาล ส่วนธรรมที่เป็นพระโอวาท มีการเสื่อมสูญอันตรธานไปในบางกาลบางสมัย ดังพระพุทธเจ้าทั้งหลายมาตรัสรู้สืบทอดกันมาโดยลำดับ นี่ก็แสดงความไม่แน่นอนของศาสนธรรมให้เห็นชัดอยู่แล้ว จึงไม่เหมือนธรรมในหลักธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่ดั้งเดิม ไม่มี อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เข้าไปยุ่งเกี่ยวให้ธรรมนั้นมีขึ้นและให้ธรรมนั้นสิ้นไป
    <o:p></o:p>
    อุบายที่พระพุทธเจ้ามาประทานแก่โลกแต่ละพระองค์ ๆ นั้น ท่านเรียกว่าศาสนธรรม อันนี้ไม่ใช่ธรรมแท้ เป็นอุบายเป็นแขนงต่าง ๆ เป็นกิริยาอาการของธรรมแท้ที่แสดงออกของวิธีการที่จะละหรือที่จะบำเพ็ญ คือสอนให้ละสอนให้บำเพ็ญด้วยวิธีการต่าง ๆ และผลจะเป็นอย่างนั้น ๆ
    <o:p></o:p>
    ส่วนธรรมที่เป็นฝ่ายผลจริง ๆ ในหลักธรรมชาติ เป็นสิ่งจะรู้ขึ้นภายในใจของผู้ปฏิบัติโดยเฉพาะ ธรรมนั้นพูดไม่ค่อยถูกต้องตามเป็นจริงนัก พอเลียบ ๆ เคียง ๆ ไปเท่านั้น ยิ่งเป็นวิมุตติหลุดพ้นด้วยแล้วพูดไม่ถูกเลย เพราะพ้นจากสมมุติความคาดหมายไปหมดแล้ว พูดไม่ถูก แม้จะรู้อยู่อย่างเต็มใจก็พูดไม่ได้พูดไม่ถูก เหมือนพูดเรื่องความเอร็ดอร่อย ความอิ่มจากการรับประทานนั่นแล แม้จะอยู่ในวงสมมุติพอจะพูดถูกตามความจริงได้ และต่างคนต่างลิ้มรส ต่างคนต่างอิ่มมาด้วยกัน แต่ก็พูดกันไม่ถูกกับความจริงนั้นเลย
    <o:p></o:p>
    ธรรมที่พูดไม่ได้นั้นแหละคือธรรมแท้ ไม่มีคำว่าเสื่อมสูญอันตรธาน เป็นแต่โลกไม่สามารถอาจเอื้อมรู้ธรรมนั้น สัมผัสธรรมนั้นได้เท่านั้นเอง ส่วนจะให้ธรรมสูญไปนั้นสูญไม่ได้ เมื่อประพฤติปฏิบัติตามอุบายวิธีที่พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ประทานไว้ ก็จะสามารถสัมผัสรับรู้ธรรมนั้นได้ ใจกับธรรมก็กลายเป็นความรับทราบ กลายเป็นภาชนะเป็นเครื่องรับรองธรรมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และไม่มีภาชนะใดที่จะเหมาะสมในการรับธรรมทุกขั้นได้ยิ่งกว่าใจ เมื่อเข้าถึงธรรมเต็มขีดเต็มแดนแล้ว ธรรมกับใจก็เป็นอันเดียวกัน จิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต เอกีภาโว มีความเป็นอันเดียวเท่านั้น ไม่แยกเป็นสองกับสิ่งอื่นใด
    <o:p></o:p>
    ธรรมที่เป็นเอกีภาพนี้ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติของแต่ละราย ๆ จะสามารถอาจเอื้อมรู้เห็นได้ ไม่ขึ้นอยู่กับกาลสถานที่ เวล่ำเวลาและสิ่งใดบุคคลใดเลย สำคัญอยู่กับการปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมเท่านั้น จะเป็นเครื่องสนับสนุนให้จิตสัมผัสรับรู้ธรรมเป็นขั้น ๆ ไปจนถึงขั้นสูงสุด เราจึงควรตั้งใจและมีความมุ่งมั่นเป็นหลักดำเนิน
    <o:p></o:p>
    อย่าลืมคำว่า พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ดังที่เคยกล่าวมาแล้ว ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ก็ได้เคยอธิบายแล้ว สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ อย่าลืมวิธีดำเนินของท่าน ท่านเป็นผู้ได้รับความสมบุกสมบันแทบล้มแทบตายมาแล้วแทบทั้งนั้น ก่อนที่จะได้เป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเรา ไม่ใช่เป็นผู้ล้างมือเปิบ แต่พวกเราทำด้วยความยุ่งยากปากหมองลำบากลำบนแทบเป็นแทบตายถ่ายเดียว…..ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านลำบากลำบนเช่นเดียวกับเรา หรือยิ่งกว่าพวกเราเป็นไหน ๆ ก่อนที่จะได้เป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ เพราะพระสาวกทั้งหลายที่เป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ นี้ มีชาติชั้นวรรณะต่างกัน บางองค์ก็มาจากสกุลพระราชามหากษัตริย์ เจ้าขุนมูลนาย ซึ่งมีความเป็นอยู่ละเอียดสุขุม มียศเป็นกษัตริย์ ราชอำมาตย์ และเป็นเศรษฐีกุฎุมพี ลงมาจนถึงพ่อนาตาสีตาสาคนธรรมดาเรา
    <o:p></o:p>
    เมื่อคนมีชาติชั้นวรรณะต่างกัน และเคยได้รับความสะดวกสบายทางบ้านเมืองเหย้าเรือนมาแล้ว เวลาออกมาปฏิบัติ ต้องฝึกหัดดัดกายวาจาใจให้เป็นแบบเดียวกันที่เรียกว่า “แบบศากยบุตร” ทำไมท่านจะไม่ขัดข้อง ทำไมท่านจะไม่ลำบาก การขบการฉันการรับประทานอยู่ในบ้านเป็นอย่างหนึ่ง เวลาออกมาเป็นพระแล้วอาศัยขอทานเขากิน แทนที่จะได้ฉันสิ่งนี้ก็ได้ฉันสิ่งนั้น แทนที่จะได้ฉันร้อนกลับได้ฉันเย็น แทนที่จะได้ฉันมากกลับได้ฉันน้อย ไม่สมใจที่ต้องการ เหล่านี้จะไม่เป็นความลำบากได้อย่างไร.ต้องลำบาก ฉันแล้วสิ่งสำคัญก็คือการฝึกฝนทรมานจิตใจปราบกิเลส กิเลสเป็นข้าศึกเป็นคู่ต่อสู้ธรรมภายในใจอย่างยิ่งเรื่อยมา ไม่มีข้าศึกใดที่จะมีกำลังวังชาและมีความเฉลียวฉลาดแยบยลยิ่งกว่ากิเลส ที่เคยครองอำนาจบนหัวใจสัตว์โลกมานาน<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ธุดงควัตรเครื่องห้ามล้อกิเลส

    เพราะฉะนั้น จึงต้องผลิตสติปัญญา ศรัทธา ความเพียร ขึ้นให้พอกับการปราบปรามกิเลส ไม่เช่นนั้นก็จะบกพร่องในการรบ ความบกพร่องในการรบไม่ใช่ของดี ต้องทำให้บกพร่องในผลที่จะพึงได้รับด้วย การผลิตสติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร ขึ้นให้เหมาะสมกับการปราบกิเลสทุกประเภทโดยลำดับ ๆ จึงเป็นทางแห่งชัยชนะของผู้บำเพ็ญจะพึงได้รับอย่างสมบูรณ์ เป็นอิสรเสรีในวันหนึ่งแน่นอน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    บรรดาสาวกทั้งหลายท่านก็ปฏิบัติมาอย่างนี้แทบทั้งนั้น จนกระทั่งถึงความหลุดพ้น ท่านหลุดพ้นจากทุกข์ไปได้เพราะความตะเกียกตะกาย แล้วก็กลายมาเป็น สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเรา จึงอย่าลืม สรณะ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ไม่ใช่ผู้ล้างมือเปิบ แต่เป็นผู้ตะเกียกตะกายมาแทบล้มแทบตายเช่นเดียวกับเรา ๆ ท่าน ๆ นี้แล ให้คิดและยึดท่านเป็นตัวอย่าง อย่าเอาเรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้งกลางบ้านกลางเมือง ซึ่งไม่มีคุณค่าไม่มีราคาหาหลักเกณฑ์ไม่ได้มาเป็นหลักใจ จะกลายเป็นคนเหลวไหลเหลวแหลกแหวกแนว หาความดี หาความพ้นทุกข์ หาความสุขความเจริญ หาหลักหาเกณฑ์ไม่เจอตลอดวันตาย เมื่อเป็นเช่นนั้นความเอิบอิ่มในงานและผลของงานก็ไม่มีภายในใจ ฉะนั้นจงพากันตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติ
    <o:p></o:p>
    พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใหม่เอี่ยมอยู่เสมอ อย่าลืมว่าใหม่เอี่ยมเสมอมัชฌิมาปฏิปทาคือธรรมใหม่เอี่ยม ไม่อับเฉา ไม่เก่าแก่คร่ำคร่าชราเหมือนวัตถุต่าง ๆ ที่เราใช้มานาน มัชฌิมาคือท่ามกลาง ธรรมเป็นที่เหมาะสมแก่การแก้กิเลสทุกประเภทอยู่ตลอดมา สุดท้ายก็เป็นมัชฌิมาในหลักธรรมชาติ เพราะการแก้กิเลสหลุดพ้นไปแล้วภายในจิต กลายเป็นจิตมัชฌิมาคือเสมอตัวภายในใจตลอดไป
    <o:p></o:p>
    อย่าเอาใครมาเป็นแบบเป็นฉบับ ยิ่งกว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ส่วนมากจิตมักจะเอาสิ่งที่ต่ำมาเป็นแบบฉบับ นั่นละจึงต้องพูดว่า อย่าเอาใครมาเป็นแบบฉบับนอกจากพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ที่ท่านพาดำเนินมาด้วยความดีความชอบ ด้วยความเหมาะสม อันเป็นคติตัวอย่างดีอยู่แล้วสำหรับเราผู้มุ่งหน้าไปศึกษากับท่าน ท่านก็เอามาจากวิธีการของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เหมือนกัน
    <o:p></o:p>
    หากเกิดความท้อถอยอ่อนแอขึ้นมา ให้รำพึงถึงป่าช้าความเกิดตายที่จะเผาเราอยู่ตลอดไป ว่านี้เป็นของดีแล้วหรือ การตะเกียกตะกายเพื่อความเพียรนั้น แม้จะมีความทุกข์ยากก็เป็นการตัดทอนภพชาติให้น้อยลง มากกว่านั้นก็ตัดภพชาติอันเป็นกองทุกข์ที่ใหญ่หลวงออกได้จากจิตใจ ผ่านพ้นไปได้โดยอิสรเสรี ไม่มีกิเลสประเภทต่าง ๆ แม้ละเอียดสุดเข้าย่ำยีบังคับจิตใจนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีอิสระเหนือโลกสงสารอันเป็นสมมุติโดยประการทั้งปวง ด้วยอำนาจแห่งความพากเพียร ด้วยอำนาจแห่งความตะเกียกตะกาย เพราะฉะนั้น จงถือความพากเพียร ความตะเกียกตะกาย ความอุตส่าห์พยายาม นี้เป็นหลักชัยหรือหลักดำเนิน เราจะถึงความพ้นทุกข์ในวันใดวันหนึ่งแน่นอน ใครไม่มีอำนาจมาบังคับหรือให้คะแนนเรา เราเป็นผู้ให้คะแนนเราเอง
    <o:p></o:p>


    เอาละอธิบายเพียงเท่านี้<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤษภาคม 2011
  19. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    อนุโมทนากับบทความดีๆครับ..อ่านถึง rep.16 แล้วครับ..
    เดี๋ยวไปทำธุระจะกับมาอ่านต่อครับ..
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>

    เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑

    <o:p></o:p>

    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส
    <o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าสั่งสอนโลก ทรงทุ่มเทเสียสละไม่มีใครเสมอเหมือนได้เรื่อยมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งความเป็นพระโพธิสัตว์ คือพระเวสสันดร ก็ดูเอาตามตำรา กระเทือนทั่วโลก การเสียสละสมบัติอันมีคุณค่ามหาศาลทั้งมวล ก็เพราะพระเมตตานั่นเองที่ทำให้เป็นไป ไม่ใช่อะไร คือทรงให้ทานด้วยพระเมตตา เวลาเสด็จออกทรงผนวชก็ทรงเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อโพธิญาณ แม้มีความลำบากลำบนแสนสาหัสก็ไม่ทรงท้อถอย จนได้ตรัสรู้ธรรมเป็นศาสดาสมพระทัยหมาย แล้วนำธรรมออกสั่งสอนโลก โดยไม่มีโลกามิสเจือปนในพระทัยเลย พระทัยเต็มไปด้วยพระเมตตาล้วน ๆ ต่อสัตว์โลกทั้งมวล
    <o:p></o:p>
    พอตรัสรู้แล้วก็ทรงเล็งญาณดูสัตวโลกว่าใครจะได้บรรลุธรรมก่อน ก็ทรงทราบว่าดาบสทั้งสองคือ อาฬารดาบสและอุทกดาบสรามบุตร ควรจะบรรลุธรรมก่อนใคร ๆ แต่ก็ทรงทราบว่า ดาบสทั้งสองสิ้นชีวิตเสียแล้วตั้งแต่วานนี้น่าเสียดาย ก็ทรงเห็นปัญจวัคคีย์ทั้งห้าว่าจะได้บรรลุธรรมวิเศษในไม่ช้า

    นั่นฟังซิ พระองค์ทรงเล็งหัวใจคน ไม่ได้เล็งหาเงินหาทอง หาข้าวหาของ หาความเคารพนับถือ หาลาภสักการเหมือนอย่างที่กำลังเป็นไปอยู่ทุกวันนี้ มันผิดกันไหมโลกสมัยโน้นกับโลกปัจจุบัน ศาสนาแต่ก่อนกับศาสนาสมัยทุกวันนี้ ผู้ปฏิบัติศาสนาแต่ก่อนกับพวกเราปฏิบัติศาสนาทุกวันนี้ ศาสนธรรมเป็นธรรมจริง ๆ ผู้ทรงธรรมทรงและเทิดทูนธรรมไว้จริง ๆ ปฏิบัติธรรมจริง ๆ เจตนาเป็นธรรม หัวใจเป็นธรรม เกี่ยวข้องกับผู้ใดเป็นธรรมทั้งนั้น ไม่มีโลกเข้าเจือปน ผู้ปฏิบัติธรรมแท้และธรรมแท้เป็นอย่างนั้น ท่านปฏิบัติกันมาอย่างนั้น ในตำรับตำรามี เวลาอ่านสังเกตด้วยดีถ้าอยากพบอยากเห็น อยากได้ของดีของจริง อย่าสักแต่อ่าน สักแต่ปฏิบัติเหมือนนกขุนทอง “แก้วเจ้าขา” เฉย ๆ
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น พระสาวกไปที่ไหนจึงทำความร่มเย็นให้แก่โลกได้มากมาย ไม่ไปรบกวนสิ่งใดกับใคร ๆ กวนเรื่องโลกามิส ท่านไม่ได้กวน มีแต่ความสงเคราะห์โลกด้วยความเมตตา ไม่ได้กวนโลก การก่อการสร้างอะไรก็ไม่หรูหรา ไม่มีโลกเข้าเจือปน พออยู่พออาศัยพอเป็นพอไป ท่านบอกไว้ในเวลาบวชก็บอก ว่า รุกฺขมูลเสนาสนํ แน่ะฟังซิ ไม่ได้บอกให้สร้างหอปราสาทราชมนเทียรอยู่สะดวกสบาย แบบโลกเขาทำเขาอยู่กัน รุกฺขมูลเสนาสนํ ก็คือการเที่ยวอยู่ตามรุกขมูลร่มไม้ ตามป่าตามเขา ตามถ้ำ เงื้อมผา อันเป็นที่สะดวกในการประกอบความเพียร เพื่อถอดถอนกิเลสตัวยุแหย่ก่อกวนทำลายออกจากใจ เพื่อความเห็นโทษเห็นภัยของวัฏสงสาร การปฏิบัติธรรมทุกด้านจะได้เข้มแข็ง ความเป็นอยู่ใช้สอยในปัจจัยสี่ก็พอยังชีวิตอัตภาพให้เป็นไปวันหนึ่ง ๆ ก็พอกับความจำเป็น เพื่อการปฏิบัติธรรมด้วยความสะดวกราบรื่นตามความมุ่งหมายเป็นสำคัญ
    <o:p></o:p>
    การส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาก็เพื่อธรรมล้วน ๆ เพื่อหัวใจคนโดยแท้ ไม่ได้เพื่อโลกามิสใด ๆ เราลองเทียบดูซิครั้งพุทธกาลกับสมัยปัจจุบัน เพราะมีแบบแผนตำรับตำราอยู่แล้ว ใคร ๆ ก็เห็นไม่น่าสงสัย ท่านอยู่กันยังไง ท่านปฏิบัติกันยังไงหัวใจเป็นธรรมหรือเป็นกิเลสก็พอทราบได้ แม้แต่บิณฑบาตก็ยังมีในตำราบอกเตือนไว้เพื่อเป็นคติตัวอย่างอันดีแก่พวกเรา มีพระในครั้งพุทธกาลท่านเคยปฏิบัติต่อท่านมาแล้ว ขณะไปบิณฑบาตจิตคิดปรุงแย็บออกไปถึงเรื่องอาหาร วันนี้จะได้อาหารดี ๆ อะไรมาฉันบ้างนา พอรู้สึกอย่างนั้นท่านหยุดทันที ไม่ไปบิณฑบาตเลยวันนั้น ก็มันไปเพื่อพุงนี่ ไม่ได้ไปเพื่อธรรม ท่านเลยหยุด ไม่ไปให้กิเลสให้พุงมันได้ใจ นี่มีในตำราในคัมภีร์ นั้นแลท่านดัดสันดานกิเลสตัวโลภในโลกามิส เพราะความเป็นเช่นนั้นเป็นเรื่องของกิเลส การแก้กิเลสท่านย่อมเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นภัย ท่านถึงได้เป็นสรณะของพวกเรา สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ของพวกเรา จะเป็นใครที่ไหน ความโลภมันเป็นสรณะให้โลกร่มเย็นได้เมื่อไรพอจะ สรณํ คจฺฉามิ กับมัน<o:p></o:p>
     

แชร์หน้านี้

Loading...