เข้าสู่แดนนิพพาน : หลวงตาพระมหาบัว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 17 พฤษภาคม 2011.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    เราทั้งหลายแม้แต่เป็นสรณะของตัวเองก็ยังไม่ได้ จะไปเป็น สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ แก่ประชาชนญาติโยมได้ยังไง เป็นสรณะเจ้าของก็ยังไม่ได้ ช่วยตัวเองก็ยังไม่ได้มันผิดกัน ศาสนาค่อยเปลี่ยนแปลงมา ๆ ทั้ง ๆ ที่คัมภีร์ใบลานก็ยังมีอยู่ แบบแผนตำรับตำรามีอยู่อย่างสมบูรณ์ แต่การปฏิบัติของผู้ถือ กิเลสํ สรณํ คจฺฉามิ มันก็เป็นข้าศึกต่อธรรมและต่อตัวเองอยู่โดยดี การแสดงออกทางกายทางวาจาทางใจ ก็เป็นข้าศึกแก่ตัวแก่ธรรมและแก่มรรคผลนิพพาน เป็นการเข้าฝ่ายกิเลสอยู่เสมอ จะเอามรรคผลนิพพานมาจากไหน กิเลสไม่เคยให้คนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน นอกจากธรรมเครื่องฆ่ากิเลส มีศีล สมาธิ ปัญญา เป็นต้น เท่านั้น ที่จะผลิตมรรคผลนิพพานแก่ผู้ปฏิบัติตาม ไม่ได้สำเร็จด้วยการอนุโลมผ่อนผัน อันเป็นการคล้อยตามกิเลสหรือส่งเสริมกิเลสทั้งหลายแต่อย่างใด ผู้ปฏิบัติธรรมจึงไม่ควรสนิทติดจมกับนิสัยเดิม อันเป็นพื้นเพของกิเลสปูลาดเอาไว้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ผู้ปฏิบัติอย่ามองไปอื่น ให้มอง พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ เป็นหลักสำคัญ ความพึ่งเป็นพึ่งตายกับท่านภายในจิตใจก็พึ่งอยู่แล้ว ความพึ่งเป็นพึ่งตายกับท่านด้วยข้อปฏิบัติที่ท่านชี้แจงแสดงไว้ ที่ท่านพาปฏิบัติดำเนินมา จงยึดธรรมเหล่านั้นเป็นหลักใจหลักการปฏิบัติ อย่าปล่อยมือรามือ
    <o:p></o:p>
    โลกก็อย่างที่รู้ที่เห็นนี้แหละ เพราะเราแต่ละรายเป็นโลกด้วยกัน คือโลกด้วยกัน ใครจะเสกสรรปั้นยอว่าดีอย่างไรขนาดไหน ก็อย่างที่รู้ ๆ เห็น ๆ นี่แหละ ไปตื่นอะไรกัน คนนั้นเป็นนั้น คนนี้เป็นนี้ ก็ว่าไปอย่างนั้นแล ใจคนปากคนเรามันชอบยอ ได้กินแต่ลมก็เอา เขายกย่องสรรเสริญว่าเป็นนั้นเป็นนี้ ดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ โฮ้ย ผึ่งผาย สง่าผ่าเผยราวกับจะเหาะจะบิน ร่างกายธรรมดาก็ปรากฏขยายตัวใหญ่โต หน้าก็สี่หน้าห้าหน้า ราวกับท้าวมหาพรหมในเทวโลก พอตกอับเปลี่ยนแปลงไปตามกฎ อนิจฺจํ ไม่มีผู้นับถือ ไม่มีใครเหลียวแล เอาแล้วที่นี่ เกิดความโศกเศร้าเหงาหงอย เพราะคิดว่าไม่มีใครนับถือชูหน้าชูตาเหมือนแต่ก่อนที่เรืองอำนาจวาสนา คิดกอบโกยหาแต่ทุกข์มาใส่ตัว บางกรณีกินไม่ได้นอนไม่หลับ สลับกันไปกับโรคประสาท นั่นพิจารณาซิโลกมันเป็นอย่างนั้น ฟูขึ้นแล้วก็ฟุบลง ๆ อยู่อย่างนั้น ท่านจึงเรียกโลกธรรม หาความจริงจังแน่นอนกับมันไม่ได้
    <o:p></o:p>
    โลกธรรมจะเป็นอะไร ก็เป็นเรื่องของกิเลสนั่นแล ผู้จะรู้โลกธรรมแก้โลกธรรมได้ก็ต้องเป็นผู้เรียนธรรม ปฏิบัติธรรม ดังพระพุทธเจ้าแลสาวกเป็นตัวอย่าง ท่านอยู่เหนือโลกธรรมแล้วแสนสบายหายวุ่น พวกเรามันพวกเทิดทูนโลกธรรมไว้บนศีรษะ จึงพากันแบกแต่โลกธรรมหนักอึ้งตลอดไป ไม่มีเวลาสร่างซาลงบ้างเลย
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น จงยึด พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ เสมอ อย่าไปมองอะไร อย่าไปตื่นเต้นกับโลกสงสารให้เสียการ เสียเวลาและเสียคนคือเรา ใครจะอยู่โลกใดทวีปใดก็ตาม ความมั่งมีศรีสุขขนาดไหน เรียนมามากน้อย โง่หรือฉลาดแหลมคมเพียงไร ถ้ายังอยู่ใต้อำนาจของกิเลสอยู่แล้ว สิ่งที่กล่าวมาทั้งมวลถูกกิเลสเอาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นบ๋อยกลางเรือนอย่างคล่องตัวนั้นแล แล้วจะหาความสุขที่ไหน ดูในหนังสือพิมพ์นั่นซิ มันน่าดูไหมล่ะ เราดูด้วยความคิดความพิจารณาไม่ลำเอียง ดูหาความจริง พิจารณาตามความจริง และพูดตามเหตุการณ์ที่เป็นไป
    <o:p></o:p>
    ดูเขาถ่ายภาพในหนังสือพิมพ์ ไม่ได้ดูแบบโลก ๆ ดูเป็นแบบธรรม ถึงจะดูหนังสือพิมพ์ก็ไม่เป็นแบบโลก จิตหากเป็นของมันเอง มีแง่ของมันจนได้ อ่านไปพิจารณาไป อ่านไปตรงไหนพิจารณาไปตาม เรื่องความเป็นอยู่ของโลก ความวุ่นวายของโลก ความเปลี่ยนแปลงของโลก มันเปลี่ยนแปลงไปทางไหน มันวุ่นวายไปยังไง มันจะมีสาเหตุนำมาซึ่งความสุขหรือความทุกข์ ความมีหลักเกณฑ์หรือความเหลวไหลไร้สาระ ความแน่นหนามั่นคงหรือความล้มละลาย<o:p></o:p>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    เวลาชุมนุมก็ถ่ายภาพมือถือแก้ว แก้วอะไรก็ไม่รู้แหละ แก้วเบียร์ แก้วน้ำชาหรือแก้วเหล้าอะไรก็ไม่รู้แหละ ต่างคนต่างถือ แล้วยิ้มแต้ทำท่าน่ารื่นเริงเหมือนมีความสุขมาก ความจริงมันเป็นเพียงกิริยาประดับหน้าร้านเท่านั้น เรื่องของโลกย่อมมีมายาแฝงเสมอ ไม่งั้นก็ไม่เรียกว่าโลก ภายในหัวใจนั้นไม่มีความสุข เพียงยิ้มออกมาแห้ง ๆ อย่างนั้นแล แต่มันเป็นไฟไหม้กองแกลบซึ่งต่างก็ร้อนสุมอยู่ในส่วนลึกของหัวใจ เพราะเหตุร้อยแปดพรรณนาไม่จบสิ้น การแสดงออกต่อสังคมจึงมีทีท่าร่าเริงประดับสังคมให้สวยงาม เพราะการร้องไห้สังคมถือกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    มันไม่มีใครได้ความสุขชุ่มเย็นภายในใจหรอกในโลกแห่ง ราคคฺคินา โทสคฺคินา โมหคฺคินา หนาแน่นนี้ อย่าไปสงสัยว่าโลกจะมีความสุขอันภูมิฐานดังที่ประมาณกัน ให้คะแนนกัน นิยมกัน ความจริงมันเป็นความฝันในมโนภาพมากกว่าจะเป็นความจริง อย่าเข้าใจว่าโลกคือหมู่สัตว์ มีความสุขเพราะโลภมาก เพราะราคะตัณหามาก เพราะเจ้าอารมณ์มาก เพราะเล่ห์เหลี่ยมมาก เพราะคดโกงมาก เพราะความเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์มาก เพราะกอบโกยมาก เพราะอำนาจมาก เพราะคนนับถือมาก เพราะมีสมบัติเงินทองมาก แต่ความสุขเกิดมีเพราะการปฏิบัติต่อตัวเองด้วยธรรม รู้จักประมาณในสิ่งที่เกี่ยวกับตน ความมีธรรม ความรู้ธรรม เห็นธรรม แก้สิ่งที่เป็นข้าศึกอยู่ภายในจิตใจออก นี้แลบ่อแห่งความสุขอยู่ที่นี่ บ่อแห่งความอบอุ่นอยู่ที่นี่ ความมีหลักเกณฑ์อยู่ที่นี่ บ่อแห่งความไว้วางใจอยู่ที่นี่ บ่อปลดปล่อยภาระทั้งหลายก็อยู่ที่นี่
    <o:p></o:p>
    จงทำงานของเราด้วยธรรมให้สำเร็จ จะอยู่เป็นสุข ไปเป็นสุข แม้ตายก็เป็นสุขเพราะธรรมอยู่ที่ใจ สุขจึงอยู่ที่ใจ มิได้อยู่ที่อื่นและสิ่งอื่น สิ่งเหล่านั้นเพียงอาศัยไปเป็นวัน ๆ เท่านั้น อย่าหลงอย่าภูมิใจ จะเสียหลักและเสียท่า เวลาตายจะไม่มีอะไรติดตัว โลกคือความลึกลับในหัวใจ รู้ได้ยาก ปฏิบัติต่อมันยาก ส่วนมากมักเสียท่าเสียทีให้มันจึงเตือนไว้ ผู้ใช้ความคิดอาจได้สารคุณติดตัว ผู้มัวเมาจะเสียท่าตั้งแต่ยังไม่ตาย ฉะนั้น จงตรวจดูความบกพร่องของตัวเสียแต่บัดนี้ ตายแล้วมิใช่ฐานะ อย่ามัวตื่นยศแห่งความเป็นมนุษย์อยู่จะเสียการณ์ มารจะผจญ
    <o:p></o:p>
    นักบวชและนักปฏิบัติจงรีบทำงานของตนให้สำเร็จในกาลอันควร งานคือ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา นั่น นี่ท่านสอนเพียงเอกเทศให้เอานี้เป็นเค้ามูล แล้วกระจายออกไปเป็นเหมือนแก้กระทู้ กระทู้ก็แปลว่ามัด คือมัดเข้าไว้เป็นกลุ่ม ๆ เป็นมัด ๆ แล้วก็คลี่คลายออกไป กรรมฐานห้ามีอยู่ที่ไหน มีอยู่ในกาย กระจายออกไปจนกระทั่งอาการ ๓๒ กระจายออกให้รู้แจ้งเห็นจริงในอาการ ๓๒ กระจายออกไปและเทียบเคียงกันทั่วโลกทั่วสงสาร ไม่ว่าผู้หญิง ผู้ชาย สัตว์บุคคลทั่วโลก มันเหมือน ๆ กันนี้ ไม่มีอะไรผิดแปลกพอจะให้ตื่นให้หลงให้ยึด นี่แลงานการรื้อภพรื้อชาติรื้อวัฏสงสารออกจากใจ รื้อกิเลสตัณหาออกจากใจ คืองานนี้เอง
    <o:p></o:p>
    สถานที่เป็นที่เหมาะสม พระองค์ก็ทรงแสดงไว้หมดแล้ว รุกฺขมูลเสนาสนํ ตามป่า ตามเขา ตามถ้ำ เงื้อมผา ที่ใดเหมาะสมกับการประกอบงานนี้ท่านก็บอกไว้หมด สถานที่วิเวกสงัด เช่นในป่า คือสถานที่เหมาะสมสำหรับงานประเภทนี้ งานประเภทนี้เหมาะในสถานที่เช่นนั้น มิได้เหมาะในตลาด สนามหลวง ที่ชุมนุมชนคนหนาแน่น อาหารหวานคาวหนาแน่น กระดูกหมูกระดูกวัวหนาแน่น ใครต้องการแมลงวันไป ใครต้องการธรรมความพ้นทุกข์ อย่าไปถ้าไม่อยากจมน่ะ
    <o:p></o:p>
    การขบการฉันก็ไม่พะรุงพะรัง ไม่พร่ำ ๆ เพรื่อ ๆ เพราะจะเป็นการกังวลกับเรื่องการอยู่การกิน การภาวนาจะมีน้อยหรือล้มเหลวไป ฉันเสียมื้อเดียวเท่านั้น นี่พื้นเพดั้งเดิมจริง ๆ ท่านฉันมื้อเดียว นอกจากนั้นก็มีดื่มข้าวยาคูบ้างถ้ามี แต่ไม่ถือเป็นความจำเป็น ยาคูก็แปลว่าข้าวต้มนั่นเอง ดื่มน้ำข้าวต้มก่อนบิณฑบาตได้ ท่านเพียงบอกว่าได้เท่านั้นเองในตำรามี แต่พวกเราน่ะซิ ฟาดกันไม่มีอัดมีอั้น ฟาดตอนเช้า ตอนเพล ดีไม่ดีฟาดตอนค่ำด้วยใครจะไปรู้ เมื่อกิเลสตัณหาเต็มหัวใจล้นหัวใจแล้วอาจขยันกินได้ทุกเวลา เพราะกิเลสมันเก่งทางนี้ แต่ถ้าทางธรรมกิเลสไม่เล่นด้วย กิเลสมันจะไว้หน้าใครล่ะ ไม่เคยเห็นกิเลสไว้หน้าใคร ท่านจึงสอนให้ละให้ปล่อยมัน ก็เพราะไม่ใช่ของดีมีค่านั่นเอง แต่พวกเรามันรักมันสงวนมากไม่อยากแตะต้องมัน ขืนแตะต้องก็เท่ากับศีรษะขาดไปด้วย
    <o:p></o:p>
    ท่านสอนไว้หมด ไม่ให้สั่งสม ให้เหมือนกับนก มีแต่ปีกกับหาง คล่องแคล่ว ๆ ไม่พะรุงพะรังห่วงหน้าห่วงหลัง การอยู่การกิน โลกเขาอยู่ได้กินได้ยังไง เราก็เป็นคน ๆ หนึ่ง เขาเป็นคน ๆ หนึ่ง เขากินได้ เราก็กินได้ การสมมุตินิยมว่าอาหารนั้นดี อาหารนี้ไม่ดี ว่าไปอย่างนั้นแหละ เรื่องธรรมแล้วกินได้หมดถ้าไม่ผิดจากพระวินัยและธาตุขันธ์โรคภัย ท่านสอนให้เลี้ยงตัวง่าย ๆ เพื่อไม่ให้กังวล ว่าเราเป็นคนชั้นไหน คนชั้นสูงชั้นต่ำ คนสกุลนั้นสกุลนี้ คนเมืองนั้นเมืองนี้ซึ่งตามหลักธรรมไม่ให้มี มีแต่นักบวชอาศัยขอทานเขากิน เขาให้อะไรมาก็กินตามเกิดตามมีไม่ทะเยอทะยาน ถ้าไม่ผิดกับโรคกับภัย ไม่ขัดกับธาตุกับขันธ์กับพระวินัยก็กินไป พอยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่ง ๆ เพื่อความเพียรเท่านั้น ทำความเพียรไม่ลดละ ไม่ถอยหลัง ไม่ให้งานอื่นใดมายุ่ง มีแต่งานความเพียรอย่างเดียว<o:p></o:p>
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    พยายามสังเกตดูจิต จิตคิดอะไร เรื่องราวทั้งหลายที่เป็นอารมณ์อยู่ในจิต จิตเป็นผู้ผลิตขึ้นมาปรุงขึ้นมาให้พากันเข้าใจ นี่ไม่อวด เข้าใจจริง ๆ เพราะได้เคยฟัดกันมาแล้วแทบไปแทบอยู่ แทบจะไม่ได้มาเห็นหน้าเพื่อนฝูง เวลาเข้าสู่แนวรบบนเวที อารมณ์นั้นไม่ใช่อะไรนะ เรื่องอารมณ์ของตัวเองนั่นแหละ จิตหลงอยู่กับอารมณ์ของตัวเอง คือจิตมันออกไปวาดภาพเรื่องนั้นภาพเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา ให้คิดเรื่องนั้นคิดเรื่องนี้เพราะจิตอยู่กับเรื่อง ถ้าไม่มีสติปัญญาคอยสกัดลัดกั้นแล้ว มันจะคิดติดต่อเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่โดยลำดับ ๆ ท่านเรียกว่าธรรมารมณ์ ทำเราให้หลงเพลินและเศร้าโศรกไปกับเรื่องกับราวของตัวที่วาดขึ้นมานั่นแล
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พอเวลาจิตสงบ เรื่องเหล่านี้ก็ไม่มี หายเงียบ กับเวลาที่เราทำหน้าที่ภาวนาของเรา จะพิจารณาอาการใดธรรมบทใดแง่ใดก็ตาม เราพิจารณาด้วยความสนใจ อารมณ์ภายนอกจะไม่เกี่ยวข้อง เพราะจิตไม่ออกไปเกี่ยวข้อง จิตไม่ปรุงเป็นเรื่องภายนอกเข้ามาทำลายจิตใจ จิตทำหน้าที่เพื่อถอดเพื่อถอน ไม่ได้ทำหน้าที่เพื่อสั่งสมกิเลสโดยการคิดไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่เรียกว่าธรรมารมณ์ จิตก็สงบ เรียนอย่างนั้นแหละเรียนวิชาเรื่องจิต
    <o:p></o:p>
    ทีแรกกิเลสมันรวดเร็วเราไม่ทันมันแหละ เอะอะมันคิดไปแล้ว ๆ เมื่อเรียนเข้าไปปฏิบัติเข้าไป จิตละเอียดเข้าไป สติปัญญาก็มีความแหลมคมขึ้น คล่องแคล่วแกล้วกล้าขึ้นโดยลำดับ ทีนี้ก็ทันกัน แย็บออกไปเรื่องอะไรก็รู้ นี้จิตคิดปรุงออกไปแล้ว พอปรุงพับสติรู้ทัน มันก็ดับ ก็ไม่มีเรื่องต่อ จะปรุงเรื่องหญิงเรื่องชาย เรื่องดีเรื่องชั่ว เรื่องอดีตอนาคตอะไร ก็ผู้นี้เป็นผู้ปรุงวาดภาพเรื่องราวขึ้นหลอกเจ้าของ เหมือนกับเขาดูหนังในจอผ้านี่แหละ ในจอในแจนั่น เงาเฉย ๆ ก็เป็นบ้ากันไปได้ ก็เงา ๆ หลงหาอะไรตัวจริงมันอยู่ทวีปไหน ไปอยู่โลกไหนก็ไม่ทราบ มีแต่เงาปรากฏในจอผ้าก็ตื่นกัน พวกเรามันพวกบ้าตื่นเงาไม่มีเบื่อ นี้ก็เหมือนกัน อารมณ์นี่ เงาของจิต พิจารณาให้ทันมันอย่างนั้นซิ ทันขนาดที่ว่ามันปรุงขึ้นแย็บเรื่องอะไร มันก็ดับเพราะสติทันมันก็รู้ ปรุงพับก็ดับพร้อม ๆ เมื่อไม่ปรุงก็รู้อยู่ด้วยสติ
    <o:p></o:p>
    พอพูดถึงเรื่องนี้ก็ทำให้คิดถึงเวลาอยู่ในป่าเขา ตอนจิตเสื่อมกับตอนจิตเป็นสมาธิก็ต้องอาศัยหลักจิตบังคับจิตไม่ให้ออกจากตัวเอง ให้รู้อยู่กับจิตกับตัวโดยเฉพาะอย่างเข้มงวดกวดขัน ไม่งั้นมันจะวาดภาพเสือ วาดภาพอันตรายขึ้นมาให้เรากลัว เพราะไปอยู่ในสถานที่กลัวด้วย ในสถานที่มีเสือจริง ๆ ด้วย ต้องบังคับจิตไม่ให้ส่งออกไปภายนอกเลย ให้รู้อยู่กับใจนี้ เป็นกับตายก็มอบอยู่กับนี้ จนกระทั่งมันมีความอาจหาญชาญชัย ในที่สุดเสือจะเดินมาต่อหน้าต่อตา มันจะเดินเข้าไปลูบคลำหลังเสือได้อย่างสบายเลยนะ ตามความรู้สึกมันแน่ในใจยังงั้น ไม่คิดว่าเสือจะทำอะไรได้เลย นี่อาจเป็นความสำคัญผิดของตัวก็ได้ แต่จะสำคัญผิดหรือสำคัญถูกก็ตาม เมื่อจิตได้กล้าถึงขนาดนั้นแล้ว มันเดินเข้าไปลูบคลำหลังเสือได้จริง ๆ ด้วยจิตใจอ่อนโยนเมตตาสงสาร ไม่สะทกสะท้านในเรื่องว่าจะกลัว ความกลัวก็ไม่มี
    <o:p></o:p>
    จิตมันมีกำลังมากเวลานั้น เพราะไม่ให้มันออกนอก กำหนดเข้าเรื่อย ๆ มันก็มีกำลังจนแน่นปึ๋งเลย ขึ้นชื่อว่าอันตรายอะไรก็มาเถอะ ว่าอย่างนั้นเลยนะ มันอาจหาญขนาดนั้น เสือก็มา ช้างก็มา ไม่หนีว่าอย่างนั้นเลยนะ คือมันเป็นความอาจหาญของมันจริง ซึ่งเราก็ไม่เคยเป็นมาก่อน มาเป็นเอาตอนฝึกดัดสันดานในขณะกลัวนั่นแล ไม่คิดว่าเสือหรือช้างเป็นต้น จะมาทำลายเราได้เลย จะเดินเข้าไปหามันได้อย่างสบาย แม้มันจะทำเรา ฆ่าเราให้ตายในขณะนั้น ก็รู้สึกว่าจะตายไปด้วยความอาจหาญนั่นเอง ให้ตายด้วยความกลัวนี่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเวลานั้นจิตมันมีกำลังมาก นี่เป็นวิธีหนึ่งแห่งการระงับดับความกลัว แห่งการระงับความฟุ้งซ่าน ความก่อกวนตัวเองด้วยอารมณ์ต่าง ๆ ระงับกันอย่างนี้
    <o:p></o:p>
    ทั้งนี้ตามแต่อุบายแยบคายของแต่ละรายจะผลิตขึ้นมาใช้ เปลื้องตัวจากความจนตรอกในเวลานั้น ๆ เพราะธรรมหรือสติปัญญาไม่สิ้นสุดอยู่กับผู้ใด สามารถทำให้เกิดให้มีในแง่ต่าง ๆ ได้ด้วยกัน ถ้าไม่ขี้เกียจคอยขึ้นเขียงให้กิเลสสับยำเสียอย่างเดียว ส่วนมากพระเรามักมีแต่พระขึ้นเขียง สวรรค์นิพพานทางมีไม่ยอมเดินไม่ยอมขึ้น คงคิดว่าไปแล้วขึ้นแล้วไม่ถูกสับถูกยำไม่สนุกก็เป็นได้
    <o:p></o:p>
    พอก้าวเข้าสู่ปัญญาเกี่ยวกับการระงับความกลัวเป็นอีกแบบหนึ่ง เพราะปัญญากับสมาธินั้นผิดกันในคน ๆ เดียวกันนั่นแหละ เราเองเคยปฏิบัติมาอย่างนั้น ไม่มีใครบอกมันหากรู้วิธีปฏิบัติต่อตัวเอง เช่น เมื่อจิตอยู่ในขั้นสมาธิ ก็เอาสมาธิเข้าบังคับจิตให้สงบจากความกลัว ไม่ให้ส่งไปหาอารมณ์ที่กลัว ว่าเสือว่าช้างว่างูว่าอะไรว่าอันตรายต่าง ๆ ก็ไม่มีเรื่องกวนตัวเอง เพราะจิตไม่ออกไปวาดภาพหลอก พอจิตก้าวเข้าวิปัสสนา พอจิตปรุงแย็บเรื่องเสือมันก็รู้ทันแล้วนี่นะ เพียงแย็บปรุงถึงภาพเสือ สติปัญญาก็ทันแล้วว่านี่มันปรุงภาพเสือ เอ๊า แม้จะทันก็ให้มันปรุง ให้เป็นเสือเข้ามาแล้วแยกธาตุเสือ ที่ว่าแยกธาตุเสือเพราะอะไร เพราะเราดำเนินปัญญาในการคลี่คลายแยกแยะอยู่แล้วนี่ จะเอามาใช้ระงับแบบสมาธิมันไม่เห็นด้วย จิตมันไม่ถนัด ถนัดในการแยก เอ้า เสือหรือ กลัวมันอะไร กลัวตรงไหน
    <o:p></o:p>
    คือตั้งเป็นภาพเสือให้มันเห็นอยู่อย่างนั้นแล ไม่ให้มันดับ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าภาพของเราออกไปหลอกเจ้าของนี่ เอาตั้งไว้ภาพนี้ เอ้ากลัวอะไร สติปัญญามันทันความเคลื่อนไหวของจิต มันทันเองนะ เมื่อมันแก่กล้าเข้าไปมันทันเองอย่างนี้ นี่คือความจริงที่พูดให้หมู่เพื่อนฟัง นี้วิธีการฝึกจิตตัวเอง เมื่อมันรวดเร็วแล้วมันทัน ภาพปรุงขึ้นเรื่องอะไรปั๊บ มันรู้ว่านี้แย็บออกไปแสดงทันที พอรู้พับดับพร้อม อันนี้เรายังไม่ให้ดับ เราจะแยกมัน เพราะเป็นอุบายของปัญญาและเป็นเครื่องหนุนจิตใจให้ละเอียดเข้าไปอีก<o:p></o:p>
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    พอแยกธาตุกำหนดดูเสือ กลัวอะไรมัน เอ๊า ไล่เบี้ยกันไป กลัวตามันรึ ตาเราก็มีไม่เห็นกลัว นั่นมันแก้กัน กลัวเล็บมันรึ เล็บเราก็มีไม่เห็นกลัว กลัวขนมันรึ ขนเราก็มีไม่เห็นกลัว ถ้ากลัวขนมันก็กลัวขนเราซิ ขนเราขนมันธาตุอันเดียวกัน กลัวเขี้ยวมันรึ เขี้ยวเราก็มี กลัวอะไร ไล่หากันจนไม่มีทางไป กระทั่งถึงหาง บทเวลาไล่ถึงหางนึกว่ามันจะจนมันก็ไม่จนนะ ความจริงก็เราไม่มีหางนี่ กลัวหางมันเหรอ แม้แต่ตัวมันเองยังไม่กลัว แล้วเราจะไปกลัวหางมันหาประโยชน์อะไร แน่ะ มันแก้กันทันนะ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ต่อจากนั้นก็กำหนดทำลายให้แตกกระจายละที่นี่ การกำหนด ปัญญามันรวดเร็วนี่ กำหนดให้แตกกระจายไปหมด อันนั้นก็แตกกระจายลงไปถึงความเป็นธาตุต่าง ๆ ความปรุงของจิตออกไปก็รู้ คือกำหนดไว้เมื่อเวลามันปรุงออกไปเป็นภาพเสือ ให้มันเป็นภาพเสือเสียก่อน จนพิจารณาไล่ไปทีละอาการ ๆ อย่างนั้นแล้ว ทีนี้กำหนดให้มันกระจายไปเลย การกำหนดกระจายนี่ จิตก็แย็บปรุงเพราะเป็นภาพของจิตเองนี่ สติปัญญามันทันเอง มันทำลายกันเอง โดยสมมุติว่าเสือ เพราะสถานที่เหล่านั้นมันมีเสือมันกลัวเสือ กำหนดภาพเสือให้มันดูเสียก่อน กำหนดกระจายลงไปมันก็หมด พอปรุงขึ้นพับภาพอะไรมันก็ดับไปพร้อม ๆ ทีนี้ก็จะกลัวอะไร เพราะไม่มีอะไรหลอกนี่ เป็นภาพของตัวเองไปหลอกตัวเองต่างหาก
    <o:p></o:p>
    ไม่ว่าเสือว่าช้างว่างูว่าอะไร เวลาเจอจริง ๆ มันก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง เราก็เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง แน่ะ มันคิดไปอย่างนั้นเสีย นั่นก็ธาตุ นี่ก็ธาตุ มันพิจารณาไปอย่างนั้นเสีย จิตมันพลิกตามอุบายปัญญาไปเสีย ไม่พลิกไปทางให้กลัวมันก็ไม่กลัว จนกระทั่งจิตว่างไปหมด เมื่อมันว่างไปหมด อะไรแย็บขึ้นมามันก็เหมือนแสงหิ่งห้อย มันเป็นของมันเอง แย็บขึ้นมาดับพร้อม ๆ มีแต่ความว่างไปหมดแล้วจะกลัวอะไร มีแต่จิตมันครอบร่างกายนี้ ทำให้ว่างไปหมดและครอบโลกธาตุเสียด้วย แล้วจะกลัวอะไร อุบายวิธีระงับจิตเป็นอย่างนั้น ระงับความกลัว มันไม่กลัว ต้องใช้อุบายวิธีตามขั้นของจิตของสมาธิและปัญญา
    <o:p></o:p>
    สติปัญญาให้นำออกใช้ อย่านั่งเฝ้าอยู่เฉย ๆ คอยให้เกิดปัญญา ไม่เกิดนะ อย่าว่าไม่บอก บอกมาหลายครั้งหลายหนแล้ว สมาธิแค่ไหนปัญญาก็จะต้องใช้ไปตามขั้นภูมิ กำหนดพิจารณาหาอุบาย ค้นหาอุบายคิดพินิจพิจารณาจนเกิดปัญญาขึ้นมาเอง พอเกิดขึ้นมาแล้วก็ทำให้เข้าใจ ๆ ทีนี้ก็เห็นคุณค่าของปัญญา จากนั้นก็เดินปัญญาเรื่อย ๆ ไปตามแต่กรณี
    <o:p></o:p>
    ปัญญาเป็นเครื่องแก้กิเลส สมาธิเเต่เพียงไล่กิเลสเข้ามารวมตัวให้ใจสงบ ไม่ยุ่งเหยิงวุ่นวายหรือไม่ฟุ้งซ่าน จิตรวมตัว ปัญญาเป็นผู้คลี่คลายเพื่อเหตุเพื่อผลในการแก้กิเลส เหตุผลพร้อมที่ตรงไหนกิเลสหลุดลอยไปเรื่อย ๆ ใจก็เกิดความสะดวกสบาย เห็นคุณค่าของปัญญา สติปัญญาเริ่มหมุนตัวเรื่อย ๆ ความเพียรก็กล้าแข็ง ถ้าลงความเพียรออกก้าวเดินแล้ว ความขี้เกียจขี้คร้านหายหน้าไปหมด ไปอยู่ไหนอยู่ได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะอยู่ในป่าในเขา ไม่ว่าอยู่สถานที่เช่นไร น่ากลัวไม่น่ากลัว จิตไม่ไปสำคัญ ไม่สนใจเลย สนใจแต่กิเลสตัวยุ่งกวนนี่เท่านั้น
    <o:p></o:p>
    กลัวก็คือกิเลสเป็นผู้พาให้กลัว เป็นผู้หลอกให้กลัวนั่นเอง มันไม่ได้ว่าเสือเป็นสัตว์น่ากลัว เสือเป็นอันตรายนะ กิเลสต่างหากเป็นสิ่งน่ากลัว พาให้กลัวและเป็นอันตราย จิตย้อนเข้ามานี่ ว่ากลัวเสือ ความกลัวเป็นกิเลสตัวเขย่าต่างหาก เสือนั้นอยู่กับมันต่างหาก ถ้าเราไม่ปรุงขึ้นว่าเสือ ไม่ปรุงขึ้นว่าอันตรายก็ไม่เห็นอะไรมาเขย่าจิตใจได้ ก็คือความปรุงความแต่งความเสกสรรของจิตนี้เอง มันเขย่าตัวเองให้ได้รับความทุกข์ความลำบาก เพราะฉะนั้น จิตจึงแน่ใจและปักใจว่าอันนี้เป็นภัย มันเอาตรงนี้ว่าเป็นภัย ไม่เห็นว่าภายนอกเป็นภัย เมื่อเข้าถึงขั้นความจริงแล้วมีแต่กิเลส ๆ เป็นภัยอยู่ภายในนี้ มันรู้อยู่นี้เห็นอยู่นี้ แสดงขึ้นมาที่นี่ มันจะไปตะครุบเงาอยู่นอก ๆ โน้นทำไม ปัญญาพอถึงขั้นนี้แล้ว มันหมุนติ้ว ๆ อยู่นี้ รู้อยู่นี้ เห็นอยู่นี้ อะไรกระดิกพลิกแพลงขึ้นในจิตก็รู้ว่าเป็นเรื่องของกิเลสทั้งเพ ขึ้นชื่อว่าเป็นเรื่องของกิเลสแล้วมันทันกัน ๆ เรื่อย ๆ นี่การปฏิบัติธรรมะ<o:p></o:p>
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    ผู้ใดชอบคิดชอบพินิจพิจารณา ผู้นั้นละจะเข้าใจได้ดี เราจะว่าเรามีสมาธิ ไม่มีสมาธิ ถึงเวลาที่ควรจะพิจารณาให้พิจารณา ความสงบก็เพื่อจิตสบาย การพิจารณาก็เพื่อถอดถอนกิเลสภายในจิต เพื่อความสบายหายห่วงของจิต จิตปล่อยกังวลได้เป็นลำดับ อย่าไปคาดว่าเราไม่มีภูมิสมาธิหรือเราได้ภูมิสมาธิเพียงแค่นี้เป็นปัญญาไปไม่ได้ พิจารณาปัญญาไปไม่ได้ อย่าหาคาดหมาย กิเลสมันมีขั้นที่ไหน มันเกิดกิเลสขั้นไหนบ้าง มันไม่เห็นมาบอกเรา กิเลสแสดงขึ้นมาที่ไหนก็เป็นกิเลสและเสียดแทงหัวใจเราได้ทุกประเภทของกิเลส ทุกอาการของกิเลสที่มันแสดง เราต้องคิดเทียบอย่างนั้นซิ กิเลสไม่เห็นว่ามีชั้นไหนภูมิใด ทำไมมันเป็นกิเลสทุกระยะที่มันแสดงตัวออกมา เวลามีธรรมเงื่อนใดที่เราจะพิจารณา ทำไมจะไม่เป็นธรรม ถึงวาระที่จะพิจารณาเราต้องพิจารณา เพราะการพิจารณาก็เพื่อแก้กิเลส ทำไมจะไม่เป็นธรรม ปัญญาต้องหมุนกันอย่างนั้นซิ ปัญญาต้องดักหน้าดักหลังร้อยสันพันคมไม่งั้นไม่ทันนะ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ได้ยินแต่ท่านว่า มหาสติมหาปัญญา เป็นยังไง มหาสติมหาปัญญา ท่านกล่าวไว้แล้วนั้นจิตมันคาดมันหมายนะ ท่านว่าพระโสดา พระสกิทาคา พระอนาคา พระอรหัต บรรลุโสดา บรรลุสกิทาคา บรรลุอนาคา บรรลุอรหัตอรหันต์ มันก็คาดหมายไปตามความบรรลุ เราจะบรรลุอย่างนั้นเราจะบรรลุอย่างนี้มันคาดไป แต่ความคาดเหล่านั้นกับความจริงที่เราปฏิบัติไปรู้เห็นไปมันเป็นคนละโลก ไม่ใช่อันเดียวกัน ห่างกันคนละโลก เหมือนเราวาดภาพเมืองอเมริกาเป็นต้น เราไม่เคยเห็นอเมริกา เช่น กรุงวอชิงตันเป็นต้น หรือเรื่องอะไรก็ตาม มันจะวาดภาพขึ้นมาทันที เราก็เชื่อว่ามันเป็นอย่างนั้น ๆ พอไปเห็นเข้าเท่านั้น ภาพที่วาดไว้นั้นกับความจริงมันเป็นคนละโลกเลย
    <o:p></o:p>
    แต่เราก็ไม่ยอมเห็นโทษ ว่าภาพที่เราวาดไว้แต่ก่อนนั้นคือเครื่องหลอกเรา เคยหลอกมาตั้งแต่ไหนแต่ไร พูดถึงเรื่องอะไรมันก็วาดภาพนั้นขึ้นมา พูดเรื่องอะไรเรื่องคนเรื่องสัตว์ เรื่องอะไรก็ตาม มันต้องมีภาพขึ้นมาประกอบทุกสิ่งทุกอย่างทุกครั้ง แต่เวลาไปถึงความจริงแล้ว ภาพที่วาดเอาไว้นั้นไม่ตรงกับความจริงนั้นเลย ควรจะเห็นโทษแต่เราก็ไม่ยอมเห็น
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น จึงว่ากิเลสกล่อมคนให้หลับสนิทได้ง่ายนิดเดียว วาดภาพมรรคผลนิพพานก็เหมือนกัน สำเร็จพระโสดาเห็นจะเป็นอย่างนั้น สำเร็จพระสกิทาคา สำเร็จพระอนาคาเห็นจะเป็นอย่างนั้น สำเร็จอรหันต์เห็นจะเป็นอย่างนั้น มันวาดภาพของมันไว้อย่างพร้อมมูล และเป็นเครื่องหลอกอันหนึ่ง ๆ ฉะนั้นจึงไม่ต้องไปคาดไปหมาย ให้เดินตามปฏิปทาเครื่องดำเนิน ปัจจุบันธรรมเป็นหลักที่จะยังมรรคผลนิพพานให้เกิดภายในใจไม่สงสัย
    <o:p></o:p>
    สติเป็นของสำคัญ ควบคุมงานให้ดี ไม่มีสติมันเถลไถล ต้องมีสติควบคุมจิตทุกอิริยาบถราวกับควบคุมผู้ต้องหานั่นแล พอดีกับกิเลสที่มันฉุดลากตัวประกันไป สติ ปัญญา ตามฉุดลากตัวประกันกลับคืนมา คำว่าทำงานจะไม่ทุกข์ยังไง งานประเภทไหน งานนอกงานในมันต้องมีความทุกข์ลำบากเป็นธรรมดา เพราะทำงานนี้ก็เราทำงานจิตตภาวนา สติจะต้องเป็นเครื่องบังคับกันเสมอ พิจารณาให้รู้ให้เห็นซิ เรื่องสัญญาอารมณ์มันผิดกับความจริงมาก รู้เห็นด้วยความจำกับความจริงเป็นคนละโลก ดังเราเห็นอเมริกาด้วยการวาดภาพ กับเห็นประจักษ์ตาย่อมประจักษ์ใจ ผิดกับการนึกคิดด้วยมโนภาพอยู่มาก
    <o:p></o:p>
    ดังที่ว่าเห็นกายด้วยความจริงก็เหมือนกัน นี่ผมเคยเห็นมาแล้ว ทีแรกก็อาศัยคิดคาดไปเสียก่อน หมายไปเสียก่อน พิจารณาไป คิดคาดไป พอได้จังหวะจิตกำหนดติดปั๊บ ๆ เข้าไปในส่วนหนึ่งของร่างกาย เมื่อติดปั๊บได้ที่แล้วจิตไม่ยอมปล่อย พอจิตไม่ปล่อยก็เห็นชัดเข้า ๆ และเห็นชัดไปหมดทั่วร่างกาย และกระจายเป็นวงกว้างออกไปเหมือนกระดาษซึม มันซึมไปหมดทั่วร่างกาย จนกระทั่งร่างกายตาย เน่าพองและแตกสลายก็เป็นไปในขณะนั้น ให้เราเห็นให้เราดูร่างกายพังลงไป แตกกระจายลงไป เปื่อยเน่าลงไปให้เห็นอย่างชัดเจน และเป็นไปอย่างรวดเร็วนะ ปุบปับ ๆ ยิ่งเกิดความสลดสังเวช อ๋อ เห็นอย่างนี้เหรอเห็นกายน่ะ เห็นอย่างนี้เหรอ มันชัดมากนะ
    <o:p></o:p>
    นี่เรียกว่า ปจฺจกฺขทิฏฺฐิ รู้จำเพาะเห็นจำเพาะตน คือเห็นด้วยตนเองจริง ๆ เห็นเป็นความจริงประจักษ์ใจเป็นอย่างนี้ ผิดกับเห็นด้วยความจำความคาดหมายอยู่มาก เมื่อเห็นชัดเข้า ๆ อันนั้นขาดออกอันนี้หลุดลงไป โดยที่เราไม่ได้บังคับให้กำหนดให้ทำงานขณะนั้น มันเป็นขึ้นมาเองเมื่อกำหนดได้ที่แล้ว เป็นแต่เพียงเอาความรู้หยั่งไว้ในจุดเดียว จากนั้นกระแสจิต รัศมีของปัญญาหากกระจายไปเองทั่วร่างกายของเราทั้งคน<o:p></o:p>
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    ในขณะพิจารณาร่างกายอยู่นั้นปรากฏว่าอวัยวะส่วนนั้นขาดลง อันนี้ขาดลง ตกลงไป ขณะพิจารณาเพลิน ๆ อยู่นั้นมันไม่มีความรู้สึกว่ากายมีนะ มันหายเงียบไปหมดทั้ง ๆ ที่พิจารณากายอยู่นั้นแล พิจารณาไปเรื่อยจนกระทั่งลงถึงที่มันแล้ว ส่วนดินก็เห็นได้ชัด มันค่อยกระจายไปเป็นดิน ส่วนน้ำก็ซึมลงไปในดินบ้าง เป็นไอขึ้นไปบนอากาศบ้าง ลม ไฟก็ไปตามสภาพของมัน ต่อจากนั้นจิตก็ว่างเปล่าไปหมด
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ที่เห็นกายทีแรกเห็นอย่างชัดเจนเห็นที่วัดบ้านหนองผือนาในนะ ขณะที่กระดูกกำลังกระจายกันอยู่ จิตตะล่อมคือรวมกระดูกเข้ามา นอกนั้นมันกระจายไปหมด มันกลายไปเป็นน้ำ กลายไปเป็นดินไปหมด น้ำก็ไปตามน้ำเหือดแห้งไป ส่วนที่เปื่อยง่ายมันก็เป็นดินไปอย่างรวดเร็ว ส่วนที่ไม่เปื่อยง่ายเช่นกระดูก มันก็ยังเหลือเรี่ยราดกันอยู่ ขณะที่จิตเป็นเช่นนี้มันทำงานของมันเองนะ เหมือนกับมันกวาดกระดูกเข้ามา ตะล่อมเข้ามารวมกันเป็นกอง แทนที่จะเอาไฟเผามันกลับไม่เผา มันหากเป็นของมันเอง จิตเกิดวิตกว่า เอ ร่างกายทั้งร่างนี้มันกลายเป็นอย่างนี้เอง เป็นธาตุอย่างนี้เอง มันรำพึงมันสลดสังเวชนะ ร่างกายตัวเองถูกพิจารณาจนเปื่อยปรักหักพังลงไป ยังเหลือแต่เพียงกระดูกแห้ง ๆ ดูมัน โอ กระดูกกลายเป็นดินมันเป็นได้อย่างนี้เอง
    <o:p></o:p>
    ขณะกำลังกำหนดพิจารณาอยู่ในกองกระดูกนั้น ไม่ทราบแผ่นดินมาจากที่ไหนปึ๊บมาปิดกองกระดูกอันนี้ เหมือนว่ามากลบกองกระดูกที่เรากำลังกำหนดพิจารณาอยู่นั้น ตอนนั้นแผ่นดินมาจากที่ไหนมากลบกันปึ๊บเดียว นี่ก็เป็นธรรมเทศนาอันหนึ่ง พอดินมากลบกองกระดูกปึ๊กเดียว กระดูกกองนั้นก็กลายเป็นดินไปด้วยในขณะนั้น อ๋อ มันเป็นดินอย่างนี้เอง จากนั้นจิตก็ว่างหมด ว่างหมดไม่มีอะไรเหลือเลย จิตเงียบ โอ้โฮ้ ที่จิตเงียบอยู่นั้นนานเป็นชั่วโมง ๆ หมดความสำคัญมั่นหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ทราบอยู่สูงอยู่ต่ำ อยู่ที่ไหน นั่งอยู่หรือนอนอยู่ อยู่กุฏิหรืออยู่ร่มไม้ หรืออยู่ที่ไหนไม่สำคัญทั้งนั้น มีแต่ความว่าง ความรู้อย่างละเอียดสุขุม เป็นความอัศจรรย์กับความรู้อยู่เท่านั้น
    <o:p></o:p>
    จนกระทั่งได้จังหวะแล้ว จิตก็ค่อยขยายตัวออกมา ๆ จนเป็นจิตธรรมดาตามขั้นภูมิของจิต จิตยังว่างอยู่เลย กำหนดดูกุฏิหลังไหน ดูต้นไม้ใบหญ้าแถวบริเวณนั้นก็ไม่เห็น มันว่างไปหมด เพราะอำนาจแห่งความว่างภายในสมาธินั้นมันยังไม่จางไป เนื่องจากตอนนั้นจิตเรายังไม่ถึงขั้นว่างตามภูมิจิตว่างนี่นะ คำว่าจิตว่างนั้นมันมาว่างตอนเราพิจารณาขั้นปัญญาแล้วต่างหาก คืนนั้นเกิดอัศจรรย์ใจอย่างบอกไม่ถูก ศัพท์ทางโลกก็ว่าครึ้ม อิ่มเอิบอย่างละเอียดสุขุม พูดไม่ออกบอกไม่ถูกตามความจริงที่เป็น นั่นแลเห็นร่างกายเห็นชัดจริง ๆ ไม่มีสงสัย ได้เห็นกายประจักษ์จากการภาวนาคืนนั้นแหละ
    <o:p></o:p>
    วันนอกนั้นมาก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นอีก เห็นก็เห็นเหมือนกันแต่มันเปลี่ยนสภาพการเห็นไปเรื่อย ๆ แต่เราก็ไม่ได้อาลัยเสียดายว่าอยากให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มันเป็นยังไงก็ให้เห็นให้เป็นไปตามเรื่อง พิจารณาในวงปัจจุบันไปเรื่อย ๆ ความเห็นก็เห็นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งกายหมดความหมาย หมดความจำเป็น เมื่อจิตรู้เท่าทันหมดแล้ว และกลายเป็นอากาศธาตุ ว่างเปล่าไปหมด จิตก็ว่างจะว่าไง มันรู้เท่ากายด้วยและก็ว่างไปด้วย การพิจารณาเราไม่สงสัยเพราะเป็นกับเจ้าของเองอย่างชัดเจน<o:p></o:p>
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    สัญญากับสังขารนี่สำคัญ พิจารณากันป๊อบแป๊บ ๆ อยู่อย่างนั้น พิจารณาไป ๆ จนเข้าใจ จิตว่างหมดเลยที่นี่ นี่ว่างตามฐานของจิต อยู่เฉย ๆ ก็ว่าง ไม่ได้ภาวนาก็ว่าง จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ว่าง ว่างหมด ต้นไม้ภูเขามองเห็นอยู่ด้วยตา อย่างศาลานี้มองเห็นอยู่ด้วยตา แต่ใจมันทะลุไปหมด เห็นเป็นเพียงเงา ๆ มันว่างไปหมดเมื่อถึงขั้นว่างแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    พอพูดถึงขั้นนี้แล้วก็ทำให้คิดถึงอนัตตลักขณสูตร จิตผมไม่ทราบเป็นยังไง มันขัด ๆ กันอยู่นะกับอนัตตลักขณสูตรตอนปลาย ถามเจ้าคุณ….ท่านก็ว่า มันก็สมบูรณ์เต็มที่แล้วตามที่ท่านเรียนมานั้นเสีย แต่เราถามท่านด้วยความจริงทางภาคปฏิบัติต่างหาก ผมก็เลยไม่ถามต่อไปอีก เพราะสูตรที่สมบูรณ์เต็มที่เราเห็นอยู่นี่ ดังอาทิตตปริยายสูตร ลงถึงขั้น มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ, ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ, มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ, มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ, ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ, สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา, ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ.
    <o:p></o:p>
    นั่น มันถึงใจเหลือเกินนะ อาทิตตปริยายสูตรน่ะ เบื่อหน่ายในรูป แล้วก็ในเสียงพร้อมกัน เบื่อหน่ายทั้งความสัมผัสรับรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างตากับรูปกระทบกัน เกิดสุขขึ้นมาก็ตาม ทุกข์ขึ้นมาก็ตาม สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา รู้ ๆ ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ คือเบื่อหน่ายในสิ่งนี้ ทั้งตา ทั้งรูป ทั้งสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้อง แล้วเป็นวิญญาณขึ้นมา จนถึงกับเกิดเวทนา เบื่อหน่ายทั้งหมด แล้วก็สรุปลง มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในจิต ในอารมณ์ที่เกิดจากจิตทุกประเภท นี่เบื่อหน่ายครอบไปหมด และถอนกันทั้งรากไม่มีเหลืออะไรไว้เลย กระทั่งอวิชชากับจิตก็ทะลุเข้าไปหมดไม่มีเกาะมีดอน
    <o:p></o:p>
    นี่เรามาเทียบเคียงกับการปฏิบัติของเรานะ มนสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในใจ มน นั่นใจ เบื่อหน่ายในจิตในใจ ธมฺเมสุปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ทั้งหลาย มโนวิญฺญาเณปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายในความรู้ที่เกิดขึ้นจากจิต วิญญาณที่รับทราบกับอารมณ์แห่งธรรม เป็นอารมณ์แห่งธรรม มโนสมฺผสฺเสปิ นิพฺพินฺทติ เบื่อหน่ายทั้งความสัมผัส ยมฺปิทํ มโนสมฺผสฺสปจฺจยา อุปฺปชฺชติ เวทยิตํ มันเกิดขึ้นให้เสวย สุขํ วา ทุกฺขํ วา อทุกฺขมสุขํ วา สุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่ใช่สุขทุกข์ก็ตาม ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ นั่นเบื่อหน่ายทั้งหมด นี่มันถึงใจจริง ๆ นะ พอ นิพฺพินฺทติ แล้วก็ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ละที่นี่
    <o:p></o:p>
    เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด วิราคา วิมุจฺจติ. วิมุตฺตสฺมึ วิมุตฺตมิติ ญาณํ โหติ, ขีณา ชาติ, วุสิตํ พฺรหฺมจริยํ, กตํ กรณียํ, นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาตีติ. อิทมโวจ ภควา. อตฺตมนา เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทÿ. อิมสฺมิญฺจปน เวยฺยากรณสฺมึ ภญฺญมาเน, ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส อนุปาทาย, อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ.
    <o:p></o:p>
    อตฺตมนา เต ภิกฺขู ภควโต ภาสิตํ อภินนฺทÿภิกษุทั้งหลายนั้นได้มีความรื่นเริงในธรรมทั้งหลาย เมื่อพระองค์ได้ตรัสธรรมะ เวยฺยากรณ ก็คือตรัสธรรมะที่ยอดเยี่ยมเหล่านั้นอยู่ จิตแห่งภิกษุหนึ่งพัน ตสฺส ภิกฺขุสหสฺสสฺส นั้นได้พ้นแล้ว จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ จิตหลุดพ้นแล้ว อาสเวหิ จิตฺตานิ วิมุจฺจึสูติ จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งปวง นั่นมันถึงใจนะ
    <o:p></o:p>
    แต่อนัตตลักขณสูตรไม่เป็นอย่างนั้น เวลาปฏิบัติก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้นนี่ มันแย้งกันอยู่ เราเข้าใจว่าเกจิอาจารย์ที่ท่านแต่งนี้ท่านจะตัดออกนะ ถ้าไม่ตัด จิตจะต้องอยู่นั้นแน่ ๆ เบื่อหน่ายในรูป เบื่อหน่ายในเวทนา เบื่อหน่ายในสัญญา เบื่อหน่ายในสังขาร เบื่อหน่ายในวิญญาณ รูปสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ, เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ, สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ, สงฺขาเรสุปิ นิพฺพินฺทติ, วิญฺญาณสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ, นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ. วิราคา วิมุจฺจติ เมื่อเบื่อหน่ายในขันธ์ทั้งห้า จิตย่อมคลายกำหนัดไปเลย<o:p></o:p>
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    บ๋อยกลางเรือนของกิเลส

    เวลาปฏิบัติมันไม่เป็นอย่างนั้น รู้เท่าเรื่องอาการทั้งห้านี่ เข้าใจชัด ๆ ไม่มีทางถือเอา จะให้พิจารณาอะไรอีกก็พิจารณาหมดแล้วนี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มันปรากฏอยู่นี้ รู้มันทั้งเกิดทั้งดับว่าเป็น อนตฺตา ล้วน ๆ มันลง อนตฺตา นะสำหรับนิสัยของผม อนิจฺจํ ทุกฺขํ มันไม่ว่าเสียแล้ว มันลงเป็น อนตฺตา ล้วน ๆ รูปํ อนตฺตา, เวทนา อนตฺตา, สญฺญา อนตฺตา,สงฺขารา อนตฺตา, วิญฺญาณํ อนตฺตา. เวลาจะรวมยอดของมันมันมีแต่ ธมฺมา อนตฺตา ทั้งนั้น รวมแล้วเป็น ธมฺมา อนตฺตา ทั้งห้าอย่างนี้เป็น ธมฺมา อนตฺตา
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    แต่มันก็ไม่แล้วนะ ขันธ์ห้านี่เป็น อนตฺตา มันไม่แล้วในจิตมันจะ นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ได้ยังไง เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เมื่อคลายกำหนัดจิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้น ญาณความรู้แจ้งชัดว่าจิตหลุดพ้นแล้วเกิดขึ้น เรามันไม่มี เพียงแต่รู้เท่าขันธ์ห้าเท่านั้นมันไม่เบื่อหน่าย มันไม่คลายกำหนัดทั้งมวลได้ถ้ามันไม่เข้าถึงจิตเสียก่อน นั่น พอทั้งห้าอาการนี้มันปล่อยหมดแล้ว มันก็ยังเหลือจิตดวงเดียวที่นี่ จิตก็เข้าพิจารณานั้นอีก เพราะจิตดวงนั้นตัดอาการออกหมดแล้ว สมุนของอวิชชา ทางเดินของอวิชชา หรือเครื่องมือของอวิชชา ได้แก่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันถูกตัดออกหมดแล้ว คือเรารู้เท่าทันแล้ว ยังเหลือแต่ความรู้อันเดียว
    <o:p></o:p>
    เราไม่ปรากฏว่าได้คลายกำหนัด หรือได้หลุดพ้นในขณะที่จิตอยู่นอกขันธ์ห้านั้นเลย มันต้องพิจารณาฟาดฟันจิตเสียจนแหลก จนอันนี้แตกกระจายไปหมดแล้ว จากนั้นแล้วจะว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ, วิราคา วิมุจฺจติ. มันหมดปัญหา ที่ค้านกันนั้นมันค้านกันอย่างนี้ มันค้านในภาคปฏิบัติ ส่วนอาทิตตปริยายสูตร เรายอมรับทันทีเลย คือปฏิบัติจนกระทั่งเข้าถึงจิต เข้าเบื่อหน่ายในจิตอีก ไม่เพียงเบื่อหน่ายในสิ่งภายนอกเท่านั้น ยังต้องเข้าไปเบื่อหน่ายในจิต อารมณ์ที่เกิดจากจิต อะไร ๆ เลยเบื่อหน่ายในนั้นเสร็จเลย เบื่อหน่ายในธรรมารมณ์ เบื่อหน่ายในสิ่งที่มาสัมผัสกับจิตคือธรรมารมณ์ เป็นสุขเป็นทุกข์ เบื่อหน่ายพร้อมทั้งหมดเลย ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ เลย นั่น
    <o:p></o:p>
    ตสฺมึปิ หมายถึงรวบเอาหมด ถ้าเป็นภาษาบาลีก็หมายถึงวา ยกสรรพนามขึ้น ตสฺมึปิ คือไม่ต้องพูดอีกหลายหน เช่น ชื่อคนนั้น ชื่อคนนี้ เอาเขาขึ้นเลย โส แปลว่า เขา เป็นสรรพนามใช้แทนตัวได้แล้ว โส แปลว่าเขาว่ามัน นี่ ตสฺมึปิ นิพฺพินฺทติ คือเบื่อหน่ายในสิ่งนั้นทั้งหมด นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ไปตลอด
    <o:p></o:p>
    นี่จิตก็เป็นเช่นนั้น เมื่อพิจารณาอันนี้เข้าใจแล้วก็ตามเข้าไปถึงจิตอีก จนทะลุในจิตแล้วมันถึงผ่าน พอพิจารณาขันธ์ห้าเข้าใจหมดแล้วมันยังผ่านไม่ได้นี่ ถ้าไม่เข้าไปถึงจิตเสียก่อนมันผ่านไม่ได้ ปัญหานี่จึงขวางอยู่ในหัวใจเกี่ยวกับ อนัตตลักขณสูตร ส่วนอาทิตตปริยายสูตรนั้นไม่มีปัญหาใด ๆ เลย สำหรับคนจิตหยาบอย่างจิตผมน่ะ ยอมรับอย่างหมอบราบ ส่วนอนัตตลักขณสูตรก็ยกให้นักปราชญ์ท่านเสียก็แล้วกัน แต่ผู้ปฏิบัติควรถือเป็นข้อคิดไว้ เวลาปฏิบัติไปเจอเข้าจะได้มีทางคิดทางออก จะไม่จนตรอกถ่ายเดียว

    <o:p></o:p>
    เอาละจบ<o:p></o:p>
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด



    เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๑



    เปิดเผยโลกธาตุ

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เราเป็นห่วงพระเณรที่มาอยู่อาศัยกับเรานี้ยิ่งกว่าเราห่วงเรา สำหรับเราเอง ไม่เห็นมีห่วงอะไรหวงอะไรทั้งนั้น แต่เกี่ยวกับพระเณรที่มาอาศัยอยู่กับเราแล้ว เราห่วงเราหวงมาก คำว่าหวงก็คือไม่อยากให้ความดีที่มุ่งมารักษาและรักษาแล้วนี้ เสื่อมลงไปหรือผิดพลาดประการใดทั้งนั้น คำว่าห่วงก็เป็นอารมณ์เกี่ยวกับเรื่องความผิดพลาดของพระเณรซึ่งมักมีอยู่เสมอ และกลัวจะไม่เจริญทางจิตใจ เราไม่เคยตายใจกับเพื่อนฝูงที่มาอยู่ด้วย เพราะเมื่อเรารับเรารับด้วยเหตุผลที่ควรรับ เมื่อรับแล้วก็ต้องทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์เต็มกำลังความสามารถ ส่วนจะสมบูรณ์ตามหลักธรรมหลักวินัยหรือไม่นั้นเราไม่กล้าอาจเอื้อม เพราะเป็นความละเอียดของหลักธรรมหลักวินัยอาจจะไม่รู้ทั่วถึงก็ได้ แต่เรื่องความรู้ความสามารถของเรามีเท่าไร เราทุ่มเทลงเพื่อหมู่เพื่อคณะตลอดมา ตั้งแต่วันเกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อนในขั้นเริ่มแรกจนกระทั่งบัดนี้ เป็นเวลายี่สิบกว่าปี
    <o:p></o:p>
    ปกติเราแต่ก่อนไม่ค่อยสนใจจะสอนใครนอกจากสอนเจ้าของเอง และไม่นึกด้วยว่าจะมีหมู่เพื่อนตลอดถึงประชาชน จะมาเกี่ยวข้องกับเราถึงขนาดที่เป็นอยู่เวลานี้ เมื่อความจำเป็นมาเกี่ยวข้อง จิตที่คิดหรือเป็นความรู้สึกมาดั้งเดิมของเราที่เรียกว่านิสัย ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์ที่มาเกี่ยวข้องมากน้อย เมื่อเป็นเช่นนั้นภาระก็ต้องหนัก ผู้ใดมาเกี่ยวข้องกับเรา เรารับแล้วด้วยเหตุด้วยผล เราจะต้องดำเนินตามหลักธรรมที่เป็นเหตุองค์ประกอบด้วยเหตุผลล้วนๆ รวมลงเป็นธรรม อย่างเต็มสติกำลังความสามารถของเราทุกแง่ทุกมุม แม้จะมีภาระมาก ความเป็นห่วงที่จะต้องอบรมสั่งสอนเราก็เป็นห่วงอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสก็ต้องมาอบรมเสมอ
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น ขอให้ทุกท่านที่มาอยู่ในสถานที่นี่เพื่อการศึกษาอบรม จงรักษาเจตนาดั้งเดิมของตนไว้ให้สมบูรณ์ อย่าให้บกพร่อง ถ้าเจตนาอันนี้บกพร่อง ความประพฤติ การปฏิบัติตัวจะอ่อนแอลงไปกลายเป็นความท้อถอย ความรู้สึกจะคิดไปในแง่เป็นอกุศลและจะไม่เป็นมงคลแก่ตนและหมู่เพื่อน ตลอดครูบาอาจารย์ที่อยู่ร่วมกัน
    <o:p></o:p>
    การปฏิบัติตามหลักศาสนาหรือหลักแห่งความเป็นพระของตนนั้น ไม่เหมือนกับการปฏิบัติต่อโลก ซึ่งไม่ค่อยมีขอบเขตเหตุผลหลักเกณฑ์อะไรมากนักก็อยู่กันได้ แต่สำหรับเรื่องของพระแล้วต้องมีเหตุมีผล มีหลักธรรมหลักวินัยเป็นเครื่องประกันในการอยู่ร่วมกันว่า ไม่มีสิ่งใดที่เป็นการขัดแย้งกันโดยทิฐิมานะ โดยหลักธรรมหลักวินัย สอดคล้องต้องกันอยู่เสมอด้วยความประพฤติปฏิบัติ ตลอดความรู้ความเห็น เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการระแคะระคายระหองระแหง จนถึงกับให้เกิดความทะเลาะวิวาทขึ้นมาเพราะทิฐิมานะ อันเป็นการสั่งสมกิเลสหรือผลิตกิเลสขึ้นมาอย่างน่าอายนั้น ขออย่าให้เกิดขึ้นในวัดนี้เป็นอันขาด เพราะนั้นเป็นเรื่องของการคุ้ยเขี่ยการขุดค้นกิเลสประเภทต่างๆ ขึ้นมาเพื่อทำลายขายตัวเอง และทำหมู่เพื่อนให้เดือดร้อนเปื้อนเปรอะไปหมด ไม่ใช่เป็นสิ่งที่พระเราจะพึงคิดเลย อย่าว่าแต่การแสดงออกมา
    <o:p></o:p>
    เพราะพระเรามีหน้าที่ชำระกิเลส ไม่ว่ากิเลสประเภทใดที่เกิดขึ้นภายในใจ ยังต้องพยายามระงับและกำจัดมันไป ไฉนจะปล่อยให้มันระบายออกมา หรือพลุ่งออกมาทางกายทางวาจาอย่างนี้ ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเป็นการขายตัวมากมายสำหรับพระ อย่าพูดถึงเรื่องวงปฏิบัติเลย เพียงปรากฏขึ้นในใจเราโดยเฉพาะแต่ละราย ก็น่าจะเห็นโทษของมันพอตัวอยู่แล้ว
    <o:p></o:p>
    คำว่าพระแล้วเป็นความเสมอภาค เป็นลูกศิษย์ตถาคตด้วยกันทั้งนั้น จึงไม่ขึ้นอยู่กับคำว่า พระบ้าน พระป่า อันนี้แยกออกไปพอให้เข้าใจตามความนิยมของโลก เฉยๆ เรื่องหลักธรรมหลักวินัยไม่มีส่วนใดมีน้ำหนักต่างกัน มีน้ำหนักเท่ากันในความเป็นพระ ด้วยเหตุนี้ทุกๆ ท่านที่มาอบรมศึกษาจงตั้งจิตตั้งใจให้ดี ให้มีความขยันหมั่นเพียร พลิกจิตพลิกใจพลิกความรู้สึกที่เคยเป็นมาในฆราวาสอันดั้งเดิมนั้นออกโดยลำดับ เพื่อให้เข้ากลมกลืนกับหลักธรรมหลักวินัย หลักความประพฤติอันเป็นเรื่องของพระโดยตรง ทั้งยังเกี่ยวข้องกับหมู่เพื่อนพระสงฆ์ด้วยกันอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะต้องพินิจพิจารณาสังเกตสอดรู้ให้รอบคอบ ในความคิดความเห็นความประพฤติของเรา เพื่อให้มีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวประหนึ่งอวัยวะเดียวกัน
    <o:p></o:p>
    พระเราอยู่ด้วยกันเป็นเหมือนอวัยวะเดียวกัน เมื่ออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขัดข้องขึ้นมา ก็เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ภายในร่างกายส่วนอื่นๆ ไปด้วย ทั้งๆ ที่ส่วนเหล่านั้นไม่ได้วิกลวิการก็ทำให้กระทบกระเทือนถึงกันได้ นี่การอยู่ร่วมกันก็เป็นเช่นนั้น รายใดก็ตามที่แสดงความไม่เหมาะสมขึ้นมาโดยทางกิริยามารยาท จะเป็นทางกายทางวาจาก็ตาม เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะเป็นเหตุที่จะให้กระทบกระเทือนถึงหมู่คณะที่อยู่ด้วยกันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข ให้ได้รับความเดือดร้อนวุ่นวาย หรืออย่างน้อยเป็นอารมณ์ข้องใจต่อกันไม่ดีเลย จงพากันระวังให้มากไม่ด้อยกว่าการรักษาใจตัวคึกคะนองอยู่เป็นประจำ<o:p></o:p>
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    การประพฤติปฏิบัติพระพุทธศาสนาต้องมีความเข้มแข็ง เปลี่ยนความรู้ความเห็นที่เคยเป็นมาซึ่งฝังใจอย่างลึกนั้นให้ถอนตัวออกมาโดยลำดับ หมุนจิตใจเข้าไปสู่หลักธรรมหลักวินัย พึ่งเป็นพึ่งตายกับพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ในขณะที่บวช หรือนอกจากขณะนั้นแล้ว หากจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในเรื่องเพศเรื่องอะไรไปก็ตาม ความรู้สึกซึ้งในธรรมะหรือความนอบน้อม ความเคารพจงรักภักดีต่อหลักพระพุทธศาสนาขออย่าให้บกพร่อง เฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่อยู่ด้วยกันนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องสำรวมระวังทุกคน เพื่อความสงบร่มเย็นต่อกัน
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การประพฤติปฏิบัติทุกแขนงแห่งงานให้มีความเข้มแข็ง ให้ทราบว่าเวลานี้เราบวชเป็นพระแล้ว กิริยาอาการใดๆ ที่เราจะแสดงออกให้เหมาะสมกับความเป็นพระ เราจะต้องพินิจพิจารณาเป็นพิเศษ แล้วแสดงออกให้เหมาะสมกับความเป็นพระของเรา อย่าได้แสดงออกมาแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ดังโลกที่เขาไม่มีขอบเขตเหตุผลหรือเขตแดนใดๆ ในการประพฤติตัวมานั้นเลย จะขัดกับหลักศาสนา ขัดกับหลักของพระ ขัดกับหมู่กับเพื่อนที่อยู่ร่วมกัน จะกลายเป็นเรื่องความมัวหมองหรือวุ่นวายขึ้น เช่นเดียวกับน้ำที่ถูกรบกวนจนขุ่นเป็นตมเป็นโคลนขึ้นมา จะอาบจะดื่มจะใช้สอยชะล้างอะไรไม่ดีทั้งนั้นเพราะน้ำขุ่น นี่การแสดงออกต่อกันและกันให้มีความกระทบกระเทือน ก็เป็นเหมือนกับกวนน้ำให้ขุ่นเป็นตมเป็นโคลนนั่นเอง คือกวนธรรมที่สงบแห่งใจของแต่ละท่านให้มีความขุ่นมัวหรือเป็นอารมณ์ขึ้นมา ซึ่งเป็นการรบกวนจิตใจกันให้เกิดความขุ่นมัวและเดือดร้อนขึ้นมา อย่างนั้นไม่สมควรอย่างยิ่งสำหรับพระเรา
    <o:p></o:p>
    การตื่นให้ตื่นแต่เช้า และให้นอนด้วยความตื่นตัวอยู่เสมอทั้งกลางวันกลางคืน เมื่อรู้สึกตัวแล้วรีบตื่น อย่านอนแบบพลิกไปพลิกมาเหมือนกับหมูที่คอยจะขึ้นบนเขียง นั้นไม่ใช่เรื่องของพระ เรื่องของพระต้องเป็นผู้มีสติสตังระมัดระวังตนอยู่เสมอ เช่นเดียวกับแม่เนื้อที่ระวังภัยที่จะมาจากเหตุการณ์ต่างๆ อย่างนั้นจึงเป็นความถูกต้อง แม้เช่นนั้นแม่เนื้อก็ยังตายเพราะอันตรายได้ทั้งๆ ที่ระมัดระวัง นี่ธรรมของพระพุทธเจ้าที่สั่งสอนภิกษุเป็นต้น ยิ่งมีความละเอียดลออมากยิ่งกว่าแม่เนื้อระวังภัยทั้งหลาย จงเป็นผู้ระมัดระวังให้ดีดังกล่าวมา
    <o:p></o:p>
    หน้าที่การงานอันใดที่เป็นเรื่องของพระอย่าได้อ่อนแอ ให้มีความเข้มแข็ง ตามีให้ดู หูมีให้ฟัง ใจมีให้คิด หมู่เพื่อนทำหน้าที่การงานอันใดให้สังเกตสอดรู้เพื่อการประพฤติปฏิบัติตามท่าน เพราะเรามาอบรมศึกษาบางทียังไม่เข้าใจตลอดทั่วถึงในข้อวัตรปฏิบัติอันเป็นส่วนภายนอก ก็ให้ได้ความสมบูรณ์เข้าไปโดยลำดับ เฉพาะภายในคือ การอบรมจิตตภาวนา ก็ให้พึงประพฤติปฏิบัติเป็นการเป็นงานจริง ๆ อย่าอ่อนแอปวกเปียก ให้มีความเข้มแข็งเป็นหลักของงานอยู่เสมอ
    <o:p></o:p>
    การภาวนา จะภาวนาธรรมบทใด เช่น พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรืออานาปานสติ เป็นต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่กลมกลืนกับนิสัยของเรา ให้พึงนำธรรมนั้นเข้ามาบริกรรมภาวนา เช่น กำหนดอานาปานสติก็กำหนดอยู่ที่ลมสัมผัสมากน้อย เฉพาะอย่างยิ่งสัมผัสที่ดั้งจมูกมากกว่าเพื่อน ให้พึงกำหนดสติไว้ที่ตรงนั้น แล้วสังเกตสอดรู้ลมเวลาผ่านเข้าไป ผ่านออกมาอยู่ที่ปากทางได้แก่ดั้งจมูก ไม่ต้องตามลมเข้าไปและตามลมออกมาจะเป็นความกังวลเพิ่มภาระมาก สำหรับผู้พึ่งมีการอบรมจะเป็นการฟั่นเฝือเหลือความสามารถของตน ให้พึงระมัดระวังมีสติสตังอยู่กับบทภาวนานั้น แล้วจิตจะมีความสงบ ร่มเย็นขึ้นมาเป็นลำดับๆ เมื่อสติควบคุมงานคือการภาวนาอยู่ไม่ขาดวรรคขาดตอนในขณะทำภาวนา จะไม่เป็นอย่างอื่น นอกจากผลคือความสงบเย็นในใจเท่านั้น
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    พระพุทธเจ้าสอนถูกต้องอย่างแท้จริงสอนโลกสงสาร จนกระทั่งทุกวันนี้ธรรมะก็มาจากความจริงของจริงที่พระพุทธเจ้าประทานไว้แล้วทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีความเคลื่อนคลาดเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นอย่างใดทั้งสิ้น มัชฌิมาปฏิปทาที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้แล้วนั้น ทุกบททุกบาททุกแง่ทุกมุมสมควรแก่การแก้กิเลสทุกประเภท เพราะเป็นเครื่องมือที่ทันสมัย ไม่ว่าครั้งพุทธกาลหรือสมัยปัจจุบันนี้กิเลสเป็นประเภทเดียวกันเรื่อยมา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ โทสะ โมหะนี้ มีอยู่ภายในใจของสัตว์โลกตั้งแต่ครั้งโน้นมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ไม่เคยอยู่ที่ไหนนอกจากใจดวงเดียวนี้ ประเภทของกิเลสต่างก็เป็นอย่างเดียวกัน แม้ต่อไปก็เป็นกิเลสประเภทเดียวกันนี้
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การแก้กิเลสจึงไม่จำเป็นจะต้องหาธรรมบทใดซึ่งเป็นธรรมที่ทันสมัย หรือเยี่ยมยอดยิ่งไปกว่ามัชฌิมาปฏิปทาที่ประทานไว้แล้วนี้ ธรรมนี้เป็นธรรมที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ในการแก้หรือปราบปรามกิเลสทุกประเภทให้หมดสิ้นไปจากใจ ไม่มีสิ่งใดเหนือนี้เลย จึงขอให้อบรมธรรมนี้ให้มีขึ้นภายในใจของตน ตั้งแต่ขั้นเริ่มแรกจนกระทั่งขั้นสมบูรณ์เต็มที่ คำว่ามรรคผลนิพพานที่ครั้งพุทธกาลท่านบรรลุ ท่านรู้ ท่านพ้นจากทุกข์ซึ่งเป็นส่วนผลนั้น จะปรากฏขึ้นภายในตัวของเราผู้บำเพ็ญ หรือดำเนินตามหลักธรรมที่ท่านสอนไว้เหมือนครั้งพุทธกาลโดยไม่ต้องสงสัย
    <o:p></o:p>
    ผมเป็นห่วงหมู่เพื่อนมากในการประพฤติปฏิบัติธรรม อยากให้รู้ให้เห็น เพราะการแสดงธรรมให้หมู่เพื่อนฟังตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่เคยสั่งสอนด้วยความเลื่อนลอยเลย สั่งสอนด้วยความถึงจิตถึงใจด้วยเจตนาที่มีความเมตตาสงสาร อยากให้หมู่เพื่อนได้รู้ได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างบรรดาที่ตนรู้ตนเห็นและตนแสดงออกนั้นๆ เหมือนกับตนที่ได้ปรากฏมา การแสดงธรรมแก่หมู่เพื่อนทั้งหลายนี้ ผมไม่ได้แสดงด้วยความด้นเดา ผมเรียนตามตรงในฐานะที่หมู่เพื่อนมาอาศัยผม ผมมีความรู้สึกเป็นเหมือนอวัยวะเดียวกัน จึงไม่มีปิดบังลี้ลับ ได้รู้เห็นอย่างใดๆ นำมาสอนจนไม่มีอะไรเหลือแล้ว ภายในพุงนี้ไม่มีเหลือ ได้แสดงออกมาอย่างหมดเปลือกทีเดียว ไม่มีความรู้สึกแม้นิดหนึ่งที่จะเป็นการโอ้อวดต่อหมู่เพื่อน แสดงตามสิ่งที่ปรากฏ เช่น การประพฤติปฏิบัติ เคยประพฤติปฏิบัติอย่างใดหนักเบามากน้อยขนาดไหน ได้ฝึกฝนทรมานตนหนักเบามากน้อยเพียงไรก็ได้นำมาสั่งสอนหมู่เพื่อน หรือมาเล่าให้หมู่เพื่อนฟังเพื่อเป็นคติเครื่องเตือนใจ เพื่อเป็นกำลังทางด้านปฏิบัติเรื่อยมาตามโอกาสอันควร ตลอดถึงผลที่ปรากฏเริ่มแรกตั้งแต่จิตเริ่มเป็นสมาธิคือความสงบเย็นใจก็ได้เล่าให้ฟัง จิตเสื่อมลงไปมากน้อยเพียงใดก็ได้เล่าให้ฟังเพื่อเป็นคติทั้งนั้น ทั้งความเจริญและความเสื่อม ความเสื่อมก็เป็นอาจารย์ได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ได้ยินได้ฟังจากความเสื่อมของเราที่ได้แสดงให้ฟังแล้ว จะได้ตั้งสติสตังระมัดระวังอย่าให้จิตของตนเสื่อม ซึ่งเป็นการลำบากมากในการที่จะฟื้นฟูจิตใจให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาตามเดิมและยิ่งกว่านั้นได้ เราได้เคยเป็นมาแล้ว
    <o:p></o:p>
    จิตเสื่อมเพียงเข้าสมาธิได้บ้างไม่ได้บ้าง ซึ่งแต่ก่อนเข้าได้สนิท กำหนดเมื่อไรได้ทุกครั้งๆ ไม่เคยเสียครั้งเลย แต่เวลาจิตเริ่มเสื่อมเท่านั้นเรารู้สึกตัวว่า จิตเข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง รีบโดดหนีทันที แม้เช่นนั้นยังเสื่อมเป็นเวลาตั้งปี เข้าสู่ความสงบไม่ได้ดูซิ จิตเสื่อมเพียงเท่านั้นพยายามฟื้นฟูฉุดลากให้ขึ้นมา ยังฝืนเสื่อมถึงขนาดปีกว่า ยังไม่สามารถฟื้นขึ้นได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยดังที่เคยเป็นมานั้นเลย จึงได้เห็นโทษแห่งความเสื่อมนี้อย่างถึงใจ เหตุใดจึงว่าเห็นโทษอย่างถึงใจ เพราะเราเสียอกเสียใจเพราะความเสื่อมแห่งจิตนี้มากจริงๆ ในชีวิตนี้แน่ใจว่าจะลืมเรื่องนั้นไม่ลง เพราะทำให้เราเจ็บช้ำใจมากแทบไม่มีโลกอยู่ เพราะความเสียใจ เพราะความเสียดาย ถ้ามีผู้ใดผู้หนึ่งมาทำให้เราเสียอกเสียใจถึงขนาดนั้นอย่างเป็นฆราวาสแล้ว ฆ่าคนได้ ๕ ศพในวันหนึ่งนี้จะไม่รู้สึกตัวเลยว่าได้ฆ่าคน เพราะอำนาจแห่งความโกรธแค้นนั้นมันมากเกินกว่าที่จะมาระลึกบาประลึกบุญได้ <o:p></o:p>
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    ทีนี้พอจิตนี้เริ่มเจริญขึ้นมาด้วยอุบายต่างๆ ที่เราทุ่มเทลงนั้นแล้ว จึงขนาบกันใหญ่ให้สมใจที่เคียดแค้นอยู่เป็นแรมปี ไม่ยอมให้เสื่อมได้ จนถึงกับว่า เอ้า ถ้าจิตเราจะเสื่อมลงไปแม้แต่น้อยเพียงไรก็ตาม ขอให้เราตายเสียก่อนจิตนี้จึงจะเสื่อมได้ ถ้าเรายังไม่ตายจิตนี้จะเสื่อมไปไม่ได้ คำที่พูดอย่างนี้เหมือนกับพูดด้วยความอาฆาตมาดร้ายต่อกิเลสตัวทำให้จิตเราเสื่อม พูดด้วยการประกันตัว การรับรองตัว พูดด้วยความเข็ดหลาบอย่างถึงใจ ประทับใจ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    หลังจากนั้นจิตจึงเป็นเหมือนนักโทษ ถูกคุมแจตลอดเวลา ไม่ยอมให้พรากสายตาคือสติไปได้ ไม่เพียงแต่ว่าพูดเฉยๆ ความระมัดระวังตัวนี้ระมัดระวังมากยิ่งกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา นับแต่ได้ทราบเรื่องจิตเสื่อมนั้นแล้ว ได้สอนตนให้รู้ให้เข็ดหลาบอย่างถึงใจ การระมัดระวังก็ระมัดระวังอย่างถึงใจ เวลาจิตเจริญขึ้นมาเต็มภูมิไม่ปรากฏว่าเสื่อมอีกแล้ว ก็ขยับความเพียรลงให้เต็มที่ เอ้า ตายก็ตาย ราวกับว่ากัดเขี้ยวกัดฟันใส่กันนั่นแล เพราะความเคียดแค้นอย่างถึงใจ นี่คือความเคียดแค้นให้ตนเอง หรือเคียดแค้นให้กิเลสที่ดัดสันดานตน ความเคียดแค้นประเภทนี้ คือ มัชฌิมาปฏิปทา ที่เด็ดกับกิเลสคู่อริ จึงไม่จัดว่าเป็นกิเลส (แต่จัดเป็นมรรคของธรรมป่า พระป่า)
    <o:p></o:p>
    นี่คืออุบายวิธีที่ดำเนินมาก็ได้เล่าให้หมู่เพื่อนฟังหมด โดยไม่ต้องหาเรื่องอุตริอะไรมาพูดซึ่งตนไม่เป็นจริงอย่างนั้น นี่พูดอย่างถึงใจที่เราทำอย่างถึงใจ เอาเป็นเอาตายเข้าว่า ในขณะที่บำเพ็ญอยู่นั้นไม่เคยคิดว่าตนจะได้มาเป็นครูเป็นอาจารย์สอนหมู่เพื่อน ไม่ว่าฆราวาสและพระเณรดังที่เป็นมานี้เลย เพราะนิสัยของเราเป็นคนมีนิสัยวาสนาน้อย มีความสนใจใฝ่ต่อการประพฤติปฏิบัติหรือฝึกฝนทรมานตนถ่ายเดียวเท่านั้น ไม่เคยสนใจกับผู้หนึ่งผู้ใดในขณะที่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ได้เทศน์สอนคนในเวลาเราปฏิบัติอยู่ มีแต่ชุลมุนวุ่นว่ายหรือเข้าตะลุมบอนกับกิเลส ไม่สนใจกับอะไรในโลกสงสารอยู่ถึง ๙ ปี ตั้งแต่พรรษา ๗ ที่เราออกปฏิบัติทีแรก จนกระทั่งถึงพรรษาที่ ๑๖ ออกพรรษาแล้ว ถึงเดือน ๖ แรมดับ คือ แรม ๑๕ ค่ำ เอ๊า พูดให้เต็มภูมิโง่เต็มเปานี้เสีย จนถึงคืนวันดับนั้นถึงได้ตัดสินใจกันลงได้ด้วยความประจักษ์ใจ หายสงสัยทุกสิ่งทุกอย่างเรื่องภพเรื่องชาติ เรื่องความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรื่องกิเลสตัณหาอาสวะทุกประเภทได้ขาดกระเด็นออกไปจากใจในคืนวันนั้น ใจได้เปิดเผยโลกธาตุให้เห็นอย่างชัดเจน เกิดความสลดสังเวช น้ำตาร่วงตลอดคืน
    <o:p></o:p>
    ในคืนนั้นไม่ได้หลับได้นอนเลย เพราะสลดสังเวชความเป็นมาของตน สลดสังเวชเรื่องความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะแห่งอำนาจกิเลสมันวางเชื้อแห่งกองทุกข์ฝังใจไว้ ไปเกิดในภพนั้นชาตินี้ มีแต่แบกกองทุกข์หามกองทุกข์ไม่มีเวลาปล่อยวาง จนกระทั่งถึงตายไปแล้วก็แบกอีกๆ คำว่าแบกก็คือ ใจเข้าสู่ภพใดชาติใดจะมีสุขมากน้อย ทุกข์ต้องเจือปนไปอยู่นั่นแล จึงได้เห็นโทษ เกิดความสลดสังเวช แล้วก็มาเห็นคุณค่าแห่งจิตใจ ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยคิดว่าจิตใจจะมีคุณค่ามหัศจรรย์ถึงขนาดนั้น การไม่นอนในคืนนั้น เพราะความเห็นโทษอย่างถึงใจ และความเห็นคุณอย่างถึงจิตถึงธรรม
    <o:p></o:p>
    ในตอนท้ายแห่งความละเอียดอ่อนของจิต เราก็เห็นว่าอวิชชาเป็นของดีและประเสริฐไปอย่างสนิทติดจมไปพักหนึ่ง และหลงอวิชชาอยู่เป็นเวลา ๘ เดือน ไม่เคยลืม เพราะรักสงวนอวิชชาซึ่งเป็นตัวผ่องใส ตัวสง่าผ่าเผย ตัวองอาจกล้าหาญ จึงรักสงวนอยู่นั้นเสีย พยายามระมัดระวังรักษาอวิชชา ทั้งๆ ที่สติปัญญาก็มีเต็มภูมิแต่ไม่นำมาใช้กับอวิชชาในขณะนั้น เมื่อเวลาได้นำสติปัญญาหันกลับมาใช้กับอวิชชาอย่างเต็มภูมิ เรื่องอวิชชาจึงแตกกระจายลงไป ถึงได้เห็นความอัศจรรย์ขึ้นมาภายในจิตใจ นั้นแหละจึงเป็นความอัศจรรย์อย่างแท้จริง ไม่อัศจรรย์แบบจอมปลอมดังที่เป็นมา<o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    ถึงกับน้ำตาร่วง ร่วงสองอย่าง ร่วงด้วยความสลดสังเวชภพชาติแห่งความเป็นมาของตนหนึ่ง เพราะความอัศจรรย์ในพระพุทธเจ้า สาวกทั้งหลายที่ท่านหลุดพ้นไปแล้วท่านก็เคยเป็นมาอย่างนี้หนึ่ง เราก็เป็นมาอย่างนี้ คราวนี้เป็นความอัศจรรย์ในวาระสุดท้ายได้ทราบชัดเจนประจักษ์ใจ เพราะตัวพยานก็มีอยู่ภายในจิตนั้นแล้ว แต่ก่อนจิตเคยมีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสิ่งใด บัดนี้ไม่มีสิ่งใดจะติดจะพัวพันอีกแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    มาสลดสังเวชอีกตอนที่เคยคาดอวิชชาว่าเป็นเหมือนเสือโคร่ง เสือดาว เหมือนยักษ์ เหมือนผี แต่เวลาพิจารณาเข้าไปเจออวิชชาจริงๆ แล้ว กลับเป็นนางงามจักรวาล เป็นเพชรเป็นพลอย เป็นสิ่งที่อัศจรรย์มีค่ามากโดยไม่รู้สึกตัวนั่นซิ จึงต้องคิด เมื่อแก้สิ่งนี้ได้แล้ว ธรรมแท้อันเป็นของวิเศษอัศจรรย์ยิ่งกว่านั้นก็ปรากฏขึ้นมา จึงต้องเกิดความสลดสังเวชในความหลงอวิชชาและในทุกข์ทั้งหลาย และเกิดความอัศจรรย์ในธรรมที่ปรากฏขึ้นโดยปราศจากสมมุติใดๆ เข้าไปเจือปนในจิตดวงนั้น ถึงกับให้เกิดความขวนขวายน้อยไม่คิดจะสอนผู้หนึ่งผู้ใดได้ เพราะคิดในเวลานั้นว่า สอนใครก็ไม่ได้ ถ้าลงธรรมกับใจเป็นของอัศจรรย์เหลือล้นถึงขนาดนี้แล้ว ไม่มีใครที่จะสามารถรู้ได้เห็นได้ในโลกอันนี้ เพราะเหลือกำลังสุดวิสัยที่จะรู้ได้
    <o:p></o:p>
    เบื้องต้นที่เป็นทั้งนี้ เพราะจิตยังไม่ได้คิดในแง่ต่างๆ ให้กว้างขวางออกไปถึงปฏิปทาเครื่องดำเนิน จึงได้ย้อนกลับมาพิจารณาทบทวนกันอีก ทั้งฝ่ายเหตุคือปฏิปทา ทั้งฝ่ายผลที่ปรากฏในปัจจุบันว่า ถ้าธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่สุดวิสัยที่คนอื่นๆ จะรู้ได้แล้ว เราทำไมถึงรู้ได้ เราก็เป็นคนๆ หนึ่งเหมือนกับมนุษย์ทั่วๆ ไป เรารู้ได้เพราะเหตุใด ก็ย้อนเข้ามาหาปฏิปทา พิจารณากระจายออกไปจนได้ความชัดเจนว่า อ๋อ ยอมรับละที่นี่ ถ้ามีปฏิปทาคือข้อปฏิบัติแล้วก็จะต้องได้รู้อย่างนี้
    <o:p></o:p>
    ท่านผู้ใดบำเพ็ญข้อวัตรปฏิบัติให้สมบูรณ์เต็มภูมิ ดังที่พระพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้แล้ว ธรรมชาตินี้ไม่ต้องมีใครมาบอกจะรู้เองเห็นเอง เพราะอำนาจแห่งมัชฌิมาปฏิปทาเป็นเครื่องบุกเบิกทำลายสิ่งที่รกรุงรังพัวพันอยู่ภายในใจ จะแตกกระจายออกไปหมด เหลือแต่ธรรมล้วนๆ จิตล้วนๆ ที่เป็นจิตบริสุทธิ์ จากนั้นจะเอาอะไรมาเป็นภัยต่อจิตใจ แม้สังขารร่างกายจะมีความทุกข์ความลำบากแค่ไหน ก็สักแต่ว่าสังขารร่างกายเป็นทุกข์เท่านั้น ไม่สามารถที่จะทับถมจิตให้บอบช้ำให้ขุ่นมัวได้เลย เพราะธรรมชาตินั้นไม่ใช่สมมุติ ขันธ์ทั้งหมดนี้เป็นสมมุติล้วนๆ ธรรมชาตินั้นเป็นวิมุตติ หลุดพ้นจากสิ่งกดขี่ทั้งหลายซึ่งเป็นตัวสมมุติแล้ว แล้วจะเกิดความเดือดร้อนได้อย่างไร เป็นก็เป็น ตายก็ตาย เรื่องของขันธ์สลายลงไปตามสภาพของมันที่ประชุมกันเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    จิตดวงนี้เป็นอย่างไร ต่อไปนี้จะไปเกิดที่ไหนก็ทราบอย่างชัดเจน จะไปเกิดที่ไหนเมื่อไม่มีเชื้อ ไม่มีเงื่อนต่อทั้งเงื่อนต้นเงื่อนปลาย ทั้งอดีต อนาคต แม้แต่ปัจจุบันก็รู้เท่าทันไม่ได้ยึดได้ถือ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตาไม่ถือมั่นแล้ว เพราะได้รู้ประจักษ์ใจแล้ว เมื่อรู้ประจักษ์ใจและปล่อยวางหมดแล้ว มีธรรมอะไรที่ไม่ใช่อนัตตาไม่ใช่อัตตา คือ วิสุทธิธรรม วิสุทธิจิต จะเรียกวิสุทธิจิตก็ได้ จะเรียกวิสุทธิธรรมก็ได้ จะเรียกนิพพานก็ได้ไม่มีปัญหาอะไรเมื่อถึงตัวจริง ไม่มีกิเลสสมมุติใดๆ เข้ามาขัดขวางแล้ว เรียกไม่เรียกก็ไม่มีปัญหาอะไรทั้งนั้น เพราะจิตหลุดพ้นจากปัญหาความยุ่งเหยิงทั้งมวลไปแล้ว
    <o:p></o:p>
    เหล่านี้ได้พูดให้หมู่เพื่อนฟังหมดไม่เคยปิดบังลี้ลับ ซึ่งไม่เคยถามผู้ใดเลย ปรากฏขึ้นกับจิตเอง พระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลายที่ท่านปฏิบัติ เมื่อตรัสรู้และบรรลุธรรมก็เป็น สนฺทิฏฺฐิโก ไม่ทรงถามและถามใคร สมกับพระธรรมที่ท่านแสดงไว้ว่า สนฺทิฏฺฐิโก ผู้ปฏิบัติจะพึงรู้เองเห็นเอง ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ผู้รู้ทั้งหลายจะพึงรู้จำเพาะตน นั่น ท่านว่าไว้อย่างนั้น ธรรมนี้มิใช่ธรรมโกหกโลก ทำไมผู้ปฏิบัติเมื่อรู้เห็นได้ตามธรรมนั้นจะเป็นการโอ้อวดโกหก รู้เห็นได้ต้องพูดได้ตามนั้น ปฏิปทาธรรมทั้งหมดนี้แลเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะเปิดตู้พระไตรปิฎก ในขณะเดียวกันก็ปราบปรามกิเลสซึ่งเป็นข้าศึกและปิดบังธรรมในใจ ให้แตกกระจายออกไป กลายเป็นใจวิเศษ ธรรมวิเศษล้วนๆ ขึ้นมาอย่างไม่เคยคาดฝันมาก่อนเลย
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น จงอย่าไปคิดให้เสียเวล่ำเวลา ว่าครั้งพุทธกาลท่านสำเร็จมรรคผลนิพพาน ครั้งนี้ไม่มีทางสำเร็จ อย่าไปคิด นั้นเป็นเรื่องของกิเลสหลอกลวงเราให้หลงกลมายาของมันต่างหาก ไม่ใช่เรื่องของธรรม และจะเกิดความท้อแท้อ่อนแอขึ้นมาในวงความเพียร ก้าวไม่ออก ไปไม่รอด จอดจมอยู่กับกิเลสกองทุกข์ต่อไปอีก ดีไม่ดีฆ่าตัวตายก็มีคนเรา ทั้งๆ ที่ตนยังมีคุณค่าอยู่ เพราะอำนาจกลลวงของกิเลสหลอกไปฆ่านั่นเอง หลงกลมายาของกิเลสเท่านั้นก็จมไปได้คนเรา ความเข้มแข็งเคยมีมากน้อยเพียงไร พอกิเลสหลอกแย็บสองแย็บเท่านั้นก็ล้มระนาวแบบไม่เป็นท่า เพราะฉะนั้นขอให้พากันเข้าใจว่า ธรรมทุกขั้นจนถึงนิพพานธรรมไม่อยู่ที่ไหน แต่อยู่ที่ใจของผู้ปฏิบัติตามหลักสัจธรรมทั้งสี่ให้เข้าใจและสมบูรณ์โดยลำดับจนถึงขั้นสมบูรณ์เต็มที่ ธรรมทุกขั้นจะปรากฏขึ้นที่ใจโดยลำดับ และปรากฏจนเต็มภูมิเช่นเดียวกัน ไม่มีอะไรมาขัดแย้งกีดขวางได้ ปากใครก็ตามถือเอาเป็นประมาณได้ยากมาก เพราะส่วนมากใจมีกิเลส ปากจึงมักสกปรก ฉะนั้นจงถือ สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม จากพระโอษฐ์ถ่ายเดียวเป็นเครื่องประกันมรรคผลนิพพานของเราผู้ปฏิบัติ<o:p></o:p>
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    สัจธรรม คืออะไรบ้าง ทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจมีอยู่ที่ไหน ถ้าไม่มีอยู่ที่กายที่ใจเรานี้ทุกคน สมุทัย คือ นันทิราคะ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่คือตัวของกิเลส มันเกิดขึ้นจากใจเพราะเชื้อของมันมีอยู่ที่ใจ มันจึงแสดงตัวออกมาจากสิ่งที่มีให้เรารู้ นิโรธ คือความดับทุกข์ เอาอะไรมาดับมันถึงจะดับได้ ถ้าไม่เอามรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เฉพาะอย่างยิ่ง สติ ปัญญา ศรัทธา ความเพียร เป็นสิ่งสำคัญมากมาดับ สติปัญญาเป็นเครื่องบุกเบิก เป็นเครื่องถอดถอน วิริยะ คือความพากความเพียรในงานถอดงานถอนของตน ให้เร่งธรรมเหล่านี้เข้าให้มาก นิโรธ คือความดับทุกข์ เมื่อกิเลสดับไปมากน้อยด้วยมรรค เรื่องนิโรธจะดับทุกข์ตามๆ กัน เพราะนิโรธนั้นเป็นเงาของมรรค ถ้ามรรคทำงานมากน้อยเพียงไร นิโรธก็แสดงขึ้นตามเรื่องของมรรคที่ปราบปรามกิเลสได้มากน้อยเพียงนั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    สัจธรรมทั้งสี่นี้มีอยู่ที่ไหนเวลานี้ ในครั้งพุทธกาลท่านบรรลุธรรม ท่านบรรลุอะไร ถ้าไม่รู้แจ้งในสัจธรรมทั้งสี่นี้แล้วจะหาทางบรรลุธรรมไม่ได้ เมื่อรู้แจ้งในสัจธรรมทั้งสี่นี้โดยสมบูรณ์แล้ว นั้นแลคือเป็นผู้บรรลุธรรมถึงขั้นอันเกษมสำราญ หาอะไรเสมอเหมือนไม่ได้เลย ธรรมดังกล่าวนั้นอยู่ที่ดวงใจ พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ใจ เพราะทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อยู่ที่ใจ สาวกทั้งหลายตรัสรู้ที่ใจนั้นเอง เพราะใจเป็นผู้หลง ใจเป็นผู้ปฏิบัติตนให้รู้ ใจเป็นผู้แก้ความลุ่มหลงของตน เมื่อได้แก้เต็มภูมิแล้วความลุ่มหลงนั้นก็หมดไป ทุกข์ก็ดับไป ความลุ่มหลงนั้นแลพาให้ก่อทุกข์ เมื่อทุกข์ดับไปแล้ว คำว่านิโรธก็แสดงขึ้นมาในขณะเดียวกัน แล้วอะไรที่ยังเหลืออยู่เวลาสมุทัยและทุกข์ดับไปแล้วนั้น ผู้ที่รู้ว่าทุกข์และสมุทัยดับไปนั้นแลคือผู้บริสุทธิ์ ผู้นี้ไม่ดับ ผู้นี้แลเป็น
    <o:p></o:p>
    ธรรมชาติที่บริสุทธิ์ สัจธรรมทั้งสี่เป็นเพียงกิริยาอาการดำเนินในขณะที่ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสกองทุกข์เท่านั้น
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น เรื่องอรหัตมรรค อรหัตผล จึงเป็นธรรมที่คาบเกลียวกันอยู่ ยังไม่ละกิริยา ระหว่างมรรคกับผลวิ่งถึงกันในชั่วระยะจริมรรคจิต ตามปริยัติท่านว่าไว้ ชั่วจริมรรคจิต คือ ชั่วลัดมือเดียว ขณะเดียวเท่านั้น ขณะนั้นท่านว่ามรรคกับผลวิ่งถึงกัน ทำหน้าที่ต่อกันเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้นเรียกว่า นิพพานหนึ่ง ในขณะเดียวกันเรียกว่าถึงแดนแห่งความบริสุทธิ์เต็มที่แล้วก็ได้ และคำว่าแดนแห่งความบริสุทธิ์นี้ จะหมายถึงอะไร ถ้าไม่หมายถึงใจผู้เคยติดอยู่ในกองทุกข์ ได้พ้นจากแดนเเห่งความทุกข์ไปเท่านั้น
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้น ขอให้ทุกท่านจงดำเนินจิตใจของตนด้วยความเอาจริงเอาจังในงาน คือจิตตภาวนา อย่าได้ลดละท้อถอย ตายก็ตายเถอะ พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ ปูเชมิ ตายบูชาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ดีกว่าตายเพื่อกิเลสบูชากิเลสเป็นไหนๆ เราเคยเชื่อเราเคยยอมจำนนต่อกิเลส คล้อยตามกิเลส เคลิ้มตามกิเลสมาหลายภพหลายชาติจนนับไม่ได้แล้ว ให้กิเลสพอกพูนหัวใจจนมองหาดวงใจอันแท้จริงไม่เห็นเลยมานานนักแล้ว ทั้งขนทุกข์มาทับถมโจมตีเราจนขนาดไม่รู้จักเป็นจักตาย หากำหนดกฎเกณฑ์ไม่ได้ว่าเมื่อไรทุกข์จะหลุดลอยออกไปจากใจ ถ้าไม่แก้ตัวสมุทัยให้หลุดลอยลงไปแล้ว ไม่มีทางที่ทุกข์จะหลุดลอยลงไปได้<o:p></o:p>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    การแก้สมุทัยก็คือความเพียร มีสติปัญญาเป็นสำคัญ ให้พยายามพากเพียรอย่าลดละถอยหลัง นี้แลเป็นสิ่งที่จะตัดสินได้ ตัดสินที่ตรงนี้ ไม่มีกาลโน้น สถานที่นั่น มีอำนาจยิ่งกว่า ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หรือยิ่งกว่าสัจธรรมทั้งสี่นี้ไปได้เลย ตรงนี้เป็นสำคัญ จงยึดตรงนี้เป็นหลักใจหลักปฏิบัติ กิเลสอยู่ที่ตรงนี้ สมุทัยคือกิเลสแท้อยู่ที่หัวใจ มรรคคือการปฏิบัติเพื่อแก้กิเลสด้วยอุบายวิธีต่างๆ อย่านอนใจ ถึงเวลาคิด คิดอ่านไตร่ตรองให้เข้าใจในเรื่องธาตุเรื่องขันธ์ เรื่องกิเลสอาสวะแสดงตัวขึ้นมามากน้อย
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    อย่าไปหึงหวง อย่าไปเสียดายอะไรทั้งสิ้นนอกจากความพ้นทุกข์ โลกที่เราเคยคิดเคยปรุงมาแล้วได้ประโยชน์อะไร นอกจากเป็นเรื่องของสมุทัย แล้วกว้านเอาความทุกข์เข้ามาเผาลนหัวใจเท่านั้น ขึ้นชื่อว่าสมุทัยแล้วเป็นอย่างนั้น เคยเป็นอย่างนั้นมาดั้งเดิมอย่าได้หลงกลมัน จงทำความเข็ดหลาบ อย่ายอมหมอบราบกราบมันต่อไป
    <o:p></o:p>
    สติ เราฝึกให้มีสติมีได้ ปัญญาพยายามขุดค้นคิดอ่านไตร่ตรองในแง่ต่างๆ ทั้งภายนอกภายในได้ ถ้าพาคิดพาทำ ในเบื้องต้นบังคับให้คิดอ่านเสียก่อน เพราะปัญญายังไม่รู้หน้าที่การงานของตัวเอง เช่นเดียวกับเด็กยังไม่รู้หน้าที่การงาน ผู้ใหญ่ต้องบังคับบัญชาให้เด็กทำงาน จนกว่าเด็กนั้นเติบโตรู้การงานและรู้ผลของงาน รู้จักวิธีทำงานแล้วก็ทำงานไปเองโดยไม่ต้องบังคับบัญชาต่อไป เหมือนผู้ใหญ่ซึ่งรู้เหตุรู้ผลของงานและผลของงานเรียบร้อยแล้ว หน้าที่การงานไม่ต้องบอกก็ทำไปเอง สติปัญญาเบื้องต้นก็ต้องได้บังคับบัญชา ล้มลุกคลุกคลานบ้างก็ต้องยอมรับกันไปก่อน เพราะยังไม่ชำนิชำนาญ ต่อเมื่อสติปัญญาได้ดำเนิน และเห็นผลแห่งความสงบเย็นใจหรือความสว่างไสวภายในจิต เพราะอำนาจของสติปัญญาขึ้นแล้ว สติปัญญาจะมีความขยันหมั่นเพียรไปเอง เรื่องความเพียรไม่ต้องบอก หมุนไปตามกันนั่นแหละ ดังที่เคยได้อธิบายให้ฟังมาแล้ว หลักใหญ่อยู่ที่ตรงนี้
    <o:p></o:p>
    การแก้กิเลส ไม่ได้แก้อยู่สถานที่โน่นสถานที่นี่อะไร แต่แก้กันที่จิต ถ้าว่าสถานที่ก็คือจิตนี้แล อยู่ตรงนี้ไม่อยู่ที่อื่น ขอให้ทุกท่านฟังอย่างถึงใจ ปฏิบัติแก้กิเลสของตนอย่างถึงใจ ให้เห็นว่ากิเลสนี้เป็นภัยอย่างยิ่งสำหรับหัวใจเรา จะพาให้เกิดภพเกิดชาติ เกิดในภพน้อยภพใหญ่ ได้รับความทุกข์มากน้อย ล้วนแล้วแต่ไปจากกิเลสทั้งนั้น ไม่ไปจากที่อื่นเลย การแก้กิเลส การเห็นกิเลสเป็นภัยจึงทำให้จิตใจมีความพอใจ หรือมีความอาจหาญที่จะแก้กิเลสโดยลำดับ ผู้ใดที่ได้เป็นความสะดุดใจเข้าใจว่ากิเลสเป็นข้าศึกต่อตนแล้ว จะมีทางต่อสู้กัน ถ้าเห็นกิเลสเป็นตน ตนเป็นกิเลส เห็นกิเลสเป็นเรา เราเป็นกิเลสอยู่แล้ว กิเลสนั้นแลจะพาเราจม ครั้นจมลงไปแต่กิเลสกับขึ้นอยู่บนคอเรา (หัวใจเรา) หาทางฟื้นฟูตัวเองขึ้นมาไม่ได้เลย<o:p></o:p>
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    ขอให้ทุกท่านนำไปประพฤติปฏิบัติให้ถึงใจ ในส่วนหยาบก็ได้เคยอธิบายให้ฟังแล้วในเบื้องต้นแห่งกัณฑ์นี้ การประพฤติปฏิบัติให้มีความขยันหมั่นเพียร หูไว ตาไว คิดอ่านไตร่ตรอง อย่าอยู่เฉยๆ ให้มีความแกล้วกล้าสามารถ อย่าแสดงความอ่อนแอ พระพุทธเจ้าทรงมีความขยันหมั่นเพียรมากไม่มีใครเสมอเหมือน ศาสนธรรมที่ออกมาจากพระพุทธเจ้านั้น เป็นธรรมที่สอนคนให้มีความขยันหมั่นเพียรในทางที่ดีที่ชอบ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์ จนกระทั่งถึงขั้นเป็นที่พึงพอใจ ให้นำไปประพฤติปฏิบัติ ให้ได้รับผลรับประโยชน์ จะบวชมาเวลามากน้อย ในขณะที่เราบวชนี้ให้ทุ่มเวลาลงเพื่อความพากเพียรอย่าให้เสียผลเสียประโยชน์ อย่าไปคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้ซึ่งเราเคยคิดมาแล้วไม่เกิดประโยชน์อะไร นอกจากจะเกิดโทษภายในจิตใจให้มีความกังวลและมัวหมองต่อจิตใจเท่านั้น ให้ทราบถึงมันว่าสิ่งเหล่านี้เป็นภัยและเห็นโทษของมัน อย่าสนใจไปคิด จะเหมือนไปคว้าเอามูตรเอาคูถมาฉาบทาตัวให้เหม็นคลุ้งไปตลอดกาลสถานที่ ไม่มีประมาณว่า ความเหม็นคลุ้งของกิเลสจะออกจากใจลำพังตนเอง โดยไม่ชำระซักฟอกปราบปราม
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    เวลานี้เราเป็นลูกตถาคต จะเป็นอยู่กี่วันกี่เดือนก็ตาม (พระบวชชั่วคราวก็มีสับปนกันฟัง) ให้ทำหน้าที่ของตนเต็มภูมิอย่าได้ลดละ พระพุทธเจ้าท่านเสด็จออกบวชไม่มีใครตามส่งตามเสีย ไม่มีญาติโยม ไม่มีผู้ตามอุปถัมภ์อุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเลย สละออกจากความเป็นกษัตริย์ลงสู่ความเป็นคนขอทาน ใครจะลำบากลำบนยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าไม่มี ความลำบากพระพุทธเจ้าทรงเผชิญมาแล้ว ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ปรากฏว่าทรงสลบไสลถึง ๓ ครั้งว่าไง ถ้าหากไม่ฟื้นก็ตาย นี่คือความทุกข์มากถึงขั้นสลบนั่นเอง ถ้ายิ่งกว่านั้นก็ถึงขั้นตาย นี่ลำบากไหมพระพุทธเจ้าผู้ทรงบำเพ็ญมาก่อน ที่เป็นแนวหน้าของพวกเรา เราจะมีแต่ความอ่อนแอ ง่วงเหงาหาวนอนเต็มตัวอยู่อย่างนั้น เป็นได้เหรอลูกศิษย์ตถาคต ควรเป็นไปได้เหรออย่างนั้นน่ะ ฉะนั้นให้พิจารณา
    <o:p></o:p>
    อะไรจะอัศจรรย์เท่าธรรมในแดนโลกธาตุนี้ไม่มี จิตจะเคยหมกมุ่นอยู่กับสิ่งใดก็ตาม เมื่อธรรมได้ฉายแสงเข้าไปถึงใจแล้ว จะปล่อยวางโดยลำดับๆ ไม่ว่าอันใดจะถือเป็นของวิเศษวิโสในความรู้สึกมาตั้งแต่ก่อนเพียงไรก็ตาม จะปล่อยวางไปโดยลำดับจนกระทั่งไม่มีสิ่งใดเหลือเลย เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่มีคุณค่าและประเสริฐเหมือนกับธรรมชาติอันประเสริฐซึ่งปรากฏขึ้นภายในใจ ไม่อย่างนั้นท่านปล่อยไม่ได้ วางไม่ได้ ถ้าธรรมไม่เหนือกว่าจะปล่อยไปทำไม เช่นเราเดินไปเจอตะกั่ว เราก็ว่าเป็นของดีก็เก็บแบกหามเอาไป พอไปเจอเงินก็ว่าเป็นของดี ทิ้งตะกั่วไป ไปเจอทองคำเข้าไปอีก เจอเพชรเจอพลอยเข้าไปอีก ยิ่งปล่อยของเก่าไปโดยลำดับๆ เพื่อยึดของดี เอาของดี ของที่ราคาต่ำกว่านั้นก็ทิ้งๆ
    <o:p></o:p>
    อันนี้ก็เหมือนกัน โลกามิสทั้งหลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามีราคาต่ำกว่าธรรมโดยหลักธรรมชาติ มิใช่โดยความนิยมที่อาจเสกสรรเปลี่ยนแปลงความจริงเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากนั้นก็เป็นโทษอีกด้วย ถ้าไม่ฉลาดในการใช้สอยและเก็บรักษา เมื่อธรรมได้แทรกเข้าถึงใจมากน้อย ควรจะชนะรสชาติความแปลกประหลาดความอัศจรรย์ของโลก ควรจะชนะโลกามิสสิ่งใดได้ก็ย่อมชนะกันไป ปล่อยกันไปวางกันไปโดยลำดับ จนกระทั่งปล่อยวางโดยสิ้นเชิง เพราะเห็นธรรมว่าประเสริฐกว่าไม่มีสิ่งใดเสมอเหมือน ปุญญปาป ปหินบุคคล กระทั่งบุญก็ยังละอย่าว่าแต่ละบาปได้แล้วเลย บุญก็ยังละ จึงเรียก ปุญญปาป ปหินบุคคล ผู้มีบุญและบาปอันละเสียได้แล้ว<o:p></o:p>
     
  17. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    เปิดเผยโลกธาตุ

    บุญก็เป็นเครื่องสนับสนุนให้ถึงที่อันเกษม เมื่อถึงที่เกษมแล้ว บุญซึ่งเป็นส่วนสมมุติ ก็ปล่อยวางกันโดยหลักธรรมชาติไม่มีสิ่งใดเหลือเลย เหลือแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ และไม่ติดด้วย รู้เท่า ตัดขาดทั้งอดีตอนาคต รู้เท่าตัดขาดทั้งปัจจุบันไม่ยึดมั่นในสิ่งใด จะว่าพระอรหัตอรหันต์ท่านไม่ยึดถือสิ่งใดเลยก็ไม่ผิด แต่ท่านก็ไม่ได้ปราศจากที่พึ่ง นั่น เมื่อถึงแดนแห่งความพ้นจากสมมุติหรือถึงแดนเกษมเต็มภูมิแล้ว พ้นวิสัยของสมมุติแล้ว ไม่ได้ยึดอะไรทั้งนั้นเพราะจิตพอตัวแล้ว
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    นี่ละการประพฤติปฏิบัติ ขอให้ทุกท่านฟังให้ถึงใจ ได้พยายามเทศน์สอนมาโดยลำดับๆ ขอให้เห็นใจผู้แสดงด้วย การรับพระเณรจำนวนมากน้อยก็ได้พิจารณาเต็มหัวใจแล้ว ถึงได้รับขนาดเท่าที่เป็นมานี้ ถ้าเลยกว่านี้ก็ต้องแสดงผลให้เห็นอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน เพราะเชื่อความคิด เคยคิดอันใดไว้แล้วเป็นความถูกต้องเสมอ ไม่ใช่คุย ถ้ามากก็เฟ้อ แล้วก็เรๆ รวนๆ เหลวๆ ไหลๆ และก่อความวุ่นวายส่วนที่ดีให้เสียไปด้วย ไม่เพียงแต่เหลวไหลโดยลำพังตนเอง ยังเป็นการรกหูรกตารกจิตรกใจ กีดขวางเพื่อนฝูงไปอีก นั่น เป็นของดีเมื่อไร
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นทุกๆ องค์ที่มาบวชนี้ไม่ว่าจะมาจากสกุลใดชาติชั้นวรรณะใด ไม่สำคัญยิ่งกว่าความเป็นพระ ปฏิบัติให้ตรงแน่วตามหน้าที่ของพระ นี้เป็นหลักแห่งพระอันถูกต้องซึ่งจะอยู่ร่วมกันด้วยความผาสุกได้ ถ้าปลีกจากร่องรอยนี้แล้วเป็นเรื่องของโลกของสงสารหาประมาณไม่ได้ นั้นแลจะทำความกีดขวางกัน หาความสุขความสบายไม่ได้เลยเพราะมันร้าว จากร้าวก็แตก ถ้าเอาโลกเข้ามาแทรกเข้ามาแฝงต้องเป็นอย่างนี้ พระพุทธเจ้าจึงไม่มีชาติชั้นวรรณะ ผู้ใดมาบวชแล้วก็ทรงแสดงอรรถธรรมสั่งสอนอย่างเต็มภูมิของพระองค์ ให้ผู้นั้นปฏิบัติเต็มภูมิของพระของสมณะซึ่งเป็นศากยบุตร พุทธชิโนรสของพระพุทธเจ้า และได้ผลเป็นที่พอใจโดยทั่วกัน
    <o:p></o:p>
    สาวกของพระพุทธเจ้ามีกี่ประเภท มีทุกชาติชั้นวรรณะมาประพฤติปฏิบัติ ผู้ใดออกมา เช่น เป็นพระราชามหากษัตริย์เสด็จออกมาบวชแล้ว ก็มาเป็นคนขอทาน มาเป็นสมณะประเภทเดียวกัน ทำหน้าที่การงานโดยไม่ถือเนื้อถือตัว ว่าเคยมียศมีศักดิ์มาขนาดไหน อันนั้นมันสมมุติกันเฉยๆ ว่ายศอย่างนั้นยศอย่างนี้ ดูหัวใจนี่ หัวใจนี้ กิเลสมันไม่ได้ว่ายศว่าศักดิ์ไหนนะ มันเหยียบได้ทั้งนั้น ให้แก้ตัวมันเหยียบมันเป็นข้าศึกต่อเรานี้ด้วยธรรม เราจะมีความเป็นอิสระหรือเราจะมียศแห่งธรรมประดับใจ ยศแห่งธรรมประดับใจนี้เหนือยศอะไรทั้งสิ้นและกินไม่หมดด้วย ตายแล้วก็หายห่วง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่อาลัยเสียดาย ไม่ห่วงไม่หวงไม่กังวลใจ จึงขอให้พากันประพฤติปฏิบัติอย่านอนใจ<o:p></o:p>


    เอาละเอาแค่นี้
     
  18. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยอมตายกับความเพียร

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด



    เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑





    ยอมตายกับความเพียร

    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ความหลงอันนี้เป็นพื้นเพมาจากอวิชชาตัณหาความมืดบอด ฝังอยู่ภายในใจ หลักใหญ่ก็มีสาม ความโลภ ความโกรธ ความหลง ชื่อของกิเลสบาปธรรมเหล่านี้ มีอยู่ในคัมภีร์ศาสนา ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่นับพอประมาณ ในคัมภีร์มีแต่ชื่อของกิเลสของธรรมทั้งนั้น ตัวกิเลสและธรรมจริงๆ มีอยู่ภายในใจของสัตว์โลก ส่วนมากไม่ว่าท่านว่าเรา เวลาเรียนจำชื่อของกิเลสตัณหาและชื่อของอรรถของธรรมได้ก็เข้าใจว่า ตัวรู้ตัวฉลาด เป็นนักปราชญ์ขึ้นมาทั้งๆ ที่กิเลสไม่ได้เหือดแห้งไปสักตัวเดียว นอกจากเพิ่มขึ้นเพราะความสำคัญตน ในจิตใจร้อนยิ่งกว่าภูเขาไฟ การเรียนแบบนี้ท่านเรียกว่า “ความรู้ขุยไม้ไผ่” เพราะทำลายตัวเอง การเรียนเพื่อปฏิบัติตามที่เรียนรู้มา ได้มากน้อยย่อมเกิดประโยชน์ไปตามส่วน นี่เรียกว่าเรียนเป็นมงคลแก่ตนและเป็นมงคลแก่ผู้เกี่ยวข้องไม่มีประมาณ
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นคำว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ จึงต้องเป็นคู่เคียงกันเสมอไป ศาสนาถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นไปไม่ได้ ก็จะมีแต่ชื่อ ดังที่เขาเขียนจดหมายมาตอนหลังจากเขาได้อ่านประวัติท่านอาจารย์มั่น และปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่นแล้ว มีจำนวนมากที่เขียนมาคล้ายคลึงกันว่า หลังจากอ่านประวัติท่านอาจารย์มั่นและปฏิปทาสายลูกศิษย์ท่านจบลงแล้ว เหมือนเขาเกิดชาติใหม่ในชีวิตอัตภาพอันเดียวกันนี้ เขามีหวังเกี่ยวกับบุญกุศลมรรคผลนิพพาน ไม่เป็นความสุดๆ สิ้นๆ เหมือนแต่ก่อน เป็นความภูมิใจที่เกิดมาในแดนแห่งพระพุทธศาสนานี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมรรคผลนิพพาน
    <o:p></o:p>
    แต่ก่อนไม่เป็นอย่างนี้ มันคิดไปแบบลมๆ แล้งๆ ในลักษณะทำลายมรรคผลกุศลผลบุญที่ตนจะพึงได้รับ และอ่อนใจเหี่ยวแห้งใจจนกลายเป็นความหมดหวัง เพราะเห็นว่าศาสนามีแต่ตัวหนังสือ พระเณรมีแต่ผ้าเหลือง ซึ่งที่ไหนๆ ก็มีไม่อดอยาก สิ่งสำคัญก็คือ หาผู้จะทรงมรรคผลเพราะการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้าไม่มี ศาสนาจึงมีแต่ตัวหนังสือ ไม่มีใครปฏิบัติและทรงมรรคผลอันเป็นความจริงนั้นไว้
    <o:p></o:p>
    พอได้อ่านประวัติท่านอาจารย์มั่นและปฏิปทาของพระธุดงค์ฯจบลงแล้ว ผลที่ได้รับจากการอ่านประวัติท่านคือ การสร้างความหวังได้เต็มหัวใจ หัวใจเต็มตื้นไปด้วยศาสนา เต็มตื้นไปด้วยความหวังที่ไม่เป็นโมฆะ แม้จะไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน ก็พอใจในการบำเพ็ญความดีทุกอย่าง เขาว่าอย่างนี้
    <o:p></o:p>
    มีจำนวนมากที่เขียนจดหมายคล้ายคลึงกันส่งมา หลังจากได้รับหนังสือที่ทางวัดส่งไปให้แล้ว เขาว่าไม่นึกว่าจะมีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบดังที่เห็นในประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งมีเรื่องของท่านเองและมีเรื่องของลูกศิษย์ของท่านอยู่ในนั้นอย่างนี้เลย ตอนนี้ได้อ่านอย่างถึงใจแล้ว เต็มตื้นภายในหัวใจ เหมือนเกิดชาติใหม่ขึ้นมาในท่ามกลางแห่งชาติเก่าๆ ที่มีอยู่นี้ เขาพูดอย่างนี้ในจดหมาย
    <o:p></o:p>
    เพราะฉะนั้นเราผู้เป็นนักปฏิบัติ ขอให้ถือตามคำสัตย์คำจริงที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้แล้วอย่างใด ซึ่งมี สวากขาตธรรม เป็นเครื่องประกันคุณภาพความถูกต้องดีงามทุกอย่างไว้โดยสมบูรณ์แล้ว การแสดงออกให้โลกได้เห็นชัดก็คือ นิยยานิกธรรม ซึ่งออกไปจาก สวากขาตธรรม ที่ตรัสไว้ชอบแล้วนี้ ธรรมวินัยเป็นเครื่องนำออกซึ่งโทษทั้งหลาย ที่มีอยู่ภายในใจของสัตว์โลกผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมของพระองค์
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้นพระวาจาของพระพุทธเจ้า จึงเป็นพระวาจาที่มีสัตย์มีจริง มีฤทธาศักดานุภาพมากเหนือกิเลสทุกประเภท เมื่อได้นำพระโอวาทที่ทรงสั่งสอนไว้โดยถูกต้องนี้ไปประพฤติปฏิบัติ กิเลสตัณหาภายในใจต้องเบาบางลงไปตามกำลังแห่งการปฏิบัติของตนๆ และหมดสิ้นไปโดยไม่ต้องสงสัย เพราะอำนาจแห่งการปฏิบัติของผู้นั้นเต็มภูมิ<o:p></o:p>
     
  19. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยอมตายกับความเพียร

    ความจริงนี้เคยเป็นมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน และยังจะเป็นไปอีกเป็นเวลานาน จนกว่าจิตใจของสัตว์โลกจะหมดความเชื่อความเลื่อมใส หมดความใฝ่ใจในการปฏิบัติ หมดความเยื่อใย หมดความพึ่งพิงธรรมของพระพุทธเจ้า หันเหไปนอกลู่นอกทาง ไม่ถือธรรมเป็นหลักเป็นเกณฑ์แล้วนั้นแล ศาสนาจะหมดก็หมดตรงนั้น คือหมดโดยไม่มีสัตว์โลกรายใดสามารถจะนำไปประพฤติปฏิบัติได้ ไม่มีผู้สนใจเพราะจิตใจหยาบเกินกว่าจะสนใจในธรรมทั้งหลายแล้ว ที่พระองค์ว่าศาสนาที่ประทานไว้ห้าพันปีนั้น ก็ตามอุปนิสัยของสัตว์ จิตใจของโลกผู้ถือพุทธ ถือธรรม ถือสงฆ์นี้ จะมีไปได้เพียงแค่นั้น จากนั้นความรู้ความเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง จะเปลี่ยนแปลงไปจากหลักธรรม กลายเป็นโลกเป็นกิเลสล้วนๆ ไปหมด ศาสนาก็เป็นอันหมดทางช่วยเหลือได้อีก
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ในขณะที่จิตใจเปลี่ยนแปลงไปจากหลักธรรม ใจก็มีความพัวพันรักชอบไปในความสกปรกโสมมต่างๆ ไม่มีประมาณ นิสัยสันดานเปลี่ยนจากความเป็นมนุษยธรรมเป็น มนุสฺสติรจฺฉาโน ร่างกายเป็นมนุษย์แต่ใจกลายเป็นใจของสัตว์ติรัจฉานฉุดพาไปอย่างหมดหวัง นี่เรียก มิคสัญญี เมื่อไม่มีศาสนาแล้วก็เป็นเหมือนสัตว์ เพราะบาปไม่มีบุญไม่มีภายใน ความสะดุ้งต่อบาป ความยินดีในบุญกุศลก็ไม่มีในใจ กลายเป็นสัตว์ในร่างมนุษย์ไปอย่างไม่สะดุ้งสะเทือนใจใดๆ ทั้งสิ้น ใครมีอำนาจก็กดขี่ข่มเหงรีดไถกันกิน ฉีกกันกิน ถืองานเบียดเบียนทำลายกันเป็นอาชีพเหมือนสัตว์ป่า
    <o:p></o:p>
    ความไม่มีศาสนาคือศีลธรรมภายในจิตใจ มีโทษทัณฑ์ถึงขนาดนั้นแล จึงไม่ใช่ของดี เท่าที่โลกยังพออยู่ได้ไม่รุนแรงนัก แม้จะร้อนระอุอยู่แทบทุกแห่งทุกหนดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ ก็ยังพอมีที่ปลงวาง ยังพอมีที่สงบ ยังพอมีที่พักที่ปลงใจอยู่บ้าง เพราะจิตใจคนยังแสวงหาธรรมอยู่ มีธรรมเป็นเครื่องยับยั้งจิตใจ ไม่ผาดโผนโจนทะยานไปตามกระแสของโลกโดยถ่ายเดียว การแสดงออกของผู้เดือดร้อนยังหวังพึ่งธรรมอยู่ เช่นร้องขอความเป็นธรรม เป็นต้น จิตใจยังใฝ่ธรรม ยังหวังพึ่งธรรมอยู่ ผู้ที่จะวินิจฉัยไต่สวนให้ได้เหตุได้ผลเพื่อความเป็นธรรมก็ยังมีอยู่ ไม่ขาดสูญไปโดยถ่ายเดียว ธรรมยังเป็นหลักเป็นเกณฑ์ในหัวใจของโลกอยู่ โลกถึงแม้จะร้อนก็ยังมีที่เย็น ถ้าเป็นน้ำในมหาสมุทรก็ยังมีเกาะมีดอนพออยู่พออาศัยได้ ไม่เป็นน้ำไปเสียทั้งแผ่นดิน ผู้มีธรรมอยู่ก็ไม่ร้อนไปทุกหย่อมหญ้าเสียทีเดียว ยังพอมีธรรมเป็นที่หลบซ่อนผ่อนคลายได้ นี่เราพูดถึงภาคทั่วๆ ไป
    <o:p></o:p>
    จิตใจถ้าขณะใดโลกเข้าย่ำยี ขณะนั้นก็เดือดร้อนตั้งตัวไม่ได้ ระส่ำระสายวุ่นวายไปกับอารมณ์ต่างๆ เพราะไม่มีสติ อำนาจของสติปัญญาไม่พอ สู้กำลังของกิเลสที่ผลักดันจิตใจให้ฟุ้งซ่านไม่ได้ ความที่จิตจะฟุ้งซ่านไปนั้นก็เพราะอาศัยอารมณ์อดีตเป็นสำคัญ ไปได้เห็นไปได้ยินสิ่งใดแล้วนำเรื่องนั้นเข้ามาเป็นอารมณ์เผาตัวเอง เพราะจิตใจถือสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ ถือสิ่งนั้นเป็นงาน งานนั้นเป็นไฟ ผลของงานที่เป็นไฟก็เผาผลาญจิตใจให้เกิดความเดือดร้อน ขณะไม่มีสติย่อมเป็นอย่างนี้ด้วยกัน ไม่ว่าฆราวาส ไม่ว่านักบวช ไม่ว่านักปฏิบัติเรา
    <o:p></o:p>
    ฉะนั้น จงทำความสังเกตสอดรู้ตนอยู่เสมอ สมกับเราเป็นผู้รักษาเรา คือรักษาใจ อย่าให้สิ่งใดมาย่ำยีจิตใจได้ อย่าให้สิ่งใดมารบกวนจิตใจได้ คำว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้มารบกวนนั้นหมายถึง ใจไปคิดวาดภาพเอาสิ่งนั้นๆ มาครุ่นคิดอยู่ภายในใจ ทำให้ว้าวุ่นขุ่นมัวอยู่ภายใน ผลก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นความจริงที่ต้องยอมรับกัน<o:p></o:p>
     
  20. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,551
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,876
    ยอมตายกับความเพียร

    เมื่อมีสติปัญญาคอยกำกับรักษา คอยขัดคอยขืนคอยต้านทานกันอยู่เสมอ ใจย่อมปลอดภัยไร้ทุกข์ เพราะมีพี่เลี้ยง คือสติปัญญาตามรักษา ปกติเราก็ทราบแล้วว่า อารมณ์เช่นนั้นเป็นสิ่งไม่ดี ให้ผลเป็นพิษเมื่อสัมผัสสัมพันธ์กันอยู่บ่อยๆ จึงต้องอาศัยการรักษา การกีดกัน การต้านทาน การต่อสู้กันเรื่อยๆ คำว่าปะทะกันนั้น คือมีการต่อสู้จึงมีการปะทะ หากจิตใจของเราเลื่อนลอย สติไม่มี ปัญญาซึ่งเป็นศาสตราอาวุธอันสำคัญไม่มี คำว่าปะทะก็ไม่ปรากฏ นอกจากหมอบราบเรียบไปเลยเท่านั้น ถ้ายังมีปะทะก็ยังมีการต่อสู้กัน ทั้งเขาทั้งเราต่อสู้กัน เช่น ปะทะผู้ก่อการร้ายเป็นต้น เรียกว่า สู้กัน ต่างคนต่างสู้กัน ย่อมมีทางแพ้ทางชนะได้ แต่นักปฏิบัติธรรมไม่ควรให้มีคำว่า “สู้ไม่ได้หรือแพ้กิเลส” นอกจากชนะไปเป็นพักๆ ตอนๆ เพื่อก้าวเข้าสู่แดนชนะโดยสิ้นเชิงเท่านั้น
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    กิเลสที่เกิดขึ้นภายในจิตใจและมีอยู่ภายในใจ ไม่ว่าจะเป็นความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะตัณหาประเภทใดๆ ทั้งปู่ย่าตายายของกิเลส ทั้งพ่อแม่ของกิเลส ทั้งลูกเต้าเหล่ากอของกิเลส มันเป็นข้าศึกทั้งนั้น เมื่อเข้ามาเกี่ยวข้องพัวพันกับใจ ใจที่มีสติก็ต่อสู้ต้านทานซึ่งกันและกัน จนเอาชัยชนะหรืออย่างน้อยก็สงบกันลงได้เป็นพักๆ หากยังไม่ชนะก็พอมีทางจับเงื่อนนั้นแง่นี้ของกิเลสได้ พอทรงตัวอยู่ได้ด้วยสติปัญญา ศรัทธา ความเพียรของตน
    <o:p></o:p>
    ระหว่างใจกับอารมณ์สัมผัสสัมพันธ์กันอยู่เรื่อยๆ ถ้ามีสติก็รู้เรื่องกันไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีสติ ใจก็เป็นเขียงเช็ดเท้าให้กิเลสเหยียบย่ำทำลายเอา ซึ่งไม่สมควรแก่ผู้ปฏิบัติอย่างยิ่ง ฉะนั้นการต่อสู้กับกิเลสประเภทต่างๆ ต้องเอาจริงเอาจังตลอดไป เช่นเดียวกับนักมวยชกต่อยกันบนเวที ซึ่งต่างฝ่ายต่างฟัดกันจนสุดเหวี่ยง อ่อนข้อย่อหย่อนไม่ได้ ต้องแพ้หรือถูกน็อกไม่สงสัย
    <o:p></o:p>
    เราเป็นนักต่อสู้เพื่อกู้วิวัฏฏะ จึงขอให้เคารพพระพุทธเจ้า เชื่อฟังพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อย่างถึงใจ เช่นเดียวกับนักมวยเชื่อครู อย่าเชื่อสิ่งใดยิ่งกว่าพุทธ ธรรม สงฆ์ เพราะในขณะเดียวกันนั้นมันมีสิ่งซึมซาบอยู่ภายในใจและแทรกซ้อนกันอยู่กับธรรม ส่วนมากพวกนั้นมักมีกำลังมากกว่าเสมอที่คอยทำลายให้เอนให้เอียง ดีไม่ดีล้มเหลวโดยไม่รู้สึกว่าได้เอนเอียงหรือล้มเหลวไป ทั้งๆ ที่อีแร้งอีกาบินตอมเพื่อ กุสลา มาติกา อยู่รอบตัวแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีสติ ถ้ามีสติบ้างหรือมีสติสัมปชัญญะติดตัว ก็พอฟัดพอเหวี่ยงกันไป
    <o:p></o:p>
    จงยึดความลำบากของพระพุทธเจ้านำมาเป็นสักขีพยานแก่ตนเอง การประพฤติปฏิบัติธรรมของพระองค์รู้สึกว่าหนักมากยิ่งกว่าพวกเราเป็นไหนๆ ดังที่เคยอธิบายให้ฟังหลายครั้งแล้ว เพราะความเป็นสัพพัญญู เป็นสยัมภู ทรงปฏิบัติโดยลำพังพระองค์เอง บรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างนั้น ผู้ที่จะบุกเบิกทางเดินให้สัตว์ทั้งหลายไปด้วยความราบรื่นปลอดภัย ในขั้นต้นแห่งการบุกเบิกเพื่อความเป็นศาสดาและนำธรรมมาสอนโลก เป็นความลำบากขนาดไหน เพราะทางไม่เคยเดิน การจะเป็น สยัมภูก็ต้องปฏิบัติโดยลำพังพระองค์เองแบบ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โดยแท้ ไม่หวังพึ่งใคร
    <o:p></o:p>
    สุขทุกข์ลำบากลำบนแค่ไหนก็ต้องทน และทรงบำเพ็ญไม่ลดละท้อถอย ดังที่ทราบกันว่าทุกข์ถึงขั้นสลบไสลจนถึงสามครั้ง ไม่ใช่เพียงครั้งหนึ่งครั้งเดียวเสียด้วย สมมุติว่าให้พวกเราองค์หนึ่งองค์ใดสลบเพราะความเพียรกล้าดังพระองค์ในขณะนี้ จะพอมีองค์ใดกล้ารับไหม ขอตอบแทนได้เลยว่า จ้างๆๆ ก็ไม่มีใครกล้ารับ แต่จะได้ยินเสียงไม่เป็นท่าดังขึ้นทันทีว่า ยอมแล้วๆ หมอบราบแล้วๆ ถ้าจะให้สลบแบบพระพุทธเจ้าละก็ จะขอวิงวอนให้กิเลสทั้งมวลนับแต่ปู่ย่าตายายลงไปถึงเหลนตัวเล็กๆ แดงๆ ของกิเลสมา กุสลา มาติกา เอาไปเป็นทาสเช็ดมูตรเช็ดคูถให้มันยังจะเบากว่าการสลบเป็นไหนๆ ต๊าย ตาย ไม่เอาๆ ถอยพวกเราถอย วิ่งพวกเราวิ่ง ถ้าลงเป็นแบบนี้ นี่คือเสียงอุทานของพวกเราจะโผล่ขึ้นในท่ามกลางที่ประชุมเวลานี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...