เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    "นาฬิกาหนี้สาธารณะของสหรัฐ" / US National Debt Clock


    <!-- start zFacts Debt Gizmo --><TABLE id=zDebtBox cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><SCRIPT src="http://www.zfacts.com/giz/G05/debt.js" type=text/javascript></SCRIPT><STYLE type=text/css><!-- #zDebtBox td { padding: 2px 2px 2px 2px; } #zDebtBox { font-family:arial;} #zDebtBox { border: 1px solid #CCC;} #zDebtBox a { color:inherit; text-decoration:none; } #zDebtBox a:link {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox a:visited {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox td {text-align:center;}--></STYLE><IFRAME id=zDebtFrame name=zDebtFrame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://zfacts.com/giz/G05/debt.html?zOops=1" frameBorder=0 width=140 scrolling=no height=18 allowTransparency></IFRAME></TD></TR><TR><TD>The Gross National Debt</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <!-- end gizmo --><!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    Glen Beck Show (Nov 4th, 2010),.......The Coming Hyper-Inflation

    ผมสังเกตุเห็นเพื่อนๆ หลายท่านในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาให้เกียรติเข้ามาอ่านบล๊อกข่าวสารประหลาดๆ เล็กๆแห่งนี้ครับ ผมขอส่งข่าวสารนี้ไปถึงท่านโดยตรง เพราะเวลาใกล้เข้ามามากแล้วครับ ถ้าท่านติดตามข่าวสารที่เป็นจริง(ที่ไม่ใช่ในจอทีวี ที่เราได้รู้เท่าที่เค้าต้องการให้รู้) ไม่ว่าจะเป็นจากบล๊อกนี้หรือที่ไหนๆ

    FED ประกาศ QE2 ออกมาแล้ว เรื่องนี้ "ซีเรียส" ครับ เพราะจะกระทบกับชีวิตและความเป็นอยู่ของท่านโดยตรงและอย่างสิ้นเชิง เพราะหมายถึงการคลัง (Treasury) ของเค้ามีเงินไม่พอ ที่จะ Service หรือหมุนทบ รวมทั้งจ่ายดอกเบี้ยหนี้สินที่ล้นพ้นตัวอยู่ขณะนี้ หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือออกอาการและประกาศถึงการ "ถังแตก" แล้ว โดยปริมาณผู้ที่จะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมีน้อยกว่าพันธบัตรที่เค้าจะออกมาขาย หรือขายพันธบัตรได้น้อยกว่าเงินที่เค้าต้องการเอาไปหมุนเวียนในระบบ เพื่อโป๊ะงบประมาณรายจ่ายต่างๆ รวมทั้งดอกเบี้ยที่พอกพูนขึ้นทุกวัน

    FED จึงต้องทำ Quantitative Easing II หรือพิมพ์เงินออกมาจากอากาศเพื่อเข้าไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลซะเอง เพื่อสร้างภาพให้เห็นว่ายังมีผู้ซื้อพันธบัตรอยู่ เพื่อที่จะไม่ต้องขึ้นหรือเพื่อกดอัตราดอกเบี้ย หรือ Yield ของพันธบัตรนั้นไว้ให้อยู่ในระดับต่ำติดดินคือที่ 0%-0.25% ต่อไปได้ครับ ไม่มีทางอื่นใดอีกแล้วหรือ??? มีครับ อีกทางก็คือ "ชักดาบ" คือเบี้ยวหนี้ที่กู้ยืมจากประเทศต่างๆไปเลย ซึ่งเค้าคงไม่เลือกทางนี้ครับ

    เพราะถ้าต้องจ่าย Yield หรือผลตอบแทนของพันธบัตรมากขึ้นก็หมายถึงต้นทุนการกู้ยืมเงินสูงขึ้น ผลที่จะตามมาก็คือ 1.เกิดความไม่เชื่อมั่นในตลาดพันธบัตรเจ้าหนี้พาลจะไม่ให้กู้เพิ่มก็ต้องขี้นดอกเบี้ยเพื่อเรียกลูกค้า และ 2.ดอกเบี้ยในประเทศต้องขยับตามต้นทุนของเงินที่เกิดขึ้น อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในยุโรป ณ ขณะนี้ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจทรุดหนักลงอย่างรวดเร็วเข้าขั้นโคม่ายกกำลัง 2 ครับ เพราะเงินจะตึงตัว ....หรือพูดง่ายๆ คือ "เจ๊งระนาว" จากสภาพที่ "เจ๊งโดยรวม" อยู่ในขณะนี้

    ตัวอย่างง่ายๆ คือการที่ประเทศไทยเพิ่งจะกู้เงินเพิ่มหลายแสนล้านบาทเพื่อเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา จุดประสงค์เดียวกันครับคือเพื่อปล่อยเงินลงมาในระบบเศรษฐกิจทำให้เกิดการหมุนเวียน จับจ่ายใช้สอย ตามกลไกของเศรฐกิจ ก็คือเงินเยอะขึ้นดอกเบี้ยจะถูกลง เงินหมุนมากขึ้น หลักการง่ายๆ ครับ แต่......การที่เราจะทำอย่างนั้นได้ต้องร่างกฏหมาย ประชุมสภา ร่างกฏหมายต้องผ่านสภาเพื่อขอกู้เงินจากต่างประเทศ เถียงกันหลายวันหลายคืน เพื่อจะไปเอาเงินกู้เข้ามาก่อนแล้วพิมพ์เงินบาทออกมาสู่ระบบ นี่คือระบบครับ

    แต่การทำ QE II ของสหรัฐในครั้งนี้ คือการที่ FED พิมพ์เงินออกมาจากอากาศโดยไม่มีทองคำ วัตถุธาตุหรือเงินสกุลใดๆ เข้ามาเป็นทุนสำรอง แล้วเอาไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ โดยรัฐบาลจะต้องใช้คืน FED พร้อมด้วยดอกเบี้ยครับ แล้วดอกเบี้ยนั้นก็มาจากเงินภาษีของประชาชนนั่นเอง แล้วรัฐบาลก็นำกระดาษที่เรียกว่าเงินนั้นไปใช้จ่ายในด้านต่างๆ และผลของมันก็จะทำให้เงินเงินดอลล่าที่ล้นโลกอยู่แล้วเพิ่มปริมาณ หรือเฟ้อมากขึ้นนั่นเอง ส่งผลให้กำลังซื้อของเงินดอลล่าที่ค้างอยู่ในตลาด dilute หรือเจือจาง หรืออ่อนค่าลงในที่สุด ด้วยขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก การที่จะ Jump Start หรือกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาได้จึงต้องการเงินทุนปริมาณมหาศาล ซึ่งเป็นการยากที่จะกู้ยืมเงินจากประเทศที่มีเศรษฐกิจที่เล็กกว่ามากระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่ขนาดนั้นได้ครับ

    การ Dilute หรืออ่อนกำลังซื้อลงของเงินดอลล่าลงนี่เองที่เป็นสาเหตุของเงินเฟ้อ คือต้องใช้หน่วยของเงินมากขึ้นในการซื้อหรือนำเข้าสินค้าและนี่คือวาไรตี้เชิงข่าวสาร โดยเกลน เบ๊ค (Glen Beck) ที่ออกอากาศทางช่อง Fuxs News (Foxs News) ตอนนี้น่าสนใจมากครับ ในคลิปที่ 1 จะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้วในสหรัฐอเมริกา โดยราคาสินค้า อาหารหรือวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารหลายรายการได้ปรับตัวขึ้นแล้วตั้งแต่ 21%-106% และคงจะพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะต้องนำเข้าซะ 80% มีเพียง 20% เท่านั้นที่ผลิตได้เองในประเทศ

    ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในสหรัฐบางส่วนที่ี่พุ่งขึ้นไปแล้วตามอัตราเงินเฟ้อ เป็นข้อมูลราคาที่สำรวจในช่วง Spring หรือฤดูใบไม้ผลิปีของ 2010 จนถึงเวลานี้ คือ

    1.ข้าวโพด ราคาปรับตัวขึ้น 71%
    2.น้ำมันพืช ราคาปรับตัวขึ้น 24%
    3.ข้าวโอ๊ต ราคาปรับตัวขึ้น 106%
    4.Wheat ราคาปรับตัวขึ้น 67%
    5.ถั่วเหลือง ราคาปรับตัวขึ้น 44%
    6.แร่ทองแดง ราคาปรับตัวขึ้น 47%
    7.แร่ทองคำ ราคาปรับตัวขึ้น 21%
    8.แร่เงิน ราคาปรับตัวขึ้น 48%

    คาดการณ์กันว่าในอีก 2-5 ปีข้างหน้า หรือประมาณปี 2012-2015 คนอเมริกันชั้นกลางโดยรวมจะต้องอยู่ในสภาวะอดอยาก ขาดแคลนอาหาร และล้มตายลงเนื่องจากไม่มีเงินพอในการซื้ออาหารครับ ไม่ได้หมายความว่าไม่มีสต๊อคอาหารเหลือในประเทศนะครับ แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่กำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วยังมาซ้ำด้วยการพิมพ์เงินเพิ่มของ FED จะทำให้สถานะการณ์เงินเฟ้อรุนแรงขึ้นเรื่อยๆและอย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นที่เกิดสภาวะ "Hyper-Inflation" หรือสภาวะเงินเฟ้อยิ่งยวดนั่นเอง ยิ่งเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมากเท่าไหร่ราคาพลังงานและสินค้าต่างก็จะยิ่ง "พุ่ง" สูงขึ้นเท่านั้นครับ

    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/s2t5YSl44dU?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x5d1719&color2=0xcd311b width=560 height=340 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/YNF3PxXAvFU?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x5d1719&color2=0xcd311b width=560 height=340 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>


    <EMBED src=http://www.youtube.com/v/9j8BGB_j7eI?fs=1&hl=en_US&rel=0&color1=0x5d1719&color2=0xcd311b width=560 height=340 type=application/x-shockwave-flash allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></EMBED>




    อย่าพลาดครับ เพราะสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤตแล้วครับ ก่อนจะถึง "ฟางแส้นสุดท้าย" คือทุกประเทศต่างๆ ที่เป็นเจ้าหนี้ โดยเฉพาะจีนประกาศ "NO MORE BOND" หรือประกาศหยุดซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ "ทุกวินาที" ต่อจากนี้ไป แล้วสิ่งที่จะตามมาก็คือการ "ล่มสลาย" ของทุกภาคส่วนของสหรัฐในลักษณะโดมิโน่ อย่างที่ผมทุ่มเทเวลาเขียนมา 1 ปีกว่าก็จะเกิดขึ้นทันที และเป็นไปตามนั้นครับ

    ผมขอเป็นกำลังใจและไม่ปราถนาให้สิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นครับ แต่ในเมื่อ MSM หรือสื่อกระแสหลักเริ่มเอาเรื่องเหล่านี้มาพูดคุยกันทางจอทีวี มันเป็น "สัญญาน" เหมือนเป็นการบอกล่วงหน้าครับ และคนที่ "รู้ เข้าใจ และตื่นแล้ว" บางส่วนก็เตรียมพร้อมโดยการตุนอาหารและน้ำดื่มไว้อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อรอรับสถานการณ์ คนที่มีฐานะก็โยกย้ายออกไปแคริเบียน ลาตินอเมริกาและเอเซีย (ผมจึงกลับมานั่งพิมพ์อยู่ที่นี่ไงครับ)

    ผมขอแนะนำให้ติดตามข่าวสาร(ตามเวบไซท์ไม่ใช่ในทีวี)อย่างใกล้ชิดครับ ช่องกีฬา อเมริกันไอดอล celebrity และหนังต่างๆ หมดเวลาแล้วครับ ลองดูและย้อนดูรายการของ "เกลน เบ๊ค (Glen Beck)" หลายๆตอนในช่วงนี้ในประเด็นนี้ (เปิดอินเตอร์เนต ดูแล้วทำความเข้าใจหลายๆรอบครับ แล้วเอาข้อมูลที่ผมเขียนไว้ให้ในบล๊อกนี้ประกอบ จะเห็นทุกอย่างได้อย่างชัดเจน) เค้าส่ง "สัญญาน" อะไรหลายๆ อย่างออกมาที่ผมฟังแล้วยัง "สยอง" (ถ้าเข้าใจว่าเค้าบอกอะไร)

    ผมก็บอกไม่ได้ครับว่ามีเวลาอีกนานเท่าไหร่ เพราะสหรัฐและ FED เร่งทุบดอลล่าในขณะที่ชาติเจ้าหนี้และชาติส่งออกยื้อด้วยสารพัดวิธีไม่ให้ดอลล่าอ่อนแล้วเงินตัวเองจะแข็งเกินไปจนกระทบการส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมในที่สุด (Currency War) ซึ่งถ้ายื้อกันไปอย่างนี้ ฝั่งสหรัฐและ FED อาจจะตัดสินใจ "เชคบิล" ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง มันมีอะไรที่ "ชั่วร้ายและสกปรก" ที่พวกเรามองไม่เห็นอีกมาก เป็นการยากที่อย่างเราๆท่านๆจะตามทันเกมส์ของพวกเค้าครับ

    ผมจะโพสต์เกี่ยวกับประเด็นนี้อีก 1-2 ตอนครับ คือเรื่อง "Crash of the Dollar" และ "ฟางเส้นสุดท้าย...15 วันสู่การการจัดระเบียบโลกใหม่" ดูแล้วอ่านแล้วอาจจะต้องเครียดซักหน่อย แต่ข้อมูลเหล่านี้จะบอกให้เรารู้ว่าเราต้องเคลื่อนไหว ทำอะไรหรือชิ่งออกนอกประเทศจังหวะไหนในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น จะรวยหรือจะหมดตัว จะอยู่หรือจะไปวัดกันในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ครับแหละครับ ขอพระเจ้าคุ้มครองทุกท่านครับ

    <STYLE type=text/css><!-- #zDebtBox td { padding: 2px 2px 2px 2px; } #zDebtBox { font-family:arial;} #zDebtBox { border: 1px solid #CCC;} #zDebtBox a { color:inherit; text-decoration:none; } #zDebtBox a:link {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox a:visited {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox td {text-align:center;}--></STYLE><IFRAME id=zDebtFrame name=zDebtFrame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://zfacts.com/giz/G05/debt.html?zWidth=140&zHeight=18&zSpeed=8&zFontSize=14&zFontColor=red&zBorderColor=%23CCC&zBackColor=&" frameBorder=0 width=140 scrolling=no height=18 allowTransparency></IFRAME>
    <STYLE type=text/css><!-- #zDebtBox td { padding: 2px 2px 2px 2px; } #zDebtBox { font-family:arial;} #zDebtBox { border: 1px solid #CCC;} #zDebtBox a { color:inherit; text-decoration:none; } #zDebtBox a:link {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox a:visited {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox td {text-align:center;}--></STYLE><IFRAME id=zDebtFrame name=zDebtFrame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://zfacts.com/giz/G05/debt.html?zWidth=140&zHeight=18&zSpeed=8&zFontSize=14&zFontColor=red&zBorderColor=%23CCC&zBackColor=&" frameBorder=0 width=140 scrolling=no height=18 allowTransparency></IFRAME>
    <STYLE type=text/css><!-- #zDebtBox td { padding: 2px 2px 2px 2px; } #zDebtBox { font-family:arial;} #zDebtBox { border: 1px solid #CCC;} #zDebtBox a { color:inherit; text-decoration:none; } #zDebtBox a:link {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox a:visited {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox td {text-align:center;}--></STYLE><IFRAME id=zDebtFrame name=zDebtFrame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://zfacts.com/giz/G05/debt.html?zWidth=140&zHeight=18&zSpeed=8&zFontSize=14&zFontColor=red&zBorderColor=%23CCC&zBackColor=&" frameBorder=0 width=140 scrolling=no height=18 allowTransparency></IFRAME>
    <STYLE type=text/css><!-- #zDebtBox td { padding: 2px 2px 2px 2px; } #zDebtBox { font-family:arial;} #zDebtBox { border: 1px solid #CCC;} #zDebtBox a { color:inherit; text-decoration:none; } #zDebtBox a:link {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox a:visited {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox td {text-align:center;}--></STYLE><IFRAME id=zDebtFrame name=zDebtFrame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://zfacts.com/giz/G05/debt.html?zWidth=140&zHeight=18&zSpeed=8&zFontSize=14&zFontColor=red&zBorderColor=%23CCC&zBackColor=&" frameBorder=0 width=140 scrolling=no height=18 allowTransparency></IFRAME>
    <STYLE type=text/css><!-- #zDebtBox td { padding: 2px 2px 2px 2px; } #zDebtBox { font-family:arial;} #zDebtBox { border: 1px solid #CCC;} #zDebtBox a { color:inherit; text-decoration:none; } #zDebtBox a:link {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox a:visited {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox td {text-align:center;}--></STYLE><IFRAME id=zDebtFrame name=zDebtFrame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://zfacts.com/giz/G05/debt.html?zWidth=140&zHeight=18&zSpeed=8&zFontSize=14&zFontColor=red&zBorderColor=%23CCC&zBackColor=&" frameBorder=0 width=140 scrolling=no height=18 allowTransparency></IFRAME>
    <STYLE type=text/css><!-- #zDebtBox td { padding: 2px 2px 2px 2px; } #zDebtBox { font-family:arial;} #zDebtBox { border: 1px solid #CCC;} #zDebtBox a { color:inherit; text-decoration:none; } #zDebtBox a:link {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox a:visited {text-decoration:none; color: inherit;} #zDebtBox td {text-align:center;}--></STYLE><IFRAME id=zDebtFrame name=zDebtFrame marginWidth=0 marginHeight=0 src="http://zfacts.com/giz/G05/debt.html?zWidth=140&zHeight=18&zSpeed=8&zFontSize=14&zFontColor=red&zBorderColor=%23CCC&zBackColor=&" frameBorder=0 width=140 scrolling=no height=18 allowTransparency></IFRAME>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 กุมภาพันธ์ 2011
  2. a-pin-ya

    a-pin-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    314
    ค่าพลัง:
    +672
    กรรม ทันตา เห็น
    ทำลายเศรฐกิจไทย แผ่นดินพระโพธิสัตว์ ให้ย่อยยับ ไปเมื่อปี ๒๕๔๐
    คิดว่าจะแน่ ที่ไหนได้ ปี ๒๕๕๐ เศรฐกิจ USA เริ่มที่จะวิกฤติยิ่งกว่า..

    ทีนี้..เชื่อหรือยังว่า..เศรษฐกิจพอเพียง ดีที่สุด
    ผลิตเพื่อใช้ตามความจำเป็น ไม่ขูดรีดแรงงาน
    ไม่ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง ไม่ค้ากำไรเกินควร

    เศรษฐกิจทุนนิยม..แข่งกันขุดเอาทรัพยากร มาผลิต
    ด้วยการสร้างอุปสงค์อันฟุ่มเฟือยเกินความจำเปน blue ocean
    ของเก่ายังใช้งานได้ดี ไม่ถึงปีก็ ออกของใหม่มาแทน
    ของเก่าเลย กลายเปนขยะล้นโลก
    จากนั้นไม่นาน มีการต่อสู้ห้ำหั่นกันบนสมรภูมิ red ocean
    สุดท้ายตายเรียบ ธรรมชาติก็ตาย มนุษยชาติก็ตาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2010
  3. kamoochi

    kamoochi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +326
    การเงินประเทศนั้นที่ว่าแย่นี่ กลัวมันจะเอามาเป็นสาเหตุให้ไปรุกรานพลโลกน่ะสิ - -"
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    <!-- IE6 -->

    Nov 9 2010, 8:22 AM
    yim (guest): http://www.marketoracle.co<WBR>.uk/<WBR>Article24107.html


    Nov 9 2010, 8:22 AM
    yim (guest): http://www.marketoracle.co<WBR>.uk/<WBR>Article24102.html


    Nov 9 2010, 8:23 AM
    yim (guest): http://www.marketoracle.co<WBR>.uk/<WBR>Article24101.html

    Nov 9 2010, 8:23 AM
    yim (guest): http://www.marketoracle.co<WBR>.uk/<WBR>Article24085.html


    Nov 9 2010, 1:51 PM
    Vince (guest): ตอบคุณ maalaachi ผมไม่ทราบได้เหมือนกันครับ แต่ถ้าเป็นไปตามกลไกที่มีอ<WBR>ยู่แต่เดิม ท้ายๆปีทองมักจะลงพักฐานแล<WBR>้วขึ้นรอรับเทศกาลตรุษจีนห<WBR>น่ะครับ ตอนนี้สถานการณ์เป็นบวกกับ<WBR>ทองแทบทั้งสิ้น บวกกับตอนนี้ยุโรปก็เริ่มม<WBR>ีกลิ่นตุๆอีกแล้วครับ ถ้าจะซื้อของถูกอาจต้องไปล<WBR>ุ้นถึงใกล้จะสิ้นปีครับ

    Nov 9 2010, 10:41 PM
    Guest427 (guest): Test


    Nov 10 2010, 1:36 AM
    Vince (guest): ครับ คุณจิมมี่ก็ได้ยืนยันไปแล้<WBR>ว แล้วภาพของทองก็ปรากฏชัดเจ<WBR>นขึ้นเรื่อยๆแล้วนะครับ ผมก็เห็นภาพนี้เช่นเดียวกั<WBR>น แต่ในใจลึกๆอยากให้ลงอีกสั<WBR>กรอบ เพราะที่บ้านผมปล่อยของไปเ<WBR>กือบหมดแล้ว แต่ส่วนตัวผมเองกำแน่นเลยค<WBR>รับ ก็อยากให้ทุกคนในที่นี้ได้<WBR>มีโอกาสซื้อของถูกก่อนที่อ<WBR>ะไรแย่ๆจะเกิดขึ้น ถึงชั่วโมงนั้นคงไม่มีโอกา<WBR>สอีกแล้ว

    Nov 10 2010, 6:59 AM
    yim (guest): http://www.marketoracle.co<WBR>.uk/<WBR>Article24141.html

    Nov 10 2010, 10:28 AM
    JimmySiri: บริษัทจัดอันดับความน่าเชื<WBR>่อถือของจีนลดอันดับความน่<WBR>าเชื่อถือของประเทศสหรัฐลง<WBR>จาก AA เหลือ A+<WBR>

    Nov 10 2010, 10:30 AM
    JimmySiri: ทางการจีนเริ่มออกมาตรการค<WBR>วบคุมเงินไหลเข้าประเทศแล้<WBR>ว แล้วเปลี่ยนแปลงกฏเกณฑ์บาง<WBR>ประการในเรื่องอัตราแลกเปล<WBR>ี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ที่มา:<WBR>RTR

    Nov 10 2010, 10:33 AM
    JimmySiri: มีความเป็นไปได้สูงมากที่ EU จะประกาศ QE2 ในลักษณะเดียวกันกับสหรัฐใ<WBR>นเร็วๆ นี้ เนื่องจากปัญหาหนี้ ต้องดักข่าวก่อนครับถ้ารอป<WBR>ระกาศแล้วหรือแค่มีกระแสข่<WBR>าวออกมาทองคำจะวิ่งนำไปรอแ<WBR>ล้วครับ อย่างเช่นของ FED ในช่วงที่ผ่านมา

    Nov 10 2010, 10:35 AM
    JimmySiri: บริษัทจัดอันดับความน่าเชื<WBR>่อถือของจีนลดอันดับความน่<WBR>าเชื่อถือของประเทศในกลุ่ม EU ลงอีกหลายประเทศ เมื่อจีนขยับเอาคืนบ้างผลจ<WBR>ะออกมาเป็นอย่างไร ติดตามตอนต่อไปครับ

    Nov 10 2010, 10:37 AM
    JimmySiri: ไอร์แลนด์และโปรตุเกสออกอา<WBR>การในลักษณะเดียวกับกรีซแล<WBR>้ว อาจจะต้องขอรับความช่วยเหล<WBR>ือจาก ECB อีกแล้วววว

    Nov 10 2010, 10:39 AM
    JimmySiri: ประธานธนาคารโลกออกมาอีกแล<WBR>้วครับ เรียกร้องให้มี New World Currency โดยให้มีทองคำเป็นตัวหนุนส<WBR>กุลเงินใหม่นี้ ที่มา:<WBR>Kitco

    Nov 11 2010, 9:46 AM
    JimmySiri: ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2010 นี้ "<WBR>FED"<WBR> จะกลายเป็นผู้ที่ถือครองพั<WBR>นธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากที่สุ<WBR>ดเป็นอันดับ 1 ของโลก แทนที่จีนครับ

    Nov 11 2010, 9:49 AM
    JimmySiri: หากตัวเลข GDP ของจีนยังคงสูงอยู่ในอัตรา 8%<WBR>-<WBR>9%<WBR> จะทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนา<WBR>จทางเศรษฐกิจคือมีขนาดเศรษ<WBR>ฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันด<WBR>ับ 1 ของโลก แทนที่สหรัฐภายในปี 2012 นี้ ซึ่งเร็วกว่าที่นักเศรษฐศา<WBR>สตร์คาดการณ์กันไว้ว่าจะต้<WBR>องใช้เวลาถึง 10 ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤศจิกายน 2010
  5. mummamman

    mummamman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,598
    ค่าพลัง:
    +2,116
    กลัวเมกาจะล้มโต๊ะเป็นที่มาของสงครามโลกครั้งที่ 3 จัง

    เพราะจะได้ไม่เจ็บปวดฝ่ายเดียว
     
  6. fernezzo

    fernezzo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +616
    ดู skyLine มันส์มาก :cool:
     
  7. fernezzo

    fernezzo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +616
    ดู skyLine มันส์มาก :cool:
     
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    เกิดอะไรขึ้นหลังจากเศรษฐกิจสหรัฐล้มคว่ำลงตอน1930's สงครามโลกครั้งที่2ไงครับ
    รอรับกับ3วิกฤต
    เศรษฐกิจโลกล่มสลาย
    ภัยธรรมชาติต่างๆเป็นเหตุให้เกิดทุกขภิกภัย ผู้คนอดอยากล้มตาย โรคระบาดเพราะขาดอาหารและสุขอนามัยในประเทศโลกที่3
    สงครามโลกครั้งที่3 ระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออก
    เราได้เห็นสงครามโลกแน่ๆไม่เกิน5ปีนับจากนี้
    แต่ไม่ต้องกลัว เพราะเราไม่มีความสามารถไปรบกับใคร จึงแค่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศมหาอำนาจที่ผลัดกันมาชำเราประเทศเรา โดยจะเอาอาหารของเราไปเป็นเสบียง
    และจะเอาผู้หญิงของเราไปบำเรอกามเหมือนญี่ปุ่นทำกับเกาหลีและจีนช่วง1930-1945
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +3,882
    The United States Bullion Depository holds about 4,603 tons (4,176 metric tonnes) of gold bullion (147.4 million troy ounces<SUP id=cite_ref-mintsite_0-0 class=reference>[1]</SUP>). It is second in the United States only to the Federal Reserve Bank of New York's underground vault in Manhattan, which holds about 5,000 metric tonnes of gold in trust for many foreign nations, central banks and official international organizations.
    All of the gold in the depository, if pure, could form a cube 19.7 feet (6 m) on a side—a volume of 216 m³. In comparison, all the gold ever mined in the world would form a cube 64.3 feet (19.6 m) on a side, with a volume of approximately 7500 m³.<SUP id=cite_ref-4 class=reference>[5]</SUP>
    The United States holds more gold bullion than any other country, with about 2.39 times that of the next leading country, Germany.
    หากเศรษฐกิจโลกดำดิ่งลงอย่างโงหัวไม่ขึ้นจากการล่มสลายของระบบปริวรรตเงินตราของโลกที่มีUS.currencyเป็นฐาน
    จะมีความพยายามใช้นำมาตราฐานทองคำกลับมาใช้อีก
    เพียงแต่ทองที่มีอยู่ในโลกทั้งหมดนี้มีน้อยกว่าปริมาณเงินที่ใช้หมุนเวียนอยู่บนโลกทั้งหมด
    ประเทศตะวันตกจะทำอย่างไร
    คำตอบคือจับโลกเป็นตัวประกันโดยการทำสงครามเข่นฆ่า
    ให้เศรษฐกิจโลกกลับไปเป็นเหมือนเดิม
    resizing ปรับขนาดใหม่โดยลดจำนวนประชากรลง
    ลดenterpriseและmulti-national Inc ต่างๆที่เป็นคู่แข่งเพราะถูกทำลายด้วยสงคราม
    กลับไปศึกษาสงครามโลกที่ผ่านมา2ครั้งให้ดี
    เรากำลังกลับไปสู่ภาวะนั้นอีกครั้ง
     
  10. pipe001

    pipe001 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2010
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +10
    คงหมดยุคการใช้ทหาร รถถัง แล้วครับ ต่อไปจะใช้นิวเคลียร์กันแล้ว ลูกเดียวทั้งประเทศ และเป็นสงครามแห่งเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหตุการณ์คงไม่เหมือนสงครามโลกครั้งที่ 2 หรอกครับ เพราะสงครามโลกครั้งที่ 3 จะใช้เทคโนโลยีนาโนกันแล้ว
     
  11. pbun

    pbun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    70
    ค่าพลัง:
    +369
    ใช้ทหารและอาวุธทำสงครามธรรมดาคงไม่เนียนแล้วครับ.....ยุคนี้มันต้องใช้เครื่องมือล้ำยุคของธรรมชาติ มาทำลายล้างเนียนๆกว่า.
     
  12. poomcard

    poomcard Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +57
    New World Order!!!

    เซ็งเป็ด - -"
     
  13. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,670
    เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่จะกระทบต่อคนทั้งโลก อาจเป็นจุดเริ่มต้นหลายๆอย่างที่พวกเราๆกลัวกันอยู่
    ที่แน่ๆความสับสนคงเกิดขึ้นในอีกไม่ช้า
    เคยมีคนกล่าวไว้เกี่ยวกับการล้มสลายของระบบทุนนิยม ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเลนินหรือเปล่า

    อยากให้k.kwan ลองหามาให้สมาชิกอ่านประดับความรู้เผื่อเป็นแนวท่าง

    เขากล้าวไว้ถึงการล้มสลายของคอมมิวนิสและทุนนิยม เคยอ่านเจอในนิตยสารแต่นานมากๆแล้ว

    อยากอ่านฉบับเต็มหาได้ที่ไหนใครรู้บ้างครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

    Glen Beck Show (Nov 5, 2010).......The Crash of the Dollar


    วาร ไรตี้เชิงข่าวตอนนี้ของเกลน เบล๊ค ตอนนี้ออกอากาศไปเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมาครับ มีผู้ชมชาวอเมริกันไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคนที่ได้ชม ก็คงจะได้ร้อนๆหนาวๆกันไป จะ "ตื่น" หรือยังก็ไม่ทราบได้ครับ แต่อย่างนึงคือ หลังจากออกอากาศไปแล้วก็มีอะไรตามมามากมายพอสมควร เพราะสารพัดสื่อขนาดใหญ่เริ่มนำเอาไปขยายผล ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นเรื่องดีครับสำหรับประเทศและคนของเค้าครับ หลังจากได้จมดิ่งลงไปกับความเป็น "วัตถุนิยม" แบบสุดขั้ว มาตลอดไม่น้อยกว่า 1 ทศวรรษ




    อย่าง ที่บอกครับ เป็นเรื่องที่ดีสำหรับสังคมอเมริกันครับ ที่มีการเปิดประเด็นให้เริ่มคิดและตระหนักถึง "Crash of the Dollar" หรือ "การล่มสลายของเงินดอลล่า" ในคลิปที่สองจะพูดกันถึง "The Day" หรือดีเดย์ ถ้าวันนั้นมาถึงแล้วว่าอะไรจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ซึ่งไม่ไกลเกินความเป็นจริงเลยถ้าดูจากสถานการณ์และความเป็นจริงในวันนี้




    เป็ นการจำลองสถานการณ์กรอบเวลา 15 วัน นับจากวันแรกที่จีนประกาศ " No More Bond " หรือการประกาศหยุดซื้อพันธบัตรอย่างเป็นทางการออกมาจากทางการจีน สิ่งที่ตามมาก็ยากที่จะบรรยายครับ ซึ่งก็ไม่ง่ายที่จะเกิดครับเพราะเมื่อจีนประกาศอย่างนั้นแล้ว ก็คงจะรู้ถึงผลที่จะตามมาในที่สุด แต่ถ้ารัฐบาลสหรัฐและ FED ยังคงดำเนินนโยบายหรือเดินไปในทิศทางนี้ที่ทำมาตลอด 2 ปี คือการ "พิมพ์เงินมาใช้หนี้" และหากจีนพร้อมแล้วหรือจำเป็นที่จะขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของโลกแทนที่สหรัฐ โดยไม่หวังพึ่งพากำลังซื้อของสหรัฐโดยการจับมือกับรัสเซียและชาติอื่นๆแทน สิ่งนี้ก็เกิดขึ้นได้ไม่ยากเช่นกันครับ




    แต่ ความเสียหายไม่ได้หยุดอยู่แค่ในประเทศสหรัฐครับ เพราะเค้าพูดกันถึง " Global Melt Down " หรือการ "ล่มสลาย" ในระบบการเงินไปพร้อมๆกันทั่วโลกที่เชื่อมโยงกันด้วยระบบ "เงินดอลล่า" นั่นเองครับ กระดาษที่ถูกลงบัญชีเป็นเงิน เป็นทุนสำรองหรือทรัพย์สินในคลังและกระเป๋าของรัฐบาลและคนทั่วไป และกำลังท่วมโลกอยู่ในขณะนี้




    มีเพียง คนอเมริกัน 3 ล้านคนเท่านั้นครับที่มีโอกาสได้ชมและได้ฉุกคิด ในขณะที่ปัญหานี้เป็นประเด็นและปัญหาของคนทั่วโลก ที่จะทำให้เกิด " Global Melt Down " คือระบบการเงินโลกล่มทั้งระบบ ผมจะขอโฟกัสกลับมาที่ประเทศไทยครับ เท่าที่เห็นยังไม่มีใครที่จะกล้ามองไปถึงจุดนั้นครับ เรากลับมองว่ามันเป็นเรื่องที่ไกลตัว และคิดแต่เพียงว่า "อเมริกาล้มไม่ได้และเดี๋ยวก็ฟื้น" เพราะฉะนั้นก็คงไม่มีการป้องกันใดๆทั้งในภาครัฐและเอกชน ตรงนี้ละครับที่จะทำให้เกิด "Mojor Shift" หรือการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ "คนที่มีมากจะกลายเป็นคนที่มีน้อย คนที่มีน้อยจะกลับมั่งคั่งร่ำรวย หัวจะกลายเป็นหางและหางจะกลายเป็นหัว"




    เอา ล่ะครับ เราค่อยๆ มาดู มาศึกษาร่วมกันไปครับ ในโพสต์ต่อไป "15 วัน.......สู่การจัดระเบียบโลกใหม่" ผมจะหยิบยก กรอบเวลา 15 วันนี้มาขยาย มาให้เพื่อนๆ คิดกันเล่นๆครับ ถึงผลกระทบที่จะมีต่อประเทศไทยและต่อพวกเราทั้งทางตรงและทางอ้อม เพราะวิกฤติการณ์ครั้งนี้อาจจะเป็นโอกาสของอีกหลายๆคนที่มองเห็นครับ แต่คงจะต้องช่วยกันอ่านจังหวะและเวลาพอสมควร






    สุด ท้าย...อย่างที่เคยบอกครับ การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ "ต้องเกิด" ครับ เพื่อเป็นการปรับฐานของมนุษยชาติ ไม่ช้าก็เร็วจะถึงเวลาที่ต้องชำระล้างกันซะที ทุกอย่างทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันจะมีเหตุผลและคำอธิบายครับ เพียงแต่เราจะหามันเจอและเข้าใจหรือไม่เท่านั้นเอง



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ประชุมจี20 เริ่มต้นแล้วผลักดันแผนปฏิรูประบบการเงินโลกครั้งใหญ่

    November 11, 2010

    เริ่มต้นขึ้นแล้ววันนี้สำหรับการประชุมสุดยอด จี 20 ซึ่งผู้นำสุดยอดชาติระดับนำของโลก 20 ประเทศมาร่วมกันประชุมกันที่ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้โดยมีเรื่องการฟื้นฟูและการปฏิรูประบบการเงินโลกที่กำลัง เกิดวิกฤติและปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกในเวลานี้เป็นเนื้อหาหลักของ การประชุมในครั้งนี้
    [​IMG]โลโก้การประชุม G 20 ครั้งนี้
    ในการประชุม จี 20 ในครั้งนี้จะร่วมกันหารือเรื่องการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญภาวะ ตกต่ำในเวลานี้รวมไปถึงการเพิ่มความแข็งแกร่งของระบบการกำกับดูแลการเงิน ระหว่างประเทศให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับภาวะวิกฤติรอบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นใน อนาคต และรวมไปถึงการรื้อหรืออาจจะปฏิรูประบบการเงินโลกครั้งใหม่ โดยคาดว่าจะถูกนำมาพิจารณาทิศทางของระบบการเงินของโลกที่มีประสิทธิภาพและมี ความสมดุลมากขึ้นในอนาคตไปพร้อมกับการกู้วิกฤติเศรษฐกิจโลกไปพร้อมๆกัน
    ประธานาธิบดีโอบาม่าในที่ประชุม G20 : เอื้อเฟื้อภาพจาก BBC
    พร้อมกันนี้ยังรวมวาระเรื่องการปฏิรูป IMF ครั้งใหญ่โดยมุ่งหวังให้บทบาทของประเทศเกิดใหม่และชาติกำลังพัฒนาได้แก่ กลุ่มประเทศ BRIC ได้มีบทบาทมากขึ้น โดยจะเป็นหัวข้อหนึ่งในการหารือในที่ประชุม จี 20 เพื่อให้ IMF สามารถรับมือกับภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและเป็นผู้นำในการปฏิรูประบบ การเงินโลกครั้งใหญ่อีกด้วย
    ต้องถือว่าการประชุม จี20 ครั้งนี้อยู่ในช่วงเวลาแห่งความวิกฤติและความผันผวนเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก และเป็นการประชุมภายหลังจากสหรัฐอเมริกาทำการอัดฉีดเงินเข้าในระบบมูลค่า กว่า 6 แสนล้านดอลลารืสหรัฐ และเมื่อรวมกับการอัดฉีดครั้งแรกจากมากตรการ QE เพื่อโอบอุ้มสถาบันการเงินสหรัฐเมื่อปี 2008 มูลค่าวงเงิน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เวลานี้มีเงินที่ถูกพิมพ์ออกมาแล้วกว่า 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังไม่รวมกับที่อังกฤษและญี่ปุ่นที่ทำออกมาเช่นกัน ที่ได้ทำให้เกิดความปั่นป่วนในตลาดการเงิน ตลาดทุนและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์เป็นอย่างมากจากการที่ปริมาณเงินที่อัดฉีดออก มาได้ไหลเข้าสู่ตลาดเหล่านี้อย่างรวดเร็ว
    และมีการคาดการณ์ว่าทางประธานาธิบดีโอบาม่าจะทำการกดดันจีนผ่านการประชุม จี 20 เพื่อให้ลดภาวะความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกหรือก็คือความไม่สมดุลทางด้านการ ค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน ซึ่งทางจีนเกินดุลการค้าสหรัฐอเมริกาอยู่มหาศาลรวมถึงการขอความร่วมมือจากชา ติอื่นๆในโลกในร่วมกันฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เกิดจากสหรัฐเอง
    ก่อนหน้าการประชุมสุดยอดผู้นำ 20 ชาติ มีการประชุมรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจมีการประชุมอย่างดุเดือดเป็นอย่างมากใน เรื่องการหาจุดยืนร่วมของแถลงการณ์การประชุมทั้งเรื่องการให้ IMF เป็นผู้นำในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลก และเป็นการสะท้อนการปกป้องผลประโยชน์ของแต่ละชาติภายใต้ความวิกฤติเศรษฐกิจ ที่รุนแรงมาก
    ที่มา : BBC , Seoul Summit
    ประชุมจี20 เริ่มต้นแล้วผลักดันแผนปฏิรูประบบการเงินโลกครั้งใหญ่ | Siam Intelligence Unit
    comment...

    mk on November 13th, 2010 10:28
    ตอนนี้ประชุมจบแล้วครับ ทาง นสพ. The Guardian สรุปว่าการประชุมไม่ได้อะไรมากนัก เพราะ “จีนไม่เล่นด้วย”
    G20 summit: Seoul survivors | Editorial | Comment is free | The Guardian
     
  16. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนที่ 1 (ตีพิมพ์ใน “มติชน” สุดสัปดาห์)

    December 11, 2008

    จารึกโดย
    เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์
    การทำนายถึงความล่มสลายในอารยธรรมมนุษย์ มีประวัติศาสตร์มายาวนาน แต่จนบัดนี้ มนุษยชาติยังดำรงอยู่อย่างปลอดภัยแม้จะเผชิญวิกฤตและความทุกข์ยากในบางครั้ง คราว

    หากมีการเปิดบ่อนพนันเพื่อรับแทงความล่มสลายของโลก เจ้ามือคงร่ำรวยมหาศาล จากคำทำนายที่ผิดพลาดนับครั้งไม่ถ้วน
    การล่มสลายของอาณาจักรโรมัน จักรวรรดิยิ่งใหญ่แรกสุดของโลก ได้ส่งผลสะเทือนเลื่อนลั่นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนเกือบครึ่งค่อนโลก แม้กระนั้น ชาวจีนในอีกซีกโลกหนึ่ง ยังคงดำรงอารยธรรมไปได้อย่างปกติสุข ถึงแม้จะมีปัญหาและความสับสนวุ่นวายแทรกเข้ามาเป็นระยะ แต่สุดท้าย ระบบสังคมการเมืองจีนกลับสามารถยืดหยุ่นปรับตัวเข้าสู่ระเบียบใหม่ในราชวงศ์ ใหม่ ฟื้นคืนความสงบสุขรุ่งเรืองได้ ครั้งแล้วครั้งเล่า
    ยิ่งกว่านั้น ยุคสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ Renaissance ที่เป็นรากฐานการพัฒนาวิทยาศาสตร์และอารยธรรมใหม่ให้กับชาวยุโรป และนำพาไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่เปลี่ยนชีวิตมวลมนุษยชาติไปอย่างไม่มีวันหวนกลับนั้น ยังอาจกล่าวได้ว่า คือ ผลสืบเนื่องจากความล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ที่ได้พัฒนาจนถึงจุดสูงสุด จนยากจะก้าวเดินต่อไปได้อีก
    การพังทลายของระบบเก่า จึงกลายเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับการเกิดใหม่ ในยุคสมัย Renaissance อันยิ่งใหญ่
    เช่นเดียวกัน ตลอดเวลาร้อยปีที่ผ่านมา ได้มีการทำนายถึงวิกฤตและความล่มสลายของระบบทุนนิยม ซึ่งหลายครั้งดูเหมือนคำทำนายเหล่านั้นจะกลายเป็นความจริง
    แต่ในที่สุดระบบทุนนิยมที่กำลังจะล่มสลาย ได้กลับฟื้นตัวขึ้นมา และยังแข็งแกร่งยิ่งกว่าเดิมอีกด้วย อย่างไรก็ตาม วิกฤตซับไพร์มในปี 2008 ครั้งนี้ ได้ส่งผลสะเทือนพร้อมกันทั่วโลก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ที่สำคัญ ปริมาณเงินและความเสียหายยังมากมายกว่าครั้งใดๆที่ผ่านมา
    ฤาระบบทุนนิยมโลกจะล่มสลายลง ?
    ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ภายหลังการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือการปฏิวัติคลื่นลูกที่ 3 อารยธรรมโลกได้ค้นพบแหล่งสร้างความมั่งคั่งใหม่ที่มีขนาดมหาศาลกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา โดยเริ่มตั้งแต่คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต จนกระทั่งถึง iPhone Hi5 FaceBook ซึ่งได้เปลี่ยนวิถีชีวิตวิถีบริโภคไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง แต่ท่ามกลางความดีใจมโหฬาร ได้มีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งรู้สึกหวาดกลัวต่อความมั่งคั่งใหม่นี้ โดยมองว่าเป็นเพียง “ฟองสบู่” ซึ่งนายทุนได้ปั่นราคาขึ้นมาจนสูงเกินจริงเท่านั้น
    นิสัยที่แก้ไม่หายของมนุษย์ คือ การพิจารณาสรรพสิ่งอย่างสูงหรือต่ำเกินจริง ใน ภาวะเศรษฐกิจรุ่งเรือง คนจำนวนมากย่อมเชื่อมั่นแรงกล้าว่า ทรัพย์สินทั้งหลายต้องพุ่งทะยานสูงขึ้นไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด โดยไม่เคยสะกิดสงสัยเลยว่า มันอาจเป็นเพียง “ฟองสบู่” ซึ่งทุกคนต่างช่วยกันปั่นสร้างสถานการณ์ขึ้นมา ขณะเดียวกัน ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผู้คนส่วนใหญ่ได้พลิกกลับมุมมอง 180 องศา ก่นประณามด่าทอ ความมั่งคั่งทั้งหลายว่าเป็นเพียงเรื่องหลอกหลวงจอมปลอม โดยไม่เคยกลับมาคิดทบทวนดูว่า ในภาคเศรษฐกิจจริงนั้น เรามีการเติบโตของความมั่งคั่งใหม่มากน้อยเพียงใด สำหรับ ส่วนที่เป็นฟองสบู่ ย่อมต้องเลือนหายไปในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่ส่วนที่เป็นความมั่งคั่งแท้จริง ทั้งเทคโนโลยีการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าในอดีต ทั้งการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารที่ช่วยลดต้นทุนการผลิต ต้นทุนการขนส่ง และช่วยเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ยังคงเป็นมูลค่าส่วนเพิ่มที่ดำรงอยู่ ท่ามกลางฟองสบู่ที่แตกสลายไป
    วิกฤตฟองสบู่ดอทคอมในราวปี 2000 เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนยิ่ง แน่นอนว่า นักลงทุนได้สูญเสียทรัพย์สินไปมโหฬาร แต่ เราจะเห็นบริษัทชั้นดีมากมายเกิดขึ้นในช่วงวงจรฟองสบู่นี้ เพราะมีแต่โอกาสเช่นนี้เท่านั้น ที่บริษัทเล็กๆแต่มีคุณภาพและนวัตกรรม จะสามารถระดมเงินทุนและเครดิตมาใช้พัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าอย่างเต็ม ศักยภาพ ฉกฉวยประโยชน์จากโอกาสที่เปิดกว้างขึ้น โดยภาวะเอื้ออำนวยเช่นนี้ บริษัทชั้นเลิศจึงเติบโตก้าวกระโดดสร้างความมั่งคั่งแท้จริงมหาศาล แม้นเมื่อฟองสบู่ได้แตกทำลายลง บริษัทชั้นดีทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น Yahoo, Amazon, eBay ฯลฯ ยังคงมีความมั่งคั่งที่สูงยิ่ง แน่นอนว่าอาจจะ น้อยลงกว่าในภาวะเฟื่องฟูของฟองสบู่ แต่ย่อมมากกว่าในภาวะก่อนฟองสบู่ ที่สำคัญ ธุรกิจซึ่งรอดพ้นจากภาวะนี้ ย่อมได้รับโอกาสยิ่งใหญ่ภายหลังความล่มสลายของคู่แข่งที่ได้จมหายไปในช่วง ฟองสบู่นั้น
    สินทรัพย์ที่ถูกเทขายเลหลังในช่วงวิกฤต ย่อมมีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นในภาวะปกติ แต่สินทรัพย์นั้นยังมีมูลค่าในตัวเอง ไม่ได้ล่มสลายตามเจ้าของไปด้วย ขณะเดียวกัน การเปลี่ยนมือจากเจ้าของเก่าผู้พ่ายแพ้ไปสู่เจ้าของใหม่ผู้ชนะ อาจทำให้การบริหารสินทรัพย์เหล่านั้นเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจได้รับการจัดสรรดีขึ้น เช่นเดียวกัน ภาคธุรกิจที่ล่มสลายไป ย่อมเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรายใหม่ได้รับโอกาสแสดงฝีมือ สำหรับผู้เล่นเก่าที่มีความสามารถในการแข่งขันและเอาตัวรอดได้มากกว่าในภาวะ วิกฤต ย่อมได้รับประโยชน์จากการล่มสลายของคู่แข่งที่ด้อยกว่า ซึ่งในภาวะปกติ ยังสามารถอยู่รอดได้ แต่ในภาวะวิกฤตที่เรียกร้องความสามารถในการบริหารจัดการ การวางยุทธศาสตร์ การสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ ย่อมสามารถคัดเลือกคุณภาพของผู้เล่นที่ดีออกจากผู้เล่นที่ไม่ดี ดังนั้น สังคมจะได้ประโยชน์จากการจัดสรรนี้ แม้ในระยะสั้นอาจต้องเผชิญความเจ็บปวดบ้างก็ตาม
    แนวคิดนี้อาจคล้าย “เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค” แต่ความต่างคือ ในอดีตนั้น เศรษฐกิจมีความสามารถในการปรับตัวช้า ดังนั้น หากปล่อยให้กลไกตลาดปรับสมดุลระหว่างผู้แพ้ที่มีประสิทธิภาพต่ำไปสู่ผู้ชนะ ที่มีประสิทธิภาพสูงผลกระทบต่อประชาชนย่อมขยายไปในวงกว้าง แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยข่าวสารที่รวดเร็วฉับไว ทำให้การถ่ายโอนสินทรัพย์ การสร้างระบบบริหารจัดการใหม่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ผลกระทบต่อสังคมจึงลดลง ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลยังดำเนินการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจเพื่อผ่อนคล้ายวิกฤตได้อย่างชาญฉลาด ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์กว่าเดิม อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่าน มา ที่สำคัญ การแทรกแซงนั้นมีความรวดเร็วกว่าในอดีตมากมาย ดังจะเห็นได้จากบทบาทของFedหรือ ธนาคารกลางสหรัฐ (เทียบได้กับ แบงค์ชาติของไทย) ที่มีต่อวิกฤตซับไพร์ม ซึ่งหากเดินเกมส์ผิดพลาดเพียงเล็กน้อย ย่อมนำมาซึ่งความเสียหายมหาศาล แต่ การที่ Fed จะทำเช่นนี้ได้ จะต้องมีระบบข้อมูลที่ดี มีความเข้าใจในกลไกอันซับซ้อนทางเศรษฐกิจ ซึ่งจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน ทำให้ Fed สามารถสร้างผลงานยิ่งใหญ่นี้ได้
    สำหรับประเทศไทย ภายหลังวิกฤต 2540 แม้จะมีการโจมตีถึงระบบทุนนิยมพวกพ้อง จนถึงความผิดพลาดของ IMF แต่กระนั้น เศรษฐกิจไทยได้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วกว่าที่คาด จนบางคนรู้สึกว่าประเทศไทยเสียหายไม่มากนัก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสินทรัพย์ได้รับการถ่ายโอนไปสู่ผู้เล่นรายใหม่อย่างรวดเร็ว มีการเติบโตของธุรกิจ SMEs มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการสมัยใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร ซึ่งบางคนอาจมองโลกในแง่ร้ายว่า โดนต่างชาติซื้อกิจการไปหมดสิ้นแล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่า ชาวต่างชาติย่อมฉลาดพอที่จะไม่เข้าแทรกแซงการดำเนินงาน จนได้รับการต่อต้านขนานใหญ่จากประชาชน และตราบใดที่ธุรกิจไทยยังคงดำเนินไปด้วยดี ต่างชาติกลับต้องนำความรู้และเทคโนโลยีมาสนับสนุนธุรกิจที่ตนซื้อเข้ามา เพื่อให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์และบริการชั้นเลิศ อันจะนำไปสู่ผลกำไรให้กับตนเองที่ได้เข้ามาถือหุ้นในกิจการนั้น และแน่นอนว่า คนไทยจำนวนมากย่อมได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน เพราะธุรกิจธนาคารและธุรกิจอื่นที่ต่างชาติได้เข้ามาช่วยปรับปรุงนั้น สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหลายได้ดีกว่าเดิม ยังไม่นับผลตอบแทนที่คนไทยได้รับผ่านการจ้างงานและการเข้าร่วมลงทุนในบริษัท เหล่านั้น
    ในโลกอันสลับซับซ้อน กฏการคัดเลือกทางธรรมชาตินั้น ย่อมไม่ใช่เพียงความสามารถในเชิงการต่อสู้ และพัฒนาคุณภาพในตัวเองเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นปรับตัว หรือแม้กระทั่งโชคชะตาซึ่งอาจช่วยเหลือได้บ้างในระยะสั้น สำหรับ วิกฤตซับไพร์มครั้งนี้ ประเทศไทยกลับได้รับผลกระทบทางตรงไม่มากนัก ส่วนหนึ่งเพราะความเจ็บปวดจากวิกฤตในปี 2540 ยังคงติดตรึงในความทรงจำ ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายมีความระมัดระวังตรวจสอบในเรื่องการลงทุนเป็น พิเศษ หรือบางที เราอาจไม่เก่งกาจเพียงพอที่จะเข้าใจสมการอันซับซ้อนของซับไพร์ม จึงไม่ได้เข้าไปร่วมลงทุนในตราสารชนิดนี้ ที่สำคัญ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเราประสบปัญหาทางการเมือง ทำให้นักธุรกิจยังไม่กล้าขยับขยายการลงทุนมากนัก สิ่งที่น่าจะเป็นข้อเสียจึงกลับกลายเป็นข้อดีได้อย่างเหลือเชื่อ ประเทศไทยจึงรอดตัวจากวิกฤตนี้มาได้อย่างหวุดหวิด
    แต่สิ่งสำคัญกว่านั้น คือ การแสวงหาโอกาสท่ามกลางวิกฤต ที่เหล่าประเทศมหาอำนาจกำลังประสบภาวะล่มสลาย ถ้าหากไทยฉกฉวยประโยชน์ในช่วงนี้ไม่ได้ ย่อมจะนำมาซึ่งวิกฤตการณ์ในอนาคต เมื่อมหาอำนาจทั้งหลายฟื้นตัวและกลับมาครอบครองสนามแข่งขันทางธุรกิจในอีก วาระหนึ่ง ตัวอย่างในประวัติศาสตร์ คือ ประเทศจีน ซึ่งเผชิญวิกฤตมากมายรุมเร้าอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยความยืดหยุ่นในการปรับตัว จึงสามารถรักษาความสงบสุขในสังคมได้อย่างยาวนาน ไม่แตกสลายล่มจมเหมือนชาวโรมัน ซึ่งแม้จะสร้างอารยธรรมยิ่งใหญ่ไว้มากมาย แต่กลับต้องประสบภาวะบ้านเมืองแตกสลายนานนับพันปี อย่างไรก็ตาม ชาวจีนกลับไม่สามารถฉกฉวยประโยชน์จากการเป็นอารยธรรมที่อยู่รอดปลอดภัยมาใช้ ในการพัฒนาตนเองให้เจริญก้าวกระโดดจนชาติเพื่อนบ้านที่ล่มสลายไม่มีวันตาม ทันได้ ในที่สุด เมื่อชาวยุโรปได้ฟื้นฟูตนเองขึ้นมา หยิบยืมความรู้จากชาวกรีก-โรมัน พัฒนาปฏิวัติอุตสาหกรรมได้สำเร็จ ชาวจีนที่เคยภูมิใจในอารยธรรมที่ต่อเนื่องยาวนานนับพันปีของตน ก็กลับต้องยอมสยบภายใต้แสนยานุภาพทั้งทางการทหารและเศรษฐกิจของชาติตะวันตก นานนับร้อยปี ก่อนที่จะยืนหยัดพัฒนาตนเองจนทัดเทียมผู้อื่นได้ในไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา
    ต้นทุนความเจ็บปวดที่ไม่รู้จักฉกฉวยประโยชน์ พัฒนาตนเองให้เติบโตแข็งแกร่ง ย่อมมีราคาที่สูงยิ่งนัก


    ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนที่ 1 (ตีพิมพ์ใน “มติชน” สุดสัปดาห์) | Siam Intelligence Unit

     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนจบ (ตีพิมพ์ใน “มติชนสุดสัปดาห์”)

    December 26, 2008

    โดย เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์
    ปัจจัยสำคัญที่ทำให้วิกฤตในปัจจุบันส่งผลกระทบน้อยกว่าในอดีต คือ ข้อมูลข่าวสารและการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้งละเอียดยิบ ในอดีตเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นมา ผู้คนจะตื่นกลัวมาก เศรษฐีมีเงินย่อมไม่อาจแยกแยะถึงบริษัทที่กระทบหรือไม่กระทบ กระทบมากหรือกระทบน้อย ทุกคนต่างเหมารวมว่า แต่ละบริษัทเลวร้ายเหมือนกันหมด ยิ่งไม่ต้องพูดถึง การพิจารณาว่าบริษัทที่มีปัญหานั้น สามารถแยกส่วนสินทรัพย์ที่ดีมาใช้ประโยชน์ได้บ้าง หรือกว่าจะรู้ว่าอะไรดีไม่ดี ความเสียหายก็ได้เกิดขึ้นมากมายแล้ว แต่ในปัจจุบันนั้น จอมคนอย่าง Warren Buffet สามารถแยกแยะได้ว่า Goldman Sachs ซึ่งแม้จะประสบปัญหาลุกลามตามวาณิชธนกิจรายอื่นไปด้วย แต่บริษัทนี้มีความโดดเด่นแตกต่างจากบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน ที่สำคัญ บริษัทนี้ยังมีทีมงานและบุคลากรที่สุดยอดมากมาย ดังนั้น จึงเป็นโอกาสในการนำเงินเข้ามาซื้อกิจการ จากการกระทำนี้ จึงเห็นได้ว่า กลไกการคัดเลือกคนเก่งและสินทรัพย์ดี ทำได้อย่างรวดเร็วฉับไว ความสูญเสียจึงจำกัดขนาดลง ที่สำคัญ Goldman Sachs ถ้าหากได้อัจฉริยะบุรุษอย่าง Buffett มาช่วยชี้แนะการบริหารและการลงทุน การเกิดใหม่อีกครั้งของ Goldman Sachs ย่อมเด่นล้ำแข็งแกร่งกว่าเดิม ที่สำคัญ ขณะที่วาณิชธนกิจอื่นย่ำแย่ จึงเป็นโอกาสท่ามกลางวิกฤตของ Goldman Sachs ที่จะหาประโยชน์ แน่นอนว่า วิกฤตครั้งนี้ย่อมทำให้ภาวะตลาดซบเซา แต่คู่แข่งที่อ่อนแอและลดน้อยลงน่าจะช่วยชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปได้บ้าง

    เราจะเห็นได้ว่า วิกฤตแต่ละครั้ง ได้เผยให้โลกเห็นว่า มนุษย์คนใดมีความสามารถ มนุษย์คนใดด้อยความประสิทธิภาพ ผู้ บริหารระดับสูงของหลายธุรกิจนั้น ส่วนหนึ่งอาศัยการศึกษาในสถาบันการศึกษาชั้นสูง อาศัยลีลาภาษาและสมการคณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนในการสร้างชื่อเสียงและความ มั่งคั่งให้ตนเอง เพราะในภาวะปกติและฟองสบู่เฟื่องฟู ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถมากมายในการสร้างผลกำไรให้บริษัท แต่ในที่สุด เมื่อวิกฤตอุบัติขึ้น จึงได้รู้ว่าภายใต้มนต์มายาของคำกล่าวสวยหรูนั้น สิ่งใดเป็นของจริง แน่นอนว่า คนเก่งชั้นเลิศบางคน อาจผิดพลาดใหลหลงไปบ้าง เพราะความเก่งนั้นยังไม่ถึงขั้นอัจฉริยะ แม้จะคาดการณ์และเตรียมป้องกันวิกฤตไว้แล้ว แต่ความเสียหายมากกว่าที่คิด จึงต้องล่มจมตามคนเก่งธรรมดาและคนเก่งจอมปลอมไปด้วย
    แต่โลกของเรายังมีคนเก่งระดับอัจฉริยะซึ่งรอดพ้นปลอดภัยจากวิกฤตและผลกระทบ คนเหล่านี้เองที่มองเห็นและแยกความแตกต่างระหว่างคนเก่งชั้นเลิศกับคนเก่ง จอมปลอม สินทรัพย์ชั้นดีกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพได้ พวกเขาจะเริ่มคัดเลือกคนเก่งชั้นเลิศเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ระบบใหม่ ดังนั้น ทุกคนควรจับตาดูว่า Buffett คาดการณ์ถูกต้องหรือไม่ที่เขามาโอบอุ้ม Goldman Sachs และ ควรติดตามต่อไปอีกว่า Buffett จะร่วมคัดเลือกให้ใครบริหารงาน และจะปลดคนที่ดูเหมือนเก่งแต่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานความเก่งคนใดออกไปบ้าง
    กลไกคัดเลือกคนเก่งชั้นเลิศและสินทรัพย์ชั้นดีนี้เอง ที่ช่วยทำให้วิกฤตคลายความรุนแรงลง เพราะคนเก่งอัจฉริยะและคนเก่งชั้นเลิศนั้นจะร่วมกันใช้ความสามารถของตนพลิก ฟื้นวิกฤตของบริษัทขึ้นมา ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจติดตามมา แม้จะมีบริษัทจำนวนมากล่มสลายลง แต่บริษัทที่เหลือซึ่งมีคนเก่งชั้นเลิศรวมตัวกันจะเข้าครอบครองตลาดอันกว้าง ใหญ่ซึ่งบริษัทที่ล่มสลายได้ทิ้งมรดกไว้ ดังนั้น คุณภาพของสินค้าและบริการในช่วงนี้ จะมีคุณค่าสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะผู้ด้อยประสิทธิภาพได้ถูกกำจัดไปแล้ว ยิ่งในยุคปัจจุบันที่การประกาศล้มละลาย การขายสินทรัพย์ และการเข้าซื้อกิจการเป็นไปอย่างรวดเร็ว โอกาสที่คนเก่งชั้นเลิศจะได้เข้ามาบริหารตลาดอันกว้างใหญ่และไร้คู่แข่งนี้ จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คุณภาพของบริษัทและเศรษฐกิจจึงสามารถได้รับการพัฒนาฟื้นฟูอย่างรวดเร็วทัน ท่วงที
    ที่กล่าวมาทั้งหมด ต้องการชี้ให้เห็นว่า สรรพสิ่งในโลกนี้มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การใช้มุมมองเดิมมาวิเคราะห์สถานการณ์แบบเดิมซึ่งมีบริบทแตกต่างออกไป ย่อมอาจทำให้ผลการวิเคราะห์มีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนกว่าที่ควรจะเป็นได้ มากมายนัก ในอดีตที่ผ่านมา มนุษย์มีความเข้าใจในระบบทุนนิยมไม่มากนัก จึงไม่สามารถแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้องทันท่วงที แต่ในปัจจุบันนั้นบริบททั้งหลายได้เปลี่ยนแปลงไป มนุษย์มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับระบบทุนนิยมมากขึ้น ขณะเดียวกัน ในช่วงหลายสิบปีนี้ได้เกิดการปฏิวัติข้อมูลข่าวสารหรือคลื่นลูกที่ 3 ขึ้นมา จึงทำให้การรับรู้ปัญหามีความลึกซึ้งครอบคลุมขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจแยกแยะสินทรัพย์ทีดีออกจากสินทรัพย์ที่ไม่ดีทำได้ง่าย ขึ้น
    เช่นเดียวกัน การติดต่อสื่อสารที่ฉับไว ทำให้เกิดความร่วมมือกันของประเทศต่างๆทั่วโลก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลที่ชัดเจนรวดเร็วนี้บริหารจัดการแก้ไข วิกฤตได้อย่างทันท่วงที โดยมีความผิดพลาดที่ต่ำกว่าในอดีต เพราะคุณภาพของข้อมูลที่แม่นยำกว่า ยิ่งกว่านั้น ภาครัฐและเอกชนในทุกประเทศต่างร่วมมือกันอย่างเต็มที่ทั้งโดยตั้งใจและไม่ ตั้งใจ การเข้าซื้อกิจการของนักธุรกิจจากในและนอกประเทศ ล้วนได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเจ้าของกิจการและรัฐบาล ขณะที่ผู้มาซื้อกิจการย่อมสามารถตรวจสอบข้อมูลของบริษัทได้มากกว่าในอดีต จึงกล้าเข้ามาซื้อกิจการอย่างรวดเร็ว
    บริบททั้งหลายที่ช่วยเสริมส่งกันนี้ ย่อมทำให้วิกฤตที่เกิดขึ้นมีขนาดและความรุนแรงลดลง และเศรษฐกิจอาจกลับดีขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แต่ หากใครยังคงมุมมองการวิเคราะห์แบบเดิมไว้ ย่อมพลาดโอกาสที่ดีในการแสวงหาประโยชน์จากวิกฤต ซึ่งสินทรัพย์ทั้งหลายมีราคาต่ำกว่าความเป็นจริง และด้วยความรวดเร็วในการเข้าซื้อสินทรัพย์เช่นนี้เอง ทำให้วิกฤตยิ่งฟื้นตัวเร็วกว่าปกติ เพราะคนที่คิดว่าจะรอให้สินทรัพย์ราคาถูกลงกว่าเดิม ย่อมต้องเพิ่มความเร็วในการเข้าซื้อ เพราะอาจถูกคนอื่นชิงตัดหน้าไปก่อน
    บางคนอาจคิดว่า ภาวะล่มสลายของสถาบันการเงินระดับโลก ย่อมทำให้เม็ดเงินในการซื้อสินทรัพย์มีจำนวนไม่มากเพียงพอที่จะกอบกู้วิกฤต ได้ แต่อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า ความมั่งคั่งของโลกแม้ว่าจะมีค่าลดลงจากในช่วงฟองสบู่ แต่ย่อมมีมูลค่ามากกว่าเมื่อก่อนเกิดภาวะเฟื่องฟูของฟองสบู่ ยังไม่นับว่า สินทรัพย์ที่ถูกนำมาขายในภาวะแบบนี้นั้น มีราคาถูกกว่าความเป็นจริงในภาวะปกติ ที่สำคัญ ไม่จำเป็นเลยที่สินทรัพย์ทุกชนิดจะต้องได้รับการซื้อไป ขอเพียงสินทรัพย์ที่ดีในแต่ละธุรกิจได้รับการซื้อไป เพื่อนำมาปรับปรุงและดำเนินกิจการต่อไป ด้วยประโยชน์จากตลาดที่คู่แข่งลดลงและอ่อนแอ ผนวกกับความสามารถของผู้บริหารซึ่งได้รับการคัดเลือกมาแล้วว่าแข็งแกร่งแม้ ในภาวะวิกฤต ทั้งหมดย่อมช่วยให้สินทรัพย์ชั้นดีนั้นเติบโตขยายงานอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดสามารถกลับมาชดเชยความมั่งคั่งที่ถูกทำลายไปในช่วงฟองสบู่แตกได้ สำเร็จอย่างรวดเร็ว
    ยังไม่นับว่า ทุกรอบวิกฤตได้เกิดการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ขึ้น มา และจนถึงทุกวันนี้ระบบเศรษฐกิจโลกได้มีความหลากหลายของธุรกิจอย่างมากมาย ภาวะวิกฤตของระบบการเงินโลก ย่อมส่งผลต่อภาคธุรกิจไปทั่วโลก แต่หลายธุรกิจได้รับผลกระทบไม่เท่ากัน และบางธุรกิจกลับสามารถแสวงหาประโยชน์จากวิกฤตอีกด้วย โดยเฉพาะการ เชื่อมโยงของธุรกิจทั่วโลก ซึ่งในมุมหนึ่งย่อมทำให้วิกฤตลามออกไปเป็นวงกว้าง แต่ในอีกมุมหนึ่งธุรกิจที่เข้มแข็ง สามารถเข้ามาทดแทนและซื้อกิจการจากบริษัทที่ย่ำแย่ได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้ภาวะวิกฤตบรรเทาลง ขณะที่ธุรกิจชั้นเลิศนั้นยังอาจผลิตความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นจากการซื้อกิจการ และนำมาปรับปรุงต่อยอดผสานพลังกับธุรกิจเดิมของตน จึงยิ่งลดทอนความรุนแรงของวิกฤตลงอีกชั้นหนึ่ง ที่สำคัญ ระบบป้องกันความเสี่ยงของธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งหลาย ได้ทำให้ธุรกิจจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบไม่มากนักจากวิกฤติที่เกิดขึ้น
    บริบทที่กล่าวไปทั้งหมด ซึ่งเกิดจากการพัฒนาความซับซ้อนลุ่มลึกของธุรกิจและอารยธรรมมนุษย์ โดยเฉพาะการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร อาจทำให้วิกฤตมีความรุนแรงน้อยกว่าที่คิดและจบสิ้นเร็วกว่าที่คาดได้
    ข่าวร้ายสำหรับผู้สาปแช่งระบบทุนนิยม คือ ระบบนี้มีการปรับตัวและแข็งแกร่งขึ้นทุกวัน แม้จะเผชิญวิกฤตอันหนักหน่วงอย่างในวันนี้ แต่ข่าวดี คือ ระบบทุนนิยมแบบดั้งเดิมตามตำรานั้นได้ล่มสลายไปนานแล้ว เพราะระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันได้มีพลวัตไปไกลกว่าทุนนิยมในอดีตมากมายนัก โดยเฉพาะบทบาทของภาครัฐที่เข้ามาแทรกแซงด้านสวัสดิการสังคมอย่างขนานใหญ่ การเกิดขึ้นของชนชั้นกลางที่มีความรู้ ซึ่งบางครั้งมีบทบาทในองค์กรมากกว่าเจ้าของทุน การเกิดขึ้นของแนวคิดธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เกิดจากความเมตตาปราณีของนายทุนหรือผู้บริหารที่เป็นชนชั้นกลาง ซึ่งบังเอิญรู้สึกสงสารคนยากจน แต่เกิดจากปฏิสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนของผู้เล่นแต่ละรายในโลกของเรา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ผลประโยชน์ของชนชั้นสูงกลุ่มหนึ่งซึ่งอาจขัดกับชนชั้นสูงอีกกลุ่มหนึ่ง ได้สร้างประโยชน์ให้กับคนยากจน รวมถึงขนาดของบริษัทและตลาดที่กว้างใหญ่ขึ้น ทำให้การสร้างธรรมาภิบาล ความน่าเชื่อถือใน Brand หรือแม้กระทั่ง CSR ได้ให้ผลประโยชน์ตอบแทนต่อบริษัทมากกว่ารูปแบบการทำธุรกิจแบบเดิมที่อาจเน้น แต่ผลกำไรระยะสั้นเพียงอย่างเดียว
    แน่นอนว่า การกดขี่ขูดรีดเอารัดเอาเปรียบยังคงดำรงอยู่ แต่มันได้แปลงรูปเปลี่ยนร่างไปจากเดิมมากมาย บางทีเราอาจต้องมีชื่อเรียกใหม่ให้กับระบบใหม่นี้ และก็ต้องมีคนที่มาตามสาปแช่งระบบใหม่ขึ้นอีก ที่สำคัญ คือ การกดขี่ขูดรีดไม่ได้สถิตย์อยู่ในระบบทุนนิยมเท่านั้น ระบบทั้งหลายในอดีตต่างได้ขูดรีดกดขี่ชนชั้นล่างมาอย่างยาวนาน บางทีอาจจะยิ่งกว่าทุนนิยมด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เรามองเห็นได้ชัดเจนในวันนี้ คือ ชีวิตความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของมนุษย์มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างเทียบ ไม่ติด ยิ่งไม่ต้องพูดถึงอิสระเสรีภาพในดำรงชีวิต เสพรับความสุข และการเดินทางไปยังที่ต่างๆทั่วโลก
    ระบบทาสในเรือนเบี้ย ไพร่ติดที่ดิน หรือแม้แต่กรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องทำงานอย่างยาวนานนับ 10 ชั่วโมงได้ผ่านพ้นไปหมดสิ้นแล้ว แน่นอนว่า การทำงานของคนระดับล่าง ยังคงน่าเบื่อและหนักหน่วง แต่ระบบในปัจจุบันยังเปิดโอกาสให้ชีวิตได้เสพสุขจากคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า เดิม ทั้งการลิ้มรสอาหารชั้นดีนอกบ้าน การชมภาพยนตร์ที่มีระบบเสียงยอดเยี่ยม รวมถึงการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อสนทนารื่นรมย์กับเพื่อนฝูง คนรัก และพ่อแม่ ทั้งหมดอาจถูกโจมตีว่าเป็นเพียงการเสพสุขขั้นต่ำ แต่ใครจะเถียงได้บ้างว่า ความสุขเหล่านี้ ในอดีตชนชั้นล่างไม่เคยมีโอกาสได้ลิ้มรสเลย ไม่เคยมีระบบอื่นใดในอดีตที่ให้ประชาชนคนชั้นล่างได้มากเท่านี้ ระบบทุนนิยมที่หลายคนประณามนี้เองที่ได้สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา แน่นอนว่าคงไม่ใช่ความใจดีของใครคนหนึ่ง แต่เป็นผลจากปฏิสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนซึ่งยาวเกินกว่าบทความชิ้นนี้จะ วิเคราะห์ให้เห็น
    ข่าวร้ายยิ่งกว่าสำหรับทั้งผู้ที่ชื่นชอบและผู้ที่คัดค้านระบบทุนนิยมซึ่ง ได้กลายรูปไปจนจำไม่ได้แล้ว คือ ความล่มสลายที่จะนำมาสู่อารยธรรมมนุษย์ทั้งมวล ไม่ใช่เพียงแต่ระบบทุนนิยมเท่านั้น นั่นคือ วิกฤตสิ่งแวดงล้อมที่ทรุดโทรมลงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นผลมาจากระบบทุนนิยม
    อีกตัวแปรหนึ่งที่จะนำมาซึ่งความล่มสลายของระบบทุนนิยม คือ สงคราม ซึ่งหากเกิดขึ้นอีกครั้ง โลกของเราอาจล่มสลายได้ เพราะเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการทำลายล้างกว่าเดิม
    แต่ข่าวร้ายที่สุดคือ หากอารยธรรมและทุนนิยมไม่ได้ล่มสลายลงอย่างที่คิด แต่กลับเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นกว่าเดิมภายหลังวิกฤต เหมือนที่เคยเกิดมาหลายต่อหลายครั้งแล้ว จะต้องมีผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมาก ที่ไม่อาจอยู่รอดได้ในระบบที่มั่งคั่งขึ้นนี้ โดยอาจถูกทำร้ายจากวิกฤตในระบบแต่ละครั้ง หรืออาจพ่ายแพ้ในการแข่งขันทั้งในยามปรกติและในยามฟองสบู่เฟื่องฟู ความจริงแล้วถ้าโลกล่มสลายลงเสียเลย ทุกคนคงเลวร้ายเท่ากันหมด ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบกัน แต่กลายเป็นว่า ในระบบทุนนิยมที่พัฒนาตัวเองตลอดเวลานี้ คนจำนวนมากต้องกลายเป็นผู้แพ้ และนี่เป็นเรื่องน่าเศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์ตลอดมา คำทำนายอันเลวร้ายของนักคิดทั้งหลายไม่เคยเกิดขึ้นจริง แต่ชะตาชีวิตอันเลวร้ายของผู้แพ้กลับเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา และคาดว่าจะยาวไกลไปถึงอนาคตกาล
    แม้กระนั้น ผู้พ่ายแพ้ในแต่ละรอบของวิกฤตและความเฟื่องฟูนั้น จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าผู้พ่ายแพ้ในรอบก่อนหน้าเสมอ ตามการยกระดับของอารยธรรมตลอดเวลาหลายพันปีที่ผ่านมา แน่นอนว่า ส่วนแบ่งที่ได้รับย่อมไม่น่าอภิรมย์นัก แต่ก็ยังดีกว่าความอดอยากล้มตายของผู้แพ้ในอดีตหลายพันปีที่ผ่านมา
    ข่าวดีที่สุด คือ ผู้ชนะในวันนี้ไม่ได้หมายความว่าในอนาคตจะต้องชนะตลอดไป โดยมีวิกฤตซับไพร์มเป็นตัวอย่างสอนใจที่ดีที่สุด สถาบันการเงินอายุยืนยาวนับร้อยปี และดูเหมือนยิ่งรุ่งโรจน์เรืองรองกว่าเดิมในช่วงฟองสบู่ซับไพร์ม ยังกลับพลิกผันล่มสลายลงในชั่วพริบตาได้ แต่ตราบใดที่อารยธรรมมนุษย์ยังคงยกระดับความมั่งคั่งและคุณภาพขึ้นตลอดเวลา (แม้จะมีช่วงตกต่ำเป็นระยะ) ทุกคนย่อมมีโอกาสที่จะรุ่งเรืองมั่งคั่งขึ้นมาบ้าง แต่ไม่ใช่ทุกคนจะได้รับความสำเร็จ โอกาสยิ่งใหญ่เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้แต่เฉพาะผู้ที่สั่งสมความสามารถ ความรู้ และทีมงานคนเก่งมาอย่างดี ซึ่งย่อมสามารถแสวงหาโอกาสในทุกรอบวิกฤต เพื่อจะกลายเป็นผู้บุกเบิกยุคใหม่ที่ดีกว่าเดิม


    ความล่มสลายของระบบทุนนิยมโลก ? ตอนจบ (ตีพิมพ์ใน “มติชนสุดสัปดาห์”) | Siam Intelligence Unit
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    QE2 จากสงครามค่าเงินสู่สงครามระบบการเงินโลก

    November 7, 2010

    โดย เบ๊นซ์ สุดตา
    สุดท้ายแล้วธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟดก็ได้ออกมาตรการทางการเงินในรูปของ การขยายงบดุลหรือ Quantitative Easing (QE) ออกมา โดยบอกว่านับแต่เดือนพฤศจิกายน 2010 ถึง มิถุนายน2011 เฟดจะทำการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯในตลาดเป็นเงิน 600,000 ล้านดอลลาร์ นอกจากนั้นแล้วจะนำเงินที่เป็นดอกผลจากสินทรัพย์ที่เฟดถือต่ออีกราว 250,000-300,000 ล้านดอลลาร์มาลงทุนต่อด้วย ทำให้เบ็ดเสร็จแล้ว มาตรการ QE ในรอบนี้มีมูลค่าที่แท้จริงอยู่ที่ 850,000-900,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนั่นหมายถึงสภาพคล่องจะทะลักเข้าสู่ระบบการเงินโลกเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันการทำ QE ในตอนนี้ก็ไม่จำกัดอยู่แค่ในสหรัฐฯเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศเจ้าของเงินสกุลหลักอื่นๆอย่างอังกฤษและญี่ปุ่นด้วย โดยอังกฤษคงมาตรการ QE ไว้ที่ 200,000 ล้านปอนด์ ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศอัดเงินเข้าตลาดพันธบัตร 5 ล้านล้านเยนซึ่งถือว่ายังเป็นเงินจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และขนาดเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเอง

    ในทางปฏิบัตินั้น QE2 เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วหลังจากเฟดได้ออกมาบอกใบ้ถึงแนวโน้มในการอัดฉีด สภาพคล่องครั้งใหญ่ ก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนครั้งวใหญ่ออกจากสหรัฐฯเข้าสู่ยุโรปและ ประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายส่งผลให้เงินดอลลาร์ร่วงลงอย่างรวดเร็ว ราคาสินทรัพย์และค่าเงินยุโรปและประเทศเกิดใหม่แข็งค่ากันทั่วหน้าจนกระทั่ง นายกุยโด้ มันเตก้า รัฐมนตรีคลังบราซิลออกมาเตือนว่าตอนนี้กำลังเกิด “สงครามค่าเงินระหว่างประเทศ” ขึ้นโดยเขาซัดทอดไปยังประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็น “The Old Big 4” ซึ่งล้วนแล้วเป็นแกนหลักขอลกลุ่ม G7 และเป็นเจ้าของเงินตราสกุลหลักได้แก่ สหรัฐฯ ยูโรโซน อังกฤษ และญี่ปุ่น ว่าไร้ความรับผิดชอบและเอาเปรียบประเทศอื่นด้วยการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำมาก และพิมพ์เงินออกมาแบบไม่จำกัดจนประเทศอื่นเดือดร้อน
    ความจริงปัญหาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่มาตรการ QE เป็นหลัก หากแต่เป็นความาต่อเนื่องของปัญหาระบบการเงินโลกซึ่งมีพลวัตเคลื่อนตัวต่อ เนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ประเด็นของการพิมพ์เงินออกมาแล้วแข่งกันแทรกแซงค่า เงินเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของการช่วงชิงการนำในระบบการเงินโลกระหว่างกลุ่ม The Old Big 4 ได้แก่ สหรัฐฯ ยูโรโซน อังกฤษ และ ญี่ปุ่น และ The New Big 4 ซึ่งก็คือ ประเทศกลุ่ม BRIC นั่นเอง ทั้งนี้แกนหลักของปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาและเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำ ไปสู่วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ก็คือ การเกิดความไม่สมดุลของการจัดการระบบเศรษฐกิจโลก (Global Economic Governance Imbalance) ซึ่งมีศูนย์กลางของโครงสร้างอยู่ที่เงินสกุลหลักและระบบอัตราแลกเปลี่ยน (Global Reserve Currency and Exchange Rate Regime)
    ทั้งนี้เนื่องจากการทะยานขึ้นมาของกลุ่ม BRIC ซึ่งมีเศรษฐกิจ ภาคการค้า และ ภาคการเงินที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วได้ก่อให้เกิดกระบวนการเคลื่อนตัวครั้ง ใหญ่ของศูนย์กลางเศรษฐกิจโลก ภายใต้ภาวะที่ประเทศเหล่านี้กลับต้องพึ่งพาและเดินตามกฎเกณฑ์และโครงสร้าง สถาบันเดิมที่กลุ่มยักษ์ใหญ่เก่าทั้ง 4 ซึ่งนำโดยสหรัฐฯได้กำหนดเอาไว้ ผลที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วของทุนสำรองในประเทศกลุ่ม BRIC และประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย ภายใต้สภาวะที่ประเทศเจ้าของเงินสกุลหลักกลับเป็นหนี้มากกว่าเดิมขณะที่ เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว หลังจากวิกฤตการเงินปะทุขึ้น สถานการณ์ในประเทศเจ้าของเงินสกุลหลักแย่ลงกว่าเดิมจากการเข้าไปอุ้มสถาบัน การเงินและต้องอัดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ภาระหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นมหาศาล ดังนั้นแล้วเมื่อภาระหนี้เพิ่มขึ้นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดภาระของรัฐบาลและ กระตุ้นเศรษฐกิจและราคาสินทรัพย์ไปในตัวก็คือ การทำ QE ผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งผลที่ได้นั้นจะทำให้รัฐบาลกู้เงินได้ถูกลง อัตราดอกเบี้ยลดลงทั้งระบบ และเป็นผลดีต่อราคาสินทรัพย์ด้วย ทั้งนี้กรณีของสหรัฐฯชัดเจนที่สุด รัฐบาลโอบามาที่มีหนี้สูงเป็นประวัติกาณ์กลับมีภาระดอกเบี้ยจ่ายคิดเป็น สัดส่วนต่อจีดีพีที่น้อยกว่ารัฐบาลคลินตันซึ่งมีการลดหนี้สาธารณะอย่างต่อ เนื่อง<sup>1</sup>
    ดังนั้น แท้ที่จริงแล้ว QE และ สงครามค่าเงิน หรือ Currency Warเป็นแค่อาการของปัญหาระดับโครงสร้างในระบบการเงินโลกที่เกิดขึ้น การที่ประเทศกลุ่ม BRIC และประเทศเกิดใหม่อื่นๆพยายามแทรกแซงค่าเงินเป็นแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และบรรเทาอาการในระยะสั้นเท่านั้นเพราะทุกประเทศล้วนยังพึ่งพาการส่งออกอยู่ แต่หากติดตามเหตุการณ์ทุกอย่างและนำมาปะติดปะต่ออย่างต่อเนื่องก็จะเห็น พลวัตและพัฒนาการของปัญหาที่เกิดขึ้นจะพบว่า ความขัดแย้งระหว่างประเทศร่ำรวยเจ้าของเงินสกุลหลักและประเทศเกิดใหม่ที่นำ โดยกลุ่ม BRIC มีความเข้มข้นและระอุขึ้นต่อเนื่อง โดยก่อนวิกฤตการเงินเกิดขึ้นมีการพูดถึงค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลงอย่างมาก ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯเรียกร้องให้ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะจีนมีการปรับค่าเงิน ให้แข็งขึ้นเพื่อลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งในแง่หนึ่งการเกินดุลที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นปัญหาในระยะสั้นถึงกลางสำหรับ ประเทศเกิดใหม่ แต่หากมองในเชิงโครงสร้างแล้วนั่นหมายถึงการไหลออกของทรัพยากรทางการเงินและ การเพิ่มขึ้นของอำนาจต่อรองของประเทศเกิดใหม่ซึ่งมีระบบการเมืองและระบบการ เงินโดยเฉพาะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากประเทศร่ำรวย การที่ประเทศเกิดใหม่โดยเฉพาะจีนสามารถสะสมทุนสำรองในเงินสกุลหลักทุกสกุลใน ปริมาณมหาศาลจะทำให้ดุลอำนาจในระบบอัตราแลกเปลี่ยนโยกจากประเทศผู้ยิ่งใหญ่ เดิมทั้ง 4 ซึ่งเน้นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว มาสู่ประเทศเกิดใหม่นำโดยกลุ่ม BRIC ที่เน้นการควบคุมค่าเงินและตลาดการเงิน<sup>2</sup> ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการสูญเสียอำนาจของสถาบันการเงินในตะวันตกรวมถึงผู้คุม เกมอย่างเฟดสาขานิวยอร์กและธนาคารกลางอังกฤษมาสู่มือของธนาคารกลางของกลุ่ม BRIC และบรรดากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติทั้งหลาย
    เหตุการณ์วิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นนั้นได้ทำให้โลกมีการตระหนักถึงปัญหานี้ อย่างชัดเจนหลังจากเกิดวิกฤตซ้ำซากและการก่อหนี้ที่มีแนวโน้มว่าจะไม่มทาง ใช้คืนได้ง่ายทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งผลที่เกิดขึ้นก็คือ การปล่อยมาตรการ QE ออกมาต่อเนื่อง ขณะที่อัตราดอกเบี้ยก็ต่ำใกล้ศูนย์ในประเทศเจ้าของสกุลเงิน ซึ่งเรื่องนี้ชัดเจนและรุนแรงเป็นพิเศษในกรณีของสหรัฐฯ และการออกมาตรการ QE 2 ของสหรัฐฯก็ถูกบรรดาประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาบางประเทศอย่างเยอรมนี ออกมาโจมตีการกระทำของอเมริกาอย่างต่อเนื่องถึงความไม่รับผิดชอบต่อประชาคม โลก และผลข้างเคียงของค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงอย่างรวดเร็วซึ่งก่อให้เกิดฟอง สบู่ในราคาสินท่รัพย์ครั้งมโหฬารอีกครั้ง แต่สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ คำตอบของนายเบน เบอร์นันเก้ที่มีออกมาทันทีหลังรัฐบาลต่างๆทั้งจีน บราซิล เยอรมนี ก็คือ สิ่งที่เฟดทำคือ การรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจภายในสหรัฐฯเท่านั้น<sup>3</sup> ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกมากที่สหรัฐฯกลับตอบออกมาเช่นนี้ ในขณะที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ทั้งสหรัฐฯและยุโรปออกมาสวดจีนถึงความไม่รับ ผิดชอบและเป็นต้นตอของปัญหาการขาดดุลการค้าและการว่างงานในประเทศตัวเองจาก การไม่ยอมให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้น
    ท่าทีของประเทศร่ำรวยที่มีต่อจีนและคำตอบของสหรัฐฯในเรื่อง QE แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการต่อสู้ที่เข้มข้นของขั้วอำนาจเดิมและขั้วอำนาจ ใหม่ในสงครามที่มากกว่าสงครามค่าเงินนั่นคือ สงครามระบบการเงินโลก (Global Monetary War) ที่ด้านหนึ่งประเทศร่ำรวยพยายามบีบประเทศเกิดใหม่ให้ค่าเงินแข็งค่า ขณะที่กลับปฏิเสธความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตัวเองทำและพยายามรักษาสถานภาพที่ นับวันจะขัดกับความเป็นจริงทุกขณะ แต่ดูเหมือนว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในระบบการเงินโลกนั้นจะชัดเจนขึ้นทุก ขณะ โดยในปี 2010 ถือได้ว่าโลกกำลังเข้าสู่ทศวรรษใหม่ของ Global Economic Governance Rebalance โดยพัฒนาการสำคัญของปี 2010มี 2 อย่างด้วยกันนั่นคือ การออกมาตรการต่อเนื่องของทางการจีนในการผลักดันเงินหยวนแข่งกับดอลลาร์ ซึ่งตอนนี้จีนประสบความสำเร็จมากในส่วนของความนิยมของการใช้เงินหยวนในการ ทำการค้าระหว่างประเทศ ขณะที่ก็เริ่มมีธนาคารกลางในเอเชียหลายแห่งแอบซื้อหยวนเข้าทุนสำรองแล้ว<sup>4</sup> ส่วนอีกเรื่องที่ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์ก็คือ การที่ประเทศกลุ่ม BRIC ได้โควตาการออกเสียงใน IMF มากขึ้น ขณะที่เสียงของประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนลดลง โดยจีนผงาดขึ้นมาเป็นสมาชิกใหญ่อันดับที่ 3<sup>5</sup>
    ดังนั้นแล้วเมื่อมองภาพใหญ่และพัฒนาการที่เกิดขึ้นทั้งหมด การกระทำของเฟดในครั้งนี้ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่อาจมี QE3 QE4 QE5 ออกมาเรื่อยๆจะก่อให้เกิดความตึงเครียดและความขัดแย้งในระบบการเงินโลกมาก ขึ้น ขณะเดียวกันก็ไม่ควรละเลยถึงโอกาสการเกิด QE เพิ่มเติมในประเทศยุโรปและญี่ปุ่นซึ่งเผชิญปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจเช่น เดียวกับสหรัฐฯและทุกคนก็ล้วนมีจีนเป็นจำเลยและเป้าหมายที่ต้องจัดการ และเมื่อสงครามครั้งนี้ขยายตัวไปถึงระดับ Superstructure คือ ระบบการเงินโลก เราจะเห็นการเคลื่อนตัวขององคาพยพของกองทัพทางการเงินที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ ซึ่งไม่ได้มีแต่ในส่วนของผู้กำหนดนโยบายอย่างธนาคารกลางเท่านั้น แต่จะรวมไปถึงตัวเล่นอื่นๆในระบบการเงินทั้งธนาคารพาณิชย์ วาณิชธนกิจ เฮดจ์ฟันด์ และกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ นโยบาย QE ที่ออกมาจะทำให้การต่อสู้ทั้งการโจมตีค่าเงินและการเคลื่อนย้ายเงินทุนใน เชิงยุทธศาสตร์เป็นไปอย่างเข้มข้นและดุเดือดมากขึ้น โดยตัวหลักที่จะขับเคลื่อนสงครามในครั้งนี้ก็คือ การปะทะกันของเงินหยวนและเงินดอลลาร์ในเชิงของสงครามในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน และการต่อสู้ในเชิงของการปรับเปลี่ยนกลไกในเชิงสถาบันซึ่งสะท้อนถึงคุณค่า และวาระทางยุทธศาสตร์ของแต่ละขั้วโดยเฉพาะความพยายามของจีนและประเทศเกิด ใหม่ในการพยายาามลดสัดส่วนเงินดอลลาร์และอาจรวมถึงเงินยูโรด้วยในโครงสร้าง ระบบทุนสำรองโลก ซึ่งการทำเช่นนั้นจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการค้า ตลาดการเงิน การธนาคาร และการออกกฎระเบียบในระบบเศรษฐกิจโลกด้วย
    แต่นั่นคงจะไม่ใช่เรื่องง่ายนักโดยเฉพาะกับจีนที่พยายามเป็นหัวหอกในการ เปลี่ยนแปลงซึ่งจะต้องถูกการต่อต้านซึ่งมีแต่จะรุนแรงขึ้นจากสหรัฐฯและ พันธมิตรประเทศผู้นำโลกการเงินกลุ่มเก่า การทำ QE มองในอีกแง่หนึ่งถึงเป็นการชะลอการผงาดขึ้นมาของกลุ่ม BRIC และประเทศเกิดใหม่ต่างๆเพราะประเทศเหล่านี่มีจุดอ่อนอยู่ที่การต้องพึ่งพา การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอยู่ และยังไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำการควบคุมระบบอัตราแลกเปลี่ยนและระบบการเงินได้ อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพราะยังไม่ใช่เจ้าของเงินตราสกุลหลัก การแข็งค่าอย่างรวดเร็วนอกจากจะทำลายภาคการส่งออกของประเทศเหล่านี้แล้วยัง เป็นการบีบให้ประเทศเหล่านี้ต้องสู้ค่าเงินอย่างรุนแรงในระยะสั้นและหลอกเอา ทุนสำรองเข้าตลาดพันธบัตรรัฐบาลของประเทศเจ้าของเงินสกุลหลัก ซึ่งนับวันอัตราดอกเบี้ยจะต่ำลงทุกทีๆขณะที่ค่าเงินก็มีแต่จะอ่อนค่าลงเมื่อ เทียบกับเงินประเทศเกิดใหม่ นั่นหมายความว่าธนาคารกลางทุกแห่งจะมีผลขาดทุนจากส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย พันธบัตรที่ธนาคารกลางออกเพื่อไล่ซื้อเงินสกุลหลักกับพันธบัตรรัฐบาลโดย เฉพาะของสหรัฐฯ และขาดทุนจากอัตราอัตราแลกเปลี่ยน และในระยะยาวนั้นมูลค่าของพันธบัตรรัฐบาลก็มีแต่จะลดลงเพราะเงินเฟ้อที่สูง ขึ้นย่อมกดให้ราคาพันธบัตรดิ่งลงอย่างรุนแรง
    ดังนั้นเชื่อได้เลยว่าทางแก้ในเชิงโครงสร้างที่เป็นไปได้ทางเดียวก็คือ ต้องพยายามสลัดพันธนาการทางการเงินออกจากเงินตราสกุลหลักเดิมที่มีแต่จะถล่ม ประเทศกลุ่ม BRIC ด้วยการออกมาตรการ QE แบบไม่จำกัดผสมโรงเข้ากับแรงกดดันทางการเมืองอื่นๆ จีนคงพยายามดันบทบาทเงินหยวนอย่างต่อเนื่องในขณะเดียวกันจะมีการออกมาโจมตี และตั้งคำถามต่อบทบาทของเงินดอลลาร์และประเทศสหรัฐฯในระบบเศรษฐกิจโลกมาก ขึ้น จีนเองจะมีการผนึกกำลังกับกลุ่ม BRIC และประเทศเกิดใหม่มากขึ้น เช่นเดียวกับที่สหรัฐฯจะรวมกำลังกับประเทศในยุโรปและญี่ปุ่นในการเปิดศึก ต่อสู้การผงาดของเงินหยวนในระบบการเงินโลก ทั้งนี้แนวโน้มระบบการเงินโลกในอนาคตที่น่าจับตามองมากก็คือ Cross-Border Capital Flow ภายในกลุ่มประเทศเกิดใหม่เองที่จะสูงขึ้นจากกิจกรรมต่างๆนอกจากการค้า ระหว่างกันทั้งการลงทุนระหว่างกัน การเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการค้าเงินของสกุลเงินและศูนย์กลางการเงินในประเทศ เกิดใหม่ที่นำโดย BRIC ซึ่งนั่นย่อมหมายถึงการลดบทบาทของเงินดอลลาร์ในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ตราสกุลต่างๆของโลกลงอย่างชัดเจน ทั้งนี้ตัวอย่างการทำ Currency Swaps Agreement และการจัดตั้งระบบซื้อขายสกุลเงินหยวนโดยตรงกับเงินสกุลอื่นเช่นเงินริงกิต น่าจะเป็นคำบอกใบ้ถึงแนวทางที่ประเทศเกิดใหม่อาจดำเนินในอนาคต
    QE2 จากสงครามค่าเงินสู่สงครามระบบการเงินโลก | Siam Intelligence Unit
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,903
    ค่าพลัง:
    +7,316
    <table border="0" width="100%"><tbody><tr><td valign="middle"> 2012 วันโลกาวินาศ(การล่มสลายของทุนนิยม)
    « เมื่อ: ตุลาคม 22, 2010, 03:24:24 PM »
    </td> <td style="font-size: smaller;" align="right" height="20" valign="bottom">
    </td> </tr></tbody></table> <hr class="hrcolor" size="1" width="100%"> เมื่อปี 2009 หรือปีที่แล้ว เราต่างก็ได้ยินข่าวการล้มของ เลย์แมน บราเธอส์ ธนาคารยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ แต่โชคดีที่ไทยเราได้รับผลกระทบนิดหน่อย ไม่หนักหนา แต่ปัญหาภายในของเรานั่นแหละที่หนักหนามากกว่า การล้มของเลย์แมน บราเธอส์ ได้บอกอะไรเราบ้าง เราลองไปดูด้วยกันทีสิว่า มันเป็นลางบอกเหตุอะไรหรือเปล่า สหรัฐอเมริกาถือได้ว่าเป็นประเทศ มหาอำนาจ ทั้งทางด้านการทหารและเศรษฐกิจ รวมไปถึงเทคโนโลยีด้วย หลายๆประเทศต่างก็นำระบบเศรษฐกิจของตนไปแขวนไว้กับ ระบบเศรษฐกิจของสหรัฐ รวมทั้งประเทศไทยด้วย สหรัฐอเมริกามีระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยม เต็มขั้น จนเลยเถิดไปถึง ความเป็น บริโภคนิยม ซึ่งไทยเราก็ลอกแบบมาได้เยอะเหมือนกัน จริงๆแล้วสหรัฐประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจมานับไม่ถ้วน แต่ก็เอาตัวรอดมาได้หลายครั้งด้วยเล่ห์เหลี่ยม ของพวกเขา แต่ในประวัติศาสตร์ ของสหรัฐ ทุกๆครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทุกๆครั้ง มักจะเกิดจาก "เงิน" เป็นสาเหตุ เพราะว่า สหรัฐอเมริกามี "เงิน"เป็นทรัพยากรหลักของประเทศ และทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ ประชาชนของเขา ต้องตกอยู่ในภาวะที่ แร้นแค้นมากกว่า ประชาชนในภูมิภาคอื่น เราคงจะเคยเห็นข่าวที่ คนอเมริกัน ในปีกลายที่ต้องออกมากางเตนท์นอนใน สถานที่สาธารณะเพราะไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน จริงๆแล้วมันมีเรื่องราวมากมายที่ทำให้คนอเมริกันต้องตกอยู่ในสภาพนั้น แต่มาจากเรื่องเดียวก็คือ สหรัฐไม่ได้มี ทรัพยากรมากพอที่จะเลี้ยง ประชากรของเขา เพราะประชากรของสหรัฐ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้ผลิต แต่เป็นผู้บริโภค ซึ่งนั่นก็คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทไทยแข็งตัว (อย่าเพิ่งไปโม้ให้ใครฟังว่าเศรษฐกิจบ้านเรามันดีขึ้น) เพราะการที่ "เงิน" ไม่มีฐานอย่างอื่นมารองรับ มันก็เป็นเหมือน ภาพมายาเท่านั้น สหรัฐยังยืนหยัดอยู่ได้ในวันนี้ ก็เป็นเพราะ "เครดิต"เท่านั้น แต่จะยืนได้นานแค่ไหนกัน ในขณะที่จีนกำลังคืบคลานเข้ามาชิงทุกๆตำแหน่งของอเมริกาแล้วในวันนี้ จีนได้เปรียบอเมริกา ตรงที่ จีนมีฐานทรัพยากรของตัวเอง แต่อเมริกาไม่มี แล้วมันเกี่ยวอะไรกับไทย คงไม่เกี่ยวถ้าเราไม่แขวนคอตัวเองไว้กับสหรัฐ แต่วันนี้มันไม่ใช่ เรายังคงเป็นสหายที่ดีของสหรัฐ แม้ว่าเพื่อนของเรากำลังถังแตก เราก็ไม่อาจจะทิ้งเพื่อนผู้นี้ไปได้ และเราก็ยังเป็นเพื่อนที่แสนดี แม้เราจะว่ายน้ำไม่เป็น เราก็ยังคง ลอยคออยู่กับเพื่อนที่กำลังจะจมน้ำ เพราะความเป็นเพื่อนที่ดีนี่แหละ ซึ่งมีการคาดกันว่า(ใครบ้างก็ไม่รู้) สหรัฐอเมริกาจะประสบภาวะวิกฤติอย่างหนักในปี 2012 หรืออีก สองปีข้างหน้า สาเหตุมาจาก "เงิน" เพราะว่า สหรัฐ กำลังพิมพ์เงินออกมาสู่ระบบเศรษฐกิจ ของสหรัฐ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เพื่อป้องกัน ภาวะเงินฝืด แต่นั่นมันก็เท่ากับการเร่งให้ สหรัฐเข้าสู่ภาวะ เงินเฟ้อเร็วขึ้น ถ้าเงินเฟ้อโดยที่ยังมี ฐานทรัพยากรรองรับไว้อยู่ มันก็ยังพอแก้ไขได้ แต่ถามว่า วันนี้ สหรัฐมีทรัพยากรอะไรอยู่ในมือล่ะ ถ้าเล่นโป๊กเกอร์ ก็หมายความว่า ตอนนี้สหรัฐกำลัง ลักไก่อยู่ สหรัฐถือแต้มต่ำสุด แต่ไม่ยอมหมอบ ซึ่งแน่นอนเมื่อไหร่ที่จีน ขอดู อเมริกาก็ เกมส์โอเวอร์ ซึ่ง "เขา" ผู้ชำนาญการต่างวิเคราะกันว่า มันจะเกิดขึ้นในปี 2012 นี่เอง มันไม่ใช่ภูเขาไฟจะระเบิด หรือน้ำจะท่วมโลกอย่างที่หนังเขาเอามาฉายให้ดูหรอกนะ หรืออาจจะใช่ แต่เป็นกระแสน้ำเงินดอลล์ยูเอสท่วมโลก จน คนอเมริกันและชนชาติอื่นๆที่เชื่อมั่นในสหรัฐ จะพากันพบกับวัน โลกาวินาศ ในปี 2012 ที่จะถึงนี้ แต่เป็นโลกของทุนนิยมนะครับที่จะวินาศสันตะโร เราพร้อมรับแรงกระแทกหรือยัง ?
    ปล. มันอาจเป็นเพียงแค่การคาดการเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี ทฤษฎีที่ว่า "วิกฤติของเรา มันคือโอกาสของคนอื่น และวิกฤติของคนอื่น มันคือโอกาสของเรา" ก็ยังใช้ได้ผล โดยเฉพาะ ใครก็ตามที่วันนี้ ถือทรพยากร แห่งการดำรงชีวิตอยู่ในมือ วันนั้น จะเป็นโอกาสของท่าน และใครที่ยังดำรงชีวิตอยู่โดยไม่มีฐานทรัพยากรในวันนี้ ในวันนั้นจะเป็น วิกฤติของท่าน สำหรับผม พร้อมแล้วที่จะรับแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้น [​IMG]

    2012 วันโลกาวินาศ(การล่มสลายของทุนนิยม)
     
  20. a-pin-ya

    a-pin-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    314
    ค่าพลัง:
    +672
    ร้าน โชห่วย ใน เมกา แทบไม่มีเลย สู้บริษัทใหญ่ ๆ ไม่ได้
    ตลาดนัด อะไร ก็ไม่มี
    แทบทุกคน จึงต้องหางานทำกับบริษัทใหญ่ ๆ
    ไม่สามารถเปิด หรือดำเนินธุรกิจ เล็ก ๆ ของตัวเองได้เลย
    ยกเว้นงานประเภทที่ เมกา ไม่สนใจทำ เช่น ร้านอาหารไทย

    เมื่อการค้า ไม่เปิดเสรี เช่นนี้ เอกชนรายย่อย ขับเคลื่อนไม่ได้ ตายเรียบ
    เศรษฐกิจ เมกา ก็ล่ม เปนธรรมดา
    นอกจากนี้สินค้าต่าง ๆ ที่ใช้ใน เมกา
    ก็แทบไม่มีที่ผลิตใน เมกา เลย สู้ค่าแรงไม่ไหว เงินไหลออกทุกวัน
    รัฐบาล USA ก็ไม่ได้แก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็นเลย
    ไปออก มาตราการ อะไรก็ไม่รู้ ยิ่งทำให้ปัญหาบายปลาย

    ต่างจาก จีน ลิบลับ ที่ปล่อยอิสระเสรี ใครใคร่ค้าค้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤศจิกายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...