เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐาณัฏฐ์, 26 ธันวาคม 2011.

  1. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
    กถาวัตถุปกรณ์



    [๑๑๓๖] สกวาที เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?
    ปรวาที ถูกแล้ว
    ส. ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดกับดับพร้อม มี
    วัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิตมีอยู่ มิใช่ หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. หากว่า ธรรมบางเหล่า ที่สหรคต เกิดร่วม ระคน สัมปยุต เกิดกับดับ
    พร้อม มีวัตถุอันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกันด้วยจิต มีอยู่ ก็ต้องไม่
    กล่าวว่า เจตสิกธรรมไม่มี

    [๑๑๓๗] ส. ผัสสะเกิดร่วมกับจิต หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. หากว่า ผัสสะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ผัสสะ
    เป็นเจตสิก
    ส. เวทนา ฯลฯ สัญญา เจตนา ฯลฯ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ราคะ
    โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เกิดร่วมกับจิต หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. หากว่า อโนตตัปปะเกิดร่วมกับจิต ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า
    อโนตตัปปะ เป็นเจตสิก
    ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิก หรือ?
    ส. ถูกแล้ว
    ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับผัสสะ ก็ชื่อว่าผัสสสิกหรือ?
    ส. ถูกแล้ว
    ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับจิต จึงชื่อว่าเจตสิกหรือ?
    ส. ถูกแล้ว
    ป. เพราะทำวิเคราะห์ว่า เกิดร่วมกับเวทนา ฯลฯ กับสัญญา ฯลฯ กับเจตนา
    ฯลฯ กับสัทธา กับวิริยะ กับสติ กับสมาธิ กับปัญญา กับราคะ
    กับโทสะ กับโมหะ ฯลฯ กับอโนตตัปปะ ก็ชื่อว่า อโนตตัปปสิก
    หรือ?
    ส. ถูกแล้ว
    ส. เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า จิตนี้และบรรดาเจตสิกธรรมย่อมปรากฏ
    แก่ผู้ทราบชัดโดยความเป็นอนัตตา ครั้นทราบชัดธรรมทั้ง ๒ นั้น
    ทั้งที่หยาบและประณีตแล้ว ก็เป็นผู้มีความเห็นโดยชอบ ทราบชัดว่า
    มีอันแตกดับเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่น่ะสิ

    [๑๑๓๘] ส. เจตสิกธรรมไม่มี หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
    ทายได้แม้ซึ่งจิต แม้ซึ่งเจตสิก แม้ซึ่งการที่ตรึก แม้ซึ่งการที่ตรอง
    ของสัตว์อื่นๆ ของบุคคลอื่นๆ ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจ
    ของท่านเป็นโดยประการนี้บ้าง จิตของท่านเป็นฉะนี้บ้าง ดังนี้ ๑- เป็น
    สูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?
    ป. ถูกแล้ว
    ส. ถ้าอย่างนั้น เจตสิกธรรมก็มีอยู่ น่ะสิ

    เจตสิกกถา จบ

    หมายเหตุ
    ในคัมภีร์กถาวัตถุนี้ คำว่า "สกวาที" (ส.) หมายถึง พระเถระนิกายเถรวาท ซึ่งยึดหลักคำสอนเดิม ไม่มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมหรือตัดทอนพระพุทธพจน์ตามมติที่ประชุมสังคายนาครั้งที่ 1 ซึ่งมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน

    ส่วนคำว่า "ปรวาที" (ป.) หมายถึง ภิกษุในนิกายอื่นนอกจากนิกายเถรวาท ในที่นี้หมายถึงพวกภิกษุในนิกายวัชชีปุตตกะ นิกายสมิติยะ และพวกอัญเดียรถีย์ที่ถือสัสสตวาทะ



     
  2. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอความรู้หน่อยครับ ท่าน

    วิญญาณขันธ์ คือ จิตที่ส่งออกนอก หรือป่าวครับ

    วิญญาณขันธ์ เป็น เจตสิก หรือป่าวครับ
     
  3. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    วิญญาณขันธ์ เป็นขันธ์ๆ หนึ่งในจำนวนขันธ์ 5 เรียกว่าวิญญาณขันธ์

    จิตนั่นแหละเป็นวิญญาณขันธ์ จะส่งนอกหรือส่งในก็คือจิต

    วิญญาณขันธ์มิใช่เจตสิก แต่เป็นจิตที่รับรู้อารมณ์ต่างๆได้

    ชุดที่ ๒ ชีวิตคืออะไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2011
  4. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอบคุณคุณแปะแปะครับ

    ที่ผมสงสัยก็เพราะวิปัสสนึกอยู่ว่า นิพพานคือ ขันธ์ 5 ดับ

    ก็เลยสงสัยว่า ถ้าจิตคือวิญญาณขันธ์ ถ้าอย่างนั้น นิพพานแล้วจิตก็ดับไปด้วย ล่ะมั้งครับ

    แต่มันก็ไม่สำคัญอะไรหรอกครับ เพราะมันเป็นแค่วิปัสสนึก ฟุ้งซ่าน ทางที่ถูกมันก็ควรวิปัสสนาให้เห็นของจริง ใช่มั้ยครับ

    อิอิ

    อนุโมธนาสาธุครับ
     
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    หมายถึงความดับแห่งอุปาทานขันธ์ (ความหมายมั่นว่าขันธ์เป็นเรา เราเป็นขันธ์ ขันธ์เป็นของเรา).......... ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา คือความเพลินพอใจใดใด ในขันธ์ นั่นคือ สมุทัย..........เพราะฉนั้น ความ ดับ ตรงนี้ จึงต้องเข้าถึงด้วยตัวเอง เพราะดับ นี้อาจจะไม่ใช่ดับในความหมายของความหมาย ดับ ทั่วทั่วไปนะครับ...............
     
  6. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    เจตสิก คือไรครับบอกที
     
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD id=postmessage_101 class=t_f>
    เจตสิก ๕๒
    เป็นธรรมที่ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกันกับจิต

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    เจตสิกปรมัตถ์
    ในขณะที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้น มีนามปรมัตถ์อีกประเภทหนึ่งเกิดร่วมกับจิต และรู้อารมณ์เดียวกับจิต นามปรมัตถ์นั้นคือเจตสิก เจตสิกได้แก่ ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ ความตระหนี่ ความริษยา ความเมตตา ความกรุณา เป็นต้น สภาพธรรมเหล่านี้เป็นเจตสิกปรมัตถ์ ไม่ใช่จิตปรมัตถ์
    ความโกรธ ความรัก ความสุข ความทุกข์ เป็นต้นนั้น เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นสภาพธรรมที่ต้องเกิดกับจิต ถ้าไม่มีจิต เจตสิกคือ ความโกรธ ความรัก ความทุกข์ เป็นต้นนั้น ก็เกิดไม่ได้ เจตสิกปรมัตถ์มี ๕๒ ประเภทหรือเรียกว่า ๕๒ ดวง เช่น ความโกรธ (โทสะ) ก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง มีลักษณะหยาบกระด้างดุร้าย ความรักก็เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง คือ โลภเจตสิก มีลักษณะยึดติด ไม่สละและปรารถนาอารมณ์ จะเห็นได้ว่า เจตสิกแต่ละประเภทเป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างเดียวกัน นอกจากมีลักษณะต่างกัน กิจของเจตสิกแต่ละอย่างก็ต่างกัน ผลคืออาการที่ปรากฏก็ต่างกัน และเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดเจตสิกแต่ละประเภทก็ต่างกัน
    จิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ เป็นนามธรรมที่รู้อารมณ์และเกิดร่วมกัน เจตสิกเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต และเกิดที่เดียวกับจิต คือ จิตเกิดดับที่ไหน เจตสิกก็เกิดดับที่นั่น จิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์นั้นไม่แยกกัน คือไม่เกิดดับแต่เพียงปรมัตถ์เดียว จิตเป็นใหญ่ เป็นประธานในการรู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกต่างๆ ที่เกิดร่วมกับจิต ก็รู้อารมณ์เดียวกับจิต แต่มีลักษณะและหน้าที่ในการรู้อารมณ์นั้นต่างกันไปตามลักษณะ และกิจการงานของเจตสิกแต่ละประเภท เพราะเหตุที่จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นนั้น มีเจตสิกเกิดขึ้นร่วมด้วยมากน้อยต่างๆ กัน และเป็นเจตสิกต่างประเภทกัน จึงทำให้จิตต่างกันเป็น ๘๙ หรือ ๑๒๑ ประเภท โดยพิเศษ จิตแต่ละประเภทนั้นไม่เหมือนกัน โดยรู้อารมณ์ต่างกันบ้าง โดยทำกิจต่างกันบ้าง โดยเจตสิกที่เกิดร่วมด้วยต่างกันบ้าง เช่น จิตบางดวงมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ จิตบางดวงมีเสียงเป็นอารมณ์ จิตบางดวงทำกิจเห็น จิตบางดวงทำกิจได้ยิน เป็นต้น จิตบางดวงมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย จิตบางดวงมีโทสเจตสิกเกิดร่วมด้วย ดังนี้เป็นต้น
    เมื่อเวไนยสัตว์ฟังพระอภิธรรม ก็พิจารณาสภาพปรมัตถธรรมที่ปรากฏ ด้วยปัญญาที่ได้อบรมสะสมมาแล้วในอดีต จึงรู้ความจริงของปรมัตถธรรมในขณะนั้นได้ ด้วยเหตุนี้ในครั้งพุทธกาล เมื่อพระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมจบลง จึงมีผู้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นจำนวนมาก เพราะท่านเหล่านั้นฟังพระธรรมเข้าใจ และพิจารณารู้ความจริงของสภาพปรมัตถธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น เช่น เมื่อพระองค์ทรงเทศนาว่า จักขุวิญญาณ คือจิตที่ทำกิจเห็นนั้นไม่เที่ยง ท่านเหล่านั้นก็มีสติสัมปชัญญะ รู้สภาพลักษณะของจิตในขณะที่กำลังเห็นนั้นได้ถูกต้อง ว่าเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ในขณะที่กำลังได้ยิน ท่านเหล่านั้นก็มีสติสัมปชัญญะรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะที่กำลังได้ยินนั้น เมื่อปัญญารู้แจ้งลักษณะไม่เที่ยง เกิดดับ เป็นทุกข์ ของปรมัตถธรรมที่ปรากฏในขณะนั้น แล้วก็ละคลายความยินดีเห็นผิด ที่ยึดถือปรมัตถธรรมเหล่านั้นเป็นตัวตน เที่ยง และเป็นสุข ฉะนั้น พึงเข้าใจให้ถูกต้องว่า พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงตรัสรู้ และทรงเทศนาสั่งสอน ซึ่งได้รวบรวมบันทึกไว้เป็นพระไตรปิฎกนั้น เป็นเรื่องความจริงของสภาพธรรมทั้งปวง เมื่อศึกษาและเข้าใจปรมัตถธรรมแล้ว ก็ควรพิจารณาปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏ เพื่อรู้แจ้งลักษณะความจริงของ ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏนั้น จึงจะละความสงสัยและความไม่รู้ ในสภาพลักษณะของปรมัตถธรรมได้อย่างแท้จริง
    การศึกษาเพื่อให้เข้าใจปรมัตถธรรมนั้น จะต้องพิจารณาถึงเหตุผลจึงจะเข้าใจได้แจ่มแจ้ง เช่น จะต้องรู้ว่าสภาพที่เห็นกับสภาพที่ได้ยินนั้นเหมือนกันหรือไม่ ถ้าเหมือนกัน เหมือนกันอย่างไร ถ้าไม่เหมือน ไม่เหมือนกันอย่างไร สภาพเห็นและสภาพได้ยินเป็นจิตปรมัตถ์ก็จริง แต่ไม่ใช่จิตเดียวกัน เพราะเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดต่างกัน จิตเห็นนั้นต้องอาศัยสิ่งที่ปรากฏทางตากระทบกับจักขุปสาทเป็นปัจจัยจึงจะเกิดได้ ส่วนจิตได้ยินต้องอาศัยเสียงกระทบกับโสตปสาทเป็นปัจจัยจึงจะเกิดได้ จิตเห็นและจิตได้ยินมีกิจต่างกันและเกิดจากปัจจัยต่างกัน
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    อนุโมทนาอาแปะ และทุกท่านนะครับ ^^

    จิต วิญญาณ หทัย มโน เป็นสิ่งเดียวกัน ครับ

    และ จิตไม่มีทางออกนอกครับ

    เป็น จิต ครับ


    อันนี้แถมให้ ^^

    มีคนเข้าใจว่า วิญญาณ กับ จิต เป็นคนละอย่างกัน

    เพราะ สับสนในเรื่อง ขณะตาเห็นนั้น ซื่งเกิด จักขุวิญาณ หรือ จิตรู้เห็น แล้วยังมีกราระลึกรู้ว่าเห็นทีทีนึง นั้นคืออะไร

    หรือ เกิดสัญญา เวทนา สังขาร ปรุงแต่งเป็นโกรธ ชอบ เฉย สงบ ก็ยังมีตัวรู้อยู่อีกตัวนึงที่เข้าไปรู้สิ่งนั้น นั่นคืออะไร

    พึ่งทราบว่าจิตเกิดดับรวดเร็ว เดี๋ยวเห็น เดี๋ยวคิด เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวสุข ฯลฯ

    ข้อที่จิตรู้ทางทางแล้วทีการระลึกรู้การเห็นอีกทีนั่น เป็นจิตมโนทวารที่รู้ ซึ่งระลึกได้ ๓ กาล ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต

    ส่วน เมื่อลงมโนทวาร เกิด นามรู้นาม เวทนา สัญญา สังขาร นั้น ก็เป็นเรื่องของวิญาณขันธ์เช่นกัน

    ขณะที่รู้อยู่นั้นวิญาณขันธ์อยู่นั่น ก็เกิดเจตสิดปรุงแต่งอยู่ด้วย ขึ้นอยู่ว่าเป็นปัญญา หรือเป็นโมหะ ในขณะนั้น


    ทีนี้ เอกคัตตาก็เป็น เจตสิกตัวนึง เป็นสภาพกลางๆ เกิดขึ้นกับจิตทุกดวง

    ในชีวิตประจำวันเราก็มี สมาธิในการทำงาน สมาธิในการมอง สมาธิในการเดิน

    อาจเป็นสมาธิช่วงสั่นๆ สมาธิเล็กน้อย ที่พอให้ตั้งมั่นเป็นขณะๆในกิจต่างๆ


    ทีนี้ เวลานั่งหลับตา จนเกิดสงบ ตั่งมั่น แน่วแน่ อะไรก็ตามแต่

    เอกัคตานี้ มันก็เกิดดับซ้ำๆอยู่อย่างนั้น จนดูเหมือนว่ามีอารมณ์เดียว เป็นอันเดียว

    เหมือนการทำงานของหลอดไผที่กระพริบเกิดดับรวดเร็ว จนดูเหมือนไม่เกิดไม่ได้

    และแน่นอน เจตสิกมีธรรมชาติเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต

    ย่อมมีความเห็นผิดว่า จิตไม่เกิดไม่ดับ


    ซึ่งส่วนมาก ก็จะติดขัดกันอยู่ในสภาพธรรมนี้กัน ลงไตรลักษณ์ไม่ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 ธันวาคม 2011
  10. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    “เอาจิตไปตั้งไว้ตรงไหนขอรับ หลวงปู่?”
    “ตั้งไว้ในกายนั่นแหละ แล้วคอยระวังมันไว้...”
    “ระวังอะไรขอรับ?”
    “ระวังอย่าให้จิตมันออกนอกกาย...”
    “เอาอะไรไประวังมันขอรับ?”
    “สติ...”

    -----------------------------------------------------------------------------

    ฝ่ามือหลวงปู่ได้ประเคนลงไปที่ศีรษะข้าพเจ้า ถึงกับสะดุ้งสุดตัวตื่นจากภวังค์
    หลวงปู่ตวาดแหววเสียงเขียวอย่างเกรี้ยวกราด....
    “อย่าเอาจิตออกนอก”
    (คัดลอกจากหนังสือบนเส้นทาง...อรหันต์ (ศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)เป็นประสบการณ์ชีวิตของบัว ปากช่อง ในแวดวงแห่งพระกรรมฐาน
    สาย ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตะสีโล และท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตซึ่งขณะนั้นบัว ปากช่อง ได้เข้าไปใช้ชีวิตในผ้าเหลือง แทบเท้าบูรพาจารย์รูปต่างๆ)

    ------------------------------------------------------------------------------

    ลูกศิษย์ท่านก็อ้างว่า เป็นคำสอนหลวงปู่ดุลย์ น่ะครับ

    แล้วพระป่าสายพระอาจารย์มั่นก็สอนกันอย่างนี้ แต่ผมคิดว่า คงไม่ได้ หมายถึงจิตตัวเดียวกับในพระไตรปิฎก ล่ะมั่งครับ

    ------------------------------------------------------------------------------

    เคยได้ยิน ว่า ท่านพุทธทาส ก็สอนว่า นิพพาน ไม่ใช่ นาม ทั้งที่ พระไตรปิฎก ก็บอกว่า เป็น นาม

    กบในกะลา อย่างผม ก็เลยไม่รู้ ว่า จะเชื่อใครดี นี่ขอรับ

    ------------------------------------------------------------------------------

    ขอบคุณคุณpaetrixด้วยครับ ผมเข้าใจคลาดเคลื่อนไปเอง การดับคือดับความหลงผิดเกี่ยวกับขันธ์ ไม่ใช่ดับขันธ์นะครับ

    ขอบคุณคุณหลงนะครับ พยายามอ่าน แม้จะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง อิอิ คิดว่า ท่านคงเขียนเกี่ยวกับวิปัสสนาญาณตัวท้ายๆ ซึ่งอธิบายมาเป็นคำพูด คงเข้าใจลำบาก ถ้าอยากรู้จริง คงต้องตั้งใจปฏิบัติ ให้ถึงเอง นะครับ

    อนุโมธนา สาธุ ทุกท่าน ที่ทำให้ผมหายโง่ ไปอีกหน่อย

    นั่งสมธิให้ได้ฌาณ เป็นก้อนอิฐ ก้อนหิน ยังง่ายกว่าแยยะเลยครับ อิอิ

    :cool:
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    คำว่า เอาจิตไปตั้งไว้ที่ไหน หมายถึง ระลึกรู้อะไรมากกว่าครับ

    คำว่า อย่าเอาจิตส่งออกนอก คำนี้ไม่เข้าใจว่าเข้าใจตรงกันรึเปล่า

    หมายถึงใจลอย ฟุ้งหรือ คิดเรื่องอื่นๆ อาการระลึกรู้

    แต่ทั้งหมดนั่น ก็เป็นการบังคับจงใจ ยังเห็นเป็นเราที่ทำ เราบังคับ เราที่รู้ รู้ของเรา

    คำว่า จิตออกจากกาย ถ้าในวิปัสสนาภูมินั่น

    เคยสังเกตุบ้างไหม เวลาเห็นวัตถุภายนอกนั้น

    จิตออกวิ่งไปรู้ที่วัตถุ หรือภาพวัตถุนั้นกระทบตา

    หรือ หูวิ่งออกไปรู้เสียง หรือ เสียงกระทบหู

    หรือที่บอกว่าเห็นภาพต่างๆ เป็นสถานที่ เป็นบุคคล ขณะนั้นตาเห็นจริงหรือไม่

    จิตออกข้างนอกไปไปรู้เรื่องราวต่างๆ หรือว่าเกิดจากอำนาจจิตปรุงแต่งอยู่ในขณะนั้นครับ


    คงหมายถึง นิพพานเป็นส่วนนามธรรม หากเปรียบในลักษณะเข้าใจ จิต เจตสิก รูป

    แพททริก เคยนำพุทธพจน์ ความดับไปแห่งรูปและนามในปฏิจสมุปบาทมาแปะนั้นถูกครับ พุทธพจน์ไม่ผิด

    หมายถึง เกิดปัญญาขณะประจักษ์ลักษณะธรรม ถ้าสูงขึ้นไปอีกคือเห็นมรรคจิต ผลจิต

    แต่ในที่นี้คงหมายถึง ตทังคปหาน ใช่ไหมครับ


    และ ไม่ใช่ว่า ขันธ์ดับ โดยไม่รู้ไม่เข้าใจว่าขันธ์ดับยังไง รู้แต่ว่ามันดับ แต่อะไรดับก็ไม่รู้

    รู้แต่มันไม่มีอะไรมาปรุง หรือปรุงก็แยกจากกันไม่ไปเกี่ยวยึดกัน หรือสงบอยู่อย่างนั้น

    พวกนี้ไม่ใช่ปัญญาดับความหลงผิด เชื่อว่ามาถึงตรงนี้บางคนเกิดกังขา บางคนเกิดทิฏฐิอื่น

    บางสำนักแนะในพบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้

    บางสำนักว่าผู้รู้นี้ไม่เกิดไม่ดับเพราะที่เกิดดับ คืออาการจิตได้ดับไปแล้ว

    บางสำนักว่า หลุดจากขันธ์ ๕ เหลือเป็นจิตผ่องใสแล้ว

    ก็ว่ากันไปครับ
     
  12. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    เรื่องจิตส่งนอกนั้น ค่อน ข้างลึกซึ้งนะครับ..หมายถึงถ้าเรามี ราคะ ตัณหา ในวิญญาน(เน้น การเกิด ตัณหา ราคะ นะครับ ในสิ่งที่วิญญานรู้) สิ่งที่ รู้ได้อย่างเดียว คือ "สติ" ตามที่ปู่ดุลย์ บอก แต่นั้นก็ จะหมายความว่า เรามี "สติ" ตลอดเวลาก็ว่า ได้...แต่ผมคิดว่า ต้องมีเครื่องมือบางอย่างนะครับ....อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ "อานาปานสติ" คือเครื่องมือ หรือ วิหารธรรม ก็ได้......................................................ขอนำพระวจนะ มาแสดง ครับ พระวจนะ" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ ตรัสว่าเครื่องนำไปสู่ภพ เครื่องนำไปสู่ภพดังนี้ ก็เครื่องนำไปสู่ภพ เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า และความดับไม่เหลือของเครื่องนำไปสู่ภพนั้นเป้นอย่างไรเล่าพระเจ้าข้า?.... ราธะ ฉันทะก็ดี ราคะ ก็ดี นันทิ ก็ดี ตัณหาก็ดี และ อุปายะ(กิเลสเครื่องนำไปสู่ภพ) และอุปาทาน อันเป็นเครื่องตั้งทับ เครื่องเข้าไปอาศัย และเครื่องนอนเนื่องแห่งจิตก็ดี ใดใด ใน รูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาน กิเลสเหล่านี้นี่เราเรียกว่า เครื่องนำไปสู่ภพ ความดับไม่เหลือ ของเครื่องนำไปสู่ภพมีได้ เพราะความดับไม่เหลือของกิเลส มีฉันทะ ราคะ เป็นต้นเหล่านั้นเอง"..............(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ............ ทีนี้ มันมาขมวด ตรง กิเลส ตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ โลภะ เพราะสิ่งนี้คือสิ่งที่ ควรละ....เพราะมันเป็นสาเหตุแห่งภพ แห่งทุกข์.....บางที่ เราไปหลงประเด็นที่มาถก กัน เรื่องอื่นอื่น ไปเสียมากมาย จังฮู้ นะครับ:cool:
     
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    หมายถึงเผลอ ขาดสติ ถูกไหม

    เพราะยังไงมันก็ไม่พ้น ผัสสะ กระทบตรงอายตนะ

    แต่ไม่ไช่ จิตร่องลอยออกจากร่าง ออกไปรู้เรื่องราวต่างๆข้างนอก แต่ไม่รู้ว่ากำลังหายใจอยู่ ทำนองนี้รึป่าว

    ส่วนความเห็นส่วนตัว อานาปาสติ เป็นเครื่องอยู่เป็นวิหารธรรมของพระอริยะ

    ไม่ใช่ฐานะของคนทั่วไป ที่ยังข้องกามจะใช้เป็นวิหารธรรมได้

    ผิดถุกอย่างไร ชี้แนะด้วย :cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 ธันวาคม 2011
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    บางทีรู้ลักษณะอย่างเดียวไม่พอ ต้องแสดงออกด้วย

    จิตที่คิดสละ ปัญญาที่เห็นโทษของกาม การทำทาน การรักษาศีล ก็เป็นการสางกิเลสเหมือนกัน

    เรื่องหลงประเด็น ไม่รู้เข้าใจตรงกันรึเปล่า

    ผมเห็นไปหมกมุ่นกันอยู่ที่ สภาวะของสมาธิเป็นส่วนใหญ่ และก็พูดกันนานมากแล้ว หรือไม่ก็ไปคุยกันเรื่องปัญญาส่วนผล

    โดยไม่ชี้ไปที่เหตุกัน :cool:
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ............ปู่ดุลย์ ท่านเลย กล่าวถึงสติไงครับ ผมว่า...ทีนี้ส่งนอก ก็ คงหมายถึง เรามีตัณหา(เสพ จนสร้างความเพลิน พอใจ ไม่พอใจ โดยไม่รู้ตัว) ในสิ่งที่วิญญานขันธ์ เราไปรู้ทางอายตนะ...จะว่า การ มีสติ มันดึง เรากลับมา ให้อยู่กับ เนื้อกับตัวก็ว่าได้นะครับ:cool:......... ส่วนการเจริญ อานาปานสตินั้น หลวงพี่คึกฤทธฺิ์ วัดนาป่าพง ท่านก็สอนให้ ญาติโยม เจริญให้มาก...ให้มีฐาน...นะครับ เหมือน ฮ. บินไปกลับ ฐาน ก็จะรู้ พอรู้ว่า มันมีการมาการไป ก็เห็นว่า มัน อนิจจัง มันเป็นอุบายที่ไม่ยากนัก เข้าใจง่าย และ พระท่านก็สอนนะครับ พี่:cool:
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    .......... ตรงนี้ อาจจะเป็นการ สำรวมอินทรีย์ หรือ อินทรีย์สังวรณ์ ก็ได้นะครับ...ที่นำไปสู่ สติปัฎฐานสี่ ที่นำไปสู่ สัมมาสมาธิ ต่อไปเพื่อ วิราคะ....ก็ คงตามลำดับ การภาวนาไปครับ......คราวนี้อยู่ที่อินทรีย์ภาวนา หรือ สัมมัปธานสี่สัมมาวายามะ ละครับ:cool:
     
  18. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    วันนี้ อ่านมาหลายกระทู้แล้ว มึนๆแล้วครับ กระทู้นี้ ค่อนข้างยาก พรุ่งนี้ ค่อยกลับมาอ่านใหม่ละกันครับ ขอดันๆกระทู้ไว้ก่อนละกัน

    วันนี้ มีเรื่องใหม่ มาอีกแล้วครับ อิอิ

    ตามความเข้าใจ ของผมนะครับ

    จากที่ได้อ่านกระทู้ คำเทศน์ ของหลวงพ่อ พุทธ ฐานิโย เมื่อวันก่อน

    พอเราฝึกสมาธิเริ่มจะได้ผลบ้าง

    การที่จิตคิด เรียกว่า วิตก

    การที่เราตามระลึกได้ ว่า เมื่อกี้ เราคิด เรียกว่า วิจารณ์

    ทีนี้ การที่เราเริ่มมีสมาธิ มันก็เลยเหมือนกับว่า เราคิดวุ่นวาย ฟุ้งซ่านไปหมด ทั้งที่ เมื่อก่อน เราคิดฟุ้งซ่านกว่านี้ แต่เราไม่มีตัววิจารณ์ แต่ตอนนี้ เรามีตัววิจารณ์แล้ว เราเลยรู้สึก ว่าคิดฟุ้งซ่านมาก

    ผมเข้าใจอย่างนี้ ถูกมั้ยครับ

    ปล ยกเรื่องที่ว่า มีตัวเราผู้คิด ออกไปก่อนนะครับ แค่นี้ ก็งงพออยู่แล้ว ขอแค่ขั้นนี้ ก่อนละกัน

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  19. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,480
    ค่าพลัง:
    +1,880
    ......... วิตก วิจารณ์ คือ ความต่อเนื่องของสมาธิครับ...ยกตัวอย่าง คุณพิจารณาลมหายใจเข้าออก คือ คุณยกลมหายใจเข้าออกมาเป็นวิตก ความต่อเนื่องของการพิจารณา คือ วิจารณ์... มันคือ ความต่อเนื่องไม่ขาดสายนั้นเอง................. ที่คุณว่ามา มันก็ถูก พอต่อเนื่องมันก็นิ่งเป็นสมถะคุณอาจจะระงับความฟุ้งซ่านในตอนเริ่มแรกได้เหมือนที่ว่ามา.....แล้วแต่ว่าคุณจะยกสิ่งใดมาพิจารณาเป็น " นิมิต"อารมณ์เครื่องหน่วงจิต เพื่อ ความต่อเนื่อง ก็กลายเป็น วิตก วิจาร ก็ เพื่อ ความ ตั้งมั่นนั้นเอง( จิตตั้งมั่น):cool:
     
  20. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แล้ว โยนิโสมนสิการ และ สัมมาสังกัปปะ คืออะไรครับเฮีย ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...