เจตสิก ๕๒ เกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต รู้อารมณ์เดียวกับจิต อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 14 กรกฎาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรง พิจารณารายละเอียด เกี่ยวกับพระอภิธรรม ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะ ในพระพุทธศาสนา อยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณา เรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัย ในปรมัตถธรรม อันเป็นที่มาของคัมภีร์ปัฏฐานอยู่นั้น ก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก แผ่ออกจากพระวรกาย อย่างน่าอัศจรรย</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ในช่วง ๖ พรรษาแรก ของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรม เป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบาย ให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่ จะรับอรรถรส ของพระอภิธรรมได้นั้น ต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วย ศรัทธาอันมั่นคง และได้เคยสั่งสมบารมี อันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้ มาบ้างแล้วแต่กาลก่อน แต่ในช่วงต้น ของการประกาศศาสนานั้น คนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อ ในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคำสอน เกี่ยวกับปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้ว ความสงสัยไม่เข้าใจ หรือความไม่เชื่อย่อมจะ เกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจ หรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่น ดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลด</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรม เป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณ ของพระมารดา ด้วยการแสดงพระอภิธรรม เทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้ สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน และได้อุบัติเป็นเทพบุตร อยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต มีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหม จากหมื่นจักรวาลจำนวนหลายแสนโกฏิ มาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม แก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดาร ตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> สำหรับในโลกมนุษย์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงแก่ พระสารีบุตรเป็นองค์ แรก คือในระหว่างที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้น แสดงธรรมแทนพระองค์ แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาต ในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้ว ก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทน์ ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ ใกล้กับสระ อโนดาต เพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระ มาเฝ้าทุกวัน หลังจากที่ทรงเสวยแล้ว ก็ทรงสรุปเนื้อหาของพระอภิธรรม ที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดา และพรหม ให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน ๕ เสร็จ แล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลก เพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรง กระทำเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน เมื่อการแสดงพระอภิธรรมบนเทวโลก จบสมบูรณ์แล้ว การแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตร ก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดา และพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฏิได้ บรรลุธรรม และสันดุสิตเทพบุตร(พุทธมารดา) ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> เมื่อพระสารีบุตร ได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นำมาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน โดยสอนตามพระพุทธองค์ วันต่อวัน และจบบริบูรณ์ ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระอภิธรรมของพระสารีบุตร ที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ เป็นการสอนชนิดไม่ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัย ศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาว อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัย อยู่ในถ้ำนั้นเช่นกัน กำลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยาย พระอภิธรรมก็รู้เพียงว่า เป็นพระธรรม เท่านั้นหาได้รู้ความหมายใดๆ ไม่ แต่ก็พากันตั้งใจฟัง ตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อสิ้น จากชาติที่เป็นค้างคาวแล้ว ก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของ พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น จึงได้จุติจาก เทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุ ในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียน พระอภิธรรม จากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมาการสาธยาย ท่องจำและการถ่ายทอดความรู้ เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไป อย่างกว้างขวาง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระ อุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ ๖ ฉฬภิญญะ ๗ และเตวิชชะ ๘ ได้ช่วยกันทำ สังคายนาพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่อง พระอภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สำคัญมาก ของพระพุทธศาสนา การทำสังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๙ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาว กาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษาพระอภิธรรม อยู่ที่สำนักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉาน และได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง ต่อมาท่านได้รับอาราธนา จากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายก ให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียด ลึกซึ้งมากนั้น ให้สั้นและง่าย เพื่อสะดวกแก่การศึกษา และจดจำ ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์ แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์ ได้อาศัยพระอภิธรรมปิฎก ทั้ง ๗ คัมภีร์มาเป็นหลัก ในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อ และเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3>อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ + ธัมมะ + อัตถะ + สัง + คหะ </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="81%"><TBODY><TR><TD width="16%" align=middle>อภิ</TD><TD width="20%" align=middle>=</TD><TD width="64%">อันประเสริฐยิ่ง </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=middle>ธัมมะ</TD><TD align=middle>=</TD><TD>สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน </TD></TR><TR><TD align=middle>อัตถะ</TD><TD align=middle>=</TD><TD>เนื้อความ </TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD align=middle>สัง</TD><TD align=middle>=</TD><TD>โดยย่อ </TD></TR><TR><TD align=middle>คหะ</TD><TD align=middle>=</TD><TD>รวบรวม </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความ ของพระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน) แต่ละปริจเฉท มีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้ </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=5 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffcc99><TBODY><TR><TD>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="20%">ปริจเฉทที่ ๑ </TD><TD width="80%">จิตตสังคหวิภาค</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>แสดงเรื่อง ธรรมชาติของจิต ประเภทของจิต ทั้งโดยย่อ และโดยพิสดาร ทำให้เข้าใจถึงจิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต กิริยาจิต มหัคคตจิต และโลกุตตรจิต </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="20%">ปริจเฉทที่ ๒</TD><TD width="80%">เจตสิกสังคหวิภาค</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>แสดงเรื่องเจตสิก คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต เพื่อปรุงแต่งจิต มีทั้งหมด ๕๒ ลักษณะ แบ่งเป็น เจตสิกที่ประกอบกับจิต ได้ทุกประเภท เจตสิกฝ่ายกุศล และเจตสิกฝ่ายอกุศล</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="20%">ปริจเฉทที่ ๓</TD><TD width="80%">ปกิณณกสังคหวิภาค</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>แสดงการนำจิตและเจตสิก มาสัมพันธ์กับธรรม ๖ หมวด ได้แก่ ความ รู้สึกของจิต (เวทนา) เหตุแห่งความดีความชั่ว (เหตุ) หน้าที่ของจิต (กิจ) ทางรับรู้ของจิต (ทวาร) สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) และที่ตั้งที่อาศัยของจิต (วัตถุ) </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="20%">ปริจเฉทที่ ๔</TD><TD width="80%">วิถีสังคหวิภาค</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffcc> </TD><TD>แสดงวิถีจิต อันได้แก่กระบวนการทำงานของจิต ที่เกิดทางตา ทาง หู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อได้ศึกษาปริจเฉทนี้แล้ว จะทำให้ รู้กระบวนการทำงาน ของจิตทุกประเภท บุญบาปไม่ได้เกิดที่ไหน เกิดที่วิถีจิตนี้เอง ก่อนที่จะเกิดจิตบุญ หรือจิตบาป มีจิตขณะหนึ่งเกิดก่อน คอยเปิด ประตูให้เกิดจิตบุญ หรือจิตบาป จิตดวงนี้เกี่ยวข้องกับ การวางใจอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) หรือ การวางใจอย่างไม่แยบคาย (อโยนิโสมนสิการ) หากเราได้เข้าใจ ก็จะมีประโยชน์ในการป้องกัน มิให้จิตบาปเกิดขึ้นได้</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="20%">ปริจเฉทที่ ๕</TD><TD width="80%">วิถีมุตตสังคหวิภาค </TD></TR><TR><TD> </TD><TD>แสดงถึงการทำงานของจิตขณะใกล้ตาย ขณะตาย (จุติ) และขณะเกิดใหม่ (ปฏิสนธิ) กล่าวถึงเหตุแห่งการตาย การเกิดของสัตว์ในภพภูมิต่างๆ โดยแบ่งได้ถึง ๓๑ ภพภูมิ (มนุษยภูมิเป็นเพียง ๑ ใน ๓๑ ภูมิ) ขณะเวลาใกล้จะตาย ภาวะจิตเป็นอย่างไร ควรวางใจอย่างไร จึงจะไปเกิดในภพภูมิที่ดี พระพุทธองค์ทรงอธิบายไว้ อย่างชัดเจนว่า ตายแล้วต้องเกิดทันที มิใช่ ตายแล้ววิญญาณ (จิต) ต้องเร่ร่อนเพื่อไปหาที่เกิดใหม่ และยังได้อธิบาย เรื่องของกรรม ลำดับแห่งการให้ผลของกรรม ไว้อย่างละเอียดลึกซึ้งอีกด้วย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD width="20%">ปริจเฉทที่ ๖</TD><TD width="80%">รูปสังคหวิภาค และนิพพาน</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>เมื่อได้ศึกษาทำความเข้าใจ เรื่องจิต และเจตสิก อันเป็นนามธรรม มาแล้ว ในปริจเฉทที่ ๖ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ ได้แสดงองค์ประกอบที่สำคัญ อีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นั่นก็คือเรื่องของรูป ร่างกาย (รูปธรรม) โดยแบ่งรายละเอียด ออกเป็นรูปต่างๆ ได้ ๒๘ ชนิด และอธิบายถึงสมุฏฐาน (เหตุ) ในการเกิดรูปต่างๆ ไว้อย่างละเอียดพิสดาร</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>ในตอนท้าย ได้กล่าวถึงเรื่องพระนิพพานว่า มีสภาวะอย่างไร อันจะ ทำให้เข้าใจ เรื่องของพระนิพพาน ได้อย่างถูกต้องชัดเจน</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top width="20%">ปริจเฉทที่ ๗</TD><TD width="80%">สมุจจยสังคหวิภาค</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>เมื่อได้ศึกษาปรมัตถธรรม ๔ อัน ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มาจากปริจเฉทที่ ๑ ถึง ๖ แล้ว ในปริจเฉทนี้ จะแสดงธรรมที่เป็นฝ่ายกุศล ซึ่งให้ผลเป็นความสุข และธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศล ซึ่งให้ผลเป็นความทุกข์ ในสภาวะความเป็นจริงแล้ว กุศลจิต (จิตบุญ) และอกุศลจิต (จิตบาป) จะเกิดสลับสับเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลา ส่วนจะเกิดจิตชนิดไหน มากน้อยเพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรม และจริยธรรมของแต่ละบุคคล คนเราทั่วไปมักไม่เข้าใจ และไม่รู้จักกับกุศล และอกุศลเหล่านี้ จึงทำให้ชีวิตตกอยู่ใน วัฏฏทุกข์ไม่รู้จักจบสิ้น ในปริจเฉทที่ ๗ นี้ได้แสดงธรรม ที่ควรรู้ที่สำคัญๆ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ (ขันธ์ที่ถูกอุปาทาน ยึดมั่นอย่างเหนียวแน่น), อายตนะ ๑๒ (สิ่งเชื่อมต่อเพื่อให้รู้อารมณ์), ธาตุ ๑๘ (ธรรมชาติที่ทรงไว้ซึ่งสภาพ ของตน), อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ) และโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เกื้อกูลการตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค) มี ๓๗ ประการ คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และมรรคมีองค์ ๘</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top width="20%">ปริจเฉทที่ ๘</TD><TD width="80%">ปัจจยสังคหวิภาค</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>ในปริจเฉทนี้ ท่านได้แสดงเรื่องปฏิจจสมุปบาท (เหตุและผลที่ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด ในสังสารวัฏฏ์) และปัจจัยสนับสนุน ๒๔ ปัจจัย ในตอนท้าย ยังได้แสดงความหมายของบัญญัติธรรม ซึ่งเป็นธรรม ที่ไม่ใช่เป็นความจริงแท้ แต่เป็นจริงตามสมมุติ (สมมุติสัจจะหรือสมมุติโวหาร) ตามกติกาของชาวโลก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%"><TBODY><TR><TD><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="100%" bgColor=#ffffcc><TBODY><TR bgColor=#ffffff><TD vAlign=top width="20%">ปริจเฉทที่ ๙</TD><TD width="80%">กัมมัฏฐานสังคหวิภาค</TD></TR><TR><TD> </TD><TD>ในปริจเฉทนี้ ท่านกล่าวถึง ความแตกต่างของ สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้เห็นว่าสมถกรรมฐาน หรือการทำสมาธินั้น เป็นการปฏิบัติ เพื่อให้จิตเกิดความสงบ และเกิดอภิญญา (เกิดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ) เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่จุดมุ่งหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนา เพราะผลของการทำ สมาธิหรือสมถกรรมฐานนั้น เป็นการข่มกิเลสไว้ชั่วขณะ เท่านั้น ไม่สามารถ ทำลายกิเลสได้ ถึงแม้จะเจริญสมถกรรมฐาน ถึงขั้นอรูปฌานจนได้เสวยสุข อยู่ในอรูปพรหมภูมิเป็นเวลาอันยาวนาน แต่ในที่สุดก็ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิดไม่รู้จักจบจักสิ้น</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> จุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือการเจริญวิปัสสนากรรม ฐาน เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริง ว่า จิต + เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นองค์ประกอบของชีวิต ต่างก็มีการเกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป - เกิดขึ้น - ตั้งอยู่ - ดับไป ต่อเนื่องกันไปอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เป็นสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนอะไรของใคร ไม่มีใครเป็นเจ้าของ ไม่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ ว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน ปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้ เมื่อมีกำลังแก่กล้า ก็จะสามารถประหาณกิเลส และเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>ทุกท่านคงจะพบคำว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญ หรือในหน้าหนังสือพิมพ์ เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศล แด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อยๆ ที่ว่า สวดพระอภิธรรม นั้น เมื่อท่านอ่านมาถึง ตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ตามหลักฐานของท่านผู้รู้ กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวด ในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และท่านได้ ให้ความเห็นไว้ว่า การบำเพ็ญกุศลในงานศพ เพื่ออุทิศให้ผู้วายชนม์นั้น เป็น เรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ การที่พุทธศาสนิกชนชาวไทย นำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามา เกี่ยวข้องกับ ประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่างๆ ดังนี้</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึง บุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา แต่ทรงจำแนกธรรม ออกเป็นกุศล อกุศล และ อัพยากฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็น กลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง อันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไป ตามสภาวะ มิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป การได้ฟังพระอภิธรรม จะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมา เปรียบเทียบกับ การจากไปของผู้วายชนม์ ทำให้เห็นสัจจธรรม ที่แท้จริงของชีวิต ท่เป็นโอกาสอันดี ที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ร่วมบำเพ็ญกุศล ในงานศพจะสามารถพิจารณา เห็นความจริงของชีวิต ได้โดยง่าย จึงได้นำเอา พระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ประการที่สอง เพราะเห็นว่า ในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดา ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรม เทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพุทธมารดา ซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิต จึงได้นำเอาพระอภิธรรม เข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดาบิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตร ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาแม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะ มิใช่มารดาบิดาก็ตาม แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดง ในงานศพก็ถือ เป็นประเพณีไปแล้ว</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่า พระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูง ที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ หากนำมาแสดงใน งานบำเพ็ญกุศล ให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมาก การสวดพระอภิธรรม ก็คือการนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้นๆ ในแต่ละ คัมภีร์ ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน การสวดพระอภิธรรมนี้ บางทีเรียกว่า สวดมาติกา ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์ เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์ ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นั่นเอง (สัตต = เจ็ด, ปกรณ์ = คัมภีร์, ตำรา) </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ต่อมาภายหลังมีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระ อนุรุทธาจารย์ มาสวดเป็นทำนอง สรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น-ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละ ปริจเฉท ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD> ประโยชน์ที่จะได้รับ จากการศึกษาพระอภิธรรม มีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมีโดยสังเขปดังนี้</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ๑. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรม เกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรม จึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณ ของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ๒. การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติ การทำงานของ กายและใจ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเรา และสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ), เรื่องเจตสิก, เรื่องอำนาจจิต, เรื่องวีถีจิต, เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม, เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด, เรื่องสัตว์ในภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส ทำให้รู้ว่าชีวิตของเรา ในชาติปัจจุบันนี้ มาจากไหนและมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้ว ก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและไป ได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยง ระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยว่า ตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม(วิบาก) อย่างละเอียดลึกซึ้ง </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ๓. ผู้ศึกษาพระอภิธรรม จะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาว ธรรมอันจริงแท้ตามธรรมชาติ ในพระอภิธรรม จะแยกสภาวะออกให้เห็นว่า ทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไรทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยอุดหนุน ซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับ ไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลา นานแสนนานไม่รู้กี่แสนชาติ กี่ ล้านชาติมาแล้ว ที่สืบต่อกันอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาวธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้ โดยไม่มีเวลาหยุดพักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้ มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหม พระอินทร์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้ เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ๔. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุด ในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึง นั่นก็คือ นิพพาน
    นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลส ตัณหาแล้วนั้น เมื่อสิ้นชีวิตลง ก็จะไม่มีการสืบต่อ ของจิต+เจตสิก และ รูปอีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จึงกล่าวว่า นิพพานเป็นธรรมชาติ ที่ปราศจากกิเลส ตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิง และเป็นธรรมชาติที่พ้นจากขันธŒ ๕ นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดี ที่เป็นอมตะ และเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วนๆ ตลอดนิรันดร์กาล ตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
    </TD></TR><TR><TD height=30> </TD></TR><TR><TD> ๕. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุด ในพระพุทธศาสนา เพราะแค่การให‰ทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิก็ยังมิใช่ คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นเหตุ ให้ต้องเกิดมารับ ผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฏฏกุศล เพราะกุศลเหล่านี้ยังไม่ทำให้ พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่า ทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้ง ในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว ก็จะนำไปสู่การประหาณกิเลส และเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ๖. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา ซึ่งต้องมีนามธรรม (จิต + เจตสิก )และรูปธรรม (รูป) เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดอารมณ์ ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผล ตามที่ต้องการ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ๗. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุด ไม่มีวิทยาการใดๆ ในโลกที่ศึกษาแล้ว จะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกได้เท่ากับ การศึกษาพระอภิธรรม</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ๘. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษา หลักธรรมคำสอน ของพระพุทธองค์ไว้ ให้อนุชนรุ่นหลัง และเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงถาวรตลอดไป</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สำนักเรียนในเครือข่ายของพระอภิธรรมโชติกะมหาวิทยาลัย​

    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55>
    ภาคกลาง
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="94%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="7%" align=right>๑.</TD><TD width="93%">วัดกลาง ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๕๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๒.</TD><TD bgColor=#f6f6f6>วัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ๑๐๑๓๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๓.</TD><TD>วัดเจริญธรรมาราม อ.สายไหม ข.บางเขน กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๔.</TD><TD>วัดสุวรรณประสิทธิ์ อ.คลองกลุ่ม ข.บึงกุ่ม กรุงเทพฯ ๑๐๒๓๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๕.</TD><TD>วัดป่าธรรมโสภณ ต.ทะเลชุบศร อ.เมือง จ.ลพบุรี ๑๕๐๐๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๖.</TD><TD>วัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี ๗๐๐๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๗.</TD><TD>วัดมเหยงค์ ต.หันตรา อ.พระนครฯ จ.พระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๘.</TD><TD>สำนักสงฆ์สวนธรรมจักร ต.ตลิ่งชัน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ๗๒๒๓๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๙.</TD><TD>วัดอุดมมงคล ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ๗๑๐๐๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๙.</TD><TD>วัดเขาสมโภชน์ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ๑๕๑๓๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๑๐.</TD><TD>วัดสามชุก ต.สามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ๗๒๑๓๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๑๑.</TD><TD>ห้องเรียนวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐</TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>




    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55>
    ภาคเหนือ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="94%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="7%" align=right>๑.</TD><TD width="93%">วัดพรหมจริยาวาส ต.ปากน้ำโพ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ๖๐๐๐๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๒.</TD><TD>วัดเมืองมาง ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๑๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๓.</TD><TD>วัดถ้ำพระธาตุเมืองเทพ ต.ทัพหลวง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ๖๑๑๔๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๔.</TD><TD>วัดสระโบสถ์ ต.ดอนคา อ.ท่าตะโก จ.นครสวรรค์ ๖๐๑๖๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๕.</TD><TD>วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕๐๒๐๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๖.</TD><TD>วัดพระธาตุแช่แห้ง ต.ม่วงตึด กิ่ง อ.ภูเพียง จ.น่าน ๕๕๐๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๗.</TD><TD>ห้องเรียนวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ (สาขาวัดร่ำเปิง) </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55>
    ภาคใต้
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="94%"><TBODY><TR><TD width="6%" align=right>๑.</TD><TD width="94%">วัดคุณชี ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55>
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="93%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="7%" align=right>๑.</TD><TD width="93%">วัดพรมศิลาแตล ต.แตล อ.ศรีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ๓๒๑๑๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๒.</TD><TD>วัดมหาวนาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ๓๔๐๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๓.</TD><TD>วัดสะแกแสง ต.พะงาด อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา ๓๐๒๙๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๔.</TD><TD>วัดอุดมไพรสณฑ์ ต.รอบเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ๕๔๐๐๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๕.</TD><TD>วัดสว่างมีชัย ต.สมสนุก อ.ปากคาด จ.หนองคาย ๔๓๑๙๐</TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>



    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55>
    ภาคตะวันออก
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="93%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="8%" align=right>๑.</TD><TD width="92%">วัดเกาะแก้วคลองหลวง ต.ไร่หลักทอง อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี ๒๐๑๔๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๒.</TD><TD>วัดเก่าโบราณ ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ๒๐๑๓๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๓.</TD><TD>วัดเขาบ่อน้ำซับ ต.ห้างสูง อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี ๒๐๑๙๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๔.</TD><TD>วัดเขาพุทธโคดม ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๕.</TD><TD>วัดนาพร้าวเก่า ต.สุรศักดิ์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ๒๐๑๑๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๖.</TD><TD>วัดหินโค้ง ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ๒๑๑๒๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๗.</TD><TD>วัดพนมพนาวาส ต.คลองขุด อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๑๔๐</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top align=right>๘.</TD><TD>วัดสุนีย์ศรัทธาธรรม ต.พิมพา อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ๒๔๑๔๐</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right>๙.</TD><TD>วัดหนองลำดวนพรมศรี ต.ท่าบุญมี อ.เกาะจันทร์ จ.ชลบุรี ๒๐๒๔๐</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD><TABLE border=2 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="90%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=55>
    ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาทางไกลของอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffd9b3 height=280><TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>
    ทำการสอนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์ และอินเตอร์เน็ต (E-learning)
    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="70%"><TBODY><TR><TD>สำนักงานตั้งอยู่ที่ มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม</TD></TR><TR><TD>๕/๑๐๘-๙ ซอยอุดมทรัพย์ ถนนบรมราชชนนี</TD></TR><TR><TD>แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย </TD></TR><TR><TD>กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐</TD></TR><TR><TD>โทร. ๐-๒๘๘๔-๕๐๙๑-๒</TD></TR><TR><TD>http://www.buddhism-online.org</TD></TR><TR><TD>email: elearn@mcu.ac.th</TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>





    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กรกฎาคม 2012
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>ตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้น สิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และสืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้ว ยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้น ให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า ชีวิต คือความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิด และตามรักษาดำรงชีวิตและกระทำการต่าง ๆ ได้โดยอาศัยจิต และเจตสิกเป็นผู้กำกับ</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ส่วนต่างๆที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ในทางธรรมเรียกว่า รูปธรรมเป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึก นึกคิดใด ๆ ทั้งสิ้น เปรียบได้ดั่งท่อนไม้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า รูป</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ส่วน จิตและเจตสิก เป็น นามธรรม เรียกสั้น ๆ ว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ และสามารถคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ได้</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> ดังนั้น ตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิต และเจตสิก ซึ่งในทางธรรมเรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรม ไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้ คิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ ดังนั้นคำว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรมจึงหมายถึง มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เท่านั้น</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้ หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมด ที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้น มนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สำคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้ว มีแต่รูปกับนามเท่านั้น ที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลย ที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ “เรา” อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใด ๆ ก็ตาม ทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิกที่มีการเกิดดับ อย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา เหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลาย ไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทำให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตนของเรา โดยมีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตาย ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด</TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR><TD> การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัวเรา และสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริง ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลาย อันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับการปฏิบัติ เพื่อให้เข้าถึง ซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรม ที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลาย ก็จะถูกทำลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    คำว่า ขันธ์ แปลว่า กอง, พวก, หมวด, หมู่
    </TD></TR><TR><TD>
    <TABLE border=2 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=690><TBODY><TR><TD bgColor=#ffece3 height=50 width=679>ดังนั้น ขันธ์ ๕ จึงหมายถึงสภาวธรรม ๕ อย่าง ซึ่งประกอบด้วย</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffff>
    <TABLE border=0 cellSpacing=2 cellPadding=2 width="99%"><TBODY><TR><TD vAlign=top width="28%">๑. รูปขันธ์ </TD><TD width="72%">คือ อวัยวะน้อยใหญ่ หรือกลุ่มรูป ที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๒. เวทนาขันธ์ </TD><TD>คือ ความรู้สึก เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉย ๆ </TD></TR><TR><TD vAlign=top>๓. สัญญาขันธ์ </TD><TD>คือ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจำ หรือเป็นหน่วยความจำของจิตนั่นเอง</TD></TR><TR bgColor=#f6f6f6><TD vAlign=top>๔. สังขารขันธ์ </TD><TD>คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่าง ๆ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เปรียบดังสีต่าง ๆ ที่หยดลงไปในแก้วน้ำ เป็นเหตุให้น้ำในแก้ว เปลี่ยนไปตามสีที่หยด</TD></TR><TR><TD vAlign=top>๕. วิญญาณขันธ์ หรือ จิต </TD><TD>คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาต ิที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ </TD></TR></TBODY></TABLE>


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD height=55>การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ</TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>สรุปแล้ว ขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือ รูปกับนาม นั่นเอง</TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ฟัง FM 107.5 วัดมหาธาตุ
    ตี 5 ถึงเที่ยงคืน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2012
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไงหว่าตั้งแต่ ตี ๕ ถึงเที่ยงคืน
     
  10. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    ฟังธรรมะกันค่ะลุง

    ที่จริงอ่ะ ตั้งแต่ตี 4 แต่หนูฟังตอนตี 5
    มีให้ฟัง 2 สถานีค่ะที่ FM 94.5 ของวัดนายโรง
    ก็มีค่ะ ตั้งแต่ตี 4 เหมือนกันค่ะ

    แต่ FM 107.5 ของวัดมหาธาตุ

    ฟังวิทยุจะฟังได้ถนัดเต็มๆ สบายกว่าฟังในเนทค่ะ
     
  11. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,923
    ค่าพลัง:
    +9,200
    หมานเอ้ย 103.25 นะหัดฟังบ้างนะ สมองมันจะได้โปร่งโล่งบ้าง
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พระอภิธรรมสามารถปรากฎขึ้นได้ในโลกนี้
    พระอภิธรรมสามารถปรากฎขึ้นได้ในโลกนี้ ก็ด้วยสัพพัญญุตญาณ
    ธรรมดาสภาวะธรรมทั้งหลาย คือรูปนามทั้ง 2 อย่างนี้มีอยู่แล้วในโลกนี้
    หากแต่ไม่มีใครสามารถแสดงขึ้นมาให้ปรากฎขึ้นได้เท่านั้น
    นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เดียว

    แม้แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ยังไม่สามารถจะแสงให้ปรากฎขึ้นได้
    อุปมาเหมือนแสงไฟฟ้า เครื่องรับวิทยุ เครื่องโทรศัพท์ โทรเลข เรือบิน เป็นต้นเหล่านี้
    ในระหว่างที่ยังไม่มีผู้คิดขึ้น ทำขึ้น ย่อมมีอยู่แล้วในโลก
    ต่อมาเมื่อมีผู้สามารถค้นคว้าประดิษฐ์ขึ้นมาให้เป็นประโยขน์แก่มนุษย์ทั้งหลายได้แล้วนั้น
    สิ่งต่างๆเหล่านี้ก็ปรากฎขึ้นในโลกตลอดจนปัจจุบัน

    ข้อนี้ฉันใด พระอภิธรรมก็เช่นเดียวกัน สภาวะมีอยู่แล้วแต่ผู้ที่สามารถทำให้ปรากฎขึ้นไม่มี
    สภาวะธรรมนั้นก็ย่อมไม่ปรากฎ ต่อเมื่อมีผู้ที่สามารถค้นพบและนำมาแสดงให้ปรากฎได้
    ซึ่งก็ได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจ้านั้น สภาวะธรรมเหล่านั้นก็ปรากฎขึ้นทันที

    ฉะนั้น พระอภิธรรม อันเป็นธรรมที่เกี่ยวกับสภาวะที่ปรากฎขึ้นได้นั้น ก็ต้องอาศัยญาณอันสูงสุด
    ซึ่งได้แก่พระสัพพัญญุตญาณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่พระองค์ทรงค้นพบ
    และนำมาแสดงให้ปรากฎในโลก กับทรงสอนให้บุคคลชั้นหลังๆเข้าใจได้ด้วย

    ดังมีสาธกบาลีแสดงไว้ในปิฎกปริวารพระบาลีว่า

    พุทฺจนฺเท อนุปฺปนฺเน พุทฺธาทิจฺเจ นุคฺคเต
    เตสํ สภาวธมฺมานํ นามมตฺตํ น นายติ

    แปลความว่า พระจันทร์ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้าไม่อุบัติขึ้น
    พระอาทิตย์ คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถ้าไม่ปรากฎขึ้น ผู้หนึ่งผู้ใดก็ตาม
    เพียงแต่ชื่อของสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้เลย

    อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ว่าจะเป็นผู้ตรัสรู้สภาวธรรมเองก็ตาม
    แต่ความรู้ของพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ จะเทียบเท่ากับความรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ไม่
    ฉะนั้น การรู้สภาวธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงรู้เพียง 1 ในร้อยส่วนของพระอภิธรรมเท่านั้น
    และส่วนหนึ่งที่รู้นั้น ก็รู้เพียงอรรถรส ไม่ใช่เป็นธรรมรส คือไม่สามารถที่จะแสดงให้สัตว์ทั้งลายรู้ตามได้
    ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับความรู้แห่งสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
    สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังดีกว่า เพราะรู้ในธรรมรส

    ฉะนั้นท่านพระอรรถกถาจารย์จึงแสดงไว้ในอัฏฐสาลินีอรรถกถา
    ว่า " อภิธมฺโม นาม น อญฺเญสํ วิสโย สพฺพญ์ญุทฺธานํ เยว วิสโย เตสํ เทเสตพฺพเทสนา "
    แปลว่า ที่ชื่อว่า พระอภิธรรม เพราะไม่ใช่เป็นวิสัยของผู้อื่น
    เป็นวิสัยของพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น และการแสดงที่ปรากฎขึ้นได้
    ก็โดยอำนาจแห่งพระสัพพัญญูพระสัมมาสัมพุทเจ้าทั้งหลายนั้นเอง
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สัทธาเจตสิก สติเจตสิก ปัญญาเจตสิก
    [​IMG]
    โสภณเจตสิก ๒๕ ดังในภาพี้จะเกิดขึ้นเฉพาะกับจิตที่เป็นกุศลจิต

    เจตสิก ๑๙ ดวง อันมี สัทธา. สติ. หิริ. โอตตัปปะ. อโลภะ. อโทสะ เป็นต้น(ดูภาพประกอบ)
    เกิดกับจิตที่เป็นมหากุศลทุกดวงเป็นสาธารณะกับจิตที่เป็นกุศลทั่วไป

    วิรตี ๓ ได้แก่ สัมมาวาจา. สัมมากัมมันตะ. สัมมาอาชีวะ.
    เป็นเจตสิกที่เกิดกับกับมหากุศลได้ แต่ก็เกิดไม่พร้อมกันคือเกิดได้ทีละดวง (เพราะเป็นอนิยตโยคีเจตสิก)
    และเกิดได้กับจิตในโลกุตตรจิตเกิดได้พร้อมกันทั้ง ๓ ดวง ไปเป็นมรรคสมังคีย์

    อัปปมัญญา ๒ ได้แก่ กรุณา. มุฑิตา. เกิดกับจิตที่เป็นกามาวจรกุศล ๒๔
    และก็เกิดไม่พร้อมกันเกิด คือเกิดทีละดวง และเกิดในมหัคคตจิต ๑๒ เท่านนั้น

    ปัญญา ๑ ได้แก่ ปัญญาเจตสิก. เกิดกับจิตที่เป็นญาณสัมปยุตตจิตทั่วไป (เว้นญานวิปปยุตจิต ๑๒ ดวง)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กรกฎาคม 2012
  14. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    พวกลุงๆ ทั้งหลาย ถ้าภาษาเซาะกราวมันหยาบ
    ลุงก็เรียก คุณกันเลยซี เลิศดีค่ะ ดูวีไอพีดีออก
    ถ้ามันยังดูห่างเหิน ก็เรียกกันว่า ตัวเอง เค้า

    คุณลุงขันธ์ อย่าหายไปนะ เดี๋ยวคุณลุงหมานคิดถึง
    หนูชอบคุณลุงทั้งสองโต้คารมกันกระหนุ๋งกระหนิง แหะๆ
    ตอนหลังเห็นพูดกันแบบเซาะกราว
    น่ารักอ่ะ เ-็งๆ -้าๆ ไม่เห็นจะหยาบตรงไหน
    น่ารักดี ดูบ้านๆ เซาะกราวน่ารักแบบลุงๆ
     
  15. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็ต้องว่ากันตามๆกันนั่นแหละน๊า
    ราชสีห์ออกจากถ้ำคำรามออกมาทีสัตว์ป่าก็เงียบกริ๊บ
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    <TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=2 width=700><TBODY><TR><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]เรื่องของกรรมท่านจำแนกไว้มี ๑๖ อย่าง เรียกว่า กรรม ๑๖ ดูตามแผนผังข้างล่างนี้ [/FONT]</TD></TR><TR><TD height=20></TD></TR><TR><TD>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][​IMG][/FONT]​


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]


    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. ariyaidea

    ariyaidea Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +42
    เป็นกระทู้ที่ได้ประโยชน์มากมายครับ ขอบคุณมากครับ
    ส่วนตัวผม(จริต)ชอบที่ดูอะไรง่ายๆ ซื่อๆ ตรงๆ ไม่ต้องคิดเยอะ เพราะทำงานทางโลกก็ทำให้คิดเยอะอยู่แล้ว

    เรื่องที่กับพระอภิธรรมผมเคยโดนทักหลายครั้งว่า นั่นเพราะคิดเองนึกเอา ที่ปฏิบัติอยู่ยังไม่ถึง เมื่อพิจรณาดูตัวเอง ตามความเป็นจริงก็เป็นอย่างนั้น กิเลสยังอยู่ครบทุกตัว ยังหลง ยังขุ่น ยังอยาก แล้วก็ยังยึดอยู่

    ทุกวันนี้เลยตามรู้ตามดูไปเรื่อยๆ เดิน ยืน นั่ง นอน แม้ตอนนั่งสมาธิ ก็มีสติตามดู

    พระอภิธรรมผมเองชอบอ่านถึงแค่สิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ ยังไม่อยากอ่านไปไกลกว่านั้น(ส่วนตัว กลายเป็นการท่องจำมากว่า สภาวะจริงๆ ของผม)
    ธรรมะ ผมว่าไม่มีใครในเวบนี้บอกไม่ชอบ แต่จะชอบมากไปอีกเมื่อสิ่งที่พระพุทธองค์สอนมา ตรงกับที่ตัวเองปฏิบัติ อย่างเช่น ที่ท่านว่า

    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
    มโนเสฏฺฐา มีใจเป็นใหญ่
    มโนมยา สำเร็จแล้วด้วยใจ

    เมื่อเราท่านปฏิบัติ ก็เห็นตามอย่างนี้ ถ้าเทียบอีกแบบ แนวทางผมอาจจะเป็นการเดินตามพระป่าที่ไม่ได้เรียนพระอภิธรรมมากนัก ท่านสอนจากสิ่งที่เกิดจากใจ ซื่อๆ ตรงๆ บ้านๆ ไม่คำที่เข้าใจยาก

    พระอภิธรรม ผมกะเอาไว้ เมื่อผมอยู่ในระดับที่ควรอ่านต่อ ก็จะอ่านตามระดับนั้นๆต่อ (ถ้ามีโอกาส)

    อนุโมทนา เจริญในธรรมทุกท่านครับ
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอบคุณ สติพละ
    การศึกษาธรรมะ ก็เราจะต้องศึกษาตามคำสอนของพระพุทธองค์
    ก็ภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ที่ใช้สอนสาวก
    เราคงเห็นได้ในหนังสือสวดมนต์เป็นส่วนมาก แล้วทำไมต้องสวดมนต์
    ทั้งๆที่บางท่านไม่เคยรู้ด้วยว่าความหมายหรือแปลว่าอย่างไร
    ก็ผู้ที่หวังเจริญในธรรมทั้งหลาย จึงต้องศึกษาในธรรมที่ควรเหล่านั้น
    พระอภิธรรมนั้นเป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยากที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ
    พระองค์จึงได้นำไปโปรดเทวดาในชั้นดาวดึงส์ถึง ๓ เดือน
    และมีมนุษย์ท่านเดียวคือพระสารีบุตรที่ได้ฟัง เพราะท่านเป็นผู้ที่มีปัญญามาก
    การที่เราได้ศึกษาพระอภิธรรมได้นั้นเราก็ศึกษามาจากพระสารีบุตรอีกที่หนึ่ง
    ที่ท่านำมาสอนลูกศิษย์ของท่านที่เคยเกิดเป็นค้างคาว ๕๐๐ นั้นเอง
    เพราะค้างคาวเหล่านั้นในอดีตชาติเคยได้ยินได้ฟังการสวดการสาธยาย
    พระอภิธรรมจึงมาเป็นปัจจัยมาจนถึงชาตินี้ จนได้บรรลุธรรม
    ก็คงไม่ยากสำหรับคนที่สนใจใคร่จะรู้ แม้แต่ค้างคาวเป็นสัตว์เดรัจฉานแท้ๆ
    ฟังก็ไม่รู้เรื่อง ยังมีอานุภาพถึงขนาดทำให้สามารถบรรลุธรรมได้ในชาติสุดท้าย
    ที่เกิดมาเป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตร
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    นานาจิตตํ คนเราชอบไม่เหมือนกัน
    บางคนชอบสวดมนต์
    บางคนชอบฟังธรรมะ
    บางคนชอบสอนธรรมะ
    บางคนชอบทำบุญ
    บางคนชอบเรียนธรรมะ
    บางคนชอบทำสมาธิ
    บางคนชอบการปฏิบัติวิปัสสนา
    แต่ทุกอย่างนั้นชื่อว่า "ดี"
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
    การปลูกต้นไม้ก็ต้องอาศัยกาลเวลา จึงจะผลิดอกออกผล
    กรรมที่ทุกคนได้กระทำไปแล้วทั้งส่วนที่เป็นบุญก็ดี หรือเป็นบาปก็ดี
    ย่อมมีเวลาของการให้ผลแตกต่างกันไป ในหมวดนี้จึงพูดถึงการให้ผลของกรรม
    โดยอาศัยเวลาเป็นเครื่องกำหนด มี ๔ อย่าง คือ ​

    ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาตินี้
    ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า (ชาติที่ ๒)
    ๓. อปราปริยเวทนียกรรม คือ กรรมที่ให้ผลในชาติที่ ๓ เป็นต้น ไปจนถึงนิพพาน
    ๔. อโหสิกรรม คือ กรรมที่ไม่ให้ผล

    ตามธรรมดาการกระทำต่าง ๆ ของคนเรา จะเป็นทางกาย วาจา หรือทางใจ
    ในขณะที่กระทำนั้นย่อมมี เจตนา ประกอบในชวนจิตอยู่เสมอ
    เพื่อทำกิจทำหน้าที่ในการเสพอารมณ์เป็นชวนะ ๗ ดวง
    กรรมที่จัดว่าเป็นทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนั้น ต้องเป็นเจตนาที่ประกอบใน
    ชวนจิตดวงที่ ๑ ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนี้ มีลักษณะการให้ผล ๒ อย่าง คือ

    ๑.๑ ให้ผลในชาตินี้ ภายใน ๗ วัน เรียกว่า ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
    ๑.๒ ให้ผลในชาตินี้แต่ หลัง ๗ วัน เรียกว่า อปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม

    กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ได้นั้นต้องเป็นกรรมที่มีกำลังแรง เข้าถึงความแก่กล้า
    เช่น นายมหาทุคตะ ได้ถวายอาหารบิณฑบาต แก่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทำให้มั่งคั่งร่ำรวยเป็นเศรษฐี หรือเช่น นายปุณณะกับ ภรรยา ซึ่งเป็นคนยากจน
    ถวายภัตตาหารแก่พระสารีบุตร ร่ำรวยเป็นเศรษฐีภายใน ๗ วัน
    เช่นเดียวกัน ด้วยอำนาจของ ปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายกุศล ​

    กรรมที่เป็นปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมฝ่ายอกุศล
    ได้แก่ พระเทวทัตที่กระทำโลหิตตุปบาท และทำสังฆเภท
    และนายนันทมานพ ที่ทำลายพระอุบลวรรณาเถรี ผู้เป็นพระอรหันต์
    ต่างก็ถูกธรณีสูบลงอเวจีมหานรก เช่นเดียวกัน ​

    หลักเกณฑ์ของการให้ผลของกุศลปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรม
    ต้องถึงพร้อมด้วยสัมปทา ๔ ประการ คือ
    ๑. เจตนาสัมปทา มีความตั้งใจในการทำกุศลอย่างแรงกล้า (เจตนาในการทำบุญ)
    ๒. ปัจจยสัมปทา ปัจจัยที่ทำกุศลได้มาด้วยความบริสุทธิ์ (ของที่ใช้ในการทำบุญ)
    ๓. วัตถุสัมปทา ผู้รับต้องเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหันต์ (ผู้รับต้องเป็นอริยบุคคล)
    ๔. คุณติเรกสัมปทา พระอนาคามี หรือพระอรหันต์ ต้องพึ่งออกจากนิโรธสมาบัติ (คุณวิเศษ ของผู้รับ)

    กรรมที่ให้ผลในชาตินี้ แต่ให้ผลหลังจาก ๗ วัน แบ่งออกเป็น ๓ ประการ คือ
    ๑. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในปฐมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน ปฐมวัย มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัย
    ๒. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในมัชฌิมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน มัชฌิมวัย หรือ ปัจฉิมวัย
    ๓. ผู้ใดเคยทำกุศล หรืออกุศล ไว้ในปัจฉิมวัย กรรมจะให้ได้รับผลใน ปัจฉิมวัย
    ทั้ง ๓ ประการนี้ล้วนเป็นอปริปักกทิฏฐธรรมเวทนียกรรมทั้งสิ้น ​

    หลักเกณฑ์การให้ผลของทิฏฐธรรมเวทนียกรรมที่ให้ผลในชาตินี้ ​

    ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมนี้ เป็นกรรมที่ มีกำลังอ่อน เนื่องจากไม่ได้รับอุปการะจาก อเสวนปัจจัย
    จึงให้ผลแต่เพียงชาตินี้เท่านั้น ถ้าไม่ให้ผลจะกลายเป็นอโหสิกรรมไป ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...