เจาะลึก พระคาถาบูชาหลวงปู่ทวด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย zoba, 10 ตุลาคม 2004.

  1. zoba

    zoba เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +268
    เจาะลึก พระคาถาบูชาหลวงปู่ทวด
    เมื่อออกแบบปกหนังสือหลวงปู่ทวด ผู้เขียน (อ.ทรงวิทย์ แก้วศรี) เห็นมีคาถาอยู่ใต้รูปหลวงปู่ทวดว่า
     
  2. zoba

    zoba เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +268
    แต่เรื่องคาถาประจำหลวงปู่ทวดนี้ ผู้เขียนเกิดความสนใจ และเอะใจว่ามีลักษณะผิดกับคาถาหรือมนต์บทอื่นๆ ซึ่งมักขึ้นด้วยคำว่า
     
  3. zoba

    zoba เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +268
    มีข้อที่น่าสังเกตในแง่ของบาลีไวยากรณ์ก็คือ คำว่า อาคนฺติมาย ที่ถูกควรจะเขียนเป็น อาคนฺตีมาย เพราะเป็นคำสนธิกันระหว่างคำว่า อาคนฺติ อิมาย ซึ่งตามกฎเกณฑ์จะต้อง ทีฆะอิ เป็น อี แต่ในที่นี้ไม่ ทีฆะ คงไว้ เป็นรัสสะเพื่อความไพเราะของภาษา ซึ่งก็อนุโลมให้ใช้ได้
    อนึ่งคำว่า อาคนฺติ ในที่นี้เป็นคำกริยาของประธาน เถโร มองในแง่รูปไวยากรณ์ก็ผิดหลักภาษา เพราะคำว่า เถโร เป็นเอกพจน์ แต่คำว่า อาคนฺติ เป็นพหูพจน์ ที่ถูกจะต้องเป็น อาคจฺนิติ เอกพจน์ด้วยกัน แต่ในที่นี้ท่านใช้คำกริยาเป็นรูปพหูพจน์ เพื่อแสดงความยกย่องตัวประธานในกรณีเช่นนี้ ภิกษุสงฆ์ใช้กับพระพุทธเจ้าในที่ทุกแห่ง เพราะฉะนั้นในที่นี้ก็ถือเป็นอนุโลมใช้ได้
    พิจารณาความหมายในการเล่นคำ ในที่นี้ท่านยกย่องว่าพระเถระ (คือหลวงปู่ทวด) เป็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งหมายถึงผู้บำเพ็_เพียรอย่างแน่วแน่เพื่อมุ่งหวังการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตชาติ คำว่า ภควา ปกติเราแปลกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นสรรพนามเรียกหมายถึงเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น อย่างไรก็ดี การใช้คำนี้ที่หมายถึงนักพรตอื่นๆ นอกเหนือไปจากผู้มีพระภาคก็มีปรากฏในที่หลายแห่งตามศัพท์ ภควา แปลว่าผู้มีโชค หรือสิริ ในที่นี้จะแปลว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ เพราะนั่นหมายถึงพระพุทธเจ้าองค์เดียวเท่านั้น จึงต้องแปลว่าผู้มีโชค หรือผู้เป็นที่ตั้งแห่งสิริมงคลนั่นเอง
     
  4. zoba

    zoba เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +268
    ที่วิเคราะห์โดยละเอียดมาข้างต้นนี้ ก็เพื่อรักษารูปแบบการวิเคราะห์และการแปลพระคาถานี้ไว้ในแง่ของบาลีไวยากรณ์ เผื่อว่าอาจจะมีท่านผู้ใดผู้หนึ่งสนใจที่มาที่ไปดังเช่นผู้เขียนก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดีที่แปลยกศัพท์มาก็เพื่อให้เห็นการแปลโดยพยั_ชนะ ถ้าแปลโดยอรรถเป็นภาษาสามั_ชนธรรมดา ก็แปลได้อย่างง่ายดายดังนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...