เจาะลึก! "โลกแตก" ทำไมถึงเข้าใจผิดและเกิดข่าวลือ?

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย siamblogza, 23 ธันวาคม 2012.

  1. siamblogza

    siamblogza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    398
    ค่าพลัง:
    +2,590
    เจาะลึก! "โลกแตก" ทำไมถึงเข้าใจผิดและเกิดข่าวลือ?



    ไม่มีอะไรจะแรงสุดๆในปีนี้ไปกว่ากระแสโลกแตก ที่ลือกันมาตั้งแต่นมนานกาเล ตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ มาเรื่อยๆไม่เคยขาดสาย จนเราได้ดูหนังฮอลีวูดที่ขยันทำหนังหายนะโลกกันจริงจัง มีมันทุกปี หนังแนวนี้ และที่น่าขำขันไปมากกว่านั้นคือดันมีคนเชื่ออย่างหมดใจว่าจะมีการสิ้นโลกจริง แต่ที่เป็นกระแสในช่วง2-3ปีให้หลังมานี่ คงหนีไม่พ้นคำทำนายวันสิ้นโลกของชาวมายัน ซึ่งมีหลักฐานจากปฏิทินของชาวมายันซึงเป็นที่ยกย่องในเรื่องของดาราศาสตร์ว่าเก่งกาจชำนาญเกินใคร เลยยิ่งทำให้คำทำนายเรื่องโลกแตกชุดนี้ น่าเชื่อถือมากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ทางเวบไซด์ whereisthailand จึงได้เขียนเรื่อง "ปฏิทินมายันอยู่ตรงไหน?" ขึ้นมาโดยรวบรวมข้อมูลเรื่องคำนายโลกแตกของชาวมายันมาสรุปให้อ่านกันอย่างกระชับและเข้าใจง่าย ผมเลยคิดว่าหนุ่มๆ ไม่ควรพลาดเรื่องนี้ด้วยประการทั้งปวง
    "ปฏิทินมายันอยู่ตรงไหน?"
    [​IMG]

    Aztecs Stone of the Sun หรือที่เรียกกันผิดๆว่า “Mayan Calendar”



    หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจเป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้งที่กระแสความสนใจของผู้คนทั่วโลกจับจ้องที่ “ปฏิทิน” กันมากเป็นพิเศษ เนื่องจากกรณี “วันสิ้นโลก” ซึ่งเชื่อกันว่ามาจากปฏิทินของชนเผ่ามายันได้ทำนายเอาไว้เมื่อหลายพันปีก่อน

    แล้วจริงๆ โลกเรามีปฏิทินกี่แบบ? ปฏิทินของไทยอยู่ตรงไหน? แล้วปฏิทินมายันมีความพิเศษตรงไหน?

    ปฏิทินคือการจัดระบบการนับวัน นั่นคือมีการแบ่งวันเป็นหมวดๆ เช่น เจ็ดวันเป็นหนึ่งสัปดาห์ สี่สัปดาห์เป็นหนึ่งเดือน สิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี สิบสองปีเป็นหนึ่งรอบนักษัตร ฯลฯ ซึ่งในแต่ละปฏิทินก็มีการแบ่งหมวดหมู่ที่แตกต่างกันออกไป โดยปฏิทินทั่วๆ ไปมักจะมีการจัดหมวดหมู่วันเข้าเป็นเดือนหรือปี โดยอาจจะใช้ระบบอ้างอิงทาง “สุริยคติ” (หนึ่งปีคือเวลาที่โลกโครจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ) หรือ “จันทรคติ” (หนึ่ง “เดือน” คือเวลาที่ดวงจันทร์โครจรรอบโลกหนึ่งรอบ) หรือระบบ “สุริยจันทรคติ” (เช่น นับเดือนตามจันทรคติแต่เติมเดือนสุดท้ายเพื่อให้ครบปีตามสุริยคติ) หรือระบบที่ไม่อ้างอิงวัตถุใดๆ เลย ซึ่งนอกจากระบบ “รอบ” แบบง่ายๆ เช่น เดือน ปี แล้ว เรายังอาจจะสามารถกลุ่มปีเข้าเป็น “ทศวรรษ” “ศตวรรษ” ได้อีกด้วย

    ในปัจจุบันระบบปฏิทินกลุ่มใหญ่ๆ ที่ยังมีใช้อยู่ได้แก่

    Gregorian Calendar[1] – คือปฏิทินปีคริสตศักราชที่เรารู้จัก เป็นปฏิทินแบบสุริยคติ โดยมีการแบ่งทุกๆ 365 วันเป็นหนึ่งปี โดยมีระบบปีอธิกสุรทินซึ่งมี 366 วัน และข้อยกเว้น (สำหรับทุกๆ ปีค.ศ.ที่หารด้วย 4 ลงตัว ยกเว้นปีที่หารด้วย 100 ลงตัว แต่ไม่นับปีที่หารด้วย 400 ลงตัว) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในเชิงสุริยคติ (หากไม่มีปีอธิกสุรทินแล้ว ฤดูหนาวจะค่อยๆเลื่อนห่างจากเดือนธันวาคมในทุกๆปี) ปฏิทินนี้เป็นปฏิทินที่ใช้สากลทั่วไปและเป็นปฏิทินที่ใช้เป็นทางการมากที่สุดในหลายประเทศ

    Hebrew Calendar[2] – หรือปฏิทินของศาสนายิว เป็นปฏิทินสุริยจันทรคติ นั่นคือมีการแบ่งเดือนตามแบบจันทรคติ (แบ่งเดือนตามข้างขึ้นข้างแรม) แต่แบ่งปีตามสุริยคติ (ทุกๆ ปีมี 365-366 วัน) สำหรับวันที่ 21 ธันวาคม 2013 นี้สามารถเทียบได้เป็นปีที่ 5773 ในปฏิทินฮีบรู ปฏิทินนี้ใช้สำหรับนับวันสำคัญทางศาสนายูดายทั่วโลก และเป็นปฏิทินราชการสำหรับประเทศอิสราเอล

    Islamic Calendar[3] – ปฏิทินอิสลามเป็นปฏิทินทางจันทรคติที่ชาวมุสลิมทั่วโลกใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และยังเป็นปฏิทินทางการที่ใช้ในประเทศมุสลิมหลายประเทศ เนื่องจาก 1 ปีทางจันทรคติมีเพียง 354 ถึง 355 วัน เดือนและฤดูกาลในทางจันทรคติจึงจะมีการคลาดเคลื่อนต่างกันทุกๆ ปีซึ่งต่างกับระบบทางสุริยคติ

    Indian Calendar[4] – ปฏิทินที่ใช้ในประเทศอินเดีย มีลักษณะคล้ายๆปฏิทิน Gregorian โดยนับปีเป็น “มหาศักราช” โดย ม.ศ. 0 เทียบได้กับ ค.ศ. 78 และมีการแบ่งเดือนเป็น 30-31 วัน ตามสุริยคติ ซึ่งเหลื่อมกับเดือนตามปฏิทิน Gregorian

    Chinese Calendar[5] – ปฏิทินจีนในปัจจุบันเป็นปฏิทินสุริยจันทรคติที่ใช้ในประเทศหรือกลุ่มคนเชื้อสายจีนหลายประเทศทั่วโลก ส่วนมากปฏิทินนี้ใช้เพื่อหาวันสำคัญและประเพณีจีน เช่น วันตรุษจีน หรือด้วยเหตุผลทางโหราศาสตร์ เช่น “วันนี้ปีชวดไม่ถูกกับปีมะแม” ปฏิทินจีนมีการใช้ระบบปีนักษัตรเช่นกันโดยรวมทุกๆ 12 ปีเป็นหนึ่ง “รอบ”

    Buddhist Calendar[6] – ระบบปฏิทินทางพุทธศาสนานั้น ปัจจุบันมีใช้เพียงแค่ในประเทศ ไทย กัมพูชา ลาว พม่า และ ศรีลังกาเท่านั้น เป็นระบบปฏิทินแบบสุริยจันทรคติ ซึ่งในประเทศไทยได้มีการปรับให้เข้ากับระบบปฏิทินแบบ Gregorian ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนกลายเป็นปฏิทินแบบปีพุทธศักราชแบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้

    สำหรับระบบปฏิทิน Long Count[7] ของชาวมายานั้น ไม่ได้ใช้การอ้างอิงจากดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ แต่ใช้การจัดกลุ่มวันของตนเองแบบเฉพาะตัว โดยรวม 20 วันเข้าด้วยกันคล้ายๆ “เดือน” และ 18 “เดือน” รวมกันเป็น “ปี” ซึ่งมี 360 วัน และทุกๆ 400 ปีจะเรียกเป็น 1 บัคตุน (b’ak’tun)

    ซึ่งสำหรับวันที่ 21 ธ.ค. 2012 นั้น เทียบได้กับวันสิ้น บัคตุน ที่ 13 และเข้าสู่วันขึ้น บัคตุน ที่ 14 หรือ Long Count ที่ 13.0.0.0.0 ตามปฏิทินมายัน ซึ่งโดยความสำคัญแล้วก็คงสามารถเทียบได้กับวันขึ้นศตวรรษใหม่ของปฏิทิน Gregorian นั่นเอง

    อนึ่ง เป็นที่น่าสนใจว่าชาวมายันเองได้มีการจารึกถึงเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังปี ค.ศ. 2012 อยู่มากมาย และไม่เคยพบการทำนายวันสิ้นโลกในปี 2012 แต่อย่างใด

    ท้ายสุดแล้วโลกจะสิ้นไปในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 จริงหรือไม่นั้น การที่ผู้อ่านยังมีชีวิตอยู่และสามารถอ่านมาถึงข้อความนี้ได้ ทีมงานมีความเชื่อว่าคำตอบก็คงจะชัดเจนดีอยู่แล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...