เจาะลึก GMO ....ความจริงที่คนไทยควรรู้

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย jaya, 9 เมษายน 2013.

  1. jaya

    jaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +2,183
    เจาะลึก GMO ....ความจริงที่คนไทยควรรู้ โดย `โจน จันได´

    Q1 : จีเอ็มโอเข้ามาสู่การผลิตอาหารยังไงครับ ?

    A1 : ธุรกิจมองว่าการปลูกพืชไม่ใช่เพื่อเลี้ยงชีวิต แต่เป็นอุตสาหกรรม...เหมือนการเลี้ยงวัว

    วัวไม่ใช่สัตว์แต่เป็นเครื่องผลิตนม ซึ่งวัวจะตายไม่ได้!

    วัวธรรมดาให้นมแค่ 12 ลิตรต่อวัน แล้วก็ไม่เกิน 6 เดือนต่อปี

    แต่ทุกวันนี้เราบังคับให้วัวให้นม 34 ลิตรต่อวัน » 9 เดือนต่อปี

    ทำยังไงถึงจะทำให้วัวออกนมได้มากขนาดนั้น

    ก็ต้องใช้ฮอร์โมน BGH ฉีดเข้าไปในวัว...เพื่อให้ได้นมเยอะๆ

    พอให้นมเยอะ..ร่างกายวัวก็อ่อนแอ เป็นไข้จะตาย...แต่ตายไม่ได้!

    เพราะมันคือโรงงานผลิตนม เขาก็ฉีดยาปฏิชีวนะอัดเข้าไป ยาปฏิชีวนะก็จะปนเปื้อน ออกมาในนมเยอะมาก

    ฉะนั้นนมทุกหยดที่เรากินอยู่ในท้องตลาด...มีฮอร์โมน BGH ซึ่งได้มาจากการตัดต่อพันธุกรรม มียาปฏิชีวนะ แล้วก็มีอณูของหนอง!

    เพราะการใช้เครื่องรีดนมวันละหลายๆ ชั่วโมงทำให้หัวนมเน่า แต่ก็ยังต้องผลิตนมอยู่...ก็เลยมีหนองออกมาด้วย

    วิธีการอย่างนี้แหละที่เขา ทำกับอาหารปัจจุบัน ...มันไม่ใช่อาหาร ธรรมชาติแต่เป็นอาหารสังเคราะห์ เราก็เลยอ่อนแอเหมือนสิ่งที่เรากิน

    -----------------------------------------------------------​


    Q2 : กินอาหารจีเอ็มโอแล้วมีอันตรายไหม ?

    มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่ง เอามัน ฝรั่งจีเอ็มโอไปเลี้ยงหนูทุกวัน ผ่านไป 7-8 วัน ก็เอาสำลีชุบน้ำมูกของคนเป็นหวัดไป แกว่งในกรง...มันติดหวัดเลย

    หนูมีภูมิคุ้มกันลดลงอย่างไม่น่าเชื่อ

    พอผ่าหนูออกดูก็เห็นว่าตับมันใหญ่โตกว่าปกติ...แต่บริษัทบอกว่า คนกินไม่เป็นไร!

    นักวิชาการหลายคน พยายามเอาผลวิจัยออกมาเสนอแต่ก็ถูกปิด

    บริษัทพวกนี้มันใหญ่มาก ร่วมหุ้นกับรัฐบาล สหรัฐด้วย

    บริษัทเหล่านี้เป็นผู้จดลิขสิทธิ์ แล้วรัฐบาลสหรัฐเป็นผู้บีบให้ทุกประเทศ ออกกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อให้ยึดครอง อาหารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย​

    --------------------------------------------------------------

    [​IMG]

    Q3 : เป้าหมายของการตัดต่อพันธุกรรมคืออะไร ?

    A3 : จะได้ผูกขาด...ถ้าอยากทำแต่ไม่มีเงินก็ทำไม่ได้

    จีเอ็มโอเขาจดลิขสิทธิ์กันที่ยีนของพืช...ไม่ใช่พันธุ์ของพืช ยีนมันท่องเที่ยวไปไหนก็ได้

    อย่างกรณีของนายชไมเซอร์ที่เขาปลูกดอกคาโนลามาหลายปี

    แต่เมื่อไร่ใกล้ๆ กันปลูกคาโนลาจีเอ็มโอ...

    มันก็ปลิวมาติดในไร่ของแก ซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันมาได้ยังไง

    แกเลยถูกฟ้อง ...เพราะครอบครองยีนจีเอ็มโอโดยไม่ได้รับอนุญาต

    ถ้าไม่ซื้อเมล็ดพันธุ์จากเขาก็ต้องจ่ายเงินให.้..

    สุดท้ายแกก็แพ้คดี มันเป็นเรื่องที่ตลกมาก!

    รัฐบาลสหรัฐกำลังบีบทุกประเทศทั้งทาง ตรงและทางอ้อม เพื่อให้ออกกฎหมายสิทธิ บัตรอย่างนี้...เพื่อให้เขาจดสิทธิบัตรพืช จีเอ็มโอได้

    ถ้าเขาจดสิทธิบัตรจีเอ็มโอได้ ...เขาก็ครอบครองอาหารได้

    เพราะพืช จีเอ็มโอมันกระจายไปผสมกับใครก็ได้ ไม่ว่า ยีนของเขาจะไปอยู่กับใคร ผสมกับใคร... มันก็ยังเป็นทรัพย์สินของเขาตามกฎหมาย!

    ต่อไปเราก็ไม่มีทางเลือก ถ้าผมมีที่ 10 ไร่ ผมต้องสร้างกำแพงสูงขนาดไหนเพื่อป้องกัน แมลงกับผึ้งไม่ให้ลมพัดเข้ามา...

    แต่กฎหมายบังคับให้ผมทำอย่างนั้น...ถ้าผมอยากเป็นออแกนิก

    ----------------------------------------------------------​


    Q4 : ผู้บริโภคอย่างเราทำไงดีครับ ?

    A4 : หลายๆคนอาจจะรู้เรื่องจีเอ็มโอดีมาก ไม่อยากกินจีเอ็มโอ แต่มีทางเลือกไหมล่ะ

    เรากินของหวานตามร้านมีของหวานชนิดไหนบ้างที่ไม่มีส่วนผสมของไฮฟรุกโตสไซรับ แทบจะไม่มีเลย

    มันคือน้ำตาลที่ถูกที่สุด ทำจากแป้งข้าวโพดที่ได้จากข้าวโพดจีเอ็มโอ ที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก...ขายทั่วโลก
    เราไม่มีทางเลือกในการดูแลสุขภาพของเราเลยถ้าเราไม่มีเมล็ดพันธุ์ของตัวเอง

    `คนเมือง´คือปัจจัยสำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาตรงนี้

    คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นหน้าที่ของเกษตรกร ...แต่คนเมืองต่างหากเป็นคนกำหนดให้เกษตรกรปลูกอะไร

    ถ้าคนเมืองไม่กิน... เกษตรกรเขาก็ไม่มีทางปลูก

    เราต้องพูด เรื่องนี้กันมากขึ้น รณรงค์กันมากขึ้น เพื่อส่ง เสริมให้คนกลับมากินอาหารอินทรีย์มากขึ้น

    พอคนปลูกมากขึ้น...ราคาก็จะถูกลง ถ้าไม่มี คนกิน ชาวนาเขาจะเอาพืชผักอินทรีย์ไปขายที่ไหน

    คนที่ทำงานที่เดียวกันอาจจะรวมกลุ่มกันติดต่อให้ชาวบ้านส่งพืชพันธุ์ไปให้ กิน...ปีนึงก็มาเยี่ยมชาวบ้านสักครั้ง

    จะได้รู้ว่า...อาหารของเราเป็นยังไง ปลูกยังไง คนเมืองกับชนบทก็จะใกล้ชิดกันมากขึ้น

    คนเมืองก็ จะเห็นว่าพืชผักเหล่านี้แหละที่จะเป็นเลือด เนื้อของเราในวันพรุ่งนี้

    ชีวิตคนเราเกิดมาครั้งเดียว... ถ้าเราไม่ดูแลตัวเอง...เราเกิดมาทำไม ?

    เกิดมาเพื่อทำงานหนักให้คนอื่นรวย แล้วเราก็ตายไปด้วยความทุกข์ทรมาน...เพื่ออะไรกัน ?

    ------------------------------------------------​


    Credit : บทสัมภาษณ์ `โจน จันได´ โดย เครือข่ายต้นไม้ขี้เหงา
     
  2. jinus

    jinus สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ:cool:
     
  3. เล็กชิ้นสด

    เล็กชิ้นสด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +178
    ตัวอย่างของ พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม (Examples of GMOs, Plants)

    มะเขือเทศ GMOs
    ทำให้ได้มะเขือเทศมีลักษณะที่ดีขึ้น มีความทนทานต่อโรคมากขึ้น จากการที่ใส่ antisense gene ของยีน(gene)ที่ผลิตเอนไซม์ polygalacturonase (PG) ทำให้เอนไซม์ polygalacturonase ถูกรบกวนการแสดงออก มีผลทำให้เนื้อของมะเขือเทศมีความแข็งมากขึ้นทำให้ลดความเสียหายหรือการบอบช้ำขณะทำการขนส่งลง ทำให้มะเขือเทศเน่าช้าลงหลังจากที่เก็บเกี่ยวแล้ว

    มะละกอ GMOs
    ทำให้ได้มะละกอที่ต้านทานโรคห่าได้ หรือต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ และทำให้ได้มะละกอมีจำนวนเมล็ดที่น้อยลง

    ถั่วเหลือง GMOs
    ทำให้ได้ถั่วเหลืองที่มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการนำยีน(gene)จากแบคทีเรียใส่ลงไปในดีเอ็นเอ(DNA)ของถั่วเหลือง ทำให้ถั่วเหลืองมีความสามารถที่ทนทานต่อสารเคมีที่ปราบวัชพืชชนิด Roundup (glyphosate) หรือ glufosinate ได้ดีกว่าถั่วเหลืองแบบทั่วไป มีผลทำให้สามารถใช้สารเคมีชนิด Roundup ได้ในปริมาณที่มากขึ้น ก่อให้เกิดได้ผลผลิตของถั่วเหลืองมีจำนวนมากขึ้นไปด้วย, จากการที่ทำการ knocked out ยีน(gene)เดิมที่ทำให้เกิดไขมันชนิดอิ่มตัว ทำให้ได้ถั่วเหลืองที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวน้อยลง, จากการที่นำยีน(gene)พวกยีนบีทีใส่ลงไปในถั่วเหลืองทำให้ถั่วเหลืองสามารถฆ่าหนอนแมลงที่เป็นศัตรูของถั่วเหลืองได้




    ฝ้าย GMOs
    ทำให้ได้ฝ้ายที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ โดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) แทรกเข้าไปในโครโมโซม(chromosome)ของต้นฝ้าย ทำให้ฝ้ายสามารถที่จะสร้างโปรตีน Cry 1A ที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้

    มันฝรั่ง GMOs
    ทำให้ได้มันฝรั่ง (Potato)ที่มีลักษณะที่ดีขึ้น มีคุณค่าทางสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้นโดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis แทรกเข้าไปในยีน(gene)ของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่ง GMOs มีคุณค่าทางสารอาหาร(เพิ่มปริมาณโปรตีน)ที่เพิ่มมากขึ้น และในบางชนิดอาจมีประโยชน์ในทางการแพทย์ที่สามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ได้อีกด้วย

    ข้าวโพด GMOs
    ทำให้ได้ข้าวโพดที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถสร้างสารพิษทำให้แมลงที่มากัดกินข้าวโพดตายได้ โดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis แทรกเข้าไปในยีน(gene)ของเมล็ดข้าวโพด จึงสามารถทำให้ข้าวโพดสร้างสารที่เป็นพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดได้ โดยเมื่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดมากัดกินข้าวโพด GMOs แมลงก็จะตายลง

    อ้อย GMOs
    ทำให้ได้อ้อยที่มีลักษณะที่ดีขึ้น ทำให้สามารถต่อต้านยาฆ่าแมลง และมีปริมาณน้ำตาลซูโครสในปริมาณที่สูงขึ้น

    ข้าว GMOs
    ทำให้ได้ข้าวที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถทนแล้ง ทนเค็มได้ หรือ มีสารอาหารอย่างบีต้าแคโรทีน(beta-carotene) ที่เป็นสารเริ่มต้น (precursor)ของวิตามิน A ได้

    พริกหวาน GMOs
    ทำให้ได้พริกหวานที่มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีน(gene) coat protein ของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอ(DNA)ทำให้สามารถต้านทานไวรัสได้

    สตรอเบอรี่ GMOs
    ทำให้ได้สตรอเบอรี่ที่มีลักษณะที่ดีขึ้น อย่างเช่น ผลของสตรอเบอรี่เน่าเสียได้ช้าลง ก่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ผลของสตรอเบอรี่มีสารอาหารเพิ่มมากขึ้น

    แอปเปิล GMOs
    ทำให้ได้แอปเปิลที่มีลักษณะที่ดีขึ้น คือ ทำให้แอปเปิลมีความสดใหม่และมีความกรอบของผลแอปเปิลเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นหรือคือทำให้ระยะเวลาในการเน่าเสียช้าลง (delay ripening) ทำให้แอปเปิลทนทานต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูของแอปเปิล

    วอลนัท GMOs
    ทำให้ได้เม็ดวอลนัทมีลักษณะที่ดีขึ้น คือ ทนทานต่อโรคของวอลนัทมากขึ้น

    คาโนลา(Canola) GMOs
    ทำให้ได้คาโนลา(Canola)มีลักษณะที่ดีขึ้น ต้านทานยาปราบวัชพืชพวก glyphosate หรือ glufosinate ได้ ทำให้ได้น้ำมันจากคาโนลา(Canola)มากขึ้น

    สควอช(Squash) GMOs
    ทำให้ได้สควอช(Squash)มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีน(gene) coat protein ของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอ(DNA)ทำให้สามารถต้านทานไวรัสได้




    ขอขอบคุณ ตัวอย่างของ พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม
     
  4. เล็กชิ้นสด

    เล็กชิ้นสด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +178
    ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs (Disadvantages of GMOs)



    ปัญหาด้านของความเสี่ยงต่อผู้บริโภค

    - ปัญหาเรื่อง อาจมีสิ่งอื่นเจือปนที่ทำให้เกิดอันตรายจากสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs) ได้ เช่น เคยมีข่าวว่า คนในสหรัฐอเมริกาเกิดการล้มป่วยและเสียชีวิตเกิดขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภค กรดอะมิโน L-Tryptophan ซึ่งเป็นสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs)โดยเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Showa Denko แต่ความจริงแล้วจีเอ็มโอ(GMOs) ไม่ได้เป็นสาเหตุของอันตราย แต่เกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการหลังการทำให้บริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ โดยในขั้นของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) มีความบกพร่องจนมีสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการเหลืออยู่




    - ปัญหาเรื่อง จีเอ็มโอ(GMOs)อาจเป็นพาหะของสารที่เป็นอันตรายได้ อย่างในการทดลองของ Dr.Pusztai ได้ทำการทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มีสารเลคติน(lectin)เจือปนอยู่ แล้วผลออกมาว่าหนูมีภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงลำไส้ของหนูมีลักษณะบวมอย่างผิดปกติ นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากวิจารณ์การทดลองนี้ว่า มีความบกพร่องในการออกแบบการทดลองรวมถึงในวิธีการทดลอง ซึ่งเชื่อว่าต่อไปจะมีการทดลองที่รัดกุมมากขึ้น และมีคนกังวลว่า ดีเอ็นเอ (DNA) จากไวรัสที่ใช้ในการทำจีเอ็มโอ(GMOs) อาจเป็นอันตรายได้

    - ปัญหาเรื่อง อาจมีสารบางอย่างจากจีเอ็มโอ(GMOs) มีไม่เท่ากับปริมาณสารปกติในธรรมชาติ (สารที่ไม่ได้เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมแล้วใส่ยีน(gene)ที่จะผลิตสารนั้นโดยตรงลงไป) อย่างมีรายงานว่าถั่วเหลืองที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมมีสาร isoflavone {เป็นสารจำพวก phytoestrogen [ซึ่งคล้ายสารจำพวกฮอร์โมนเอสโตรเจน(estrogen)ในคน]} มากกว่าถั่วเหลืองในธรรมชาติเล็กน้อย ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จีเอ็มโอ(GMOs) หรือเปล่า โดยเฉพาะในเด็กทารก

    - ปัญหาเรื่อง อาจการเกิดสารภูมิแพ้(allergen)ซึ่งอาจได้มาจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งเดิมของยีน(gene)ที่นำมาใช้ทำจีเอ็มโอ(GMOs)นั้น อย่างการใช้ยีน(gene)จากถั่ว Brazil nut มาทำจีเอ็มโอ(GMOs)เพื่อเพิ่มคุณค่าของโปรตีนในถั่วเหลืองให้มากขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ก่อนที่จะออกจำหน่ายพบว่าจีเอ็มโอ(GMOs)ที่เป็นถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ได้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut ทางบริษัทจึงได้ระงับการพัฒนาและการจำหน่ายจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดนี้ แต่ถึงอย่างนั้นพืชจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดอื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ อย่างพวก ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้มีการประเมินแล้วว่า มีอัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ

    - ปัญหาเรื่อง ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ อย่างใน วัว หมู ไก่ รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นที่จะได้รับ recombinant growth hormone ทำให้อาจมีคุณภาพที่ไม่เหมือนจากในธรรมชาติ และอาจมีสารตกค้าง โดยไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งในระบบสรีระวิทยาของสัตว์นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าทั้งของในพืชและจุลินทรีย์ อาจมีผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้จากการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ ซึ่งอาจมีสารพิษอื่นๆที่ไม่ต้องการตกค้างได้ ทำให้ในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง ต้องมีการพิจารณาของขั้นตอนในการประเมินในด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่าการตัดต่อพันธุกรรมในจุลินทรีย์และพืช

    - ปัญหาเรื่อง การดื้อยาในการทำจีเอ็มโอ(GMOs)จะใช้ selectable marker ที่มักเป็นยีน(gene)ที่สร้างสารต้านยาปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ในจีเอ็มโอ(GMOs)อาจมีสารต้านยาปฏิชีวนะอยู่ ซึ่งถ้าผู้บริโภคจีเอ็มโอ(GMOs)กำลังอยู่ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล โดยเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อยและสามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ และถ้าหากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีตามปกติในร่างกายเกิดได้รับ marker gene เข้าไปในส่วนดีเอ็นเอ(DNA)ของมัน อาจทำให้เกิดจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ที่อาจดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ได้คิดหาวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสารต้านยาปฏิชีวนะ หรือนำยีน(gene)ในส่วนที่สร้างสารต้านปฏิชีวนะออกไปก่อนเป็นจีเอ็มโอ(GMOs)เป็นผลิตภัณฑ์เต็มตัว

    - ปัญหาเรื่อง อาจมีส่วนของยีน(gene)จำพวก 35S promoter และ NOS terminator ที่อาจมีอยู่ในเซลล์ของจีเอ็มโอ(GMOs)ซึ่งอาจจะไม่ถูกย่อยในส่วนของกระเพาะอาหารและส่วนของลำไส้ แล้วเข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานจีเอ็มโอ(GMOs)เข้าไป แล้วอาจทำให้มีการ active ของสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มีผลอาจทำให้ยีน(gene)ของคนที่รับประทานเข้าไปเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่จากผลการทดลองที่ผ่านๆมาได้มีการยืนยันว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก

    - ปัญหาเรื่อง บางสิ่งเล็กน้อยที่ต้องระวัง เช่น เด็กทารกซึ่งอาจย่อยดีเอ็นเอ(DNA)ในอาหารได้ไม่สมบูรณ์หากเทียบกับผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กทารกมีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่าของผู้ใหญ่ แต่อาจทำให้เกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป

    ปัญหาด้านของความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม

    - ปัญหาเรื่อง สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช อาจกระทบถึงแมลงและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น Bt toxin ที่มักใส่ในจีเอ็มโอ(GMOs) อย่างผลการทดลองของ Losey มหาวิทยาลัย Cornell ได้ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตัดต่อพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ในการทดลองนี้ทำในสถานที่ทดลองภายใต้สภาวะเงื่อนไขที่ Stress โดยให้ผลเพียงในขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งต้องมีการทดลองในภาคสนามอีกเพื่อให้ได้ผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและมีการนำไปขยายความต่อไป

    - ปัญหาในเรื่อง การนำจีเอ็มโอ(GMOs)ออกสู่สิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยอาจมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นเหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติมากจนกลืนสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติให้หายไปหรือสูญพันธุ์ไป หรืออาจเกิดลักษณะเด่นอะไรบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ที่ไม่ต้องการ หรืออาจทำให้ศัตรูพืชดื้อต่อสารเคมีปราบศัตรูพืช อาจทำให้เกิด “สุดยอดแมลง(super bug)” หรือ “สุดยอดวัชพืช(super weed)”ได้

    ปัญหาด้านของเศรษฐกิจและสังคม

    - ปัญหาในเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องวิทยาศาสตร์ เช่น การผูกขาดทางสินค้าจีเอ็มโอ(GMOs)ของบริษัทเอกชนที่จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับจีเอ็มโอ(GMOs)นั้น ทำให้ในอนาคตอาจเกิดความไม่มั่นคงทางด้านอาหารได้และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป รวมถึง ปัญหาในเวทีการค้าระหว่างประเทศที่กีดกันสินค้าจีเอ็มโอ(GMOs)




    ขอขอบคุณ ข้อเสีย หรือ ผลเสีย ของ GMOs (Disadvantages of GMOs)
     
  5. mobilelizard

    mobilelizard เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    558
    ค่าพลัง:
    +4,678
    พี่ โจน จันไดคือฮีโร่ของผม
     
  6. เล็กชิ้นสด

    เล็กชิ้นสด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2012
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +178
    จุดประสงค์ของ พืช GMO ที่นักวิชาการบ้านเราเข้าใจคือ
    คือ -เพื่อเพิ่มผลผลิต
    -ต้นทุนในการผลิตต่ำลง
    - สมบัติทางกายภาพบางอย่างที่เพิ่มขึ้น เช่นสารอาหาร

    แต่ จุดประสงค์ของพืช GMO ของ อเมริกา
    คือ -ผูกขาด พันธุ์พืช
    -เก็บค่าสิทธิบัตร
    - ทำลาย ระบบการผลิตดั่งเดิมของแต่ละประเทศ
    - ทำลาย ความหลากหลายทางชีวภาพของพันธุ์พืช เกิดการสูญพันธุ์ของพันธุ์พืชแต่ละชนิด (มันติดต่อทางสปอร์เกสรของพืช)
    - ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ง่ายกว่าเดิม เซลล์ของสัตว์ สิ่งมีชีวิตผิดเพี้ยน เกิดความไม่สมดุล ทางดุลยภาพของโครโมโซม สิ่งมีชีวิต ธรรมชาติจึงต้องปรับสมดุล โดยการอุบัติของโรคติดต่อในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงหรือทำลายสิ่งที่ผิดธรรมชาติ
    - ข้อสุดท้าย เพื่อให้เป็นไปตามแผนการลดประชากรมนุษย์ของโลก
     
  7. navasan

    navasan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2013
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +38
    คนเราทำไปเพราะความโลภเเท้ๆ เเล้วไง คนอื่นต้องเดือดร้อนไปด้วย กรรมจริงๆ ขออนุโมทนาบุญกับ จขกท เเละความคิดเห็นอื่นๆด้วยนะครับ.ให้ความรู้มากเลยครับ สาธุๆๆ
     
  8. AFlKLlFl

    AFlKLlFl Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2013
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +49
    จะรู้ได้อย่างไรในประเทศไทยเรามี จีเอ็มโอ ในพืชผักชนิดไหนบ้าง
    ไม่อยากกินโดยไม่รู้ตัว ถ้าเราไม่รับมันมา มันก็ไม่มีผลกับเราซิ
     
  9. nirvana555

    nirvana555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2012
    โพสต์:
    43
    ค่าพลัง:
    +125
    ถ้า copy ไปแป๊ะไปในเฟสต่อจะได้ไหมน้อ...เป็นประโยชมากๆเลยครับ ต้องเผยแพร่ ...รอเจ้าของกระทู้มาอนุญาติก่อนคร๊าบ
     
  10. jaya

    jaya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +2,183
    มีแปะในเฟสเหมือนกันค่ะ แต่แปะอีกก็ดีช่วยกันเผยแพร่ และร่วมรณรงค์หาวิธีป้องกันสุขภาพของตัวเรา ใครมีวิธีการที่เป็นประโยชน์ นำมาแชร์กันนะค่ะ
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,276
    ค่าพลัง:
    +82,733
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ
    มีความเชื่อว่าอะไรที่เราดัดแปลงไปจากธรรมาติ
    นอกจากมีคุณแล้ว ก็ยังมีโทษมหันต์ค่ะ
     
  12. Followdream

    Followdream เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +12,448
    ขอบคุณค่ะ ที่นำข้อมูลสาระดีๆ มาแบ่งปันให้ทราบกัน
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...