เฉลยคำตอบที่ถูกต้องที่สุดสำหรับงานหลอมพระแก้ว

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 6 มิถุนายน 2021.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    T3445-BL-Bell-Lift-Open-950.jpg
    ภาพแสดงให้เห็นเวลายกชิ้นงานออกจากเตาหลังงานเสร็จ พื้นเตาจะอยู่ในระดับหัวเข่าคนยกพอดี จึงเซฟหลังคนยกไว้ได้
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    types-t644754-e23t-250.jpg
    ภาพแสดงให้เห็นว่า หากยกชิ้นงานที่เสร็จแล้ว ซึ่งอาจมีน้ำหนักที่ชิ้นละ 20 - 40 kg. ออกจากเตา แบบฝาบน คนยกอาจพบปัญหาเรื่องหลังยอกได้ ในขณะที่เตาชนิดยกลอย คนยกจะเบาแรงตามหลักสรีระศาสตร์
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    boro glass 001.png
    เตาอบ Annealer สำหรับงานแก้วชนิด Pressed Glass ที่อบคุณภาพดีมาก เขาเลือกใช้เตาเลื่อน เพื่อให้ตรงกับหลักสรีระศาสตร์ เวลาคนยกเข้ายกออก
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    SKTPI.jpg
    ภาพนี้เป็นการติดตั้งเตาขนาดใหญ่ (ใหญ่สำหรับงานแก้ว) แต่เป็นเตาขนาดกลางปกติของเตาเซรามิค

    ภาพประกอบกระทู้
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    hqdefault.jpg
    เวลาเรียงชิ้นงาน และ นำชิ้นงานเลื่อนเข้าออกเตาเผาเซรามิคครับ ในงานแก้วชนิด Kiln Mould Casting Glass ไม่เรียงแน่นขนาดนี้ เพราะยังมีการวางกระถางดิน และก้อนแก้วในกระถางอีกชั้นหนึ่ง จะไม่วางแน่นขนาดนี้
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    44cb3231723be435b2320c46f0dd37d1.jpg
    ภาพนี้แสดงการวางชิ้นงานที่จะหล่อ คือวางแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ทนไฟ พร้อมกันก็วางกระถางดินเผาลงไปด้วย ในกระถางดินเผาใส่ก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อโดยมีสูตรการวางคือ น้ำหนักของขี้ผึ้งที่เราละลายออกมา คูณด้วย 4.2 จะเป็นน้ำหนักของก้อนแก้วเพื่อการหลอมต่อ เตานี้ฝาบน เหมาะสำหรับชิ้นงานขนาดค่อนข้างเล็ก
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    4_Moulds_ready_for_casting_in_glass_large.jpg
    ภาพแสดงให้เห็นช่องทางการไหลของน้ำแก้ว ไหลลงสู่แม่พิมพ์ปูนทนไฟ แสดงการวางอิฐทนไฟเพื่อเข้าประคับประคองแม่พิมพ์ไว้
     
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    5_Moulds_after_glass_casting_large.jpg
    ต่อมาภายหลังมีการใช้ปูนปลาสเตอร์ทนไฟทำหน้าที่แทนกระถางดินเผา ทำให้เป็นส่วนหนึ่งของแม่พิมพ์ไปเลย อันเนื่องจากเหตุผลหลายประการคือ เศษของน้ำแก้วเมื่อไหลลงสู่แม่พิมพ์หมดแล้ว เขายังเหลือคราบน้ำแก้วอยู่ คราบน้ำแก้วนี้ก็คือเศษแก้วที่นำกลับมาหลอมใหม่ได้ ผิดกับน้ำแก้วที่ติดกระถางดินเผามักติดแน่นกับดินเผาสีแดง ที่เมื่อนำกลับมาใหม่ต้องมาแยกดินเผาออกก่อน ซึ่งยากกว่าในปูนปลาสเตอร์ที่เขาพร้อมจะหลุดอยู่แล้ว เหตุผลอีกข้อที่ใช้ปูนปลาสเตอร์แทนกระถางดิน คือเขาเตี้ยกว่ากระถางดิน ทำให้เตาที่อาจมีความสูงภายในจำกัดนั้น ยังพอมีที่ว่างอยู่บ้าง และเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่เลือกใช้ปูนแทนกระถางดินเผา คือเขาเป็นการต่อท่อทางลงของน้ำแก้วได้ดี และต่อได้หลายสายกว่ากระถางดินเผา
     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    0085.jpg
    ชาวบ้านในเขมรท่านหนึ่ง ไปทำไร่ไถนา พบชิ้นส่วนของพระแก้ว 25 พุทธศตวรรษที่สร้างได้ไม่ดีในสมัยยุค 2497 - 2540 ตามที่ผมมักกล่าวไว้ว่า นอกจากใช้ขวดสไปร้ซ์ ขวดไวตามิลค์ หรือขวดเบียร์ที่เป็นจุดอ่อนในการสร้างส่วนใหญ่ เพราะต้องการลดต้นทุนเท่านั้น แก้วจึงขาดสารเคมีที่จะทำให้คุณภาพแก้วดีได้ และเมื่อสร้างเสร็จก็อบในเตาอบชนิดสายพานเลื่อน หรือไม่ก็เตาถ้ำ แต่อุณหภูมิแทนที่จะใช้เวลาสัก 2 วัน 2 คืนเพื่อให้ Stress ได้คลายออกไปหมดก่อน ซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 48 ชั่วโมงในพระแก้วหน้าตัก 5 นิ้ว (พระแก้วพร้อมฐานนะครับ องค์ในภาพก็ใช่ แต่ขาดครึ่งองค์) โรงงานส่วนมากใช้เวลาลดอุณหภูมิน้อยมาก ถ้าเป็นเตาสายพานเหล็กเลื่อน บางเตาใช้แค่ 4 ชั่วโมงเศษ และบางเตาใช้เวลา 6 ชั่วโมงเศษ ส่วนถ้าองค์ไหนได้เข้าเตาถ้ำก็อาจมีโอกาสลดนานขึ้น แต่ก็ไม่เกิน 12 ชั่วโมง เพราะเตาถ้ำมีจำนวนจำกัดนั่นเอง

    ผมขออนุโมทนาชาวบ้านท่านนี้นะครับ แม้เหลือแค่ครึ่งองค์ขาดครึ่ง ท่านก็นำมาบูชาเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง ถ้าเป็นคนไทยเขาถือว่าของแตก ไปวางใต้ต้นโพธิ์ต้นไทรหมดครับ
     
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    2_img06s.jpg 2a01.jpg 2_img07.jpg 2_img08.jpg 1997_01_97_budha_J_Images_img001.jpg
    พระแก้วที่สร้างในต่างประเทศที่มีคุณภาพดีนั้น เพราะเขาออกแบบถูกต้องไปเลย คือถ้าสร้างแบบโปร่ง (แก้วกลวง) เขาก็ต้องกลวงแบบนี้ครับ คือกลวงไปถึงภายในพระเศียรเลย เมื่อชิ้นงานมีความหนาเท่ากันหมด หรือเกือบหมด ในความหนาขนาดนี้ ต่อให้องค์ใหญ่แค่ไหนก็ตาม ไม่ใช่แค่หน้าตัก 5 นิ้ว ต่อให้หน้าตัก 59 นิ้ว ก็ใช้เวลาการอบแค่ไม่เกิน 6 ชั่วโมงครับ ทำให้คงทนได้นานเป็นหมื่นปีได้เลย เพราะอายุแก้วที่ถูกต้องนั้น นานเป็นหมื่นปีจริงๆครับ
     
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    36,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,808
    เสียดายที่ช่างแก้วไทยส่วนใหญ่ในสมัยนั้น ไม่คัดค้านกันเต็มที่ (รวมทั้งตัวผมเองด้วย) คือถ้าทุกคนรวมตัวกันคัดค้าน และถ้าในที่สุดเขาจะไม่จ้าง เราก็ต้องไม่สร้างให้ เพราะการทำที่ไม่ถูกต้อง คุณภาพไม่ดี ทำให้พระแก้วที่สร้างต้องไปขาดครึ่งองค์บ้าง บิ่น กระเทาะ หรือร้าว หรืออื่นใดในมือผู้บูชา มันควรแล้วหรือ

    การสร้างพระแก้วจึงควรเป็นการสร้างแบบที่ว่า สร้างเพื่อให้ได้คุณภาพจริงๆ ไม่ควรดีดลูกคิดรางแก้วว่าจะกำไรเท่าไรให้มากเกินไปครับ แต่อย่างว่านะครับ สมัยนั้นเกิดสำนักที่เขาสร้างพระแก้วจำนวนมาก และสร้างกันในจำนวนมาก ในยุคนั้นมีโรงงานแก้วที่รับสร้างพระแก้วนับจำนวนแทบไม่ถ้วนกันเลย ทุกวันนี้อาจเหลือแค่ 2 - 3 โรงงานที่ไม่ได้สร้างทุกวันด้วย พอว่างจากสร้างพระแก้วก็ไปผลิตถ้วย ชาม หรือโคมไฟ หรือชิ้นงานแก้วอื่นๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...