///// เชิญน้อมนำคำสอนของพระพุทธเจ้า ไปปฏิบัติกัน /////

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย comxeoo, 1 พฤษภาคม 2014.

  1. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น


    นักปฏิบัติทั้งหลายอย่าเพิ่งมองคำของพระพุทธองค์ เป็นแต่เพียงทฤษฎีเอาไว้เรียนรู้เพียงเท่านั้น
    แท้ที่จริงนักปฏิบัติสามารถนำคำสอนของพระพุทธองค์ น้อมมาปฏิบัติได้จริงเลย
    และเมื่อปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว จะเห็นถึงความอัศจรรย์ในคำของพระพุทธองค์
    ธรรมทั้งหลายสอดคล้องเกื้อกูลกันทั้งหมด


    ..........................................

    “เรื่องเร่งด่วนที่ต้องเร่งกระทำ”


    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
    เธอพึงทำความสำเหนียกว่า “เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน” ดังนี้เถิด.


    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตแห่งตน เป็นอย่างไรเล่า ?


    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนชายหนุ่มหญิงสาว ที่ชอบแต่งตัว
    ส่องดูเงาหน้าของตนที่แว่นส่องหน้า หรือที่ภาชนะน้ำอันบริสุทธิ์หมดจดใสสะอาด
    ถ้าเห็นธุลีหรือต่อมที่หน้า ก็พยายามนำธุลีหรือต่อมนั้นออกเสีย
    ถ้าไม่เห็นธุลีหรือต่อม ก็ยินดีพอใจว่า เป็นลาภหนอ บริสุทธิ์ดีแล้วหนอ ข้อนี้ฉันใด
    ภิกษุทั้งหลาย ! การพิจารณาของภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน คือ
    จะมีอุปการะมากในกุศลธรรมทั้งหลายในเมื่อเธอพิจารณาว่า


    “เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีอภิชฌา หรือไม่มีอภิชฌา
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตพยาบาท หรือไม่มีจิตพยาบาท
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีถีนมิทธะกลุ้มรุมอยู่ หรือปราศจากถีนมิทธะ
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีความฟุ้งซ่าน หรือไม่ฟุ้งซ่าน
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีวิจิกิจฉา หรือหมดวิจิกิจฉา
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยเป็นผู้มักโกรธ หรือไม่มักโกรธ
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตเศร้าหมอง หรือไม่มีจิตเศร้าหมอง
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีกายอันเครียดครัดในการปฏิบัติธรรม หรือมีกายไม่เครียดครัด
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยเป็นผู้เกียจคร้าน หรือเป็นผู้ปรารภความเพียร
    เรามีชีวิตอยู่โดยมาก โดยมีจิตตั้งมั่น หรือไม่มีจิตตั้งมั่น”
    ดังนี้


    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า
    “เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้มากด้วยอภิชฌา มีจิตพยาบาท
    ถีนมิทธะกลุ้มรุม ฟุ้งซ่าน มีวิจิกิจฉา มักโกรธ มีจิตเศร้าหมอง
    มีกายเครียดครัด เกียจคร้าน มีจิตไม่ตั้งมั่น
    ” ดังนี้แล้ว


    ภิกษุนั้น พึงกระทำซึ่งฉันทะ (ความพอใจ) วายามะ (ความพยายาม)
    อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี (ความขมักเขม้น) อัปปฏิวานี (ความไม่ถอยหลัง)
    สติและสัมปชัญญะ อย่างแรงกล้า
    เพื่อละเสียซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น

    เช่นเดียวกับ บุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศีรษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำ
    ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬ๎หี อัปปฏิวานี สติและสัมปชัญญะอันแรงกล้า
    เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย, ฉันใดก็ฉันนั้น.



    ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ รู้สึกว่า
    “เราอยู่โดยมาก โดยความเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีจิตพยาบาท
    ไม่ถีนมิทธะกลุ้มรุม ไม่ฟุ้งซ่าน หมดวิจิกิจฉา ไม่มักโกรธ มีจิตไม่เศร้าหมอง
    มีกายไม่เครียดครัด ปรารภความเพียร มีจิตตั้งมั่น
    ” ดังนี้แล้ว

    ภิกษุนั้น พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นแหละ
    แล้วประกอบโยคกรรม เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลายให้ยิ่งขึ้นไป.

    ทสก. อํ. ๒๔/๙๗/๕๑.


    ...........................................
     
  2. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "เพียรละความเพลินในทุกๆ อิริยาบถ"


    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังเดินอยู่
    ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม (กามวิตก)
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น (พยาบาทวิตก)
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ (วิหิงสาวิตก) ขึ้นมา
    และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้
    สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

    ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังเดินอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส
    รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลส อยู่เนืองนิจ.


    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังยืนอยู่
    ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา
    และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้
    สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

    ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังยืนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส
    รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.



    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนั่งอยู่
    ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา
    และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้
    สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

    ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนั่งอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส
    รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจ.



    ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่อภิกษุกำลังนอนอยู่
    ถ้าเกิดครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในกาม
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางเดือดแค้น
    หรือ ครุ่นคิดด้วยความครุ่นคิดในทางทำผู้อื่นให้ลำบากเปล่า ๆ ขึ้นมา
    และภิกษุก็ ไม่รับเอาความครุ่นคิดนั้นไว้
    สละทิ้งไป ถ่ายถอนออก ทำให้สิ้นสุดลงไปจนไม่มีเหลือ

    ภิกษุที่เป็นเช่นนี้ แม้กำลังนอนอยู่ ก็เรียกว่า เป็นผู้ทำความเพียรเผากิเลส
    รู้สึกกลัวต่อสิ่งลามก เป็นคนปรารภความเพียร อุทิศตนในการเผากิเลสอยู่เนืองนิจแล.

    จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗/๑๑.
     
  3. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    อานนท์ ! เราไม่พยายามทำกะพวกเธอ อย่างทะนุถนอม
    เหมือนพวกช่างหม้อ ทำแก่หม้อ ที่ยังเปียก ยังดิบอยู่
    อานนท์ ! เราจักขนาบแล้ว ขนาบอีก ไม่มีหยุด
    อานนท์ ! เราจักชี้โทษแล้ว ชี้โทษอีก ไม่มีหยุด
    ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจักทนอยู่ได้.

    .............................
     
  4. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "มรรคมีองค์ 8 หนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ"


    ภิกษุทั้งหลาย ! ก็อริยสัจคือหนทางเป็นเครื่องให้
    ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
    คือหนทางอันประกอบด้วยองค์แปดอันประเสริฐ นี้เอง,
    องค์แปดคือ :-

    ความเห็นชอบ
    ความดำริชอบ
    การพูดจาชอบ
    การงานชอบ
    การเลี้ยงชีพชอบ
    ความเพียรชอบ
    ความระลึกชอบ
    ความตั้งใจมั่นชอบ.



    ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบเป็นอย่างไร ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์
    ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
    ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
    ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด
    นี้เราเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

    ...................................

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบเป็นอย่างไร ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม,
    ความดำริในการไม่พยาบาท, ความดำริในการไม่เบียดเบียน,
    นี้เราเรียกว่า สัมมาสังกัปปะ.

    ...................................

    ภิกษุทั้งหลาย ! การพูดจาชอบเป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ,
    การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน, การเว้นจากการพูดหยาบ,
    การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ,
    นี้เราเรียกว่า สัมมาวาจา.

    ...................................

    ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบเป็นอย่างไร ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์,
    การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้,
    การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย,
    นี้เราเรียกว่า สัมมากัมมันตะ.

    ...................................

    ภิกษุทั้งหลาย ! การเลี้ยงชีพชอบเป็นอย่างไร ?
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ ละมิจฉาชีพเสีย สำเร็จ
    ความเป็นอยู่ด้วยสัมมาชีพ
    ,
    นี้เราเรียกว่า สัมมาอาชีวะ.

    ...................................

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบเป็นอย่างไร ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อม
    พยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อม
    ตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย

    อันเป็นบาป ที่ยังไม่ได้บังเกิดขึ้น; ย่อมปลูกความพอใจ
    ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต
    ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
    อัน
    เป็นบาป ที่บังเกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อม
    พยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อม
    ตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
    ที่ยัง
    ไม่ได้บังเกิด
    ; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อม
    ปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อ
    ความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
    ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรม
    ทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว,

    นี้เราเรียกว่า สัมมาวายามะ.

    ...................................

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบเป็นอย่างไร ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่,
    มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส มีความ
    รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

    เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่,
    มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
    มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

    เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่,
    มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึก
    ตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;

    เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่,
    มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส มีความ
    รู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้,

    นี้เราเรียกว่า สัมมาสติ.

    ...................................

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบเป็นอย่างไร ?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุนี้ เพราะสงัดจากกามทั้งหลาย
    เพราะสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงฌานที่หนึ่ง
    อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่;

    เพราะวิตกวิจารรำงับลง, เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็น
    เครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอก
    ผุดขึ้น
    ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ
    แล้วแลอยู่;

    เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้
    มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมและได้เสวยสุขด้วยนามกาย
    ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
    กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า “เป็นผู้เฉยอยู่ได้ มีสติ
    มีการอยู่เป็นสุข” แล้วแลอยู่;

    เพราะละสุขและทุกข์เสียได้
    และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัส
    ในกาลก่อน, เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข
    มีแต่สติอันบริสุทธ์ิ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่,

    นี้เราเรียกว่า สัมมาสมาธิ.


    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทาง
    เป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.


    มหา. ที. ๑๐/๓๔๘/๒๙๙.
     
  5. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "หนทางแห่งความหมดจด"


    ทางมีองค์แปด เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย.
    บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.
    วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย.
    ผู้มีพุทธจักษุประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
    นี่แหละทางเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทางอื่นมิได้มี.

    เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร
    เธอทั้งหลาย เดินตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

    ทาง เราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร
    ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ
    ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก ผู้มุ่งปฏิบัติแล้วย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.


    เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง”
    เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.

    เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์”
    เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.

    เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา”
    เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.

    ..............................

    ธ. ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
     
  6. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "สมาธิเพียงแค่ไหน เพียงพอต่อการบรรลุธรรม"


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    เรากล่าวความสิ้นอาสวะ

    เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง;
    เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง;
    เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง;
    เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง;
    เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง;
    เพราะอาศัยวิญญาณัญจาตยนะบ้าง;
    เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง;
    เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง;
    เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง.



    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    คำที่เรากล่าวแล้วว่า
    “ภิกษุ ทั้งหลาย !เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง” ดังนี้นั้น


    เราอาศัยอะไรกล่าวเล่า ? ภิกษุ ทั้งหลาย !

    ในกรณีนี้ ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌานอันมี
    วิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.

    ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ;

    เธอนั้นตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
    เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร
    เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ เป็นดังผู้อื่น เป็นของ
    แตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.


    เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตธาตุด้วยการ


    กำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต : นั่นคือธรรมชาติ
    เป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิ
    ทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคลาย เป็น
    ความดับ เป็นนิพพาน” ดังนี้.


    เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณ
    มีปฐมฌานเป็นบาทนั้น ย่อมถึง ความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
    ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะ อนาคามี
    ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้น
    เป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำ
    ห้าประการและเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ
    นั้น ๆ นั่นเอง.


    ภิกษุ ทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนนายขมังธนูหรือลูกมือ
    ของเขา ประกอบการฝึกอยู่กะรูปหุ่นคนที่ทำด้วยหญ้าบ้าง
    กะรูปหุ่นดินบ้าง;
    สมัยต่อมา เขาก็เป็นนายขมังธนูผู้ยิงไกลยิงเร็ว ทำลายหมู่พลอันใหญ่ได้.

    ภิกษุ ทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น
    ที่ภิกษุสงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรม เข้าถึงปฐมฌาน
    อันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ดังนี้.

    ภิกษุ ทั้งหลาย ! ข้อที่เรากล่าวแล้วว่า “ภิกษุ ท. ! เรากล่าวความ
    สิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง”
    ดังนี้นั้น เราอาศัยความข้อนี้กล่าวแล้ว.


    ......................................


    (ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัย ทุติยฌาน บ้างเพราะอาศัย
    ตติยฌาน บ้าง เพราะอาศัย จตุตถฌาน บ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้
    โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่งปฐมฌานข้างบนนี้ทุกตัวอักษรทั้ง
    ในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น)


    (ในกรณีแห่งการสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนะบ้าง เพราะอาศัย
    อากิญจัญญายตนะบ้าง ก็มีคำอธิบายที่ตรัสไว้โดยทำนองเดียวกันกับในกรณีแห่ง
    อากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ทุกตัวอักษร
    ทั้งในส่วนอุปไมยและส่วนอุปมา ผิดกันแต่ชื่อแห่งฌานเท่านั้น).


    ...................................


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้แล เป็นอันกล่าวได้ว่า
    สัญญาสมาบัติมีประมาณเท่าใด อัญญาปฏิเวธ
    (การแทงตลอดอรหัตตผล) ก็มีประมาณเท่านั้น



    ..................................
    นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.
     
  7. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "สิ้นกิเลสก็แล้วกัน ไม่ต้องรู้ว่าสิ้นไปเท่าไร"


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือหรือ
    รอยนิ้วหัวแม่มือ ย่อมปรากฏอยู่ที่ด้ามเครื่องมือของพวก
    ช่างไม้ หรือลูกมือของพวกช่างไม้ แต่เขาก็ไม่มีความรู้ว่า
    ด้ามเครื่องมือของเรา วันนี้สึกไปเท่านี้ วานนี้สึกไปเท่านี้

    วันอื่น ๆ สึกไปเท่านี้ ๆ คงรู้แต่ว่ามันสึกไป ๆ เท่านั้น,นี้ฉันใด;


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    เมื่อภิกษุตามประกอบภาวนาอยู่ ก็
    ไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ วานนี้สิ้น
    ไปเท่าน
    ี้ วันอื่น ๆ สิ้นไปเท่านี้ ๆ รู้แต่เพียงว่า สิ้นไปใน
    เมื่อมันสิ้นไป ๆ เท่านั้น, ฉันใดก็ฉันนั้น.


    ..............................
    สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๒๘/๖๘.
     
  8. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    หมด “อาหาร” ก็นิพพาน


    ภิกษุ ทั้งหลาย !

    ถ้าไม่มีราคะ ไม่มีนันทิ ไม่มีตัณหา


    ใน อาหารคือคำข้าว ก็ดี
    ใน อาหารคือผัสสะ ก็ดี
    ใน อาหารคือมโนสัญเจตนา ก็ดี
    ใน อาหารคือวิญญาณ ก็ดี แล้วไซร้,


    วิญญาณก็เป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ไม่ได้
    เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในสิ่งนั้น ๆ.
    วิญญาณตั้งอยู่ไม่ได้ เจริญงอกงามอยู่ไม่ได้ในที่ใด,

    การก้าวลงแห่งนามรูป ย่อมไม่มี ในที่นั้น;
    การก้าวลงแห่งนามรูปไม่มีในที่ใด,
    ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลาย ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    ความเจริญแห่งสังขารทั้งหลายไม่มีในที่ใด,
    การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    การบังเกิดในภพใหม่ต่อไป ไม่มีในที่ใด,
    ชาติชราและมรณะต่อไป ย่อมไม่มีในที่นั้น;
    ชาติชราและมรณะต่อไป ไม่มีในที่ใด,


    ภิกษุ ทั้งหลาย ! เราเรียก “ที่” นั้นว่า
    เป็น “ที่ไม่โศก ไม่มีธุลี และไม่มีความคับแค้น” ดังนี้.

    ..........................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๑๒๔-๑๒๕/๒๔๘-๒๔๙.
     
  9. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "วงจรปฎิจจสมุปบาท"


    “ภิกษุ ทั้งหลาย ! อะไรเล่าที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ?”

    ภิกษุ ทั้งหลาย !

    เพราะมีอวิชชา.......เป็นปัจจัย จึงมี..........สังขารทั้งหลาย
    เพราะมีสังขาร.......เป็นปัจจัย จึงมี..........วิญญาณ
    เพราะมีวิญญาณ.....เป็นปัจจัย จึงมี..........นามรูป
    เพราะมีนามรูป.......เป็นปัจจัย จึงมี..........สฬายตนะ
    เพราะมีสฬายตนะ....เป็นปัจจัย จึงมี..........ผัสสะ
    เพราะมีผัสสะ.........เป็นปัจจัย จึงมี..........เวทนา
    เพราะมีเวทนา.......เป็นปัจจัย จึงมี...........ตัณหา
    เพราะมีตัณหา.......เป็นปัจจัย จึงมี...........อุปาทาน
    เพราะมีอุปาทาน.....เป็นปัจจัย จึงมี...........ภพ
    เพราะมีภพ...........เป็นปัจจัย จึงมี...........ชาติ

    เพราะมีชาติ เป็นปัจจัย
    ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะ
    โทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
    จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.


    ภิกษุ ทั้งหลาย ! นี้เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท.

    ..............................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • paticha.jpg
      paticha.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.9 KB
      เปิดดู:
      149
  10. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    โยคกรรม อันเธอพึงกระทำ เพื่อให้รู้ว่า

    นี้ทุกข์
    นี้เหตุให้เกิดทุกข์
    นี้ความดับสนิทแห่งทุกข์
    นี้ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งทุกข์ (อริยสัจ4)


    นิพพาน เราได้แสดงแล้ว
    ทางให้ถึงนิพพาน เราก็ได้แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย.


    กิจใด ที่ศาสดาผู้เอ็นดู แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
    อาศัยความเอ็นดูแล้ว จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย,
    กิจนั้น เรา(พระศาสดา)ได้ทำแล้วแก่พวกเธอ.

    นั่น โคนไม้; นั่น เรือนว่าง.
    พวกเธอจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท
    อย่าเป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย.

    นี่แหละ วาจาเครื่องพร่ำสอนของเรา(พระศาสดา) แก่เธอทั้งหลาย.

    ...........................
    มหาวาร. สํ -สฬา. สํ.
     
  11. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "เมื่อคิดถึงสิ่งใด แสดงว่าพอใจในสิ่งนั้น เมื่อพอใจในสิ่งนั้น ความพอใจนั้นแหละ คือ เหตุแห่งทุกข์"

    ภิกษุทั้งหลาย !

    ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่
    ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่
    และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่
    สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ.

    เมื่ออารมณ์ มีอยู่
    ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี

    เมื่อวิญญาณนั้น ตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว,
    ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี;

    เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป มี,
    ชาติชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย
    จึงเกิดขึ้นครบถ้วนต่อไป :
    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

    .............................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๗๘/๑๔๕.




    ทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์


    ทุกข์ใด ๆ อันจะเกิดขึ้นในอนาคต
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์


    และทุกข์ใด ๆ ที่เกิดขึ้น
    ทุกข์ทั้งหมดนั้น ก็มีฉันทะเป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ

    เพราะว่า ฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”

    .............................
    สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.
     
  12. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีตัณหา(ความทะยานอยาก)"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    เปรียบเหมือนไฟกองใหญ่ พึงลุกโพลงด้วยไม้สิบเล่มเกวียนบ้าง
    ยี่สิบเล่มเกวียนบ้าง สามสิบเล่มเกวียนบ้าง สี่สิบเล่มเกวียนบ้าง.
    บุรุษพึงเติมหญ้าแห้งบ้าง มูลโคแห้งบ้าง ไม้แห้งบ้าง
    ลงไปในกองไฟนั้น ตลอดเวลา ที่ควรเติม อยู่เป็นระยะ ๆ.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ด้วยอาการ อย่างนี้แล ไฟกองใหญ่
    ซึ่งมี เครื่องหล่อเลี้ยง อย่างนั้นมี เชื้อเพลิง อย่างนั้น
    ก็จะพึงลุกโพลง ตลอดกาลยาวนาน



    ข้อนี้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย !
    เมื่อภิกษุเป็นผู้มีปกติ เห็นโดยความเป็นอัสสาทะ (น่ารักน่ายินดี)
    ใน อุปาทานิยธรรม (ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน) อยู่
    ตัณหาย่อมเจริญ อย่างทั่วถึง
    เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
    ชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.

    .........................
    นิทาน. สํ. ๑๖/๑๐๒/๑๙๖-๑๙๗.
     
  13. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "เมื่อมีสติ ความเพลินย่อมดับ"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น ได้ยินเสียงด้วยหูแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในเสียง อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น รู้สึกกลิ่นด้วยจมูกแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในกลิ่น อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในรส อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น ถูกต้องสัมผัสด้วยกายแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในสัมผัสทางกาย อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...

    ภิกษุนั้น รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว
    ย่อมไม่กำหนัดยินดี ในธรรมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก
    ย่อมไม่ขัดเคือง ในธรรมมารมณ์ อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง...


    เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว
    มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
    อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลายด้วย


    ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้ว ซึ่งความยินดี และความยินร้ายอย่างนี้แล้ว
    เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม
    ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ในเวทนานั้น ๆ
    เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ
    นันทิ (ความเพลิน) ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป

    เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
    เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
    เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
    เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชาติชรามรณะ โสกะปริเทวะฯ จึงดับสิ้น
    ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

    ...........................
    มู. ม. ๑๒/๔๙๔/๔๕๘.
     
  14. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ทรงสอนเฉพาะแต่เรื่องทุกข์ กับความดับสนิทของทุกข์"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ทั้งที่เรามีถ้อยคำอย่างนี้ มีการกล่าวอย่างนี้
    สมณะและพราหมณ์บางพวก ยังกล่าวตู่เราด้วย
    คำเท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริงว่า

    พระสมณโคดมเป็นคนจูงคนให้เดินผิดทางไปสู่
    ความฉิบหาย ย่อมบัญญัติลัทธิความสูญเปล่า ความวินาศ
    ความไม่มีของสัตว์ คน ตัวตน เราเขา ขึ้นสั่งสอน
    ” ดังนี้.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    สมณะและพราหมณ์บางพวกเหล่านั้น
    กล่าวตู่เรา
    ด้วยคำเท็จเปล่าๆ ปลี้ๆ ไม่มีจริงให้เป็นจริง
    โดยประการที่เราไม่ได้กล่าว หรือจะกล่าวอย่างนั้น ก็หามิได้.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ในกาลก่อนก็ตาม ในกาลบัดนี้ก็ตาม
    เราบัญญัติสอนแต่เรื่องความทุกข์ และความดับสนิท
    ไม่มีเหลือของความทุกข์ เท่านั้น.


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ในการกล่าวแต่เรื่องความทุกข์ และ
    ความดับสนิทไม่มีเหลือของความทุกข์เช่นนี้ แม้จะมีใคร
    มาด่าว่า ถากถาง
    กระทบกระเทียบ เสียดสี,
    ตถาคตก็ไม่มีความขุ่นแค้น โกรธเคือง เดือดร้อนใจ เพราะเหตุนั้น
    แต่ประการใด.

    ภิกษุทั้งหลาย !
    ในเรื่องเดียวกันนั้นเอง แม้จะมีใคร
    มาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา
    ,
    ตถาคตก็ไม่มีความรู้สึกเพลิดเพลิน ชื่นชม หรือเคลิ้มใจไปตาม.
    ถ้ามีใครมาสักการะ เคารพ สรรเสริญ บูชา,
    ตถาคตย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ก่อนหน้านี้เรามีความ
    รู้สึกตัวทั่วถึงอย่างไร บัดนี้เราก็ต้องทำความรู้สึกตัวทั่วถึง
    อย่างนั้น
    ดังนี้.

    ...........................
    มู. ม. ๑๒/๒๗๖/๒๘๖.
     
  15. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "ลำดับการหลุดพ้น เมื่อเห็นไตรลักษณ์"


    ์ภิกษุทั้งหลาย !

    รูปเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์
    สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา,
    สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้น นั่นไม่ใช่ของเรา
    (เนตํ มม)
    นั่นไม่ใช่เป็นเรา (เนโสหมสฺมิ) นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา(น เมโส อตฺตา)

    เธอทั้งหลายพึงเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบ
    ตรงตามที่เป็นจริงอย่างนี้
    ด้วยประการดังนี้.

    (ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ตรัสอย่าง
    เดียวกันกับในกรณีแห่งรูป ทุกประการ).


    ภิกษุทั้งหลาย !
    เมื่อบุคคลเห็นข้อนั้นด้วยปัญญาโดยชอบตรงตาม
    ที่เป็นจริงอย่างนี้, ปุพพันตานุทิฏฐิ ทั้งหลาย ย่อมไม่มี
    เมื่อปุพพันตานุทิฏฐิไม่มี, อปรันตานุทิฏฐิ ทั้งหลายย่อมไม่มี


    เมื่อ อปรันตานุทิฏฐิไม่ม
    ความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าย่อมไม่ม
    เมื่อความยึดมั่นลูบคลำอย่างแรงกล้าไม่มี
    จิตย่อมจางคลายกำหนัดในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขารในวิญญาณ
    ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่น.
    เพราะจิตหลุดพ้นแล้ว จิตจึงดำรงอยู่
    เพราะเป็นจิตที่ดำรงอยู่ จิตจึงยินดีร่าเริงด้วยดี
    เพราะเป็นจิตที่ยินดีร่าเริงด้วยดี จิตจึงไม่หวาดสะดุ้ง
    เมื่อไม่หวาดสะดุ้ง

    ย่อมปรินิพพานเฉพาะตน นั่นเทียว.
    เธอนั้นย่อมรู้ชัดว่า
    “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว
    กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

    ..............................
    ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๓.

    ปุพพันตานุทิฏฐิ ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องต้น หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอดีต
    อปรันตานุทิฏฐิ ความเห็นที่ปรารภขันธ์ในเบื้องปลาย หรือความเห็นที่เป็นไปในส่วนของอนาคต
     
  16. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจธรรมที่เรา(พระศาสดา)แสดงสักบทเดียว
    นั่นก็ยังเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล และความสุข
    แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.

    ............................
    สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓-๖๐๔.
     
  17. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "อธิษฐานจิตทำความเพียร"


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    ถ้าแม้ พวกเธอ พึงตั้งไว้ซึ่งความ
    เพียรอันไม่ถอยกลับ (ด้วยการอธิษฐานจิต)
    ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จักเหลืออยู่, เนื้อและเลือดในสรีระ
    จักเหือดแห้ง ไปก็ตามที
    ประโยชน์ใด อันบุคคลจะบรรลุได้ด้วยกำลัง
    ด้วยความเพียร ด้วยความบากบั่น ของบุรุษ
    ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้
    แล้วไซร้;


    ภิกษุ ทั้งหลาย !
    พวกเธอ ก็จักกระทำให้แจ้งด้วยปัญญา
    อันยิ่งเอง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์ อันไม่มีอะไรอื่นยิ่งกว่า
    อันเป็นประโยชน์ที่ต้องการของกุลบุตร ผู้ออกบวชจากเรือน
    เป็นผู้ไม่มีเรือนโดยชอบ, ได้ต่อกาลไม่นานในทิฏฐธรรม
    เข้าถึงแล้วแลอยู่ เป็นแน่นอน.

    ................................
    ทุก. อํ. ๒๐/๖๔/๒๕๑.
     
  18. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "เพลิดเพลินในแดนเกิดแห่งทุกข์"

    ปุณณะ !

    รูป ที่เห็นด้วยตาก็ดี
    เสียง ที่ฟังด้วยหูก็ดี
    กลิ่น ที่ดมด้วยจมูกก็ดี
    รส ที่ลิ้มด้วยลิ้นก็ดี
    โผฏฐัพพะที่สัมผัสด้วยกายก็ดี
    และธรรมารมณ์ ที่รู้แจ้งด้วยใจก็ดี

    อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่
    น่าพอใจ ที่ยวนตายวนใจให้รัก

    เป็นที่เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่ เป็นที่ตั้ง
    แห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่

    ถ้าภิกษุย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ
    ย่อมเมาหมกอยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้น นั้นไซร้,

    เมื่อภิกษุนั้น เพลิดเพลิน พร่ำสรรเสริญ เมาหมก
    อยู่ ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นอยู่, นันทิ (ความเพลิน)
    ย่อมบังเกิดขึ้น.


    เรากล่าวว่า เพราะความเพลินเป็นสมุทัย (เครื่อง
    ก่อขึ้น) จึงเกิดมีทุกขสมุทัย (ความก่อขึ้นแห่งทุกข์),
    ดังนี้ แล.

    ..................................
    อุปริ. ม. ๑๔/๔๘๑/๗๕๕.
     
  19. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "อานาปานสติ ระงับซึ่งอกุศล"


    ภิกษุทั้งหลาย !
    อานาปานสติสมาธินี้แล
    อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นของรำงับ
    เป็นของประณีต เป็นของเย็น เป็นสุขวิหาร และย่อมยัง
    อกุศลธรรมอันเป็นบาป อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว
    ให้อันตรธานไป
    ให้รำงับไป โดยควรแก่ฐานะ

    ภิกษุทั้งหลาย !
    เปรียบเหมือนฝุ่นธุลีฟุ้งขึ้น
    แห่งเดือนสุดท้ายของฤดูร้อน ฝนหนักที่ผิดฤดูตกลงมา
    ย่อมทำฝุ่นธุลีเหล่านั้นให้อันตรธานไป
    ให้รำงับไปได้
    โดยควรแก่ฐานะ, ข้อนี้ฉันใด


    ................................
    มหาวาร. สํ. ๑๙/๔๐๖/๑๓๕๒-๑๓๕๔.
     
  20. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    "การรู้อริยสัจเป็นของไม่เหลือวิสัย ที่เราจะทำได้"


    วัจฉะ !
    ภิกษุผู้สาวกของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ
    ปัญญาวิมุตติ
    อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย
    ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เอง ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย
    ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่า
    มาก โดยแท้.



    วัจฉะ !
    ภิกษุณีผู้สาวิกาของเรา บรรลุเจโตวิมุตติ
    ปัญญาวิมุตต
    ิ อันไม่มีอาสวะ เพราะความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย
    ได้กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
    ในทิฏฐธรรมนี้ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่
    สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก
    โดยแท้.



    วัจฉะ !
    อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็น
    คฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย
    ์,
    เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพาน
    ในภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา,
    เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
    ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก
    โดยแท้.



    วัจฉะ !
    อุบาสก ผู้สาวกของเรา พวกเป็น
    คฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน
    เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว
    ไม่ต้อง
    กล่าวด้วยความสงสัยว่า นี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจากความ
    ครั่นคร้าม ไม่ใช่ผู้ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติ
    พรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว
    ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่มากกว่ามาก โดยแท้.



    วัจฉะ !
    อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็น
    หญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว อยู่ประพฤติกับผู้ประพฤติพรหมจรรย์

    เป็น โอปปาติกสัตว์ (พระอนาคามี) มีปกติปรินิพพานใน
    ภพที่ไปเกิดนั้น ไม่เวียนกลับจากภพนั้นเป็นธรรมดา,
    เพราะความสิ้นไปแห่งสัญโญชน์ มีส่วนในเบื้องต่ำห้าอย่าง
    ก็ มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมาก
    กว่ามากเป็นแท้.



    วัจฉะ !
    อุบาสิกา ผู้สาวิกาของเรา พวกเป็น
    หญิงคฤหัสถ์นุ่งขาว ยังบริโภคกาม เป็นผู้ ทำตามคำสอน
    เป็นผู้ สนองโอวาท มีความสงสัยอันข้ามได้แล้ว
    ไม่ต้อง
    กล่าวด้วยความสงสัยว่านี่อะไร ๆ เป็นผู้ปราศจากความ
    ครั่นคร้าม ไม่ต้องเชื่อตามคำของผู้อื่น อยู่ประพฤติ
    พรหมจรรย์ในศาสนาของพระศาสดา ก็มีอยู่ไม่ใช่ร้อยเดียว
    ฯลฯ ไม่ใช่ห้าร้อย มีอยู่โดยมากกว่ามากเป็นแท้.


    ..............................
    ม. ม. ๑๓/๒๕๑ - ๒๕๓/๒๕๕- ๒๕๖.
     

แชร์หน้านี้

Loading...