เชิญร่วมทำบุญอันเป็นมหากุศลเป็นเจ้าภาพตกแต่งผิวและทำสีพระพุทธเจ้า5พระองค์

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย เทวธรรม, 28 พฤศจิกายน 2013.

  1. เทวธรรม

    เทวธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +277
    [​IMG]
    เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพตกแต่งเก็บงานทาสีพระพุทธเจ้า๕พระองค์
    ประดิษฐ์สถาน ณ ธรรมสถานม่อนพระเจ้า๕พระองค์ บ้านหัวนา ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

    เนื่องด้วยพระครูบาธรรมรังษีได้รับการถวายที่ดินจำนวน๕ไร่จาก โยมผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งแต่ก่อนได้มีพระธุดงค์ได้มาสร้าง สำนักสงฆ์ไว้ก่อนแล้วท่านก็เปลื่อนใจออกธุดงค์ต่อ และมีการก่อสร้างพระเจ้า ๕ พระองค์ใว้โดยท่านพระครูบาเคจากอ.แม่แตง แต่การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จท่านได้บอกกับโยมเจ้าของที่ดินว่าให้รอเจ้าของเดิมท่านมาสร้างให้เสร็จเพราะท่านมีภาระกิจในการสร้างเสนะสนะอันดำเนินตามอย่างต๋นบุญแห่งล้านนาอีกหลายที่ ต่อมาทางเจ้าของที่ดินได้มีจิตศรัทธาได้น้อมถวายที่ดินแปลงนี้ให้แก่พระครูบาธรรมรังษี เมื่อท่านพระครูบาได้ไปดูสถานที่แล้วมีความสลดใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นพระพุทธปฏิมาที่ได้รับการก่อสร้างยังไม่เสร็จได้ถูกทิ้งร้างใว้กลางแจ้ง ขาดคนเอาใจใส่ดูแลจึงทำการจ้างช่างมาต่อเติมก่อสร้างไปตามงบประมาณทีละน้อย จนบัดนี้การเก็บรายระเอียดองค์พระยังค้างอีกแค่ ๒๐ เบอร์เซ็น จึงใคร่ขอเรียนเชิญทานผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมกันเป็นเจ้าภาพเก็บรายระเอียดองค์พระพุทธรูปและทำสีทาสีน้ำมันและลงสีทองอครีลิคซึ่งใช้งบประมาญทั้งสิ้นองค์ละ ๑,๕๐๐๐ บาท หรือตามกำลังศรัทธา โดยติดต่อสอบถามรายระเอียดได้ที่พระครูบาโดยตรงได้ที่เบอร์ ๐๘๐-๐๔๑๘๔๐๓
    หรือโอนเข้าทางบัญชีธนาคาร ชื่อบัญชี คุณสีผ่อง ร้อยหมื่น
    ธ.ไทยพาณิชย์ สาขา ฝาง บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 682-228386-4

    หมายเหตุ หมายเลขบัญชีนี้เปิดขึ้นเพื่อรับเงินบริจาคแยกจากชื่อของพระครูบาเนื่องจากง่ายต่อการตรวจสอบยอดโอนสำหรับสร้างพระโดยตรง
    [​IMG]
    พระครูบาธรรรังษี
    สถานประดิษสถานพระพุทธเจ้า5พระองค์ และบรรยากาศโดยรอบ
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    พระกกุสันธพุทธเจ้า
    [​IMG]
    พระโกนาคมนพุทธเจ้า
    [​IMG]
    พระกัสสปพุทธเจ้า
    [​IMG]
    พระโคตมพุทธเจ้า
    [​IMG]
    พระศรีอริยะเมตรไตรพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2013
  2. เทวธรรม

    เทวธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    122
    ค่าพลัง:
    +277
    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    [​IMG]
    ความหมายของคำว่า “พระพุทธรูป”
    พระพุทธรูป หมายถึงรูปเหมือนของพระพุทธเจ้า หรือบางทีเรียกว่า “พระพุทธปฏิมา” แปลว่ารูปเปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า นั่นก็คือมิใช่รูปเหมือนพระองค์จริงขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะปฏิมากรหรือจิตรกรผู้สร้างพระพุทธรูปนั้น ไม่มีใครเคยเห็นองค์จริงของพระพุทธเจ้าเลย ประติมากรรมและจิตรกรรมศิลปะในการสร้างพระพุทธรูปเกิดจากจินตนาการ เป็นพระรูปเนรมิตในมโนภาพของผู้สร้างเอง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ สภาพแวดล้อม ทั้งเชื้อชาติ ภูมิประเทศ ความรู้ทางด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ที่มีอยู่เดิมของช่างจะมีอิทธิพลสูง ทำให้พระพุทธรูปของแต่ละชนชาติ แต่ละยุค แต่ละสมัยแตกต่างกันออกไป เช่น พระพุทธรูปของประเทศใดจะมีพุทธลักษณะคล้ายกับชนชาตินั้น พระพุทธรูปของอินเดีย ก็ไม่เหมือนพระพุทธรูปจีนหรือธิเบต หรือเขมร หรือญี่ปุ่น เป็นต้น แม้ของชนชาติเดียวกันแต่ต่างยุคต่างสมัยกัน ก็จะมีพระพุทธลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนิกชนทุกชาติก็ถือว่าพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นเสมือนพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งเคารพสักการะอย่างสูงสุด ผู้ที่พบเห็นได้เคารพสักการะบูชา กราบไหว้ ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ และพระสงฆ์สาวก ผู้เป็นศาสนทายาท สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาของพระองค์ ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธศาสนาสืบๆไป

    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หมายถึงพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่ตรัสรู้ในภัทรกัปปัจจุบันนี้คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระเมตเตยยะ หรือพระศรีอริยเมตไตรย์
    ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในองค์พระพุทธรูป
    พระพุทธรูป แม้เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากวัตถุต่างๆ เช่น ทอง เงิน หิน ดิน ปูน หรือสิ่งใดก็ตาม เมื่อสร้างสำเร็จเป็นพระพุทธรูปแล้ว พระพุทธศาสนิกชนเมื่อทำการกราบไหว้สักการะบูชา ก็มิได้กราบไหว้วัสดุที่สร้าง แต่จะเคารพ สักการะ บูชา และปฏิบัติต่อพระพุทธรูปนั้นเหมือนปฏิบัติต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดุจพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เป็นสิ่งที่เคารพสักการะสูงสุด ฉะนั้น ในการสร้างพระพุทธรูป ช่างผู้สร้างจะต้องบรรจงสร้างให้มีมิติที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพื่อให้ตรงกับพระพุทธลักษณะพระมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ คือพระลักษณะปลีกย่อยของพระมหาบุรุษลักษณะอีก ๘๐ ประการด้วย พระพุทธคุณที่มีอยู่ในพระองค์ด้วย อันประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนพุทธคุณ ๙ ประการ คือ อรหันต์ เป็นผู้ปราศจากกิเลส อาสวะทั้งปวง ควรไหว้บูชา สัมมาสัมพุทโธ เป็นตรัสรู้เองโดยชอบ วิชชาจรณสัมปันโน เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ เป็นผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึกทั้งเทวดาและมนุษย์ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า สัตถา เทวะมนุสสานัง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ภควา เป็นผู้จำแนกธรรม และผู้สร้างต้องเข้าใจในหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง จนเกิดมโนภาพเนรมิตพระพุทธรูปเพื่อสื่อแทนพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้และสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ด้วย ฉะนั้น พระพุทธรูปจึงเป็นประติมากรรมชั้นเลิศที่บ่งบอกพุทธลักษณะอันเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ของพระพุทธองค์ให้ได้มากที่สุด และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ผสมกลมกลืนเข้ากับพระพุทธคุณในส่วนที่พระองค์มีอยู่จริง ผสมกลมกลืนเข้ากับหลักปรมัตถธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ และบ่งบอกถึงพระพุทธองค์ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง พระพุทธรูปจึงแฝงไว้ซึ่งปริศนาธรรมทางพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้พบเห็นมีจิตเคารพเลื่อมใสในพระพุทธองค์ กราบไหว้สักการะเคารพรำลึกถึงพระพุทธองค์ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ ซึ่งเป็นคำสอนอันเป็นปรมัตถสัจธรรม เป็นเบื้องต้นในการก่อให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และส่งผลไปสู่การน้อมนำพระธรรมไปปฏิบัติซึ่งเป็นธัมมานุธัมมะปฏิบัติ คือปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมตามกำลังของตน เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์คือกิเลสอาสวะทั้งปวงต่อไป
    มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ช่างผู้สร้างพระพุทธรูปได้รังสรรค์เนรมิตพระพุทธรูป ให้มีพระพุทธลักษณะใกล้เคียงพระพุทธองค์ตามมโนภาพ อุดมคติของตนเอง โดยยึดหลักของมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ พระลักษณะข้อปลีกย่อยของมหาบุรุษลักษณะอีก ๘๐ ประการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปจึงมีพุทธลักษณะไม่เหมือนรูปปั้นประติมากรรมของคนทั่วไป ซึ่งมีนิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเสมอกัน พระขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนู เป็นต้น อันนี้ก็เนื่องมาจากจินตนาการจากพระลักษณะของพระมหาบุรุษและอนุพยัญชนะนั้นเอง
    ในมหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค และลักขณสูตร ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ได้กล่าวถึงมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธองค์ไว้ ๓๒ ประการ คือ
    ๑. สุปติฏฺฐิตปาโท มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ๒. เหฎฺฐาปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลายพื้นพระบาทเป็นจักร ๓. อายตปณฺหิ มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔. พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) ๔. ทีฆงฺคุลิ มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย) ๕. มุทุตลนหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ๖. ชาลหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ๗. อุสฺสงฺขปาโท มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน ๘. เอณิชงฺโฆ พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ๙. ฐิตโก ว อโนมมนฺโต อุโภหิ ปาณิตเลหิ ชณฺณุกานิ ปรามสติ เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับถึงพระชานุ ๑๐. โกโสหิตวตฺถคุยฺโห มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑๑. สุวณฺณวณฺโณ มีฉวีวรรณดุจสีทอง ๑๒. สุขุมจฺฉวิ พระฉวีละเอียด ธุลีละอองไม่ติดพระกาย ๑๓. เอเกกโลโม มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้นๆ ๑๔. อุทฺธคฺคโลโม เส้นพระโลมาดำสนิท เวียนเป็นทักษิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน ๑๕. พฺรหฺมชุคตฺโต พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม ๑๖. สตฺตุสฺสโท มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือหลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสาทั้ง ๒ กับลำพระศอ) ๑๗. สีหปุพฺพฑฺฒกาโย มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ ๑๘. ปีตนฺตรํโส พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน ๑๙. นิโครธปริมณฺฑโล ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์) ๒๐. สมวฏฺฏกฺขนฺโธ มีลำพระศอกลมงามเสมอตลอด ๒๑. รสคฺคสคฺคี มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี ๒๒. สีหหนุ มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์) ๒๓. จตฺตาฬีสทนฺโต มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) ๒๔. สนทนฺโต พระทนต์เรียบเสมอกัน ๒๕. อวิวรทนฺโต พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง ๒๖. สุสุกฺกทาโฐ เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์ ๒๗. ปหูตชิวฺโห พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฎได้) ๒๘. พฺรหฺมสโร กรวิกภาณี พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก ๒๙. อภินีลเนตฺโต พระเนตรดำสนิท ๓๐. โคปขุโม ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ๓๑. อุณฺณา ภมุกนฺตเร ชาตา มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักษิณาวัฏ ๓๒. อุณฺหิสสีโส มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
    อนุพยัญชนะ ๘๐
    อนุพยัญชนะ หมายถึงลักษณะข้อปลีกย่อยหรือส่วนประกอบเสริมของพระมหาบุรุษลักษณะ ซึ่งช่างผู้บรรจงสร้างพุทธปฏิมาจะต้องคำนึงถึงด้วย มี ๘๐ ประการ คือ
    ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย ๓. นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก ๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์ ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี ๒๐. ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง ๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม ๓๐. มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์ ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์ ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑. ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔.กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕. ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันงามแดงเข้ม ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่ใดอันหนึ่ง ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฎโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕. พระนลาฎมีสัณฐานอันงาม ๕๖. พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙. ลมอัสสาสะปัสสาสะ ลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐. พระโอษฐ์มีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑. กลิ่นพระโอษฐ์หอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒. พระเกศาดำเป็นแสง ๗๓. กลิ่นพระเกศาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔. กลิ่นพระเกศาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕. พระเกศามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖. พระเกศาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗. พระเกศากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘. เส้นพระเกศามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙. เส้นพระเกศาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆเส้น ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ ฯ
    สาเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงสัมมาสัมพุทธเจดีย์ไว้ ๔ ประเภท คือ
    1. พระธาตุเจดีย์
    2. บริโภคเจดีย์
    3. ธรรมเจดีย์
    4. อุทเทสิกเจดีย์
    พระธาตุเจดีย์ หมายเอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๘ ส่วน จำนวน ๑๖ ทะนาน บริโภคเจดีย์ หมายเอาสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และอัฏฐบริขารที่พระองค์ทรงใช้สอย เช่น บาตร จีวร ที่กรองน้ำ เป็นต้น ธรรมเจดีย์ หมายเอาผู้ที่แสวงหาพระบรมสารีริกธาตุและอัฏฐบริขารของพระองค์เพื่อมาสร้างเป็นพระสถูปไม่ได้ เมื่อประสงค์จะสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้เป็นที่กราบไหว้สักการะบูชา ก็ได้นำเอาพระธรรมจารึกไว้ในแผ่นทองคำบ้าง ศิลาบ้าง ใบลานบ้าง บรรจุไว้ในพระเจดีย์แทนพระบรมสารีริกธาตุ อีกนัยหนึ่ง หมายเอาพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้จำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นเจดีย์ที่พุทธบริษัทจะพึงนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุขแก่ตนและผู้อื่น ส่วนอุทเทสิกเจดีย์ หมายเอา พระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อเคารพสักการะแทนพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปก็นับเนื่องในสัมมาสัมพุทธเจดีย์ จึงมีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่งสำหรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปถือว่าเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่งด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า ซึ่งเสมือนพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ และชาวพุทธมีความรู้สึกเหมือนปฏิบัติ เคารพ สักการบูชาด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธเจ้า อนึ่ง พระพุทธรูปเป็นทั้งสัญลักษณ์ เครื่องหมายของพระพุทธศาสนาและความดีงามทั้งพุทธภาวะที่เป็นธรรมกายและพระพุทธคุณ ตลอดจนสื่อถึงปรมัตถธรรมซึ่งเป็นแก่นพระพุทธศาสนา นอกจากนี้พระพุทธรูปยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงศรัทธาอันแรงกล้าของพุทธศาสนชิกชน ที่สร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งรวมศรัทธาปสาทะของชาวพุทธทั้งมวลตลอดกาลนานอีกด้วย
    ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูป
    จากตำนานพระแก่นจันทน์ได้กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปในสมัยพุทธกาลว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์แล้ว ได้เสด็จไปประทานพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จจำพรรษาที่นั่น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งโกศลรัฐ ไม่ได้เห็นพระพุทธองค์ มีความรำลึกถึง จึงตรัสให้ช่างทำพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้จันทน์แดง ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ
    ในที่บางแห่งได้กล่าวถึงการเขียนรูปพระพุทธเจ้าลงในแผ่นทองคำที่นำทองคำมาตีเป็นแผ่นบางๆ ขนาดองค์พระประมาณ ๑ ศอก โดยพระเจ้ามหารถราช แห่งสักกราชาวดีนคร เพื่อส่งพุทธรัตนะไปถวายพระเจ้าปัญจาลราช กษัตริย์กรุงปัญจาลราชนคร เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปแล้ว ทรงโสมนัสยินดียิ่งนัก ได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระมณเทียร แล้วบูชาด้วยประทีป ธูปเทียนชวาลา ทรงแสดงองค์เป็นพุทธมามกะ ในเวลาต่อมาพระองค์ได้ให้ช่างแกะรูปพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์ประดิษฐานในศาลาไม้บุนนาก แล้วทรงรับสั่งให้ปิดทององค์พระพุทธรูปเพื่อเป็นพุทธบูชา
    ส่วนในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปว่า ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้วในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ โดยพระนาคเสนเป็นผู้ดำริสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้นมาองค์หนึ่ง สำเร็จด้วยฤทธิ์ของเทพยดาและอิทธิฤทธิ์คือพระแก้วมรกต
    อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า พระพุทธรูปได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๓๗๐ โดยชาวโยนก ฝรั่งชาติกรีกที่นับถือพระพุทธศาสนา ประดิษฐานครั้งแรกในแคว้นคันธารราชหรือคันธาระ ในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์กรีกองค์แรกที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคนี้เรียกว่า “พระพุทธรูปคันธาระ” จากนั้นมาการสร้างพระพุทธรูปได้มีการพัฒนาศิลปะ ให้สอดคล้องกับอุดมคติของช่างสกุลต่างๆ ของแต่ละชนชาติ แต่ละยุคสมัย เพื่อให้เกิดความงดงามเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน คตินิยมในการสร้างพระพุทธรูปได้แพร่ขยายไปสู่นานาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนารวมทั้งประเทศไทยได้มีการสร้างพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ เช่น สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์
    พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
    พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ทัศ จัดเป็นบารมี ๑๐ (บารมีขั้นธรรมดา เช่น ให้สิ่งของเป็นทาน) อุปบารมี ๑๐ (บารมีระดับกลาง เช่น ให้อวัยวะเป็นทาน) ปรมัตถบารมี ๑๐ (บารมีขั้นสูงสุด เช่น สละชีวิตเพื่อเป็นทาน เป็นต้น) ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เต็มเปี่ยมแล้วได้เสด็จอุบัติขึ้นในมนุษย์โลก แล้วทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์นั้น มิใช่มีแต่พระพุทธเจ้าโคตมะพระองค์ปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่มีจำนวนหลายพระองค์เช่นกัน เมื่อพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเสื่อมสิ้นไปจากโลกแล้ว โลกว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆก็เสด็จมาตรัสรู้ต่อไป ไม่ได้เสด็จมาพร้อมๆกัน หรือต่อเนื่องรับช่วงกันเป็นทอดๆ ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาตรัสรู้ใกล้ๆ พระพุทธเจ้าโคตมะในกาลปัจจุบันของพวกเรา จำนวน ๒๕ พระองค์ คือ ๑. พระทีปังกร ๒. พระโกณฑัญญะ ๓. พระมังคละ ๔. พระสุมนะ ๕. พระเรวตะ ๖. พระโสภิตะ ๗. พระอโนมทัสสี ๘. พระปทุมะ ๙. พระนารทะ ๑๐. พระปทุมุตตระ ๑๑. พระสุเมธะ ๑๒. พระสุชาตะ ๑๓. พระปิยทัสสี ๑๔. พระอัตถทัสสี ๑๕. พระธัมมทัสสี ๑๖. พระสิทธัตถะ ๑๗. พระติสสะ ๑๘. พระปุสสะ ๑๙. พระวิปัสสี ๒๐. พระสิขี ๒๑. พระเวสสภู ๒๒. พระกกุสันธะ ๒๓. พระโกนาคมน์ ๒๔. พระกัสสปะ ๒๕. พระโคตมะ

    พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ มีมาในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โดยสังเขปดังต่อไปนี้
    ๑. พุทธประวัติพระพุทธเจ้ากกุสันธะ
    พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ ทรงถือกำเนิดในสกุลพราหมณ์ ในเขมนคร เป็นตระกูลใหญ่ที่ชาวโลกในขณะนั้นถือว่า ประเสริฐสูงสุดกว่าตระกูลอื่น ที่มีชาติสูงสุดและมียศมาก (เรื่องนี้เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ที่จะถือกำเนิดในพระชาติสุดท้ายเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะเลือกถือกำเนิดในตระกูลที่สูงที่สุดในยุคนั้น หากตระกูลพราหมณ์หรือตระกูลกษัตริย์ ตระกูลใดที่มหาชนยกย่องที่สุดก็จะทรงถือกำเนิดในตระกูลนั้น) พุทธบิดาคือ “อัคคิทัตตะ” พุทธมารดาคือ “วิสาขา” มีปราสาท ๓ หลัง คือ “กามวัฑฒะ”, “กามสุทธิ” และรติวัฑฒะ ทรงครอบครองฆราวาสอยู่ ๔ พันปี ภรรยาชื่อว่า “โรปินี” บุตรนามว่า “อุตระ” ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นยานพาหนะ บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม จึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้ซึก” ทรงแสดงปฐมเทศนาคือพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน มีอัครสาวกคือ “พระวิธุรเถระ” และ “พระสัญชีวนามเถระ” พระเถระชื่อ “พุทธิชะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระอัครสาวิกาคือ “พระสามาเถรี” และ “พระจัมมปนามาเถรี” อุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก คือ “อัจจคตอุบาสก” และ “สุมนอุบาสก” อุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา คือ “นันทาอุบาสิกา” และ “สุนันทาอุบาสิกา” พระพุทธเจ้ากกุสันธะมีพระองค์สูง ๔๐ ศอก พระรัศมีมีสีเปล่งปลั่งดังทองคำ เปล่งออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ

    ๒. พุทธประวัติพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ
    พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ทรงถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์แห่งโสภวดีนคร พุทธบิดาคือ “ยัญทัตตพราหมณ์” พุทธมารดาคือ “นางอุตราพราหมณี” มีประสาท ๓ หลัง ชื่อ “ดุสิต”, “สันดุสิต” และ “สันตุฎฐะ” ทรงครอบครองอยู่สามหมื่นปี นาง “รจิคัตตาพราหมณี” เป็นภรรยา “สัตถวาหะ” เป็นบุตร พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชด้วยยานคือช้าง บำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือน จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้มะเดื่อ” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่มฤคทายวัน พระอัครสาวก คือ “พระภิยโยสเถระ” และ “พระอุตรเถระ” พระอัครสาวิกาชื่อ “พระสมุททาเถรี” และ “พระอุตราเถรี” พุทธอุปัฏฐากคือ “อัคคอุบาสก” และ “โสมเทวอุบาสก” พุทธอุปัฐฐายิกาชื่อ “สีวลาอุบาสิกา” และ “สามาอุบาสิกา” มีพระองค์สูง ๓๐ ศอก ประดับด้วยรัศมีเปล่งปลั่งดังทองที่ปากเบ้า พระองค์มีพระชนมายุสามหมื่นปี ทรงประกาศพระศาสนาโปรดมหาชนให้ข้ามพ้นจากวัฏสงสารหาประมาณมิได้ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานที่ “ปัพพตาราม” พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กว้างไปประดิษฐานในประเทศนั้นๆมากมาย
    ๓. พุทธประวัติของพระพุทธเจ้ากัสสปะ
    พระกัสสปพุทธเจ้าถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครพาราณสี มีพุทธบิดาชื่อ “พรหมทัตตพราหมณ์” และ “นางธนวดีพราหมณี”เป็นพุทธมารดา ทรงมีประสาท ๓ หลังชื่อ “หังสะ”, “ยสะ” และ “สิริจันทะ” ทรงครอบครองอยู่สองพันปี มี “นางสุนันทาพราหมณี” เป็นภรรยา มีบุตรชายชื่อ “วิชิตเสน” พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงออกบวช ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วันจึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “นิโครธ” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่มฤคทายวัน มี “พระติสสเถระ” และ “พระภารทวาชเถระ” เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อ “สรรพมิตตะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก “พระอนุลาเถรี” และ “พระอุรุเวลาเถรี” เป็นพระอัครสาวิกา “สุมังคลอุบาสก” และ “ ฆฏิการอุบาสก” เป็นอัครอุปัฏฐาก “วิชิตเสนาอุบาสิกา” และ “อภัททาอุบาสิกา” เป็นอัครอุปัฏฐายิกา” พระองค์ทรงสูง ๒๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่ง ดังสายฟ้าในอากาศดุจพระจันทร์เต็มดวง มีพระชนมายุสองหมื่นปี ทรงเสด็จนิพพานที่เสตัพยาราม พระสถูปของพระองค์สูงหนึ่งโยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ เสตัพยารามนั้น

    ๔. พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าโคตมะ
    พระโคตมพุทธเจ้าทรงถือกำเนิดในตระกูลกษัตริย์ ในนครกบิลพัสดุ์ “พระเจ้าสุทโธทนะ” เป็นพุทธบิดา “พระนางมายาเทวี” เป็นพุทธมารดา ทรงมีประสาท ๓ หลัง ชื่อ “สุจันทะ” ,”โกกนุทะ” และ “โกญจะ” ทรงครอบครองอยู่ ๒๙ ปี มีมเหสีทรงพระนามว่า “ยโสธรา” และ “พระราหุล” เป็นพระโอรส ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงทรงออกบวชด้วยยานคือม้า ได้บำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี และเมื่อทรงบำเพ็ญเพียรด้วยทางสายกลางแล้ว จึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “อัสสัตถพฤกษ์” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี มี “อุปติสสะ (พระสารีบุตรเถระ)” และ “โกลิตตะ (พระโมคคัลลานเถระ)” เป็นอัครสาวก “พระอานนทเถระ”เป็นพุทธอุปัฏฐาก “พระเขมาเถรี” และ “พระอุบลวรรณาเถรี” เป็นอัครสาวิกา “จิตตคฤหบดี” และ “หัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี” เป็นอัครอุปัฏฐาก “นันทมารดา” และ “อุตราอุบาสิกา” เป็นอัครอุปัฏฐายิกา ทรงดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่เมืองกุสินารา พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จำนวน ๑๖ ทะนาน ประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆที่มีคนรู้จักและเคารพบูชา (รายละเอียดอยู่ใน หนังสือ “พระบรมสารีริกธาตุ” เรียบเรียงโดย ผศ. สงบ เชื้อทอง)

    ๕. พุทธประวัติพระศรีอาริยเมตไตรย์
    พระศรีอาริยเมตไตรย์ทรงถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ “สุพรหมพราหมณปุโรหิต” เป็นพุทธบิดา “พรหมวดีพราหมณี” เป็นพุทธมารดา ในนครเกตุมวดี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ “สิริวัฑฒปราสาท”, “จันทกปราสาท” และ “สิทธัตถปราสาท” “นางจันทรมุขีพราหมณี” เป็นภรรยา “พรหมวัฒนกุมาร” เป็นบุตร ทรงครอบครองฆราวาสได้ ๘๐,๐๐๐ ปี ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ ทรงออกบวช และบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๗ วัน และเมื่อเสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุนันทาพราหมณีนำมาถวายในวันวิสาขปุณมี แล้วเข้าไปในสาลวัน ครั้นเวลาเย็นทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่โสตถิยมานพนำมาถวาย แล้วเสด็จไปสู่ไม้มหาโพธิพฤกษ์ ชื่อ “กากะทิง” ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    พระวรกายของพระองค์สูง ๘๘ ศอก มีพระฉัพพัณณรังสีจากพระวรกาย ทำให้สว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน คนทั้งหลายอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดด้วยพุทธานุภาพ
    ในสมัยพระพุทธเจ้าพระสมณโคดมพระองค์นี้ ทรงตรัสพยากรณ์พระอชิตภิกษุว่า จะเป็นพระศรีอริยเมตไตรย์ในอนาคตข้างหน้าในมหาภัทรกัปนี้ พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ได้ทูลถามถึงบุญบารมีที่พระศรีอริยเมตไตรย์ได้บำเพ็ญ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสพยากรณ์ถึงอดีตชาติของพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระเจ้าสังขจักรพรรดิแห่งอินทปัตถนคร ในสมัยของพระสิริมัตตพุทธเจ้า วันหนึ่งได้พบสามเณรในสำนักพระสิริมัตตพุทธเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่บุพพาราม แม้ทรงลำบากพระวรกายก็ไม่ทรงท้อถอย พระพุทธเจ้าเนรมิตเพศเป็นมานพน้อย เนรมิตรถเสด็จออกไปรับพระโพธิสัตว์มาสู่บุพพาราม พระโพธิสัตว์ได้ถวายศีรษะของพระองค์แด่พระพุทธเจ้า บูชาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระองค์ จุติไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ด้วยอานิสงส์บารมี จึงทำให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    อานิสงส์ในการสร้างพระพุทธรูป
    การสร้างพระพุทธรูป ถือว่าเป็นการสร้างอุทเทสิกเจดีย์ คือเจดีย์ที่สร้างเป็นพุทธบูชา อุทิศพระพุทธเจ้า เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศค่า เป็นรัตนะสูงสุดของชาวพุทธ ที่เรียกว่า พระพุทธรัตนะ แม้องค์พระพุทธรูปจะสร้างจากวัสดุสิ่งใดก็ตาม แต่พุทธศาสนิกชนมิได้ถือว่าได้กราบไหว้บูชาวัสดุเหล่านั้น แต่บูชาสักการะพระพุทธเจ้า และพระคุณของพระองค์ คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ รวมถึงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้และพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ กล่าวโดยรวม การบูชาพระพุทธรูปก็คือการบูชาพระรัตนตรัยนั่นเอง พระพุทธรูปเป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกถึงพระรัตนตรัย อันเป็นรัตนะอันเลิศ อันประเสริฐสูงสุด ทำให้ชาวพุทธผู้พบเห็นเกิดศรัทธาแล้วสักการะบูชา ทั้งอามิสบูชา คือการบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และปฏิบัติบูชา ด้วยการให้ทาน รักษาศีล และอบรมเจริญปัญญาประจักษ์แจ้งในธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ซึ่งถือว่าได้สร้างกุศลกรรมในสิ่งที่เลิศ ผลอันเลิศก็ย่อมมีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติเช่นนั้น ดังเนื้อความที่กล่าวไว้ใน “อัคคัปปสาทสุตตคาถา” ว่า เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอันยอดเยี่ยม เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ ซึ่งปราศจากราคะ และสงบระงับเป็นสุข เลื่อมใสแล้วในสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด ถวายทานในท่านผู้เลิศนั้น บุญที่เลิศก็ย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ที่เลิศ และยศ เกียรติคุณ สุข พละ ที่เลิศย่อมเจริญ ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะไปเกิดเป็นเทพยดาหรือเกิดเป็นมนุษย์ก็ตามย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ เมื่อผลอันเลิศย่อมมีแก่พุทธศาสนิกชนผู้บูชาพระพุทธรูปอยู่เห็นปานนี้ อานิสงส์อันโอฬารก็ย่อมเกิดแก่ผู้สร้างพระพุทธรูปตลอดกาลนานและตลอดไปเช่นกัน และเมื่อพระพุทธรูปยังประดิษฐานปรากฏอยู่ในโลกนี้ตราบใด พระพุทธศาสนาก็ยังจะมั่นคง ตั้งมั่น เจริญรุ่งเรือง วัฒนาถาวรในโลกนี้อยู่ตราบนั้น ผู้สร้างพระพุทธรูปจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย
    ผู้สร้างพระพุทธรูปถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ได้ชื่อว่า ได้สร้างและถวายสิ่งที่เลิศสูงสุด ถวายสิ่งที่ดีที่สุด ถวายฐานะอันประเสริฐสูงสุด ในทานานุโมทนาคาถา ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่สร้างถวายในสิ่งที่เลิศสูงสุด ย่อมได้สิ่งที่เลิศสูงสุด ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐสุด ผู้ใดให้ (ถวาย) สิ่งที่เลิศ สิ่งที่ดีที่สุด และฐานะอันประเสริฐสุด ผู้นั้นเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศอันเลิศที่สุดในที่นั้นๆ ดังนี้
    อานิสงส์การสร้างวิหาร
    การสร้างกุฏิวิหารถวายเป็นสังฆทานนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เป็นทานที่มีผลมากมีอานิสงส์มากเช่นกัน ตามข้อความที่ปรากฏในพระวินัยปิฎกมหาขันธกะ จุล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 พฤศจิกายน 2013

แชร์หน้านี้

Loading...