ปิดรับบริจาค วัดโบราณ

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย kunasan, 23 พฤษภาคม 2018.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. kunasan

    kunasan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +2,816
    เสขิยวัตร ประกอบด้วย 4 หมวด

    หมวด “สารูป” มี 26 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำรวม ระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะสม

    หมวด “โภชนปฏิสังยุต” มี 30 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร

    หมวด “ธรรมเทสนาปฏิสังยุต” มี 16 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

    หมวด “ปกิณกะ” มี 3 สิกขาบท - ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

    รายละเอียด เสขิยวัตร

    หมวด “สารูป” มี 26 สิกขาบท : ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน เริ่มตั้งแต่การนุ่งห่ม การสำรวม ระวังอิริยาบถ การพูดคุย ให้อยู่ในอาการที่เหมาะสม

    1. นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
    2. ห่มให้เป็นปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
    3. ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
    4. ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
    5. สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
    6. สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
    7. มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
    8. มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
    9. ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
    10. ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
    11. ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
    12. ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
    13. ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
    14. ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
    15. ไม่โคลงกายไปในบ้าน
    16. ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
    17. ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
    18. ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
    19. ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
    20. ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
    21. ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
    22. ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
    23. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
    24. ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
    25. ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
    26. ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

    หมวด “โภชนปฏิสังยุต” มี 30 สิกขาบท : ว่าด้วยกิริยามารยาทที่ควรประพฤติในการรับบิณฑบาต และการฉันภัตตาหาร

    1. รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
    2. ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
    3. รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
    4. รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
    5. ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
    6. ในขณะฉันบิณฑบาต แลดูแต่ในบาตร
    7. ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
    8. ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
    9. ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
    10. ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
    11. ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
    12. ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
    13. ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
    14. ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
    15. ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
    16. ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
    17. ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
    18. ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
    19. ไม่ฉันกัดคำข้าว
    20. ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
    21. ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
    22. ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
    23. ไม่ฉันแลบลิ้น
    24. ไม่ฉันดังจับๆ
    25. ไม่ฉันดังซูด ๆ
    26. ไม่ฉันเลียมือ
    27. ไม่ฉันเลียบาตร
    28. ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
    29. ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
    30. ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

    หมวด “ธรรมเทสนาปฏิสังยุต” มี 16 สิกขาบท : ว่าด้วยกิริยามารยาทในการแสดงธรรมแก่ผู้อื่น

    1. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
    2. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
    3. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
    4. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
    5. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท้่า (รองเท้าไม้)
    6. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
    7. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
    8. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
    9. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
    10. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
    11. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
    12. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
    13. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
    14. ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
    15. ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
    16. ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

    หมวด “ปกิณกะ” มี 3 สิกขาบท : ว่าด้วยกิริยามารยาท ในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

    1. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
    2. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
    3. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2018
  2. tung696969

    tung696969 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    367
    ค่าพลัง:
    +1,689
    ร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา วัสดุ/ค่าแรงก่อสร้างศาลาองค์ปฐมทรงเครื่องหลังแรกของวัดโบราณ
    โอนแล้ว ธนาคารกสิกรไทย 26/05/2018
    วัสดุ ค่าแรงก่อสร้างศาลาองค์ปฐมทรงเครื่องหลังแรกของวัดโบราณ.jpg
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วันนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานและข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้า ในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เถิดหากยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่า ไม่มี ไม่รู้ ไม่รวย ความขัดข้องและอุปสรรคใด ๆ จงอย่าบังเกิดแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเทอญฯ
     
  3. kookkk289

    kookkk289 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2018
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +468
    ร่วมเป็นเจ้าภาพวัสดุ/ค่าแรงก่อสร้างศาลาประดิษฐานสมเด็จองค์ปฐมทรงเครื่องมหาจักรพรรดิเพชรล้านนา หลังแรกของวัดโบราณ ๕๐๐ กว่าปีที่ถูกทำลายให้ร้างตามกาลเวลา และถูกขุดหาสมบัติอยู่บ่อยครั้ง ณ วัดโบราณพระธาตุกู่ร้างกลางแพะ หรือวัดสันต้นมื่น สันป่าห้าร้าง จ.พะเยา จำนวนเงิน 9 บาท ข้าพเจ้าขอถวายผลบุญนี้เป็นวิหารทาน ขอผลแห่งบุญนี้ ดลบรรดาลให้ข้าพเจ้า และครอบครัวมีแต่ความสุข เข้าถึงธรรม พบเจอแต่กัลยาณมิตรที่ดี ค้าขายดี เจริญรุ่งเรือง ร่ำรวย ความไม่มี ความยากจนเข็ญใจ อย่าได้มีแก่ข้าพเจ้าและครอบครัวเลย สาธุ สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...