เดินจงกรม-อิริยาบถปัพพะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 19 พฤศจิกายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    การเดินจงกรม เป็นการปฏิบัติกรรมฐานตามแบบสติปัฏฐาน ในหมวดอิริยาบถปัพพะ มีคำบาลี
    ว่า คจฺฉนฺโต วา คจฺฉามีติปชานาติ เมื่อเดินอยู่ก็รู้ตัวว่าเดินอยู่ คือให้มีสติสัมปชัญญะระลึกได้ก่อนทำ
    และขณะที่ยกเท้าก้าวไปแต่ละก้าวก็ให้รู้สึกตัวอยู่ว่า การที่ก้าวเท้าไปได้หรือหยุดได้หันกลับได้ ด้วย
    อำนาจของธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ประชุมกันและเกื้อกูลกัน จึงทำให้ร่างกาย
    เคลื่อนไปได้ ประโยชน์ของการเดินจงกรม เป็นการช่วยปรับอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาให้สามารถ
    ผ่านญาณ 16 ได้ เพราะการนั่งสมาธิอย่างเดียวจะเกิดนิวรณ์คือ ถีนมิทธะ ง่วงเหงาหาวนอน เมื่อเปลี่ยน
    อิริยาบถเป็นเดินเสียบ้าง ก็ทำให้เกิดวิริยะขึ้นมา พอดีกันกับสมาธิ ไม่ยิ่งไม่หย่อนกัน ทำให้สมาธิมีกำลัง
    มากขึ้น

    ท่านวิปัสสนาจารย์จึงสอนให้เดินนั่งสลับกันและทำให้อาหารย่อยง่ายมีร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บ
    ไข้บ่อย ๆ และเดินได้ทนนานเป็นชั่วโมง โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลียเลย ด้วยอำนาจของวิริยะ สมาธิ
    สติสัมปชัญญะ และศรัทธาที่เป็นสมังคี คือประชุมพร้อมกันด้วยดีในอิริยาบถปัพพะ ผู้ปฏิบัติจึงเกิด
    ปัญญา เห็นแจ้งในไตรลักษณ์ คือเห็นอนิจจัง ทุกขํ อนัตตา รู้ว่าไม่มีตัวตน คน สัตว์ จึงละสักกายทิฏฐิได้
    และละวิจิกิจฉาซึ่งเป็นความสงสัยได้ด้วย จะอธิบายโดยละเอียดต่อไป


    การเดินจงกรมช่วยปรับอินทรีย์ 5 ให้เสมอกัน
    การเจริญวิปัสสนา สำคัญที่ต้องปรับอินทรีย์ 5 ให้เสมอกัน อินทรีย์ 5 คือ
    1. สัทธินทรีย์ ความเป็นใหญ่ของสัทธาเจตสิกทำให้เกิดความเชื่อ ความเลื่อมใสในการ
    ปฏิบัติวิปัสสนา
    2. วิริยินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ของวิริยเจตสิก ทำให้เกิดความเพียรพยายามปฏิบัติไม่
    ท้อถอย
    3. สตินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ของสติเจตสิก ทำให้เกิดความระลึกได้ในขณะกำหนด ทำให้
    ได้อารมณ์ปัจจุบัน ไม่เผลอ
    4. สมาธินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ของสมาธิ ทำให้เกิดอารมณ์ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว ด้วย
    อำนาจของเอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเกิดพร้อมกับจิตทุกดวง
    5. ปัญญินทรีย์ คือ ความเป็นใหญ่ของปัญญาเจตสิก ทำให้เกิดความรู้ทั่วไปตามความเป็น
    จริงแห่งสภาวธรรมทั้งที่เป็นโลกียธรรมและโลกุตตรธรรม
    30


    ธรรมทั้ง 5 นี้เป็นกำลังใหญ่ที่อุดหนุนให้การทำการงานทุกอย่างได้บรรลุผลสำเร็จ ทั้งทางโลก
    และทางธรรมท่านจึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพลธรรม 5 ธรรมที่เป็นกำลังสำคัญ การปฏิบัติธรรมต้องอาศัย
    ธรรมทั้ง 5 นี้เป็นใหญ่ก็จริง แต่ต้องปรับให้พอเหมาะ คือ



    สัทธา
    ได้แก่ความเชื่อต้องประกอบด้วยปัญญาเป็นคู่หนึ่งจึงจะปฏิบัติได้ผง ไม่งมงาย
    วิริยะ ได้แก่ความเพียร พยายามปฏิบัติไม่ท้อถอย ถ้ามีมากก็ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน ซึ่งเป็นพวก
    นิวรณ์ 5 นิวรณ์ 5 นี้เป็นธรรมที่มีประจำในจิตใจของทุกคน คอยกั้นใจไม่ให้ทำความดี จึงต้องมีสมาธิมา
    เป็นผู้กำกับให้จิตใจตั้งมั่นไม่ให้ตกลงไปในความไม่พอใจหรือในกามฉันทะหรือธรรมอื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่
    อารมณ์ของวิปัสสนา นี่เป็นคู่ที่ 2 ถ้าสมาธิมากไปก็จะเฉยไป ความรู้สึกตัวจะหมดไป ต้องลุกขึ้นมาเดิน
    จงกรม เพื่อให้เกิดวิริยะ ท่านวิปัสสนาจารย์ผู้ชำนาญในการแต่งอินทรีย์จึงจะสอนโยคีผู้ปฏิบัติให้ผ่าน
    ญาณ 16 ได้


    ความสำคัญของวิริยะกับสมาธิจึงสัมพันธ์กันดังนี้ ในอินทรีย์ 5 นี้ที่สำคัญคือ สติ ความระลึกได้
    ก่อนทำ ก่อนพูด ฯลฯ เท่านั้น ยิ่งมีมากเท่าใดยิ่งดี ดังมีคำบาลีรับรองว่า สติสพฺพตฺถ ปตฺถิยา สติจำ
    ปรารถนาในที่ทั้งปวงดังนี้


    การเดินจงกรม ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคบาลี ภาค 3 ว่าด้วยปัญญานิเทส หน้า 251 บรรทัดที่ 5 ว่า
    “ต โตเอกปทวารํ อุทฺธรณ อติหรณ วีติหรณ โวสฺสชฺชน สนฺนิกฺเขปน สนฺนิรุมฺภน วเสน ฉ
    โกฏฐาเส กโรติฯ ตตฺถ อุทฺธรณํ นาม ปาทสฺส ภูมิโต อุกฺขิปนํฯ อติหรณํนาม ปุรโต หรณํฯ วีติ
    หรณํ นาม ขาณุกณฺฏก ทีฆชาติ อาทีสุ กิญฺจิเทว ทิสฺวา อิโตจิโต ต ปาทสญฺจารณํฯ โวสฺสชฺชนํ
    นาม ปาทสฺส ปุน ปาทุทฺธรณกาเล ปาทสฺส ปฐวียา สทฺธึ อภินิปฺปีฬนํฯ ตตฺถ อุทฺธรเณ ปฐวีธาตุ
    อาโปธาตูติ เทฺว ธาตุโย โอมตฺตา โหนฺติ มนฺทา อิตราเทฺว อธิมตฺตา โหนฺติ พลวติโย ฯปฯ ตถา
    สนฺนิกฺเขปน สนฺนิรุมภเนสุฯ เอวํ ฉ โกฏฐาเส กตฺวา เตสํ วเสน ตสฺมิ วโยวุฑฺฒตฺถคมรูเป
    ติลกฺขณํ อาโรเปติ ฯ กถํฯ”
    แปลอย่างเอาใจความว่า ขณะที่ก้าวเท้าไปแบ่งบทเดียวหรือก้าวเดียวให้เป็น 6 ส่วนหรือ 6 ระยะดังนี้คือ
    1. อุทธรณะ ยกส้นเท้าขึ้น เรียกว่า ยกส้นหนอ
    2. อติหรณะ ยกเท้าจะก้าวไปข้างหน้า เรียกว่า ยกหนอ
    3. วีติหรณะ เมื่อเห็นตอ หนาม หรืองู (ในขณะนั้น) แล้วย้ายเท้าไปข้างนั้นข้างนี้ เรียกว่า ย้าย
    หรือย่างหนอ
    4. โวสสัชชนะ เมื่อลดเท้าต่ำลงเบื้องล่าง (ยังไม่ถึงพี้น) เรียกว่าลงหนอ
    5. สันนิกเขปนะ วางเท้าทาบลงที่พื้นดินแล้วเรียกว่า เหยียบหรือถูกหนอ
    31
    6. สันนิรุมภนะ เมื่อจะยกเท้าก้าวไปข้างหน้าอีกก้าวหนึ่ง ต้องกดเท้าอีกข้างหนึ่งไว้กับดิน
    เรียกว่า กดหนอ


    ใน 6 ส่วนนี้ (พึงมีสติ สัมปชัญญะ พิจารณา โดยเห็นว่าเป็นไปได้ด้วยธาตุ 4) คือ เมื่อยกเท้าขึ้น ธาตุทั้ง 2
    คือธาตุดินกับธาตุน้ำ มีกำลังน้อย (ต่ำ) ส่วนธาตุไฟและธาตุลม มีกำลังมากกว่า ในการย่างเท้าและย้าย
    เท้าก็เช่นเดียวกัน (กับการยกเท้าขึ้น)
    ส่วนการหย่อนเท้าลงนั้น ธาตุทั้ง 2 คือธาตุลมกับธาตุไฟมีกำลังน้อย ธาตุดินกับธาตุน้ำ มีกำลัง
    มากกว่าในการเหยียบและกดก็เช่นเดียวกัน เมื่อทำเป็น 6 ส่วนอย่างนี้แล้ว จงยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์
    ดังต่อไปนี้ (ไม่ได้ยกบาลีมา) ธาตุที่ให้รูปไหวในขณะที่ยกเท้าขึ้น รูปยกเท้านั้นจะดับลง ในส่วนนี้เอง
    ไม่ถึงส่วนย่างเท้า เหตุนั้นอุปาทายรูปแห่งธาตุเหล่านั้นอันใดก็ดี ธรรมทั้งปวงนั้นจึงชื่อว่าไม่เที่ยง เป็น
    ทุกข์ เป็นอนัตตา
    โดยทำนองเดียวกัน ธรรมทั้งหลายอันเป็นไปในส่วนย่างเท้า ก็ดับไปในส่วนย่างเท้านั้นเอง ไม่
    ถึงส่วนย้ายเท้า ฯลฯ จงพิจารณาโดยนัยนี้ทั้ง 6 ระยะว่า สังขารทั้งหลายเมื่อเกิดขึ้นก็แตกดับไป เหมือน
    เมล็ดงาที่ซัดลงในกระเบื้องร้อน ๆ (ที่ตั้งอยู่ตรงเตาไฟ) ย่อมแตกดังเปรี๊ยะ ๆ ดับไปฉะนั้น
    เหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะไม่เที่ยงจึงชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ จึงชื่อ
    ว่าเป็นอนัตตา เป็นการเห็นแจ้งด้วยปัญญา
    ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ ท่านอธิบายไว้เช่นนี้ โยคีอย่าเข้าใจผิดว่าไม่เหมือนกับการเดิน 6 ระยะ ที่
    ท่านอาจารย์ในสำนักวิเวกอาศรมสอน ที่ท่านเริ่มสอน “ซ้ายย่างหนอ ขวาย่างหนอ” นั้นถูกแล้ว เพราะ
    เป็นการฝึกหัดเบื้องต้น ต้องหัดเป็นระยะ ๆ ไปตามกำลังของสมาธิและปัญญาที่เกิดขึ้นมาในขณะปฏิบัติ
    ซึ่งมีสมาธิและวิริยะหย่อนกว่ากันอย่างไร ควรเดินจงกรมระยะไหนดี จึงจะเกิดปัญญาญาณจนครบ 16
    ญาณได้


    นอกจากนี้ท่านยังสอนให้พิจารณาแบ่งวันหนึ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ กลางวันและกลางคืน โดย
    พิจารณาว่า “รูปอันเป็นไปในกลางวัน ก็ดับไปในกลางวันนั้นเองไม่ถึงกลางคืนเหตุนั้นรูปนั้นจึงชื่อว่า
    ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”
    จากนั้น ทำคืนและวันให้เป็น 6 ส่วนโดยแบ่งเป็นเช้า กลางวัน เย็น และกลางคืน ก็แบ่งเป็นยาม
    ต้น ยามกลาง ยามปลาย แล้วยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ เช่นเดียวกันกับพิจารณาวันเป็น 2 ส่วน
    ความเกิดขึ้นและเสื่อมไปในรูปนั้น มีวิธีพิจารณาหลายอย่าง เช่นแบ่งร้อยปีเป็น 3 ส่วน หรือ
    เป็น 10 ส่วนบ้าง เช่น มันททสกะ 10 ปี แห่งเด็กอ่อนเป็นต้น แล้วไตร่ตรองเพื่อยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ โดยว
    โยวุฑฒัตถคมะ ด้วยอำนาจทสกะเหล่านั้น ในรูปนั้น ๆ ดังนี้ว่า “รูปอันเป็นไปในทสกะแรกย่อมดับไป
    ในทสกะนั้นเองไม่ถึงวัยที่ 2 คือขิฑฑาทสกะ 10 ปีแห่งการเล่นสนุก ฉะนั้นรูปในวัยแรกนั้นจึงชื่อว่าไม่
    32
    เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จงพิจารณาเช่นนี้ ไปจนถึงทสกะที่ 10 ว่า รูปอันเป็นไปในทสกะที่ 10 ก็ดับ
    ไปในทสกะที่ 10 นั้นเอง ในถึงภพใหม่ เหตุนั้น แม้รูปที่เป็นไปในทสกะที่ 10 ก็ชื่อว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา” เรียกว่า ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ในวโยวุฑฒัตถคมะ
    มีวิธีแบ่งโดยอาการ 6 แห่งรูปนี้ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ ได้อีกวิธีหนึ่งโดยเป็นคู่ ๆ คือยกรูปขึ้นสู่ไตร
    ลักษณ์โดยอาการ (เคลื่อนไหวร่างกาย) ก้าว, ถอย, แล เหลียว, คู้ เหยียด อีกว่า “รูปอันเป็นไปในตอนก้าว
    ก็ดับไปในตอนก้าวนั้นเองไม่ถึงตอนถอย ฯลฯ จนถึงรูปอันเป็นไปในตอนคู้ ก็ดับไปในตอนคู้นั่นเอง
    ไม่ถึงตอนเหยียด เหตุนั้นรูปนั้นจึงชื่อว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”
    การพิจารณาโดยอุบายวิธีต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาหลายวิธีนั้น แล้วเกิดความยินดีพอใจในผลของ
    การปฏิบัตินั้นโดยคิดว่า “เราสามารถเห็นแจ้งได้แล้วว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไร ในร่างกายเรานี้ไม่มีอะไร มี
    แต่รูปกับนามเท่านั้น” “นี่เป็นความเห็นแจ้งของเรา เรารู้แล้ว ไม่ต้องเพิ่มความรู้จากใครอีกแล้ว” ถ้ามี
    ความรู้สึกเช่นนี้ก็ยังชื่อว่า ยังเต็มไปด้วย มานะ ทิฏฐิ ยังเพิกทิฏฐิไม่ได้ เพราะยังมีความยินดี พอใจอยู่ ยัง
    มีอัตตาอยู่เพราะยังมีความรู้สึกว่า ฉันทำฉันกินฉันนั่งฉันนอนฉันทำวิปัสสนาอยู่
    ก็เมื่อพิจารณาเห็นไตรลักษณ์จนรู้แจ้งว่า รูปนามสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่มี
    ตัวตน คน สัตว์ เรา เขา แล้ว จะมาภูมิใจในความรู้ในไตรลักษณ์เพื่ออะไรเล่า ความจริง “สังขารทั้งหลาย
    นั่นเอง เห็นแจ้งสังขารทั้งหลาย พิจารณา วิเคราะห์ดู กำหนดดู แยกดูซึ่งสังขารทั้งหลายเองมิใช่ตัวเรา
    เป็นผู้ดู ผู้รู้เอง เมื่อพิจารณาอยู่เช่นนี้จึงจะชื่อว่าเป็นการเพิกมานะและทิฏฐิได้ ไม่หลงยินดีใน
    สภาวะธรรมที่กำหนดในขณะปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ได้เด็ดขาดผู้ปฏิบัติจะหลุดพ้น เป็นการละวิปัลลาสได้
    จะเห็นแจ้งในอริยสัจจ์ 4 คือบรรลุมรรค ผล นิพพานในชาตินี้แน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2006

แชร์หน้านี้

Loading...