เตือนรับมือ"เอลนิโญ"ระวังพายุ-คลื่นซัด-ไฟป่า

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 10 มกราคม 2007.

  1. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    http://www.komchadluek.net/2007/01/10/a001_81158.php?news_id=81158



    พิษเอลนิโญทำให้เกิดคลื่น"Swell"จากลมมรสุม ซัดพื้นที่ภาคใต้ชายฝั่ง การกัดเซาะทวีความรุนแรงมากขึ้น ในประเทศเกิดไฟป่าแล้วถึง 41 ครั้ง ใน 7 จังหวัด

    ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (START) จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการติดตามปรากฎการณ์เอลนิโญ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลางและด้านตะวันออกมีอุณหภูมิสูงขึ้นนั้น ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมาพบว่าจากเดิมที่ค่าดัชนีเคยพุ่งสูงถึง 1.5 -2 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ช่วงเดือนพ.ย.49 ขณะนี้ดัชนีมีแนวโน้มลดระดับลงแล้วซึ่งแม้จะเริ่มลดลงแต่ก็ค่อน ข้างชัดเจนว่า ปีนี้หลายพื้นที่ทั่วโลกรวมทั้ง ไทยจะเจอกับภาวะเอลนิโญอย่างแน่นอน แต่ยังไม่สามารถบอกระดับความรุนแรงว่าเป็นจะเป็นเอลนิโญระดับปานกลางหรือระดับอ่อน เพราะต้องรอให้ดัชนีนิ่งก่อนคาดว่าอย่างช้าอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้าจึงจะชัดเจน

    อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากเอลนิโญที่กำลังเกิดนี้มีแนวโน้มว่าฝนจะน้อยกว่าปีปกติประมาณ 20% และส่งผลให้อากาศแล้ง และร้อนโดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคเหนือ โดยเฉพาะช่วง ม.ค.-พ.ค.นี้ และถ้าโชคดีช่วงกลางปีมีฝนตกลงมา ก็จะทำให้วิกฤติแล้งคลี่คลายลงไปได้บ้าง

    ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าจับตาอย่างมาก คือพบว่าถึงแม้จะเข้าสู่ช่วงภาวะเอลนิโญ มาแล้วระยะหนึ่ง แต่ในช่วงปลายปี จนถึงขณะนี้มีพายุที่พัดมาจากทะเลจีนใต้ผ่านเข้ามาในประเทศแถบเอเชียประมาณ 10 ลูกซึงถือว่ามีค่าเฉลี่ยเยอะมากในรอบ 10 ปีและทุกครั้งจะมีระดับความรุนแรง สร้างความเสียหายกับประเทศที่เจอพายุอย่างมาก เช่น ที่ประเทศฟิลิปินส์ ส่วนของไทยในช่วงปลายปี พื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตก เจอคลื่นลมมรสุม ที่มีกำลังแรงกว่า 5 เมตรซัดเข้าสู่ฝั่ง


    ทั้งนี้ถ้าสังเกตจะเห็นว่าหากพายุอ่อนกำลังลง จะมีลมหนาวจากจีนดันลงมาทำให้เกิดภาวะซึ่งถือเป็นปีเอลนิโญที่ค่อนข้างแปลก อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1-2 วันนี้ขอให้ชาวบ้านในแถบจ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี ลงไประมัดระวังคลื่น Swell ที่เกิดจากลมมรสุมฤดูหนาวที่พัดมาจากทางทิศเหนือตามลิ่มของมวลอากาศเย็นที่ปกคลุม ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย เพราะมีโอกาสที่จะเจอคลื่นเหมือนกับฝั่งอ่าวไทยตะวันตกได้เพราะมีความแปรปรวนของภูมิอากาศ


    ด้านนายสมศักดิ์ เนติรังษีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักป้องกันปราบปรามและควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า จากสถิติการ เกิดไฟป่าล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2549 จนถึงต้น ม.ค.50 มีไฟป่าเกิดขึ้นถึง 41 ครั้ง ใน 7 จังหวัด
    ได้แก่ เพชรบุรี กาญจนบุรี ปราจีนบุรี นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ นครราชสีมา และแพร่ แต่เนื่องจาก ต้นปีนี้เข้าสู่ปรากฏการณ์เอลนิโญ ซึ่งกรมอุตุนิยม รายงานว่าจะเกิดความแห้งแล้งรุนแรงกว่าทุกปี กรม อุทยานฯ จึงได้เข้าสำรวจสภาพความแห้งแล้งในพื้น ที่ป่าเมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา พบว่ามีเชื้อเพลิง
    ป่า เช่น เศษไม้ ใบไม้แห้ง เพิ่มขึ้น 60 - 80% นั่นหมายความว่าสภาวะความร้อนได้แพร่กระจายมากขึ้น และยังพบจุดความร้อนในประเทศไทยมากถึง 42 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะเกิดไฟป่าอย่างรุนแรงในช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนเมษายน

    นายสมศักดิ์ กล่าวถึงแนวทางรับมือสถานการณ์ไฟป่าในปีเอลนิโญว่า ได้มีการเตรียมความพร้อมอย่าง รัดกุม เพื่อรับมือกับไฟป่าโดยใช้กระบวนการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน คือเอาพื้นที่ป่าทั้งหมดจำแนกดูว่าพื้นที่ไหนเสี่ยงภัยมากที่สุด แล้วจัดเป็นโซน A B C ตามลำดับความเสี่ยงเพื่อประสานกับศูนย์ประสานงานของแต่ละจังหวัดให้ออกประกาศเป็นเขตควบคุมไฟป่า จากนั้นออกแผนระดมพลเตรียมดับไฟซึ่งเป็นภารกิจที่จะถ่ายโอนจากกรมป่าไม้ ไปให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) มีการเตรียมความพร้อมของหน่วยเสือไฟซึ่งเป็นอาสา สมัครของคนในพื้นที่ และทางอากาศก็มีการเตรียมเฮลิคอปเตอร์เอาไว้ ซึ่งเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว และหากเกิดไฟป่าขึ้นสามารถโทรแจ้งสายด่วน 1362 ได้ทันที
     
  2. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,729
    ค่าพลัง:
    +77,793
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"เอลนีโญ" ส่งผลเวียดนามต้องเผชิญวิกฤติขาดแคลนน้ำ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>10 มกราคม 2550 19:43 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> เวียดนามจะเผชิญกับวิกฤติขาดแคลนน้ำในอนาคต เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำสายหลักทางภาคเหนือลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
    กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรเวียดนาม ระบุว่า แหล่งน้ำของเวียดนามมีอยู่จำกัด ในขณะที่การขยายตัวของประชากรเพิ่มขึ้น 4 เท่า ในช่วง 60 ปีนี้ โดยประชากรเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 20 ล้านคน ในทศวรรษปี 1940 เป็น 84 ล้านคน ในปัจจุบัน ขณะที่ปริมาณน้ำลดลงจากเดิม 17,000 เหลือเพียง 4,600 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี ทั้งนี้ สถานการณ์จะเลวร้ายลงในปีนี้ โดยคาดว่าเวียดนามจะได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ซึ่งจะทำให้ฝนตกน้อยและฤดูฝนสั้นลง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...