เถรสมาคม แนะฟ้องศาล สั่งสึกพระเกษม

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย อธิมุตโต, 8 สิงหาคม 2008.

  1. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    O สาเถยยะ อุปกิเลสข้อ ๑๐ ท่านแปลว่า “โอ้อวด”

    ความโอ้อวดเกิดจากความคิดปรุงแต่ง หาทางแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นความสำคัญในทางต่างๆ ของตน เช่นความมั่งมี ความใหญ่โต มีอำนาจวาสนา หรือความฉลาดรอบรู้เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นความสำคัญจริงก็ตามไม่จริงก็ตาม

    ความสำคัญนั้นจะปรากฏเป็นที่ล่วงรู้ของผู้อื่นก็ตาม แต่ถ้าเจ้าตัวไม่คิดปรุงแต่งหาทางแสดงออกก็ไม่เป็นการโอ้อวด ไม่เป็นอุปกิเลส ต้องคิดปรุงแต่งเพื่อโอ้อวดเท่านั้นจึงจะเป็นอุปกิเลส เป็นเครื่องเศร้าหมองที่ห่อหุ่มจิต และพรางความประภัสสรของจิต

    เพียงไม่คิดปรุงแต่งเพื่อโอ้อวดสิ่งที่มีอยู่แล้วจริงก็ตาม หรือไม่จริงก็ตาม เพียงเท่านั้นสาเถยยะคืออุปกิเลสข้อ ๑๐ ก็จะไม่เกิด ความเศร้าหมองก็จะไม่เกิดเป็นดั่งฝุ่นละอองจับของสะอาดผ่องแผ้ว คือ จิตที่ประภัสสร ให้ปรากฏหมองมัว

    O ถัมภะ อุปกิเลสข้อ ๑๑ ท่านแปลว่า “หัวดื้อ”

    อันความหัวดื้อหรือความดื้ออย่างรุนแรงเป็นความไม่มีเหตุผลอย่างยิ่ง จะเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องใด สิ่งใด ก็เป็นไปตามความต้องการจะเชื่อหรือจะไม่เชื่อเท่านั้น ไม่ฟังเหตุผลใดๆ ไม่คำนึงถึงเหตุผลเลย

    จะคิดปรุงแต่งแต่ว่าจะต้องไม่เห็นด้วย ไม่เชื่อ ไม่ทำตามและก็ดื้อเท่านั้น เป็นการไม่ใช้ปัญญาคิด หรือไม่มีปัญญาพอจะคิด จึงเป็นความโง่ความมืดแห่งปัญญา

    ถ้ามีเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว แม้จะไม่เชื่อคำใคร ไม่เชื่อในเรื่องใด สิ่งใด ไม่เรียกว่าหัวดื้อ ไม่เป็นถัมภะ คือไม่เป็นอุปกิเลส ตรงกันข้าม ถ้ามีเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว ยังโลเลเชื่อคนนั้นบ้างเชื่อคนนี้บ้าง ทำตนเป็นคนไม่ดื้อ ก็ไม่ถูกต้อง เป็นคนไม่มีปัญญาไม่มีเหตุผล

    การแก้โรค “หัวดื้อ” ต้องใช้ปัญญา ใช้เหตุผล ใช้ปัญญาให้ถูกต้องเพียงพอ ก็เปรียบดังมีแสงสว่างเพียงพอ ตรงกันข้ามกับใช้เหตุผลใช้ปัญญาไม่เพียงพอ ก็เปรียบดังมีแสงสว่างไม่เพียงพอ มีความมืดมาก

    การใช้ปัญญาใช้เหตุผลหรือไม่ใช้ปัญญาไม่ใช้เหตุผล ก็ขึ้นอยู่กับความคิดปรุงแต่ง ใช้ความคิดปรุงแต่งให้เบาปัญญาหาเหตุผลไม่ได้ เป็นการสร้างความมืดขึ้นพรางความประภัสสรแห่งจิตตน

    ...

    O มานะ อุปกิเลสข้อ ๑๓ ท่านแปลว่า “ถือตัว”

    มานะที่เป็นอุปกิเลสมิได้หมายถึงความพยายาม ความตั้งใจจริงเป็นความดี แต่มานะความถือตัวเป็นความไม่ดี อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า ความถือตัวที่ไม่ดีนั้นเป็นคนละอย่างกับความถูกต้องในการวางต้ว

    แม้ว่าการวางตัวอย่างถูกต้องบางทีจะเหมือนเป็นถือตัว แต่ความจริงไม่เหมือนกัน ความไม่ถือตัวมิได้หมายถึงอะไรก็ได้ ใครจะปฏิบัติต่อตนผิดอย่างไรก็ได้ หรือตนจะปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างไรก็ได้ ไม่เช่นนั้น สมมติบัญญัติยังมีอยู่ ความถูกต้องตามสมมติบัญญัติต้องรักษาไว้ ต้องระวังให้ถูกต้อง

    ไม่ใช่ว่าจะถือว่าเป็นผู้ไม่มีมานะความถือตัว คือผู้ต้องยอมให้ผู้น้อย ไม่มีสัมมาคารวะต่อผู้ใหญ่ หรือไม่ใช่จะถือว่าผู้ไม่มีมานะความถือตัวก็คือ แม้ตนจะเป็นผู้ใหญ่ก็นอบน้อมต่อผู้น้อย ราวกับเป็นผู้น้อยยิ่งกว่า

    มานะความถือตัวเป็นเรื่องของใจ ใจที่อบรมแล้วอย่างถูกต้องตามธรรมของพระพุทธศาสนานั่นแหละที่ไม่มีมานะถือตัว ส่วนการแสดงเป็นไปอย่างเหมาะสมกับสมมติบัญญัติ ที่ผู้เข้าใจไม่ถูกเพียงพออาจเห็นเป็นมานะได้ จึงเป็นเรื่องเฉพาะตนอย่างแท้จริงและต้องเป็นความรู้สึกอย่างจริงใจของตนเองด้วยว่า ตนเองมีมานะเพียงไร

    ไม่ใช่ว่าปฏิบัติอย่างหนึ่งและปกปิดความจริงใจบอกว่าใจไม่มีมานะ ปฏิบัติเพื่อความเหมาะสมเท่านั้น การยอมรับกับตนเองอย่างถูกต้องอย่างจริงใจนั่นแหละสำคัญ

    มานะความถือตัวจะเกิดก็ต่อเมื่อคิดปรุงแต่งว่าเราต้องถือตัวเราไว้ เพราะเราดีกว่าเขา เดี๋ยวเขาจะนึกว่าเราเป็นคนระดับเดียวกับพวกเขาจะดูถูกได้ และก็อาจจะคิดปรุงแต่งยืดยาวต่อไปในทำนองนี้ได้อีกมากมาย

    ยิ่งคิดปรุงแต่งไปในทำนองดังกล่าวมากอีกเท่าไร มานะถือตัวก็จะยิ่งมากขึ้นแรงขึ้นเพียงนั้น ให้เกิดความสับสนวุ่นวาย ความร้อนความมืดแห่งสติปัญญาพรางความประภัสสรแห่งจิตเพียงนั้น

    ความคิดปรุงแต่งเป็นเหตุให้เกิดมานะความถือตัวจึงต้องระวังความคิดปรุงแต่งให้ดีที่สุด พยายามยับยั้งที่จะไม่ให้มีความคิดปรุงแต่งให้มากที่สุด เมื่อบังคับไม่ได้จริงแล้วก็พึงพยายามอย่าคิดปรุงแต่งที่จะนำให้เกิดอุปกิเลส เช่นมานะถือตัวเป็นต้น

    O อติมานะ อุปกิเลสข้อ ๑๔ ท่านแปลว่า “ดูหมิ่นท่าน”

    ก็เข้าใจได้ชัดแล้วว่าความรู้สึกหรือการกระทำที่เป็นการดูหมิ่นไม่ใช่สิ่งดี เป็นที่ตำหนิของคนทั่วไป ดูหมิ่นกับดูถูกก็ทำนองเดียวกัน ผู้ที่คิดดูหมิ่นหรือแสดงอาการดูหมิ่นผู้อื่นก็ต้องเริ่มจากความคิดปรุงแต่งว่าผู้อื่นต่ำต้อยกว่าตนต่างๆ

    เป็นต้นว่า ฐานะความรู้ความสามารถ ชาติตระกูล เมื่อเกิดความคิดปรุงแต่งเช่นนี้ขึ้น ต้องพยายามหยุดให้ได้ จึงจะไม่เกิดความรู้สึกดูหมิ่นติดตามมา เปรียบดังพัดพาหมอกควันที่เริ่มขึ้นมิให้ผ่านเข้าปิดบังความประภัสสรแห่งจิตเพิ่มขึ้นกว่าที่มีอยู่เพราะความคิดปรุงแต่ง อันเป็นอุปกิเลสข้ออื่นๆ

    ผู้มีความรู้ความสามารถหรือสติปัญญาหรือฐานะชาติตระกูล รู้แน่ในความเป็นจริงเช่นนั้นของตน จักไม่ทะนงเห่อเหิม เห็นตนวิเศษกว่าผู้ใดผู้หนึ่งแล้วดูหมิ่นผู้นั้น

    ผู้ไม่มีสมบัติดังกล่าว แต่ปรารถนาจะให้เขายกย่องว่ามี นั่นแหละที่จะคิดปรุงแต่งไปต่างๆ นานาว่า คนนั้นคนนี้ต่ำต้อยกว่าตน แล้วก็ดูหมิ่นเขาแสดงออกให้ปรากฏ จะแก้ไขได้ด้วย การอย่านำตนไปเปรียบกับผู้อื่น

    ตั้งใจทำดีเท่านั้น นั่นแหละจึงจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นที่จะได้พ้นทุกข์ ได้ประจักษ์ชัดเจนในความประภัสสรแห่งจิตตน


    แสงส่องใจ ว่าด้วยอุปกิเลส (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=14179

    ขอให้ผลบุญกุศลปัญญาที่ผมได้ติดตามอ่านกระทู้นี้หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นสรรพพลวปัจจัยให้ ผมเสื่อมและพ้นโทษจากอุปกิเลสเหล่านี้และข้ออื่นๆด้วยเทอญ

    "พุทโธ โพเธยยัง มุตโต โมเจยยัง ติณโณ ตาเรยยัง"
    "เมื่อรู้แล้ว จักช่วยผู้อื่นรู้ด้วย เมื่อพ้นทุกข์แล้ว จักช่วยผู้อื่นพ้นทุกข์ด้วย เมื่อข้ามโอฆะแล้ว จักช่วยผู้อื่นข้ามโอฆะด้วย"

    "เมื่อได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จักช่วยให้ผู้อื่นได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย"
     
  2. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    ผมเห็นว่าการร่วมเพศของมนุษย์อุทิศผลบุญได้จริงครับ

    เพราะว่า มนุษย์จัดเป็นสัตว์ในสุคติภูมิ การเสพกาม โดยพื้นฐานจัดเป็นกามสุขของสัตว์ในสุคติภูมิ

    คำว่าบุญหมายถึงความสุขด้วย
    ดังนั้นจึงสามารถอุทิศตามหลักการอุทิศบุญได้

    แต่จัดว่าเป็นบุญที่ไม่ละเอียดเท่าบุญกรรมฐานภาวนาชั้นสูง ผมคิดว่าธรรมดาเทวดาชั้นสูงไม่นิยมอนุโมทนา เพราะมีภูมิการเสพเมถุนที่ต่างออกไป เช่น บางภูมิแค่มองตากัน ยิ่งผู้ประพฤติพรหมจรรย์ยิ่งไม่ควรยินดีกับบุญที่หยาบในทางสัมพัทธภาพเช่นนี้ครับ

    แต่เหล่าสัตว์ในอบายภูมิแม้เพียงบุญเล็กน้อยเขาก็สมควรแสวงหาให้เกิดขึ้น ตามโอกาสอันควรได้ครับ การอุทิศบุญบ่อยๆนี้ผู้กระทำต้องมีวิริยะธรรมและความละเอียดมากนะครับในความเห็นของผม
     
  3. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    จากการที่ผมได้อ่านข้อมูลอานิสงส์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธรูปทำให้นางวิสาขามีรูปกายงดงาม
    ทำให้ผมคิดว่า พระพุทธรูปมีมานานแล้วข้ามพุทธธันดร ข้ามพุทธกาลครับ

    ความนิยมสร้างพระพุทธรูปจึงมีมาในสมัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆด้วยครับ

    มิใช่เพียงหลายพันปีในสมัยพระพุทธกาลนี้ อันปรากฏทั่วโลกมิใช่เพียงในเขตประเทศไทยเท่านั้น

    พระนาคเสนตามมิลินทรปัญหา ระบุว่าเป็นพระอรหันต์ครับ ท่านเป็นผู้สร้างพระพุทธรูปสำคัญคือพระแก้วมรกตครับ

    พระอุปคุต พระอรหันต์ ผู้ปราบพญามารได้ ท่านก็ก้มลงกราบรูปพระพุทธเจ้าที่แปลงโดยพญามารที่มีชีวิต (โดยสติพระอรหันต์ที่อย่างน้อยทรงอภิญญานะครับ)
     
  4. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    หากการค้นคว้าทางพระไตรปิฎกของทีมนี้ถูกต้องจริงว่าพระพุทธองค์ห้ามเอาไว้ไม่ให้ผู้ใดทำวัตถุใดๆขึ้นแทนพระพุทธองค์ นั่นก็น่าจะเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนรูปแบบประเพณีโบราณของปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก ที่อาจจะยาวนานข้ามพุทธันดรทีเดียวครับ

    และเป็นทีมที่มีความเป็นอัจฉริยภาพสูงมากอย่างน่ามหัศจรรย์อย่างยิ่งครับ ถ้าถูกต้องเป็นจริงผมขอคารวะครับ

    นักปราชญ์ครูบาอาจารย์ในพระพุทธศาสนาที่ท่านสังคายนาพระไตรปิฎกมาหลายครั้งแล้ว กำจัดเดียรถีย์ปลอมแปลงออกไปจำนวนมากแล้ว ทำไมท่านไม่หยิบจุดนี้มาแก้ไขด้วยครับ

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ
    **********************************************
    "พุทโธ โพเธยยัง มุตโต โมเจยยัง ติณโณ ตาเรยยัง"
    "เมื่อรู้แล้ว จักช่วยผู้อื่นรู้ด้วย เมื่อพ้นทุกข์แล้ว จักช่วยผู้อื่นพ้นทุกข์ด้วย เมื่อข้ามโอฆะแล้ว จักช่วยผู้อื่นข้ามโอฆะด้วย"

    "เมื่อได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จักช่วยให้ผู้อื่นได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย"
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2008
  5. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    <TABLE height=18 cellSpacing=0 width=586 bgColor=#999966 borderColorLight=#000000 border=1><TBODY><TR><TD width=544 height=18>
    สัปปุริสธรรม (หลักการของคนดีแท้)คนดีแท้หรือมนุษย์ที่แท้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER><TABLE borderColor=#c0c0c0 height=230 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=587 bgColor=#ffffff borderColorLight=#000000 border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top width=750 height=228>

    ในความหมายของพระพุทธศาสนาจะต้องเป็นผู้ประกอบด้วยหลักธรรม ๗ ประการ ดังนี้

    ๑.ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ เช่น รู้จักว่าการทำความดีเป็นเหตุแห่งความสุข ความขยันเป็นเหตุแห่งความสำเร็จ ความเกียจคร้านเป็นเหตุแห่งความล้มเหลว การทำความชั่วเป็นความทุกข์ เป็นต้นและรู้ว่าเมื่อเกิดมีผลขึ้นมาแล้วมันจะต้องมีเหตุ ไม่ใช่มีสิ่งใดที่เกิดขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีเหตุเลย เมื่อรู้ว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดผลดี อะไรเป็นเหตุให้เกิดผลชั่ว แล้วพยายามหลีกเลี่ยง หรือละเหตุที่จะให้เกิดผลชั่ว แล้วหันมาทำแต่เหตุที่จะให้เกิดผลดี

    ๒.อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล เช่น รู้จักว่าความสุข เป็นผลแห่งการทำความดี ทุกข์เป็นผลแห่งการทำความชั่ว สอบไล่ได้เป็นผลแห่งความขยันความตั้งใจเรียน สอบไล่ตกก็ทราบว่านั่นเป็นผลแห่งความเกียจคร้น ความไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เป็นต้น แล้วพยายามแสวงหาแต่ผลดีโดยการทำเหตุที่ดี
    ๓.อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน คือ ต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า เรามีชาติ มีเพศ มีตระกูล ยศ ศักดิ์ สมบัติ บริวาร ความรู้ความสามารถ กำลัง ความถนัด และคุณธรรม แค่ไหน เพียงไร แล้วต้องประพฤติตนให้สมกับภาวะนั้นๆ และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
    ๔.มัตตญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือ รู้จักความพอดีเช่นในการแสวงหาเครื่องยังชีพก็ต้องแสวงหาในทางที่ชอบธรรม ไม่โลภมากเกินไปเมื่อหามาได้แล้วก็ต้องรู้จักประมาณในการใช้จ่ายด้วย ด้องไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไปนัก และต้องไม่ฝืดเคืองจนเกินไปด้วย
    ๕.กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลา คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสมและระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจกระทำหน้าที่การงานต่างๆ
    เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะแก่เวลา เป็นต้น ถ้าผิดพลาดในเรื่องกาลเวลาดังกล่าว นอกจากจะไม่ได้รับผลสำเร็จแล้ว ยังอาจจะได้รับผลเดือดร้อนในภายหลังอีกด้วย เช่น การไปสอบไม่ทันเวลา เป็นต้น

    ๖.ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบริษัท ประชุมชน และสังคม ว่าสังคมใดควรที่จะเข้าไปร่วมด้วย สังคมใดควรหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล รวมทั้งรู้กิริยาที่ประพฤติต่อชุมชนหรือสังคมนั้น ๆ ว่า เมื่อเข้าสังคมนี้จะต้องประพฤติตัววางตัวอย่างใด จะต้องพูดอย่างไร ต้องรู้มารยาทในสังคมนั้นๆ จะได้ไม่เคอะเขินเวลาสู่ที่ประชุมชน คือ ต้องทำตัวเข้ากับสังคมได้โดยถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
    ๗.ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล ว่า บุคคลนี้เป็นคนดี ควรคบ ผู้นี้เป็นคนไม่ดี ไม่ควรคบ เป็นต้น เพราะในสังคมทั่วๆไปย่อมมีทั้งคนดีคนชั่วด้วยกันทั้งนั้น จึงต้องรู้จักเลือกคบคน เพราะการคบคนดีย่อมเป็นศรีแก่ตน คบคนชั่วจะพาตัวให้บรรลัย รวมทั้งรู้ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลที่จะสนทนากับบุคคลด้วยดีว่าจะใช้ถ้อยคำ จะตำหนิ ยกย่อง หรือแนะนำพร่ำสอนอย่างไรจึงจะได้ผลดี เป็นต้น
    ในชีวิตประจำวันนั้น ถ้าใครมีคุณธรรมของมนุษย์ที่แท้ ๗ ประการ และสามารถประพฤติได้อย่างถูกต้องตามหลักการเหล่านี้โดยสมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นย่อมชื่อว่า เป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็น "สัตบุรุษ" หรือ "คนดีแท้" หรือ "มนุษย์โดยสมบูรณ์" การกระทำหรือพฤติกรรมของเขาย่อมเหมาะสมถูกต้องปราศจากความผิดพลาด นำประโยชน์มาให้ทั้งแก่ตนเองและสังคมโดยส่วนรวมคนดีแท้อยู่ในสังคมใดย่อมเอื้ออำนวยประโยชน์สันติสุขแก่สังคมนั้นผู้ประสงค์จะ
    ให้การดพเนินชีวิตประจำวันไปโดยราบรื่นเรียบร้อย เป็นสุขช่วยเหลือสังคมและประเทศชาติได้ จะต้องมีคุณธรรมของมนุษย์โดยสมบูร์ดังกล่าว.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​

    http://www.geocities.com/sakyaputto/subpurisatham.htm

    ขอให้ผลบุญกุศลปัญญาที่ผมได้ติดตามอ่านกระทู้นี้หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นสรรพพลวปัจจัยให้ ผมเสื่อมและพ้นโทษจากอุปกิเลส และเป็นสรรพพลวปัจจัยให้ ผมเจริญด้วยคุณของพระสัปปุริสธรรมทั้ง7ด้วยเทอญ

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ


    บุญกุศลบารมีปัญญาธรรมทานที่เกิดขึ้น ที่เกี่ยวเนื่องกับผมในกระทู้ธรรมะต่างๆ และที่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นแก่ท่านๆและสรรพชีวิตทั้งหลาย หากจะมีขึ้น ผมขออุทิศให้ถึงแก่เจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ ต้นเหตุแห่งกรรมอันเป็นสมุหฐานแห่งอกุศลวิบาก ผู้ที่ผมเคยล่วงเกินไว้ในการสงคราม และอกุศลกรรมอื่นทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมในอดีต ปัจจุบัน อนาคต เพื่อเป็นสรรพพลวปัจจัยให้ท่านทั้งหลายอโหสิกรรม ให้ ให้กระผมเจริญในศีลธรรม สุขภาพกาย วาจา ใจ แข็งแรง ให้ผมพ้นจากอาภัพพฐานะ18ประการ มีกรรมกระทำที่ดีงามเจริญในอภัยทาน สัจจะบารมี สัมมาทิฏฐิ พระพุทธการกธรรม สรรพกุศลธรรม พ้นจากภัยอันตรายนานา เสื่อมจากสรรพอกุศลธรรม

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญกุศลใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาติ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงอนุโมทนา ส่วนบุญกุศลนี้ แล้ว ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน พุทธภูมิ อภิเษกพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    และขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลาย ทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงอนุโมทนาส่วนบุญกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยาน ในการบำเพ็ญบุญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด และขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนบุญกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข ไม่ต่ำกว่าข้าพเจ้า จะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    หากท่านทั้งหลายยังไม่มีโอกาสได้อนุโมทนาเพียงใด ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงเป็นสักขีพยานให้แก่ข้าพเจ้าด้วย เจอท่านทั้งหลายเมื่อใด ขอให้ท่านทั้งหลายได้อนุโมทนาส่วนบุญกุศลนี้ด้วยเถิด ผลบุญกุศลบารมีใด ที่ข้าพเจ้า ได้บำเพ็ญแล้ว ตั้งแต่ต้นชาติ จนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญกุศลบารมีนี้ จงเป็นสรรพพลวปัจจัย ให้ข้าพเจ้า เจริญในพระพุทธการกธรรม ได้เข้าถึง ซึ่งพระนิพพาน พุทธภูมิ อภิเษกพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยเถิด หากแม้นยังไม่ถึงพระนิพพาน พุทธภูมิ อภิเษกพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพียงใด ขอคำว่าไม่รู้ ไม่มี ในสิ่งที่ดี จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ขอผลบุญกุศลทั้งหลาย ที่ข้าพเจ้า ได้กระทำแล้ว จงบังเกิดผล ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ โดยดีงามด้วยเทอญเถิด

    "พุทโธ โพเธยยัง มุตโต โมเจยยัง ติณโณ ตาเรยยัง"
    "เมื่อรู้แล้ว จักช่วยผู้อื่นรู้ด้วย เมื่อพ้นทุกข์แล้ว จักช่วยผู้อื่นพ้นทุกข์ด้วย เมื่อข้ามโอฆะแล้ว จักช่วยผู้อื่นข้ามโอฆะด้วย"

    "เมื่อได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จักช่วยให้ผู้อื่นได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย"<!-- / message --><!-- sig -->


    พุทโธ ธัมโม สังโฆ อัปมาโณ สิทธมัตถุ ๆ ๆ
    สะอาด สว่าง สงบสมดุลย์ เลิศ ประเสริฐ ปราณีต ละเอียด ยิ่งๆๆขึ้นไปเทอญ สัมปะติจฉามิ ๆ ๆ

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. ธงรบ

    ธงรบ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +0
    พระวัดสามแยก และ โยมวัดสามแยก ก็ไม่อยากให้ใครๆมาก้าวก่ายเช่นกันครับ แต่ก็โดนก้าวก่ายอย่างหนักหน่วงอยู่ในเวลานี้ ทั้งๆที่ การสอน การปฏิบัติทำอยู่ในวัดของตน สอนอยู่ในวัดของตน และทำอยู่กับกลุ่มคนที่เข้ามาศึกษาเชื่อตามกัน ไม่ได้บังคับใครให้มาวัดหรือให้มาเชื่อตาม และการอบรมสั่งสอน การปฏิบัติ ก็ยึดหลักการตามพระธรรมวินัยทุกประการ ไม่มีการสอนและการปฏิบัติที่นอกเหนือไปจากพระธรรมวินัยเลยแม้แต่ข้อเดียว ไม่มีขาด ไม่มีเกิน ไม่มีการคิดเอง ไม่มีการตั้งคำสอนของตนเอง ทุกคำสอนและการปฏิบัติต้องค้นคว้าและตรวจสอบว่ามีอยู่ในพุทธพจน์เท่านั้นจึงนำออกสอน แต่ก็ไม่เป็นที่พอใจของผู้ที่ไม่ได้สอนและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย หรือไม่ถือเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยอยู่ดี ในที่สุดก็มีผู้ขัดขวางไม่ให้พระวัดสามแยกและโยมวัดสามแยกอบรมสั่งสอนและ ไม่ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และไม่ยอมรับฟังอีกด้วยว่า พระธรรมวินัยสอนอย่างไร พระธรรมวินัยให้ปฏิบัติอย่างไร ทั้งๆที่ต่างก็ประกาศตนว่านับถือพุทธศาสนาเช่นเดียวกัน

    ผมจึงได้เสนอทางออกว่า ให้ศึกษาพุทธศาสนาว่าสอนอะไร สอนให้ทำอย่างไร ตามพุทธพจน์กันก่อนดีไหม เพื่อที่จะได้ไม่ห้ามกัน ไม่ขัดขวางกัน เราจำเป็นต้องมีหลักตัดสิน จะได้ไม่ล่วงเกินกัน แต่ถ้าไม่ศึกษาความจริง แล้วเราจะหาทางออกที่ถูกต้องได้อย่างไร ซึ่งสุดท้ายเราก็ควรที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกัน ปล่อยให้ศึกษาและอบรมสั่งสอนและปฏิบัติไปตามที่แต่ละคนสมัครใจ ดั่งคำที่พระวัดสามแยกได้ขออนุญาตไว้ว่า....พระวัดสามแยก ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจให้กับทุกคนได้ ผู้ใดสามารถที่จะเข้าใจในสิ่งที่พวกเราอธิบาย ก็ไปด้วยกันกับพวกเราได้ ก็จงอยู่ศึกษาเล่าเรียนธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยกันกับพวกเรา ส่วนผู้ใดเมื่อฟังพวกเราอธิบายธรรมของพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ ก็ควรไปหาผู้อื่นที่สามารถจะอธิบายให้ท่านเข้าใจได้

    การมาโพสท์ในเวปนี้ ก็เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกเวปนี้เผยแพร่ข่าวที่เกี่ยวข้องกับพระวัดสามแยก เพื่อให้ขํอมูลที่ถูกต้องในการพิจารณา เพราะเข้ามาอ่านแล้วเห็นว่า ยังไม่มีข้อมูลที่ถูกต้องตามที่เป็นจริง เป็นการให้ความรู้ที่อาจยังไม่รู้ในเหตุผลที่เราทำไป เพราะเหตุใด มีจุดประสงค์อย่างไร ไม่ใช่เข้ามาประกาศคำสอนที่นี่ แต่เมื่อถูกกระทบกระทั่งอยู่ที่นี่ก็ต้องชี้แจงในที่ที่ถูกกระทบกระทั่งนั้นเพื่อการแก้ไข จะให้ไปชี้แจงที่ไหนล่ะครับ เราก็ต้องเข้าไปชี้แจงไปทุกๆที่นั่นแหละครับที่เสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับเรา เท่านั้นเองครับ และด้วยความเคารพต่อเวปนี้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2008
  7. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) /อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ)

    ผมว่าน่าจะหมายความว่า ไม่มีผู้ใดเปรียบเทียบเสมออัตภาพของพระพุทธองค์ท่านได้มากกว่า (มหาปุริสสลักษณะ ฯลฯ) ที่จะแปลว่ารูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มี

    แต่ผู้ยังอาภัพ อินทรีย์ย้งอ่อนแก่ไม่เท่ากัน ก็สมควรได้รับความกรุณา อนุญาตหาแหล่งรูปเหมือนหรือวัตถุปลูกศรัทธา ให้เขาได้น้อมนำพระพุทธคุณที่หาขอบเขตประมาณไม่ได้ ตามกำลังพละอินทรีย์กรรม ภูมิ อุปนิสัยวาสนา ที่จะสร้างที่จะแสวงหาได้ จนสามารถปฏิบัติเข้าสู่ธรรมะอันละเอียดปราณีตชั้นสูงได้ในที่สุด ดังเช่นหลักฐานที่แนะนำให้ประดิษฐานพระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุท่ามกลางสงฆ์ได้ ก็มีเป็นตัวอย่างหนึ่งนะครับ

    ผมเห็นว่า การสร้างพระพุทธรูปได้ไม่เสมอเท่าพระพุทธองค์ แต่สามารถเป็นบ่อเกิดแห่งบุญกุศลศรัทธาบารมีและสัมมาปฏิบัติ ไปสู่ธรรมะขั้นสูงสุดคือนิพพานในพระพุทธศาสนาได้ตามลำดับ น่าจะได้รับอนุญาต

    ดังเช่นผมเคยอ่านเจอประมาณว่าพระพุทธองค์ท่านทรงมีพระพุทธานุญาตพระพุทธรูป ไว้ในตอนช่วงปลายพระชนมายุ หรือช่วงที่มีพุทธพยากรณ์ แต่อ่านไว้นานแล้วไม่ทราบว่าจะไปหาอ้างอิงได้อย่างไร ท่านใดเคยอ่านหรือทราบที่มา โปรดกรุณายกมาแสดงด้วยครับ จะเป็นบุญกุศลอย่างยิ่งครับ

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาครับ[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    "เมื่อรู้แล้ว จักช่วยผู้อื่นรู้ด้วย เมื่อพ้นทุกข์แล้ว จักช่วยผู้อื่นพ้นทุกข์ด้วย เมื่อข้ามโอฆะแล้ว จักช่วยผู้อื่นข้ามโอฆะด้วย"

    "เมื่อได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จักช่วยให้ผู้อื่นได้พุทธภูมิ อภิเษกพระสัมมาสัมโพธิญาณด้วย"<!-- / message --><!-- sig -->

    พุทโธ ธัมโม สังโฆ อัปมาโณ สิทธมัตถุ ๆ ๆ
    สะอาด สว่าง สงบสมดุลย์ เลิศ ประเสริฐ ปราณีต ละเอียด ยิ่งๆๆขึ้นไปเทอญ สัมปะติจฉามิ ๆ ๆ

    <!-- / message -->[​IMG]<!-- sig -->
     
  8. มุ่งเต็มใจ

    มุ่งเต็มใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    7,755
    ค่าพลัง:
    +23,467
    สาธุครับ

    ผิดพลาดพลั้งไปขออภัยขมาด้วยครับ[​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  9. _เทวะสาวก_

    _เทวะสาวก_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2007
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +292
    เราต้องมองภาพรวมอย่างนี้ คือ...
    พระเกษมต้องการให้คนไม่ยึดติดกับวัตถุ...ถึงวิธีการสอนอาจจะสุดโต่งและรุนแรงไปหน่อย แต่นั่นก็คือการนำเสนออย่างหนึ่ง (ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องใช้วิธีนี้ วิธีอื่นไม่มีแล้วหรือ)
    แต่ถ้าผู้ที่กราบไหว้พระพุทธรูป แล้วยึดในพระธรรมของพระพุทธเจ้า นั่นสิถึงจะถูกต้อง...เพราะพระพุทธรูป ก็คือที่ยึดทางใจให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า...ไม่ใช่ให้ยึดที่รูปทองอร่ามนั้น...เพราะพระอริยะเจ้าหลายองค์ ก็กราบไหว้พระพุทธรูปเช่นกัน แต่ท่านมิได้ยึดที่ตัวพระพุทธรูป แต่ยึดในหลักธรรมต่างหาก...เพราะฉะนั้นถึงท่านจะกราบพระพุทธรูปที่ทำจากดินก็ตาม...แต่หากจิตใจของท่านยึดกับพระธรรมของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต่างอะไรกับการกราบพระพุทธรูปทองคำเลยแม้แต่น้อย...สาธุ
     
  10. boy_kmutt

    boy_kmutt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +227
    เมื่อคืนได้ดูรายการเรื่องจริงผ่านจอ พระเกษมยืนยันไม่ออกจากวัด เห็นการกระทำของท่านแล้วไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เคยได้หนังสือท่านมาเล่มนึง ยังไม่ได้อ่านและไม่คิดจะอ่านด้วย เพราะไม่ศรัทธาในตัวท่าน ท่านสุดโต่งเกินไป (หากผิดพลาดประการใดต้องขอขมาด้วยนะครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2008
  11. นิวาตะ

    นิวาตะ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมเคยดูวีซีดีแล้วก็ถือว่าแล้วแต่เวรแต่กรรมครับ พระทำอะไรก็ต้องมีความเหมาะสมบ้าง(สำรวม)พระปฏิบัติดีมีอีกเยอะ แต่พระเกษมนี้จะพูดเลียนแบบ อาจารย์เฉลิมชัย (สล่าเหลิม)มาก โอนบุญให้เชื้อโรค555ได้ สาธุ
     
  12. วิศวกรม

    วิศวกรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    113
    ค่าพลัง:
    +537
    อยากเห็นคลิปจัง
     
  13. parapuda

    parapuda เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +250
    ทุกท่าน เเละทุกคนคงมีความเห็น ตามสมณะธรรมที่สร้างสมมาเเต่ละท่าน
    ทั้งที่เเสดง และไม่เเสดง ตามเจตนาให้ปรากฏ ความคิดน้อยๆ ความเห็นหนึ่ง
    ของข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา คนหนึ่ง
    ข้าพเจ้าเพียงหวังว่าจะเข้าใจ และเข้าถึง ความหมายในวันที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรม
    และอุทิศทั้งชีวิตเพื่อให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเข้าใจความจริงอย่างที่ท่านค้นพบ

    และทุกวันนี้ชาวพุทธอย่างเราทำอะไรอยู่ เราเข้าใจสิ่งที่ท่านประสงค์จะให้เราเห็นแฉกเช่นท่านหรือยัง

    ข้าพเจ้าเห็นว่า หน้าที่ของเราอย่างหนึ่ง คือการดำรงเเละรักษาสมณะธรรม ที่เข้าตรงต่อ
    มรรคผล ตลอดรอดฝั่งจนกว่าจะถึงพระนิพพานเป็นสิ่งสำคัญ

    บางครั้งเหตุที่บุคคลทั้งหลายดำรงสมณะธรรมไม่รอดถึงฝั่ง เพราะเห็นว่ามีสิ่งอื่นสำคัญกว่า
    ถึงจะเเสดง หรือไม่เเสดงให้ปรากฏก็ตาม อาจเป็นข้อคิดจากความเห็นน้อยๆ ที่ท่านจะเห็นด้วย
    หรือไม่เห็นด้วยก็ได้ครับ

    -------------------------------
    นิพพานนะปัจจะโยโหตุ-ขอปัจจัยทั้งปวงนำพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้นิพพาน
     
  14. อรมณีจันทร์

    อรมณีจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    993
    ค่าพลัง:
    +499
    เหนื่อยใจแทน ตอนนี้เอาใจช่วยให้เรื่องจบลงด้วยดีแล้วกัน
     
  15. slamb

    slamb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,021
    ค่าพลัง:
    +538
    แวะมา........

    ผมว่า ทางใครทางมัน ดีกว่าครับ อย่าเบียดเบียนกันหรือต้องการเอาชนะกันด้วย..วจี..เลย จะก่อกรรมกันเปล่าๆ ทําใจเราเองให้ผ่องใส ดีกว่า

    ข้าพเจ้าฯ ขออโหสิกรรม ต่อทุกท่าน ที่ข้าพเจ้าฯ ได้ล่วงเกิน มา ณ โอกาสนี้..สาธุ

    ข้าพเจ้า..ยินดีให้อโหสิกรรม กับทุกท่าน ที่เคยมีวจีกรรมต่อกัน ในทุกกรณี..สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอเลิกแล้วต่อกัน ณ บัดนี้..

    คุณพระรักษาทุกท่านครับ
     
  16. countdown

    countdown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,018
    ค่าพลัง:
    +3,165
    ถูกแล้วครับ เอามาเป็นประเด็นหาคำตอบดีกว่าทะเลาะกัน เพราะเราก็งงอยู่มากกับคำสอนที่แตกต่างกับ มันก็มีเยอะ พระรับเงินก็มากมาย ถือเงินเป็นฝ้อน ๆ ออกทีวีก็เยอะ ท่านก็บอกว่าเขาทำบุญ แต่พระไตรปิฏก บอก พระนั้นผิด นอกจากมีคนซื้อถวาย หรือสร้างสิ่งต่าง ๆให้วัดโดยไม่มีการทำบัญชีเงินฝากให้พระ พระถือเงินไม่ได้ อันนี้ถูก ตามพระไตรปิฏก หรืดใครแย้ง ก็เอามาเป็นประเด็น ซิครับ หาว่าในปิฏกนั้นเขียนผิดหรือเปล่า ผมเห็นคนใส่เงินที่บาตร ก็มีมาก งั้นพระไม่ได้อ่านพระไตรปิฏกหรือครับ หรือไม่ต้องทำตามก็เป็นพระได้

    อย่างวัดสามแยก ก็เหมือกัน เขียนในพระไตรปิฏก แล้วก็เข้าในตามนั้น แปลไทยชัด ๆ แต่ในทางโลก เขาก็ไหว้กันมา ตั้งแต่สมัยไหนแล้ว มันก็ขัดกัน หาความจริงซิครับ ว่าพระไตรปิฏก ขัดกันหรือ พระพุทธเจ้าสอนมาไม่เหมือนกันหรือ เมื่อไม่มีอารยธรรม มนุย์ก็ไม่เจริญ
    เมื่อไม่มีสิ่งปลูกส้รางที่เกี่ยวเนื่องแทนพระพุทธเจ้า คนรุ่นหลังก็จะไม่เห็นพระพุทธเจ้า ถูกต้อง แต่เมื่อยึดติดในรูปนั้น หวังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วย หวังพระพุทธเจ้าช่วย ผิดทางแล้ว เข้าวัด ไหว้พระ ออกวัดด่าลูกด่าเมีย ทำตัวเสเพล ผู้นั้นเห็นพระผู้นั้นไม่เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ไม่ดีกว่าหรอ แม้ไม่เเคยเห็นพระพุทธเจ้า ท่านทำตามพระไตรปิฏกท่านก็เหมือนท่านเห็นพระพุทธเจ้า หรือใครว่าอย่างไรชี้แนะด้วย

    หลายวัดแล้วไปมาก็เยอะ เจอแปลก ๆ ก็เยอะ พระเล่น Yuri ตั้งคอมในวัดเลย พระตีไก่หลังวัด พระด่าคนไม่สำรวม พระเปิดบาตรรับเงิน พระเล่นของ พระซื้อหวย พระขายของ
    พระขายพระ พระแต่งหน้า พระฟังเพลง พระดูดยา(กิเลส) พระหลีสาว อะไรอีกมากมาย
    จนคิดอยู่ในหัวเรานี่ว่า กิเลสมีรอบกาย คำสอนของพระพุทธเจ้าจะเข้าในหัวมากน้อยเพียงใด ท่านก็คิดดูว่า จะไปเอาจากไหนมาดู คงไม่พ้นพระไตรปิฏก และการยอมรับในคำสอนนั้น ทำพอประมาณเป็นแกะขาว ทำมากเคร่งมากเป็นแกะดำ หรือว่าไงท่ท่าน ชี้แนะด้วย
     
  17. ธงรบ

    ธงรบ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +0
    หลวงปู่เกษมและพระวัดสามแยก ท่านก็สอนว่า ให้ถือพระพุทธรูปเป็นของกลาง อย่าเอามาเป็นเจ้าของ คืด ไม่ให้ยึดเอามาเป็นของเรา แต่ให้พระพุทธรูปเป็นของกลาง อยู่ตามวัด ตามศาลา สถูปเจดีย์ที่อยู่ตามวัด หรือตามสถานที่ราชการอำเภอ จังหวัดก็ได้ทั้งนั้น ที่จัดให้เป็นที่ส่วนกลาง เมื่อเป็นของกลาง ก็พอจะเป็นที่ระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้อยู่

    ที่วัดสามแยก ก็ทำอย่างนั้น ไม่ได้เอาพระพุทธรูปที่อยู่บนศาลาไปทุบ ไปทำลายทิ้ง แต่อย่างใด แต่เมื่อตั้งไว้ที่ศาลา ก็มีคนมากราบไหว้ ขอพร นำดอกไม้มาถวาย นำสิ่งต่างๆมาสักการะบูชา ซึ่งเป็นการทำมากเกินไปกว่าการระลึกถึงพระพุทธเจ้า หลวงปู่เกษมจึงไปเขียนข้อความเตือนสติชาวพุทธที่มาถึงวัดเพื่อฟังธรรมที่ถูกต้องว่า สิ่งนี้คือทองเหลือง ไม่ใช่พระพุทธเจ้าแน่ อย่าไปกราบมัน คำว่ามัน ก็แทนความหมายของทองเหลือง ไม่ได้ ดูหมิ่นไปถึงพระพุทธเจ้า แต่ในทางกลับกัน เป็นการเชิดชู รักษา พระพุทธเจ้า อย่างถูกต้อง คือ อย่าไปกราบไหว้วัตถุที่เลียนแบบพระพุทธองค์ และอย่าไปบูชาแบบผิดๆ เช่นนั้น ให้ศึกษาและปฏิบัติตามคำสอน นั่นคือ การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างถูกวิธี

    เมื่อนักข่าวไม่เข้าใจ ก็ถ่าภาพไปลงหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหน้าหนึ่ง แบบไม่เข้าใจว่า ที่พระวัดสามแยกเขียนข้อความเช่นนั้น เพื่ออะไร เพื่อสั่งสอนชาวพุทธที่มาศึกษาพระพุทธศาสนาที่วัดสามแยกเพื่ออะไร ด้วยเหตุผลอะไร สังคมจึงเกิดกระแสความคิดผิด โกรธแค้น โดยสังคมและสื่อมวลชนไม่ได้ตรวจสอบให้ลึกซึ้งถึงเจตนาที่แท้จริง ว่าพระท่านสอนอะไรเพื่ออะไร ทำไปเพื่ออะไร หวังดีอย่างไร สำนักพระพุทธศาสนาก็ไม่มาตรวจสอบหรือสอบถามพระวัดสามแยกก่อนว่า ทำไปเพื่ออะไร ทำลายพระพุทธศาสนาจริงหรือไม่ ไปคิดเอาเองตามข่าวที่สื่อมวลชนบางฉบับ ลงข่าวไปโดยไม่รู้ความจริง และตรวจสอบความจริงก่อน ไปแจ้งความตำรวจว่า พระทำผิดกฎหมายอาญา โดยไม่คำนึงถึงพระธรรมวินัย

    หลวงปู่เกษม พิจารณาข่าวไทยรัฐแล้วเห็นว่า เมื่อเหตุการณ์เป็นไปดั่งนี้แล้ว จึงเห็นว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่จะเปิดประเด็นเรื่องนี้ให้เป็นประเด็นสังคม เพื่อหวังว่า จะทำการชี้แจงให้สังคมได้รู้ความจริงว่า พระพุทธรูปไม่ใช่พระพุทธเจ้า และพยายามจะนำความรู้ตามที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนหมุนสังคมพุทธ ให้หันกลับมาศึกษาและปฏิบัติไปตามพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นพระศาสดาแทนพระพุทธเจ้า ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้

    เรื่องนี้ถ้าหันหน้าเข้าหากัน ปรึกษาหารือกัน อย่างใช้สติปัญา ถือพระธรรมวินัย แก้ไขปัญหา เพื่อมุ่งหมายที่จะรักษาพระพุทธศาสนานี้เอาไว้ รักษาพระดีๆเอาไว้ สืบทอดพระพุทธศาสนา ก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก และเป็นบุญกุศลของประเทศชาติอย่างยิ่งครับ
     
  18. อรมณีจันทร์

    อรมณีจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    993
    ค่าพลัง:
    +499
    ข้าพเจ้าฯ ขออโหสิกรรม ต่อทุกท่าน ที่ข้าพเจ้าฯ ได้ล่วงเกิน มา ณ โอกาสนี้..สาธุ

    ข้าพเจ้า..ยินดีให้อโหสิกรรม กับทุกท่าน ที่เคยมีวจีกรรมต่อกัน ในทุกกรณี..สาธุ สาธุ สาธุ

    ขอเลิกแล้วต่อกัน ณ บัดนี้..

    คุณพระรักษาทุกท่านคะ
     
  19. อนาลัย

    อนาลัย สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    โดยส่วนตัว ผมไม่ได้ฝักใฝ่ในฝ่ายใดเพราะถือว่าเราเกิดมาเป็นมนุษย์เหมือนกัน
    พบพระพุทธศาสนาเหมือนกัน หากแต่ความเข้าใจรวมทั้งความเข้าถึงนั้นแตกต่างกัน

    ก่อนหน้านี้ก็ติดตามคำสอนของหลวงพ่อท่านมาและเห็นด้วยในบางส่วน เช่น
    เรื่องที่ให้เรากลับมามองพระธรรมที่เป็นคำสอนเป็นหลักแทนการไหว้เคารพวัตถุจนให้บดบังธรรมแท้ไป
    แต่ในบางเรื่องมันก็เกินจะรับได้จริงๆ เพราะฟังแล้วกลับหาตรงกับพุทธประสงค์ไม่

    อย่างเช่นที่ท่านบอกว่าอย่ายึดมั่นกับวัตถุ แต่ท่านก็กลับพูดเสมอและสอนบ่อยเรื่อง
    'การส่งพลังบุญ' ให้เชื้อโรค เทวดา ผีเปรต'

    ก็ยังเพียงสงสัยในใจอยู่ว่า
    เมื่อท่านชี้ชัดให้ผ่านเปลือกศาสนาไปได้แล้ว....
    ทำไมท่านไม่ต่อยอดตามไตรสิกขา คือ ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา
    ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้เป็น "แบบเรียน" เล่า?

    เพราะถ้าเพียงแค่เปลี่ยนคำสอนแบบนี้ ก็เหมือนการโจมตีจุดนึง เพื่อให้ไปหลงเข้าอีกจุดหนึ่งเท่านั้นเอง
    ดั่งการเอาโคลน ไปล้างโคลนเท่านั้นเอง
    ซึ่งถ้าติดตามท่านมาระยะหนึ่งจะสังเกตได้ว่า ธรรมะท่านจะออกแนวเกี่ยวข้องกับเรื่องผี เปรต เทวดาอยู่เยอะ
    และจะไปทางอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งก็ยังไม่ใช่เนื้อแท้หัวใจของพระพุทธศาสนาอยู่ดี(และไม่ใช่อนุศาสนีปาฏิหาริย์อีกด้วย)


    เราชาวพุทธ ขอโปรดอย่าลืมว่า...
    หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งกองทุกข์
    ถึงซึ่งความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ (วิราคะ / นิโรธะ / นิพพาน)
    พระพุทธองค์สอนให้ดับทุกข์ด้วยการเรียนรู้เข้าใจในทุกข์ (อริยสัจ ๔)
    แต่ไม่เคยปรากฏว่าให้พุทธศาสนิกชนต้องมาแก้กรรมตามที่หลวงพ่อท่านสอนอยู่เลย
    เช่นตัวอย่างในหนังสือ 'เคล็ดการใช้อำนาจบุญแก้กรรมเก่า'
    (อ้างอิง :หนังสือเคล็ดการใช้อำนาจบุญแก้กรรมเก่า PDF)
    http://www.taotoon.com/forums/attachment.php?attachmentid=19317&d=1188005721

    ที่ท่านและลูกศิษย์ได้แจกจ่ายไปทั่วนั้น ก็จะเป็นแนวที่ต้องทำอะไรแลกเปลี่ยนกับผี เทวดา เพื่อให้ช่วยเหลือสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้
    ซึ่งเป็นการแก้ที่ปลายเหตุกันไม่สิ้นสุด และไม่ใช่เป้าหมายแท้จริงของพระพุทธศาสนาอีกด้วย
    หากวิธีนั้นอาจกลับจะพอกพูนความอยาก-ตัณหาให้คนที่ปฏิบัติทางนั้นมากขึ้นได้อีกด้วย
    (ด้วยอาจหมายเข้าใจว่าหากทำบุญแล้วไม่ได้ส่งบุญอธิษฐานนั้นเป็นเรื่องโง่ หรือขาดทุน)

    ซึ่งเป้า้หมายของการทำบุญตามพุทธประสงค์เช่นการให้ทานนั้น
    ก็เพื่อสร้างความปีติจากการให้เป็นเบื้องต้น
    จนเกิดเป็นจาคะในท่ามกลาง สามารถสละทรัพย์ภายนอกออกได้
    จนเสพคุ้นพัฒนาเป็นการละความตระหนี่และกิเลสภายในใจได้ในขั้นสุด




    บางที เราอาจต้องกลับมาเรียนแก่นของพระศาสนากันใหม่นะครับ
    พระพุทธองค์ท่านเล็งเรื่องการดับทุกข์ที่เหตุในปัจจุบันคือที่ใจ
    ไม่ใช่กลับไปแก้ที่ผลของมันในอดีต เช่น แก้วิบากกรรม

    อีกประการหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้อยู่เนืองๆ
    เกี่ยวกับเรื่องอกุศลกรรมที่สร้างแล้วไม่สามารถแก้ได้
    หากเพียงแต่สามารถสร้างกุศลกรรมใหม่เพื่อ "ละลาย" ผลแห่งอกุศลวิบากนั้นได้
    ซึ่งไวพจน์ที่ท่านกล่าวว่า "แก้" กรรมนั้น มันจะฟังลัดเกินไปจนสามารถทำให้เข้าใจหลักธรรมข้ออื่นๆผิดได้อีกด้วย.

    แต่ตอนนั้นก็เพียงแค่เกิดความฉงนอยู่ในใจเท่านั้น จนได้มีเรื่องใหญ่ขึ้น
    เลยทำให้เข้าใจว่า ท่านอาจมีการตีความผิดในหมวดธรรมเอง
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเข้าใจใน "สมมติ" และ "ปรมัตถ์" นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก
    ซึ่งพระพุทธองค์ท่านยังตรัสแสดงไว้อย่างโดยย่อ(สั้น) และโดยพิสดาร(ละเอียด)ไว้มากมายในพระไตรปิฎก
    แต่ก็เห็นท่านกลับไปหยิบยก ตัดเอาแต่เรื่องที่พอจะเข้ากับคำสอนของตนเองมา แล้วพิมพ์เผยแพร่บ้าง อ้างอิงบ้างแทน

    เรื่องที่ชี้แจงว่าให้ยึดธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระพุทธองค์ แล้วมาสรุปว่าอย่าเอาสิ่งอื่นก็ไม่ควรอยู่นะครับ
    ซึ่งธรรมของพระศาสดาก็ได้แจกแจงรายละเอียดไว้หลายระดับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอินทรีย์และภูมิธรรมด้วย
    อีกอย่างต้องเข้าใจว่าแยกเป็นสองนะครับ คือ ธรรมและวินัย

    ธรรม อันเป็นหลักธรรมให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    และวินัย อันเป็นข้อปฏิบัติขัดเกลาตนเองถ่ายหนึ่งและเพื่อสร้างความเข้าใจกันระหว่างหมู่สงฆ์ด้วยกัน
    ทั้งนี้ก็ยังทรงประกาศให้สาวกเคารพเอามติของ "หมู่สงฆ์" เป็นใหญ่ในเรื่องของวินัยหลายๆส่วน
    แม้ในขณะก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    ยังทรงมีพุทธานุญาตว่า เมื่อกาลล่วงไป หากหมู่สงฆ์มีมติจำนงค์จะถอนสิกขาบทเล็กน้อยก็ย่อมได้
    (นั้นเป็นเหตุว่าทำไมพระผู้ใหญ่ท่านอื่นๆ เห็นว่าหลวงพ่อควรเห็นชอบด้วยกับการตัดสินของมหาเถระสมาคม)


    แม้ในสมัยพุทธกาลที่พระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่
    ก็ยังมีพระภิกษุก็ว่ายาก
    สอนยาก(ดื้อ)
    ท่านก็ได้ทรงบัญญัติในสิกขาบทสังฆาทิเสสว่า
    ถ้าหากมีภิกษุผู้ว่ายาก สอนยากเกิดขึ้น
    สงฆ์ได้ทำการตัดเตือนก็แล้ว ยังไม่ละทิฏฐิลามกนั้น
    ก็ให้หมู่สงฆ์ทำการสวดสมุภาส ๓ ครั้ง
    แม้สวด ๓ ครั้งแล้ว แต่เธอผู้นั้นยังไม่ละทิฏฐิลามกนั้น
    พึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส



    กระนั้นก็ตาม แม้หนังสือที่ท่านได้เอาพระไตรปิฎกมา ตัดแปะ นั้น ก็ยังเอาเนื้อหามาไม่ครบ
    ซึ้งอาจทำให้ผู้ได้อ่านข้อความยังไม่สามารถเข้าใจได้ครอบคลุมได้ ซึ่งผมจะขอยกมาเทียบเคียงอีกหนครับ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=3593&w=%BB%D2%BE%A8%B9%EC%C1%D5%BE%C3%D0%C8%D2%CA%B4%D2

    [๑๔๑] ดูกรอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว
    พระศาสดาของพวกเราไม่มี ก็ข้อนี้ พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น
    ธรรมและวินัยอันใด เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ
    ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
    ดูกรอานนท์ บัดนี้ พวกภิกษุยังเรียกกันและกันด้วยวาทะว่า อาวุโส ฉันใด
    โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ไม่ควรเรียกกันฉันนั้น
    ภิกษุผู้แก่กว่า พึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่า โดยชื่อหรือโคตร หรือโดยวาทะว่าอาวุโส
    แต่ภิกษุผู้อ่อนกว่าพึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภันเต หรืออายัสมา
    ดูกรอานนท์
    โดยกาลล่วงไปแห่งเรา สงฆ์จำนงอยู่ ก็จงถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างได้
    โดยกาลล่วงไปแห่งเรา พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุ ท่านพระอานนท์กราบทูลถามว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พรหมทัณฑ์เป็นไฉน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์
    ฉันนภิกษุพึงพูดได้ตามที่ตนปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่า ไม่พึงกล่าว ไม่พึงสั่งสอน ฯ

    ส่วนของธรรมนั้น ให้คงไว้
    ส่วนของวินัย อันเป็นสิกขาบทข้อใหญ่ก็ให้คงไว้
    เว้นเพียงแต่สิกขาบทเล็กน้อย ที่ทรงให้หมู่สงฆ์เพิกถอนได้
    (แต่ทั้งนี้ ภายหลังพระอานนท์และเหล่าพระอรหันต์สาวกที่ทำปฐมสังคยานาก็มิได้เปลี่ยนแปลงสิกขาบททั้งน้อยใหญ่เลย)
    และตลอด ๔๕ พรรษาที่ผ่านมาที่ได้ทรงแสดงธรรมวินัย จะเห็นได้ว่าพระองค์ก็จักถือหมู่สงฆ์เป็นใหญ่อยู่เสมอ


    และอยากขอให้ทำความเข้าใจนะครับว่าความเป็น "อนัตตา" หาใช่หมายความว่าไม่มีอะไรเลยหรือว่าความกลวงโบ๋ไม่
    หากแต่จะหมายถึง ความไร้ซึ่งตัวตนอันที่จะให้จับยึดมั่นได้แท้จริง
    ยกตัวอย่างง่ายๆใกล้ตัวที่สามารถเห็นได้ เช่น บอกว่า "ร่างกายจิตใจของท่านเป็นอนัตตา" คือหาตัวตนแท้จริงไม่ได้เลย
    - ในทางรูปธรรมทุกขณะที่ท่านได้นั่งอ่านข้อความ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดย่อมสร้างใหม่และดับไปทุกขณะๆ แต่ละเซลล์ก็ย่อมมีขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เมื่อ ๑ วินาทีที่แล้ว กับขณะตอนนี้ ร่างกายท่านก็เป็นคนละคนกันอยู่แล้ว (เช่น เมื่อ ๑ วินาทีร่างนี้มีเซลล์เม็ดเลือด xxx ล้านเซลล์และตอนนี้ร่างท่านอาจมีเป็น xxx +/- yy ล้านเซลล์)
    - ยิ่งในทางนามธรรมนั้นยิ่งเห็นได้ชัด ว่าแต่ละขณะๆ ที่ท่านได้อ่าน ความคิดของท่านก็จะเปลี่ยนไปขึ้นลง คิดตามบ้าง พอใจ ไม่พอใจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย เกิดโทสะอ่อนบ้าง แรงบ้าง หรือไม่มีบ้าง มันเปลี่ยนไปทุกขณะๆ นี้คือความเป็นอนัตตาของจิต คือ ไร้ซึ่งแก่นสารที่จะเป็นก้อนแท้ๆ ที่จะไม่เปลี่ยนแปลง ให้เรายึด ให้เราจับต้องได้ ให้คงอยู่ได้
    เพราะหากสิ่งไหนเป็นอัตตา เป็นตัวตน มันย่อมแสดงซึ่งความคงอยู่ได้ด้วย



    พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้บรมธรรมโดยปรมัตถ์
    แต่ท่านก็ยังแสดงโดยนัยแห่งสมมติกล่าววาจาโดยสมมติ
    หากเพียงแต่ขณะที่กล่าวในสมมตินั้น จิตท่านย่อมเห็นทุกสิ่งเป็นปรมัตถ์อยู่แล้ว

    แม้องค์พระพุทธรูปเป็นเป็นอิฐดินที่สมมติตามโลกว่าเป็นตัวแทนที่สามารถแสดงถึงความเคยมีอยู่ของพระศาสดาก็ตาม
    ก็สร้างสมมติก็เป็นสิ่งที่จะน้อมนำให้เกิดความระลึกถึงเท่านั้น แม้จะ้เป็นเปลือก
    แต่ก็เพราะเปลือกไม่ใช่หรือ ที่ช่วยรักษาให้แก่นไม้ภายในยังคงอยู่ได้อย่างปลอดภัย


    อีกอย่างหนึ่ง ขอยกข้อชี้แจงให้ชัดเรื่อง อุทเทสิกเจดีย์
    ที่หนังสือหลวงพ่อได้ตีความพระไตรปิฎกตอนนี้ไว้ผิดเพี้ยนไปและ "ตัดแปะ" แค่บางส่วนมา
    เพื่อสรุปเอาดื้อๆว่า พระพุทธรูป อันเป็นสิ่งที่เนื่องเกี่ยวด้วยพระพุทธองค์นั้น ไม่ใช่อุทเทสิกเจดีย์
    และอยากขอรบกวนท้วงติงนิดนึงว่า ..เมื่อมีการยกข้อความในพระไตรปิฎกมาแสดงนั้น
    รบกวนขอเรียนให้ทางผู้จัดทำสื่อหนังสือกรุณาชี้แจงผู้อ่านให้ชัดด้วยนะครับ ว่าเป็น "อรรถกา"

    อรรถกถานี้ชื่อว่า "อรรถกถากาลิงคชาดก" (บาลีเป็น กาลิงคโพธิชาดก)
    (เล่มที่ ๖๐ หน้าที่ ๒๖๗ ฉบับมหามกุฎฯ ๙๑ เล่ม)
    และคราหลังขอได้โปรดยกความมาให้สมบูรณ์ด้วยครับ
    เพราะการตัดเฉพาะข้อความบางส่วนเอาใส่ในหนังสือนั้น อาจทำให้ไม่ครอบคลุมเนื้อหาโดยรวมทั้งหมด ซึ้งอาจทำให้ผู้อ่านรีบสรุปตีความผิดไปได้
    เพิ่มเนื้อหาให้สมบูรณ์ทั้งสูตรอีกนิด คิดว่าคงไม่ทำให้เปลืองเนื้อที่กระดาษมาก
    และจักสามารถทำให้ผู้อ่านสามารถ เข้าใจอรรถได้โดยชัดเจนอีกด้วยครับ


    อุทเทสิกเจดีย์ เจดีย์สร้างอุทิศพระพุทธเจ้า,
    เจดีย์ที่สร้างเป็นเครื่องเตือนจิตให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า

    (เล่มที่ ๖๐ หน้าที่ ๒๖๗ พระไตรปิฎกและอรรถกถา ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย ๙๑ เล่ม)

    "...พระอานนทเถระรับว่า ดีละ แล้วทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจดีย์มีกี่อย่าง.
    พระศาสดาตรัสตอบว่า มีสามอย่างอานนท์.
    พระอานนทเถระทูลถามว่า สามอย่างอะไรบ้าง พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ธาตุเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ อุทเทสิกเจดีย์ ๑.

    พระอานนทเถระทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จจาริกไป
    ข้าพระองค์อาจกระทำเจดีย์ได้หรือ.

    พระศาสดาตรัสว่า
    อานนท์ สำหรับธาตุเจดีย์ไม่อาจทำได้
    เพราะธาตุเจดีย์นั้น จะมีได้ในกาลที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
    (อันหมายความว่าต้องรอให้พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานก่อน
    จึงจะเกิดซึ่งพระบรมสารีริกธาตุและกระทำซึ่งธาตุเจดีย์ได้)
    สำหรับอุทเทสิกเจดีย์ก็ไม่มีวัตถุปรากฏ เป็นเพียงเนื่องด้วยตถาคตเท่านั้น.
    (เพราะสมัยที่ทรงตรัสนั้น ยังไม่มีการสร้างพระพุทธรูป
    จึงทรงตรัสว่า ยังไม่มีวัตถุอันใดที่ปรากฏเป็นสิ่ง 'เนื่อง' ด้วยพระศาสดา)

    ต้นมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าอาศัยเป็นที่ตรัสรู้
    ถึงพระพุทธเจ้าจะยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม
    ปรินิพพานแล้วก็ตาม เป็นเจดีย์ได้เหมือนกัน.

    พระอานนท์ทูลว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    เมื่อพระองค์เสด็จหลีกไป พระมหาวิหารเชตวันหมดที่พึ่งอาศัย
    มนุษย์ทั้งหลายไม่ได้สถานที่เป็นที่บูชา
    ข้าพระองค์จักนำพืชจากต้นมหาโพธิมาปลูกที่ประตูพระเชตวัน พระเจ้าข้า.

    พระศาสดาตรัสว่า
    ดีแล้วอานนท์ เธอจงปลูกเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น
    ในพระเชตวันก็จักเป็นดังตถาคตอยู่เป็นนิตย์..."


    เพราะของที่เนื่องเกี่ยวด้วยพระศาสดานั้น กล่าวได้ว่าเป็นอุทเทสิกเจดีย์ทั้งสิ้น
    เช่น รอยพระพุทธบาท พระพุทธฉาย เป็นต้น
    การจะตัดข้อความเพียงเล็กน้อย และทึกทักกล่าวตีความเฉพาะส่วนนั้น
    หาเป็นสิ่งที่ชอบในวิสัยของบัณฑิตไม่ครับ.

    ต้นไม้ใหญ่ ถ้ามีแต่แก่นไม้ ไร้ซึ่งเปลือกที่ห่อหุ้มป้องกันนั้นก็อาจยังคงยืนยงอยู่ได้ไม่มั่นคง
    ธรรมะของพระพุทธองค์นั้น มีหลายระดับ สำหรับบุคคลหลายภูมิธรรม
    ตั้งแต่ส่วนหยาบ ท่ามกลาง และส่วนปราณีต

    การกระทำของท่านบางเรื่องนั้น ดูคล้ายว่าจะเป็นการหาหัวใจพระธรรม
    แต่จริงๆ ก็หาใช่ชักชวนให้พุทธบริษัทหาซึ่งแก่นไม่
    แม้จะตะโกนป่าวร้องชื่อว่าเอาแต่แก่นๆๆ
    แต่ก็หาได้เอาเนื้ออรรถของแก่นมาแสดงแจกแจงอย่างชัดเจนไม่(มีแต่การผัดเพี้ยนไปเรื่องอื่นอยู่เสมอ)
    แม้ท่านจะชักชวนให้ช่วยกันทำลายเปลือกกระพี้บางประเภทก็ตาม
    แต่ก็เพื่อไปหยิบฉวยเปลือกกระพี้อีกประเภทเท่านั้นเอง....


    ในฐานะของพุทธศาสนิกชนเช่นเราท่านแล้ว
    สิ่งที่ดีที่สุดที่เราทั้งหลายจะสามารถช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนา
    และสามารถทำได้ด้วยตัวเราเองได้นั้น
    คือ การศึกษาทำความเข้าใจแก่นของพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
    หัวใจของพระพุทธศาสนาก็คือ การเรียนรู้ที่จะดับทุกข์ทางใจให้ได้ในปัจจุบัน
    เพราะแม้หากแค่เพียงเข้าใจหลักตรงนี้ไม่ผิดเพี้ยนแล้ว
    ก็ยังพอจะเรียกได้ว่าเป็นพุทธบริษัทถูกต้องตามพุทธประสงค์จริง.



    ส่วนตัวแล้วผมไม่ได้เข้าฝ่ายใด หรือฝ่ายไหนเลย
    และก็ยังเคารพในธรรมที่ท่านได้ทำหน้าที่เคยแสดงเป็นกระบอกเสียงแทนพระธรรมในบางเรื่อง
    เพียงแต่อยากชี้ให้เห็นในหลายๆเรื่อง ที่ยังไม่ถูกตรงด้วยความเคารพจริงๆครับ


    "ศาสนาจะเสื่อมก็เสื่อมด้วยบริษัททั้ง ๔ ไม่มีความยินดีที่จะปฎิบัติศาสนา
    คือเล่าเรียนศึกษาพระพุทธวจนะ บาลี อรรถกถา ไม่รักษาสิกขาบท พระศาสนาจึงเสื่อมถอยน้อยหมดลงไป
    ใครจะมาทำให้ศาสนาเสื่อมไม่ได้ ศาสนาจะเสื่อมไปก็ด้วยบริษัททั้ง ๔ เปรียบเหมือนพญาราชสีห์ตายแล้ว
    สัตว์อื่นไม่อาจกินเนื้อราชสีห์ได้ เว้นไว้แต่หนอนที่เกิดขึ้นในตัวราชสีห์เอง
    ...หนอนนั้นอาจกินเนื้อเส้นเอ็นราชสีห์ให้หมดสิ้นไปฉันใดก็ดี
    บริษัททั้ง ๔ ก็อาจทำให้ศาสนาเสื่อมไปฉันนั้น"



    หากสิ่งที่กล่าวไปนี้ผิดพลาดประการใดหรือทำให้ใครไม่สบายใจก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ.

    ธรรมอันใดที่พระบรมศาสดาได้ตรัสแสดงไว้ดีแล้ว โดยชอบแล้ว โดยเป็นเหตุเพื่อความสิ้นไปแห่งของทุกข์แล้ว
    ขอท่านทั้งหลายพึงปฏิบัติตามได้โดยสะดวกในธรรมนั้น
    และรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมทั้งปวงเหล่านั้น ตามแต่ความเพียรอันพึงมีพึงได้ในปัจจุบันด้วย เทอญฯ



    เจริญธรรม.



    -------------------------------------------------------------------------------------------

    ข้อมูลเพิ่มเติม:
    พระพุทธองค์ทรงกล่าวธรรมทั้งสมมติโวหารและปรมัตถโวหาร
    อรรถกถา โปฎฐปาทสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย
    "... พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการได้อัตตภาพ ๓ อย่างเบื้องต่ำอย่างนี้ว่า เหล่านั้นเป็นเพียงชื่อในโลก เป็นเพียงสัญญา
    เหล่านั้นเป็นเพียงภาษาในโลก เป็นเพียงแนวคำพูด เป็นเพียงโวหาร เป็นเพียงนามบัญญัติ
    ดังนี้แล้ว บัดนี้จึงตรัสว่า นั้นทั้งหมด เป็นเพียงโวหาร. เพราะเหตุอะไร ?
    ตอบว่า ก็เพราะโดยปรมัตถ์ไม่มีสัตว์ โลกนั้นสูญ ว่างเปล่า.
    ก็กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีสองอย่างคือ สัมมติกถา และ ปรมัตถกถา.
    ในกถาทั้งสองอย่างนั้น กถาว่า สัตว์ คน เทวดา พรหม เป็นต้น
    ชื่อว่า สัมมติกถา กถาว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ"


    ทรงกล่าวเรื่อง สังเวชนียสถาน ๔ อย่าง ด้วยพระองค์เอง
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=10&A=3316&w=%CA%D1%A7%E0%C7%AA%B9%D5%C2


    สิกขาบท ๒๒๗ ที่มีมาในพระปาฏิโมกข์

    ปาราชิก ข้อที่ ๔ (กล่าวอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน)
    ๔. โย ปน ภิกฺขุ อนภิชานํ อุตฺตริมนุสฺสธมฺมํ อตฺตูปนายิกํ อลมริยญาณ ทสฺสนํ สมุทาจเรยฺย
    "อิติ ชานามิ อิติ ปสฺสามีติ; ตโต อปเรน สมเยน สมนุคฺคาหิยมาโน วา อสมนุคฺคาหิยมาโน วา อาปนฺโน
    วิสุทฺธาเปกฺโข เอวํ วเทยฺย "อชานเมวํ อาวุโส อวจํ " ชานามิ" อปสฺสํ " ปสฺสามิ" ตุจฺฉํ มุสา วิลปนฺติ,
    อฺญตฺร อธิมานา; อยมฺป ปาราชิโก โหติ อสํวาโส.

    ๔. อนึ่งภิกษุใดไมรูเฉพาะ(คือไมรูจริง) กลาวอวดอุตตริมนุสสธรรมอันเปน ความเห็นอยางประเสริฐอยางสามารถนอมเขาในตัววา
    ขาพเจารูอยางนี้ขาพเจาเห็นอยางนี้ ครั้นสมัยอื่นแตนั้นอันผูใดผูหนึ่ง ถือเอาตามก็ตาม ไมถือเอาตามก็ตามก็เปนอันตองอาบัติ
    แลวมุงความหมดจด (คือพนโทษ) จะพึงกลาวอยางนี้วา "แนะทานขาพเจาไมรูไดกลาววารูไมเห็น ไดกลาววาเห็น
    ไดพูดพลอยๆเปนเท็จเปลาๆ" เวนไวแตวาสําคัญวาไดบรรลุ แมภิกษุนี้ก็เปนปาราชิกหาสังวาสมิได


    อุตตริมนุสสธรรม
    หมายถึงธรรมอันยอดยิ่งที่มนุษย์จะพึงได้พึงถึง
    (แม้อริยบุคคลขั้นต้น เช่น โสดาปัตติผล ก็ถือว่าเป็นอุตตริมนุสสธรรมอย่างนึง)



    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒

    บทภาชนีย์
    [๓๐๗] ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ
    ญาณทัสสนะ การทำมรรคให้เกิด การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ความเปิดจิต ความ
    ยินดียิ่งในเรือนอันว่างเปล่า.

    [๓๐๘] ที่ชื่อว่า ฌาน ได้แก่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน.
    ที่ชื่อว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์.
    ที่ชื่อว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ.
    ที่ชื่อว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ.
    ที่ชื่อว่า ญาณ ได้แก่วิชชา ๓
    ที่ชื่อว่า การทำมรรคให้เกิด ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
    อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘.
    ที่ชื่อว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ...
    สกทาคามิผล
    ... อนาคามิผล
    ... อรหัตผล.
    ที่ชื่อว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ ... โทสะ ... โมหะ.
    ที่ชื่อว่า ความเปิดจิต ได้แก่ ความเปิดจิตจากราคะ ความเปิดจิตจากโทสะ ความ




    ภิกษุผู้ว่ายาก เมื่อสงฆ์เตือนแล้วยังไม่คืนแก้
    สงฆ์สวดสมนุภาสครบ ๓ ครั้ง และไม่ยอมละทิฏฐิอันลามกนั้น ต้องสังฆาทิเสส


    ๑๒.ภิกฺขุปเนวทุพฺพจชาติโกโหติ, อุทฺเทสปริยาปนฺเนสุสิกฺขาปเทสุภิกฺขูหิ สหธมฺมิกํวุจฺจมาโนอตฺตานํอวจนียํ กโรติ
    "มามํอายสฺมนฺโตกิฺจิอวจุตฺถ กลฺยาณํวาปาปกํวา,อหมฺปายสฺมนฺเตนกิฺจิวกฺขามิ กลฺยาณํวาปาปกํวา, วิรมถายสฺมนฺโตมมวจนายาติ
    โสภิกฺขุภิกฺขูหิเอวมสฺสวจนีโย "มาอายสฺมาอตฺตานํอวจนียํอกาสิ วจนียเมวอายสฺมาอตฺตานํกโรตุ, อายสฺมาปภิกฺขูวเทตุสหธมฺเมน,
    ภิกฺขูปอายสฺมนฺตํวกฺขนฺติสหธมฺเมน, เอวํสํวฑฺฒาหิตสฺสภควโตปริสา,ยทิทํอฺญมฺญวจเนนอฺญมฺญ วุฏฐาปเนนาติ.
    เอวฺจโสภิกฺขุภิกฺขูหิวุจฺจมาโน ตเถวปคฺคณฺเหยฺย, โสภิกฺขุภิกฺขูหิยาวตติยํสมนุภาสิตพฺโพ ตสฺสปฏินิสฺสคฺคาย,ยาวตติยฺเจสมนุภาสิยมาโนตํ
    ปฏินิสฺสชฺเชยฺย. อิจฺเจตํกุสลํ, โนเจปฏินิสฺสชฺเชยฺย, สงฺฆาทิเสโส.

    ๑๒.อนึ่งภิกษุเปนผูมีสัญชาติแหงคนวายาก อันวาภิกษุทั้งหลายวากลาวอยูถูกทางธรรมใน สิกขาบททั้งหลายอันเนี่องในอุทเทส
    (คือพระปาฏิโมกข)ทําตนใหเปนผูอันใครๆ วากลาวไมไดดวยกลาวโตวา "พวกทานอยาไดกลาวอะไรๆตอเราเปน คําดีก็ตามเปนคําชั่วก็ตาม
    แมเราก็จะไมกลาวอะไรๆตอพวกทาน เหมือนกันเปนคําดีก็ตามเปนคําชั่วก็ตาม ขอพวกทานจงเวนจากการวากลาวเราเสีย"
    ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงวากลาวอยางนี้วา "ทานอยาไดทําตนใหเปนผูอันใครๆวาไมได ขอทานจงทําตนใหเขาวาไดแล
    แมทานก็จงวากลาวภิกษุทั้งหลายโดยชอบธรรม แมภิกษุทั้งหลายก็จักวากลาวทานโดยชอบธรรม เพราะวาบริษัทของพระผูมีพระภาคเจานั้น
    เจริญแลวดวยอาการอยางนี้ คือดวยวากลาวซึ่งกันและกันดวยเตือนกัน และกันใหออกจากอาบัติ"
    และภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายวากลาวอยู อยางนี้ยังยกยองอยูอยางนั้นเทียว ภิกษุนั้นอันภิกษุทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส
    กวาจะครบ ๓ จบเพื่อใหสละกรรมนั้นเสีย หากเธอถูกสวดสมนุภาสกวาจะครบ๓จบอยู สละกรรมนั้นเสีย สละไดอยางนี้นั่นเปนการดี
    หากเธอไมสละเสีย เปนสังฆาทิเสส ฯ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2008
  20. ธงรบ

    ธงรบ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +0
    ธรรมะ คือ ความเป็นจริงทั้งหมด นั่นแหละ ใครเข้าใจได้ในส่วนไหนก็เข้าใจในส่วนนั้นไป ขอให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงๆก็ถือว่า รู้และนำไปใช้เป็น อยู่ในโลกนี้ก็เป็นสุข จากโลกนี้ก็เป็นสุข และใกล้พระนิพพานเข้าไปอีกด้วย เพราะเข้าใจความจริงได้ตรงไปตรงมามากขึ้น

    อย่าไปสงสัยเรื่องนั้น เรื่องนี้มากมาย และปฏิเสธเรื่องนั้น เรื่องนี้ ว่าไม่ใช่ธรรมะ อีกเลย อย่างเช่น เรื่องการอุทิศบุญ เป็นต้น ที่ว่าไม่ใช่แก่นของพระพุทธศาสนา ถ้าความจริงเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา เราก็จะไม่ปฏิเสธอะไร ที่ตนเองไม่รู้และไม่ได้ศึกษาจนรู้จริง ควรจะได้ศึกษาและปฏิบัติตามความถูกต้องของเรื่องต่างๆเหล่านั้นก่อน ที่จะมาวิจารณ์โดยไม่รู้ หรือจะศึกษาความจริงในส่วนอื่นๆก็ได้ให้เกิดวามรู้จริงขึ้นมา ก็จะไม่ประมาทในโลกธรรมทั้งปวง เมื่อเข้าใจว่าธรรมะคืออะไร ก็จะไม่สงสัยเรื่องที่ตนเองปฏิเสธอยู่ขณะนี้ ว่ามันจริง หรือ เท็จ แก่น หรือ กระพี้ กิ่ง ก้าน ดอก หรือใบ แต่จะรู้ขึ้นเองว่ามันจริงอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ใช้ประโยชน์ได้หรือไม่อย่างไร จะวางมันได้อย่างไร และจะนำมาใช้ได้อย่างไร โดยไม่ขัดขืนใดๆเลย

    เรื่อง อุทเทสิกเจดีย์ ก็เช่นกันครับ พระพุทธเจ้าทรงอบรมสั่งสอนมาตลอดว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ให้ยึดรูปทั้งปวง เพราะรูปนั้นเป็นทุกข์ รูปเป็นอนัตตา แล้วพระพุทธองค์จะมากลับคำสอนของพระองค์กระนั้นหรือครับ เพื่อให้สาวกกลับมาทำรูปเหมือนพระองค์ขึ้นมากราบไหว้แทนการระลึกถึงพระพุทธองค์ได้อย่างไร อันนี้ก็เอาไปคิดดูนะครับ ส่วนเรื่องต้นโพธิ์ ก็เป็นคนละเรื่องกันกับพระพุทธรูป ต้นโพธิ์เป็นต้นไม้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงตามธรรมชาติ เมื่อเราพบเห็นก็สามารถระลึกถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าได้จริง เพราะมีเหตุการณืจริงที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เช่น การตรัสรู้ เป็นต้น และก็อย่าไปตีความว่าให้สร้างต้นโพธิ์จำลองขึ้นมาก็ได้อีกนะครับ แต่การระลึกถึงอุทเทสิกเจดีย์ นั้นก็ไม่ได้หมายความว่า ให้ไปกราบไหว้บูชา ขอพร ขอความสุขความเจริญ จากสิ่งของเหล่านั้นอีกเช่นกัน

    เมื่อยังไม่เห็นโทษของสิ่งเหล่านี้ตามที่เป็นจริง ก็จะให้เข้าใจคงจะยาก ให้นึกถึง การสร้างพระพุทธรูปแล้วเอาไปวางไว้ตามริมถนน บางทีก็เอาโซ่ล่ามไว้ เพราะกลัวหาย สร้างคราวละนับหมื่นองค์ ใส่ไว้ในปี้บ ในกระป๋อง ในถัง เป็นร้อยๆ พันองค์ ตั้งทับถมกันอยู่อย่างนั้น ตามวัดต่างๆ แล้วก็ขายกัน ทำให้คนชาวพุทธหลงผิด ไปซื้อหา เอามากราบไหว้กัน โดยคิดว่า ถ้ามีพระพุทธรูปนี้ไว้บูชากราบไหว้ จะมีความสุขความเจริญกับตนเอง แบบนี้ผิดไหมครับ มีโทษไหมครับ ขวางการเรียนรู้ความจริงไหมครับ คิดถึงลูกหลานของเรา ที่ต้องเข้าใจผิดกับเรื่องเหล่านี้อีกต่อๆกันไป อีกนานเท่าใด

    ถามว่าความหลงผิดเหล่านี้รุนแรงไหม ทำไมพระวัดสามแยก จึงต้องทำรุนแรงกับพระพุทธรูป เพื่อสั่งสอนชาวพุทธให้คิดใหม่ หันกลับมาศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า บูชาพระพุทธเจ้า อย่างถูกวิธี จะดีกว่าไหม อย่างไหนจะได้ประโยชน์มากกว่ากันล่ะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...