เทคนิคการตามดูตามรู้คือโจทย์ใหญ่ของผู้เริ่มปฏิบัติสมาธิ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมแท้ว่าง, 20 มกราคม 2019.

  1. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,293
    ค่าพลัง:
    +12,622
    การตั้งเจตนาตามดูความคิด ตามรู้จิตคือการสร้างผู้ดู ผู้รู้อันเป็นตัวตน
    ให้เกิดขึ้นและสิ่งที่จะตามมา
    คือการเพ่งการพึ่งและเกาะติดตัวตนนั้น
    ตลอดสายของการปฏิบัติ
    ไม่สามารถเข้าถึงอริยมรรคฮับ
    เรียนเชิญผู้โปรดชี้ทางออกต่อไปฮับ
     
  2. kenny2

    kenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    1,966
    ค่าพลัง:
    +1,483
    ผมมองว่าตั้งเจตนาใดก็ตามถ้าไม่เป็นสัมมาทิฐิก็ไร้ค่า แต่สัมมาทิฏฐิคืออะไรคงต้อวพิจารณาเอา ในองค์มรรคก็กล่าวไว้แต่ไม่พอสำหรับผู้โง่เขลาจึงต้องอาศัยสัตตบุรุษหรือพระอริยะเจ้าเป็นที่พึ่ง หลายปีผ่านมาคนชอบเอ่ยถึงสัมมาทิฐิแล้วสัมมาทิฐิคืออะไร เห็นชอบหรือ? จริงหรือ? ในสัมมาทิฐิประกอบด้วยอะไรใครเคยคิดบ้าง อาทิ พระรัตนตรัย อาทิ อินทรีย์สังวรณ์ หรืออาทิ พรหมวิหารสี่ หรืออาทิ ไตรสิกขา คุณว่าสัมมาทิฏฐินั้นแค่เห็นชอบจริงหรือ แล้วเห็นชอบคืออะไรในอาทินั้นแค่ยกตัวอย่างแต่มีมากกว่านั้น แต่ที่เจ็บกว่าคือ ไม่เห็นทุกข์แต่เห็นชอบ คิดว่ามันเป็นไปได้ไหมละ มันก็เป็นไปได้นะแต่ไม่ใช่ทั่วไป และดูเหมือนจะเป็นเรื่องโกหก ในทางปฏิบัติต้องเห็นคุณและโทษของทุกข์ก่อนและเปรียบเทียบความต่างของทุกข์กับสุขได้และสรุปรวมให้ได้ว่าไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ในอัตภาพนี้ ใครคือผู้เสวยหรือผู้รับที่แท้จริง คือการค้นหาจิตหรือค้นหาตัวตน จึงจะพบคำตอบของคำถามที่ว่ามา
     
  3. Username-chatreekain

    Username-chatreekain ใต้สรวงสวรรค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2018
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +58
    เอางงมากก็กล่าวไว้แต่ไม่พอสำหรับผู้โง่เขลาจึงต้องอ่าน หลายปีผ่านมาคนชอบเอ่ยถึงเสมอ จริงหรือในกรรมวิธีประกอบด้วยอะไรใครเคย วิหาร 4 ทิศไตรสิขาคุณว่าสมาธิ ไม่มีอาทิตย์นั้นแค่ยกตัวอย่างแต่มีมากกว่านะ คิดว่ามันเป็นไปได้ไหมล่ะมันก็เป็นไปได้แต่ไม่ใช่ทั่วไปและดูเหมือนจะเป็นเรื่องโกหกในทางปฏิบัติต้องเห็นคุณและโทษของทุกข์ก่อนและเปรียบเทียบความต่างของทุกข์กับสุขได้นะสรุปรวมให้ได้ว่าไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ในอัตภาพนี้ใครคือผู้เสวยหรือผู้รับที่แท้จริงคือการค้นหาจุดหรือค้นหาตัวตนจึงจะพบคำตอบของคำถามที่ว่ามา เยี่ยมเลยครับเป็นคำตอบที่เยี่ยมมาก
     
  4. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ "ดูความคิด" มันก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่า เป็น "ตัวดู"
    +++ อาการ "ตาม" มันก็ชัดในตัวของมันอยู่แล้ว ว่า "ดู+ตาม"
    +++ ตัวดู หากไม่เกิดอาการ "ตาม" การเพ่งจะไม่เกิด
    +++ เมื่อ "การเพ่ง" ไม่เกิด "ทุกข์" ย่อมไม่ปรากฏ
    +++ ที่โพสท์มามันก็ "ถูก" ตามอาการอยู่แล้ว
    +++ ทางออก "ไม่มี" สำหรับ "ผู้ดู"

    +++ ไม่จำเป็นต้องมี "ทางออก"
    +++ เพราะมัน ออกอยู่แล้ว เมื่อเป็น "รู้" นะครับ
     
  5. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    +++ ให้ไปดูใน "โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ" ส่วน มรรค 8 เป็นเพียง "บทสรุป" เท่านั้น
    +++ ค่อย ๆ อ่านไปตามข้างล่างนี้ จะช่วยให้ เข้าใจ ดีขึ้น
    =======================================
    +++ แก่นของ "พระพุทธศาสนา" คือ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ

    +++ โพธิปักขิยธรรม จะเรียกสั้น ๆ ว่า "โพธิธรรม" ก็ได้
    +++ สรุปความเข้าใจเบื้องต้น "ก่อนนำมาปฏิบัติ"

    +++ โพธิปักขิยธรรม "เริ่มต้น" ที่ สติ ใน "สติปัฏฐาน 4" (นับ 4)
    +++ จากนั้น ตามมาด้วย สัมมัปปธาน 4 (ทำ/รักษาความดี ละทิ้งความชั่ว) (นับ 4+4 = 8)

    +++ ตรง สัมมัปปธาน 4 สำหรับผู้ปฏิบัตินี้ ให้จำกัด "ความดี" ไว้ที่ "สัจจธรรม จนได้ นิสัย" ตรงนี้ก่อน
    +++ สัจจธรรม ในการปฏิบัติ ให้นับที่ สัจจธรรมที่ "รู้" จาก "สติปัฏฐาน 4" โดยการทำ "ดำรงค์สติมั่น รู้ ธรรมเฉพาะหน้า"

    +++ ตรงนี้จัดเป็น "ภาคของสติ และ ผลลัพธ์จากสติ" ในชั้นแรก
    ===========================================================
    +++ จากนั้น ตามด้วย อิทธิบาท 4 ตรง "ฉันทะ = ตั้งสติรู้" ได้เมื่อไร ก็ "วิริยะ = ตั้งมั่นในสติรู้" (ดำรงค์สติมั่น จนเป็น สมาธิ)
    +++ เมื่อ "รู้" ตามความเป็นจริง โดย "ไร้อาการ นึก/คิด/มโน" เข้ามาปิดบังความเป็นจริง ตรงนี้เรียก "จิตตะ"
    +++ เมื่อ "รู้" ตามความเป็นจริง (รู้ธรรมเฉพาะหน้า) ไปเรื่อย ๆ ก็จะ "รู้แจ้ง ในสภาวะธรรมนั้น ๆ ได้เอง" ตรงนี้คือ "วิมังสา"
    +++ ตรงนี้ 8+4 = 12

    +++ ตรงนี้จัดเป็น "ภาคของสัมมาสมาธิ และ ผลลัพธ์จากสัมมาสมาธิ" ในชั้นกลาง
    ===========================================================
    +++ เมื่อเริ่ม "รู้/เห็น/เข้าใจ" ถึง ความเป็นจริงแล้ว จิตย่อม "มุ่งมั่น" ในวิถีแห่งทางปฏิบัติ (พ้นวิจิกิจฉา/ศีลและพรต ปรามาส)
    +++ ตรงนี้จึงเป็น ศรัทธาใน "อินทรีย์ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)" ซึ่งจะกลับมาสู่ "อิทธิบาทสี่" จนเป็น "นิสัย"
    +++ พอเริ่ม "ได้นิสัย" แล้ว ก็จะเหลือแต่ "สติ สมาธิ ปัญญา" อันเป็น "วงจรของ อิทธิบาท 4" เท่านั้น
    +++ ตรงนี้ 12+5 = 17

    +++ เมื่อ "วงจรของนิสัย" เริ่มปริวัติไปด้วยตัวมันเองแล้ว จึงได้ "กำลัง" ในการปฏิบัติ
    +++ ตรงนี้ คือ "พละ 5 (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา)" ที่เป็นผลมาจาก อินทรีย์ 5
    +++ ตรงนี้ 17+5 = 22

    +++ ตรงนี้จัดเป็น "ภาคของความเพียร จาก ผลลัพธ์ที่มาจาก สติปัฏฐาน 4 + สัมมัปปธาน 4 + อิทธิบาท 4" (เป็น วิริยะสัมโพฌงค์)
    ===========================================================
    +++ ผลลัพธ์ที่มาจากความเพียร (อินทรีย์ 5 + พละ 5) จะผลักดันให้เข้าสู่ โพชฌงค์ 7 (สติ ธัมมะวิจัย วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา)
    +++ ตรงนี้ จะเป็นวงจร "อัตโนมัติ" ที่ปรากฏมาเอง จะมี "พลังผลักดัน ให้เร่งความเพียร โดยไม่ต้องให้ใครมาเตือน"

    +++ สติ ในชั้น โพชฌงค์ 7 นี้ มักจะเป็น "สติที่ดำรงค์มั่น อยู่ในตัวของมันเอง" อยู่แล้ว
    +++ และมักจะ "รู้" มากกว่า "ฐาน" เดียวขึ้นไป และ มักจะ "รู้" พร้อมกันทีเดียวทั้ง 4 ฐาน
    +++ สรุปโดยภาคปฏิบัติ คือ จะรู้ "กาย/เวทนากาย และ จิต/เวทนาจิต" ในเวลาเดียวกัน พร้อมเพรียง


    +++ จากนั้นมักจะมี "การเดินจิต" ไปมาระหว่าง "ฐานทั้ง 4" ก็จะเรียนรู้ในเรื่อง "อธิปัตติปัจจัยโย (ความมี/ไม่มี ความเป็น/ไม่เป็น)" ได้
    +++ เช่น การเดินจิตจาก เวทนากาย สู่ เวทนาจิต หรือ จิต สู่ เวทนากาย ต่าง ๆ เป็นต้น จากนั้นจึง "รู้ผลลัพธ์ ของ ความเป็น ตน/อัตตา"
    +++ ตรงนี้เป็น ธัมมะวิจัยยะสัมโภชฌงค์ และ วิริยะสัมโพชฌงค์ ภายในตัวมันเอง

    +++ ระหว่าง "การเดินจิต" ไป/มา ระหว่าง "ฐาน" นั้น อาการ "เบากาย/จิต" จะปรากฏเป็นองค์ประกอบเสมอ ตรงนี้เป็น "ปิติสัมโพชฌงค์"
    +++ ระหว่าง "การหยุดเดินจิต" อาการ "สงบกาย/จิต รู้อยู่เฉย ๆ" จะปรากฏเป็นองค์ประกอบเสมอ ตรงนี้เป็น "ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์"
    +++ ระหว่าง "การเดินจิต/หยุดจิต" ต่าง ๆ อาการ "รู้เฉย ๆ" จะดำรงค์อยู่ด้วยตัวมันเอง "ไม่เข้าสู่ กิริยาจิต" ตรงนี้เป็น "สมาธิสัมโพชฌงค์"
    +++ ไม่ว่า "กิริยาจิตเหล่านั้น" จะเป็นอย่างไรก็ตาม "สภาวะรู้" กลับ "ดำรงค์อยู่" เช่นนั้น และ "แยกออกจาก กิริยาจิต ทั้งปวง" เป็น "อุเบกขาสัมโพชฌงค์"
    +++ ตรงนี้ 22+7 = 29

    +++ ตรงนี้จัดเป็น "ภาคปัญญา อันเกิดมาจาก โพชฌงค์ 7"
    ===========================================================
    +++ การประพฤติปฏิบัติธรรม จบลงด้วย "บทสรุปสั้น ๆ ด้วย มรรค 8 ประการ" ดังนี้ คือ

    +++ สัมมาทิฏฐิ "ตั้งทิฏฐิ ให้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง" (ผลจากสติปัฏฐาน 4)(มีสติในการตั้งใจ)
    +++ สัมมาสังกัปปะ "ระลึก ในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง" (ประสพการณ์ จาก สติปัฏฐาน 4)(มีสติใน มโนกรรม)
    +++ สัมมาวาจา "พูด ในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง อย่างมีสติ" (สติ ในปัจจุบัณขณะ)(มีสติใน วจีกรรม)
    +++ สัมมากัมมันตะ "ทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง อย่างมีสติ" (สติ ในปัจจุบัณขณะ)(มีสติใน กายกรรม)
    +++ สัมมาอาชีวะ "ดำรงค์ชีพ อย่างถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง อย่างมีสติ" (สติ ในปัจจุบัณขณะ จนได้นิสัย)(มีสติใน ชีวิตประจำวัน)
    +++ สัมมาวายามะ "พากเพียร ในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริง อย่างมีสติ" (มีนิสัยในความ เป็น สติ)
    +++ สัมมาสติ "รู้จัก อาการของ สติ ตามความเป็นจริง" (สติ เป็นอาการ "ระลึก รู้" โดย ฐานทั้ง 4 เท่านั้น)(ระลึก "จำ" ไม่ใช่สัมมาสติ)
    +++ สัมมาสมาธิ "อยู่ กับสติ (อยู่กับรู้) จนเป็น อุเบกขาสัมโพชฌงค์" (สภาวะรู้ ดำรงค์อยู่ และ "แยกออกจาก กิริยาจิต รวมทั้งขันธ์ ทั้งปวง")

    +++ รวมบทสรุปอีก 8 ตรงนี้ 29 + 8 = 37

    +++ สรุปให้สั้นลงมาอีก คือ "ทำสติ ให้เป็น สมาธิ แล้ว สภาวะในการ แยกขันธ์รวมทั้ง กิริยาจิต/ความเป็น สังขารจิต จะโดนแยกออกไปเอง"
    +++ เมื่อ กิริยาจิต/สังขารจิต โดนแยกออกไปแล้ว ก็จะ "รู้ชัดเจน (ปัญญา)" ว่า "แม้กระทั่ง ตน ก็ไม่เหลือ" แต่ก็ "ยังอยู่ได้" ไม่มีภาระใดทั้งสิ้น
    ===========================================================
     
  6. งูๆปลาๆ

    งูๆปลาๆ นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 สิงหาคม 2017
    โพสต์:
    563
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +412
    ผมว่าสติปัฐฐานที่ตั้งขึ้นเป็นมรรคครับ สิ่งที่จะเห็นคือความจริงของการเปลี่ยนแปลง ที่เข้าไปรู้ไปดูครับว่าไม่ได้คงที่ในฐานที่ตั้งนั้น จึงรุ้ได้ว่าฐานที่ตั้งแห่งจิตนั้นรุ้ได้แต่ไม่ใช่ตัวตนที่ยึดได้ครับ เมื่อเห็นความยึดมั่นที่กำลังคว้าไปเกาะเกี่ยวก้จะเห็นการเกิดดับครับ. ขออภัยความรู้น้อยอยากจะลองแสดงทัศนะครับ
     
  7. เตรียมตัว

    เตรียมตัว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2015
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +156
    ไม่ชอบตาม ไม่ต้องตาม ฝืนมันไว้ ดึงมันไว้ ความคิดอ่ะ กิเลสมันชอบคิด เฉยอยู่ไม่ได้ ตามมันก็เข้าทางมันเท่านั้น แล้วมันก็พาลงเหวลงบ่อ ดึงมันไว้ฝืนมันไว้ มันต้องต่อสู้แบบนั้น ต้องหยุดมันให้ได้ก่อน หยุดมันได้แล้วทีหลังมันจะไปไหน เราก็รู้เรื่องของมันหมด
     
  8. jetrockman

    jetrockman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2011
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +21
    เวลาเราปฏิบัติเนี่ยทำอย่างไร เพราะฉะนั้นลองดู

    จะบอกวิธีทำใจให้ว่างให้เร็ว เราปฏิบัติ ถ้าเราทำให้ว่างได้เร็ว จิตเราก็จะสงบเร็ว เพราะฉะนั้นโดยธรรมชาติของจิตเรา จิตเราไม่ค่อยอยู่กับตัว เดี๋ยวก็ไปโน่นไปนี่ เพราะฉะนั้นทำอย่างไรเราถึงจะควบคุมจิตตรงนั้นได้ หรือทำให้สงบลงได้ การที่เราจะทำให้จิตสงบลงได้ จิตเราต้องว่าง หรือจิตเราต้องมีกำลังนะ ทีนี้สงสัยว่าเมื่อไม่สงบแล้วจะว่างได้อย่างไร ลองดูนะ.. ให้มองมาที่ดอกไม้ ขณะที่เห็นรู้สึกยังไงก็อย่างนั้นนะ เราจะจับที่ความรู้สึกเป็นหลัก

    อย่างเช่นเวลาเราสบายใจ จิตใจเรารู้สึกหนักหรือเบา? เบานะ รู้สึกอย่างไรก็อย่างนั้น เพราะความรู้สึกตรงนี้คือลักษณะของจิต อันนี้คือลักษณะของจิต รู้สึกเบา รู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกอึดอัด เวลาเราไม่สบายใจ ก็จะรู้สึกหนักๆ อึดอัดใช่ไหม? นี่คือการเห็นจิตตัวเอง รู้สึกทันทีโดยไม่ต้องคิด เพราะฉะนั้นนี่ต่อไปเดี๋ยวอาจารย์จะถาม ขณะที่เห็นดอกไม้ใจเราอยู่ที่ไหน? อยู่ที่ตัวหรืออยู่ที่ดอกไม้? ให้มอง ขณะที่มองดอกไม้ ใจเราอยู่ที่ดอกไม้หรืออยู่ที่ตัว? อยู่ที่ดอกไม้นะ ถูกแล้วนะ อันนี้คือธรรมชาติของจิต เพียงแต่ให้สังเกตต่อว่า ขณะที่จิตอยู่ที่ดอกไม้ จิตกับดอกไม้เป็นอันเดียวกันหรือคนละส่วน? คนละส่วนนะ

    ต่อนะ.. จิตกับดอกไม้เป็นคนละส่วนกัน ขณะเห็นรู้สึกไหมว่าจิตเราอยู่ในตัวหรือนอกตัว? อยู่ในตัว ไหนใครเห็นต่าง? ต้องขณะหนึ่งนะ เมื่อกี้บอกว่าขณะที่เห็นปุ๊บ จิตเรามาที่ดอกไม้ใช่ไหม? เพราะฉะนั้นขณะที่จิตมาที่ดอกไม้ จิตเราอยู่ในตัวหรือนอกตัว? นอกตัว อืม..เก่ง เก่งนะ ทีนี้สังเกตต่อ ถูกแล้ว เพียงแต่สังเกตต่อว่า ขณะที่จิตอยู่นอกตัว ให้สังเกตจิตที่อยู่ข้างนอกเนี่ย รู้สึกหนักหรือเบา? เบานะ สังเกตต่อนะ.. ความรู้สึกที่เบากับดอกไม้ อันไหนกว้างกว่ากัน? ความรู้สึกกว้างกว่านะ ความรู้สึกที่เบาสามารถย้ายที่ได้ไหม? เคลื่อนย้ายที่ได้ไหม? ได้นะ

    ต่อไปให้ย้ายจิต ย้ายความรู้สึกที่เบาอันนี้แหละ เขาเรียกฝึกใช้จิต เรารู้ว่าจิตเบาแล้ว เอาจิตที่เบามาใช้งานให้ได้ ไม่ใช่แค่เบาๆ แล้วหยุด อันนี้สำคัญ เพราะทุกๆอารมณ์ที่เกิดขึ้น จิตทำหน้าที่รับรู้ ไม่ว่าจะเกิดทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ก็ตาม จิตเป็นผู้ทำหน้าที่รับรู้ เพราะฉะนั้นเราสามารถย้ายจิตดวงนี้ได้ เราก็สามารถรับรู้ได้ทุกอารมณ์ ลองดูนะ ให้จิตที่เบา ย้ายจิตที่เบาไปที่มือ ลองดูว่าที่มือรู้สึกยังไง? เมื่อจิตที่เบาไปที่มือ มือรู้สึกหนักหรือเบา? หนัก ให้ดูที่จิตไม่ใช่ดูมือ เราย้ายจิตไปที่มือก็จริง แต่ให้ดูจิตเรา ให้จิตกว้างกว่ามือ จิตที่เบาความรู้สึกที่เบากว้างกว่ามือหน่อย รู้สึกเป็นยังไง? เบา ย้ายความรู้สึกที่เบาไปที่แขน แขนรู้สึก? เบา ย้ายความรู้สึกที่เบาไปที่สมอง ลองดูรู้สึกเป็นยังไง? เบานะ ตรงนี้จิตที่เบาทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ ย้ายไปรู้ตรงไหน ตรงนั้นก็เบา

    ลองสังเกตอีกนิดหนึ่ง จิตที่เบาเนี่ยให้กว้างกว่าตัวได้ไหม? ขณะที่จิตกว้างกว่าตัว ตัวเป็นยังไง? ตัวรู้สึก? เล็กลง ขณะที่ตัวเล็กลง รู้สึกหนักหรือเบา? สังเกตจิตที่เบา ความรู้สึกที่เบากับตัวที่นั่งอยู่เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน? คนละส่วนนะ อืม.. ถูกแล้ว ตรงนี้เป็นการแยกรูปแยกนาม จิตที่เบาคือนาม ตัวที่นั่งอยู่คือรูป คือการแยกรูปแยกนาม ต่ออีกนิดหนึ่งนะ ทำถูกแล้ว

    เพราะฉะนั้นต่อไปสังเกตต่อว่า จิตที่เบาเนี่ย ลองขยายจิตที่เบาให้เท่ากับห้องนี้ได้ไหม? ปล่อยจิตที่เบาให้กว้างออกเท่ากับห้องนี้ ลองดู พอกว้างออกแล้วรู้สึกเป็นยังไง? กว้างออกแล้วรู้สึกยังไง? จิตที่กว้างนะ โล่ง โล่งมากขึ้นหรือเท่าเดิม? มากขึ้น ทีนี้ลองต่อนะ นี่เป็นการฝึกจิต นี่คือการเห็นจิตตัวเอง เห็นไหม.. เราสามารถรู้ขอบเขตของจิตเราได้ เพราะเรารู้ถึงลักษณะของจิตว่าเป็นอย่างไร แต่ถ้าเราไม่รู้ว่าจิตเป็นอย่างไร เราก็จะดูขนาด ขอบเขตของจิตเราไม่ได้ บางทีจิตเราอยู่แคบๆ เราก็จะไม่รู้ว่าจิตเราแคบ

    ทีนี้ลองดู.. ให้ความรู้สึกหรือจิตที่เบาเนี่ยกว้างไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ให้กว้างเท่าท้องฟ้าไปเลย ปล่อยไปไกลๆ รู้สึกเป็นยังไง? ปล่อยให้กว้าง ปล่อยความรู้สึกหรือจิตที่เบาให้กว้างเท่ากับท้องฟ้า ให้กว้างเท่ากับจักรวาล พอกว้างออกไปแล้ว จิตที่กว้างรู้สึกอย่างไร? เบาสบายนะ รู้สึกโล่งขึ้น ตรงนี้สังเกตอีกนิดหนึ่ง สังเกตต่อนะ จิตที่โล่งรู้สึกเป็นไง? วุ่นวายไหม? สงบ ตรงนี้คือดูจิตตัวเอง เขาเรียกเห็นจิตในจิต เพราะฉะนั้นให้จิตที่เบาทำหน้าที่รับรู้อารมณ์
    คัดลอกจาก ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์ประเสริฐ ฐานังกโร
     
  9. jetrockman

    jetrockman สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2011
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +21
    สังเกตดู ขณะที่จิตที่เบา โล่ง สงบ ถามว่าจิตที่กว้าง ที่โล่ง เบา เขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า? เขาไม่บอกว่าเป็นใคร และย้อนกลับมาดูนะ จิตที่เบาย้อนกลับมาดูตัวที่นั่งอยู่ ตัวเราที่นั่งอยู่เขาบอกว่าเป็นใครหรือเปล่า? บอกไหมว่าเป็นใคร? ไม่บอกนะ ขณะที่ไม่บอกว่าเป็นใคร รูปที่นั่งอยู่รู้สึกหนักหรือเบา? เบานะ ตรงนี้เขาเรียกว่าเห็นความเป็นอนัตตา คือความไม่มีตัวตน ไม่บอกว่าเป็นเราเป็นเขา หรือไม่บอกว่าเป็นใคร เราถาม ไม่ใช่คิด เราเป็นผู้ถาม พอถามก็จะเห็นคำตอบที่เกิดขึ้น เมื่อไม่บอกว่าเป็นเรา ไม่บอกว่าเป็นใคร สังเกตดูนะ จิตขณะนั้นมีกิเลสตัวไหนเกิดบ้าง? ไม่มีเลย นี่คือจิตที่บริสุทธิ์ สงบ เบา โปร่ง อิสระ ตรงนี้ถูกแล้วนะ ทำได้ดี

    ต่อไปให้เอาจิตที่เบามาใส่ตรงที่ส่วนที่ ๒ จากคอถึงลิ้นปี่ ลองเอาความเบาใส่เข้าไป รู้สึกเป็นไง? รู้สึกยังไงแล้วบอกได้เลยนะ ถ้าใส่ไม่ได้ก็บอกว่าไม่ได้ แค่นั้นเองนะ ไม่ผิด ใส่ไม่ได้นะ วิธีใส่เข้าไปก็คือ จำได้ไหมขณะที่เราย้ายความรู้สึกเบาไปที่สมอง สมองรู้สึกโล่งได้ใช่ไหม? เราก็ย้ายแบบนั้นแหละ ใช้วิธีเดียวกัน เอาความรู้สึกที่เบาย้ายมาไว้ที่ตัว ตรงนี้ที่หทยวัตถุ เขาเรียกระหว่างคอถึงลิ้นปี่ ตรงนี้ทั้งหมดเลยนะ ทั้งตัว ไม่ใช่เฉพาะเป็นเล็กๆ ยังไม่ได้ไม่เป็นไร ไม่ต้องรีบ ต่อไปรู้สึกเป็นไง? ได้ไหม? ไม่แน่ใจ รู้สึกว่าเบา เออ.. ถูกแล้วนะ จริงๆลองใหม่นะ คนทำได้แล้ว ถูกแล้ว

    ต่อไปให้จิตที่เบา พอนั่งหลับตา พอเราเคยกำหนดพองยุบ ก็เอาความรู้สึกที่เบาเกาะติดไปกับพองยุบ พร้อมกับสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการพองยุบว่าเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร อย่างเช่น เวลาพองออกเนี่ยเขาเป็นกลุ่มก้อน เป็นเส้น หรือว่าเป็นคลื่น มีอาการกระเพื่อมหรือว่าเป็นอย่างไร อันนี้นั่งแล้วกำหนดอย่างนี้ คนที่กำหนดลมหายใจเข้าออก ก็เอาความรู้สึกหรือจิตของเราเกาะติดไปกับลมหายใจ พร้อมกับสังเกตการเปลี่ยนแปลง ขณะที่เราหายใจเข้า หายใจเข้าไปลึกถึงไหนก็ปล่อยให้ถึงนั่น ไม่ต้องบังคับนะ ให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ถ้าเขาสั้น ก็ให้รู้ชัดว่าสั้นๆเบาๆ แต่ถ้ายาวก็ตาม ตามอาการนั้นไปเรื่อยๆจนสิ้นสุด แล้วก็สังเกตระหว่างขณะที่หายใจเข้าไปแต่ละครั้ง ต้องสังเกตเป็นขณะๆแต่ละครั้งเลยนะ ขณะที่เข้าไปแต่ละครั้ง มีความแตกต่าง มีการเปลี่ยนแปลง มีความแตกต่างกันอย่างไรโดยไม่ต้องบังคับ ตามรู้อย่างเดียว ตามรู้อย่างเดียว

    ถ้าสติเราสามารถเกาะติดกับอาการของลมหายใจนั้นได้ยิ่งดีนะ เพราะการกำหนด หรือจิตที่เกาะติดกับอาการนั้น เขาเรียกว่าเป็นการกำหนดได้ปัจจุบัน ยิ่งเห็นการเปลี่ยนแปลง เห็นความเกิดดับหรือเปลี่ยนแปลง เห็นความแตกต่างกันมากเท่าไหร่ สติเราก็จะอยู่กับปัจจุบันมากเท่านั้น หลักของวิปัสสนาคือ การกำหนดรู้การเกิดดับการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะตั้งอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป หน้าที่ของเราคือ เข้าไปรู้ถึงธรรมชาติของเขาเท่านั้นเอง เข้าไปรู้ถึงลักษณะการเกิด การตั้งอยู่ และดับไป โดยไม่ต้องบังคับ และการเข้าไปรู้ ไม่ใช่เพียงเป็นผู้ดูอยู่ห่างๆ หรืออยู่ไกลๆ ต้องเข้าไปเกาะติดกับอาการ เราถึงจะเห็นชัด เขาเรียกการยกจิต ก็ คือการยกจิตขึ้นสู่อาการนั้น วิจารณ์คือเกาะติดกับอาการ ดูการเปลี่ยนแปลง ดูการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเหล่านั้นไปเรื่อยๆ ดูว่าเขาเป็นอย่างไร ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นก็ตาม

    สภาวะที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งปฏิบัติ หรือเจริญกรรมฐานนั้น อารมณ์หลักๆที่เกิดเป็นประจำ หรือต้องเกิดอย่างแน่นอน ซึ่งเรียกว่าอารมณ์หลัก ก็คือ ๑. ลมหายใจเข้าออก หรือพองยุบ ๒. ก็คือเวทนา เวทนาหมายถึงความปวด ความเมื่อย อาการชา อาการคัน อันนี้เรียกว่าเวทนา อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความคิด เวลาเรานั่งแล้วมีความคิดเกิดขึ้น เวลาปฏิบัติเมื่อไหร่ก็จะมีความคิดแว่บไปโน่น แว่บไปนี่ เปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ไม่อยู่กับที่ สภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ๓ - ๔ อย่าง อีกอย่างหนึ่งก็คือสีสัน สีสันต่างๆ หรือว่านิมิตที่เกิดขึ้นในขณะที่เรานั่งสมาธิ ตรงนี้เรียกว่าอารมณ์หลัก

    ไม่ว่าอารมณ์ไหน สภาวะไหนเกิดขึ้นก็ตาม หน้าที่ของเราคือ ตามกำหนดรู้ หรือเอาจิตเข้าไปที่อาการนั้น เข้าไปกำหนดรู้ให้ชัดว่าเขาเกิดอย่างไร เกิดแล้วดับอย่างไร เห็นการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ว่าจะเห็นขณะเกิดอย่างเดียว บางครั้งเห็นแต่ตอนที่เกิดใหม่ เกิดใหม่ เกิดใหม่.. อย่างเดียว ตอนดับไม่เห็น ก็ไม่ผิดนะ ไม่ผิดนะ แม้จะเห็นเกิดอย่างเดียวก็ตาม บางครั้งเห็น แต่ว่าการเกิดไม่ทัน รู้แต่ว่า รู้แล้วก็หมด รู้แล้วก็หมด รู้แล้วหมด รู้แล้วหมดก็คือ รู้อาการ รู้แล้วหมดไป รู้อาการดับอย่างเดียว ไม่เห็นตอนเกิดแต่เห็นตอนดับ ถามว่าผิดไหม? ไม่ผิด บางครั้งเห็นเฉพาะตอนเกิด เกิดอย่างเดียวดับไม่เห็น ก็ไม่ผิด เพียงแต่ว่าสภาวะช่วงนั้นขณะนั้นเป็นอย่างนั้นเองนะ เป็นอย่างนั้นเอง

    เรามีหน้าที่ตามกำหนดรู้ แต่ต้องรู้ให้ชัด ไม่งั้นนี่จะหลับนะ ถ้าดูเผินๆ ไม่ได้ใส่ใจ ดูแค่รู้เฉยๆ ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง พอสมาธิมากขึ้น ก็จะทำให้ง่วง แล้วหลับ เพราะฉะนั้นต้องเกาะติดนะ ใช้ความรู้สึกที่เบาเกาะติดอาการ
    คัดลอกจาก ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์ประเสริฐ ฐานังกโร
     

แชร์หน้านี้

Loading...