เทคนิค การตั้งสมถะ ด้วยการสวด อิติปิโส ๑๐๘

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 23 ตุลาคม 2010.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    สำหรับ ผู้ อยากลอง ความสงบนิ่งสมถะ
    ลองทำแบบนี้ดู
    ก่อน นั่งสมาธิ ให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด
    แต่งชุดสุภาพ สะบายๆ
    แล้วให้ ตั้งใจ สวดมนต์ดังต่อไปนี้

    อุปกรณ์เสริม ที่ช่วยส่งเสริม
    ควรได้สวดมนต์ ต่อหน้าพระพุทธรูป

    หรือหากใครหาไม่ได้ก็ให้ ตัดภาพเอา จากวารสาร หรือหนังสือ
    ใส่กรอบตั้งไว้หาโต๊ะรองตรงหน้าให้สูงกว่าพื้นที่เรานั่ง
    จุดเทียน 2เล่ม จุดธูป 5 ดอก
    นำเทียนหนัก 1 บาท 8เล่ม ธูป 108ดอก พวงมะลิ 1พวง วางใส่พานไว้

    กรณีตัวหนังสือ สีน้ำเงินนี้ หากใครสะดวกก็จัดหาได้
    ไม่สะดวกก็ไม่ต้องหา
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ระลึกถึงคุณพระรัตนะตรัย​


    กราบ ๕ ครั้ง​


    กล่าวคำขอขมาว่าดังนี้​


    ข้าพเจ้า ขอขมากรรม พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ครูบาอาจารย์
    บิดามารดา
    เจ้ากรรมนายเวร
    และสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลาย
    กรรมอันใด ที่ข้าพเจ้า ได้ล่วงเกิน
    ด้วย กายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
    ขอทุกท่าน โปรดอโหสิกรรม ให้ข้าพเจ้าด้วยเทอญ​


    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ อาจาริยานัง ปูเชมิ
    อิมินา สักกาเรนะ มาตาปิตุนัง ปูเชมิ​


    อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ )
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ )
    มัยหังมาตาปิตูนังวะ ปาเท วันทามิ สาคะรัง (กราบ)
    ปัญญาวุฒฑิ กะเรเตเต ทินโนวาเท นะมามิหัง (กราบ)​


    อาราธะนาศีล ๘ ​


    ข้าพเจ้า ขอตั้งสัจจะบาระมี จะขอรักษาศีล ๘ ให้ได้ ตลอดการสวดมนต์นี้​


    อะหังภันเต ติสะระเนนะสะหะ อัฐฐะ ศีลา นิยาจามิ
    ทุติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเนนะสะหะ อัฐฐะ ศีลานิยาจามิ
    ตะติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเนนะสะหะ อัฐฐะ ศีลานิยาจามิ​


    ๑. ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    ๒. อะทินนา ทานา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    ๓. อะพรัมมะจะริยา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    ๔. มุสาวาทา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    ๕. สุราเมระยะ มัจชะ ปะมา ธะฐานา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    ๖. วิกาละโภชะนา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    ๗. นัฏจะคีตะวาฐิตะ วิสูกะทัศสะนา มาลาคันธะ วิเลปะนะ ธาระนะ
    มันฑะนะ วิภูสะนัฏฐานา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    ๘. อุจจา สะยะนะ มะหา สะยะนา เวระมณี สิกขา ปะทัง สะมาธิ ยามิ​


    อิมานิ อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ
    อิมานิ อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ
    อิมานิ อัฐฐะ สิกขา ปะทานิ สะมาธิยามิ ​


    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุท ธัสสะ​


    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ​


    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ​


    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ​


    (บท พุทธะคุณ )
    อิติปิโสภะคะวา
    อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ
    วิชชา จะระณะ สัมปันโน
    สุคะโต
    โลกะวิทู
    อะนุตตะโล
    ปุริสะธัมมะสาระถี
    สัตถา เทวะ มะนุษสานัง
    พุทโธ
    ภะคะวา ติ​



    ( บท ธรรมะคุณ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม
    สัณฐิติโก
    อะกาลิโก
    เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก
    ปัจจัตตัง เวธิตัพโพ วิญญู หิ ติ​



    (บท สังฆะคุณ )
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญาญะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิตัง จัตตาริ ปุริสะยุค คานิ
    อัฐฐะ ปุลิสะปุคคะลา
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ​



    แล้ว วก สวด
    บท พุทธคุณ ๕๖ จบ
    บท ธรรมะคุณ ๓๘ จบ
    บท สังฆะคุณ ๑๔ จบ
    แล้ววก สวด พุทธะคุณ ธรรมะคุณ สังฆะคุณ ๑ รอบ


    ตามด้วยบท ต่อไปนี้ คือ บท พาหุง​



    พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
    ค รีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะมารัง<O:p</O:p
    ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p



    มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง<O:p</O:p
    โฆรัมปะนาฬะวะมักขะมะถัทธะยักขัง<O:p</O:p
    ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง<O:p</O:p
    ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง<O:p</O:p
    เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง<O:p</O:p
    ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง<O:p</O:p
    อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    กัตวานะ กิฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา<O:p</O:p
    จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
    สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
    วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง<O:p</O:p
    ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p




    นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง<O:p</O:p
    ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต<O:p</O:p
    อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p




    ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง<O:p</O:p
    พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง<O:p</O:p
    ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท<O:p</O:p
    ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิ ฯ<O:p</O:p



    เอตาปิ พุทธะ ชะยะมัง คะละอัฏ ฐะคาถา<O:p</O:p
    โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที<O:p</O:p
    หิตะวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ<O:p</O:p
    โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญ ฯ ​



    (บท มหากาฯ )​


    <O:pมะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง<O:p</O:p
    ปูเรตวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง<O:p</O:p
    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ<O:p</O:p
    ชะยันโต โพธิยา มูเล สักยานัง นันทิวัฑฒะโน<O:p</O:p
    เอวัง ตวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล<O:p</O:p
    อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร<O:p</O:p
    อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติ ฯ<O:p</O:p
    สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง<O:p</O:p
    สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ<O:p</O:p
    ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง<O:p</O:p
    ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา<O:p</O:p
    ปะทักขิณานิ กัตวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณ ฯ<O:p</O:p
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา<O:p</O:p
    สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ<O:p</O:p
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา<O:p</O:p
    สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ <O:p</O:p
    ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา<O:p</O:p
    สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ ​




    ( ต่อด้วย บท กรวดน้ำ )​


    <O:p</O:p
    กรวดน้ำอิมินา<O:p</O:p
    (นำ) หันทะ มะยัง อุททิงสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ เส ฯ<O:p</O:p
    (รับ) อิมินา ปุญญะกัมเมนะ อุปัชฌายา คุณุตตะรา<O:p</O:p
    อาจริยูปะการา จะ มาตาปิตา จะ ญาตะกา (ปิยา มะมัง)<O:p</O:p
    สุริโย จันทิมา ราชา คุณะวันตา นะราปิ จะ<O:p</O:p
    พรัหมะมารา จะ อินทา จะ<SUP>๑</SUP> โลกะปาลา จะ เทวะตา<O:p</O:p
    ยะโม มิตตา มะนุสสา จะ มัชฌัตตา เวริกาปิ จะ<O:p</O:p
    สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ ปุญญานิ ปะกะตานิ เม<O:p</O:p
    สุขัง จะ ติวิธัง เทนตุ ขิปปัง ปาเปถะ โว มะตัง ฯ<O:p</O:p
    อิมินา ปุญญากัมเมนะ อิมินา อุททิเสนะ จะ<O:p</O:p
    ขิปปาหัง สุละเภ เจวะ ตัณหุปานทานะเฉทะนัง<O:p</O:p
    เย สันตาเน หินา ธัมมา ยาวะ นิพพานะโต มะมัง<O:p</O:p
    นัสสันตุ สัพพะทา เยวะ ยัตถะ ชาโต ภะเว ภะเว<O:p</O:p
    อุชุจิตตัง สะติปัญญา สัลเลโข วิริยัมหินา<O:p</O:p
    มารา ละภันตุ โนกาสัง กาตุญจะ วิริเยสุ เม<O:p</O:p
    พุทธาทิปะวะโร นาโถ ธัมโม นาโถ วะรุตตะโม <O:p</O:p
    นาโถ ปัจเจกะพุทโธ จะ สังโฆ นาโถตตะโร มะมัง<O:p</O:p
    เตโสตตะมานุภาเวนะ มาโรกาสัง ละภันตุ มา ฯ<O:p</O:p


    จากนั้น นั่งตัวตรง ดำรงสติให้มั่น
    กำหนดรู้ ลมหายใจเข้าออก จนถึงเวลาที่เหมาะสม​

    เมื่อออกจากสมาธิแล้วก็ให้ กรวดน้ำอีก ๑ รอบ​

    จบฯ กราบพระ
    อะระหังสัมมา สัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ )
    สะวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ )
    สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ )
    มัยหังมาตาปิตูนังวะ ปาเท วันทามิ สาคะรัง (กราบ)
    ปัญญาวุฒฑิ กะเรเตเต ทินโนวาเท นะมามิหัง (กราบ)​




    (ขอกราบขอบพระคุณ ผู้รวมรวม หนังสือ มนต์พิธี)</O:p
    <!-- google_ad_section_end -->__________________
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 ตุลาคม 2010
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849
    ลักษณะสำหรับผู้ที่มีเวลาและชอบสวดมนต์ อิติปิโสนี้ มีข้อสังเกตุ ให้ดังนี้

    1. ควรเดินแบบ นี้อย่างน้อย 7วัน ติดต่อกัน หมายถึง ให้ สวดอิติปิโส 2เวลา คือ
    ตอน 6โมงเย็น หรือ 1ทุ่ม สำหรับ ผู้มีเวลา เมื่อ สวดจบกรวดน้ำ แล้วก็ให้เดินกรรมฐานด้วย อานาปานสติ รู้ลมหายใจเข้าออก หลังจากนั้น เมื่อถึงเวลาพอสมควร ที่ออกสมาธิจากการนั่ง ก็ลืมตา กรวดน้ำอีก 1รอบ จากนั้น เวลานอน ก็นอน รู้ลมหายใจเข้าออก ไปไปเรื่อยๆ จนหลับ

    2.ให้ ตืน ขึ้นมาตอน ตี สอง แล้ว ให้สวด พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ 1รอบ แล้วก็เดิน อานาปานสติ เหมือนเดิม ให้ได้ซัก 30-60 นาที จากนั้นก็ให้ ลง นอนทำ อานาปานสติด้วยการรู้ลมหายใจ จนเช้าเมื่อ ตื่น ขึ้นมา ก็สวด พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ตามด้วยพาหุง มหากา แล้วก็กรวดน้ำ จากนั้นค่อยไปอาบน้ำ ทำงานตามปกติ ทำแบบนี้ให้ได้
    ติดต่อกัน 7 วัน

    3. ช่วง สังเกตุ ในช่วง นอนสมาธิ หาก จิต ดิ่งลงวูป ขณะ ในท่านอน บางทีเหมือนๆตกจากที่สูงแล้ววูปๆออก หากรู้สึก ตรงนี้ได้
    ให้ระลึก ภาวนาในจิตว่า พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา จงแคล้วคลาดปลอดภัย
    ซัก 3รอบ จากนั้นให้ ยกมือตัวเองแบดู มองให้เห็น ฝ่ามือตัวเอง จนชัด แล้วก็มองหา ร่างของตัวเองให้เจอ หากท่านใด หาไม่เจอ ก็ให้อยู่กับที่ แล้วนั่งภาวนา พุทโธๆไปเรื่อยๆ ..หากท่านใดลองแล้ว มาถึงตรงนี้ ลองมาเล่าดูครับ

    ป.ปราบ การฝึกลักษณะแบบนี้ ผู้ที่กลัวผี อย่าเพิ่งฝึกครับ
     
  4. รู้รู้ไป

    รู้รู้ไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    958
    ค่าพลัง:
    +3,168
    นานมาแล้วหลายปี สวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ก็สวดไปจะให้ครบ 108 จบ ตอนที่สวดก็เห็นความคิดต่างๆเข้ามาให้เลิกนั่งบ้าง เหนื่อยบ้างท้อบ้างวันหลังค่อยสวดต่อ ต่างๆนาๆก็พยายามไม่ไหลไปตามที่คิดสนใจแต่ที่สวดอยู่ เพราะกลัวว่าหากนับพลาดหรือสวดพลาดจะต้องไปเริ่มต้นใหม่
    ความคิดโจมตีเรื่อยๆเราก็รู้แล้วไม่สนใจไปเรื่อยสนอยู่ที่บทสวดและการนับ จนใกล้จะครบมันก็บางลง ก็รู้สึกเบาสบาย มันไม่อยากทำอะไรต่อเลย เบาสบายอยู่อย่างนั้น ก็ทำท่าจะนั่งสมาธิต่อ ก็เบาไปเหมือนมันจะไม่เอาอะไรมันเบาไป เลยเดินจงกรมแทน โดยการดูสัมผัสที่ที่ฝ่าเท้าแตะกับพื้น ปรากฏว่าสัมผัสมันบางลง บางลง ก็เลยตกใจ เหมือนยิ่งเดิน ก็จะยิ่งไม่สัมผัส มันจะเอาแต่เบาอย่างเดียว
    ตอนนั้นไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่า เหมือนว่ามันจะลอยขึ้นจากพื้นมันจะไม่สัมผัสพื้นเอา ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจ รู้แต่ว่ามันเบาไปหมด ก็เลยหยุดก่อน เพราะไม่เคยเป็นอย่างนั้นมาก่อน ไม่เคยรู้มาก่อนว่าแบบนี้คืออะไรเป็นอะไร
    รู้แต่ว่ามันเบาไปหมด ผ่านมาหลายปีถึงได้รู้ว่ามีท่านอื่นทำแล้วก็มีอาการแบบนี้ได้เหมือนกัน เป็นเรื่องธรรมดา

    สำหรับผม ตอนนั้นสวดมนต์ดูความคิดตัวเองไป ดูเหมือนว่ามันคิดเองเราไม่ได้คิดเราไม่เอาคิด มันก็แว่บไปแว่บมา ดูจนมันไม่คิดมันเลิกแหย่ไปเอง

    เคยเป็นครั้งเดียวครับ ที่สวด 108 จบแล้วทำสมาธิแล้วเดินจงกรมแล้วเป็นอย่างนั้น

    การใดมีอานิสงค์เป็นการทวนกระแสแห่งกิเลส ทวนกระแสแห่งความคิด ดิ้นรนปรุงแต่งทั้งหลายอันเป็นทุกข์เป็นเหตุแห่งทุกข์ทำไว้ผมว่าดีหมด
    อนุโมทนาครับ
     
  5. ทัสชา 567

    ทัสชา 567 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,006
    ทำทุกวันตลอดสามเดือนวันนี้วันสุดท้าย(ออกพรรษา) ช่วงอิติปิโส ร้อยแปดจบ หลังๆมาไม่ครบส่วนมากไม่ถึงสิบจิตดับวูบ ไม่รู้ร้อน ไม่รู้หนาว ไม่มีเสียงใดๆ ไม่ได้หลับ ไม่ได้ง่วง พอคลายสมาธิรู้สึกอิ่มบุญ อิ่มกุศล อยากทราบว่าควรทำอย่างไรต่อไปคะ สาธุค่ะ
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    สวดๆไป คล้ายๆ เหมือนๆ มับดับแว๊ป เลยหรือเปล่า เหมือน สัญญาณทางหูก้หาย นิ่งไปเฉยๆ เหมื่อน คลื่นทีวี ที่เวลาเราดู แล้วมันขาดแวป อย่างนั้นหรือเปล่า


    พอคลายสมาธิรู้สึกอิ่มบุญ อิ่มกุศล .. จากประโยค นี้ ตรงที่กลางกลางอกตรงลิ้นปี่ มันเบาๆ โล่งๆ รู้สึกได้เลยว่า เย็นๆ ไปด้วยไหม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 ตุลาคม 2010
  7. atie

    atie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +25
    ภวังค์

    ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมากหรอกครับ:cool:
    สิ่งสำคัญคือมีสมาธิขั้นเล็กน้อย;ปรบมือ
    ให้ภาวนาอะไรก็ได้ตามถนัดจนเราหลับ(kiss)
    พอเข้าสู่ภวังค์เราจะรู้สึกได้ :boo:มันจะเหมือนตกจากที่สูง:cool:
    แสดงว่าเราเข้าสู่อีกภพหนึ่งแล้ว ถ้าเรามีสมาธิมากๆเราสามารถไปในภูมิที่สูงกว่านั้นได้ด้วยกำลังแห่งสมาธิ ให้พิจารณาดูเอาเองนะครับว่าผิดถูกอย่างไร
    ตอนจะกลับเข้าร่างอันนี้ไม่ต้องสอนมันเป็นสัญชาตญานเป็นกันเองทุกคน
    :z6คำว่าภวังค์ ตามภาษาชาวบ้าน คือ สภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่น
    พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าคนก่อนจะตายจากโลกนี้จะอยู่ในสภาวะภวังค์เห็นสิ่งในภพตนบ้างเห็นอีกภพหนึ่งบ้าง ถ้าหากคนทำชั่วไปเกิดในนรกเขาก็จะมีสภาวะเหมือนฝันแต่เป็นฝันที่ไม่มีวันตื่นจนกว่าจะหมดแรงแห่งกรรมชั่ว

    sleeping_rbอันนี้ผมฟังมาจากพระนะครับเพราะมีญาติโยมได้ถามว่าสภาวะตอนเราตายรู้สึกอย่างไรพระท่านบอกว่า รู้สึกเหมือนฝัน อาการเบาๆ โปร่งๆ ผมมีความรู้แค่นี้ครับ ผิดถูกอย่างไรต้องขอประทานโทษด้วยนะครับ
     
  8. ทัสชา 567

    ทัสชา 567 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,006
    สวดๆไป คล้ายๆ เหมือนๆ มับดับแว๊ป เลยหรือเปล่า เหมือน สัญญาณทางหูก้หาย นิ่งไปเฉยๆ เหมื่อน คลื่นทีวี ที่เวลาเราดู แล้วมันขาดแวป อย่างนั้นหรือเปล่า(ใช่ค่ะ)พอคลายสมาธิรู้สึกอิ่มบุญ อิ่มกุศล .. จากประโยค นี้ ตรงที่กลางกลางอกตรงลิ้นปี่ มันเบาๆ โล่งๆ รู้สึกได้เลยว่า เย็นๆ ไปด้วยไหม ทำยังไงต่อค่ะ อยากก้าวหน้าค่ะ บางทีแน่นหน้าอกต้องสวดแบบอิติปิโสยาวรวดเดียวให้สุดลมหายใจแล้วปล่อยสักพักหน้าอกจะเบา ขอท่านผู้รู้ตอบทีค่ะ
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,342
    ค่าพลัง:
    +6,849

    ที่ว่าแน่นหน้าอก เพราะมีความคาดหวังเกินพอดี

    การสวดมนต์ยาวๆ ควรสวดไปตามบริบท
    อย่าหวังว่า เมื่อไรจะสวดจบ
    ต้องสวดไปสะบายๆ
    จบเมื่อไรก็จบเมื่อนั้น
    จิตใจที่จดจ่อ อยู่กับ บริบทการสวดมนต์
    จะทำให้จิต สงบได้เร็ว
    อย่าพะวงว่าเมื่อไรจะสวดจบ
    เสต็บ นี้จะเป็นการฝึกในช่วงแรก ๆ


    พอมีความชำนาญ นิวรณ์ก็จะเริ่ม มาแหย่ๆ
    ต้องฝึกเอาชนะนิวรณ์ ก็คือ มันจะมี ความขี้เกียจมาคอยแหย่ๆ
    ทำให้คิดไปว่า จะสวดไปทำไม ตรงนี้ หากเราเริ่ม ฝึก ฝืน เอาชนะใจตัวเอง
    ในความขี้เกียจนี้ได้ จะเป็น บรรทัดฐาน
    ในการเอาชนะกิเลสได้เพิ่มขึ้นอย่างเยี่ยมเลยทีเดียว
    การสวดมนต์ ที่เป็นวัตร ประจำ วัดกันตรงที่ว่า
    หากสวดมนต์แล้ว มันทำให้ รู้สึกว่า วันไหน ไม่ได้สวดมนต์
    มันจะนอนไม่หลับ และยิ่ง สวดมนต์ ยิ่งมันส์
    กลายเป็น ยิ่งสวด ยิ่ง อิ่มเอิ่มแช่มชื่น
    ไม่มี ปฏิฆะ ในการสวดมนต์ ถ้ามันมีความรู้สึกแบบนีเกิดขึ้น
    แสดงว่า
    จิตมันก้าวหน้า
    เพราะมันทวนกระแส ความขี้เกียจ เอาชนะใจตัวเองได้ในเบื้องต้น
    มันจะไม่รู้สึกว่า การสวดมนต์เป็นเครื่อง ขัด ขวาง
    การทำสมาธิ หรือเป็นการเสียเวลา


    ในช่วงการฝึกฝน ทุกครั้งในระหว่างการสวดมนต์
    หากมีความตั้งใจจะสวด ๑๐๘ หากในขณะสวด
    ยังไม่จบ ครบ ตามกำหนด มีเหตุการสะดุดให้นิ่ง ขาดหายไป อย่างที่เล่ามานี้
    กรณี ที่ขาดหายไปแว๊ปไม่นาน ก็ พยายาม วก กลับมาที่การ สวดมนต์ ให้ได้ต่อ
    จะเป็นการ ฝึก ให้เรามี สติ ที่เข้มแข็งได้อย่างรวดเร็ว
    และสวดให้จบ จากนั้นก็กรวดน้ำ

    หลังจากกรวดน้ำแล้ว ลืมตา ก็มาตั้ง ลม เดิน อานาปานสติ

    รู้ลมเข้าออกสะบายๆ เมื่อรู้ สึก ว่า จิต สงบๆ นิ่งๆ
    ไม่มีความฟุ้งแต่อย่างใด

    ก็หันมาทำ กายคตาสติ โดยยก อาการ 32
    มาค้นคิด พิจารณา โดยให้ทำอย่างนี้
    เช่นว่า เราจะ ยก เล็บ ซึ่งเป็น 1ในอาการ 32


    การค้นคิด นั้น ทำอย่างไร ให้ทำอย่างนี้
    ให้กำหนด นึกให้เห็น เล็บตัวเอง เลือกมา 1นิ้ว ข้างไหนก็ได้
    สมมุมติเลือก นิ้วโป้งมือข้าง ขวา
    เราก็ กำหนด นึกให้เห็น เล็บนิ้วโปง ข้างขวา
    พยายาม นึกเห็นให้ชัด แล้วก็ทำความคิด ไปในใจไปด้วย
    พร้อมกับภาพที่เรากำหนดนั้น ว่า
    เมื่อ เราเกิดมาเล็บ ที่เราเห็นเป็นของเรานั้น มีขนาดเท่านั้นเท่านี้
    จะยาวและเติบโตไปเรื่อยๆ เราต้องตัด และทำความสะอาดอยู่ประจำ
    จากเล็บ ที่เป็นเล็บเด็กๆ ก็เปลี่ยนแปลง ไปเป็น จนเป็น
    หนุ่ม สาว เล็บก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ตามอายุวัย จนเข้าสู่ วัยชรา
    จนหมดสะภาพอายุขัย
    ก็ต้องย่อย เน่า สลายหายไปตามวัย จนหมดสิ้น
    ในช่วง ที่เราทำความคิดแบบนี้
    ภาพที่เรากำหนดขึ้นก็นึกให้เป็นไป
    ตามการพรรณนาในความคิดของเรา จนจบกระบวนการค้นคิด

    แล้ว วกกลับย้อย คิดกลับไป จาก เล็บที่ย่อยสลายจนไปเป็นเล็บเด็ก
    อันนี้เรียก ว่าครบ ๑ รอบ

    จากนั้นให้ หายใจเข้าลึก ๆซัก ๓-๕ รอบ ค่อยๆลืมตา
    แล้วก็กรวดน้ำไป ๑ รอบ
    จาก นั้นก็ให้หลับ ตา ตั้งใหม่แบบเมื่อกี้
    จน ครบ ในการค้นคิด ๓-๕ รอบ
    ควรทำให้ได้ หลัง จากที่สวด อิติปิโส ๑๐๘ ทุกวัน

    และเมื่อออกจากการทำ สมาธิแบบนี้แล้ว
    ก็กรวดน้ำไปอีก ๑ รอบก่อน นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ตุลาคม 2010
  10. ฝันนิมิต

    ฝันนิมิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +547
    รับทราบ...............:cool:
     
  11. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    ไว้เติมพลัง สำหรับคนหมดแรง
     
  12. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    พื้นฐานสมาธิที่ควรมีเบื้องต้น

    ๑. วิธีการหายใจเข้าและออก
    ไม่ใช่หายใจเข้ารู้ ออกรู้ แต่รู้ตรงไหน
    หยุดตรงไหน ? หายใจลึกแค่ไหน
    เพื่อรองรับสมาธิที่สูงขึ้น หากไม่แนะตรงนี้
    ก็จะแป๊กที่ระดับปฐมฌานในขณะสวด
    และตกลงมาต่ำกว่า อุปจารสมาธิเวลานอน
    เหมือนที่บทความที่นำมาลง เพราะในขณะนั่งจะไม่รู้ตัวว่า จิตเกิดเพราะไปตามลมหายใจ คือไปตามรู้แต่ไม่มีหลัก
    เป็นเหตุให้ไม่ได้กำลังสมาธิสะสม
    แบบไม่รู้ตัว เวลานอนเลยตกภวังค์ครับ

    ๒. ถ้าจะนั่งสมาธิเพื่อหวังความสงบและก้าวหน้า อย่าสวดมนต์ยาว และควรเป็นบทสวดมนต์ที่ท่องจำได้ในใจ
    ยกเว้นว่าจะเอาแค่ความ
    สงบจากการสวดมนต์ไม่เป็นไร

    ไม่งั้นถ้าไม่รู้วิธีหายใจพื้นฐาน
    ก็จะแก้ปัญหา สภาวะที่ติดขัดทางนามธรรม
    ไม่ได้ อย่างในตัวอย่าง ปัญหาแน่นหน้าอก
    เกิดจากการหายใจแบบปกติที่หยุดลม
    ที่หน้าอก ทำให้จิตเกิดไปสนใจตรงนั้น
    เลยเกิดอาการแน่หน้าอก ถ้าจิตไปสนใจ
    ตรงไหน ที่ไม่ใช่ปลายจมูก มันก็จะแน่เป็นปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่เพราะว่า ไปคาดหวังอะไร
    เป็นการแก้ปัญหาไม่ตรงจุดครับ

    เพราะไม่เข้าใจระบบหายใจพื้นฐาย
    เลยไม่ได้ช่วยสร้าง
    กำลังสติทางธรรม
    ที่จะไปเข้าใจสภาวะ
    ทางนามธรรมต่างๆที่เกิดขึ้น
    ระหว่างการปฎิบัตินั่นเองครับ

    ๓ . บทกรวดน้ำควรทำหลังจากสวดมนต์
    นั่งสมาธิเสร็จแล้ว แต่การอุทิศส่วนกุศลแบบ
    ไม่ใช้น้ำแต่ต้องขอบารมีพระฯก่อน
    สามารถทำได้หลังจาก
    ขอขมาพระรัตนตรัย
    และเมื่อนั่งสมาธิเสร็จแล้ว

    ความเห็นส่วนตัวนะครับ

    วิธีฝึกแบบนี้ ส่วนตัวไม่กล้าแนะใครเลยครับ
    เหมือนมีรถยนต์ แต่ว่ายางเสื่อมคุณภาพ
    วิ่งไปซักพักเด่วก็ยางระเบิด
    ก็ต้องลงมาเดินเหมือนเดิม

    พื้นฐานสำคัญอย่าใจร้อนครับ
    แม้มันดูไม่เหมือนเป็น
    ผู้วิเศษในช่วงแรก

    ดีกว่าฝึกไปแบบอเมริกันลูกทุ่ง
    สิบยี่สิบปี นำผลที่ได้มาใช้งานจริง
    ไม่ได้ซักอย่าง เสียเวลาเฉยๆ
    กับวิธีการที่ไม่ได้ทั้งสมาธิสะสม
    ไม่ได้หนุนการสร้างสติทางธรรม

    แบบบทความที่ขุดขึ้นมานี้
    ยกเว้น จะ ชรา อายุมากแล้ว
    ต้องการเอาแค่ความสงบบ้างหาอะไรทำ
    แก้เหงา แก้การไม่มีอะไรทำไปวันๆ
    ได้อยู่ครับ


    ปล. อ่านแล้วนอกจากจะไม่มีเทคนิค
    ทางปฎิบัติอะไรเลย ไม่ส่งเสริมความก้าวหน้าทางกำลังสมาธิ
    และการสร้างกำลังสติอะไรเลย
    เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ

     
  13. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    แล้วแต่นะครับ
     
  14. ผ่านมาเฉยๆ

    ผ่านมาเฉยๆ ไรเซ็นมันพูดว่าอะไรหว่า

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    965
    ค่าพลัง:
    +1,225
    ขึ้นอยู่กับความชำนิชำนาญและการฝึกฝนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...