เทคนิค วิธีกางเต็นท์ สำหรับมือใหม่

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ihappiness, 6 พฤศจิกายน 2012.

  1. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    เทคนิค วิธีกางเต็นท์ สำหรับมือใหม่

    ที่มา

    http://www.saphipae.com/webboard/index_saphipea.php

    การกางเต็นท์โดมโดยดูจากรูปภาพ

    อันดับแรก เคลียร์พื้นที่ ห้ามมีเศษกิ่งไม้ ก้อนหิน หรือของแข็งอยู่ใต้เต็นท์ เพราะมันจะแทงพื้นเต็นท์ ทำให้พื้นเต็นท์ชำรุดได้ง่ายและน้ำซึมเข้าเวลาฝนตก

    คำเตือน อย่ารองพื้นเต็นท์โดยแผ่นรองพื้น (Ground sheet) ที่ท่านคิดว่ากลัวเต็นท์จะสกปรก อันนี้ไม่ควรทำนะครับ โดยเฉพาะหน้าฝน เน้น หน้าฝน เพราะว่าแผ่นรองพื้นมีคุณสมบัติกันน้ำ เหมือนฟรายชีท ทำให้แผ่นรองพื้นเก็บกักน้ำเป็นอย่างดี เมื่อกางเต็นท์บนแผ่นรองพื้นเสมือนเรากางเต็นท์บนน้ำนั้นเอง ทำให้น้ำซึมเข้าเต็นท์ได้ง่ายขึ้น กว่าการกางเต็นท์บนพื้นหญ้าหรือพื้นดิน ที่น้ำสามารถซึมหายไปยังพื้นดินได้ทันที ทีนี้เราก็ไม่ต้องนอนแช่น้ำแล้วและไม่พื้นไม่เย็นมากเกินไป ถ้าจะรองก็ให้รองภายในเต็นท์จะดีกว่าเพื่อการป้องกันอีกชั้นหนึ่ง และเพื่อความแห้งสบายเวลานอน

    สำหรับหน้าร้อนหรือฝนไม่ตก สามารถที่จะรองพื้นเต็นท์ด้วยผ้ารองพื้น (Ground sheet) ได้เลย

    สำหรับหน้าหนาว ทำเช่นเดียวกันหน้าร้อนหรือฝนไม่ตก แต่ต้องพับเก็บแผ่นรองพื้นเต็นท์ที่โผล่ออกมากจากตัวเต็นท์ทั้งสี่ด้านไม่ให้โผล่ออกมา ก็เพราะว่า หน้าหนาวละอองหมอกที่ตกลงมาเกิดการสะสมหรือรวมตัวกันทำให้เกิดเป็นหยดน้ำสะสมที่แผ่นรองพื้นเต็นท์จะทำให้พื้นเต็นท์แฉะจะเหมือนกรณีในหน้าฝนครับ

    อีกอย่างหนึ่งเวลากางไม่ควรที่จะลากเต็นท์เพราะพื้นเสมือนเป็นกระดาษทรายดีๆ นั้นเอง ซึ่งทำให้พื้นเต็นท์ชำรุดได้ง่ายขึ้น ควรช่วยกันยกเต็นท์จะดีกว่า การยกควรเอาสิ่งของที่หนักออกจากเต็นท์เสมออาจจะทำให้เต็นท์ขาดได้ง่าย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.4 KB
      เปิดดู:
      266
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  2. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    อันดับสอง ต่อเสาเต็นท์ ทั้งสองเส้น แล้วเสียบแบบทะแยง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.7 KB
      เปิดดู:
      197
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  3. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    อันดับสาม ดันเสาเต็นท์ขึ้นแล้วเสียบกับตัวเสียบที่ติดมาพร้อมกับมุมทั้ง 4 ของเต็นท์ ทีละข้าง และทีละเส้น (เมื่อกางเต็นท์คนเดียว) หรือทำพร้อมกันทั้งสองข้างพร้อมกัน (กางเต็นท์ 2 คน) ซึ่งจะเป็นเต็นท์โดมทันที
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      21.3 KB
      เปิดดู:
      151
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  4. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    อันดับสี่ ตรงยอดเต็นท์จะมีเชือกหรือตัวเกี่ยว นำไปผูกหรือเกี่ยวกับเสาเต็นท์ที่ตัดกันตรงยอดเต็นท์ เพื่อให้เต็นท์ตึงและนำตัวเกี่ยวที่เหลือตรงเหลี่ยมเต็นท์เกี่ยวยึดกับเสาเต็นท์ให้หมดเพื่อให้เต็นท์แข็งแรงขึ้น เป็นอันเสร็จในการกางเต็นท์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.6 KB
      เปิดดู:
      179
  5. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    อันดับห้า ฟรายชีทหรือหลังคาเต็นท์ นำเสาฟรายชีทที่มาพร้อมกับเสาเต็นท์ (เสาสั้น) นำมาต่อกันแล้วนำไปเสียบในช่องที่เย็บติดกับฟรายชีท(ดังรูป) ทั้งสองเส้นแล้วนำเชือกที่เย็บติดกับฟรายชีทตรงกึ่งกลางผูกติดกับเสาฟรายชีทตรงที่ตัดกัน ตรงตะเข็บฟรายชีท(ตามแนวเสาฟรายชีท) จะมีตีนตุ๊กแกหรือเมจิกเทปอยู่ให้แกะออกแล้วนำไปยึดติดกับเสาฟรายชีท เพื่อยึดเสากับฟรายชีทเป็นชิ้นเดียวกัน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      19.4 KB
      เปิดดู:
      148
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  6. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    อันดับหก นำชุดฟรายชีทไปค่อม หรือปิดหลังคาเต็นท์โดยเอาปลายเสาฟรายชีทไว้ตรงกับประตูเต็นท์ ทำการยึดด้วยตัวเกี่ยวที่ติดมากับมุมทั้ง 4 ของฟรายชีท ยึดเข้ากับมุมทั้ง 4 ของตัวเต็นท์ซึ่งจะมีห่วงเหล็กหรือพลาสติกติดมากับมุมทั้ง 4 ของตัวเต็นท์ แล้วยึดเมจิกเทปหรือตีนตุ๊กแกตรงมุมตะเข็บของฟรายชีทเข้ากับตัวเต็นท์ เพื่อให้ฟรายชีทมั่นคง แข็งแรงขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.2 KB
      เปิดดู:
      82
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  7. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    อันดับเจ็ด นำสมอไปยึดกับมุมทั้ง 4 ของตัวเต็นท์เพื่อกันลมกระโชกและเพื่อให้เต็นท์มั่นคงและอยู่ตัว แล้วนำเชือกไปผูกกับปลายฟรายชีทตรงกลางระหว่างเต็นท์ด้านหน้าต่าง และตรงตะเข็บด้านนอกดึงให้ตึงยึดด้วยสมอบก เพื่อไม่ให้ฟรายชีทติดกับตัวเต็นท์และให้มีช่องว่างให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น

    วิธีนี้จะใช้กับฤดูฝนหรือฝนตก ส่วนฤดูร้อนกับหนาวจะทำหรือไม่ทำแบบนี้ก็ได้

    เป็นอันเสร็จสิ้นสมบูรณ์สำหรับการกางเต็นท์โดมทุกแบบทุกยี่ห้อครับ บางแบบ บางยี่ห้ออาจมีอุปกรณ์ไม่ครบ ก็ต้องประยุกต์ใช้กันหน่อยนะครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูล พี่แมว บ้านหลังใหญ่ TKT
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      17.7 KB
      เปิดดู:
      64
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  8. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    เทคนิค วิธีการหุงข้าว สำหรับมือใหม่

    ที่มา

    http://www.saphipae.com/webboard/index_saphipea.php


    หม้อสนามไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นอุปกรณ์ยังชีพชนิดหนึ่งที่มีการใช้งานกันในหมู่ทหาร นั่นก็คือที่มาของคำว่าหม้อสนามนั่นเอง ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานสำหรับการเดินป่าในบ้านเรา เพราะขืน แบกไปแบบทหารมีหวังตายก่อนจะขึ้นถึงยอดเขา

    .......สำหรับนักเดินทางหน้าใหม่ หม้อสนามเป็นรูปทรงรี สูงประมาณ 5 นิ้ว ส่วนใหญ่ปัจจุบันจะฉาบภายนอกเป็นสีเขียว เพื่อความขลังว่างั้นเถอะ เพราะการฉาบสีภายนอกนั้นสามารถที่จะฉาบเป็นสีอะไรก็ได้ทั้งนั้น จะมีขีดสำหรับบอกตำแหน่งสำหรับใส่ข้าวและตำแหน่งสำหรับใส่น้ำให้เสร็จสรรพ สำหรับคนที่พอมีประสบการณ์อยู่บ้างก็อาจจะเติมข้าวเติมน้ำให้มากกว่าที่เค้ากำหนดไว้ก็ได้ เพื่อจะได้ปริมาณข้าวที่สุกแล้วมากขึ้น จะได้ไม่ต้องหุงหลายหม้อ เรียกได้ว่ามันอำนวยความสะดวกให้กับเราได้ไม่แพ้หม้อหุงข้าวไฟฟ้า จะต่างกันเพียงว่าหม้อหุงข้าวไฟฟ้าต้องใช้ไฟฟ้าตามสาย แต่หม้อหุงข้าวสนามต้องใช้ไฟในธรรมชาติจากกองฟืน ส่วนพวกไฟอารมณ์เอาเก็บไว้ใช้ยามจำเป็น เมื่อข้าวดิบหรือข้าวแฉะ แล้วกัน

    ......สิ่งที่ควรระวังจากการหุงข้าวด้วยหม้อสนามก็คือ ด้วยความที่รูปทรงของหม้อสนามเป็นรูปทรงสูง และเราต้องใช้กองไฟ โอกาสที่ข้าวจะไหม้บริเวณก้นนั้นมีอยู่มากทีเดียว เนื่องจากเป็นบริเวณที่ถูกไฟกระทบมากที่สุด ฉะนั้นเราก็ต้องใช้ความระมัดระวัง เมื่อถึงเวลาช่วงหนึ่งที่เหมาะสม (มันคงไม่สะดวกขนาดเสียบปลั๊กแล้วเดินหนีไปไหนก็ได้เหมือนหม้อหุงข้าวไฟฟ้า) ช่วงแรกคงปล่อยทิ้งได้ แต่พอน้ำเริ่มจะแห้งคงต้องให้ความสำคัญกับมันมากขึ้น วิธีสังเกตง่าย ๆ ครับ หากน้ำเริ่มล้นจากหม้อแสดงว่ามันเริ่มเดือดสุด ๆ แล้วอีกไม่นานน้ำก็จะหยุดไหล และเมื่อเราใช้ไม้เคาะดูที่ตัวหม้อ ถ้าเสียงมันแน่น ๆ นั่นแสดงว่าข้าวแตกตัวเต็มที่และเริ่มที่จะแห้งแล้ว ควรจะยกลงมาวางข้างล่างใกล้กองไฟแทน เพื่อให้ความแรงจากกองไฟกระทบ ด้านข้างของหม้อสนาม ความร้อนจะได้กระจายไปทั่วมากขึ้น ไม่ใช่ถูกเฉพาะบริเวณก้นหม้อ ซึ่งจะทำให้ข้าวไหม้ และก็อย่าลืมกลับข้างไปมาด้วยนะครับ

    จะรู้อย่างไรว่าข้าวสุกแล้ว....ถ้ายังไม่มีตาทิพย์ ก็ต้องชิมล่ะครับ ยังไงก็ระวังความร้อนหน่อยนะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      12.5 KB
      เปิดดู:
      81
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2012
  9. ihappiness

    ihappiness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +920
    ขอนำเสนอวิธีการหุงข้าวหม้อสนามหรือหม้ออื่นๆ ก็ได้ ขอให้มีฝาปิดสนิทแนบแน่นเป็นพอ

    มาเริ่มที่อัตราส่วนระหว่างข้าวสาร กับน้ำกันก่อน บางสูตรก็ใช้ฝาหม้อสนามตวง บ้างก็กะน้ำหนักของข้าวสาร กับปริมาตรของหม้อ แต่สูตรนี้ใช้ตวงเอาเลยคับ ข้าว 2 ส่วน/ น้ำ 3 ส่วน ถ้าข้าวเก่าก็เพิ่มน้ำอีกนิดหน่อย (พึงสังวรณ์ไว้ว่าข้าวแฉะดีกว่าดิบเน่อ) ความจุหม้อสนามเท่าที่เคยหุง สามารถจุข้าวสารได้ถึง 1 กก. (ถ้าข้าวขึ้นหม้อก็จะล้นฝาขึ้นมาบ้างพองาม) ถ้าแบบพอดีๆ ก็ 7-8 ขีด (กินได้ประมาณ 5-6 คน แบบอัตราเผาผลาญปกติ) พอใส่น้ำแล้วที่นี่อย่าลืมคนข้าวซะก่อน อย่าให้ข้าวอัดกันที่ก้นหม้อนะจะหาว่าไม่เตือน

    เสร็จแล้วก็ปิดฝาให้สนิท แล้วเอาขึ้นตั้งไฟโลด ถ้าหุงฟืนก็ง่ายหน่อย (อาจยากก็อีตอนก่อไฟซะมากกว่า) ไฟแรงๆ ข้าวจะเดือดและสุกพอเหมะกับที่ไฟเริ่มมอด ก็เป็นการดงข้าวพอดี แต่ถ้าหุงเตาแก๊ส ก็ต้องนั่งเฝ้า ตั้งไฟแรงพอเดือดก็หรี่ไฟลงหน่อย ซักพักพอรู้สึกว่าน้ำเริ่มแห้ง (เสียงน้ำเดือดปุดๆ จะจางลง) ลองเคาะ ๆ ดูก็ได้ว่าเสียงมันจะแน่นๆ ก็หรี่ไฟให้อ่อนๆ แล้วดงข้าวได้เลย ต้องจับตะแคงซ้าย-ขวาด้วย (ระวังฝาหลุดนะ) ถ้าไม่มั่นใจว่าข้าวสุกรึยังก็เปิดชิมดูได้

    ทีนี่ลองมาหุงข้าวต้มดูบ้าง เหมือนจะง่ายนะ แต่สำคัญที่อัตราส่วนอีกเหมือนกัน ลองตวงข้าว 1 ส่วน/ น้ำ 8 ส่วน แล้วหุงเหมือนข้าวสวยเลย แต่ต้องคอยเฝ้า และคนเป็นระยะ พอข้าวเดือดและพองตัวก็หรี่ไฟลงนิด ต้มต่อไปอีกหน่อยให้ยางข้าวข้นขึ้น เสร็จแล้วได้ข้าวต้มร้อนๆ หอมๆ ไปซดกันเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpg
      image.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.6 KB
      เปิดดู:
      251
  10. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,309
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,002
    อันนี้ก็ดูได้ครับ

     

แชร์หน้านี้

Loading...