เทคนิค เมื่อลมหายใจ หาย...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปราบเทวดา, 30 เมษายน 2017.

  1. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เกร็ดธรรม

    หลวงปู่พุธ ฐานิโย

    วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

    .........................................................

    ผู้ที่กล่าวว่า ภาวนาพุทโธ หรือ บริกรรมภาวนา
    จิตสงบลงไปได้เพียงแค่ สมถะกรรมฐานเท่านั้น จึงเป็นการเข้าใจผิด
    ขอทำความเข้าใจกับนักภาวนาทั้งหลายไว้อย่างนี้

    อ่ะอึ๊มๆ ทีนี้ เมื่อ บริกรรมภาวนาแล้ว จิตไม่ลงไปถึงอัปนาสมาธิ
    เราจะทำอย่างไร ?

    (อ่านต่อตอนต่อไป)

    ......................................
    (ต่อจากตอนที่แล้ว)


    ในตอนนี้ สิ่งที่จะปรากฎขึ้นในความรู้สึก อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

    ก็คือความรู้สึกว่ามีกาย นอกจากความรู้สึกว่ามีกายจะปรากฎขึ้นแล้ว

    ลมหายใจก็ปรากฎขึ้นมา

    ถ้า กายปรากฎขึ้นมาให้เพ่งดูกาย เรียกว่า กายคตาสติ

    ถ้าลมหายใจปรากฎขึ้นในความรู้สึก ให้กำหนดรู้ลมหายใจ

    แล้วจิตของผู้ภาวนายึดเอาอารมณ์สองอย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง

    ตามที่ปรากฎขึ้นในจิต ของผู้ปฏิบัติ

    แล้วจิตตามรู้ในอารมณ์ดังที่กล่าวนั้น

    เช่น อย่าง กายปรากฎก็ยึดเอากายคตาสติ

    กำหนดดูส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย

    หรือ จะกำหนด ดูผม ขนเล็บ ฟันหนังเนื้อเอ็น กระดูก

    ไปจนครบอาการ 32 ก็ได้

    แล้วจะเป็นอุบายทำจิตให้สงบลงไปถึง สมถะกรรมฐาน

    คือ อัปนาสมาธิ

    อ่ะอื๊มๆทีนี้ ถ้าหากว่า ไม่ทำอย่างนั้น

    ลมหายใจปรากฎขึ้นในความรู้สึก

    ก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเข้าออก

    ตามรู้ลมหายใจ ไป จนกว่า ลมหายใจจะละเอียด

    แต่ถ้าลมหายใจละเอียด แล้ว ลมหายใจหายไป

    จิตจะสงบเข้าไปสู่ อัปนาสมาธิ

    แล้วปราศจากความรู้สึกนึกคิด

    มีแต่จิตนิ่ง อยู่เฉยๆ อันนี้จิตเข้าไปสู่สมถะ

    จิตอยู่ในจิต รู้อยู่เฉพาะ ในจิตอย่างเดียว

    สิ่งที่เรียกว่า ความรู้ย่อมไม่ปรากฎขึ้น


    เพราะในขั้นนี้

    ความรู้สึกว่ามีกายก็ไม่มี

    ความรู้สึกว่ามีลมหายใจก็ไม่มี

    เจตนาที่จะน้อมนึกถึงอะไรในขณะนั้นไม่มีทั้งสิ้น

    เป็นสภาวะจิตที่ไร้สมรรถภาพโดยประการทั้งปวง

    อย่างดีก็เพียงแค่ ทรงตัวอยู่ในความสงบนิ่ง

    ถ้าผู้ภาวนามาติดอยู่ในช่วงนี้

    จิตของท่านจะติดอยู่ในอัปนาสมาธิ

    ถ้าหากมี สมรรถภาพ พอที่จะก้าวหน้าไปหน่อยก็

    อย่างดีก็ไปเดินแบบฌานสมาบัติ

    ไป อากาสานัญญายตนะ

    วิญญานัญจายตนะ

    อากิจจัญญายตนะ

    เนวะสัญญานาสัญญายตนะ

    ไปเดินสาย ศาสนาพรามหณ์ไป

    แต่พุทธ กับพราหมณ์ก็อาศัยกัน

    ถ้าใครสามารถทำได้ก็ดีเหมือนกัน

    อย่าไปปฏิเสธว่าไม่ดี แต่เมื่อทำได้แล้วอย่าไปติด

    เพราะ

    การเล่นฌานนี่ ทำให้เกิด อิทธิฤทธิ์ต่างๆ

    อ่ะอึ๊มๆ

    ถ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ทำให้ติด ถ้าไปติดสมาธิในขั้นฌานแล้ว

    ภูมิจิตภูมิใจจะไม่เกิดความรู้ หรือไม่เดินขั้น วิปัสนา
    อันนี้คือทางแวะ อ่ะอื๊มๆ


    ทีนี้ ถ้าหากว่า

    จิต ในเมื่อ ดูลมหายใจละเอียด ยิ่งลงไปทุกทีทุกที

    ตามหลัก ปริยัติ ท่านเตือนไว้อย่างหนึ่ง ว่า

    เมื่อลมหายใจทำท่าจะหายขาดไป ให้นึกว่า ลมหายใจยังมีอยู่

    ถ้ากายจะหายไป ท่านให้นึกว่ากายยังมีอยู่

    ทั้งนี้ก็เพื่ออะไร เพื่อให้จิตของเรานั้นไม่ปราศจากสิ่งที่รู้

    ในเมื่อจิตเข้าไปสู่ อัปนาสมาธิอย่างไม่มีอะไร

    มีแต่ความรู้สึกภายในจิตเป็นหนึ่งอย่างเดียวจิตไม่มีเครื่องรู้

    ในเมื่อจิตไม่มีเครื่องรู้ จิตจะไม่มีฐานที่ตั้ง

    ในเมื่อจิตไม่มีฐานที่ตั้งก็ขาด มหาสติปัฏฐาน

    เพราะ
    มหาสติปัฏฐานเท่านั้น

    จะเป็นฐานสร้างพื้นฐานของจิตให้มีความมั่นคง

    ในการปฏิบัติสมาธิภาวนา

    ทีนี้
    เมื่อจิตเข้าไปอยู่ในจิตอย่างเดียว กายก็ไม่มีลมหายใจก็ไม่มี

    มันก็เลยไม่มีที่ตั้ง จิตไม่มีที่ตั้งไม่มีที่ระลึกไม่มีเครื่องรู้

    สมรรถภาพทางจิต แม้จะนิ่งได้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

    เพราะฉะนั้น

    ท่านจึงให้นึกว่า กายจะหายไปก็นึกว่ากายมีอยู่ให้จิตมารู้อยู่ที่กาย

    กายเป็นเครื่องรู้ของจิตเป็นเครื่องระลึกของสติ

    ในเมื่อจิตมีกายเป็นเครื่องรู้ สติมีกายเป็นเครื่องระลึก

    ระลึกอยู่อย่างนั้น เป็นฐานที่ตั้งของสติ

    เมื่อจิต มีความรู้ซึ้งเห็นจริง ในเรื่องของกายขึ้นมาเมื่อไร

    เมื่อนั้น มหาสติปัฏฐาน ก็เกิดขึ้น เรียกว่า มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์

    อันนี้เป็นแนวทางที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้สอนมา
    (อ่านต่อตอนต่อไป)


    อ่านต่อที่นี่ http://palungjit.org/threads/การทำสมาธิแบบพระอาจารย์เสาร์-หลวงปู่พุธ-ฐานิโย.334258/
     
  2. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,265
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ :
    อ่านว่า
    เสฏะ ฐัน ทะโท เสฏะ ฐัม เปติ ฐานัง


    แปลว่า
    ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2020

แชร์หน้านี้

Loading...