"เทพบุตร " ฉายาผู้มีเสียงก้องกังวาล ที่มาคำว่า "โฆษก"

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 19 มกราคม 2010.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    "โฆสกเทพบุตร"


    ความปรากฏในชาดก กล่าวถึง



    สุนัขตัวนั้นเมื่อตายแล้วจึงไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    มีเสียงอันก้องกังวาลเพราะอานิสงส์ที่เห่าพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยใจเลื่อมใส
    ได้นามว่า “โฆสกเทพบุตร”
    แต่อยู่ในเทวโลกได้ไม่นานก็จุติมาเกิดเป็นมนุษย์อีก





    สมัยหนึ่ง แคว้นอัลลกัปปะเกิดขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ชายผู้หนึ่งชื่อ โกตุหลิก (โกตุ หะ ลิก) เห็นว่าไม่อาจครองชีพโดยผาสุกในแคว้นนั้นได้จึงพาภรรยาชื่อกาลีและบุตรน้อยคนหนึ่ง มุ่งหน้าไปเมืองโกสัมพีมีเสบียงอาหารติดมือเพียงเล็กน้อย เดินทางด้วยเท้าอยู่หลายวันเสบียงที่ติดตัวหมดลง ระยะทางก็ยังอีกไกลสองสามีภรรยาผลัดเปลี่ยนกันอุ้มลูกน้อยได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัสโกตุหลิกผู้สามีจึงขอให้ทิ้งบุตรเสีย อ้างว่าเมื่อเขาทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ย่อมสามารถมีบุตรได้อีกแต่กาลีผู้เป็นภรรยาไม่ยอมให้ทำเช่นนั้น


    ในคราวที่มารดาเป็นผู้อุ้มเธอจะประคองบุตรอย่างทะนุถนอมเสมือนประคองพวกดอกไม้ฝ่ายสามีเมื่อถึงคราวอุ้มก็อุ้มไปอย่านั้นเอง พอทราบว่าลูกหลับจึงออกอุบายให้ภรรยาเดินนำหน้าไปก่อน ตนเองเข้าไปใกล้พุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วทิ้งลูกไว้ที่พุ่มไม้นั้นแล้วเดินตามภรรยาไป
    นางกาลีเหลียวหลังกลับมาไม่เห็นลูกถามทราบความแล้วนางก็คร่ำครวญขอร้องให้สามีกลับไปนำลูกมา แต่ปรากฎว่าบุตรของเขาสิ้นใจในขณะที่เขากำลังอุ้มกลับมานั่นเอง

    นายโคบาลผู้อารี
    สองสามีภรรยาเดินทางต่อไปจนมาถึงบ้านนายโคบาลวันนั้นที่บ้านนายโคบาลมีงานมงคล และที่เรือนของนายโคบาลนั้นมีพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งมาฉันอาหารอยู่เป็นประจำ

    วันนั้นนายโคบาลได้จัดแจงข้าวปายาสไว้เป็นพิเศษสำหรับถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าและเพื่องานมงคลขณะนั้นเขาเห็นสองสามีภรรยาเดินมามีร่างกายซูบผอม อิดโรยถามดูทราบความแล้วก็เกิดเมตตา จึงเลี้ยงดูด้วยข้าวปายาส (เข้าที่ปรุงด้วยน้ำนมสด)เป็นอันมาก

    เนื่องจากอดอาหารมาถึง ๗-๘ วัน นายโกตุหลิกจึงบริโภคมากจนเกิดประมาณฝ่ายนายโคบาลเมื่อเลี้ยงดูสองสามีภรรยาเสร็จแล้ว จึงเริ่มบริโภคเองบ้างโกตุหลิกนั่งดูเห็นเขาเอาข้าวปายาสให้นางสุนัขนอนอยู่ใต้ตั่ง คิดอยู่ในใจว่านางสุนัขตัวนี้ มีบุญจริงหนอได้กินอาหารอย่างดีอย่างนี้ทุกวันๆ
    คืนนั้นเองอาหารจำนวนมากที่นายโกตุหลิกกินเข้าไปไม่อาจจะย่อยได้ เขาถึงแก่ความตายในคืนนั้นและบังเกิดในท้องนางสุนัขนั่นเอง

    บุญญานุภาพ
    ฝ่ายภรรยาของเขาทำศพสามีแล้วขอทำงานรับจ้างอยู่ในบ้านของนายโคบาลเมื่อได้ข้าวสารเป็นค่าจ้างก็หุงถวายพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วอธิษฐานว่าขอบุญกุศลนี้จงสำเร็จแก่ทาสของท่านผู้ล่วงลับคือนายโกตุหลิกด้วยเถิด

    นางคิดว่าควรอยู่บ้านนายโคบาลต่อไปเพราะได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกวันแม้ไม่มีไทยธรรมถวายก็ยังมีโอกาสได้ขวนขวายในบุญกุศลได้ไหว้ได้ทำจิตให้เลื่อมใสเพียงเท่านี้ ก็คงประสบบุญเป็นอันมาก

    ต่อมาอีก ๗ เดือนสุนัขตัวนั้นออกลูกเป็นสุนัขผู้ตัวหนึ่ง นายโคบาลเลี้ยงมันด้วยนมโคลูกสุนัขโตวันโตคืนอย่างรวดเร็วเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ามาฉันที่บ้านนายโคบาลมั่นมักให้ข้าวปายาสแก่มันก้อนหนึ่งเสมอมันจึงรักพระปัจเจกพุทธเจ้ามาก

    ส่วนนายโคบาลโดยปกติจะไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าวนละ ๒ ครั้ง ลูกสุนัขตัวนั้นตามไปด้วยเสมอ
    วันใดนายโคบาลไม่มีโอกาส เขาก็จะส่งสุนัขตัวนั้นไปนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยคำพูดสั้นๆว่า จงไปนำพระปัจเจกพุทธเจ้ามา

    สุนัขรีบวิ่งไปยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อถึงบรรณศาลาก็เห่าขึ้น ๓ ครั้ง เป็นสัญญาว่ามารับพระปัจเจกพุทธเจ้าขณะที่นำพระปัจเจกพุทธเจ้าไปนั้น จะออกหน้าและเก่าไปพลางมีบางครั้งที่พระปัจเจกพุทธเจ้าต้องการจะลองใจมัน แกล้งเดินไปทางอื่นสุนัขตัวนี้จะเอาปากงับชายจีวรของท่านแล้วนำท่านไปในทางที่จะไปบ้านของนายโคบาล

    ด้วยความสัมพันธ์อันมีอยู่อย่างนี้เป็นเวลานานๆ สุนัขจึงมีความรักในพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก ต่อมาพระปัจเจกพุทธเจ้าบอกลานายโคบาล เพื่อจะไปทำจีวรใหม่ที่ภูเขาคันธมาทน์เพราะจีวรที่ใช้อยู่เก่ามากแล้ว

    สุนัขแสนรู้ฟังพระปัจเจกพุทธเจ้าและนายโคบาลคุยกันอยู่มันเข้าใจเรื่องราวโดยตลอด เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าลานายโคบาลเหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์นั้น สุนัขยืนมองอยู่ด้วยความรักและอาลัยยิ่ง พอพระปัจเจกพุทธเจ้าลับสายตาหัวใจมันก็แตกสลายถึงแก่ความตาย

    เพราะเป็นสัตว์ที่มีความเห็นตรงไม่คดในข้องอในกระดูกและประกอบด้วยความเลื่อมใสในพระปัจเจกพุทธเจ้าสุนัขตัวนั้นเมื่อตายแล้วจึงไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีเสียงอันก้องกังวาลเพราะอานิสงส์ที่เห่าพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยใจเลื่อมใส ได้นามว่า “โฆสกเทพบุตร” แต่อยู่ในเทวโลกได้ไม่นานก็จุติมาเกิดเป็นมนุษย์อีก


    สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม
    โฆสกเทพบุตรเมื่อจุติแล้วมาปฏิสนธิในท้องของหญิงโสเภณีในกรุงโกสัมพีเมื่อหญิงนันทราบว่าลูกของตนเป็นชายก็ให้คนรับใช้เอาใส่กระสอบไปทิ้งที่กองขยะ

    กาและสุนัขมาห้อมล้อมเด็กแต่เข้าใกล้ไม่ได้จึงเป็นเสมือนมาช่วยอารักขาคุ้มครองนี่เป็นเพราะผลบุญที่ทำไว้ในสมัยเป็นสุนัขที่เห่าหอนพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วยความรักแสดงให้เห็นว่า ความดีหรือความชั่วที่บุคคลทำไว้ ไม่เคยสูญย่อมหาโอกาสให้ผลตามกาลอันสมควร

    ในขณะที่กาและสุนัขยืนห้อมล้อมอยู่นั้นมีบุคคลผู้หนึ่งเดินผ่านมาเข้าไปดู เห็นเด็กจึงเกิดความรักเพียงดังบุตร นึกว่าเราได้ลูกแล้วนำไปเรือนเลี้ยงอยู่ลูกของตน

    ในเวลาใกล้เคียงกันนั้นเศรษฐีใหญ่เมืองโกสัมพีไปเฝ้าพระราชาพบกับปุโรหิตในระหว่างทางจึงถามด้วยความคุ้นเคยวา วันนี้มีเหตุการณ์พิเศษอะไรบ้าง? ปุโรหิตเงยหน้าขึ้นมองทอ้งฟ้าแล้วตอบว่าเด็กที่เกิดในวันนี้ต่อไปจะเป็นเศรษฐีใหญ่ในเมืองโกสัมพี

    เวลานั้นภรรยาของเศรษฐีใหญ่กำลังมีครรภ์แก่จวนคลอดเศรษฐีรีบไปเฟ้าพระราชาแล้วรีบกลับ เห็นว่าภรรยาของตนยังไม่คลอดจึงมอบเงินจำนวนหนึ่งพันบาทให้หญิงคนใช้ชื่อ กาลี ไปสืบดูว่าเด็กคนใดเกิดวันนี้บ้าง ให้ขอซื้อมา เขาคิดว่าถ้าเด็กคนนั้นต่างเพศกับบุตรของตนก็จะให้แต่งงานกันถ้าเพศเดียวกันก็จะฆ่าเสีย

    นางกาลีพบเด็กคนนั้นในเมืองแห่งหนึ่งจึงขอซื้อมาด้วยเงินหนึ่งพันบาท ต่อมาอีกไม่กี่วันภรรยาของเศรษฐีก็คลอดลูกเป็นชายเพศเดียวกันกับเด็กที่ซื้อมา

    เศรษฐีจึงวางแผนฆ่าเด็กคนนั้นทันทีเพราะเกรงเด็กคนนั้นจะแย่งตำแหน่งเศรษฐีไปจากบุตรของตน

    ครั้งหนึ่งในคราวที่เด็กยังเยาว์วัยเศรษฐีให้นางกาลีนำไปทิ้งไว้ที่ป่าช้าด้วยหลังว่าสุนัขหรืออมนุษย์คงทำร้ายเด็กถึงตายแน่ที่ป่าช้านั้นแม่แพะตัวหนึ่งเที่ยวกินใบไม้ เข้าไปใกล้พุ่มไม้นั้นเห็นเด็กน้อยแล้วมีความเอ็นดูจึงคุกเข่าลงให้เด็กดื่มนม

    เมื่อคนเลี้ยงแพะร้องไล่เห เหแม่แพะก็หาเคลื่อนไหวไม่ คนเลี้ยงแพะจึงเดินเข้าไปใกล้คิดว่าจะตีเสียให้สมดื้อ แต่แล้วเขาต้องวางไม้ เมื่อเห็นภาพอันน่าประทับใจยิ่งนักคือเห็นแม่แพะกำลังคุกเข่าให้เด็กดื่มนมอยู่ เขามองดูด้วยความชื่นชมพลางเปรยว่าเจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉานยังรู้จักถนอมชีวิตของผู้อื่นแต่บุคคลผู้ทำให้ชีวิตนั้นเกิดขึ้นแล้ว หารับผิดชอบถนอมชีวิตไม่ช่างน่าละอายเจ้าเหลือเกิน

    คนเลี้ยงแพะนำเด็กนั้นไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรมเศรษฐีทราบเรื่องให้นางกาลีไปซื้อกลับมาอีก
    แต่เมื่อสบโอกาสก็ให้นางกาลีนำไปทิ้งอีกคือให้นำไปทิ้งไว้ที่หน้าคอกโคบ้าง ทางเกวียนบ้าง โยนเหวบ้าง แต่เด็กก็รอดชีวิตและเศรษฐีต้องจ่ายเงินซื้อกลับคืนมาเสียทุกครั้ง

    เมื่อเศรษฐีพยายามฆ่าอยู่เช่นนี้เด็กก็เจริญเติบโตตามลำดับปรากฎนามว่า โฆสกะ
    และในคราวที่โฆสกเจริญวัยสามารถวิ่งไปมาได้นั่นแหละเศรษฐีให้โฆสกะถือจดหมายไปหาช่างหม้อผู้เป็นเพื่อนตน ข้อความในจดหมายว่าเด็กคนนี้เป็นลูกเลว เมื่อมาถึงแล้วจงสับให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วโยนลงไปในเตาเผา เราจะให้ค่าจ้างแก่ท่านหนึ่งพัน เมื่องานเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมีรางวัลพิเศษอีก

    โฆสกะ อ่านหนังสือไม่ออก นำจดหมายฆ่าตัวเองไปพอดีขณะนั้นบุตรแท้ๆ ของเศรษฐีกำลังเล่นขลุบ (ลูกคลี) อยู่ใกล้ๆ บ้านกับเพื่อนๆกำลังแพ้มาก เห็นโฆสกะเดินผ่านจึงเรียกให้ช่วยเล่นแก้มือเอาเงินคืนตนเองรับอาสาจะไปส่งจดหมายพ่อให้เอง

    ช่างหม้อไม่เคยเห็นบุตรเศรษฐีเมื่อได้รับจดหมายก็ทำตามคำสั่งสับจนละเอียดแล้วโยนลงเตาเผาตกเย็นโฆสกะกลับเข้าไปในบ้านเศรษฐีเห็นจึงถาม ทราบเรื่องตกใจมากคร่ำครวญว่า อย่าฆ่าลูกฉัน อย่าฆ่าลูกข้าแล้ววิ่งร้องไห้ไปยังบ้านช่างหม้อแต่สายเสียแล้ว

    ช่างหม้อเห็นดังนั้นจึงกล่าวกับเศรษฐีว่าท่านเศรษฐีอย่าเอะอะไปงานของท่านเรียบร้อยแล้ว

    เศรษฐีนั้นเศร้าโศกเป็นทุกข์ยิ่งนักแต่นั้นมาก็ยิ่งเกลียดชังโฆสกะมากขึ้นในคราวที่โฆสกะเป็นหนุ่มเศรษฐีเขียนจดหมายถึงผู้จัดการผลประโยชน์ในชนบทว่าเด็กหนุ่มคนนี้เป็นบุตรเลว ขอให้ท่านจับฆ่าแล้วทิ้งเสียในถังส้วมแล้วมอบจดหมายให้โฆสกะถือไป

    ในระหว่างทางโฆสกะได้แวะบ้านของสุมงคลเศรษฐี เพื่อนของพ่อเพื่อรับเสบียงเดินทาง สุมงคลเศรษฐีมีธิดาสาวสวยคนหนึ่ง นามว่า สุมนาขณะที่มารดาของเธอกำลังต้อนรับโฆสกะอยู่นั้น เธอได้ใช้หญิงคนใช้ไปตลาดเมื่อมารดาของเธอเห็นเข้าก็เรียกให้มาปูที่หลับนอนให้โฆสกะ

    เมื่อหญิงคนใช้กลับมาช้าลูกสาวเศรษฐีจึงถามพอทราบว่าโฆสกะมาพักที่บ้าน เพียงเพราะได้ยินคำว่าโฆสกะเท่านั้นความรักก็แล่นเขาจับใจของนาง ความจริงธิดาเศรษฐีนั้นหาใช่ใครที่ไหนไม่ เธอคือนางกีลภรรยาของนายโกตุหลิกนั่นเอง (นายโกตุหลิก ก็คือนายโฆสกะนั่นเอง)เมื่อนายโกตุหลิกตายแล้ว นางได้พยายามทำความดีแม้จะยากจน แต่ไม่จนใจพยายามเอาแรงกายเข้าช่วยเหลือนายโคบาลในเรื่องบุญกุศลอยู่เสมอเมื่อสิ้นชีพจึงไปบังเกิดในสวรรค์แล้วจุติมาบังเกิดในตระกูลเศรษฐีเพราะกุศลวิบากที่นางได้ทำในสมัยที่เป็นนางกาลี

    ธิดาเศรษฐีแปลงสาสน์
    เมื่อปลอดคนธิดาเศรษฐีลงไปชั้นล่าง เห็นโฆสกะนอนหลับอยู่มีจดหมายติดชายพกด้วยความอยากรู้อยากเห็นและด้วยความรักทำให้เธอดึงจดหมายออกจากชายพกของโฆสกะนำไปอ่านที่ห้องทราบเรื่องโดยตลอดเธอจึงฉีกจดหมายนั้นทิ้งแล้วเขียนจดหมายขึ้นใหม่ความว่า“โฆสกะนี้เป็นบุตรคนโตของเราเราประสงค์จะให้แต่งงานกับบุตรีของสุมงคลเศรษฐีสหายของเราเมื่อหลาน(ผู้จัดการผลประโยชน์) ได้รับจดหมายแล้วให้รีบจัดการทำให้ดีแล้วส่งข่าวให้เราทราบ”

    เมื่อเขียนจดหมายเสร็จแล้วก็ใส่ไว้ที่ชายพกของโฆสกะดังเดิมผู้จัดการผลประโยชน์ของเศรษฐีได้ทำทุกอย่างตามจดหมายที่เขาได้รับจากมือของโฆสกะแล้วส่งข่าวไปให้เศรษฐีทราบ
    เศรษฐีพอได้ทราบข่าวก็เกิดความโศกเศร้าอย่างใหญ่หลวงรำพันว่าเราต้องการทำสิ่งใดแก่โฆสกะ สิ่งนั้นหาเป็นไม่เราไม่ต้องการให้สิ่งใดเกิดขึ้นแก่โฆสกะกลับกลายเป็นสิ่งที่ดีไปสิ้น

    นี่แหละบุคคลผู้อันบุญกุศลคุ้มครองแล้ว ย่อมไม่ประสบภัยพิบัติ ไม่ว่าใครจะคิดร้ายสักปานใดส่วนผู้ที่ไม่มีบุญกุศลคุ้มครอง แต่มีเวรานุเวรติดตามย่อมประสบอันตรายเอง

    ความโศกถึงบุตรที่ตายไป ๑ ความแค้นที่ทำอันตรายใดๆแก่โฆสกะไม่ได้ ๑ มีผลกระทบกระเทือนต่อร่างกายและจิตใจมาก เศรษฐีนั้นจึงล้มป่วยลงและเมื่อเศรษฐีสิ้นชีวิตพระเจ้าอุเทนราชาแห่งโกสัมพีจึงพระราชทานตำแหน่งเศรษฐีแก่โฆสกะแทนที่บิดา

    โฆสกะนั้นยืนบนรถทำการเฉลิมฉลองให้เอกเกริกตลอดนครโกสัมพีฝ่ายนางสุมนาผู้ภรรยายืนมองดูสามีอยู่ที่หน้าต่างเห็นสามีมาพร้อมด้วยเกียรติยศอันยิ่งใหย่ จึงพูดกับนางกาลี (หญิงคนใช้ที่นำโฆสกะไปทิ้งหลายครั้ง) ว่า“ดูเถิดกาลีโฆสกะได้สมบัติเพราะเราแท้ๆ”

    เมื่อนางกาลีสงสัยเรียนถามนางจึงเล่าให้ฟังตั้งแต่โฆสกะนำจดหมายฆ่าตัวติดชายพกไป....
    นางกาลีจึงเล่าเรื่องเบื้องต้นของโฆสกะให้นางสุมนาฟังเหมือนกัน ขณะที่โฆสกะกลับมานั้นสุมนาระลึกอยู่ว่า โฆสกะได้สมบัติก็เพราะตนโดยแท้ จึงหัวเราะขึ้นโฆสกะเห็นภรรยาหัวเราะเหมือนมีเลศนัย จึงถามทราบเรื่องแล้ว แต่ไม่ปลงใจเชื่อจึงถามนางกาลีดู นางกาลียืนยันและเล่าเรื่องตั้งแต่ต้นให้ฟังโฆสกะจึงเชื่อและได้ความสลดใจปลงสังเวชว่า “กรรมของเราหนักแท้ จึงมีเวรติดตามมาเราพ้นจากความตายเห็นปานนี้คงเพราะบุญช่วยคุ้มครองรักษา เราจะประมาทไม่ได้แล้วต้องรีบขวนขวายทำบุญกุศล”

    ตั้งแต่นั้นมา โฆสกะได้สละทรัพย์วันละพันเพื่อทำอาหารเครื่องอุปโภคแจกจ่ายแก่คนกำพร้า คนยากจนและคนทุพพลภาพ

    เรื่องของโฆสกะที่นำมาเล่านี้ เพื่อชี้ให้เห็นว่ากรรมมิได้สูญหายไปเมื่อบุคคลตายแล้ว แต่จะติดตามให้ผลอยู่ตลอดเวลาส่วนชั่วทำให้ตกต่ำลำบาก ส่วนดีช่วยคุ้มครองรักษา ผู้ที่กุศลคุ้มครองแล้วย่อมตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้

    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : โฆสกกุมาร
    <O:p</O:p
     
  2. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    คำว่า โฆษก

    มีที่มาจากรากศัพท์ โฆษะ
    ซึ่งแปลว่า เสียงดังเสียงกึกก้อง
    ส่วน ก มาจาก ณ ปัจจัยในกิริยากิตถ์
    แสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคล
    ดังนั้น โฆษะ +ก จึงหมายความว่า
    ผู้ที่ทำเสียงดังและเสียงกึกก้อง โดยทำหน้าที่พูดเพียงอย่างเดียว

    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : กิวิพีเดีย สารานุกรมเสรี




    <!-- google_ad_section_end -->
     
  3. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    อนุโมทนาด้วยนะครับ ท่าน
    ผมเคยอ่านมานานแล้วเรื่องนี้ สนุกมากเลยนะครับ
     
  4. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    บุญกุศลที่ลูกสุนัข ได้กระทำกับพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ชั่งมากเหลือเกิน ขออนุโมทนาด้วยนะครับ
     
  5. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,661
    ค่าพลัง:
    +9,236
    "นี่แหละบุคคลผู้อันบุญกุศลคุ้มครองแล้ว ย่อมไม่ประสบภัยพิบัติ ไม่ว่าใครจะคิดร้ายสักปานใดส่วนผู้ที่ไม่มีบุญกุศลคุ้มครอง แต่มีเวรานุเวรติดตามย่อมประสบอันตรายเอง"

    ขออนุโมทนาค่ะ


     

แชร์หน้านี้

Loading...