เน้นปัญญาจะได้สติ-สมาธิ-ด้วย ถ้าเน้นสติ-สมาธิ- ปัญญาจะมาจากไหนครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ใครบรรลุธรรม, 24 ตุลาคม 2018.

  1. ใครบรรลุธรรม

    ใครบรรลุธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +268
    ท่านนักปฏิบัติธรรม ทั้งหลายว่าจริงไหมครับ..ชวนสนทนาธรรมครับ
     
  2. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    อยู่ที่การคบหาสัปบุษเป็นอันดับแรกครับ
    ทีนี้ถ้าเจอของจริง ต่อไปก็จะขึ้นอยู่กับตัวเราเองแล้วครับ แบบไหนได้หมด
     
  3. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ปัญญาที่มาจากสัญญา จำเอาได้ระลึกเอาได้
    รู้ความหมายของคำ ของประโยค ของ
    ภาษา เช่น สติคืออะไร สมาธิคือไร
    ปัญญาคือไร เหล่านี้เป็นปัญญาระดับสัญญาบ้าง
    ระดับสัญชาตญาณบ้างฮับ

    ส่วนปัญญาที่จะทำลายกิเลสตัณหา
    อุปปาทานนั้น เป็นปัญญาที่
    พัฒนาเนื่องด้วยสมาธิและฌาน
    เรียกว่าวิปัสสนาปัญญาที่จะรู้แจ้ง
    ในความจริงของขันธ์5
    คือต้นเหตุของทุกข์ทั้งปวงรวมถึง
    วิธิการดับเชื้อการเกิดภพ เกิดชาติ
    คือการดับกิเลสอาวะให้หมดจดสิ้นเชิง
    ซึ่งไม่อาจทำได้ด้วยปัญญาที่มา
    ตำราฮับ
    สุตตะ จินตะอาศัยเพื่อสร้างศรัทธา
    และความมั่นใจในคำสั่งสอน
    เป็นปัญญาไพรมารี่ที่จำเป็นสำหรับผู้
    ศึกษาพระพุทธศาสนาเพื่อต้องการ
    นิพพานจำเป็นครับจำเป็น
    แต่ 2ปัญญาเบื้องต้นนี้พารู้แจ้ง
    จนพ้นการเกิดอีกยัง
    ไม่ได้ฮับ
    ฉะนั้น ต้องเดินแนวทางเจริญสติ
    สมาธิ(40 วิธี) ฌาน วิปัสสนาปัญญา
    เพื่อเข้าถึงปัญญารู้แจ้ง
    แทงตลอดในพระอริยสัจจ์เท่านั้น
    จึงจะแจ้งนิพพานได้
     
  4. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,805
    ค่าพลัง:
    +7,940
    กิมัตถิยสูตร
    [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก
    เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
    ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ศีลที่เป็นกุศลมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ
    ว่า ดูกรอานนท์ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อวิปปฏิสารมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ อวิปปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปราโมทย์มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ปราโมทย์มีปีติเป็นผล มีปีติเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปีติมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัสสัทธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สุขมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูตญาณทัสสนะเป็น
    อานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ยถาภูตญาณทัสสนะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ ยถาภูตญาณทัสสนะมีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็น
    อานิสงส์ ฯ
    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นิพพิทาวิราคะมีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นอานิสงส์ ฯ
    พ. ดูกรอานนท์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็น
    อานิสงส์ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล มีอวิปปฏิสารเป็นผล มีอวิปปฏิสารเป็นอานิสงส์ อวิป
    ปฏิสารมีปราโมทย์เป็นผล มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์ ความปราโมทย์มีปีติเป็นผล มี
    ปีติเป็นอานิสงส์ ปีติมีปัสสัทธิเป็นผล มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์ ปัสสัทธิมีสุขเป็นผล มีสุขเป็น
    อานิสงส์ สุขมีสมาธิเป็นผล มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิมียถาภูตญาณทัสสนะเป็นผล มียถาภูต
    ญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ยถาภูตญาณทัสสนะ มีนิพพิทาวิราคะเป็นผล มีนิพพิทาวิราคะเป็น
    อานิสงส์ นิพพิทาวิราคะมีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นผล มีวิมุตติญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ ด้วย
    ประการดังนี้ ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อมถึงอรหัตโดยลำดับด้วยประการดังนี้แล ฯ
    จบสูตรที่ ๑


    พุทธวจน ตึง ตึง ตึง ตึ่ง ตึ่ง ตึ่ง ตึ๊งตึ๊งตึ๊งตึ๊ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2018
  5. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,805
    ค่าพลัง:
    +7,940
    อนิจจสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ

    ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ
    ย่อมสมควร โดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งซึ่ง อนิจจสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.

    หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ เหล่าไหนเล่า ? หกประการคือ : -
    สังขารทั้งปวง จักปรากฏโดยความเป็นของตั้งอยู่อย่างไม่มั่นคง ๑ ;
    ใจของเรา จักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑ ;
    ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง ๑ ;
    ใจของเรา จักเป็นใจน้อมไปในนิพพาน๑ ;
    สังโยชน์ทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการละขาด ๑ ; และ
    เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญคุณอันยอดเยี่ยม ๑.

    ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่านี้แล
    ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนิจจสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.

    - ฉกฺก. อํ. ช ๒๒/๔๙๒/๓๗๓.


    ทุกขสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ

    ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ
    ย่อมสมควร โดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง ทุกขสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.

    หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการไหนเล่า? หกประการคือ :-
    นิพพิทาสัญญา ในสังขารทั้งปวง จักปรากฏ เหมือนมีเพชฌฆาตเงื้อดาบอยู่ต่อหน้าเรา ๑ ;
    ใจของเรา จักออกจากโลกทั้งปวง ๑ ;
    เราจักเป็นผู้เห็นสันติ (ความสงบระงับ) ในนิพพานอยู่เป็นประจำ ๑ ;
    อนุสัยทั้งหลายของเรา จักถึงซึ่งการถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น ๑ ;
    เราจักเป็นผู้กระทำกิจ (ในการทำที่สุดทุกข์) อยู่เป็นประจำ ๑ ; และ
    พระศาสดาจักเป็นผู้ที่เราบำเรอแล้ว ด้วยวัตรอันประกอบด้วยเมตตา ๑ .

    ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ เหล่านี้แล
    ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งทุกขสัญญา ในสังขารทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.

    - ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๙๒/๓๗๔.


    อนัตตสัญญาเป็นไปโดยสะดวก เมื่อผู้เจริญมุ่งอานิสงส์หกประการ

    ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการ
    ย่อมสมควร โดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง อนัตตสัญญา ในธรรมทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.

    หวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่าไหนเล่า ? หกประการคือ :-
    เราจักเป็นอตัมมโย ในโลกทั้งปวง ๑ ;
    อหังการ ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ ๑ ;
    มมังการ ทั้งหลายของเราจักเข้าถึงการดับ ๑ ;
    เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ (ความรู้อันไม่ทั่วไปแก่ปุถุชน) ๑ ;
    ธรรมอันเป็นเหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นแล้วด้วยดี ๑ ; และ
    ธรรมทั้งหลายอันเกิดแต่เหตุ จักเป็นสิ่งที่เราเห็นด้วยดี ๑.

    ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุหวังอยู่ซึ่งอานิสงส์ ๖ ประการเหล่านี้แล
    ย่อมสมควรโดยแท้ เพื่อจะเข้าไปตั้งไว้ซึ่งอนัตตสัญญา ในธรรมทั้งปวงอย่างไม่จำกัดขอบเขต.
     
  6. เทวินตพรหม

    เทวินตพรหม พรหมวิหาร4มรรคมีองค์แปด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,002
    ในวันออกพรรษานี้ ขอนำมงคลสูตร 36 ประการ
    มาแปะไว้นะครับ สาธุในธรรมขอรับ

    มงคลสูตร ...

    เอวัมเม สุตัง ( อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาอย่างนี้ )
    เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ( สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า )

    สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน, อนาถะปิณฑิกะ อาราเม
    ( ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี )

    อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา ( ครั้งนั้นแล เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง )
    อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา
    ( ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งยิ่งนัก )
    เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา ( ยังเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่าง )
    เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
    ( พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น )
    อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา
    ( ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว )
    เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ( ได้ยืนอยู่ในที่สมควรแห่งหนึ่ง )

    เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา ( ครั้นเทวดานั้น ได้ยืนในที่สมควรแห่งหนึ่งแล้ว แล )
    ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ ( ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า )
    พะหู เทวา มะนุสสา จะ ( หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก )
    มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง ( ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย )
    พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ( ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด )


    อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
    ( พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑ การคบคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ )
    ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การบูชาชนที่ควรบูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
    ( การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ การเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ )
    อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
    ( การเป็นผู้ฟังมาก ๑ ศิลปะ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ )
    สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
    ( การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรและภรรยา ๑ )
    อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การงานทั้งหลายที่ไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
    ( การให้ ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ )
    อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การกระทำทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
    ( การงดเว้นจากบาป ๑ การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ )
    อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
    ( การเคารพ ๑ การไม่จองหอง ๑ การยินดีในของที่มีอยู่ ๑ การเป็นคนกตัญญู๑ )
    กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การฟังธรรมตามกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
    ( ความอดทน ๑ การเป็นคนว่าง่าย ๑ การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ )
    กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
    ( ความเพียรเผากิเลส ๑ การประพฤติอย่างพรหม ๑ การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ )
    นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
    ( จิตของผู้ใด อันโลกธรรมถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว )
    อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
    ( ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )


    เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
    ( เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง)
    สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
    ( ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เหล่านั้น แล ฯ )
     
  7. เทวินตพรหม

    เทวินตพรหม พรหมวิหาร4มรรคมีองค์แปด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,002
    ผมแบ่งปันกันนะครับ สาธุอนุโมทนาครับ

    สติ สมาธิ ปัญญาหลวงปู่ชา สุภัทโท


    สมมุติ กับ วิมุตติ
    “วิปัสสนา” นั้น มันจะรู้ถึง ไม่ใช่ไม่รู้ถึง ที่เรารู้กันทุกวันนี้มันรู้ไม่ถึง มันถึงเหลืออยู่ รู้ให้ถึง อันนี้เรารู้กันไม่ถึง อย่างกระโถนใบนี้ หรือถ้วยใบนี้ เรารู้กันทุกคน หรือ “ดอกไม้” อันนั้นรู้กันทุกคน ถ้าหากมีคนหนึ่งมาแกล้งพูดว่า อันนี้ “ผลไม้” เราก็จะไม่พอใจนะนี่ เพราะว่ามันเป็น “ดอกไม้” คนอื่นมาแจ้งว่าอันนี้”ผลไม้” ก็จะโต้เถียงกันนะอันนี้ โต้เถียงกัน คนที่เข้าใจว่าดอกไม้ก็ดี คนที่เข้าใจว่าผลไม้ก็ดี…เหมือนกัน คนสองคนนี้รู้ไม่ถึงจึงเถียงกัน ถ้ารู้ถึง “ดอกไม้” รู้ถึง “ผลไม้” คนทั้งสองมันจะไม่เถียงกัน ไม่เถียงยังไง? ถ้าเรารู้ว่าอันนี้มันดอกไม้ ถ้ารู้ถึงมันนะ ใครจะมาว่าอันนี้ผลไม้ เราก็สบาย หรือมีคนอื่นมาว่าใบไม้เราก็สบายมีคนหนึ่งพูดว่าดอกไม้…เราก็สบาย เพราะเรารู้ถึงมันทุกอย่าง

    “ดอกไม้” นี้มันเกิดมาจากความสมมุติ คนสมมุติมาครั้งแรกสมมุติว่าชนิดนี้เป็นดอกไม้ แล้วก็ถือกันมาเรื่อยๆมา ใครจะมาว่าผลไม้ไม่ได้ ต้องทะเลาะกัน ถ้าคนแรกเขาสมมุติว่าดอกไม้นี้เป็นผลไม้ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ชนิดนี้เขาเรียกว่าผลไม้ ไม่ใช่ดอกไม้ เราก็จะเรียกผลไม้เป็นดอกไม้ตลอดจนเดี๋ยวนี้ อันนี้ดอกไม้มันก็ไม่ใช่ ผลไม้มันก็ไม่ใช่ มันจะเป็นดอกไม้เพราะเราสมมุติขึ้นเดี๋ยวนี้ ถ้าสมมุติดอกไม้มันเป็นดอกไม้ ถ้าคนอื่นมาสมมุติว่าเป็นผลไม้ก็เป็นขึ้นเดี๋ยวนี้ อันนี้เราสมมุติในปัจจุบันเรียกว่าดอกไม้ คนอื่นเขาเรียกว่าผลไม้มันก็ขัดแย้งกับเรา คนหนึ่งว่าดอกไม้ คนหนึ่งว่าผลไม้ มันก็ทะเลาะกัน ทะเลาะกันเพราะคนสองคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมัน ถ้ารู้ตามความเป็นจริงว่าดอกไม้ผลไม้นี้เป็นของสมมุติขึ้นมา เป็นของสมมุติขึ้นมาเท่านั้น ถ้ารู้ถึงที่สุดแล้วดอกไม้นี้แหละผลไม้นี้มันไม่เป็นอะไร คนที่สมมุติว่าเป็นดอกไม้มันก็เพิ่งเป็นขึ้นเดี๋ยวนี้แหละ แต่ตัวดอกไม้มันก็ไม่เป็นอะไรอีกแหละ มันเป็นเพราะคนสมมุติขึ้นมา ถ้าเรารู้จักเช่นนี้ ใครจะว่าผลไม้เราก็สบาย เพราะเรารู้วัตถุอันนี้ถึงที่ของมัน รู้ใบไม้ถึงใบไม้รู้ผลไม้ถึงผลไม้ ใครเขาว่าผลไม้เราก็สบาย เขาจะบอกว่าอะไรเราก็สบาย เขาจะว่าดอกมันก็สบาย ทำไมมันถึงสบาย เพราะรู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว อันนี้เราติด “สมมุติ” ติด “อุปาทาน” ยึดมั่นถือมั่นตั้งแต่ไหนแต่ไรมา

    เอาซิ…ดอกไม้อันนี้ ถ้ามีคนหนึ่งเขาพูดว่าผลไม้ ก็มัวแต่เถียงกันตลอดเวลา จนจะลงเอาเงินเอาทองกันเสียด้วยนะ ความเป็นจริงนั้นน่ะ อันนี้มันไม่เป็นอะไร มันถูกสมมุติขึ้นมา เป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไรมันก็ไม่รู้เรื่อง มันเป็นภาพอันหนึ่งต่างหาก ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงมันแล้ว ใครจะว่าดอกไม้มันก็เหมือนกับผลไม้เรียกว่าผลไม้ก็เหมือนดอกไม้ เพราะรู้ถึงที่สุดของมัน เหตุมันก็ไม่เกิดขึ้นมา ถ้าเรารู้จักกันทุกคนเช่นนี้ ถ้าเป็น “สมมุติ” มันก็ขัดกัน ถ้าพูดถึง “วิมุตติ” นั้นมันไม่เป็นอะไร มันตรงเป็นอันเดียวกัน เอโกธัมโม เป็นอันเดียวกันเท่านั้น ไม่แย้งกันละ พระอริยบุคคลเจ้าทั้งหลายนั้นน่ะ อยู่สักพันองค์ก็ช่างเถอะ พูดขึ้นคำเดียวองค์เดียวก็รู้จักกันหมด ไม่ต้องแก่งแย่งกัน ไม่ต้องเถียงกัน ไม่ต้องขัดข้องอะไรกันแล้ว ท่านรู้จัก เหมือนเรียกดอกไม้ท่านก็รู้จักกันตามความเป็นจริงของมัน จะมาเรียกเป็นผลไม้ท่านก็รู้จักตามความเป็นจริงของมันแล้ว ใครจะมาเรียกใบไม้ท่านก็รู้จักตามความเป็นจริงของมันแล้ว ไม่ต่อล้อต่อเถียงกับใครแล้ว มันลงกันอย่างนี้ มันพ้นจากอันนี้ไปแล้ว

    อันนี้มันเป็นเรื่องสมมุติกัน ถ้าเรารู้อย่างนี้กันทุกคน เราก็พยายามให้เข้าใจกันอย่างนี้ มันถึงจะเห็น มันถึงจะถูกต้อง อย่างตาของเรานี้นะ…ตา เขาสมมุติว่าอันนี้เรียกว่าตา ก็เรียกตากันมาตลอดเวลา ทุกวันนี้ใครจะมาเรียกตาว่าเป็นหูมันก็ทะเลาะกันแล้วอันตัวได้ยินนี้ เพราะฉันยึดมั่นถือมั่นว่าอันนี้เป็นตานะ ท่านจะมาเรียกว่าหูหรือจะมาเรียกว่าจมูกนี่บ้าๆบอๆ มันก็ต้องเถียงกันละ ความเป็นจริงนั้น ถ้าคนเดิมเขาสมมุติว่าหูนี้เป็นตาเสีย ก็จะเรียกหูเป็นตามาจนทุกวันนี้ ก็ไม่มีใครขัดกันแล้ว

    เรียกตาเป็นหูเสียก็ไม่มีใครขัดกันแล้ว อันนี้มันเกิดจากสมมุติเท่านั้นแหละ ถ้าพ้น “สมมุติ” แล้ว มันก็เป็น “วิมุตติ” ก็ลงรอยอันเดียวกันเท่านั้นแหละ ไม่มีปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาหรอกเท่านี้แหละ มันเป็นอุปาทาน มันก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าตาจริงๆแหละ หูจริงๆ จมูกจริงๆ ถ้าไปถามจมูกมันจะรู้ว่ามันเป็นจมูกไหม? ไปถามตาดูซิ…ว่ามันจะเป็นตาไหม? ไปถามหูดูซิ…ว่ามันเป็นหูไหม? เราก็เป็นบ้าเรียกกันเท่านั้นแหละ ก็ทะเลาะกันเท่านั้นแหละ ทีนี้ถ้าเข้าใจอย่างนี้ มันก็สงบแหละ เขาจะเรียกอะไรฉันก็สบายใจ
     
  8. ไม่ใช่ตัวตน

    ไม่ใช่ตัวตน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2018
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +175
     
  9. เทวินตพรหม

    เทวินตพรหม พรหมวิหาร4มรรคมีองค์แปด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    649
    ค่าพลัง:
    +1,002
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,428
    ค่าพลัง:
    +35,035
    ส่วนตัวเห็นต่างเลยตั้งแต่เริ่มต้นครับ
    และมีข้อฝากพิจารณาดังนี้

    ๑.ควรเริ่มต้นที่การสร้างสติทางธรรม
    ให้เกิดขึ้นก่อนครับ เพราะมันจะเป็นเครื่องมือที่คอยควบคุมความคิดและพฤติกรรม
    ของจิตในเบื้องต้น ให้จิตค่อยๆละ ค่อยๆคลาย จากความคิดและความคิดผุดแบบไม่ตั้งใจ(ขันธ์ ๕ ส่วนนามธรรม)
    และ

    ๒.สมาธิ กับ ปัญญา ควรหาสมดุลย์
    ตรงนี้ให้เจอตามแต่วาระแห่งตนเองครับ
    ไม่งั้น เราจะไม่สามารถเข้าไปถึง
    ต้นตอแห่งการเกิดและดับได้จริง
    เราจะติดอยู่ช่วงใดช่วงหนึ่ง
    จะเห็นและรู้ในกระบวนการที่มันเกิดแล้ว
    ซึ่งไม่ว่าเน้นสมาธิหรือเน้นปัญญา
    ก็จะติดเหมือนกัน แต่เห็นคนแบะแบบ
    แต่เข้าใจว่ามันเป็นที่สุด


    เหตุที่จะไปถึงผลที่กล่าว
    เริ่มต้นเพียงเพราะว่า... ใช้ตัวเลข
    1 และ 2 นะครับ

    1.ถ้าขาดสติทางธรรม ปัญญาที่เราได้
    จะยังเป็นสมมุติบัญญัติอยู่ครับ
    ไม่ว่าคุณจะเก่งระดับโลก
    แต่มันก็เป็นสมมุติ ไม่ใช่สภาวะครับ
    (สมมุติคือ ยังอยู่ภายใต้
    การคิด วิเคราะห์ แยกแยะ
    ตีความ ซึ่งทั่วไปเหมาะสำหรับการเรียน
    หรือประกอบอาชีพ) เพราะเราจะยัง
    ไม่เข้าใจกิริยาที่จิตเป็นกลางจริงๆ
    มันจะทำให้เราเขาใจว่า สมมุติพวกนั้น
    เป็นสติและปัญญาแล้วเผลอไปพิจารณามัน
    ซึ่งมันจะเป็นวิปัสสนึกได้อย่างไม่รู้ตัวครับ

    และที่สำคัญก็คือ เราจะคิดว่า ๑.จิตกับ ๒.ผู้ดู
    เป็นตัวเดียวกัน และเข้าใจว่า ๓.ผู้รู้(ตัววิญญาณที่ส่งออกจากจิตสร้างให้เห็นกระบวนการต่างๆ) เป็นผู้รอบรู้ในกองสังขาร
    หรือกระบวนการปรุงแต่งหรือเข้าใจว่า
    รู้เหตุเกิดดับ ทั้งที่มันยังเป็น
    กระบวนการปรุงแต่งอย่างหนึ่งอยู่ครับ
    ข้อดีคือ เน้นปัญญาจะเห็น ๓.ชัดเจน(ผู้รู้)
    แต่ไม่เห็น ๑.คือจิต และ ๒.ผู้ดู เพราะ
    กรณีเน้นปัญญา ๑.กับ ๒. มันยังรวม
    กันอยู่ ครับ


    2.ถ้าเน้นสมาธิเลย แต่ไม่สร้างสติทางธรรมก่อน เราจะเข้าถึงผลสำเร็จของสมาธิที่สามารถใช้งานได้ยาก เพราะสติทางธรรม
    มันเป็นเครื่องมือที่จะทำให้เราเข้าใจ
    กิริยาทางด้านนามธรรมต่างๆ ที่จะเจอ
    ระหว่างครับ (จะมัวแต่สงสัย อยากรู้
    ยึดติด หาคำตอบ ยึดจนเป็นอัตตาตัวตน)
    แต่ว่า จะสามารถ มองเห็นตัว ๑.หรือจิต
    และรู้ว่ามีตัว ๒.ผู้ดู(ซึ่งตัวนี้เอง
    ที่ทำให้เห็นจิตได้) แต่จะไม่เห็น ตัว ๓.คือ ผู้รู้
    เหมือนท่านที่เน้น ปัญญา และจะเข้าใจว่า
    ตัว ๑.หรือจิตเป็นผู้รู้. เพราะกรณีเน้นสมาธิ
    ตัว ๑.หรือจิต กับ ๓.หรือผู้ดู มันจะรวมเป็น
    ตัวเดียวกันอยู่ครับ


    เคร่าๆ มี ๑.จิต ๒.ผู้ดู และ ๓.ผู้รู้
    (ตัวที่ส่งออกจากจิต ให้เราเห็นกระบวนการต่างๆนาๆ แต่ไม่ใช่ตัวรู้ในกองสังขารนะครับ) ยกตัวอย่าง ๓. ให้พอเข้าใจ
    เช่น คุณเห็นภาพ ผี คุณเรียกถูก รู้จัก
    ไม่สนใจ หรือสนใจ ได้ยิน รู้ว่าต้องทำอะไร
    พวกนี้ ยังเป็นกระบวนการปรุงแต่งอยู่
    แต่ถ้า รู้กองสังขาร คุณจะต้องทราบเลย
    ว่าสามารถเห็นภาพนั้นเพราะอะไร เกิดจากอะไรทำไมถึงเห็น และดับได้อย่างไร
    (เปรียบกับเรื่องอารมย์ได้)

    สมดุลย์ระว่างสมาธิและปัญญา
    ส่วนนี้ต้องหาด้วยตนเอง
    ดังนั้นเน้นด้านไหน ก็เห็นไม่ครบ
    กระบวนการ ดังนั้นจึง
    ไม่สามารถชี้ได้ว่า ด้านไหนดีกว่า
    ด้อยกว่ากันได้เลยครับ

    ส่วนสมาธิที่แท้จริง
    มันต้องเป็นสมาธิที่เกิดขึ้น
    เองตามธรรมชาติครับ

    ไม่ใช่มาจาก ความชำนาญในการเข้า
    หรือการใช้กำลังไปข่มมัน
    หรือจากอำนาจตบะอะไร
    ซึ่งธรรมชาติตรงนี้ มันก็ต้องอาศัย
    ด้านปัญญาเข้ามาหนุนเช่นกัน

    มันถึงจะมีพัฒนาการขึ้นได้เองเรื่อยๆ
    ของมันตามแต่เนื้อหาที่จิตดวงนั้นๆ
    เคยสะสมมาครับ

    ปล ฝากไว้พิจารณาสำหรับ
    เรื่องสมดุลย์ ระหว่างสมาธิและปัญญา
    ตรงนี้ครับ. แค่เพียงแต่เล่าให้ฟัง
     
  11. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    สติ สมาธิ ปัญญา
    มาจากการเลงมือภาวนาต่อยอดของเก่า
    ฮับ ไม่ใช่ต่อยอดด้วยสัญญา
    จำมาได้จากครูบาอาจารย์ หรือคำภีร์
    เก่าดั้งเดิม หรือคำภีร์แต่งเรียบเรียง
    ขึ้นใหม่ๆ สดสดฮับ
     
  12. ใครบรรลุธรรม

    ใครบรรลุธรรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ตุลาคม 2018
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +268
    มรรคมีองค์8..ก็ยังขึ้นต้นด้วย ปัญญา ก่อน..
    สมาธิหลังสุด..
    ..ปัญญา ศิล สมาธิ..(สัมมาทิฏฐิ-สัมมาสังปัปปะ..ฯล)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2018
  13. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    เป็นเรื่องไม่น่าถกเถียงเป็นปัญญาของ
    ผู้วางระบบ
    เกินปัญญาของผู้เดินตามฮับ
     
  14. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,264
    ค่าพลัง:
    +5,219
    ผมไม่รู้ว่าปัญญา กับสติ อะไรเกิดก่อนเกิดหลัง

    บางครั้งเกิดปัญญาแล้วก็ได้สติ บางครั้ง มีสติก่อนแล้วจึงเกิดปัญญา

    หรือมันจะเป็น สติมาก่อนปัญญาเสมอ แต่ด้วยความละเอียดของการตรึกมีไม่มากพอทำให้ ผมเห็นว่าบางครั้ง ปัญญาเกิดก่อน สติจึงมากันแน่นะ อันนี้ผมก็สงสัยเหมือนกัน
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    เลื่อมใสในพระรัตนตรัย > ทาน > ศีล > ภาวนา> เพื่อเข้าถึงปัญญาแห่งการดับกิเลสเพื่อการหลุดพ้นการเวียนเกิด
     
  16. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    ไก่กับไข่
    อะไรมาก่อนยกมาปรียบกันได้ไหมฮับ
     
  17. คนไทบ้านๆ

    คนไทบ้านๆ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2018
    โพสต์:
    237
    ค่าพลัง:
    +267
    ไม่ใช่ขึ้นต้นด้วยปัญญาก่อนหรอกครับ
    ต้องขึ้นต้นด้วยมัชฌิมาปฏิปทามาก่อนทั้งนั้น
    นี่พูดถึงเมื่อจะเข้าสู่แนวทางการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจริงๆนะครับ
    แต่การสั่งสมสุตะ ยังไงก็ต้องมี อย่างน้อยก็ฟังๆมาก่อนแล้ว
    ไม่งั้นจะเริ่มไม่ถูกจริงไหม ท่านถึงให้เริ่มที่คบหาสัปบุรุษไงครับ
    คบหาสัปบุรุษ ฟังธรรมท่าน และกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย และ..ฯ ไปโดยลำดับครับ
    มีในพระสูตรด้วยเรื่องนี้ ถ้ากลัวมั่วลองหาดูได้ครับ
     
  18. zalievan

    zalievan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    3,264
    ค่าพลัง:
    +5,219
    ผมไม่รู้จะยกตัวอย่างในสถานการณ์ไหนมาเปรียบเทียบเหมือนกันครับ เพราะคิดไปคิดมาแล้วมันไม่ค่อยจะเข้าเค้า สถานการณ์ไหนก็ดูกำกวมไปหมดครับ ก็คงต้องรออ่านคอมเม้นต์จากท่านอื่นเอาล่ะมั้งครับ
     
  19. Sataniel

    Sataniel "วิชชาและวิมุติ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    1,490
    ค่าพลัง:
    +2,363
    สติและปัญญา มันของคู่กัน หากไม่มีสติ ก็หลุดพ้นไม่ได้ หากไม่มีปัญญาก็หลุดพ้นไม่ได้เช่นกัน

    ดังนั้นทั้งสติและปัญญา สติตังหากที่เกิดก่อนแต่จะเป็นสติ(ทางโลก)ที่คนอื่นเข้าใจกันว่า "เอะใจ" หรือจะเป็นสัมมาสติ ที่เป็นการ "รู้สภาวะและเนื้อสภาวะ" ก็ตามสติมาก่อนปัญญา และใช้ปัญญาสังเกตุพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ ส่วนบุคคลที่เข้าใจแล้วย่อมเป็น "ปัญญา" ก่อนสติได้ เพราะเคยทำได้มาแล้ว
     
  20. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,302
    ค่าพลัง:
    +12,628
    เฟ้นหาเทคนิคหรืออุบายที่จะทำให้เรามีสติสัมปชัญญะ"รู้กาย รู้ใจตนเอง" ได้บ่อยๆ
    ที่สุด
    จะดีกว่าไปนั่งวิเคราะห์เทคนิคฮับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...