เบญจขันธ์ พระธรรมเทศนาหลวงพ่อสดวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 25 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    21 ธันวาคม 2496
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    <TABLE style="WIDTH: 259px" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY><TR><TD style="VERTICAL-ALIGN: top">อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ
    เอเต ธมฺมา อนิจฺจาว
    สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ
    อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข</TD><TD style="VERTICAL-ALIGN: top">เอวํ หุตฺวา อภาวโต
    ตาวกาลิกตาทิโต
    ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
    เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา</TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ขันธ์ 5 นี้ ชั่วที่สุดน่ะเป็นอย่างไร มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดมีทั้งนั้น เป็นดวงให้เกิดทั้งนั้น ทำชั่วเกินส่วนเข้า ไม่มีดีเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัว 20 วา มีชั่วฝ่ายเดียว ดีไม่มีเจือปนเลย แตกกายทำลายขันธ์ไปเกิดในโลกันต์นั่นแน่ะ ถ้าว่าหย่อนกว่า นั้นขึ้นมาก็อเวจี หย่อนกว่านั้นขึ้นมาฝ่ายได้รับทุกข์เป็นลำดับขึ้นมา จนกระทั่งถึงอสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปถึงอรูปพรหมโน่น นั่นทำดีๆ ไม่มีชั่วเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว แตกกายทำลายขันธ์ไป นิพพานทีเดียว



     
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา เป็นอนุสนธิในการเทศนาเนื่องจากวันอาทิตย์โน้น เทศนาวันนี้จะแสดงในเบญจขันธ์ทั้ง 5 ของเราท่านทั้งหลาย หญิงชาย ทุกถ้วนหน้า เบญจขันธ์ทั้ง 5 นี้มีสภาพเกิดขึ้น ตั้งขึ้นอยู่ แตกแล้วดับไป ตำรับตำราได้กล่าวไว้ว่า อุปฺปาท แปลว่าความบังเกิดขึ้น ฐิติ แปลว่าตั้งอยู่ ภงฺค แปลว่าแตกสลายไป อุปฺปาท ฐิติ ภงฺค เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แตกสลายไป นี่เป็นใจความแท้ๆ ถ้าจะกลั่นลงไปให้แน่แท้ แล้วละก็ เกิดกับดับ 2 อย่างเท่านั้น เกิดดับๆๆๆ อยู่อย่างนี้แหละทุกถ้วนหน้า ไม่ว่ามนุษย์คนใด หญิงชายคนใด ท่านจึงได้ยืนยันเป็นตำรับตำราว่า อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เอวํ หุตฺวา อภาวโต เอเต ธมฺมา อนิจฺจาว ตาวกาลิกตาทิโต แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาว่า ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้น ดับไป เพราะความเป็นอย่างนั้นแล้วก็หาไม่ ที่ว่าเป็นของไม่เที่ยง เพราะมีความเป็นไปชั่วคราว เป็นต้น สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ เมื่อเห็นตามปัญญาว่าสังขารทั้งปวงไม่เที่ยงเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางบริสุทธิ์หรือเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ความทุกข์ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่สัตว์โลก ปุนปฺปุนํ ปีฬิตตฺตา อุปฺปาเทน วเยน จ เต ทุกฺขาว อนิจฺจา เย อถ สนฺตตฺตตาทิโต สภาพอันไม่เที่ยง ชื่อว่า เป็นทุกข์แท้ เพราะเป็นสภาพที่ถูกความเกิดขึ้นและเสื่อมไปบีบคั้นอยู่เนืองๆ อนึ่ง เพราะว่าสภาพนั้นมีความเร่าร้อนเป็นต้น ถึงได้เป็นทุกข์เหลือทน สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดเห็นตามปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางบริสุทธิ์ หรือเป็นหนทางหมดจดวิเศษ เป็นมรรคาบริสุทธิ์ วเส อวตฺตนาเยว อตฺตวิปกฺขภาวโต สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เต อนตฺตาติ ญายเร อัตภาพเหล่านั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว เพราะไม่เป็นไปตามอำนาจของตัว เป็นปฏิปักษ์แก่ตัวด้วย เป็นสภาพว่างเปล่าและเป็นสภาพไม่มีเจ้าของ อัตภาพนั้นน่ะคือร่างกายของเราหมดทุกคนนี้ไม่ใช่อื่น ที่ว่าอัตภาพนั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว ใครลองนับเป็น ตัวเข้า เดี๋ยวหายไปหมด ไม่มีใครรับว่าเป็นตัวหรอก รับว่าเป็นตัว เดี๋ยวก็หายไปหมด ไม่ใช่ตัวจริงๆ อย่างนี้เรียกว่าอัตภาพไม่ใช่ตัว รู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว อัตภาพนั้นรู้กันแล้วว่าไม่ใช่ตัว วเส อวตฺตนาเยว เพราะไม่เป็นไปในอำนาจของตัว อตฺตวิปกฺขภาวโต เป็นข้าศึกแก่ตัวด้วย สุญฺญตฺตสฺสามิกตฺตา จ เพราะเป็นสภาพว่างเปล่าและไม่มีเจ้าของด้วย ใครจะเป็นเจ้าของเล่า รับรองดูซิ รับรองไม่ได้ เป็นอย่างนี้ สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา เมื่อใดเห็นตามปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นหนทางหมดจดวิเศษ เป็นมรรคาอันบริสุทธิ์ นี่ประเด็น ของธรรมนี้ นี้แปลเนื้อความเป็นสยามภาษา ภิกษุสามเณรเล่าเรียนพระธรรมวินัย ไตรปิฎก แปลกันอย่างนี้นะ ถ้าเราไม่แปลกันอย่างนี้ เราแปลไม่ออกเลย นี่มันเป็นภาษาเล่าเรียนของเขา ถ้าภาษาเทศน์จะต้องรู้อีกอย่างหนึ่ง ภาษาเทศน์ต้องอรรถาธิบายออกไป ประเด็นที่ได้กล่าวมานี้เป็นเทศนาเนื่องกับวันวานนี้ แสดงเรื่องปัญจขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เราท่านทั้งหมดด้วยกันนี้ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ กันทั้งนั้น คำว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตัวตนเรานี้แหละ ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา นี้แหละ มีอยู่ 5 เท่านั้นแหละ รูป 1 นาม 4
    1. รูป 1 ก็คือมหาภูตรูป ทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประชุมเป็นร่างกายนี้ นี่เรียกว่ารูปขันธ์
    2. เวทนา ก็เวทนา ความรับอารมณ์ ความรู้อารมณ์ เวทนา แปลว่า ความรู้อารมณ์หรือรับอารมณ์ ทุกข์ สุข ไม่สุข ไม่ทุกข์ ดีใจ เสียใจ เรียกว่าเวทนา
    3. สัญญา ตาจำรูป จำเสียง จำกลิ่น จำรส จำสัมผัส ที่เราจำหมดทุกคน นี่แหละเรียกว่าสัญญา
    4. สังขาร ความคิดดี คิดชั่ว คิดไม่ดี คิดไม่ชั่ว
    5. วิญญาณ ความรู้แจ้งทางทวารทั้ง 6 รู้แจ้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 5 ประการนี้เรียกว่าเบญจขันธ์ เบญจขันธ์ทั้ง 5 นี้ เกิดกำเนิดของมันเกิดหลายประการ กำเนิดของมันเกิด 4 เบญจขันธ์ทั้ง 5 นี่ที่จะแสดงวันนี้ กำเนิดเกิดขึ้น 4
    1. เกิดเป็นอัณฑชะ เกิดเป็นฟองไข่ เกิดเป็นฟองไข่เสียครั้งหนึ่ง แล้วมาฟักเป็นตัวอีกครั้งหนึ่ง นี้เขาเรียกว่า เทฺวชาติ เกิด 2 ครั้ง หรือ ทฺวิชาติ ทฺวิชาติ แปลว่า เกิด 2 ครั้ง เกิดเป็นไข่เสียครั้งหนึ่ง เกิดเป็นตัวเสียครั้งหนึ่ง นี่เกิด 2 ครั้ง อย่างหนึ่งเรียกว่า ทฺวิชาติ
    2. สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล นี่เราไม่ค่อยเข้าใจเลยทีเดียว เรือด ไร เหา เล็น พวกนี้เกิดด้วยเหงื่อไคล เกิดด้วยเหงื่อไคลน่ะ ไม่ใช่แต่เรือด ไร เหา เล็น มนุษย์เราก็เกิดด้วยเหงื่อไคลได้เหมือนกัน ลูกของนางปทุมาวดีคลอดบุตรมาคนหนึ่งแล้ว ส่วนสัมภาวมลทินของครรภ์นั้น ที่ออกกับลูกนั่น ก็เป็นเลือดออกมาเท่าไรๆๆ ก็เป็นลูกทั้งนั้นถึง 499 คน เป็น 500 ทั้งออกมาคนแรก นั่นก็เรียกว่า สังเสทชะ เหมือนกัน เกิดด้วยมลทินของครรภ์นั้น เกิดได้อย่างนี้ เขาเรียกว่าเกิดด้วยเหงื่อไคล สังเสทชะ นี่อีกกำเนิดหนึ่ง
    3. ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ มนุษย์เกิดด้วยน้ำ สัตว์ต่างๆ ที่เกิดด้วยน้ำมีมาก
    4. อุปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด ลอยขึ้น บังเกิดเป็นมนุษย์ เกิดได้หรือ เกิดได้ มนุษย์เกิดได้ดีทีเดียว ลอยขึ้นบังเกิด ลอยขึ้นบังเกิดน่ะไม่มีพ่อมีแม่เหมือนนางอัมพปาลี เกิดที่ค่าคบมะม่วง โมคณสาทิกพราหมณ์ เกิดในดอกบัว ไม่ต้องอาศัยท้อง ลอยขึ้นบังเกิด เกิดขึ้นเป็นตัวเฉยๆ ขึ้นที่ค่าคบมะม่วงอายุ 14-15 ทีเดียว นางอัมพปาลี นั่นเขาเรียกว่าลอยขึ้นบังเกิด หรือไม่เช่นนั้น กายของเทวดาในชั้นจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี กายเทวดา กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นอุปปาติกะทั้งนั้น กายสัตว์นรก เป็นอุปปาติกะทั้งนั้น เปรตเป็นอุปปาติกะทั้งนั้น อสุรกาย เป็นอุปปาติกะทั้งนั้น นี่ลอยขึ้นบังเกิดทั้งนั้น กำเนิดทั้ง 4 อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ
    กำเนิดนี้แหละล้วนแล้วด้วยขันธ์ทั้ง 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดในมนุษย์หมดทั้งกามภพนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดในเทวดา 6 ชั้น ก็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดังนี้แหละ จะเกิดในรูปพรหม ก็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดในอรูปพรหม ก็ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y4797399-27.jpg
      Y4797399-27.jpg
      ขนาดไฟล์:
      30.8 KB
      เปิดดู:
      310
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    แต่ว่าต่างอยู่อีกพวกหนึ่ง คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ชั้นเบื้องบนสูงขึ้นไป เกิดแล้วก็สัญญาละเอียดเต็มที่ รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ ไปเกิดในชั้นนั้นได้รับความสุขในเนวสัญญานาสัญญายตนะ 84,000 กัป มหากัป 84,000 มหากัป อยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั่น อ้ายนั่นแปลก ไม่นับเข้าในวิญญาณฐิติ แต่ว่ายังอยู่ในสัตตาวาส 9 นั่นพวกหนึ่งเกิดแปลก อีกพวกหนึ่งเกิดแปลกอีก ในชั้นพรหมที่ 11 อสัญญีสัตว์ เบื่อนามติดรูป อ้ายนี่เบื่อนามติดรูป เบื่อว่าอ้ายความรู้นี่แหละ มันได้รับทุกข์ร้อนลำบากนัก พอได้จตุตถฌานแล้ว ปล่อยรู้เสีย นั่งหัวโด่อยู่นั่น ปล่อยรู้เสีย เป็นมนุษย์ก็นั่งหัวโด่ ไปเขย่าตัวก็ไม่รู้เรื่องกัน นานๆ แล้วรู้เสียทีหนึ่ง ฌานนั้นแหละไม่เสื่อม แตกกายทำลายขันธ์ เบื่อนามติดรูป ไปเกิดในชั้นพรหมที่ 11 ไปนอนอืดอยู่ ที่เขาเรียกว่าพรหมลูกฟักก็เรียก ถ้าว่านั่งตายก็ไปนั่งโด่อยู่นั่น นั่งโด่อยู่นั่น 500 มหากัป ไม่ครบ 500 มหากัป มาไม่ได้ ติดคุกรูปพรหมแท้ๆ ไม่ได้เป็นไรเลย สุขทุกข์ไม่เอาเรื่องกัน นอนอยู่นั่นแหละไม่รู้เนื้อรู้ตัวกันล่ะ พระพุทธเจ้ามาตรัสสักกี่ร้อยองค์ ก็ไม่รู้เนื้อรู้ตัว ติดอยู่นั่น 500 มหากัป อยู่นั่น นี่อีกพวกหนึ่ง นี่พวกเบญจขันธ์ทั้งนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ถ้าจะกล่าวถึงเบญจขันธ์ 5 ละก้อ กำเนิด 4, คติ 5, วิญญาณฐิติ 7 กว้างขวางออกไป กำเนิด 4 ดังกล่าวแล้ว อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ วิญญาณฐิติ 7 นี่ นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญี กายต่างกันสัญญาต่างกัน เหมือนมนุษย์นี่กายต่างกันสัญญา ต่างกัน ไม่เหมือนกันสักคนเดียว สัญญาก็ต่างกัน จำก็ไม่เหมือนกัน นานตฺตกายา นานตฺตสญฺญี นานตฺตกายา เอกสตฺตสญฺญี เอกสตฺตกายา นานตฺตสญฺญี รูปพรหมอีกเหมือนกัน อรูปพรหม 3 ชั้นข้างบนโน้นเข้าสมทบด้วย รวมเป็นวิญญาณฐิติ 7 เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ และ อสัญญีสัตว์เสีย นอกจากนั้นอยู่ในวิญญาณฐิติทั้งนั้น นั่นเรียกว่าวิญญาณฐิติ 7 ทั้งนั้น รวม เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาด้วย อสัญญีสัตว์เข้ามาด้วย เป็นนวสัตตาวาส 9 เติมเข้ามาอีก 2 นี่ที่มาเกิดไปเกิดของสัตว์โลกทั้งนั้น เราไม่พ้นจากพวกนี้ นี่ไปสุคติ ถ้าทุคคติ ก็อบายภูมิ 4 นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ตลอดกระทั่งถึงโลกันต์ โลกันต์นอกภพออกไป คือภพอันหนึ่งของโลกันต์นั่น เวียนว่ายตายเกิดอยู่เหล่านั้น
    ทว่าทำชั่วที่สุด อ้ายขันธ์ 5 นี้ ชั่วที่สุดน่ะเป็นอย่างไร มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่กลางกายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดมีทั้งนั้น เป็นดวงให้เกิดทั้งนั้น ทำชั่วเกินส่วนเข้า ไม่มีดีเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางกลมรอบตัว 20 วา มีชั่วฝ่ายเดียว ดีไม่มีเจือปนเลย แตกกายทำลายขันธ์ไปเกิดในโลกันต์นั่นแน่ะ ถ้าว่าหย่อนกว่า นั้นขึ้นมาก็อเวจี หย่อนกว่านั้นขึ้นมาฝ่ายได้รับทุกข์เป็นลำดับขึ้นมา จนกระทั่งถึงอสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน เปรต อสุรกาย ฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีตั้งแต่มนุษย์ขึ้นไปถึงอรูปพรหมโน่น นั่นทำดีๆ ไม่มีชั่วเจือปนเลย วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว แตกกายทำลายขันธ์ไป นิพพานทีเดียว นี่ขันธ์ 5 นี่แสดงถึงขันธ์ 5 แต่ว่ากว้างออกมากนัก ฟังยาก
    ทีนี้จะแสดงใกล้เข้ามา ขันธ์ทั้ง 5 นี่แหละมีเกิดดับ 2 อย่าง เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไปมี 2 อย่างเท่านี้แหละ จะแก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ มีเกิดแล้วก็ดับๆ นึกดูซิ บุรพชนต้นตระกูล ปู่ ย่า ตา ยาย ของเราเป็นอย่างไร ดับไปหมด ดับไปหมดแล้ว ไปเกิดหรือเปล่า ดับก็ต้องไปเกิด อยู่ไม่ได้ต้องไปเกิด แล้วก็เกิดเป็นอะไรไม่รู้ ถ้าจะรู้เรื่องเกิดเรื่องดับเหล่านี้ วิชชาวัดปากน้ำมี เข้าเรียนวิชชาธรรมกาย พอมีธรรมกายก็เห็นเกิดดับทีเดียว เห็นมนุษย์ หมดทั้งสากลโลก ถ้าจะดูละก้อ เห็นเกิดดับๆๆ มี อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ อย่างนี้แหละ
    ที่เกิดดับเหล่านี้น่ะ เพราะอะไรให้เกิดดับ เพราะธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ ธรรมที่ทำให้เป็นกายสัตว์ต่างๆ นั่นแหละ ด้วยนั้นแหละ ถ้าตั้งอยู่ละก้อ ปรากฏอยู่ ดวงนั้นดับไป มนุษย์ก็ดับไป เกิดดับนั้นแหละดวงนั้นแหละ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นแหละ ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ปรากฏอยู่ ถ้าดวงนั้นดับไปกายมนุษย์ก็ดับไป มันมีเกิดดับ เพราะธรรมดวงนั้น เพราะฉะนั้นธรรมทั้งหลายมีเกิดดับเท่านั้น พูดถึงธรรมก็มีเกิดดับเท่านั้น ส่วนขันธ์ทั้ง 5 นี้ เกิดดับเพราะมันอาศัยธรรมต่างหากล่ะ ธรรมดวงนั้นแหละเป็นสำคัญ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของมนุษย์ก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของกายมนุษย์ละเอียดก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของกายทิพย์ก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของกายทิพย์ละเอียดก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของกายรูปพรหมก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็น กายรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของกายรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหมก็มีเกิดดับ
    • ธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ ขันธ์ 5 ของกายอรูปพรหมละเอียดก็มีเกิดดับ
    เกิดดับทั้งนั้นไม่เหลือเลย เกิดดับๆๆ อยู่อย่างนี้ อุปฺปชฺชนฺติ นิรุชฺฌนฺติ เกิดดับอยู่อย่างนี้
    เมื่อรู้จักเกิดดับอย่างนี้ เราจะทำอย่างไร ถ้าไม่ฉลาด เกิดดับนั่นมันสำคัญนัก ถ้าเกิดขึ้นมาอยู่ในคุณสมบัติผู้ดีที่งดงาม ที่รุ่งโรจน์ ที่ร่ำรวย ที่เป็นเศรษฐี ที่เป็นคฤหบดี หรือเป็นกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล คฤหบดีมหาศาล ถ้าเกิดในที่เช่นนั้นก็พอสบาย ถ้าดับไปมันจะไปเกิดในที่เลวทรามต่ำช้าเป็นอย่างไร มันจะเกิดในที่เลวทราม ถ้าเกิดในที่เลวทราม ใครๆ ก็ไม่ชอบ เหตุนี้เราต้องประกอบความดีไว้เป็นเบื้องหน้า ตำรับตำราได้ยืนยันไว้ดังนี้ มีเกิดดับเช่นนี้ เมื่อมีเกิดดับเช่นนี้ เพราะว่าเกิดขึ้นอย่างนั้นแล้ว หาเป็นอย่างนั้นไม่ แปรไปเสียอีก เพราะไม่เที่ยง แปรไปอย่างนั้นอีก ไม่เที่ยงเพราะสภาพมีความยักเยื้องแปรผันอยู่เป็นธรรมดา แก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้ ท่านถึงยืนยันเป็นตำรับตำราว่าเห็นจริงตามสังขารทั้งหลาย อ้ายสังขารทั้งหลายเราไม่รู้เสียอีกแล้วนะ สังขารทั้งหลายน่ะ จะเป็นบุญหรือเป็นบาป หรือจะไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปก็ตาม ที่บอกแล้วในเบญจขันธ์ทั้ง 5 น่ะ อ้ายที่เกิดของมันน่ะ อ้ายที่เกิดเวลาใด ปรุงให้เกิดขึ้นเวลาใด ก็เป็นสังขารเวลานั้น ที่เรียกว่าสังขารนะปรุงให้เกิด ปรุงให้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นอัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ อุปปาติกะ 4 กำเนิด ใน 4 กำเนิดนี่แหละ เรียกว่าสังขารทั้งนั้นปรุงให้มีให้เป็นขึ้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    สังขารทั้งหลายเหล่านั้นแหละ ถ้าเห็นตามปัญญา หมดทั้งสากลโลกไม่เที่ยงเสียเลย เห็นว่าไม่เที่ยง เมื่อใดเห็นว่าไม่เที่ยง เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ ว่าเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี้ เอาที่จบที่แล้วไม่ได้ เมื่อเห็นเช่นนั้นแล้วละก็ จิตมันก็ปล่อยหมด ความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ทั้ง 5 มันก็ปล่อยไม่ห่วงไม่ใยไม่อาลัย เพราะเห็นจริงตามจริงเสียเช่นนั้น อ้ายเห็นจริง ตามจริงเช่นนั้น อ้ายทางนั้นจำเอาไว้ จำเป็นรอยใจเอาไว้ อย่าให้ลบเชียว นึกไว้ร่ำไป ค่ำมืดดึกดื่นเที่ยงคืนอย่างไร นึกไว้ร่ำไป นึกถึงความเกิดดับเหล่านั้น ก็เบื่อหน่ายจากทุกข์ อ้ายที่เบื่อหน่ายจากทุกข์นั่นแหละ จิตบริสุทธิ์ ใจอยู่ในความบริสุทธิ์ที่เบื่อหน่ายจากทุกข์นั่น ที่เบื่อหน่ายอยู่ในทุกข์นั่นแหละ ทุกข์คือความเกิด ความแก่ ความตาย เหล่านี้เบื่อหน่าย ใจก็ว่างจากความยึดถือในเบญจขันธ์ทั้ง 5 นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ เมื่อรู้จักหลักจริงดังนี้แล้ว สภาพอันไม่เที่ยงนั่นแหละ ที่ยักเยื้องแปรผันไปนั่นแหละเป็นทุกข์ ชื่อว่าเป็นทุกข์แท้ๆ เพราะเหตุใด เพราะว่าถูกความเกิดขึ้นเสื่อมไปบีบคั้นอยู่อย่างเดียว เกิดขึ้นเสื่อมไป บีบคั้น อยู่อย่างเดียว เกิดขึ้นก็บีบคั้นอยู่ เสื่อมไปก็บีบคั้นอยู่ บีบคั้นให้สัตว์เดือดร้อนอยู่ด้วยชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ ทุกข์ทั้งนั้น บีบคั้นให้เดือดร้อนอยู่ร่ำไปทีเดียว เมื่อบีบคั้นให้เดือดร้อนอยู่อย่างนี้ เพราะว่าสภาพเหล่านั้นๆ เป็นของทนได้ยาก เป็นของเดือดร้อน เป็นของเร่าร้อน เป็นของทุรนทุราย เป็นของไม่สบาย ท่านถึงยืนยันว่า เมื่อใดเห็นตามความจริงว่า ความเกิดนั่นแหละเป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข เมื่อรู้ว่าความเกิดนั่นเป็นทุกข์แล้วเมื่อใด เมื่อนั้น ย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เมื่อเหนื่อยหน่ายในทุกข์ เบื่อในทุกข์แล้ว ไม่อยากได้ในเบญจขันธ์เหล่านั้น ปล่อยเบญจขันธ์เหล่านั้น นั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นหนทางหมดจดวิเศษ ปล่อยเสีย ไม่ยึดถือ สบายด้วย หน้าที่เราปล่อยเสียได้นะ ลูกหญิงก็ดี ลูกชายก็ดี ภรรยาก็ดี สามีก็ดี ใจว่างวางเสีย ไม่เอาธุระเสีย เอาธุระแต่ความบริสุทธิ์ของใจเท่านั้น ใจก็เย็นเป็นสุข ร่างกายก็อ้วน ร่างกายก็สบาย เพราะว่าทอดธุระเสียได้ นี้เป็นทางหมดจดขั้นที่ 2
    ทางหมดจดขั้นที่ 3 ตามลำดับลงไป
    ความหมดจดขั้นที่ 3 ว่า อัตภาพร่างกายอันนี้ รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ใช่ตัว เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ จะว่าสักเท่าใดก็ไม่เป็นไปในอำนาจ กายมนุษย์ไม่เป็นในอำนาจ กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่เป็นไปในอำนาจ กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ไม่เป็นไปในอำนาจทั้งนั้น ใครจะมีฤทธิ์มีเดชสักเท่าไรก็ตามเถอะ ไม่เป็นไปในอำนาจ พระพุทธเจ้าจะมีฤทธิ์เดชสักเท่าไรก็มีไป แต่ว่าอ้ายอัตภาพร่างกายไม่เป็นไปในอำนาจ แตกสลายไปอย่างนี้ เพราะฉะนั้นอัตภาพอันนี้รู้กันอยู่แล้วว่าไม่ใช่ตัว เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเป็นปฏิปักษ์แก่ตัวเสียด้วย เป็นข้าศึกแก่ตัวเสียด้วย ไม่เป็นไปในอำนาจอย่างไร จะห้ามปรามสักเท่าหนึ่งเท่าใดไม่เชื่อ จะแก้ไขสักเท่าไรไม่เป็นไปตามแก้ไข และเป็นข้าศึกแก่ตัวเสียด้วย ถ้ายุ่งๆ หนักเข้า ก็ได้รับทุกข์ยากลำบากจิตใจ ไม่ใช่พอดีพอร้ายทีเดียว ถ้าไปแก้หนักเข้าก็เดือดร้อน หนักเข้าลองไปแก้เข้าซิ แก้แก่ แก้เจ็บ แก้ตาย แก้กันอย่างไรนะ แก้ไม่ได้ เป็นข้าศึกแก่ตัวแท้ๆ เพราะเป็นสภาพว่างเปล่า อัตภาพนี้น่ะเป็นสภาพว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย
    ไม่มีอย่างไร
    ก็บิดามารดาปู่ย่าตายายเล่าไปไหน เหลือแต่กระดูกหรือกระดูกอยู่ที่ไหนล่ะ ได้ร้อยปีพันปี หายไปไหนหมดแล้ว ไม่มีเลยหายไปหมด นี้เป็นสภาพว่างอย่างนี้นะ เป็นของว่างอย่างนี้ เมื่อเป็นของว่างเช่นนี้แล้ว ถามว่าใครล่ะเป็นเจ้าของอัตภาพเหล่านี้ กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ใครเป็นเจ้าของ ไม่มีเจ้าของ ถามหาเจ้าของสักคนเดียวไม่ได้ ใครจะรับว่าของข้าล่ะ เอ้า! รับดูซิ แตกสลายหมด อ้ายคำรับน่ะ ไม่จริง หลอกลวง แตกสลายหมดหายหมด

    เมื่อรู้ความจริงอันนี้แล้ว
    ท่านถึงสอนแนะนำไว้เป็นหลักเป็นฐานแน่นอนว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมที่ทำให้เป็นกายนั้นๆ ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมทั้งปวงไม่ใช่ตัว สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหมดนั้นไม่ใช่ตัวเมื่อใด เมื่อนั้นย่อมเหนื่อยหน่ายในทุกข์ นี่เป็นทางหมดจดวิเศษ เป็นทางบริสุทธิ์ เพราะฉะนั้นจะแสดงทางบริสุทธิ์ให้ฟังในวันนี้นะ เวลาไม่เพียงพอเสียแล้ว ไม่ฉะนั้นแล้วละก็ ตรงนี้จะได้ฟังทางบริสุทธิ์ทีเดียว ทางบริสุทธิ์เป็นสำคัญนะ ทางบริสุทธิ์นะ ทางบริสุทธิ์เฉพาะต้องไปเส้นเดียว สายเดียว รอยเดียวเท่านั้น จะไปทางอื่นไม่ได้ จะเอาใจไปจรดอื่นไม่ได้ จะบอกต้นทางให้

    ทางบริสุทธิ์นะ ก็ต้องเอาใจหยุด นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ เอาใจหยุดนึกที่ไหน ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ หยุดอยู่กลางดวงนั่นแหละ หยุดทีเดียว หยุดที่นั่นแหละ เป็นทางบริสุทธิ์ละ ถูกละ หยุดนะ หยุดในหยุด พอรู้ว่า ใจหยุดกึก ใจหยุดก็กลางของกลางๆๆๆๆๆ หยุดเรื่อยไปนั่นแหละ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำให้หยุดอยู่อย่างนี้แหละ นั่นแหละบริสุทธิ์ละ ราคะไม่มี อภิชฌาความเพ่งเพราะอยากได้ไม่มี พยาบาทปองร้ายไม่มี เห็นผิดไม่มี โลภะความอยากได้ไม่มี โทสะความประทุษร้ายไม่มี โมหะความหลงงมงายไม่มี ราคะความกำหนัดยินดีไม่มี โทสะความขุ่นเคืองไม่มี โมหะ ความหลงงมงายไม่มี กามราคานุสัยไม่มี ปฏิฆานุสัยไม่มี อวิชชานุสัยไม่มี หยุดเข้าเถอะ หยุดนั่นแหละตั้งแต่ต้นจนพระอรหัตทีเดียว นี่แหละเขาเรียกว่าหนทางบริสุทธิ์ละ ให้ไปทางนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2015
  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    วันนี้ที่ชี้แจงแสดงมาเป็นปริยาย ต้องการจะให้รู้ว่าหนทางบริสุทธิ์ที่ใจหยุดนี้ ภิกษุสามเณรถ้าทำให้หยุดตรงนี้ไม่ได้ละก้อ ไม่พบทางบริสุทธิ์เลย อุบาสก อุบาสิกา ปฏิบัติในศาสนา ทำใจหยุดไม่ได้ก็ไม่พบทางบริสุทธิ์เลย เข้าทางบริสุทธิ์ไม่ถูกเลย หยุดนั่นแหละเป็นเป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา เป็นโอวาทของพระบรมศาสดาที่ทรงให้นัยแก่พระองคุลิมาล เมื่อทรมานพระองคุลิมาลจำนนแล้ว เห็นว่าสู้ไม่ได้แล้ว เปล่งวาจาว่า “สมณะหยุดๆ” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา “สมณะหยุดแล้ว ท่านไม่หยุด” นั่นแน่โอวาทอันนี้นะ หยุดนั่นแหละ ถูกโอวาทของพระศาสดา ออกจากพระโอษฐ์ ถอดมาทีเดียว ถ้าเราเป็นพุทธศาสนิกชน เชื่อพระพุทธเจ้า ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าละก้อ ต้องทำใจให้หยุด หยุดอยู่ที่กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ หยุด นั่ง นอน ยืน เดิน ให้หยุดอยู่ร่ำไป ทำได้จริงๆ อย่างนั้นไม่ได้หรือ วัดปากน้ำเขาทำกันได้มาก มีที่อยู่ในวัดเวลานี้เห็นจะถึง 100 คน ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสิกาอุบาสก เขาทำใจหยุดได้ นั่นแหละถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ นั่นแหละเป็นทางบริสุทธิ์ละ เมื่อรู้จักทางบริสุทธิ์ดังนี้ละก็ เมื่อเป็นมนุษย์แล้วอย่าให้เคลื่อนนะ ถ้าว่าเคลื่อนละก้อ เสียทีที่มาประสบพบพุทธศาสนา


    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้น จนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลายบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    [๗๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
    กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสมิทธิเข้าไปเฝ้า
    พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า มาร มาร ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร พระเจ้าข้า

    จึงเป็นมารหรือการบัญญัติว่ามาร

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป
    จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติ
    ว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น หู เสียง โสตวิญญาณ ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ
    มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ
    ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มี
    อยู่ ณ ที่นั้น ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ
    ธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณมีอยู่
    ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น
    กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ
    ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มี
    อยู่ ณ ที่นั้น ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ
    มีอยู่ ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็มีอยู่ ณ ที่นั้น ฯ

    [๗๒] ดูกรสมิทธิ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วย
    จักษุวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯลฯ ใจ
    ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ ธรรมที่จะพึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ ไม่มี ณ ที่ใด
    มารหรือการบัญญัติว่ามารก็ไม่มี ณ ที่นั้น ฯ

    <CENTER>จบสูตรที่ ๓
    </CENTER>

     
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +291
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>





    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER>กัสสกสูตรที่ ๙</CENTER>




    </PRE>



    [๔๗๐] สาวัตถีนิทาน ฯ




    </PRE>

    ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน และภิกษุเหล่านั้นทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ น้อมนึกมาด้วยความเต็มใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรมอยู่ ฯ ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้มีความคิดว่า พระสมณโคดมนี้แล ทรงยังภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาเกี่ยวด้วยพระนิพพาน ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปใกล้พระสมณโคดมถึงที่ประทับเพื่อการกำบังตาเถิด ฯ [๔๗๑] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปจึงนิรมิตเพศเป็นชาวนาแบกไถใหญ่ถือปะฏักมีด้ามยาว มีผมยาวรุงรังปกหน้าปกหลัง นุ่งผ้าเนื้อหยาบ มีเท้าทั้งสองเปื้อนโคลน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมณะท่านได้เห็นโคทั้งหลายบ้างไหม ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า แน่ะมารผู้มีบาป ท่านจะต้องการอะไรด้วยโคทั้งหลายเล่า ฯ มารกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ จักษุเป็นของเราแท้ รูปก็เป็นของเราอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแก่จักษุสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ โสตเป็นของเรา เสียงเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่
    โสตสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ จมูกเป็นของเรากลิ่นเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ ลิ้นเป็นของเรา รสเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ กายเป็นของเรา โผฏฐัพพะเป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสก็เป็นของเรา ท่านจะหนีเราไปไหนพ้น

    ข้าแต่สมณะ ใจเป็นของเราธรรมารมณ์เป็นของเรา อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของเราท่านจะหนีเราไปไหนพ้น ฯ

    [๔๗๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรมารผู้มีบาป จักษุเป็นของท่านรูปเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัสก็เป็นของท่านแท้ ดูกรมารผู้มีบาป แต่ในที่ใด ไม่มีจักษุ ไม่มีรูป ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่จักษุสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน
    โสตเป็นของท่าน เสียงเป็นของท่านอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีโสต ไม่มีเสียง ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่โสตสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน

    จมูกเป็นของท่าน กลิ่นเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ฆานสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    ลิ้นเป็นของท่าน รสเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ

    กายเป็นของท่าน โผฏฐัพพะเป็นของท่านอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่กายสัมผัสเป็นของท่าน ฯลฯ ใจเป็นของท่านธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของท่าน อายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัสก็เป็นของท่าน แต่ในที่ใด ไม่มีใจ ไม่มีธรรมารมณ์ ไม่มีอายตนะคือวิญญาณอันเกิดแต่มโนสัมผัส ที่นั้นมิใช่ทางดำเนินของท่าน ฯ

    [๔๗๓] มารกราบทูลว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใดว่า นี้ของเรา และกล่าวว่า นี้เป็นเรา ถ้าใจของท่านมีอยู่ในสิ่งนั้น
    ข้าแต่สมณะ ท่านก็จะไม่พ้น เราไปได้ ฯ




    [๔๗๔] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ชนเหล่าใดกล่าวถึงสิ่งใด สิ่งนั้นไม่มีแก่เรา ชนเหล่าใดกล่าว ชนเหล่านั้นไม่ใช่เรา ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงรู้อย่างนี้ ท่านย่อมไม่เห็นแม้ทางของเรา ฯ ลำดับนั้น มารผู้มีบาปเป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเราพระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้หายไปในที่นั้นนั่นเอง ฯ <CENTER></CENTER>


    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...