เปรต : เปรตปากสุกร

ในห้อง 'ภพภูมิ-สวรรค์ นรก' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 8 สิงหาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table><table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="100"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">เปรต : เปรตปากสุกร</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร ณ กรุงราชคฤห์ ทรงปรารภถึงสุกรมุข เปรตให้เป็นเหตุ จึงทรงตรัสเล่าเรื่องที่มีมาแล้วแต่อดีต ความว่า

    ในพระศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังมีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้บวชเข้ามาในพระศาสนาด้วยความเลื่อมใส ดำรงอยู่ได้ด้วยความเพียรพยายามที่จะสำรวมกาย แต่ไม่รู้จักประมาณ รักษาวาจา ชอบซุบซิบนินทาว่าร้ายแก่เพื่อนภิกษุผู้มีศีลทั้งปวง ใครผู้ใดจะแนะนำสั่งสอนให้ละวาจานั้นเสีย ภิกษุนั้นก็หาได้ยอมละวาจาทุจริตนั้นๆ ไม่

    ต่อมา ครั้นภิกษุนั้นตายลง ได้ไปบังเกิดในนรกหมกไหม้อยู่สิ้นเวลานานแสนนาน นับได้หนึ่งพุทธันดรพอดี เมื่อพ้นจากนรกนั้นแล้ว ก็ได้มาบังเกิดเป็นเปรต อดอยากอยู่ ณ เชิงเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ เหตุเพราะยังเหลือเศษบาปที่กล่าววาจาทุจริตนั้นอยู่

    เปรตภิกษุตนนั้น มีรูปกายสีดังทอง มีปากดุจดังสุกร (หมู)

    ขณะนั้น พระมหาเถระนารทะ พักอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏ เวลารุ่งเช้าพระเถระเจ้าจึงห่มจีวรถือบาตร เพื่อเตรียมตัวที่จะไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พอเดินมาถึงตีนเขา พระเถระเจ้าจึงได้เห็นเปรต ผู้มีกายรุ่งเรืองดุจดังทอง มีปากดุจดังสุกร จึงได้เอ่ยถามขึ้นว่า

    “ดูก่อนผู้จมทุกข์ เหตุใดผิวกายของเธอจึงรุ่งเรืองส่องสว่างไปในทิศทั้งหลายดุจสีทอง แล้วปากของเธอนั้นเล่า ทำไมถึงเหมือนกับปากสุกร เธอได้ก่อกรรมทำบาปอะไรไว้ในปางก่อน”

    เปรตนั้นจึงกล่าวตอบพระเถระเจ้าขึ้นว่า “ข้าแต่พระนารทะเถระเจ้า ร่างกายของข้าพเจ้า มีรูปร่างเหมือนกับร่างกายมนุษย์ทั่วไป แต่เหตุที่มีผิวกายรุ่งเรืองดุจดังทองนั่นเป็นเพราะสมัยที่ข้าพเจ้าบวชอยู่ในพระศาสนาของพระศาสดา ผู้ทรงนามว่ากัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใส ดำรงตนที่จะขวนขวายสงบระงับรักษากายด้วยความสำรวม ด้วยอานิสงส์ผลบุญดังนั้น จึงทำให้ข้าพเจ้ามีรูปร่างดุจดังมนุษย์แต่มีสีกายรุ่งเรืองดังทอง

    ส่วนเหตุที่ข้าพเจ้ามีปากเหมือนดังปากสุกร เหตุเพราะตอนที่ข้าพเจ้าบวชอยู่ ไม่ขวนขวายที่จะสงบระงับ ไม่สำรวมวาจาเอาแต่ว่ากล่างนินทาดุด่าว่าร้าย ให้แก่เพื่อนภิกษุทั้งหลายผู้ทรงศีล แม้จะมีผู้ปรารถนาดีคอยแนะนำพร่ำสอน ข้าพเจ้าก็ไม่อาวรณ์ที่จะละวาจาทุจริตนั้นๆ ด้วยเหตุแห่งวจีทุจริตนั้น จึงทำให้ปากของข้าพเจ้ากลายเป็นปากสุกร (ปากหมู) ดังท่านเห็น”

    “ข้าแต่พระนารทะเถระ เมื่อท่านได้เห็นสภาพร่างกาย และปากของข้าพเจ้าแล้ว ขอท่านจงถือเอาเป็นอุทาหรณ์สอนตนว่า เราจะไม่ทำบาปด้วยปาก อย่าทำเหตุให้ปากต้องลำบาก เพราะกล่าววาจาชั่วหยาบ ถ้าเป็นผู้มีปากกล้า ไม่สงบสำรวม กล่าวว่า วาจาจ้วงจาบผู้ทรงศีล ท่านก็จะมีปากดังปากสุกรเช่นข้าพเจ้านี้”

    เมื่อพระนารทะเถระเจ้า ได้สดับวาจาของเปรตปากสุกรจบลง ท่านจึงได้เที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ต่อไป ครั้นกลับจากบิณฑบาตฉันอาหารแล้ว พระเถระเจ้าจึงเข้าไปเฝ้าพระบรมสุคตเจ้า แล้วทูลเรื่องที่ท่านได้เห็นเปรตปากสุกรให้พระพุทธองค์ได้ทรงทราบ

    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ดูก่อนนารทะ เปรตตนนั้นเราได้เคยเห็นมาแล้ว” พระพุทธองค์จึงทรงมีพระพุทธฎีกาตรัสแสดงโทษของวจีทุจริต และคุณแห่งวจีสุจริต ให้พระนารทะพร้อมภิกษุทั้งหลายได้ทราบความว่า

    วจีทุจริต เหตุที่ทำให้เป็นเปรต ๔ อย่างคือ

    พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด
    พูดคำหยาบ
    พูดเพ้อเจ้อ


    ผู้ประกอบ วจีสุจริต จักมีผลมิให้ตกนรกและมิต้องมาเป็นเปรต มี ๔ อย่างคือ

    ไม่พูดเท็จ
    ไม่พูดส่อเสียด
    ไม่พูดคำหยาบ
    ไม่พูดเพ้อเจ้อ


    วาจาสุริตของเรา ให้คุณแก่เราได้ วาจาทุจริตของเราก็ให้โทษแก่เราได้เหมือนกัน

    </td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table> [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...