ปิดรับบริจาค เปิดกองบุญถวายระฆังสะเดาะห์เคราะห์เพื่อรับโชค ปีจอ ๒๕๖๑

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ, 11 มีนาคม 2018.

  1. พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ

    พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +1,604
    D60C07FC-3F1E-4A98-864F-766D15423925.jpeg
    เปิดกองบุญถวายระฆังครั้งที่ ๓ หลังจากครั้งแรกและครั้งที่สองได้ถวายในปี ๒๕๕๙ และปี ๒๕๖๐ จำนวนกว่า ๗๐ ใบ บริจาคให้หลายวัด
    และครั้งนั้นยังมีญาติโยมหลายท่านพลาดการได้เป็นเจ้าภาพถวายระฆังจำนวนหนึ่ง จึงขอให้รอในครั้งที่ ๓ ในปี ๒๕๖๑ และในปีนี้ เป็นโอกาสดีที่ญาติโยมทั่งหลายจะได้รับเป็นเจ้าภาพ ถวายระฆัง ใบขนาดปากกว้าง ๘.๕ นิ้วและ ๑๒ นิ้ว พร้อมจารึกนามเจ้าภาพ ครอบครัวเจ้าภาพบนระฆัง

    เปิดรับเจ้าภาพ
    ระฆัง ๘.๕ นิ้ว ใบละ ๓,๙๙๙ บาท
    ระฆัง ๑๒ นิ้ว ใบละ ๖,๙๙๙ บาท
    ถวายในช่วงเดือน เมษายน ๖๑
    ถวายวัดล้องเดื่อ ติดตั้ง ณ วิหารวัดล้องเดื่อ เมืองลำพูน

    ติดต่อสอบถาม

    พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ โทร 087-177-8931
    หรือสะดวกโอนร่วมบุญทางธนาคาร ได้ที่

    ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาลำพูน
    ชื่อบัญชี พระปฏิภาณ ผางวะนา (ภูริปญโญ)

    หมายเลขบัญชี 318-1-55936-9


    กรุณาแจ้งกลับด้วยในการร่วมเป็นเจ้าภาพ ตามวิธีที่ท่านสะดวกดังนี้

    1. อีเมล์ watpratupa@gmail.com

    2. ส่ง sms หรือโทรแจ้งที่หมายเลข 0871778931

    44F2F5FF-5532-4CF9-BC36-4BCD4A5CF484.jpeg
    3B1293D3-8B5F-4C9F-812E-B4ABCDB4E9E5.jpeg 0AC4BE04-AB85-4C8C-B08F-514045707604.jpeg 050F1E95-7E5F-496C-A304-9C460EECC196.jpeg DCF3004D-62CD-4EE5-BE61-86914F8B91A7.jpeg CDD0466D-F233-405A-8B87-73593C811BFB.jpeg 96D860EF-65F4-4910-B352-50D031306A7E.jpeg 23B6A423-B2B6-4AED-BA1C-0386305ACB3A.jpeg C139F4F3-0874-4EFD-88ED-7495AF0F3401.jpeg E37D9959-998C-49E6-9D47-545983FF385B.jpeg 95A2E558-0E78-467D-9B4B-0E97D757F7DE.jpeg 7860F535-A0A0-4CB5-97EE-48743665B029.jpeg 8D1EDE83-5A22-4E55-8E9D-FD967D8DC8AD.jpeg 9920A0F5-1C56-4486-8B7E-E200DC7E430D.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มีนาคม 2018
  2. พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ

    พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +1,604
    9093E4EE-D0BC-4D22-BD53-2D451B5BB79A.jpeg BAA6315B-65DA-47F9-997D-8028CF7BD932.jpeg 2196AD55-EF36-4C99-BF05-7F54EFB131C8.jpeg 3107B861-5413-40D1-BC28-3726162CC57B.jpeg 8AC3F899-D344-4096-9CA9-A41F3574F68A.jpeg B9E2A2C1-86C8-4DDB-BC75-3FFFA2AD4F12.jpeg 9D6258F5-10B3-4464-AAC5-8691BA421483.jpeg 418E7CAD-7F58-4E72-B17E-ABDD38B0FE06.jpeg 282DD08F-0A1D-4404-815F-00B4FA681032.jpeg
     
  3. พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ

    พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +1,604
    AA67F33E-B6B5-4F4E-9282-5B1A5B4264C5.jpeg 9DFAE49B-8640-42D5-9772-65FE0C61088E.jpeg 8D8FD9D7-7156-4750-929C-A4B5BD51C102.jpeg C5E3F86D-39D9-44C8-96EF-9BBA8B70DE1A.jpeg
     
  4. พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ

    พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +1,604
    ประวัติระฆังสมัยพุทธกาล

    เสียงระฆัง คือเสียงแห่งสวรรค์ สัญญาณแห่งบุญ ความดี สิริมงคล ระฆัง เป็นสัญลักษณ์แห่งความดี เกียรติยศชื่อเสียง ประดุจประตูก้าวสู่สรวงสวรรค์ ผู้ที่สร้างระฆังถวายวัดหรือโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ เพื่อไว้เคาะตีส่งสัญญาณให้รู้ถึงวันเวลา เท่ากับเป็นการสร้างความดีชื่อเสียงให้แก่ตัวเอง และเป็นสิริมงคล ตามประวัติพระพุทธศาสนา ได้มีการสร้างระฆังขึ้นครั้งแรกในสมัยพระพุทธกาล ผู้ที่สร้างระฆังขึ้นเป็นครั้งแรกคือ นางวิสาขา

    นางวิสาขา เป็นพระอริยบุคคล ผู้สำเร็จธรรมเป็นพระโสดาบันตั้งแต่ยังเป็นสาว เกิดในตระกูลเศรษฐี เมืองภัททิยะ แคว้นอังคะ เป็นบุตรสาวของธนญชัยเศรษฐี และสุมนาเทวี ปู่ชื่อเมณฑกเศรษฐี ต่อมาได้ย้ายตระกูลเศรษฐีไปอยู่เมืองสาวัตถี กับพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้แต่งงานกับปุณณวัฒนกุมาร บุตรของมิคารเศรษฐี

    นาง วิสาขาถึงพร้อมด้วยความงามของสตรี (เบญจกัลยาณี) มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตามประวัติเล่าว่า วันหนึ่ง นางวิสาขา เมื่อมาถึงวัดได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์มอบให้สาวใช้ผู้ติดตาม เพราะเห็นว่าการใส่เครื่องประดับมากมาย เข้าไปในศาลาฟังธรรม เป็นอันที่ไม่สมควร หลังจากเสร็จกิจการฟังธรรมแล้ว ขณะเดินกลับคฤหาสน์ สาวใช้ได้ลืมเครื่องประดับไว้ที่ข้างหน้าศาลาฟังธรรม พระอานนท์จึงได้เข้าไปเก็บรักษาไว้ข้างใน นางวิสาขาได้บอกให้สาวใช้ไปนำเครื่องประดับกลับมา โดยกำชับว่า หากพบว่าเครื่องประดับยังคงวางอยู่ที่เดิม ก็จงนำกลับมา แต่ถ้าพระคุณเจ้าได้เคลื่อนย้ายไปจากที่เดิมแล้ว ก็ถือว่าได้ถวายให้พระสงฆ์ มิต้องขอนำกลับมา สุดท้ายสาวใช้ก็มิได้นำเครื่องประดับดังกล่าวกลับมา นางวิสาขาเห็นว่าหากพระสงฆ์เก็บรักษาเครื่องประดับของสตรีเอาไว้ ก็ไม่เป็นประโยชน์ จึงได้ช่วยประกาศขายเครื่องประดับนั้น โดยมีราคาถึง 9 โกฏิ กับ 1 แสน กหาปณะ แต่ไม่มีใครสามารถซื้อได้ สุดท้ายนางจึงซื้อไว้เอง และนำเงินจำนวนนั้น มาสร้างวัดชื่อพระวิหารบุพผาราม เป็นที่พำนักของพระภิกษุสงฆ์
    ในครั้งนั้นเธอได้สร้างระฆังไว้รอบชายคา รอบปราสาท เวลามีลมพัดกระดิ่งกระทบกับระฆัง เสียงดังกังลวานสดใส ประดุจเสียงบอกบุญสัญญาณสู่ประตูสรวงสวรรค์

    หลังพุทธกาลมาแล้ว ประมาณพุทธศตวรรษที่ 3 ได้มีการสร้าวระฆังขึ้น ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตามวัดวาอารามต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศจีน ทิเบต เกาหลี ที่นับถือพุทธศาสนา จนเป็นที่นิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน

    การสร้างระฆังไว้ในพระพุทธศาสนา เท่ากับเป็นการสร้างสมบุญบารมี ความดีงาม เปิดประตูแห่งสวรรค์ มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ ทำให้เป็นคนมีเกียติยศชื่อเสียงโด่งดัง ประดุจเสียงระฆัง เป็นที่เคารพนับถือและเป็นสิริมงคล
     
  5. พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ

    พระครูสมุห์ปฏิภาณ ภูริปญฺโญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    744
    ค่าพลัง:
    +1,604
    การสร้างระฆังถวายวัดเป็นยอดมหากุศล

    การสร้างระฆัง ซึ่งเป็นถาวรวัตถุเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกาศพระศาสนา นั้นเป็นยอดมหากุศลอย่างหนึ่ง ที่จะส่งผลให้บุคคลผู้ร่วมสร้างมีชื่อเสียงโด่งดัง มีคนนับหน้าถือตา นำส่งทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า และชาติต่อๆ ไป ด้วยเป็นผู้ที่มีความสุขในทุกกาลเวลา เป็นผุ้ประสบความสำเร็จมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เจริญด้วยทรัพย์ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ให้เป็นที่รักแก่มนุษย์และเทวดาทั้งหลาย การที่มีระฆังไว้ประจำที่วัดนั้น พระภิกษุสงฆ์จะใช้เป็นอาณัติสัญญาณในการทำวัตร สวดมนต์เล่าเรียนพระธรรมบาลี ตลอดจนได้ใช้ในการประชุมเพื่อถกปัญหากรณีต่างๆ รวมถึงการแจ้งเตือนภัยฯ ก็ถือว่า เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญ ผู้สร้างระฆังจึงจะได้รับอานิสงส์ อันเกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ตามที่ได้ กล่าวไปแล้วข้างต้น

    อานิสงส์ถวายระฆัง

    เป็นที่สรรเสริญของนรชนและบัณฑิตทั้งหลาย
    เป็นที่รักของนรชนและบัณฑิตทั้งหลาย
    ละความตระหนี่
    ย่อมไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามเมื่อเข้าสู่สมาคม
    เป็นกำลังสำคัญในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
    ส่วนผลในอนาคตนั้นย่อมมีอานิสงส์ในทิพยสมบัติ และเมื่อเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วไปบังเกิด ณ สถานที่ใดๆ จะเป็นผู้มีความสุขสบาย มีผิวพรรณวรรณะงดงาม บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ ถึงพร้อมด้วยสติปัญญา และที่สำคัญโบราณจารย์ยังกล่าวไว้ว่า "จะมีเสียงดังก้องกังวาลไพเราะประดุจนกการเวก" หูจะไม่หนวก จะได้ยินเสียงชัดเจน มีเสียงอันไพเราะ ไม่เตี้ย พิการ ผู้ใดที่มีหนี้กรรมอยู่ก็จะหมดไป เมื่อละจากภพนี้ไปแล้วจะมีวิมานหลายชั้น และส่งผลให้ เมื่อเกิดภพชาติใดจะมีชื่อเสียงโด่งดัง ไปทั่วทุกสารทิศ ไปไหน ก็มีคนรู้จักเคารพนับถือ ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็จะเจริญก้าวหน้า เป็นเป็นผู้มีวาจาดังกังวาน และคำพูดศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่น่าเกรงขาม น่าเชื่อถือน่าเคารพ ยังส่งผลดีในการติดต่อค้าขายเจรจา มีความจำเป็นเลิศ อายุยืนยาว เป็นการแก้กรรมให้กับผู้ที่ทำงานที่ต้องใช้ชื่อเสียง หรือเสียงอย่างนักร้อง ผู้ที่มีความบกพร่องทางเสียง พวกเสียงแหบ เสียงแห้ง ทั้งหลายและคนที่ต้องทำการค้า เจรจาต่อรอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...