เรื่องเด่น เปิดตำราช้างเผือก ลักษณะของช้างเผือก เป็นอย่างไร?

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 13 มีนาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8a3e0b8b2e0b88ae0b989e0b8b2e0b887e0b980e0b89ce0b8b7e0b8ade0b881-e0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893.jpg

    ลักษณะของช้างเผือก เป็นอย่างไร วันนี้เรามีตำราช้างเผือกที่บอกเล่าคุณลักษณะของช้างเผือก มาฝากกัน ตามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงคำว่า ช้างเผือก ว่า แต่เดิมเป็นคำสามัญที่คนทั่วไปใช้เรียกช้าง ซึ่งมีผิวหนังเป็นสีชมพูแกมเทา อันเป็นสีที่ผิดแปลกไปจากสีของผิวหนังช้างธรรมดา ที่ปกติมีสีเทาแกมดำ โดยมิได้คำนึงถึงลักษณะอื่น ๆ ประกอบด้วย

    8a3e0b8b2e0b88ae0b989e0b8b2e0b887e0b980e0b89ce0b8b7e0b8ade0b881-e0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893-1.jpg

    ฉะนั้น คำว่า ช้างเผือก ตามความหมาย ที่เราเข้าใจกัน จึงอาจเป็นทั้งช้าง ซึ่งมีมงคลลักษณะครบ หรือไม่ครบก็ได้ และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนในเรื่องนี้ ทางราชการจึงได้กำหนดศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อช้าง ซึ่งมีลักษณะพิเศษขึ้นใหม่ ตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พุทธศักราช 2465 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 38 หน้า 45 วันที่ 26 มิถุนายน 2464) มาตรา 4 โดยระบุไว้ว่า ช้างสำคัญ ให้พึงเข้าใจว่า เป็นช้างที่มีมงคลลักษณะ 7 ประการ ดังนี้คือ 1. ตาขาว 2. เพดานขาว 3. เล็บขาว 4. ขนขาว 5. พื้นหนังขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) 6. ขนหางยาว

    1.อัณฑะโกศขาว (หรือสีคล้ายหม้อใหม่) ส่วน “ช้างสีประหลาด” ให้พึงเข้าใจว่า เป็นช้างที่มีมงคลลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดใน 7 อย่าง ที่กล่าวไว้ในเรื่องช้างสำคัญ จากความหมายตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า “ช้างสำคัญ” คือ ช้างเผือกที่มีลักษณะครบถ้วน สำหรับช้างเผือกตามความหมายของคนทั่ว ๆ ไป ซึ่งส่วนใหญ่สังเกตจากลักษณะสีของผิวหนังนั้น อาจไม่ใช่ช้างสำคัญ หรือช้างเผือก ที่มีลักษณะครบถ้วนก็ได้ เพราะสีของช้างเป็นแต่เพียงมงคลลักษณะข้อ 1 ในจำนวนมงคลลักษณะ 7 ข้อ ซึ่งเข้าเกณฑ์ที่เรียกว่า “ช้างสีประหลาด” เท่านั้น

    8a3e0b8b2e0b88ae0b989e0b8b2e0b887e0b980e0b89ce0b8b7e0b8ade0b881-e0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893-2.jpg

    ดังนั้น ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ จึงไม่ใช้คำว่า “ช้างเผือก” เพราะเกรงว่า จะเข้าใจสับสนกันนอกจาก “ช้างสำคัญ” และ “ช้างสีประหลาด” แล้วพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง “ช้างเนียม” ไว้ด้วย โดยระบุลักษณะของช้างเนียมไว้ 3 ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย และเล็บดำ ซึ่งเป็นลักษณะของช้างที่แปลกประหลาดหายาก ดังนั้น ในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า กำหนดให้ผู้ที่ครอบครอง ช้างสำคัญ ช้างสีประหลาด ช้างเนียม ต้องนำช้างดังกล่าวขึ้นทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับได้กำหนดบทลงโทษไว้ในมาตรา 21 ว่า ผู้ใดมีช้างสำคัญ ช้างสีประหลาด หรือช้างเนียม แล้วปล่อยเสียหรือปิดบังซ่อนเร้นช้างนั้นไว้ ไม่นำขึ้นทูลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500 บาท และโทษนี้ ไม่ลบล้างการที่ช้างนั้นจะต้องพึงริบเป็นของหลวง

    8a3e0b8b2e0b88ae0b989e0b8b2e0b887e0b980e0b89ce0b8b7e0b8ade0b881-e0b8a5e0b8b1e0b881e0b8a9e0b893-3.jpg

    นอกจากนี้ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ยังได้บรรยายลักษณะสำคัญของช้างเผือก ไว้ดังนี้ ช้างเผือก เป็นช้างพลายรูปงาม งาขวา-ซ้ายเรียวงาม กายสีดอกบัวแดง ขนตัวขุมละสองเส้น ขนโขมด สีน้ำผึ้งโปร่ง ขนบรรทัดหลังสีน้ำผึ้งโปร่งเจือแดง ขนหูสีขาว ขนหางสีน้ำ
    ผึ้งเจือแดงแก่ ตาขาวเจือเหลือง เพดานปากขาวเจือชมพู อัณฑะโกศขาวเจือชมพู เล็บขาว เจือเหลืองอ่อน หูและหางงามพร้อม เสียงเป็นศัพท์แตรงอน ส่วนในด้านฐานะของช้างเผือกนั้น พบว่า ช้างเผือกเป็นราชพาหนะคู่พระบารมีของพระมหากษัตริย์ มีฐานะเทียบเท่าเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า ดังจะเห็นได้จากพระกรรม์ภิรมย์ คือ ฉัตร 5 ชั้น ทำด้วยผ้าขาวลงยันต์ มี 3 องค์ด้วยกันคือ พระเสนาธิปัต พระฉัตรชัย และพระเกาวพ่าห์ เป็นเครื่องสูงที่ใช้กางเชิญนำพระราชยาน เวลาเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา และใช้พระกรรม์ภิรมย์สวมถุงเข้ากระบวนพระอิสริยยศแห่นำเสด็จพระราชวงศ์ชั้นเจ้าฟ้า ในพระราชพิธีโสกันต์ เป็นต้น

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/939691
     

แชร์หน้านี้

Loading...