เปิดบันทึก พระมงกุฎเกล้าฯ ทรงเล่าความรู้สึก ขณะประทับพระราชยาน ‘แบบคิงแท้ๆ’

ในห้อง 'บันเทิงและศิลปวัฒนธรรม' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 6 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b899e0b897e0b8b6e0b881-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b887e0b881e0b8b8e0b88ee0b980e0b881e0b8a5e0b989.jpg
    เปิดบันทึก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าความรู้สึก ขณะประทับพระราชยาน ‘แบบคิงแท้ๆ’


    เมื่อวานนี้ ตั้งแต่เวลาประมาณ 16.40 น. จนถึงเกือบเวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค จากพระบรมมหาราชวัง ไปยังวัดบวรนิเวศราชวิหาร วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม รวมระยะเวลาเสด็จพระราชดำเนินกว่า 6 ชั่วโมง

    899e0b897e0b8b6e0b881-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b887e0b881e0b8b8e0b88ee0b980e0b881e0b8a5e0b989-1.jpg

    899e0b897e0b8b6e0b881-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b887e0b881e0b8b8e0b88ee0b980e0b881e0b8a5e0b989-2.jpg
    Thailand’s newly crowned King Maha Vajiralongkorn and Queen Suthida are seen during the coronation procession, in Bangkok, Thailand May 5, 2019. REUTERS/Soe Zeya Tun

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ฉลองพระองค์ครุย สายสะพายจักรี สายสร้อยจุลจอมเกล้า ทรงพระมาลาเส้าสูง และทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ประทับพระราชยานพุดตานทอง นับเป็นริ้วขบวนเสด็จพระดำเนิน โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค ที่สง่างาม สมพระเกียรติยศยิ่ง สร้างความประทับใจแก่พสกนิกรชาวไทย ทั้งปวง เสียง “ทรงพระเจริญ” จากประชาชน กึกก้องไปทั่วทั้งบริเวณ

    ซึ่งทำเอาหลายคนที่รับเสด็จฯ ตลอดเส้นทาง ต้องเก็บภาพประทับใจไว้ในกล้องส่วนตัว และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ อย่างหาที่สุดมิได้ ที่ทรงมีพระบรมราชานุญาต ให้ประชาชนที่เฝ้ารับเสด็จฯ สามารถบันทึกภาพ และ เซลฟี่ ได้ตลอดเส้นทางเสด็จราชดำเนิน ในครั้งนี้

    899e0b897e0b8b6e0b881-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b887e0b881e0b8b8e0b88ee0b980e0b881e0b8a5e0b989-3.jpg 899e0b897e0b8b6e0b881-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b887e0b881e0b8b8e0b88ee0b980e0b881e0b8a5e0b989-4.jpg

    ทั้งนี้ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเล่าถึงการเสด็จประทับพระราชยาน ไว้อย่างมีความหมาย ทรงคุณค่า จากหนังสือ “ราชสำนักรัชกาลที่ ๖” ผู้เขียน : วรชาติ มีชูบท โดยสำนักพิมพ์มติชน (มีนาคม 2561) หน้า 209 – 210 มีใจความ ดังนี้

    บันทึกของจมื่นมานิตย์นเรศ (เฉลิม เศวตนันทน์) ว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล่าอย่างขันๆ ว่า

    “ไม่มียานพาหนะใด ที่จะนั่งด้วยอาการเป็นคิงแท้ๆ เท่าราชยาน เพราะหาความสุขสบายมิได้เลย ทรงตรัสว่า ที่นั่งกว้างพอดีกับพระที่นั่ง (คือ ก้นของท่าน) ที่วางพระบาทมีเฉพาะเพียงพระบาททั้งคู่วางชิดๆ กันได้ไม่ตกแต่หมิ่นเต็มที่ บางทีต้องไขว้และก็ต้องไขว้ซ้ายบนบ้าง ขวาบนบ้าง เรียงคู่บ้าง สลับกันไป เช่นนี้ตลอดทาง ไม่มีทางทําอย่างอื่นได้ เพราะบางคราวทรงนึกจะไขว่ห้างก็ไม่กล้าทํา เพราะเกรงจะไม่เหมาะสม

    899e0b897e0b8b6e0b881-e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a1e0b887e0b881e0b8b8e0b88ee0b980e0b881e0b8a5e0b989-5.jpg
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับพระที่นั่งราเชนทรยานเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราใหญ่จากเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปประทับพระราชยานที่เกยพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2454

    สองข้างบัลลังก์ยังเป็นกระจังทําด้วยทอง บางที่แกะด้วยไม้มีกนกแหลมๆ เต็มไปหมด วางพระกรเข้าก็เจ็บ ไม่วางก็ไม่รู้จะวางที่ไหน ต้องทนขยับเขยื้อนได้ยากเต็มที่ เพราะที่จํากัด และลอยอยู่ด้วยพลังของคน ถ้าขยับเขยื้อนรุนแรงข้างล่างก็เดือดร้อน ดีไม่ดีพลิกคว่ำลงเป็นเสร็จ ต้องเข้าโรงพยาบาลแน่แล้ว

    รับสั่งว่า บางที่เป็นเหน็บทั้งๆ ขา ต้องขยับให้หายชา แล้วทรงกระดิกพระดัชนีให้พระโลหิตเคลื่อน พอค่อยทุเลา นั่งพิงอย่างสบายก็ไม่ได้ เสียทรง ทําให้ไม่งาม ท่านว่าทูลกระหม่อม คือ หมายถึงสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 เคยสอนไว้ว่า นั่งราชยานต้องดัดทรงเป็นละคร คือ ดันกระเบนเหน็บให้ตัวตรง แล้วคิดดูซิ ประทับอยู่บนนั้นตั้งๆ ชั่วโมง

    ท่านรับสั่งแล้วทรงยิ้มว่า เวลาประชาชนเขาแสดงความเคารพ ทั้งๆ ปวดเมื่อยและเป็นเหน็บก็ต้องแข็งพระราชหฤทัย ทรงยิ้ม ทรงยกพระคธาขึ้นรับเคารพ เพราะยิ้มของพระเจ้าแผ่นดิน คือ น้ำทิพย์ชโลมใจของประชาชน

    ท่านว่าถ้าจ้างกันละก็ละ 50 บาท (สมัยโน้น) ท่านก็ไม่เอา ต่อให้ร้อยก็ไม่รับประทาน แต่เป็นพระราชกรณียกิจแม้ให้ยากแสนยากเหนื่อยแสนเหนื่อยกว่านี้ก็ต้องรับทํา เพื่อประโยชน์สุขของทวยราษฎร์ แต่พอเสร็จพิธีตอนเข้าที่พระบรรทมน่ะซี ตกเป็นภาระอันหนักของมหาดเล็กผู้ถวายอยู่งาน เพราะจะได้ยินแต่พระสุรเสียงว่า เอาตรงนี้หน่อย คือที่บั้นพระองค์ ที่พระชาณุ (ขา) เป็นต้น”

    ขอบคุณที่มี : ศิลปวัฒนธรรม

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_2488150
     

แชร์หน้านี้

Loading...