เปิดแผนแม่บทพัฒนา”ท่อทองแดง-24แก้มลิง” จากพระราชดำริ ร.9 ช่วย”น้ำท่วม น้ำแล้ง”

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 18 กรกฎาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    e0b89ce0b899e0b981e0b8a1e0b988e0b89ae0b897e0b89ee0b8b1e0b892e0b899e0b8b2e0b897e0b988e0b8ade0b897.jpg

    โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร จากพระราชดำริในหลวง ร.9

    40 กว่าปีที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร ทำหน้าที่ชักน้ำจากแม่น้ำปิงมาให้ชาวกำแพงเพชรใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะด้านการเกษตร ซึ่งกรมชลประทานดำเนินโครงการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้ปี 2521 ทรงห่วงใยพสกนิกรที่เดือดร้อนเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำ

    พื้นที่ชลประทานกว่า 5.5 แสนไร่ ได้ประโยชน์จากโครงการฯ ไม่รวมพื้นที่นอกเขตชลประทานอีก 2 แสนไร่ ผลจากการใช้งานระบบมายาวนานคลองส่งน้ำ อาคารประกอบ และฝายชั่วคราวกั้นแม่น้ำปิงเพื่อทดน้ำเข้าคลองส่งน้ำของโครงการฯ เกิดความความชำรุดเสียหาย ทำให้ประสิทธิภาพจัดการน้ำลดต่ำลงมาก นำมาสู่การพัฒนาหรือปรับปรุงโครงการตามมติของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อ 3 ปีก่อน

    ล่าสุด ”ผลการศึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมการปรับปรุงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่อทองแดง จังหวัดกำแพงเพชร” ภายใต้งบประมาณ 4.7 พันล้าน ซึ่งกรมชลประทานจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ชลนวัต จำกัด ดำเนินการศึกษา โครงการฯ แล้วเสร็จ พร้อมจัดประชุมนำเสนอผลศึกษา และรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรในพื้นที่ ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ จ.กำแพงเพชร เมื่อวันก่อน

    b89ce0b899e0b981e0b8a1e0b988e0b89ae0b897e0b89ee0b8b1e0b892e0b899e0b8b2e0b897e0b988e0b8ade0b897-1.jpg

    จัดประชุมนำเสนอผลศึกษาโครงการฯ และรับฟังความคิดเห็นเกษตรกร ผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานที่ จ.กำแพงเพชร

    โครงการนี้ถือเป็นเมกะโปรเจ็ก ภายใต้แผนแม่บทการปรับปรุงโครงการฯ ประกอบด้วยการปรับปรุงคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำ จํานวน 20 สาย ความยาวรวมประมาณ 500 กิโลเมตร ปรับปรุงอาคารเดิมจํานวน 362 แห่ง ก่อสร้างใหม่ 16 แห่ง รื้อถอนอาคารเดิม 92 แห่ง ในแผนมีโครงการแก้มลิง 24 แห่ง โดยจะนำร่องแก้มลิงหนองดงขวัญ อ.เมืองกำแพงเพชร และแก้มลิงบึงสว่างอารมณ อ.ลานกระบือ 2 แห่งนี้ก่อน ใช้เวลาในการดําเนินการ 10 ปี คาดว่าจะเริ่มปรับปรุงได้ปี 2566

    หากปรับปรุงโครงการแล้ว ประสิทธิภาพชลประทานเพิ่มขึ้นจาก 55% เป็น 75% ทำให้มีน้ำใช้การมากขึ้น คลองสามารถส่งน้ำได้ 681 ลบ.ม.ต่อปี โครงการมีศักยภาพในการเก็บน้ำ และหมุนเวียนการใช้น้ำเป็นรอบเวรคิดเป็นปริมาณน้ำกว่า 700 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สามารถส่งน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมครอบคลุมพื้นที่ 2 จังหวัด 6 อําเภอ ได้แก่ อําเภอไทรงาม อําเภอพรานกระต่าย อําเภอเมือง อําเภอลานกระบือ จังหวัดกําแพงเพชร และอําเภอคีรีมาศ อําเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างความสุขบนผืนแผ่นดินเดิม ไม่ต้องโยกย้ายไป ทํางานที่อื่น ผลการศึกษาระบุว่า เกษตรกรจะมีรายได้ 1.5 แสนต่อครัวเรือนต่อปี

    เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การปรับปรุงระบบชลประทานในพื้นที่ครั้งนี้มาจากสภาพปัญหาความไม่เสถียรในการนำน้ำมาใช้จากแม่น้ำปิง ฝายในลำน้ำปิงกว่าจะอัดน้ำเข้าระบบคลองยาว ความยาวประมาณ 400 กิโลเมตร ส่งน้ำไม่ถึงนาและสวนของประชาชน เพราะคลองส่งน้ำโครงการนี้ใช้งานมา 40 ปี แล้ว บวกกับสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนไป มีบ้านจัดสรร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเติบโต ปริมาณการใช้น้ำมากขึ้น เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ

    b89ce0b899e0b981e0b8a1e0b988e0b89ae0b897e0b89ee0b8b1e0b892e0b899e0b8b2e0b897e0b988e0b8ade0b897-2.jpg

    นายช่าง-จนท.ชลประทานตรวจสอบความเหมาะสมแบบร่างก่อนสร้างตามแผนแม่บทพัฒนาฯ

    รองอธิบดีกรมชลฯ บอกว่า ตามแผนจะบริหารจัดการน้ำเป็นระบบ ให้คลองส่งน้ำสายหลักและสายซอยตกลงมาเหมือนน้ำตก น้ำเข้าคลองเต็มจากต้นคลองไปหาปลายคลอง มีน้ำสำรองในคลองให้มากที่สุด มีการดาดคลอง ขุดลอกคลอง ขยายคลองหลายร้อยกิโลเมตร เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุด รวมถึงสร้างอาคารใหม่เพื่อกระจายน้ำ ปรับปรุงคันคลองเป็นถนนลูกรังเพื่อลำเลียงผลิตผลทางการเกษตร ในพื้นที่ อนาคตหากท้องถิ่นจะพัฒนาทำแผนปรับปรุงเป็นถนนลาดยางหรือคอนกรีตก็สามารถทำได้

    แผนแม่บทยังมีการบริหารจัดการแก้มลิง นายเฉลิมเกียรติ บอกว่า สำรวจพบพื้นที่แก้มลิง 24 แห่ง หากขุดลอกลึก 4-6 เมตร แล้วจะสามารถเก็บปริมาณน้ำใช้ได้ 18 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์จากแก้มลิง 17,680ไร่ จะใช้ประโยชน์เพาะปลูกเป็นหลัก น้ำต้นทุนแก้มลิงมาจากน้ำที่ผ่านคลองส่งน้ำของโครงการฤดูฝน และน้ำท่าในพื้นที่โครงการบางส่วน

    “ พื้นที่แก้มลิงจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ละ200-300 ไร่ หรือตามขนาดของกลุ่มผู้ใช้น้ำ ที่เคยมี มีการบริหารจัดการสูบน้ำจากแก้มลิงไปในแปลงเพาะปลูกเดิมตามรูปแบบศาสตร์พระราชาโคก หนอง นา โมเดล และเน้นใช้น้ำอย่างประหยัด ส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชหลากหลาย น้ำอีกส่วนใช้บริโภคไร่ ตามแผนจะเริ่มขุดแก้มลิงหนองดงขวัญ พื้นที่ 80 ไร่ ช่วยพื้นที่เกษตร 1,600 ไร่ ให้มีน้ำใช้ ส่วนแก้มลิงสว่างอารมณ์ พื้นที่ขนาดใหญ่ 240ไร่ ช่วยเพาะปลูกหน้าแล้งได้ 820ไร่ พัฒนาทำประมง และผลิตประปาป้อนหมู่บ้านข้างเคียงได้อีก หากกรมชลประทานกับจังหวัดประชุมและจัดตั้งแผนขุดลอกแก้มลิงให้ใหญ่ลึก กว้าง เร็วที่สุด จะได้ประโยชน์ แก้มลิงเปรียบเหมือนอ่างเก็บน้ำ ภัยแล้งกำแพงเพชรจะหายไป ” นายเฉลิมเกียรติย้ำเป็นการสืบสาน ต่อยอดโครงการในพระราชดำริของ ร.9

    b89ce0b899e0b981e0b8a1e0b988e0b89ae0b897e0b89ee0b8b1e0b892e0b899e0b8b2e0b897e0b988e0b8ade0b897-3.jpg

    รองอธิบดี บอกว่า เดิมกำแพงเพชรโควต้าใช้น้ำจากแม่น้ำปิง 200 -300 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี เมื่อทำโครงการปรับปรุงแล้วเสร็จ จะมีน้ำตุนในคลองความยาว 500 กิโลเมตร แล้วยังมีพื้นที่แก้มลิงจะได้น้ำเพิ่มกว่าเดิมเท่ากว่าตัว ประมาณ 600 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี หน้าฝนเก็บ หน้าแล้งมีเครื่องมือประตูน้ำปิด-เปิดเสถียรขึ้น เก็บน้ำก่อนหมดฝน ต้องบริหารจัดการน้ำ

    นอกจากบรรเทาภัยแล้งแล้ว ในช่วงอุทกภัยยังสามารถลดความรุนแรงในพื้นที่ รองอธิบดีระบุคลองส่งน้ำจะเป็นคลองระบายน้ำในตัว ซึ่งคลองท่อทองแดงผ่านเขตเมือง หากฝนตกหนักในเขตเทศบาลส่วนหนึ่งไหลลงแม่น้ำปิงและไหลลงคลองชลประทาน เดิมคลองเล็กสร้างเมื่อ 40ปีที่แล้ว เมื่อปรับปรุงแล้ว น้ำจะไหลลงคลองและแก้มลิงรับน้ำ บางพื้นที่อยู่ติดคลองส่งน้ำสามารถติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบายลงคลองที่ปรับปรุงใหม่ เช่น พรานกระต่ายช่วยบรรเทาอุทกภัยได้

    b89ce0b899e0b981e0b8a1e0b988e0b89ae0b897e0b89ee0b8b1e0b892e0b899e0b8b2e0b897e0b988e0b8ade0b897-4.jpg


    เมื่อถามถึงสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงและการเร่งช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ณ เวลา รองอธิบดีกรมชลฯ บอกว่า กำแพงเพชรอยู่ต้นน้ำปิง สำนักชลประทานที่ 4 และโครงการส่งน้ำฯ ท่อทองแดง ช่วยสูบน้ำจากคลองส่งน้ำช่วยเหลือไร่นาที่ขาดน้ำ ไม่ให้เกิดผลเสียหายรุนแรง อีกส่วนหนึ่งเข้าฤดูฝนเต็มตัว ฝนตกชุกมากขึ้น ความเดือดร้อนเบาบางลง ปัญหาเริ่มคลี่คลายแล้ว อย่างไรก็ตาม ขอให้เกษตรกรมีวินัยในการใช้น้ำ

    เขาบอกว่า ขณะนี้น่าน นครราชสีมา ตราด ฝนตกมากกว่า 100 มิลลิเมตร ภาคเหนือปริมาณน้ำบริหารจัดการได้ เชียงใหม่ไม่ต้องกังวล ไม่ขาดแคลนน้ำ ขณะที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาจาก 4 เขื่อนใหญ่ แควน้อย ป่าสักชลสิทธิ์ ภูมิพล สิริกิติ์ มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 7,400 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 30 ของความจุอ่างรวมกันเท่านั้น บางพื้นที่อย่างลพบุรี มีปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำบางขาม ก็ระดมสูบผันน้ำกว่า 25 ล้าน ลบ. ม. สนับสนุนผลิตประปา ช่วยพื้นที่ปลูกข้าวนาปี และรักษาระบบนิเวศในพื้นที่ลพบุรี ขณะนี้มีน้ำใช้เพียงพอแล้ว แต่ต้องใช้น้ำอย่างประหยัด และไม่ปล่อยน้ำมากเกินไป เพราะแม่น้ำเจ้าพระยาระหว่างทางมีเครื่องสูบน้ำกว่า 300-400 เครื่อง ส่วนนาข้าวอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ระดมเครื่องสูบน้ำดูแล และแก้ปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ ขุดลอก เก็บผักตบ การไหลของน้ำดีขึ้น สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว

    อย่างไรก็ตาม กรมชลประทานเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด จากการคาดการณ์กรมอุตุนิยมวิทยา ช่วงวันที่ 14 – 18 ก.ค. ร่องมรสุมพาดยังคงผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ อีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

    สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการกำชับโครงการชลประทานทั่วประเทศ ให้ติดตามสถานการณ์น้ำท่าและสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมตรวจสอบอาคารชลประทานทุกแห่ง ให้สามารถใช้งานได้เต็มศักยภาพ บูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เน้นในพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง บริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

    สุโขทัย-กำแพงเพชร พื้นที่เสี่ยง รองอธิบดีกรมชลฯ กล่าวว่า สุโขทัยเป็นจังหวัดต้นๆ ติดแม่น้ำยม ผู้ว่าฯ สุโขทัย ชลประทานจังหวัด ขุดลอกคลองหลายพื้นที่ พร่องน้ำในแม่น้ำยม และตรวจเครื่องมือปิดเปิด และดูคลองส่งเพื่อเตรียมการตัดยอดน้ำ หากปริมาณฝนไม่รุนแรงและตกต่อเนื่อง มวลน้ำจะไหลผ่านสุโขทัยได้ แต่ถ้าตกรุนแรงจะระดมเครื่องสูบน้ำช่วย ขณะนี้เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำ หากน้ำท่วมจะไม่รุนแรงและท่วมขังไม่นาน แต่ถ้าน้ำเข้ามา 600-700 ลบ.ม.ต่อวินาที เมืองจะแตก ต้องเสริมคันกั้นน้ำ เป็นการบริหารจัดการน้ำในเขตเมือง

    ขณะที่บางบาล บางไทร จ.อยุธยา อยู่ระหว่างทำโครงการทางเลี่ยงเมือ แต่จะเอาน้ำมาลงบางบาล บางไทรเต็มศักยภาพยังไม่ได้ เตรียมหาหาพื้นที่รับน้ำ ไม่ให้น้ำท่วมรุนแรง ส่วนบางเลนเตรียมเครื่องสูบน้ำ เสริมคันกั้นน้ำ หากท่วมหนักติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และจะมีการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำร่วมกับ ปภ. เพื่อให้ประชาชนเคลื่อนย้ายสิ่งของหนีน้ำทัน

    สำหรับ จ.เพชรบุรี บริเวณแม่น้ำเพชรบุรีสายเก่ามีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากก็เตรียมการป้องเสริมคันดิน เพิ่มประสิทธิภาพระบายน้ำส่งคลอง เพื่อให้สามารถป้องกันหรือบรรเทาปัญหาน้ำท่วมให้ได้ อีกพื้นที่เสี่ยง จ.แพร่อยู่ริมแม่น้ำยม แม่น้ำสายใหญ่เป็นจุดอ่อนได้วางแผนบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมแล้ว ด้านอำเภอบางสะพาน จ.ประจวบฯ มีคลองผันน้ำ บรรเทาอุทกภัย เป็นคลองลัดให้ระบายลงทะเลรวดเร็วขึ้น ขณะที่หัวหิน พัทยา เมืองติดทะเล ใช้วิธีติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จันทบุรีท่วมประจำ แก้ด้วยทำคลองเลี่ยงเมือง ส่วนแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ขุดลอก กำจัดวัชพืช ไม่ให้กีดขวางทางน้ำ

    รองอธิบดีกรมชลฯ ย้ำการป้องกันและแก้ปัญหาอุทกภัยต้องดำเนินการก่อนฤดูฝนรอบใหม่ ซึ่งหลายพื้นที่ดำเนินการไปแล้ว อย่างไรก็ตาม หากเกิดสถานการณ์น้ำท่วมจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก ก็พร้อมช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัยอย่างเต็มที่

    b89ce0b899e0b981e0b8a1e0b988e0b89ae0b897e0b89ee0b8b1e0b892e0b899e0b8b2e0b897e0b988e0b8ade0b897-5.jpg

    ขอขอบคุณที่มา

    https://www.thaipost.net/main/detail/110068
     

แชร์หน้านี้

Loading...