เพจ คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง, 17 กันยายน 2017.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    รักษากำลังใจให้มันมั่นคงจริงๆ ให้จิตมันแน่วแน่จริงๆ อย่าเอาจิตเข้าไปยุ่งกับอารมณ์ภายนอก ทำงานทุกอย่างเพื่อสาธารณประโยชน์ เราทำเพื่อพระนิพพาน ที่เราทำนี่เพื่อไม่ให้เกิด ไม่ใช่ทำเพื่อเกิด,

    ไม่เกิด-ทำทำไม ก็ทำเพื่อเป็นการตัดอารมณ์ว่า ไอ้งานที่เราทำไปแล้ว เราลงทั้งทุนลงทั้งแรง แต่ว่าทำไปแล้ว เราก็รู้ว่ามันเป็นอนิจจังของไม่เที่ยงนะ, อนัตตาไม่ช้าก็สลาย มันไม่ตายก่อนเราก็ตายก่อน มันไม่พังก่อนเราก็ตายก่อน

    เราทำเพื่อจิตตัดโลภะ ความโลภ การทำงานอารมณ์มันจุกจิก ฝึกอารมณ์ใจให้มันเย็น ตัดความโกรธ การไม่สนใจว่ามันเป็นของเรา เพราะว่าเรากับมันไม่ช้าต่างก็บรรลัย เป็นการตัดความหลง ไปนิพพานเลย.

    คำสอนหลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    10269480_514268312018250_6872745655364786945_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  2. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    :::ชอบสวดมนต์:::
    ผู้ ถาม
    หลวงพ่อเจ้าขา คนที่ชอบสวดมนต์แต่ไม่เคยเจริญพระกรรมฐานเลย แต่อธิษฐานว่า ตายเมื่อไรขอไปนิพพานทันที
    อย่างนี้เขาจะไปได ้ หรือเปล่าเจ้าคะ….?
    หลวงพ่อ
    ถ้าเขากำลังใจดีเขาไปได ้ นะ ถ้านั่งสวดมนต์ก็กรรมฐานนี้ สวดมนต์อย่างตํ่าเป็นอุปจารสมาธินะ ถ้าจิตไม่เป็นสมาธิเรา
    สวดไม่ได ้ กรรมฐานไม่ใช่ว่าต้องนั่งหลับตาเสมอไป ที่เขาอธิษฐานจิตว่า ถ้าเขาต้องการพระนิพพานชาตินี้ การสวด
    มนต์ถือว่าเป็นสมถภาวนาด้วยนะ ถ้าเขาเกิดมีปัญญาคิดว่าการเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ก็ทุกข์ ความเจ็บไข ้ ไม่สบายก็
    ทุกข์ ความพลัดพลากจากของรักของชอบใจก็ทุกข์ ความตายก็ทุกข์ ความทุกข์อย่างนี้ไม่ต้องการมีต่อไปในอีกชาติ
    ต่อไป อย่างนี้ตายแล้วไปนิพพานได ้ แน่ ปัญญาถึง

    10294491_516791331765948_4204397308229928783_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  3. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    กฏธรรมดาของโลก ถ้ามันเกิดขึ้นกับเราก็ถือว่าช่างมัน
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง
    วันนี้ก่อนที่จะศึกษาอย่างอื่นก็ให้นึกถึงกฏธรรมดาไว้เป็นสำคัญ กฏธรรมดาสำหรับเรานั่นก็คือ
    ๑. ชาติปิ ทุกขา ความเกิดเป็นทุกข์
    ๒. ชราปิ ทุกขา ความแก่เป็นทุกข์
    ๓. มรณัมปิ ทุกขัง ความตายเป็นทุกข์
    ๔. โสกปริเทวทุกขโทมนัส ความเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์
    ๕. ความพลัดพราก จากของรักของชอบใจเป็นทุกข์ มีอารมณ์ขัดข้องหรือมีความปรารถนาไม่สมหวังเป็นทุกข์
    พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า เราเกิดมาเพื่อประสบกับทุกข์ คนที่เกิดมาแล้วทุกคนที่จะไม่มีทุกข์ ไม่มี ถ้าหากว่าเรายังยึดถือร่างกายเป็นของเรา ทรัพย์สินเป็นของเรา ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเป็นของเรา อารมณ์ทุกข์มันก็เกิด เกิดเพราะว่าจิตเราเกาะ ที่เรียกว่าอุปาทาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรมทั้ง ๘ ประการ คือ
    มีลาภ-ดีใจ ลาภสลายตัวไป-เสียใจ
    มียศ-ดีใจ ยศสลายตัวไป-เสียใจ
    มีความสุขในกามสุข-ดีใจ ความสุขหมดไป-ร้อนใจ
    ได้รับคำนินทา-เดือดร้อน ได้รับคำสรรเสริญ-มีสุข
    นี่ก็ถือว่าเป็นอารมณ์ของอุปาทาน สร้างความทุกข์ สร้างความหวั่นไหวให้เกิดขึ้นกับเรา
    ● ทำอย่างไรเราจึงจะพ้นทุกข์
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแนะนำให้พวกเราถือว่า ใช้อารมณ์คิดอยู่เสมอว่า กฏนี้เป็นกฏธรรมดาของโลก ที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงมันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นกับเราก็ถือว่าช่างมัน ตามศัพย์ภาษาบาลีท่านเรียกว่า ขันติ ความอดทน ถ้าใช้คำว่าอดทนเข้าใจยาก ใช้ภาษาไทยธรรมดาดีกว่า ว่ามันจะเกิดขึ้นมาประเภทไหนก็ช่างมัน

    10277646_517151915063223_5646927984020639942_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  4. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    อารมณ์ของฌาน

    ท่านพระโยคาวจรทั้งหลาย และบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
    วันนี้ ก็จะขอพูดเรื่องอานาปานุสสติกรรมฐาน
    ส่วนที่แล้วมานั้นได้พูดถึง ด้านขณิกสมาธิ กับ อุปจารสมาธิ
    สำหรับวันนี้จะได้พูดถึง อารมณ์ของฌาน

    การเจริญอานาปานุสสติกรรมฐาน อารมณ์เข้าสู่ความเป็นฌาน
    ความจริงก็เป็นเครื่องสังเกตไม่ยาก เมื่อผ่านอุปจารสมาธิมาแล้ว ตอนนี้จิตจะมีความสุขมีความเยือกเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฌานนี่แบ่งออกเป็น ๔ อย่าง คืออารมณ์ปฐมฌานปฐมฌานนี่มีองค์ ๕ คือ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

    คำว่า วิตก ก็ได้แก่ อารมณ์นึกที่เราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก

    วิจาร ก็ได้แก่ การรู้ว่าเวลานี้เราหายใจเข้าหรือว่าหายใจออก
    หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น
    หรือว่าจะพูดกันถึงในกรรมฐาน ๔๐ เราก็จะมีอารมณ์รู้ว่าเวลานี้ลมกระทบจมูก
    กระทบหน้าอก กระทบศูนย์เหนือสะดือ สำหรับลมหายใจเข้า
    ถ้าสำหรับลมหายใจออก ก็จะกระทบศูนย์เหนือสะดือ กระทบหน้าอก
    กระทบจมูกหรือว่าริมฝีปาก อย่างนี้เป็นอาการของวิจาร จำไว้ให้ดีด้วย

    และก็ ปีติ เป็นความเอิบอิ่มใจ ตามที่กล่าวมาแล้ว
    มีความชุ่มชื่น มีความเบิกบาน ไม่มีความอิ่ม ไม่มีความเบื่อในการเจริญพระกรรมฐาน สามารถจะรวบรวมกำลังสมาธิเมื่อไหร่ก็ได้

    สุข ก็ได้แก่ ความสุขเยือกเย็น ที่หาความสุขเปรียบเทียบใดๆ ไม่ได้
    และมีความเอิบอิ่มใจมาก

    เอกัคคตา มีอารมณ์เดียว หมายความว่า ในขณะนั้นจิตจะจับเฉพาะอารมณ์ลมหายใจเข้าออกอยู่ตามปรกติ จิตจะไม่รับอารมณ์ส่วนอื่น

    อันนี้เป็นอาการของที่เราจะทราบได้ตามจริยา
    คือ อาการของปฐมฌาน มีองค์ ๕

    แต่ทว่าจะพูดถึงความรู้สึก ขณะที่จิตของเราเข้าถึงปฐมฌาน
    จิตจะจับลมหายใจเข้าออก ลมหายใจจะเบา มีความสุขสดชื่น
    หูได้ยินเสียงภายนอกชัดเจนแจ่มใส แต่ทว่าไม่รำคาญในเสียง

    จะเป็นเสียงดังจะเป็นเสียงเบา เสียงเพลง เสียงทะเลาะกัน
    เอะอะโวยวายของขี้เมา ขี้เหล้าเมายาก็ตาม เราไม่รำคาญในเสียง
    สามารถจะคุมอารมณ์ได้ตามปรกติ อย่างนี้เรียกว่า ปฐมฌาน

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำลังจิตสำหรับผู้ฝึกที่จะเข้าปฐมฌานนั้น
    ก็มีความสำคัญอยู่จุดหนึ่ง คือ ขณะที่จิตก้าวเข้าไปสู่ปฐมฌานเบื้องแรก
    กำลังของจิตยังไม่มั่นคง

    ตอนนี้เวลาที่เราจับลมหายใจเข้าออกจะมีอารมณ์สงัด
    จะมีสภาพนิ่งคล้ายๆ อาการเคลิ้ม บางทีเราคิดว่าเราหลับแต่ความจริงไม่หลับถ้าหลับมันจะโงกหน้าโงกหลัง

    อาการเช่นนั้นที่เกิดขึ้นกับเรา มีอาการเฉยๆ ตัวตั้งตรง
    แต่ว่ามีอาการเคลิ้มลืมตัวเหมือนหลับ สักครู่เดียวหรือประเดี๋ยวเดียว
    จะมีอาการหวิวคล้ายตกจากที่สูง และเราก็ไม่สามารถจะนำอารมณ์นั้นขึ้นมาใช้ได้อีกเพียงแค่รักษาอารมณ์สบาย

    อาการอย่างนี้ ขอท่านทั้งหลายพึงทราบ ว่านั่นสมาธิจิตของท่าน
    ขณะที่มีอารมณ์สบายเงียบสงัด มีอาการคล้ายเคลิ้มเหมือนหลับ
    เป็นอาการจิตหยาบของอารมณ์หยาบของปฐมฌาน
    เป็นการก้าวขึ้นสู่ปฐมฌานแบบหยาบๆ

    แต่ทว่าจิตไม่สามารถจะทรงฌานอยู่ได้ จิตพลัดจากฌาน
    จะมีอาการหวิวคล้ายกับตกจากที่สูง ถ้ามีอาการอย่างนี้เกิดขึ้น ก็จงอย่าสนใจ มันจะเป็นยังไงก็ช่าง เราก็รักษาอารมณ์ปรกติไว้ ได้เท่าไหร่พอใจเท่านั้น

    มาเข้าถึงตอนทุติยฌาน คือ ฌานที่ ๒
    ฌานที่ ๒ นี่มีองค์ ๓ คือ ตัด วิตก วิจารเสียได้
    เหลือ ปีติ สุข เอกัคคตา

    ในตอนนี้จะรู้สึกว่าจิตเข้าไปจับลมหายใจเข้าลมหายใจออกจะวางไว้
    คือจิตจะไม่สนใจ ลมหายใจจะเบาลง มีแต่ความสดชื่นหรรษา มีความนิ่งสนิท

    ถ้าหากว่าเราจะสังเกตให้ง่าย นั่นก็คือถ้าเราภาวนาไปด้วย
    สมมติว่าเรากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก เวลาหายใจเข้าเรานึกว่าพุท
    เวลาหายใจออกนึกว่าโธ อันนี้จะสังเกตง่าย ในขณะที่เข้าฌานที่ ๒
    ในขณะจิตเข้าถึงฌานที่ ๒ คำภาวนาจะหายไป จิตจะตั้งอารมณ์ทรง
    มีความเอิบอิ่ม มีอารมณ์สบาย มีอารมณ์ละเอียด สงัด มีอารมณ์สงัดมาก

    แต่พอจิตเคลื่อนจากฌานที่ ๒ ลงมาสู่อุปจารสมาธิ
    จะมีความรู้สึกว่า โอหนอ นี่เราลืมไปเสียแล้วหรือ หรือว่าเราเผลอไปแล้ว
    นี่เราไม่ได้ภาวนาเลย การกำหนดรู้จับลมหายใจเข้าออกเราก็ไม่ได้ทำ
    ตายจริงนี่เราเผลอไป แต่ความจริง นั่นไม่ใช่อาการของความเผลอ
    เป็นอาการของจิตที่ทรงสมาธิสูงขึ้น ขอท่านทั้งหลายพึงเข้าใจตามนี้

    สำหรับอาการของฌานที่ ๓ นั้น มีองค์ ๒ คือ เหลือแต่สุขกับเอกัคคตา ตัดปีติหายไป

    อาการของ ฌานที่ ๓ นี่ที่เราจะสังเกตได้ง่าย ความชุ่มชื่นสดชื่นหายไปของจิต
    จิตมีความสุข และก็มีจิตทรงตัวมากในอารมณ์ที่ตั้งไว้ ดีกว่าฌานที่ ๒

    แล้วทางร่างกายจะสังเกตว่า มีอาการคล้ายๆ กับนั่งหรือยืนตรงเป๋งเหมือนอะไรมาผูกเข้าไว้
    สำหรับลมหายใจจะรู้สึกว่าเบาลงไปมากเกือบไม่มีความรู้สึก
    หูได้ยินเสียงภายนอกเบาๆ ถึงแม้ว่าเสียงนั้นจะดัง แต่ก็เสียงที่เราได้ยินเบามาก
    อย่างนี้เป็นอาการของฌานที่ ๓

    เมื่อเข้าถึงฌานที่ ๔ จะมีความรู้สึกว่าเราไม่ได้หายใจ
    แต่ทว่ากำลังใจไม่มืด มีความสว่างโปร่งทรงอารมณ์อยู่ตามปรกติ มีอารมณ์เด็ดเดี่ยวตั้งมั่น
    คือมีความมั่นคงมาก ไม่รู้การสัมผัสจากภายนอก ยุงจะกิน ริ้นจะกัด
    เสียงจะมาจากทางไหนไม่รู้หมด ปรากฎว่ามีจิตนิ่งเฉยๆ

    สำหรับฌาน ๔ นี้มีองค์ ๒ คือ มีเอกัคคตากับอุเบกขา

    เอกัคคตา หมายความว่า ทรงอารมณ์เป็นหนึ่ง อารมณ์ไม่เคลื่อน
    อุเบกขา หมายถึงว่า เฉยไม่รับสัมผัสอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด

    ที่พูดมานี้ เพื่อประสงค์ที่ให้ท่านทั้งหลายทราบว่า
    อาการของฌานมันเกิดขึ้นจะมีความรู้สึกเป็นยังไง
    แต่ว่าเนื้อแท้จริงๆ นักปฏิบัติถ้าจะปฏิบัติกันให้ดีล่ะก็
    จงอย่าสนใจว่าเวลานี้มันจะได้ฌานอะไร
    จะเข้าถึงฌานหรือจะเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ
    จะเป็นฌานที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็ช่าง ไม่สนใจ

    นี่เราพูดกันถึงว่าในแง่ของการปฏิบัติที่เอาดีกัน ถือว่าวันนี้ได้ดีเพียงใด พอใจเท่านั้น
    เราทำตามอารมณ์สบายของเรา มันได้แค่ไหนพอใจแค่นั้น
    เมื่อวานนี้ดีกว่าวันนี้ วันนี้เลวกว่าเมื่อวานนี้หน่อยก็่ช่าง คิดว่าเราเป็นผู้สะสมความดี
    จะทรงอารมณ์จิตให้อยู่ในด้านของสมาธิตามความพอใจที่เราต้องการเท่านี้พอ

    ถ้าจิตตั้งอยู่อย่างนี้ อารมณ์จะเป็นสุข ไม่มีอาการดิ้นรน
    จงอย่าสนใจกับภาพที่เห็น จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของจิต
    ว่าเมื่อวันก่อนนี้มันเลวกว่าวันนี้ หรือว่าวันนี้ดีกว่าวันก่อน
    ถ้าไปสนใจอย่างนั้น จิตจะไม่ทรงตัว จะหาอารมณ์ที่แนบสนิทไม่ได้

    ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลายพึงตั้งใจไว้โดยเฉพาะ เพื่อผลของความดี
    นั่นก็คือเวลาที่เจริญสมาธิจิต จะด้านอานาปานุสสติก็ตาม กรรมฐานกองอื่นใดก็ตาม จงทราบว่า เวลานี้จะตกอยู่ในสภาพของฌานอะไรก็ช่าง
    อย่าไปตั้งหน้าตั้งตาว่าเราต้องการได้ฌานนั้น เราต้องการทรงฌานนี้ มันจะเกิดอารมณ์กลุ้ม

    ถ้าอารมณ์กลุ้มเกิดขึ้นมาแล้วมันก็ตัดความดีทั้งหมด
    ผลที่สุด วันนั้นเราจะไม่ได้อะไรเลย เป็นอันว่าขณะใดที่ทำไปขณะนั้นเรามีความพอใจ ได้แค่ขณิกสมาธิคือสมาธิเล็กน้อยเราก็พอใจ ได้ถึงอุปจารสมาธิเราก็พอใจ
    จิตตกอยู่ในฌานใดฌานหนึ่งเราก็พอใจ พอใจเสียทั้งหมด

    ถ้าทำจิตอย่างนี้ อารมณ์จิตจะสบาย ก็ได้แก่การฝึกจิตเข้าถึงอุเบกขารมณ์นั่นเองเมื่อการฝึกจิตแบบนี้แล้ว ต่อไปจิตจะเป็นเอกัคคตารมณ์และอุเบกขา
    คือจิตจะทรงฌาน ๔ ได้ง่าย

    ตอนนี้มาก็ขอพูดกันถึงหลักแห่งการปฏิบัติ
    การปฏิบัติที่จะให้ผลกันจริงๆ ผมเคยพูดมาแล้วในตอนก่อนว่า
    จงใช้เวลาจุกจิกๆ ของเราเป็นเครื่องการกระทำสมาธิ

    อย่างที่พูดมาวันวานนี้ว่า เวลาทำการทำงานก็ดี ใช้งานเป็นสมาธิ
    เดินไปบิณฑบาต เดินไปธุระ จะทำอะไรก็ตาม อย่าทิ้งลมหายใจเข้าออก
    พยายามนึกถึงลมหายใจเข้าหายใจออกไว้เสมอ

    แต่ว่าถ้างานนั้นไม่เหมาะสมแก่การใช้ลมหายใจเข้าหายใจออก
    เราก็ใช้จิตจับอยู่ที่งาน ว่าเวลานี้เราทำอะไร เราดายหญ้ารึ
    เราก็เอาใจจับไว้เฉพาะเวลาที่เราดายหญ้า มือเราถือจอบ
    จอบเราฟันดิน หรือเราถากหญ้า จะถากตรงไหน ตั้งใจไว้โดยเฉพาะ
    อย่างนี้ก็เป็นอาการฝึกอารมณ์ของสมาธิไปในตัว

    เราจะทาสี เราจะตอกตะปู เราจะเลื่อยไม้ เราจะโบกปูน
    เราจะทำอะไรทุกอย่าง ตั้งใจทำในกิจนั้นโดยเฉพาะ
    เอาจิตจับไว้โดยเฉพาะในเรื่องนั้น อย่างนี้เป็นการทรงสมาธิ
    ทำสมาธิให้ทรงตัวไปในตัว เป็นการฝึกในงาน

    สำหรับวันนี้ยังไม่พูดถึงด้านวิปัสสนาญาณ ก็จะพูดในวงแคบๆ ของสมาธิเท่านั้นมีอีกวิธีหนึ่งที่เคยฝึกกันมา ผมก็ดี เพื่อนของผมก็ดี
    หลายๆ ท่านก็ดี เขาใช้วิธีฝึกต่อสู้กันแบบนี้

    หนึ่ง ซ้อมการต่อสู้กับความเหนื่อย เราเหนื่อยมาก็ดี เราร้อนมาก็ดี
    เดินทางไกลมาเหนื่อยๆ และกำลังร้อนจัด สมัยโน้นมันไม่มีรถไม่มีเรือ มันหายาก จะไปมาติกาบังสุกุล จะไปไหนกันทีก็ใช้การเดิน

    เดินมาร้อนๆ และก็เหนื่อยจัด พอมาถึงที่ เปลื้องผ้าออก
    ถ้าไม่ร้อนไม่เป็นไร เข้าห้อง ในขณะเดียวกันนั่นเอง
    เราก็อยู่ในห้องของเราโดยเฉพาะ ไม่ยอมให้เหงื่อแห้ง
    ไม่ยอมคลายความเหนื่อย นั่งปับหรือว่านอนลงจิตจับสมาธิทันที
    จับลมหายใจเข้าหายใจออกว่าจิตมันจะทรงตัวมั้ย
    ถ้าจิตยังไม่ทรงตัวดีเพียงใด เราจะไม่เลิก แต่ว่าอาการอย่างนี้ท่านทั้งหลาย
    มันเป็นการระงับความเหนื่อย คือดับความร้อน ดับความเหนื่อยไปในตัว

    เมื่อจิตเข้าถึงสมาธิเล็กน้อย คือขณิกสมาธิ ความเหนื่อยมันก็คลาย
    พอจิตเข้าถึงอุปจารสมาธิ มีปีติเป็นอารมณ์ ตอนนี้เองมันจะหายเหนื่อยทันที
    ความร้อนความกลุ้มมันจะหายไป และความเหนื่อยจากทางร่างกายมันก็จะไม่มี
    ต้องพยายามต่อสู้อย่างนี้นะครับ

    การสำเร็จมรรคผลหรือได้ฌานสมาบัติ ไม่ใช่ได้มาจากป่า
    ส่วนใหญ่จริงๆ เขาได้ในที่มวลชนมากๆ
    และการเจริญสมาธิจากป่าในแดนสงัดที่ว่าได้ผลดีนั้นไม่จริง
    ถ้าหากว่าจิตยังไม่ถึงความเป็นพระอริยเจ้าเพียงใด ท่านกลับเข้ามาหาหมู่ชนเมื่อไหร่ เมื่อนั้นมันเกิดการกลุ้มทันที ต้องมาฝึกกันใหม่

    ถ้าหากว่าจะถามว่าทราบเรื่องนี้ได้ยังไง
    กระผมก็ต้องขอตอบว่าผมชนกับมันมาแล้วทุกอย่าง
    การอยู่ในป่าช้า การอยู่ในป่าชัฏ การอยู่ในถ้ำ ผมทำมาแล้วทุกอย่าง
    แต่ผลจริงๆ ที่ได้ทรงตัว ก็คือต้องเข้ามาต่อสู้กับกลุ่มคน

    นั่นเราอยู่คนเดียวมีการสงบสงัด ไม่มีอะไรรบกวนใจ
    เราจะทรงอารมณ์อย่างใดก็ได้ เหมือนเราปักไม้ไว้ในที่สงัด
    ลมไม่พัด น้ำไม่ไหล ไม่มีใครไปจับเขย่า ไม้มันก็มีอาการทรงตัว
    ปักแน่นหรือไม่แน่นมันก็ทรงตัวอยู่ได้ ถ้าไปปักที่น้ำมันไหลเชี่ยว
    ลมพัดแรง มีคนเขย่า ถ้ามันไม่แน่นจริงๆ มันก็ทรงตัวไม่ไหว
    ข้อนี้มีอุปมาฉันใด จิตของเราก็เหมือนกัน
    ที่จะได้ดีกันจริงๆ ก็ต้องต่อสู้กับอารมณ์ที่เข้ามาขัดขวาง

    อาการที่ต่อสู้กับความเหนื่อยและความร้อนนี่ ผมเคยทำแบบนี้นะ
    เคยทำแบบนี้ บางทีผมทำงานเหนื่อยๆ ดีไม่ดีกำลังเหนื่อยหอบแฮ่กๆ นั่นแหละ
    ผมหยุดพักนั่งพิงสันหลังพิงฝาปับจับอารมณ์สมาธิ
    จับเมื่อไรมันทรงตัวเมื่อนั้น อารมณ์สบายทันที

    นี่ฝึกมันต้องฝึกแบบนี้ เวลาทำงานเหนื่อยๆ
    แต่ว่าเวลาที่จะนั่งทำแบบนั้นระวังนะ อย่าให้ใครเขาเห็น
    การนั่งสมาธิให้คนเห็น พระพุทธเจ้าท่านทรงปรับว่าเป็นอุปกิเลส
    มันจะมีการโอ้การอวดอยู่ในตัวเสร็จ ใช้ไม่ได้ ต้องใหัลับนั่งเฉยๆ สบายๆ
    ใครจะว่ายังไงก็ช่าง ประเดี๋ยวหนึ่งเราก็ลุกไปทำงานของเราใหม่

    ประการที่สอง ต้องพยายามต่อสู้กับเสียง เวลานี้สะดวก ในการต่อสู้กับเสียงนี่
    อย่าใช้เสียงให้มันดังนัก ชาวบ้านเขาจะรำคาญ

    วิธีต่อสู้กับเสียงก็คือ ขณะที่เราพบกับเสียงที่เราไม่พอใจ
    เขาคุยกันเอะอะโวยวาย เราย่องเข้าไปใกล้ๆ ถ้ามันไม่มีที่ลับ เราก็เข้าไปใกล้ๆ
    ทำตามองเหม่อดูอะไรซะก็ช่าง เอาจิตจับลมหายใจเข้าหายใจออก
    ลองดูซิว่ามันรำคาญในเสียงมั้ย

    ถ้าทำอย่างนั้นไม่สะดวก เวลานี้วิทยุของเรามี บันทึกเสียงของเรามี
    เวลาเราจะทำเปิดเบาๆ นะ อย่าไปให้คนข้างๆ เขารำคาญ
    เปิดวิทยุฟังเบาๆ มันจะเป็นเพลงละครอะไรก็ตาม
    ขณะเดียวกันนั้น เราก็ใช้อารมณ์กำหนดอานาปานุสสติกรรมฐานและภาวนาไปด้วยก็ได้
    หูได้ยินเสียงเพลง เสียงพูดในวิทยุชัด
    แต่ว่าถ้าจิตของเราไม่รำคาญในเสียงนั้นอย่างนี้ใช้ได้
    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทำไปๆ
    จนกระทั่งหูไม่ได้ยินเสียงเลยยิ่งดีใหญ่ นั่นเป็นอาการของฌาน ๔

    เท่าที่เคยฝึกกันมา ผมเคยฝึก อันดับแรก ใช้แผ่นเสียงชุดหนึ่งให้เด็กเล่น
    เมื่อเด็กเล่น เด็กก็เอะอะโวยวายไปตามเรื่อง และใช้เสียงมันก็เปิดเสียงเพลงด้วย
    สมัยก่อนก็ใช้วิทยุขยายเสียงแผ่นเสียงแบบไขลาน ต่อมาแผ่นเสียงเดียวหรือสายเดียวเราสู้ได้
    ก็ไปซื้อใหม่อีกเครื่องหนึ่ง เพลงไม่เหมือนกันให้เด็กอีกพวกหนึ่งเล่น
    มันก็เถียงกันมาเถียงกันไป ฝ่ายนี้เปิดเพลงอย่างนั้น ฝ่ายนั้นเปิดพลงอย่างโน้น
    เรานอนกลาง นอนจับลมหายใจเข้าออกภาวนาไปจนไม่รำคาญในเสียง
    ในที่สุดเสียงอันดังมันก็ดังแว่วน้อยลงมาทุกทีๆ จนกระทั่งถึงระดับไม่ได้ยินเสียงเลยนี่ใช้ได้

    ต้องต่อสู้แบบนี้เสมอๆ จนกระทั่งมีอารมณ์ชิน อารมณ์ชินขึ้นมา
    เสียง ได้ยินเสียงที่เราไม่พอใจเมื่อไหร่ หรือว่าเราพอใจเมื่อไหร่ก็ตาม
    เราจะเข้าสมาธิได้ทันทีทันใด นี่ว่ากันถึงการฝึกจิตให้คล่องในการเข้าสมาธิ
    ถ้าทำได้อย่างนี้อารมณ์จิตจะทรงตัว พยายามทำ

    จงอย่าคิดว่าทำไม่ได้ ไม่มีใครเขาทำได้มาตั้งแต่เกิด
    ทุกคนต้องมาฝึกกันเหมือนกัน จนถึงพระอรหันต์ทุกองค์ที่ท่านเป็นพระอรหันต์ท่านก็ฝึกกันมาแบบนี้ ค่อยทำค่อยไปทีละน้อยละน้อย ในที่สุดมันก็เข้าถึงจุดจบถ้าเราไม่ละความพยายาม ตอนนี้พูดเฉพาะอานาปานุสสติกรรมฐานดีไม่ดีเดี๋ยวก็เผลอเอาอะไรมาป้วนเปี้ยนเข้ามันจะยุ่งกันใหญ่

    ที่นี้ต่อมาอีก เราก็พยายามฝึกระงับอารมณ์ที่เข้ามากระทบ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คืออนิฏฐารมณ์

    คำว่าอนิฏฐารมณ์ก็ได้แก่อารมณ์ที่เราไม่ชอบใจ
    อารมณ์ใดก็ตามที่มันจะเกิดขึ้นกับเราเป็นอารมณ์ที่เราไม่ชอบใจเกิดขึ้น
    ตอนนี้เราต้องพยายามระงับด้วยกำลังของสมาธิ

    คิดว่าใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเขา เขาจะนินทาอย่างไรก็ช่างเขา
    มันเป็นปากของเขา และก็มันเป็นหน้าที่ของเขาที่เขาจะชมก็ได้
    เขาจะด่าก็ได้ มันเป็นเรื่องของเขา

    เวลาที่รับคำด่าหรือคำชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำด่า เราอย่าพึ่งไปโกรธ
    ใช้จิตพิจารณาเสียก่อนว่า ไอ้เรื่องที่เขาด่ามันจริงหรือไม่จริง
    ถ้าเป็นอาการที่ไม่ตรงความเป็นจริง เราก็ยิ้มได้
    ว่าท่านผู้ด่านี่ไม่เห็นจะมีอาการน่าเลื่อมใสตรงไหน ด่าส่งเดชโดยไร้เหตุไร้ผล
    ไม่เหมาะกับฐานะที่เกิดมาเป็นคนของพระพุทธศาสนา
    แต่จงอย่าโกรธ จงยิ้มเสียว่าเราดีกว่าเขาเยอะ

    แล้วต่อจากนั้นไปก็ใช้อารมณ์ใจเอาเสียใหม่ ถ้าพบอารมณ์ที่ทำให้เราไม่พอใจ เราก็ใช้อารมณ์จับอารมณ์ลมหายใจเข้าออกให้จิตมันทรงตัว
    จะด่าก็ช่างจะว่าก็ช่างนินทาก็ช่าง ช่างเขา เรารักษาอารมณ์ของเราให้มีความสุขใช้ได้ถือว่าอารมณ์ความสุขเป็นปัจจัยให้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานโดยง่าย

    อันนี้เป็นอารมณ์แบบสบายๆ ที่เราสามารถจะทรงตัว
    จิตระงับอารมณ์ที่มากระทบที่เราไม่พอใจ
    ทีหลังก็มาพยายามหาทางระงับความอยากด้วยกำลังของฌาน

    ความจริงกำลังของฌานนี่มันจะระงับกิเลสได้ทุกอย่าง
    โลภะ ความโลภ ราคะ ความรัก โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง
    มันระงับได้ทุกอย่าง แต่มีอารมณ์หนัก

    เมื่ออารมณ์จิตของเรามีการทรงตัวจริงๆ อารมณ์แห่งความสุขมันจะยืนตัวกับจิตของเรา มันจะไม่หวั่นไหวในเมื่อเห็นคนหรือวัตถุที่มีความสวยสดงดงาม จะไม่เกิดอาการทะเยอทะยาน จากอาการที่ได้ลาภสักการะ
    จะไม่มีความหวั่นไหวในกำลังจิต แม้ขณะที่มีบุคคลเขายั่วให้โกรธ
    อาการอย่างนี้มันจะไม่มีในจิตของเรา
    และสิ่งที่เราจะยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรามันก็ไม่มี

    ความจริงกำลังสมาธินี่สามารถจะกดกิเลสทุกตัวให้มันจมลงไปได้
    แต่อย่าลืมว่ากิเลสมันไม่ตายเพราะมันถูกฝังไว้เท่านั้น
    แค่เราเผลอเมื่อไหร่มันก็โผล่มาเล่นงานเราเมื่อนั้น

    สำหรับคนที่ทรงจิตถึงฌาน ๔ หรือทรงอารมณ์สมาธิถึงฌานใดฌานหนึ่ง
    จนกระทั่งมีอารมณ์ชิน มักจะมีอาการเผลอคิดว่าเราเป็นพระอรหันต์
    อย่างนี้ผมเองก็พบมา แม้แต่ตัวผมเองก็เหมือนกัน
    ตัวผมเองนี่บางครั้งในตอนที่กำลังฝึกผมคิดว่าเอ๊ะนี่เราเป็นพระอรหันต์เสียแล้วหรือเนี่ย
    มันไม่พอใจอะไรทั้งหมด รักมันก็ไม่เอาไหน โลภมันก็ไม่เอาไหน
    โกรธมันก็ไม่เอาไหน หลงอะไรมันก็ไม่มี

    แต่ทว่าทำมาทำไป อารมณ์นานๆ เข้ากำลังใจตกลง
    ไอ้เจ้าตัวรักมันก็เริ่มโผล่นิดๆ เจ้าตัวโลภ เจ้าตัวโกรธ เจ้าตัวหลงมันก็มาหน่อยๆ
    ตอนนี้จึงรู้ตัวว่าโอ้หนอ นี่เราพลาดไปเสียแล้วที่คิดว่าตัวเป็นอรหันต์
    เป็นแค่กำลังฌานโลกีย์เท่านั้น

    แต่ความจริงแม้เราเป็นฌานโลกีย์ แต่สามารถจะระงับอาการเช่นนี้ได้ ก็ควรจะพอใจ
    เพราะว่ากิเลสสามารถจะกดมันให้จมลงไปได้
    ไม่ช้าเราก็สามารถจะห้ำหั่นให้มันให้พินาศได้ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ

    เอาละบรรดาท่านทั้งหลาย มองดูเวลาเห็นว่าหมดเสียแล้วสำหรับวันนี้
    ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้.

    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
    วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี

    10264490_517491708362577_1462806479394132255_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  5. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    หลวงพ่อสอนให้จำไว้ว่า…

    ความดีหรือไม่ดี มันอยู่ที่จิตของเราทราบไว้แต่เพียรเท่านี้ ความพลั้งพลาดมาแล้ว จงถือว่าเป็นครู ความพลั้งพลาดในที่นี้เพราะเราใช้เวลามาก แต่ทว่าผลจากการปฏิบัติมีผลน้อยที่เป็นเช่นนี้เพราะขาดความเข้มแข็งของจิต ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านเขาถือว่าไม่เอาจริงเอาจัง สักแต่ว่าทำ สักแต่ว่าศึกษา มีความเมาในตน มีความเมาในจิต เมาในราคะ เมาในโลภะ เมาในความโลภ เมาในความโกรธ เมาในความหลง ก็เพราะว่าเมาจึงไม่สามารถจะทำให้จิตบางเบาจากกิเลสได้ เหตุที่จะมาอย่างเดียวก็คือขาดความเอาจริงเอาจัง จรณะ๑๕ ฟังแล้วไม่ปฏิบัติ บารมี๑๐ ฟังแล้วไม่สนใจ อิธิบาท๔ ฟังแล้วก็วางไว้ พรหมวิหาร๔ ฟังแล้วก็ทิ้งไป ที่เราไม่สามารถจะก้าวไปสู่ระดับของความดีได้เพราะขาดคุณธรรมประเภทนี้ ฉนั้นถ้าหากขาดคุณธรรมประเภทนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าพวกเราเป็นอาภัพพบุคคล เป็นบุคคลที่เอาดีไม่ได้ พระพุทธเจ้าสอนไม่ได้ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่สายเกินไป คำว่าอาภัพพบุคคล นั้นหมายถึงบุคคลที่ไม่เอาจริงเอาจัง เราก็กลับเสียใหม่ได้ กลับเป็นคนจริงคนจังเสีย การเจริญพระกรรมฐานให้ถึงขั้นอรหัตผลไม่ใช่ของยาก เพราะไม่มีการลงทุน เราลงแต่กำลังใจอย่างเดียว

    10259970_517616291683452_4139455557978618455_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  6. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    หลวงพ่อได้เตือนไว้ว่า…

    …ขอให้ทุกท่านจงอย่าหลงตัวว่าเป็นผู้ทรงญาณเป็นพระอริยเจ้า ความเป็นพระอริยเจ้าไม่ต้องประกาศ เห็นหน้าปั๊บรู้จักได้ยินชื่อ ก็รู้ว่าเป็นพระอริยเจ้า หากว่าท่านยังไม่เป็น และหลงว่าเป็นนี่มันจะซวย ไม่ต้องประกาศเขา ความดีอยู่ที่เรา เราไม่ได้บวชเพื่อบูชาของชาวบ้าน เราบวชเพื่อความดับไม่มีเชื้อ…

    (เราผู้ซึ่งปฏิบัติธรรมถือว่าบวชใจ ก็อย่าหลงตัวเองจำคำของพ่อไว้นะ)

    10246344_517617688349979_1328163958568200110_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  7. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    การปฏิบัติตนเพื่อการหนีบาป เรื่องการหนีบาปนี้เราก็ต้องพูดกันเรื่อยๆ วิธีการหนีบาปก็ต้องพูดกันเหมือนกัน วิธีการหนีบาปเอาตามแบบฉบับขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในสังโยชน์ ความจริงสังโยชน์ทั้งหมดนี่มี ๑๐ ประการ แต่ถ้าตัดได้ถึง ๑๐ ก็เป็นพระอรหันต์ ตัดได้ ๕ ก็เป็นพระอนาคา ถ้าตัดได้ ๓ ก็เป็นพระโสดาบันกับสกิทาคามี

    สำหรับเรื่องความเป็นพระโสดาบันหรือไม่นั้น ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจงอย่าสนใจ ถ้าเรามุ่งความเป็นพระโสดาบันจริงๆ อารมณ์จิตจะกลุ้ม ทั้งนี้ก็เพราะว่าเป็นหรือไม่เป็นเราไม่ทราบ ถ้าเผอิญไม่เป็นพระโสดาบันคิดว่าได้เป็นพระโสดาบัน กรรมหนักจะมาทีหลัง นั่นก็คือว่า ถ้าเวลาตายพลาดพลั้งลงไป เราจะไม่พ้นเขตอบายภูมิ ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัท จงตั้งใจคิดแต่เพียงว่าเราจะคุมกำลังใจ ให้อยู่ในขอบเขตของสังโยชน์ ๓ ประการนั่นเอง

    อารมณ์ที่เราจะต้องพ้น ทำจิตใจให้ไม่มีความกังวลในอารมณ์ของสังโยชน์ ก็คือ

    ๑. สักกายทิฏฐิ อารมณ์ของสังโยชน์ มีความรู้สึกว่าร่างกายนี้มันจะไม่ตาย ร่างกายนี้เต็มไปด้วยความสะอาด ไม่มีอาการสกปรก น่ารัก น่าชม ร่างกายนี้เป็นเราเป็นของเรา เรามีในร่างกาย ร่างกายมีในเรา อารมณ์ของสังโยชน์เป็นอย่างนี้ เราก็ต้อค้านตัดทำลายอารมณ์นี้ทิ้งไป ให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงแค่เบื้องต้นว่า ร่างกายนี้ปกติมันต้องตาย มันไม่สามารถจะทรงตัวอยู่ได้ ร่างกายสกปรกหรือไม่สกปรก น่ารักหรือไม่น่ารัก ไม่ต้องคิด ยังไม่ถึงเวลานั้น ร่างกายเป็นเราเป็นของเราเรามีในร่างกายหรือไม่มีในร่างกายก็ไม่ต้องคิดเหมือนกันปล่อยไว้ก่อน เพราะอารมณ์นั้นสูงเกินไป เรามาใช้กันแต่เฉพาะอารมณ์เบื้องต้นเท่านั้น

    ในตอนนี้มีความรู้สึกครั้งแรกว่า ชีวิตทีเกิดมามันเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง เราต้องตายแน่นอน และทำความรู้สึกแบบ เปสการี เธอมีความรู้สึกว่าความตายมีแน่ แต่ไม่รู้เวลาตายจะเป็นเวลาไหน ตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางวัน ตายกลางคืน จะตายมีอายุน้อย ตายมีอายุมาก ไม่แน่นอน ระมัดระวังไว้เสมอว่า คิดว่าเราอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ และก็ต้องตั้งใจทำความดี จิตทรงอารมณ์ของความดีไว้ เข้าแก้สังโยชน์ข้อที่ ๒

    สังโยชน์ข้อที่ ๒ มีความรู้สึกในใจสงสัยในความดีของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระอริยสงฆ์ และก็ตัดอารมณ์นั้นทิ้งด้วยปัญญา ว่าพระพุทธเจ้าดี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์ดี พระอริยสงฆ์มีความดี ทั้ง ๓ ประการมีความดี ควรยอมรับนับถือได้ และก็เต็มใจในการยอมรับนับถือ

    สังโยชน์ข้อที่ ๓ มีความไม่แน่นอนในศีล ทำตนเป็นการปฏิบัติตนแบบศรัทธาหัวเฒ่า ผลุบเข้าผลุบออก เคารพในศีลบ้าง ไม่เคารพในศีลบ้าง อันนี้เป็นเหยื่อของอบายภูมิ เราก็ต้องฝืน อารมณ์นี้เอาชนะให้ได้ มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่า ศีลเราต้องรักษาให้แน่นอน เฉพาะฆราวาสมีศีลห้า คือศีลมี ๕ สิกขาบท มีปาณาติบาต เป็นต้น มีสุราเป็นที่สุด
    เราจะเว้นแน่นอนในศีล ๕ ประการ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป บาปกรรมเก่าๆ ที่ทำไว้แล้วเท่าไร ก็เป็นเรื่องของเวลานั้นไม่ใช่เวลานี้ เวลานี้เราจะเป็นคนดีมีความเคารพในศีล

    เพียงแค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัทถ้าอารมณ์ของทุกคนมีความไม่ประมาทในชีวิต คิดว่ามันอาจจะต้องตาย ในเมื่อความตายนี้ก็ไม่แน่นอนนัก จะตายเมื่อไรก็ได้ พร้อมคิดว่าอาจจะตายวันนี้ไว้เสมอ แล้วก็ทรงความดีเคารพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ ทรงศีลให้บริสุทธิ์ เป็นปกติ เพียงแค่นี้บรรดาท่านพุทธบริษัท ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ ประการ คือการเกิดเป็นสัตว์นรกก็ดี เป็นเปรตก็ดี เป็นอสุรกายก็ดี เป็นสัตว์เดรัจฉานก็ดี จะไม่มีสำหรับเราไปทุกชาติ ทุกสมัย ถ้าจะมีการเกิดอีกเพียงใดก็ตามที ขึ้นชื่อว่าอบายภูมิทั้ง ๔ ไมไปกันแน่ ทางที่จะไปอย่างต่ำก็มนุษย์ อย่างสูงขึ้นไปก็สวรรค์หรือพรหม ถ้าขณะใดเกิดจิตไม่นิยมร่างกายขึ้นมาเมื่อไร ขณะนั้นก็ถึงนิพพานทันที

    1908013_517991104979304_822754951117521517_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  8. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    >>

    คนถึงแม้ว่าจะทำบุญหนัก แต่ว่าเวลาจะตาย
    บังเอิญจิตไปนึกถึงอกุศลเข้าอย่างใดอย่างหนึ่ง
    อกุศลก็จะพาลงไปอบายภูมิก่อน ฉะนั้นจึงมีความจำเป็น
    จะต้องเจริญสมาธิ คำว่าสมาธินี่แปลว่าการตั้งใจ…

    … อย่างที่ท่านทั้งหลายทำบุญกันนี่ก็จะบอกว่า
    อุ้ย…หลวงพ่อมาทีไร ฉันก็ถวายสังฆทานทุกที
    การถวายสังฆทานแต่ละครั้งมีสิทธิไปเกิดบนสวรรค์ชั้นที่ ๕
    เรียกว่า นิมมานรดี หรือถ้าจะไม่ไปก็ได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี
    บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เราอาจจะเผลอได้
    ตามบาลีว่า “เอกะ จะรัง จิตตัง” จิตดวงเดียวเที่ยวไป

    จิตน่ะมันรับอารมณ์เดียว เวลาที่เรารัก คนที่เรารัก
    สัตว์ที่เรารัก เขาจะทำเลวขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังรัก
    ถึงเวลาโกรธขึ้นมา ทำดีขนาดไหน มันก็เกลียดใช่ไหม
    ไม่นึกถึงความดีของเขา ก็รวมความว่าจิตมันรับอารมณ์เฉพาะ
    ฉะนั้น ถ้าหากว่าถ้าจิตออกจากร่าง
    ถ้าบังเอิญไปพบอกุศลเข้าก็ไปอบายภูมิได้

    ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ฝึกจิตให้มีอารมณ์ทรงตัว
    อันดับแรก ก็กำหนดรู้จับลมหายใจเข้าออก
    หายใจเข้านึกว่าพุท หายใจออกนึกว่าโธ
    แต่ว่าคำภาวนานี่ไม่จำกัดนะ จะนึกพุทโธก็ได้
    นะมะ พะธะ ก็ได้ หรืออะไรก็ได้
    นึกถึงพระพุทธเจ้าแล้วก็ภาวนา
    เป็นเครื่องโยงใจให้จิตมีงาน
    จิตมีงานในด้านบุญละบาป

    ขณะใดที่จิตรู้ลมหายใจเข้าออก
    จิตไม่คิดถึงเรื่องอื่น เวลานั้นจิตเป็นสมาธิ
    จิตว่างจากกิเลส ขณะใดจิตรู้คำภาวนาอยู่
    อารมณ์อื่นไม่เข้ามาแทรก
    เวลานั้นจิตว่างจากกิเลส มีความดี

    ฉะนั้นขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย
    ให้ถือว่าการเจริญสมาธิมีความจำเป็น
    ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
    จงอย่านึกถึงความชั่วที่ผ่านมาแล้ว
    อะไรก็ตามที่มันเป็นบาปอย่านึกถึงมัน
    คิดอย่างเดียวด้านของความดี

    ————————————–
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง

    10154500_518857788225969_8093841070540531278_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  9. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ~อย่ากังวล ให้พยายามปล่อยวางทุกสิ่งทุกอย่าง อย่าคิดถึงคนอื่น ให้ดูจิตใจตนเองเป็นสำคัญ ทำจิตใจให้อยู่กับปัจจุบันให้มากที่สุด คิดถึงความตายให้มาก ถ้าปล่อยให้จิตเศร้าหมองอยู่แม้แต่นิดเดียว ตายไปขณะนั้นย่อมไม่ถึงซึ่งพระนิพพานอย่างแน่นอน พึงคำนึงถึงข้อนี้เอาไว้ให้ดี จงช่วยตนเองให้ดีเสียก่อน อย่าเพิ่งคิดไปช่วยคนอื่น แล้วให้เคารพในกฏของกรรมให้มากๆ ตัดใจให้ได้เสียอย่างเดียว โดยมองเห็นอริยสัจเป็นหลัก แล้วจิตจักสงบลงได้~

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๑๒ หน้า ๔๒
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    พระราชพรหมยานมหาเถระ
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    10290713_518858034892611_235869438146171165_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  10. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ธรรมะ คำสอน พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    “เราต้องชนะใจ อย่าลืมว่าวันเดียวสองวันมันไม่ชนะ ทำมันไปทุกวันมันต้องถึงคำว่าชนะ”
    ธรรมปฏิบัติ ๒๘

    10301538_519214938190254_3866546064476115184_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  11. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    คนที่จะให้ทานในระยะแรก ๆ ที่มีบารมียังอ่อน ถ้าไม่มีความเพียรเข้าไปตัด มัจฉริยะ ความตระหนี่ หรือ ความขี้เหนียว ความหวงแหนในทรัพย์สินของตน อันนี้อาตมารับรอง ผลเลย ถ้าไม่มีความเพียรตัด ตัวนี้ให้ทานไม่ได้ ต้องใช้ความเพียรเข้าไปตัด มัจฉริยะ คือความตระหนี่เหนียวแน่นให้สลายตัวไปไม่อย่างนั้นทำไม่ได้หรอกบรรดาท่านพุทธบริษัท อีกประการหนึ่ง คนที่ตั้งใจจะให้ทาน หวังผลใน ทานบารมี ถ้าเราจะให้ทานด้วยวัตถุ เราก็ต้องเพียรหาวัตถุเข้ามา นี่ วิริยบารมี ก็ตามมา ถ้าหากว่าเราจะให้ทานเป็น อภัยทาน คือกำลังใจไม่ประกาศเป็นศัตรูกับใครเราก็ต้อง มีความเพียรตัดความโกรธ ตัดความพยาบาท นี่เป็นอันว่าการให้ทานครั้งเดียว วิริยบารมี วิ่งตามเข้ามาอีกแล้ว

    การให้ทานเป็นการสงเคราะห์ เป็นการผูกมิตร ทำจิตใจให้มีความเป็นสุข เราไปทาง ไหนก็ตาม ถ้าเรามีเพื่อนมาก มีคนเป็นที่รักมาก เราก็มีความสุข เพราะอันตรายมันมีน้อย กล่าวคือ ช่วยป้องกันอันตรายได้ ทำใจให้เป็นสุข ให้มีความอยู่เป็นสุข เพราะการให้ทาน ก็ด้วยอำนาจ เมตตาบารมี เป็นผู้นำ ถ้าขาด เมตตาบารมี นำแล้ว การให้ทานมีผลไม่ได้ ในเมื่อเรามีเมตตาจิต คนที่จะคิด ประทุษร้ายก็น้อยเต็มที เว้นไว้แต่ผู้ร้ายขององค์สมเด็จพระชินศรีคือ พระเทวทัต หรือ เผ่าพันธุ์ของเขาเท่านั้น นี่ปล่อยเขาไป บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ทีนี้มีปัญญาสูงไปกว่านั้น เขาก็คิดว่าการให้ทานนี่เป็นการทำลายความโลภเป็นการทำลาย การเกิดที่มาสู่คนให้รับผลความทุกข์ ต่อไปนี่ คนที่มีปัญญาใหญ่เขาก็จะพิจารณาอย่างนี้ ฉะนั้น การให้ทานสักที ก็ต้องอาศัย ปัญญา เป็นเครื่องประกอบ

    อ้างอิง จากหนังสือโอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุง เล่ม ๒

    10291318_519633434815071_2554723122843654378_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  12. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    เรื่องความกตัญญูนี่เป็นเรื่องใหญ่ ถ้าคนขาดความกตัญญูเสียอย่างเดียว ตายจากชาตินี้แล้วเกิดเป็นคนก็ไม่ได้ เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานก็ไม่ได้ เกิดเป็นอสุรกายก็ไม่ได้ เกิดเป็นเปรตก็ไม่ได้ ที่จะเกิดได้มีแห่งเดียวคือ อเวจีมหานรก และโลกันต์มหานรก ต้องไปอยู่ที่นั่นก่อน เพราะขาดความดี

    หลวงพ่อพระราชพรหมยาน

    10153222_519735574804857_799626266084800350_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  13. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ~จงอย่าติเขาว่าเลว เพราะเขากำลังถูกอกุศลกรรมเข้าครอบงำ ติเขาเมื่อไหร่ ใจของเราก็เลวเมื่อนั้น มองอารมณ์ของตนให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมเป็นสำคัญเท่านั้นพอ~

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๗ หน้า ๑๙
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    พระราชพรหมยาน
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    10313283_520042724774142_4104033384527150229_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  14. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    คนที่หลับตาเก่งนาน ๆ จะนึกว่าจะได้กรรมฐานดี ฉันไม่เชื่อ เพราะถ้าจะดีจริง ๆ มันต้องดี ทั้งหลับตา ดีทั้งลืมตา ดีทั้งอยู่ในที่สงัด ดีทั้งอยู่ในที่เกลือกกลั้วไปด้วยประชาชน ดีทั้งที่เวลาร่างกายปกติ และก็ดีทั้งที่เวลาร่างกายไม่ปกติ อารมณ์ต้องดีทั้งในขณะที่เราฟังคำสรรเสริญ และก็ดีทั้งในขณะที่คนเขาด่าเรา อารมณ์ของเราจะต้องสม่ำเสมอกัน ไม่ขึ้นไม่ลง ใครเขาสรรเสริญก็เฉย ใครเขานินทาว่าร้ายก็เฉย อารมณ์เงียบสงัด เสียงเงียบสงัดเราก็เฉย เสียงจ๊อกแจ๊กจอแจโวยวายเราก็เฉย ลงเฉยเสียหมด มันก็หมดเรื่องกัน

    ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    10250122_520487914729623_8572071392049155502_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  15. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    เรื่อง ธัมมานุสสติ

    “ถ้านิยมสวดมนต์จริง ๆ ไม่เคยทำสมาธิแบบกรรมฐานกับเขา ถ้าวันไหนหรือเวลาไหนเกิดไม่ได้สวดรำคาญใจ อย่างนี้เป็น อนุสสติในธัมมานุสสติ ถ้าตายจากความเป็นคน ถ้าไม่ละอารมณ์นี้นะ ไปเกิดเป็นเทวดาหรือนางฟ้าชั้นยามา เป็นสวรรค์ที่ไม่ต้องทำงานด้วย เป็นสวรรค์ที่บำเพ็ญบารมีต่อ ถ้าชอบสวดมนต์ในโลกมนุษย์ ไปที่นั่นก็สวดอีกนั่นแหละ ถ้าชอบนั่งสมาธิ ก็นั่งสมาธิไม่เลิก ไม่ต้องกินข้าว”

    คำสอน พระราชพรหมญาน วัดท่าซุง

    10311994_520765321368549_6858421958183583660_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  16. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    admin ขอขอบคุณลูกหลานหลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ช่วยกันแชร์คำสอนของหลวงพ่อท่าน ขอให้ทุกท่านจงบรรลุมรรผลตามที่ได้ตั้งใจไว้ นิพพานัง ปรมัง สุขัง สาธุ สาธุ สาธุ

    10292516_521089728002775_1670221408119491281_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  17. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    เรื่อง อย่าเห็นแก่คน

    “หัดวางหัดคิดหัดยับยั้งใจ ค่อยคิดค่อยทำค่อย ๆ อบรมตัวเอง อย่าหวังวาจาของคนอื่นอบรม ทำอย่างนั้นเอาตัวไม่รอด ต้องคอยจับผิดตัวเอง คอยลงโทษตัวเอง คอยเป็นโจทก์ฟ้องตัวเองเอาธรรมะของพระพุทธเจ้า เป็นตุลาการ จงถือธรรมเป็นสำคัญ อย่าถือคนถ้ายังติดคนก็จะไม่ถึงธรรม ถ้าถึงธรรมก็พ้น จากการติดคน ถ้าติดคน ติดยศของคน ติดฐานะของคน ติดศักดิ์ศรีของคน ไม่มีอะไรดี เราก็ ไม่เข้าถึงธรรมทุกอย่างที่ทำไปควรปรารภธรรมอย่าเห็นแก่คน”

    คำสอน … หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง

    10366233_521314007980347_8413421968424785119_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  18. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
  19. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    *** ตายแน่ ๆ ***

    เรามีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตายแน่ จะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายด้วยอาการปกติหรือด้วยอุบัติเหตุ ก็ตาม ก็ขึ้นชื่อ ว่าจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต ก่อนที่เราจะตาย จะกอบโกยความดีใส่กำลังใจไว้ให้มันครบ พระพุทธเจ้าทรงสอนแบบไหน ปฏิบัติให้จบให้ครบทุกประการให้บริบูรณ์ทั้งหมด ในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต ถ้าทุกคนปรับปรุงใจตนดีแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องยุ่งกับคนอื่น ไม่สร้างคนอื่นให้มีความเร่าร้อน ในการที่จะเพ่งโทษคนอื่น ต้องรู้ตัวว่า เราเลวเกินไป นี่จงรู้สึกตัวไว้เสมอ รู้สึกตัวว่า เรามันเลว เลวมากจนกระทั่งขังไว้ในใจไม่ได้ มันจึงอุตส่าห์ไหล ออกมาทางวาจา ไหลมาทางกาย นี่แสดงว่า ความเลวมันล้น ออกมาจากจิต ในข้อนี้ ต้องคิดไว้ เป็นประจำ อย่าทะนงตนว่า เป็นคนดี ถ้าดีแล้ว ปากไม่เสีย กายไม่เสีย ถ้าปากเสีย กายเสีย ความเลวมันล้น มีความดีไม่ได้

    ————————————————
    ที่มา : หนังสือคำสอนธรรมปฏิบัติ เล่ม 2
    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    10320537_521340934644321_902893348983502443_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
  20. ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง

    ศิษย์หลวงพ่อวัดท่าซุง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กันยายน 2017
    โพสต์:
    4,338
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +121
    ลูกหลานที่รัก อย่าไปจู้จี้เรื่องกับข้าว อยากจะกินข้าวนอกบ้าน เสียค่าบริการพิเศษ ราคาก็แพง ดีก็ไม่วิเศษวิโสอะไร มันก็มีรสตามต้องการ เรากินข้าวที่บ้านของเรานี่ละดีที่สุด ชอบเปรี้ยวก็กินส้ม ชอบเค็มก็กินเกลือหรือกินน้ำปลา ชอบหวานน้ำตาลใส่ มันก็แค่กัน ไม่ต้องไปดูเขาร้องรำทำเพลงมีดนตรี กว่าจะกินข้าวได้แต่ละที ขับรถออกไป นอกบ้าน เงินค่าน้ำมัน ค่าสึกหรอของเครื่องยนต์มันก็มากกว่าราคาข้าว แล้วแถมไปกินข้าวราคาแพงโดยใช่เหตุ อย่างนี้เขาเรียกว่าคนประมาท ไม่รู้จักค่าของเงิน เงินกว่าจะหามาได้แต่ละบาทแต่ละสตางค์มันหายาก เงินดาว เงินเดือน เงินบริการที่ได้มา มันมาก ๆ ก็ไม่รู้จักพอ ก็เพราะว่า มันไม่รู้จักการใช้จ่าย ข้าวที่บ้านกินเข้าไป เวลาหนึ่งไม่เกินสิบบาท ไปกินข้าวตามสถานบริการ เวลาหนึ่งตกเป็นพันสองพัน หรือตั้งหมื่น นี่ถ้ากินข้าวที่บ้าน เงินที่ได้มาเดือนละพันสองพันมันก็เหลือใช้สอย ที่ว่าไม่พอกินไม่พอใช้ก็เพราะไม่รู้จักกิน ไม่รู้จักใช้นั่นเอง
    อ้างอิง จากหนังสือโอวาทหลวงพ่อวัดท่าซุงเล่ม ๒

    10394478_521341857977562_8984833509258471440_n.jpg

    ที่มา คำสอนหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...