::เพราะเหตุอะไร ทางภาคอิสานถึงได้มีพระสุปฏิปัณโณ พระอริยเจ้ามากกว่าภาคอื่น::

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สุชีโว, 17 มีนาคม 2014.

  1. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    ท่านอินทรบุตร ตอบได้ดีมากเลยคะ ไม่ได้เป็นการโต้แย้งนะคะ
    เป็นแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ได้แนวทางเดียวกัน
    เพราะเห็นด้วยกับคำตอบของท่านเป็นอย่างยิ่ง
    แต่คำบัญญัติอาจแตกแต่างกัน จึงเสนอความคิดเห็นอย่างนี้
    เพื่อเข้าใจตรงกันแล้ว จะถามเกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติค่ะ


    ผุ้รู้นี้ ท่านหมายถึง จิตวิญญาณ ทีเป็นจิตเดิมประภัสร ใช่หรือเปล่าค่ะ
    เพราะท่านบอกว่า ไม่ใช่วิญญาณ และ มโนทวาร เช่นเดียวกัน
    แต่ผู้รู้นี้ ถ้าเข้าไปรู้สิ่งใด ก็เป็นสิ่งนั้น
    ตัวผู้รู้นี้ ก็คือ ตัวที่ทำให้เวียนว่ายตายเกิดนั่นแหละ
    เพราะเมื่อมันยังทำหน้าที่เข้าไปรู้อยู่ เราก็จะยังมีตัวตนอยู่

    ข้อท้าวความหน่อยนะคะว่า ในกายสังขารของมนุษย์
    มีจิตวิญญาณใช่ไหมค่ะ เมื่อเราตายจิตวิญญาณออกจากร่าง
    ร่างกายไม่เคลื่อนไหว เพราะขันห้าแตกดับ แต่ ผลกรรมที่ก่อไว้
    ไปเก็บไว้ที่จิตวิญญาณ เพื่อนำไปเกิดในภพภูมิตามกรรมที่ก่อ ทั้ง 31 ภูมิ

    เมื่อ มาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ จิตวิญญาณก็นำกรรมมาปฏิสนธิทางวิญญาณ
    และผลกรรมนั้นมีชะตากรรมเป็นแดนเกิด เป็นเผ่าพันธ์ เป็นผู้รับผล

    ผลกรรมที่นำมาเกิดเก็บไว้ที่ใจ เพราะ ใจเป็นผู้แสดงความรู้สึกนึกคิด
    ไปตามกิเลส จนเกิดอารมณ์ความรู้สึกก็เกิดขึ้นที่ใจ
    เป็นที่เก็บอารมร์ความรู้สึก ที่เป็นศูนย์รวมของกิเลส ตัณหา และ
    จะแสดงออกได้ง่าย ตามความเคยชินที่เก็บไว้
    เรียกว่า อุปนิสัย หรือ อนุสัยในกมลสัดาน

    ที่นี้คำว่าปฏิสนธิทางวิญญาณ ก็คือ จิตวิญญาณ
    เข้ามาอยู่ในกายสังขาร ก็มีวิญญาณเป็นตัวเชื่อม ให้เกิดผู้รู้
    คือ รู้อารมณ์ ใช่ไหมค่ะ

    เพราะถ้า ตากระทบกับรูป ถ้าไม่มีวิญญาณ ที่เรียกว่า จักขุวิญญาณ
    ก็จะไม่มีความรู้สึก รับรู้เพื่อแสดงอารมณ์รูปเหล่านั้น

    อารมณ์ก็คือ ตัณหา ที่นำความรู้สึก ที่เป็นกิเลส ปรุงแต่งให้เป็นรูปธรรมขึ้น

    ถ้าวิญญาณรับรู้แล้ววางเฉย แสดงว่า ไม่มีอารมณ์ที่เป็นตัณหา
    ความอยากไม่อยาก เกิดขึ้น

    เราจึงต้องวางอุเบกขา ที่ตัว วิญญาณ ที่เป็นตัวเชื่อม ระหว่าง กาย กับ จิต
    ใช่ไหมค่ะ

    เมื่อวิญญาณ ที่เป็นผู้รู้ อุเบกขาได้ตลอด อนุสัยที่เก็บไว้ในจิต
    หรือ ที่เรียกว่า มโนทวาร แสดงออกตามอารมณ์ตามความรู้สึก
    นึกคิดก็ค่อย ๆ หายไป ไม่เจริญงอกงาม หรือ มีผลกรรที่เป็นภพ

    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า อย่าให้วิญญาณมีที่ตั้ง เมื่่ออารมณ์ไม่มี
    ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณก็ไม่มี ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่
    ต่อไป ย่อมไม่มี

    ท่านบอกว่า เราฝึกเพื่อให้เห็นว่า ผู้ใดเป็นผู้เข้าไปยึดขันธ์

    ผู้เข้าไปยึดขันธ์ จึงเป็น ผู้รู้ หรือ วิญญาณ
    เพราะวิญญาณ ไม่เป็นตัวเชื่อมแล้ว
    จิตวิญญาณก็อิสระ ขันธ์ทั้งห้าปรุงแต่งไปตามเหตุและปัจจัย

    เพราะจิตวิญญาณเป็นผู้รับรู้ แล้วส่งข้อมูลให้จิตวิญญาณ
    ถ้าผู้รู้หรือ วิญญาณ ยึดสิ่งที่รับรู้มาว่าเป็นตัวตน
    จิตวิญญาณจึงหลงยึดตามที่ผู้รู้ ส่งให้ สิ่งนั้นว่าเป็นตัวตน ตาม
     
  2. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    อนุโมทนากับท่านค่ะ ท่านเป็นทางที่ดีแล้ว แต่คนเรามีจริตนิสัยแตกต่างกัน
    การปฏิบัติบางอย่าง บางทีก็ไม่ได้ผลกับอีกคนนะคะ
     
  3. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    1. ถูกต้องแล้ว เรื่องของคำศัพท์ที่อธิบายหมายความไม่ตรงกัน จะทำให้เข้าใจกันผิดเพี้ยนไป

    2. คำว่า วิญญาณ ในขันธ์ 5 กับ วิญญาณ ในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปของคนสมัยใหม่ ไม่เหมือนกันนะครับ ไอ้ที่บอกว่าเป็นดวงๆ ลอยออกจากร่าง อันนั้นไม่ใช่ความหมายของวิญญาณในขันธ์ 5

    3. เทพ เทวดา และผู้มีกายทิพย์ทั้งหลาย มี 4 ขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่มีกายเนื้อ แต่มีขันธ์ที่เหลือครบนะครับ
     
  4. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ผมทราบดีครับว่า จริตนิสัยของแต่ละคนแตกต่างกันอย่างมากมาย มันไม่สำคัญว่า จะปฏิบัติอย่างไร อานาปานสติ สติปัฏฐาน4 หรือกรรมฐานกองใด แต่ถัาจะไปให้ถึงมรรคผล สิ่งที่สำคัญ คือ มรรคมีองค์8 จะกรรมฐานกองใดถ้าปฏิบัติแล้วมันทำมรรคมีองค์8 ให้บริบูรณ์ ทางนั้นนั่นแหละครับเป็นไปเพื่อนิพพาน พ้นจากมรรคมีองค์8 ไม่มีทางเข้าถึงมรรคผลได้เลย
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    จะสอนคนให้ไปเป็นพรหม หรือครับ?
     
  6. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634


    หมายถึง วิญญาณ ที่เป็นผู้รู้อารมณ์ ใน บทอนัตลักขณสูตร และ อาทิตตปริยายสูตร นะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2014
  7. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    ลองอ่านดูดีๆครับ ตรงตามคำพระพุทธเจ้าไหม การที่คุณไม่แทงตลอดในมรรคปฏิบัติ ก็มองว่าเป็นอย่างนั้นใช่ไหมครับ ไม่เห็นว่ามันเป็นสัมมาสมาธิหรือครับ ผมชี้ชัดๆให้ดูแล้ว ก็ยังไปคิดว่าไปเป็นพรหมอีก
     
  8. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    งั้นขอทราบปฏิปทาของคุณอินทรบุตรหน่อยครับ
     
  9. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สติปัฎฐาน 4 ครับ

    มีสิ่งใด ก็รู้สิ่งนั้น ตามที่มันเป็นจริง

    ไม่ใช่รู้แล้วไปบังคับมัน ไม่ใช่ว่าต้องมีการกระทำของจิตให้อุเบกขากับทุกสิ่งตลอดเวลานะครับ ไม่ใช่ว่าต้องกลับมายึดเกาะอยู่กับสิ่งใด

    เราไม่ต้องการอยู่กับอุเบกขา เราต้องการอยู่กับรู้

     
  10. comxeoo

    comxeoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +214
    การที่อยู่กับรู้ คุณทราบหรือไม่ครับ ว่าอยู่กับรู้ทุกขณะจิตหรือครับ แน่ใจไหมว่าไม่ไปก่อภพขึ้นในจิต รู้แล้วจิตทำอะไรต่อมีที่เกาะไหม หรือหลงไปในคิด อย่างนี้เมื่อไหร่จะตั้งมั่นเห็นความเป็นจริง ที่จริงๆซักทีครับ

    การเอาจิตไว้ที่ลมหายใจหรือที่กาย ผลที่ได้คือ อุเบกขา ดูดีๆตรงนี้นะครับ เพราะเมื่อใดสติจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ ผลที่ได้คือ สัมมาสมาธิ ซึ่งเมื่อเกิดสัมมาสมาธิ จิตจะตั้งมั่น จะเห็นความจริงด้วยจิตที่เป็นกลาง ว่า ขันธ์ทั้ง5 มันไม่เที่ยง คีย์เวริดสำคัญคือ จิตตั้งมั่น ที่สุดของพระพุทธศาสนาอยู่ที่รู้หรือครับ ทำไมไม่ทิ้งรู้แล้วไปเอามรรคผล หรือทิ้งมันไม่ลง

    ผมไม่ได้กล่าวว่า ให้ไปเอาอุเบกขา แต่ผลของการเอาสติมาอยู่ที่กาย กายจะสงบระงับ มีผลให้จิตเป็นอุเบกขา ไม่ได้กล่าวให้ไปยินดีที่อุเบกขา มันแค่เป็นผลสืบเนื่องกันเท่านั้น

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มีนาคม 2014
  11. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    ถ้าใครที่รู้ช่วยตอบหน่อยได้่ไหมค่ะ

    อุปาทานระหว่างกายกับจิต คือ อะไร

    +++ อุปาทาน คือ "อาการยึด" ในยามใดที่ยึดกายเป็นตน ยามนั้นเป็น "อุปาทานกาย" ในยามใดที่ยึดจิตเป็นตน ยามนั้นเป็น "อุปาทานจิต"
    +++ จิตส่งออกไปที่ใด ย่อมยึด ที่นั่น นั่นคือ อาการของอุปาทาน
    +++ หาาก รู้เท่าทัน "จิตส่งออก" ก็ย่อมเห็น "อาการของอุปาทาน" ได้เอง

    จุดต่อมผู้รู้อยู่ที่ไหน คือ อะไร ที่หลวงตาบอกว่า มีจุดต่อมผู้รู้อยู่ ก็ยังมีภพอยู่

    +++ จุดต่อมผู้รู้อยู่ที่ "ตน" ยามใดที่ "เห็นตน ในชั้นธรรมารมณ์" ก็จะเห็นได้เอง
    +++ อาการของ "ตน" ที่เป็น "ผู้รู้ ที่ยังเป็น สังขตะธรรม" อยู่นั้น จะมีอาการ "ดู" เป็นหลัก
    +++ "ดู" ที่ไหนก็ "ส่งออก" ไปที่นั่น "ส่งออกไปที่ไหน" ก็จะ "ยึด" (อุปาทาน) ที่นั่น

    มโนทวาร นั่นใช่ที่เก็บอนุสัยหรือไม่ แล้ว อนุสัยกมลสันดาน อยู่ตรงไหนของจิต

    +++ มโนทวาร ก็คือ "ตัวดู" นั่นแหละ และมันเป็น "วิญญาณขันธ์" ในหมวดขันธ์ 5 และมันก็เป็น "อัตตาจิต" คือ "ตัวที่สำคัญตน ว่าเป็นเรา" นั่นแหละ
    +++ "ตน" ที่เป็น "ผู้รู้ ที่ยังเป็น สังขตะธรรม" ตัวนี้ เป็นตัวที่ไม่พ้นจาก "นิสัย และ วาสนา"

    +++ คำว่า "จิต" ของผู้ถามนั้น หมายถึงสภาวะใด

    1. หากเป็น "สังขตะธรรม" มโนทวาร ที่ถามมานั้น ย่อมเป็น "ตัวจิต" เอง
    2. หากเป็น "อสังคตะธรรม" มโนทวาร ที่ถามมานั้น ย่อมเป็น "จุดหย่อมของผู้รู้ ที่ถูกรู้"

    +++ ขึ้นอยู่กับคำว่า "จิต" ของผู้ถามนั้น เป็น สังขตะธรรม หรือ อสังขตะธรรม แต่ก็ตอบไว้ให้แล้วทั้ง 2 ประการ

    แล้วผู้รู้ นั่นนะ สำคัญกับเราอย่างไร เราต้องปฏิบัติต่อผู้รู้อย่างไร

    +++ "ผู้รู้" ที่เป็น "สังขตะธรรม" สำคัญว่า "เป็นตัวเรา"
    +++ การปฏิบัติต่อ "ผู้รู้" ที่เป็น "สังขตะธรรม" นั้น "ต้องขจัดมันทิ้งไป" (มรรคในการปฏิบัติ)

    +++ หากทำได้แล้วก็จะรู้ได้เองว่า "ผู้รู้" ที่เป็น "สังขตะธรรม" คือผู้ที่ บดบัง "สภาวะรู้" ที่เป็น "อสังคตะธรรม"

    +++ ประโยชน์ใดที่พึงได้ ก็รับไว้ หากเห็นว่าไร้ประโยชน์ ก็ทิ้งไป มันก็เท่านั้นเอง
     
  12. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บอกตรงๆนะ

    ปฏิบ้ติให้เป็นพระโสดาบันก่อน

    ไม่ผ่าน อริยเจ้าโสดาบัน ขึ้นไป

    ไม่ใช่ข้ามขั้นตอน ไปทำลายผู้รู้


    พูดแค่นี่พอละ ที่เหลือ พิจารณาเอาเอง

    :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2014
  14. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ท่านcomxeoo อย่าเพิ่งไปไหนนะท่าน ถ้าท่านย้ายไปเว็บอื่น ขอความกรุณาบอกข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าจะตามไป ข้าพเจ้าอ่านของท่านแล้วเข้าใจมากๆ ไม่รู้ว่าข้าพเจ้าเป็นอยู่คนเดียวรึป่าว? ..กระทู้เรื่องพระโสดาบัน ของท่านไชยยศ ก้อน่าสนใจ เสียดายที่หายไปแล้วเหมือนกัน

    ข้าพเจ้าขอแสดงความเห็นอย่างนึงนะ ทุกท่านอย่าเพิ่งมีโทสะ-ทิฏฐิ ข้าพเจ้าเชื่อว่าในบอร์ดนี้ ต้องมีสมาชิกที่ประเสริฐสุดเป็นสัตบุรุษ สาวก สาวิกา ที่มีการปฏิบัติเที่ยงตรง และแตกฉานในข้อธรรมวินัยต่างๆ อยู่แน่ๆ แต่ข้าพเจ้าแอบคิดนะว่า บางทีท่านเหล่านั้นก้อเบื่อจะแสดงความเห็นชี้แนะสิ่งต่างๆแล้ว เพราะหลายกระทู้เหลือเกินมักเถียงกันและเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ (ซึ่งตัวข้าพเจ้าเองก้อนิสัยไม่ดีแบบนั้นอยู่เหมือนกัน)

    ดังนั้นจะเป็นการดีกว่าหรือไม่ ที่ต่างคนต่างแสดงความเห็นอย่างเป็นกลาง ใช้เหตุใช้ผล มีสุนทรียสนทนา ..บางกระทู้ข้าพเจ้าไปตามอ่านมีคน2คนแย้งกันไปมา ก้อไม่ลงกันซะที ทั้งๆที่เราคนอ่านก้อเห็นแล้วว่าสาระในเนื้อความเขาสื่อตรงกัน แต่ใช้คำที่อีกฝ่ายต่างตีความไม่ออก เลยไม่เข้าใจตรงกันซะที เหมือนคน2คนมาเจอกันแล้วคุยกันไม่ถูกคอ ผลสุดท้ายก้อหันหลังกันไปด้วยอำนาจโทสะ(ซึ่งอาจไม่แรง) แต่มันก้อไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย ..จะยังประโยชน์ตน(2คนนั้น)หรือประโยชน์ท่าน(สาธารณะ)ก้อไม่ได้ สมาชิกบางท่านรู้แกวว่าบอร์ดนี้เป็นยังไง เลยแค่คัดลอกคำสอนครูบาอาจารย์ท่านต่างๆมาลงไว้ตลอด แต่ไม่เคยแสดงความเห็นอะไรเลยก้อมี

    คำถามบางอย่างหรือความเห็นบางอัน ที่บางท่านเคยถามหรือตอบข้าพเจ้า แล้วข้าพเจ้าไม่ตอบหรืออาจตอบไปไม่ดี ข้าพเจ้าก้อขออโหสิกรรมด้วย อย่าถือโทษโกรธกัน ..ด้วยพรรษาและปัญญาของข้าพเจ้ายังน้อย ..อนุโมทนาสาธุธรรม..
     
  15. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ข้าพเจ้าขอรบกวนถามด้วยเพราะสงสัยอยู่เหมือนกัน ว่า
    1.จิตผู้รู้ นี่ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร? กับ สัมมาสติ ในมรรคมีองค์8
    2.ทำอย่างไรจึงเกิดจิตผู้รู้
    3.ในการปฎิบัติจริงๆ เมื่อผู้รู้เกิดแล้วต้องทำอย่างไรต่อ
    4.เคยอ่านเจอคำสอนที่ว่า พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต หมายความว่าอย่างไร? ใช้อะไรทำลาย?
    5.จิตผู้รู้ เกิดตลอดทั้งวันเลยรึป่าว? หรือเกิดตอน สติ กลายเป็น สตินทรีย์ แล้ว ประเด็นนี้เกี่ยวข้องสอดคล้องกันหรือไม่ ข้าพเจ้าเข้าใจข้อธรรมใดผิดไป?

    ...ขอบพระคุณความเห็นของคุณธรรม-ชาติค่ะ ทำให้เข้าใจข้อธรรมได้ดียิ่งขึ้น ข้าพเจ้าจะจดจำสำหรับนำไปเทียบเคียงการปฏิบัติต่อไปค่ะ __/\__
     
  16. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    ถ้าเรามีสติที่ผู้รู้กำลังดูอยู่ แล้วเกิดการปรุงแต่ง เป็นตนเอง หรือ มีอารมณ์
    ความรู้สึกขึ้นมา นั่นคือ นิสัย วาสนา ที่เป็นภพชาติของเรา

    ถ้าเรามีสติที่ผู้รู้กำลังดูอยู่ แล้วไม่มีการปรุงแต่ง
    นั่นคือ สภาวะรู้ที่ไร้การปรุงแต่ง คือ อสังขตธรรม
    ที่ไม่ทำให้เกิดภพชาติ

    ข้าพเจ้าเข้าใจถูกต้องไหมค่ะ

    แล้วกรณีที่มีสติเห็นผู้รู้ที่กำลังดูอยู่ แล้วไหลไปตามอารมณ์นั้น
    ทั้ง ๆ ที่สติเห็นทุกอย่าง ว่าเป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้น
    กระทำตอบอย่างไร ก็ไม่หยุด ยังอยากกระทำต่อ เพื่อตอบสนอง
    อารมณ์และตัณหาของตนเอง แสดงว่า สติไม่บริบูรณ์ ใช่ไหมค่ะ

    เพียงได้แต่เอาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จำได้ทุกอารมณ์ ก็นำมาปรับสัมมาทิฐิ
    เป็นการกระทำให้ถูกต้องใหม่ มันก็คือ ภพชาติ หรือ นิสัย วาสนา
    ที่ดีกว่าเดิมแค่นั้นใช่ไหมค่ะ มันคงไม่จบ แล้วต้องทำอย่างไร
    จึงจะกลั้นกระแสนั้นได้ สติอย่างเดียวพอหรือเปล่าค่ะ จะต้อง
    บวกเพิ่มความเห็นเข้าไปด้วยหรือเปล่า

    คือ ความเห็นที่เป็นกลางต่อการกระทำ เช่น ทำแล้วไม่มีผล
    ของการเกิดภพชาติ อดทน อดกลั้น ให้อภัย พรหมวิหารสี่
    นี่ทำได้ใช่ไหมค่ะ ถือว่ามันเป็นสังขตธรรม หรือเปล่า

    แล้วถ้าบอกว่าไม่เอาดีเอาชั่วแล้วว่างอย่างเดียว ก็คงยังไม่ใช่
    ก็คือต้องเดินตามขั้นตอนของมรรคก่อน แล้วค่อยมาจัดการ
    กับตัวนี้หรือเปล่า

    เพราะเท่าที่ทราบ พระพุทธองค์ทรงตรัส อริยมรรคเพียงแค่
    ครั้งเดียวที่ประกาศพระศาสนา แล้วพระอัญญาโกณฑญะบรรลุ
    โสดาบัน ท่านแสดง ธรรมอนัตตลักณสูตร กับ อาทิตตปริยายสูตร
    อีกครั้ง ทั้งห้าท่านจึงบรรลุพระอรหันต์

    ก็แสดงว่า มรรคมีองค์แปดเป็นทางเดินทางเดียวเท่านั้นจะให้
    เป็นอริยบุคคลเพื่อปรับสัมมาทิฐิ และ สัมมาปฏิบัติก่อน
    จึงมีธรรมแห่ง ขันธ์ทั้งห้าที่เกี่ยวกับผู้รู้ ในไตรลักษณ์
    เข้าใจถูกต้องไหมค่ะ

    ถ้าบอกว่าดูสภาวะอย่างเดียว แล้วคนที่กำลังยังไม่ถึง ก็คงต้องรับ
    ความผิดพลาดเป็นครูไปก่อน แล้วจึงฝึก ที่นี้นิสัยวาสนา นั่งสมาธิ
    อยู่กับความสงบไม่ได้ หาสติไม่เจอ ต้องทำอย่างไรค่ะ

    ส่วนอีกกรณีหนึ่ง แต่ถ้า มีสติเห็นผู้รู้กำลังดูความรู้สึกภายในใจอยู่
    เห็นแล้วไม่ได้ปรุงแต่งตาม จะจัดการอย่างไรไม่ให้ปรุงแต่งเลย
    หรือว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เราเป็นเพียงแค่ผู้รู้ที่ดูอยู่ ไม่ต้องทำอะไร

    แล้วทำอย่างไรจึงไม่ให้ปรุงแต่งเลยค่ะ เมื่อเรายังต้องทำ ต้องคิด
    ต้องใช้ชีวิตของเราอยู่

    ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ
     
  17. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,942
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อันนี้ขอตอบว่า

    ปฏิบัติให้ถึง ก็จะเข้าใจเองครับ


    ถ้าไม่เป็น ก็เหมือนไปจำคนอื่นมา รู้จากคนอื่นมา ไม่ได้รู้จากตัวเอง

    มันก็เลยสงสัยต่างๆนาๆ ทั้งๆที่ในอดีตที่ผ่านๆมา หรือแม้แต่ในคำเทศน์ของครูบาอาจารย์ต่างๆ มีคำอธิบายไว้เต็มไปหมด

    แต่ตราบใด ที่ตัวเอง ยังไม่เป็นเอง ก็ย่อมสงสัย ไม่เข้าใจต่อไป

    กินน้ำเอง รู้รสน้ำเอง ดีกว่าถามคนอื่น รู้ได้ยินว่าน้ำนั้นรสชาติเป็นอย่างไร


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มีนาคม 2014
  18. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    อนุโมทนาสาธุในเจตนาที่ดีและความหวังดีของท่านมากๆค่ะ ท่านตอบรวบรัด ชัดเจน ตรงประเด็นดีค่ะ เพราะนวลฯเองก้อสังเกตตัวเองอยู่ ว่าเป็นคนที่ไม่เหมาะกับการรู้หรือจดจำอะไรมากๆ แค่ขั้นตอนพื้นฐานก้อน่าจะพอค่ะ สำหรับการปฏิบัติที่เอาจริง จริงๆแล้วท่านธรรม-ชาติก้อตอบไว้ดีแล้ว กระจ่างแล้วค่ะ สำหรับนวลฯเองข้อธรรมใดมันเกินภูมิธรรมของเรา เราก้อควรละไปก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจในประเด็นนั้น __/\__
     
  19. SP6580

    SP6580 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    518
    ค่าพลัง:
    +1,550
    จ้าจ้ะ พอดีไม่ได้อ่าน ไม่ได้ดูมาก แต่ไม่อยากให้ใครมาอารมณ์เสียกับเรื่องพระธรรม จ้ะ เข้าใจใช่ไหมจ้ะ
     
  20. ธรรม-ชาติ

    ธรรม-ชาติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    2,567
    ค่าพลัง:
    +9,957
    คุณ นวลปราง อ่านประกอบไปด้วยนะครับ เพราะคำถามของคุณ กลายแก้วนั้น ครอบคลุมเนื้อหาที่คุณถามมาอยู่เหมือนกัน


    ถ้าเรามีสติที่ผู้รู้กำลังดูอยู่ แล้วเกิดการปรุงแต่ง เป็นตนเอง หรือ มีอารมณ์ความรู้สึกขึ้นมา นั่นคือ นิสัย วาสนา ที่เป็นภพชาติของเรา

    +++ "ถ้าเรามีสติที่ผู้รู้กำลังดูอยู่" ตรงนี้ภาษาของผมคือ "ในขณะที่ เรา เป็นตัวดู" และ ตัวดูเกิดความปรุงแต่ง เป็นตนเอง ประโยคนี้ "ควรเรียบเรียงใหม่" เพราะไม่ตรงตามอาการ
    +++ ตามความเป็นจริงแล้ว "ขณะที่เป็น ตัวดู" นั้น "มีความเป็น ตน" อยู่อย่างเต็มใบแล้ว และ "ตัวดู" คือผู้ปรุงแต่ง หากจะใช้คำพูดที่ตรงตามอาการคือ "ตัวกู ตัวดู ตัวปรุง" มันเป็นตัวเดียวกันทั้งสิ้น

    +++ จะช่วยสรุป คำถามให้ใหม่แบบ ง่าย ๆ ได้ดังนี้

    +++ "ในขณะที่ตัวเราปรุงแต่ง เป็นตนและมีอารมณ์ความรู้สึก ตรงนี้เป็น นิสัยและวาสนา รวมทั้งภพชาติของเรา ด้วยหรือไม่"

    +++ คำตอบคือ "ใช่แล้วครับ"

    ถ้าเรามีสติที่ผู้รู้กำลังดูอยู่ แล้วไม่มีการปรุงแต่ง นั่นคือ สภาวะรู้ที่ไร้การปรุงแต่ง คือ อสังขตธรรม ที่ไม่ทำให้เกิดภพชาติ

    +++ คำถามตรงนี้คือ "ถ้าเรามีสติ เป็นตัวดู และไม่มีการปรุงแต่ง" คำตอบตรงนี้คือ "ตรงนี้เป็น สมถะฌานสมาบัติครับ" และยังเป็น สังขตะธรรม (Dynamic Stage) อยู่
    +++ แต่ถ้าคำถามคือ "ถ้าเราเป็น สภาวะรู้ ที่ไม่มีการปรุงแต่ง" คำตอบตรงนี้คือ "ตรงนี้เป็น อสังขตะธรรม" Static Stage ครับ

    ข้าพเจ้าเข้าใจถูกต้องไหมค่ะ

    +++ ลองอ่านทวนใหม่อีกที นะครับ

    แล้วกรณีที่มีสติเห็นผู้รู้ที่กำลังดูอยู่ แล้วไหลไปตามอารมณ์นั้น ทั้ง ๆ ที่สติเห็นทุกอย่าง ว่าเป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้น กระทำตอบอย่างไร ก็ไม่หยุด ยังอยากกระทำต่อ เพื่อตอบสนอง อารมณ์และตัณหาของตนเอง แสดงว่า สติไม่บริบูรณ์ ใช่ไหมค่ะ

    +++ คำถาม "กรณีที่มีสติเห็นผู้รู้ที่กำลังดูอยู่" ตรงนี้เพื่อความเข้าใจที่ง่ายกว่าเดิม จะขอเปลี่ยนเป็น "ขณะที่สภาวะรู้ ครอบคลุมตัวดู อยู่" นะครับ

    +++ "ในขณะที่สภาวะรู้ ครอบคลุมตัวดู อยู่" นั้น ตามธรรมชาติแล้ว "ตัวดู จะไหลไม่ออก และสภาวะของ ความเป็นตัวกูของกู จะไม่ปรากฏ ทั้ง ๆ ที่มันยังมีอยู่แบบ คาหนังคาเขา ในขณะนั้น"
    +++ การเดินจิตที่จะ "รู้" ในสิ่งที่คุณถามมานั้น ต้องชำนาญในการ "อยู่ และ ย้าย" ในสภาวะธรรม จากพื้นฐานของ วสี 5 มาแล้ว ดังนี้

    +++ ในขณะที่ "อยู่ และ เป็น สภาวะรู้" นั้น ก่อนที่จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หรือที่เรียกกันว่า "ถอนจิต" นั้น จะมีสภาพเป็นขั้นตอน ดังนี้

    +++ คือ "เกิดสภาวะแห่งความเป็นธาตุ" เป็นสภาวะที่ "มีสภาพชนิดหนึ่ง" เกิดขึ้นมา และ "ถูกรู้" สภาวะธาตุนั้น จะค่อย ๆ รวมตัวกันหนาแน่นและเข้มข้นมากขึ้น จนเกิด แรง "รวมตัวสู่ศูนย์กลาง" สภาพการรวมตัวนั้น คล้ายกับ "ผนังพายุ" ณ ที่ตัวผนังพายุนั้น คือ การผสมผสานกันของสภาวะธาตุ ที่มีความ เข้มข้น หนักเบาแตกต่างกัน "ปรุงแต่ง เข้าหากัน" เมื่อการปรุงแต่ง มาถึงจุดหนึ่งแล้ว จะเกิด "ตาพายุ ณ ศูนย์กลางนั้น" แรก ๆ จะเป็น "ความใส ที่มีสภาพ" แล้วต่อมาจะกลายเป็น "แสงสว่าง" ที่เรียกกันว่า โอภาส ก็ได้ จากนั้น แรงปรุงแต่งจะเพิ่มมากขึ้น โอภาส จะเริ่มกลายเป็น สีที่ผสานกันไปมา รวมกันเป็น "ปรากฏการณ์ของ รูป"

    +++ ตาพายุแห่ง "รูป" นี้ สัมผ้สไปที่ใด ก็จะ "เห็น รู้ จำ" ไปยัง ณ ที่นั้น และทั้งหมดนี้คือ กำเหนิดของ "ตัวดู ผู้รู้ วิญญาณขันธ์" แล้วกลายมาเป็น "ตัวกูของกู" และมีสภาพเป็น "จุดหย่อม"
    +++ กระบวนการนี้มีแต่ "สภาวะรู้" เท่านั้น ที่จะ "เห็น" มันได้ หากยังไม่ "เป็น" สภาวะรู้ด้วยตนเองแล้ว มันก็จะเป็นสภาวะของ "ตาพายุ" ที่ปรับและปรุง ให้ตัวมันเองตลอดเวลา ตรงนี้คือ "สภาวะคิด"

    +++ ดังนั้นคำถามที่ว่า "ในขณะที่สภาวะรู้ ครอบคลุมตัวดู อยู่ แล้ว ปล่อยให้มันไหลไปตามเหตุการ โดยที่ สติรู้ทุกอย่าง โดยที่ไม่เข้าไปแทรกแซงนั้น" ตรงนี้ เป็นการ "เห็นปฏิจจะสมุปบาท"
    +++ แต่ถ้าเป็นตามคำถามที่ว่า "กระทำต่อ เพื่อตอบสนอง อารมณ์และตัณหาของตนเอง แสดงว่า สติไม่บริบูรณ์ ใช่ไหมค่ะ" คำตอบคือ "ใช่ครับ"

    เพียงได้แต่เอาสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว จำได้ทุกอารมณ์ ก็นำมาปรับสัมมาทิฐิ เป็นการกระทำให้ถูกต้องใหม่ มันก็คือ ภพชาติ หรือ นิสัย วาสนา ที่ดีกว่าเดิมแค่นั้นใช่ไหมค่ะ มันคงไม่จบ แล้วต้องทำอย่างไรจึงจะกลั้นกระแสนั้นได้ สติอย่างเดียวพอหรือเปล่าค่ะ จะต้อง บวกเพิ่มความเห็นเข้าไปด้วยหรือเปล่า

    +++ การปรับปรุงเพื่อให้ใดมาซึ่่ง "สัมมาทิฐิ" เป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะผลลัพธ์ที่ออกมาจะได้ ภพชาติ หรือ นิสัย วาสนา ที่ดีกว่าเดิม คำตอบคือ ใช่ครับ
    +++ สติอย่างเดียว จะพอหรือไม่ ที่จะทำให้หมดกระบวนการเหล่านี้ คำตอบในการฝึกคือ "ไม่พอ" แต่ผลลัพธ์สุดท้ายก็จะเหลือแต่ "สติ" อย่างเดียว ดังนั้น ฝ่ายเหตุ "ไม่พอ" แต่ฝ่ายผล "พอ"

    คือ ความเห็นที่เป็นกลางต่อการกระทำ เช่น ทำแล้วไม่มีผล ของการเกิดภพชาติ อดทน อดกลั้น ให้อภัย พรหมวิหารสี่ นี่ทำได้ใช่ไหมค่ะ ถือว่ามันเป็นสังขตธรรม หรือเปล่า

    +++ ความเห็นที่เกิดมาจาก "ตาพายุ และผลพวงของมัน" เป็น สังขตะธรรมทั้งสิ้น มีแต่เพียง "สภาวะรู้ หรือ สติบริสุทธิ์" เท่านั้น ที่เป็น อสังคตะธรรม

    แล้วถ้าบอกว่าไม่เอาดีเอาชั่วแล้วว่างอย่างเดียว ก็คงยังไม่ใช่ ก็คือต้องเดินตามขั้นตอนของมรรคก่อน แล้วค่อยมาจัดการ กับตัวนี้หรือเปล่า

    +++ "ทำสติ ให้เป็น สมาธิ" ก่อน ตรงนี้เป็นเหตุ นอกนั้นเป็น ผลต่อออกไปจากตรงนี้ ทั้งสิ้น

    เพราะเท่าที่ทราบ พระพุทธองค์ทรงตรัส อริยมรรคเพียงแค่ ครั้งเดียวที่ประกาศพระศาสนา แล้วพระอัญญาโกณฑญะบรรลุ โสดาบัน ท่านแสดง ธรรมอนัตตลักณสูตร กับ อาทิตตปริยายสูตรอีกครั้ง ทั้งห้าท่านจึงบรรลุพระอรหันต์

    ก็แสดงว่า มรรคมีองค์แปดเป็นทางเดินทางเดียวเท่านั้นจะให้ เป็นอริยบุคคลเพื่อปรับสัมมาทิฐิ และ สัมมาปฏิบัติก่อน จึงมีธรรมแห่ง ขันธ์ทั้งห้าที่เกี่ยวกับผู้รู้ ในไตรลักษณ์ เข้าใจถูกต้องไหมค่ะ

    +++ มรรคมีองค์ 8 แต่เวลา "ลงมือทำ" ให้ทำ "สติให้เป็นสมาธิ" เมื่อ "ทำ" ได้แล้ว ก็จะ "รู้" ได้เอง

    ถ้าบอกว่าดูสภาวะอย่างเดียว แล้วคนที่กำลังยังไม่ถึง ก็คงต้องรับ ความผิดพลาดเป็นครูไปก่อน แล้วจึงฝึก ที่นี้นิสัยวาสนา นั่งสมาธิ อยู่กับความสงบไม่ได้ หาสติไม่เจอ ต้องทำอย่างไรค่ะ

    +++ หาก "หมดความสามารถในการทำ สติ" ก็ให้ทำคุณงามความดีอื่น ๆ เพื่ออยู่ห่าง "อบาย" เข้าไว้ เพราะ "ไม่มีสติ คือ ไม่มีมรรค" นั่นเอง

    ส่วนอีกกรณีหนึ่ง แต่ถ้า มีสติเห็นผู้รู้กำลังดูความรู้สึกภายในใจอยู่ เห็นแล้วไม่ได้ปรุงแต่งตาม จะจัดการอย่างไรไม่ให้ปรุงแต่งเลย หรือว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เราเป็นเพียงแค่ผู้รู้ที่ดูอยู่ ไม่ต้องทำอะไรแล้วทำอย่างไรจึงไม่ให้ปรุงแต่งเลยค่ะ เมื่อเรายังต้องทำ ต้องคิด ต้องใช้ชีวิตของเราอยู่

    +++ ตรงนั้น "มันฝืนสัจจะธรรมแห่งความเป็นจริง" หรือเปล่าละ อะไรที่มัน "มีอยู่จริง เป็นอยู่จริง" ก็อย่าเอา "ความคิด" ไปฝืนมันแล้วทำให้ "เป็นทุกข์แบบฟรี ๆ" ไม่มีประโยชน์อันใดเลย

    ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ

    +++ เริ่มที่ "ทำสติให้เป็นสมาธิ" ให้ได้ก่อนอื่น นอกนั้นจะค่อย ๆ ทยอยเข้าใจในสภาวะธรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลลัพธ์มาได้เอง นะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...