เพื่อเตือนลูก หลาน และเราไม่ให้ประมาท

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ด้วยรัก30, 31 ธันวาคม 2013.

  1. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ดูเผื่อแนวทางเผื่อนำมาเป็นแนวทางเลือกซื้อมาใช้ที่จำเป็น ตามทุนทรัพย์แต่ละคนที่จะใช้
     
  2. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    บันทึก การเดินป่า ไว้อ่านง่ายต่อ
    อุปกรณ์ที่ใช้ตามบ้าน มีขนาดใหญ่เทอะทะและหนัก จึงแทบจะนำมาใช้แทนอุปกรณ์เดินป่าไม่ได้เลย ขืนพกของใช้ในเมืองไปจะไปติดขัดกลางทาง อย่างไฟฉายที่ใช้ตามบ้าน ใส่ถ่านก้อนใหญ่ขนาด C หรือ D ถ้าพกไปทั้งกินที่ทั้งหนัก พอเจอความชื้นเจอกระแทกหน่อยก็พัง หรือแม้แต่เครื่องกันหนาว และรายละเอียดอื่นๆอีกมาก
    24174570_1491920874196054_6903330908378745233_n.jpg การเข้าป่าโดยไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสม อาจจะเจ็บตัวกลับมา ยิ่งมีอุปกรณ์ดี ยิ่งเจ็บตัวน้อยลง ถ้าคิดจะชวนเพื่อนคนที่ไม่พร้อมไปด้วย เขาจะเบื่อไม่อยากไปอีกเลย หรืออาจจะกลับมาหมกมุ่นอยู่กับ การซื้อและทดลองอุปกรณ์ เพราะ นักเดินป่ามือใหม่ที่มาจากในเมือง มักจะเข้าใจว่า อุปกรณ์ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้น จะช่วยให้ชีวิตในป่าสะดวกสบายขึ้น เหมือนชีวิตในเมืองที่ต้องพึ่งอุปกรณ์จำนวนมาก แต่ชีวิตจริงในป่าไม่ได้เป็นอย่างนั้น เวลาเดินป่า เราต้องแบกของเอง ยิ่งแบกของมาก ยิ่งมีภาระมาก ถึงแม้จะมีลูกหาบ
    แต่เขาก็ช่วยแบ่งเบาภาระเราได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เราจึงไม่สามารถแบกทุกอย่างติดตัวไปได้ ต้องแบกไปเฉพาะของที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ และต้องเป็นของที่ออกแบบมาสำหรับการเดินป่าโดยตรงด้วยคือ เล็ก เบา ทนทาน ประหยัดไฟ ยิ่งถ้าต้องเข้าป่าลึก เดินหลายวัน ยิ่งต้องแบกเฉพาะของที่เกี่ยวกับความเป็นความตายเท่านั้น
    สื่งมนุษย์ต้องการ 3 อย่าง!!...เพื่อให้ร่างกายทำงานปกติ
    calm-2315559_960_720.jpg คือ น้ำสะอาด, อาหารครบ 5 หมู่, และ ได้นอนหลับสนิท บนที่แห้ง อบอุ่น ปราศจากแมลงหรือสัตว์รบกวน ถ้าสิ่งใดขาด ร่างกายจะเริ่มเฉื่อยลง อุปกรณ์ที่ทุกคนควรจะติดตัวไว้เวลาเข้าป่าจึงได้แก่ กระติกน้ำ อาหารแห้ง เปลสนาม ฟลายชีท และถุงนอน


    sausages-on-the-fire-2891053_960_720.jpg
    second-world-war-1414935_960_720.jpg

    ดูสินค้าของเรา>>คลิก..
    >>>>>>>น้ำ<<<<<<<
    กฎข้อแรกของการเดินป่าคือ...อย่าปล่อยให้หิวน้ำ!!

    คนตายในป่าเพราะ อดน้ำ ไม่ใช่อดข้าว คนปกติสามารถอดข้าวได้ถึง 3 อาทิตย์ แต่ถ้าอดน้ำจะเสียชีวิตภายใน 3 วัน ซึ่งนั่นเป็นขีดจำกัด ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าอดน้ำขณะกำลังเดินแค่ไม่กี่ชั่วโมง อาการก็จะเริ่มแย่ และสามารถเสียชีวิตได้ในวันเดียว
    การขาดน้ำทำให้เลือดเลือดข้นขึ้นจนไหลเวียนไม่สะดวก มีอาการเริ่มแรกคือ ปวดหัว และอ่อนเพลีย ทำให้เดินช้าลงเรื่อยๆ เวลาลุกขึ้นนั่งหรือยืนแล้วจะหน้ามืด ริมฝีปากแห้งแตก ตาแห้ง เนื่องจากเวลาที่ร่างกายขาดน้ำ จะแสดงอาการออกมาทางปากก่อน อาจร้อนในจนปากพอง ตามมาด้วยอาการป่วยต่างๆ เช่น แน่นหน้าอก วัดความดันขณะเปลี่ยนท่าเป็นนั่งหรือยืนจะคงที่หรือต่ำลง หัวใจเต้นเร็วขึ้นแม้แต่เวลาหยุดพัก ถ้าเป็นหนักก็จะเจ็บหัวใจ ปวดหลังบริเวณไต ฯลฯ คนที่ฝืนเดินต่อไปโดยไม่มีน้ำ ก็จะล้มลงตายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ถ้าอดน้ำก่อนนอน จะทำให้ ท้องผูก ภูมิคุ้มกันต่ำ ป่วยไม่สบายเป็นไข้อ่อนๆเพราะร่างกายขับสารพิษออกได้ไม่เต็มที่
    womens-2325757_960_720.jpg
    มีคนจำนวนไม่น้อย ที่ไม่ชอบแบกน้ำ แล้วน้ำหมดกลางทาง ต้องนอนพะงาบๆ รอให้คนหาน้ำมาให้ บางคนต้องคลานไป เพ้อไป บางคนต้องทนกินน้ำในบ่อที่สกปรก เต็มไปด้วยขี้และเยี่ยวสัตว์ แถมยังต้องตุนน้ำสกปรกไปกินตลอดทาง หรือถ้ายังมีแรง ก็ต้องรีบดิ่งลงเขาไปหาน้ำ จะลำบากมากเพราะริมน้ำจะรกและเต็มไปด้วยต้นหนาม แม้จะมีน้ำดื่มเพียงพอ แต่ก็อาจพบโรคขาดน้ำได้บ่อยในผู้หญิง เพราะผู้หญิงกลัวฉี่บ่อย จึงไม่ชอบดื่มน้ำขณะเดินทาง นอกจากนี้ผู้หญิงยังเป็นโลหิตจางได้ง่ายจากการเสียเลือดมากระหว่างมีประจำ เดือน ซึ่งถ้าเป็นมากๆ จะมีอาการคล้ายโรคขาดน้ำ เช่น ปวดหัว หน้ามืด อ่อนเพลีย ฯลฯ
    หลักการแบกน้ำคือ อย่าหวังน้ำบ่อหน้า ควรเตรียมน้ำสะอาด ไปให้เพียงพอกับระยะทางที่เดินได้ตลอดทั้งวัน โดยที่ไม่ต้องไปเติมกลางทาง และ ต้องเผื่อหลง เผื่อต้องนอนกลางทางด้วย ถึงแม้จะเดินเลาะริมลำธาร ก็อย่าประมาทเพราะ บางช่วงอาจต้องตัดขึ้นเขาไปไกลเกินกว่าจะลงไปหาน้ำ
    ถึงแม้ว่าจะเดินตามลำธารก็ไม่ควรแวะกินน้ำในลำธาร เพราะ อาจมีสิ่งสกปรกที่มองไม่เห็นปนเปื้อนอยู่ เช่น เชื้อโรคหรือพยาธิจากมูลสัตว์ และ ปลิง บางแห่งเห็นน้ำใสๆ ลองทิ้งไว้ค้างคืนจะมีกลิ่น และจับตัวเป็นตะกอน โดยเฉพาะน้ำบริเวณป่าที่เป็นหินปูน น้ำจะใสมาก แต่เมื่อต้มเสร็จแล้ว จะตกตะกอนหินปูนสีขาว น้ำบางแห่ง ถึงแม้ว่าต้มแล้วก็ยังเหลือแคลเซียมละลายอยู่ในน้ำมากกว่าครึ่ง
    คนที่ได้รับแคลเซียมมากเกินไปในวันเดียว ร่างกายจะขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิดนิ่วสูง พื้นที่ที่มีไข้มาลาเรีย ก็จะมีเชื้อมาลาเรียปนมาในน้ำ เคยมีตัวอย่างของคนงานสร้างทางรถไฟผ่านป่าดงพญาไฟในอดีต ที่ป่วยตายกันหมดเพราะดื่มน้ำโดยไม่ต้ม ต่อมาใช้คนจีนมาสร้าง จึงสร้างเสร็จ เพราะคนจีนดื่มชา จึงต้องต้มน้ำก่อนดื่มเสมอ
     
  3. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    เคยฝันเห็น อาจารย์มาติดระบบให้ที่แขน แต่มาวันนี้ฝันแปลก ว่าเราในที่สูงกว่าระดับน้ำแล้วเก็บสิ่งที่ใช้ เป็นผู้ถูกเลือกให้ช่วยบรรเทาสถานนะภัย เพราะผู้หญิงอีกท่าน ที่จริงมีหลายคนช่วยกัน ฝันวันที่4กค2562

    ในความคิดที่เคยฟังมาไว้นานแล้ว คิดว่าคนเรานะโชคดีมีบุญ ถึงจะเกิดเรื่องใหญ่ที่เป็นภัยต่อคนมากๆ ก็จะมีการเตือนไว้ก่อนจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ น่าจะแผ่นดินไหวทั้งโลกทีเดียว หรือ ค่อยไหวไปเลื่อยๆรวมกันแล้วทั้งโลกเลย ถือว่ามาเตือนกันแล้วมีเวลาให้30วัน

    เคยฟังของหลวงพ่อฤษีลิงดำ บอกทำให้เข้าใจเรื่องถ้ารบอาจจะตายแค่ทหารที่รบ แต่ถ้าไม่รบจะพากันตายทั้งประเทศ เผอญวันนี้7กค62ได้ฟังประเทศที่usaปิดทางเศรษฐกิจจึงทำให้เข้าใจอะไรขึ้น

    เรื่องการเข้าป่าอ่านแล้วสรุปได้ว่าถ้าไม่แน่จริงอย่าเข้าป่า ไม่รอบรู้ ไม่เตรียมสิ่งของจำเป็นที่จะใช้ไปด้วยได้อย่าเข้าไปป่า ไปแค่รถกระบะเข้าไปถึงก็พออยู่ใกล้ๆแหล่งน้ำใกล้ซัก10-100เมตรก็พอแล้วพักแถวนั้นเพื่อความปลอดภัยของทุกคน


    มาฟังธรรมะง่ายๆกันดีกว่าแล้วจะชอบติดตามฟังไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2019
  4. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    จะเขียนอะไรก็จะเขียนเป็นคล้ายรหัสไว้เพราะเพื่อไม่ต้องการให้คนไม่ดีเข้ามาอ่านถึงเข้ามาอ่านก็ขอให้ไม่ชอบและลำคาญและก็ออกจากกระทู้ไปอ่านอื่นๆไป

    มีเรื่องธรรมะคนมีบุญจะชอบ คนมีบาปกรรมไม่ดีจะไม่ชอบ

    ถ้ายังไม่เก่งให้ฝึกฟังข้างล่างก่อนแล้วจะชอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2019
  5. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    >>วิธีทำน้ำให้สะอาด<<
    • กรองด้วยผ้าขาวเย็บติดกับลวดวงกลม เหมือนที่ใช้กรองชาตามร้านกาแฟ แต่วงเล็กกว่า พอครอบปากกระติกน้ำได้ เพื่อจะได้ไม่เกะกะเวลาแบก หรือจะไม่ต้องมีลวดวงกลม ใช้เชือกร้อยแทนเพื่อรัดกับปากขวด จะยิ่งพกสะดวกขึ้น ผ้าขาวใช้กรองเบื้องต้นเพื่อกำจัดเศษใบไม้ พยาธิและปลิง ออกไปได้ ควรทำทุกครั้ง วิธีนี้มีข้อดีคือ ทำความสะอาดผ้าได้ง่าย ผ้าที่กรองน้ำได้ดี คือผ้าโพลีเอสเตอร์ ที่เนื้อไม่แน่นมาก น้ำจะไหลผ่านได้สะดวก ผ้าที่เนื้อแน่นเกินไปทำให้น้ำไหลผ่านได้ยาก ส่วนผ้าฝ้ายไม่ค่อยเหมาะเพราะมีขน ทำให้เศษผงเกาะติดง่าย

    • ใช้เครื่องกรองแบบมีใส้ ถึงแม้จะกรองได้ดีที่สุด แต่ใหญ่เทอะทะ และ ยุ่งยาก ต้องจำว่าถึงเวลาเปลี่ยนใส้กรองเมื่อใด ที่สำคัญคือ ใส้กรอง ไม่สามารถกรองเชื้อโรคได้หมด เพราะเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กที่สุด คือเชื้อไวรัส อาจมีขนาดเล็กที่สุดถึง 0.01 ไมครอน อย่างเช่นไวรัสบี มีขนาด 0.042 ไมครอน ในขณะที่ใส้กรอง จะกรองได้อย่างมากแค่ 0.1 ไมครอน เครื่องกรองที่กำจัดเชื้อโรคได้จริง คือ แบบ reverse osmosis ซึ่งกรองได้ละเอียดถึง 0.0005 ไมครอน แต่ต้องใช้ไฟฟ้าอัดแรงดันให้น้ำผ่านใส้กรอง จึงมีใช้เฉพาะตามบ้าน แต่ข้อเสียของ reverse osmosis คือจะกรองแร่ธาตุออกไปด้วย การดื่มน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุจะทำให้คนเป็นโรคขาดสารอารได้ง่าย
    ดูสินค้าของเราคลิก..>>>
    • ต้ม เหมาะสำหรับช่วงที่มีเวลาว่าง เนื่องจากต้มแล้วต้องทิ้งไว้ให้น้ำเย็น แต่ถ้ารีบต้องเทใส่กระติกน้ำแล้วนำไปแช่ในลำธารจนเย็น ถึงแม้ว่ากระติกน้ำที่ทำจากโลหะพวกอลูมิเนียมหรือสเตนเลสจะระบาย ความร้อนได้เร็ว แต่ปัญหาเรื่องหนัก หาซื้อยาก และ โลหะใช้ไปสักพักจะมีคราบเกาะด้านใน กระติกน้ำพลาสติกกำจัดปัญหาเหล่านี้ไปได้ แต่ต้องทำจากวัสดุที่ทนน้ำเดือดได้ อย่างเช่น polypropylene เขียนย่อๆใต้ขวดว่า PP ซึ่งมีจุดหลอมเหลวสูงถึง 120 องศาเซลเซียส ในขณะที่น้ำเดือดมีอุณหภูมิไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส ถ้าเป็นกระติกน้ำอลูมิเนียมที่เคลือบพลาสติกไว้ด้านใน ต้องรู้ว่าเป็นพลาสติกชนิดใด มีจุดหลอมเหลวเท่าใด ถ้าหาไม่ได้จริงๆ ถุงพลาสติกใสที่เรียกว่าถุงร้อน ทำจาก polypropylene สามารถนำมาใส่น้ำร้อนได้ ส่วนขวดที่ทำจากวัสดุอื่น จะสู้ขวด PP ไม่ได้ เพราะ PP จะแข็ง เบา ยืดหยุ่นได้ดี ราคาถูก และปลอดภัย ส่วนขวดที่ทำจากวัสดุอื่น เช่น ขวด PET หรือ polycarbonate จะแข็งและใส แต่ถ้าบางจะเบาแต่บุบบี้ง่าย จึงต้องทำให้หนา ทำให้หนักกว่า PP ขวดพวกนี้จะใช้เฉพาะเมื่อมีเหตุผลที่ต้องใช้ ซึ่งเมื่อถึงเวลาต้องใช้จะรู้เอง เช่น ต้องการภาชนะที่ใสเหมือนแก้วเพื่อให้มองเห็นข้างใน แต่น้ำหนักเบากว่าแก้ว ส่วนเรื่องที่ลือกันว่า ขวดเหล่านี้มีสารเคมีพวก BPA หรือ phthalates ละลายนั้น แท้จริงแล้วสารเหล่านี้ไม่มีอันตราย เพราะมีปริมาณน้อย เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกแปลงที่ตับแล้วขับออกทางปัสสาวะ

    • หยดไอโอดีนลงไปในน้ำ แล้วทิ้งไว้สักพัก เชื้อโรคในน้ำจะตายหมด ไอโอดีนดีต่อสุขภาพของทุกคน ยกเว้นคนที่แพ้ไอโอดีน จะใช้ไม่ได้ ต้องไปรักษาโรคให้หายก่อน ส่วนคนที่เป็นโรคไทรอยด์ต้องรู้วิธีใช้ ส่วนคลอรีนไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ฆ่าเชื้อโรค เพราะคลอรีนปริมาณมากเกินไป ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ไอโอดีนมีหลายรูปแบบ แต่แบบที่พกพาง่ายที่สุดคือ สารละลายอิ่มตัวของ potassium iodide โดยซื้อ potassium iodide แบบกินได้ จากร้านขายสารเคมี เช่น วิทยาศรม นำมาละลายน้ำจนอิ่มตัวจะได้ potassium iodide 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ml(มิลลิลิตร) มีไอโอดีน 760 มิลลิกรัม แล้วแบ่งสารละลายที่ได้ ใส่ขวดพลาสติกที่ทำจาก polypropylene(PP) จะทน potassium iodide ได้ เลือกแบบที่มี dropper หยดออกมาทีละหยดได้ ทดลองหยดสารละลายในแนวดิ่ง (ถ้าหยดแนวนอนจะได้ไม่เท่ากัน) ดูว่าใน 1 ml มีกี่หยด แล้วคำนวณว่าใน 1 หยดมีไอโอดีนกี่มิลลิกรัม เวลาใช้ให้หยดไอโอดีนประมาณ 35 มิลลิกรัม ต่อน้ำดื่ม 1 ลิตร คนแล้วทิ้งไว้ 30 นาที เชื้อโรคจะตายไปประมาณ 99% เชื้อโรคที่เหลืออยู่ถือว่าน้อยมาก จนไม่สามารถทำอันตรายคนได้ ถึงแม้เชื้อโรคจะเข้าไปในร่างกายบ้าง แต่ก็มีไอโอดีนในน้ำตามเข้าไปฆ่า ยิ่งหยดทิ้งไว้นานกว่านี้ เชื้อโรคจะตายมากขึ้นไปอีก โดยเมื่อเพิ่มเวลาขึ้นเท่าตัว เชื้อโรคจะตายเพิ่มเป็นจุดทศนิยมอีก 1 ตำแหน่ง เช่น ทิ้งไว้นาน 1 ชั่วโมง เชื้อโรคจะตายเพิ่มเป็น 99.9%, 2 ชั่วโมง 99.99% ถ้ามีเวลามากหรือน้อยกว่านี้ สามารถปรับปริมาณหยดได้ โดยใช้สูตร จำนวนไอโอดีนเป็นมิลลิกรัม x เวลาเป็นนาที / ปริมาตรน้ำดื่มเป็นลิตร = 1000 เช่นถ้ารีบ ให้ใส่ไอโอดีนเพิ่มขึ้นเป็น 100 มิลลิกรัม คนแล้วทิ้งไว้ 10 นาที ( 100 มิลลิกรัม x 10 นาที / น้ำ 1 ลิตร = 1000) สามารถดื่มได้เลย ถ้าน้ำครึ่งลิตรก็ทิ้งไว้แค่ 5 นาทีพอ ข้อควรระวังในการใช้ไอโอดีนคือ จะไปขับซิลิเนียมออก การหยดไอโอดีนแต่ละวันจึงไม่ควรเกิน 100 มิลลิกรัม การกินไอโอดีนติดต่อกันนานๆ ต้องกินซิลิเนียมควบคู่ไปด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ขาดซิลิเนียมจนเป็นโรคคอพอก (ไทรอยด์ต่ำ) จากที่ผมทดสอบมากับคนพบว่า การกินไอโอดีน 50 มิลลิกรัมต่อซิลิเนียม 200 ไมโครกรัม จะป้องกันโรคคอพอกได้ นอกจากนี้ยังมีบางคน(น้อยมาก)เกิดอาการแพ้ เราจึงควรทดสอบกินไอโอดีน ก่อนใช้งานจริงในป่า โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆ เพื่อดูว่ากินแล้วมีอาการผิดปกติหรือไม่
    ffecb20238e364e950463106ef1063ae.jpg
    ดูสินค้าของเราคลิก..>>>
    • รังสียูวี เครื่องฉายรังสียูวีใส่ถ่านฆ่าเชื้อโรคได้เกือบหมดภายในเวลาเพียง 1 นาที แต่ถ่านหมดง่าย และไม่ทน
    • ถ้าไม่มีอะไรกรองน้ำเลย ให้หาจุดที่น้ำใสและไหล หันปากขวดไปทางปลายน้ำ แล้วกดปากขวดให้จมอยู่ใต้น้ำ เพื่อที่จะไม่มีฝุ่นบนผิวน้ำเข้าไปในขวด ฝุ่นผงมักจะอยู่แค่บนผิวน้ำ แต่ไม่ควรกดปากขวดใกล้กับพื้นลำธารมากเกินไป เพราะสิ่งสกปรกต่างๆรวมทั้งพยาธิ มักจะจมอยู่ใกล้พื้นลำธาร แค่กวนน้ำเพียงเล็กน้อยก็จะฟุ้งขึ้นมา

    วิธีทำให้น้ำสะอาดที่เหมาะสมที่สุด ควรเริ่มต้นจาก กรองด้วยผ้าขาว เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม ถ้ากรองแล้ว ยังมีฝุ่นผง ทิ้งไว้ครึ่งวันหรือข้ามคืนจะตกตะกอน แล้วจึงนำน้ำใสมากรองอีกรอบ ส่วนตะกอนทิ้งไป ถึงแม้จะอยู่ในป่าที่มีสัตว์ และมีเชื้อมาลาเรีย น้ำที่ใสและไหลแรงพอสมควร จะค่อนข้างปลอดภัย ถ้าจำเป็นจริงๆ สามารถกรองด้วยผ้าแล้วดื่มได้เลย โดยไม่ต้องต้ม แต่ถ้ามีเวลาว่างควรจะต้มเสมอ เพื่อความปลอดภัย 100% แต่ถ้าเจอแหล่งน้ำต้องสงสัย เช่น น้ำไหลแรงแต่ขุ่น ยังไม่ควรดื่ม เพราะอาจมีเชื้อโรค ควรต้มก่อนดื่มเสมอ แต่ถ้าเป็นน้ำไหลเอื่อยๆ หรือน้ำขัง อาจมีพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินด้วย จึงไม่เหมาะที่จะนำมาต้ม วิธีที่เหมาะสมที่สุด กรองด้วยผ้าแล้วหยดไอโอดีนลงไปเพื่อฆ่าเชื้อโรค


    หลังกินข้าวเสร็จใหม่ๆภายใน 2-3 ชม. (จะมากหรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหาร) ไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมากในครั้งเดียว มิฉะนั้นจะทำให้อาหารไม่ย่อย มีอาการท้องอืดจุกเสียดแน่น เพราะน้ำที่มากเกินไปจะไปเจือจางกรดในกะเพาะ ซึ่งอาการหิวน้ำ มักจะพบบ่อยหลังจากอาหารเช้า แล้วออกเดินทันที เนื่องจากเมื่อตื่นมาตอนเช้า ร่างกายขับน้ำส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ บวกกับอาหารเช้าที่มีรสเค็มทำให้หิวน้ำ และการออกเดินทำให้เสียเหงื่อมาก จึงต้องดื่มน้ำมากในขณะที่ยังมีอาหารเก่าอยู่เต็มท้อง วิธีป้องกันการหิวน้ำหลังอาหารเช้าคือ ดื่มน้ำสัก 1-2 แก้ว (ประมาณไม่เกินครึ่งลิตร) ก่อนอาหารเช้าสักครึ่งถึง 1 ชั่วโมง การดื่มน้ำที่ดีที่สุดคือ ดื่มระหว่างมื้อ แต่ถ้ายังมีอาหารอยู่ในท้อง ให้ค่อยๆจิบไปเท่าที่หิว การดื่มน้ำปริมาณมากจะทำได้ในตอนท้องว่าง แต่ก็ต้องระวังโรคน้ำเกิน

    42a2912aea7507332b8d439a09dc62de.jpg


    เราทุกคนรู้จักโรคขาดน้ำ แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จักโรคน้ำเกิน ซึ่งเป็นโรคที่คนเดินป่าจะได้พบทุกวัน ในช่วงบ่ายๆหลังจากเสียเหงื่อมาหลายชั่วโมง และไม่ได้กินอะไรเค็มๆเข้าไปเพิ่ม ทั้งโซเดียมและน้ำจะสูญเสียออกทางเหงื่อในปริมาณมาก ทำให้ปริมาณโซเดียมและน้ำที่สะสมในร่างกายลดลง แต่สังเกตุว่าจะไม่หิวน้ำ ทั้งๆที่อากาศร้อนและเสียเหงื่ออยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะปริมาณโซเดียมที่สะสมในร่างกาย จะแปรผันกับปริมาณน้ำที่สะสมในร่างกาย ถ้ากินเค็มมาก ร่างกายก็จะสะสมน้ำมาก ถ้ากินเค็มมากกว่าน้ำ ร่างกายจะขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ แต่ถ้าปริมาณโซเดียมที่สะสมในร่างกายต่ำ น้ำที่ดื่มเข้าไปจะฉี่ออกมาหมด เพื่อปรับความเข้มข้นของโซเดียมในเลือดให้อยู่ที่ประมาณ 140 mmol/L ใครที่ฝืนดื่มน้ำเข้าไปทั้งที่ไม่หิว โดยเฉพาะเมื่อดื่มน้ำมากเกินไปและเร็วเกินไป (เกิน 1.5 ลิตรต่อชั่วโมง) จนฉี่ออกไม่ทัน จะทำน้ำสะสมในร่างกาย จนทำให้ระดับโซเดียมในเลือดต่ำลง ถ้าต่ำกว่า 135 mmol/L ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า hyponatremia จะเริ่มออกอาการคล้ายโรคขาดน้ำ เริ่มด้วยอาการ ปวดหัว คลื่นใส้อาเจียน อ่อนเพลีย สับสนขาดสมาธิ ความไวต่อสิ่งรอบตัวลดลง พอต่ำกว่า 130 mmol/L จะเริ่มมีอาการทางปราสาทเหมือนคนเมา เช่น เดินเป๋ไปเป๋มา ไม่ค่อยพูด ตอบสนองช้า ถามแล้วไม่ตอบ พูดไม่รู้เรื่อง จำใครไม่ได้ เพ้อ คลุ้มคลั่ง บางคนถึงกับชัก และหมดสติ เคยมีคนช็อคหมดสติไปเป็นชั่วโมงจนถึงหลายวัน เพราะโซเดียมในเลือดต่ำ คนที่หมดสติพอตื่นขึ้นมาแล้ว ยังอัดน้ำเข้าไปอีก ก็จะสมองบวมน้ำและน้ำท่วมปอดถึงตาย เพราะเมื่อระดับโซเดียมในเลือดต่ำกว่า 115 mmol/L น้ำจะไหลจากเส้นเลือดเข้าไปในเซล ทำให้เซลบวมน้ำ ทำให้ร่างกายสะสมน้ำ สังเกตุว่า มือและแขนจะบวมเมื่อเทียบกับสายรัดนาฬิกา น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆหลายๆกิโลกรัม ตามปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไป เคยมีคนความจำเสื่อม เพียงเพราะดื่มน้ำแค่ครึ่งลิตรในขณะที่โซเดียมในเลือดต่ำ คนปกติที่กินข้าวเช้ากลางวันเย็น จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องขาดโซเดียม ถึงแม้ว่าโซเดียมที่สูญเสียไปทางเหงื่อ จะมากกว่าที่ได้รับจากอาหารรวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่ แต่คนที่ทำชีวิตให้ผิดปกติ เช่น ไม่กินข้าวเช้า หรือ ไม่ชอบกินเค็ม หรือ กินยาลดความดันพวก thiazide ซึ่งยาไปขับโซเดียมออกทางปัสสาวะ หรือยาแก้อักเสบพวก non-steroid เช่น aspirin, ibuprofen รวมไปถึงพวกยาแก้ปวดอย่าง acetaminophen (ไทลินอล) ยาเหล่านี้จะไปแทรกแซงการทำงานของไต คนเหล่านี้จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ คนปกติในเวลาปกติที่ไม่ได้เสียเหงื่อมาก การดื่มน้ำหลายๆลิตร ติดต่อกันในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ก็เกิดโรคน้ำเกินได้เช่นกัน การรักษาโรคน้ำเกินเบื้องต้น ถ้ายังเป็นไม่มาก คือ กินผงเกลือแร่เสริม จะทำให้อาการป่วยหายไป หรืออย่างน้อยที่สุดคือกินอะไรเค็มๆ สังเกตุง่ายๆว่าคนปกติ พอกินเค็มๆแล้วจะหิวน้ำ ต้องดื่มน้ำในปริมาณมาก การกินเค็มจึงต้องคำนวณเผื่อน้ำที่เหลืออยู่ด้วย ข้อควรระวังก่อนรักษาโรคน้ำเกินคือ อย่าให้น้ำเปล่าเพิ่ม แม้แต่น้ำเกลือไม่เข้มข้นที่ให้ทางสายยางก็มีอันตราย

    สำหรับคนที่หมดสติแล้ว จะต้องใช้เวลารักษาหลายวัน เพราะถ้าโซเดียมในเลือดขึ้นเร็วเกินไป จะทำให้สมองเสื่อมได้ ในช่วงที่นอนพักรักษาตัวจะเดินไม่ได้ จำอะไรไม่ได้ และคลุ้มคลั่งเพราะโซเดียมในเลือดต่ำ จะเห็นว่า ป้องกันไว้ล่วงหน้าดีที่สุด โดยสังเกตว่าเมื่อร่างกายขาดโซเดียม จะมีอาการตอนนอน คือ ตื่นมาฉี่กลางดึก ฉี่ในปริมาณมาก (โดยที่ไม่ได้ดื่มนมเป็นประจำ เพราะถ้าดื่มนมมาก อาจตื่นมาฉี่เพราะแคลเซียมเกิน) และอาการนอนหลับๆตื่นๆ (แต่ถ้าตื่นมาแล้วหลับยากด้วย แสดงว่าขาดแมกนีเซียม) ซึ่งเมื่อกินน้ำปลาหรือเกลือเม็ดก่อนนอน ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว อาการเหล่านี้จะหายไป (ปริมาณที่เหมาะสมจะแล้วแต่ว่าขาดรุนแรงเพียงใด โดยปกติจะเริ่มที่น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะก่อนนอน) แน่นอนว่าถึงแม้โซเดียมจะเกี่ยวกับความเป็นความตาย แต่การกินเค็มมากเกินไป ก็มีผลเสีย เพราะจะไปขับแคลเซียมออก แต่การกินเค็มเพิ่ม ไม่ได้ทำให้เป็นโรคไต เพราะ โรคไตเกิดจากสาเหตุอื่น
     
  6. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    มาเธอร์ ซิปตัน ช่วยกันมองแล้วอุทิศบุญกุศลให้เธอฐานะช่วยบอกเตือนชาวโลก

    “มาเธอร์ ซิปตัน” เป็นเป็นชาวอังกฤษ เกิดในปี คศ. 1488 ชื่อเดิมของเธอ เออซูล่า ซอนเธียร์ (Ursula Southeil) รูปร่างเธอใหญ่กว่าคนธรรมดา หลังค่อม หน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว แต่เธอฉลาดเป็นกรด หลายคนรู้จักเธอในฐานะแม่มดนักทำนายที่มีชื่อเสียง เธอทำนายเรื่องราวต่างๆ มากมายอย่างตรงไปตรงมา (ดีกว่านอสตราดามุสที่เขียนสับสนแล้วกว้างเกินไป) เธอทำนายเกี่ยวกับ เครื่องบิน รถยนต์ เรือดำน้ำ และทองคำแคลิฟอร์เนีย รวมไปถึงวันทำนายวันสิ้นโลกหายนะโลก (สังคมความเป็นอยู่ การรับรู้ข่าวสารตอนนั้นไม่เท่าปัจจุบัน ตอนนั้นโลกยังไม่รู้จักแผ่นดินอเมริกาเลยด้วยซ้ำ ข้อความหลายๆ อย่างฟังดูวิทยาศาสตร์ เกินยุคเกินสมัยเมื่อกว่า 500 ปีก่อนมาก) ในปี 1561 มาเธอร์ ซิปตัน ถูกตัดสินว่าเป็นแม่มด เธอถูกเผาทั้งเป็น https://bre.is/6VwsBJ3nM
     
  7. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ป่าบางที่ไม่ควรไปอันตราย เช่น ที่เขาปลูกยาเสพติดหรือเขาผังระเบิดในการสู้รบ อันตราย
    ตามแถบชายแดนยังมีโรคประหลาด เช่น มาลาเรีย โรคเท้าช้าง ฯลฯ เนื่องจากคนในพื้นที่อยู่ไกลแพทย์ เมื่อเป็นโรคแล้วจึงไม่ได้รักษา ทำให้พื้นที่นั้นเป็นแหล่งระบาดของโรค โรคเหล่านี้มียุงในป่าเป็นพาหะ ยุงป่าหากินทั้งกลางวันและกลางคืน ไข้มาลาเรีย ถ้ารักษาทัน กินยาครบ อาจหายขาด แล้วมีภูมิคุ้มกัน แต่โรคอื่นๆ เช่นโรคเท้าช้าง เกิดจากยุงลายที่มีชุกชุมในป่าไผ่ ป่าพรุ รักษาไม่หายขาด ถ้าจำเป็นต้องเข้าป่าแถบชายแดน อย่าไปช่วงที่ยุงชุกชุมเช่นในหน้าฝน ควรไปในช่วงที่ยุงน้อย เช่น หน้าหนาว ถ้าเข้าป่าที่มีเชื้อมาลาเรีย ไม่ควรเข้าไปเกิน 1 สัปดาห์ เพราะว่าเชื้อมาลาเรียจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 1-3 สัปดาห์ ถ้าเป็นไข้มาลาเรียกลางป่า จะอ่อนเพลียลงเรื่อยๆ จนแทบจะไม่มีแรงเดิน ถ้าต้องเข้าป่าที่มีมาลาเรียนานๆ จำเป็นต้องรู้จักมาลาเรียและพกยาเข้าไปด้วย ป่าที่จัดว่าปลอดภัย คือป่าที่มีถนนและเมืองล้อมรอบ

    ควรหลีกเลี่ยงป่าใกล้พื้นราบที่มีอากาศร้อน เพราะเวลาเดินป่าจำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าปกปิดให้มิดชิด เพื่อป้องกันหนาม,แมลง,เห็บ ตามปกติในป่าทึบจะไม่มีลม ถ้าใส่เสื้อผ้าปกคลุมในป่าที่อากาศร้อนอบอ้าว อาจร้อนจนไม่สบายหรือเสียเหงื่อมาก ถึงแม้ว่าพอขึ้นเขาสูงไปแล้ว จะอากาศเย็นลง แต่น้ำในลำธารในฤดูแล้ง มักจะไม่ต่อเนื่อง บางแห่งแถวพื้นราบมีน้ำไหล แต่บนเขาน้ำแห้ง บางแห่งแถวพื้นราบน้ำแห้ง แต่บนเขามีน้ำ บางทีน้ำที่มีอยู่ก็เป็นน้ำขัง อาบแล้วคัน หาความแน่นอนไม่ได้
    purple-hadji-800734_960_720.jpg

    ยกเว้นป่าแถวภาคใต้ ที่ลำธารมีน้ำไหลตลอดปี ในฤดูร้อนและต้นฤดูฝนยังมีผึ้ง และแมลงวันมาก ผึ้งจะมาตอมเสื้อ ตอมตัว เพื่อกินเหงื่อ สร้างความรำคาญพอสมควร ผึ้งบางตัวจะมุดเข้าไปในเสื้อ พอเรารู้สึกคัน มือไปโดนตัวมัน ก็จะโดนมันต่อย ถ้าต้องไปในป่าแถวพื้นราบที่มีอากาศร้อน ควรไปในช่วงหน้าฝนหรือหน้าหนาว


    bigdata_1509967955_5687.jpg
    จากที่ผมผู้ที่เขียนเรื่องนี้นะเดินทางมา ป่าที่ประทับใจที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพราะว่ามีถนนผ่ากลางป่า ไม่ต้องลำบากเดินจากตีนเขาขึ้นไป หากมีปัญหาอะไร สามารถออกจากป่าถึงถนนได้ง่าย ถนนราดยางมีรถวิ่งผ่านป่าไปมา ถึงแม้โทรศัพท์จะไม่มีคลื่น ก็โบกรถกลับได้ และ มีถนนล้อมรอบป่า คือเป็นเมืองล้อมป่า ทำให้ไม่มีอันตราย หรือโรคร้าย และ มีความหลากหลายทางธรรมชาติ ตั้งแต่พื้นราบขึ้นไปถึงต้นไม้ใส่เสื้อบนยอดเขาที่รถขึ้นถึงได้ ถึงแม้ว่า ป่าบางแห่งจะมีถนนผ่าป่า อย่างเช่น น้ำหนาว หรือ ดอยอินทนนท์ แต่ไม่มีความหลากหลายทางธรรมชาติและสัตว์ป่าเหมือนเขาใหญ่ ส่วนป่าที่โหดร้ายที่สุด ต้องยกให้ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เพราะเป็นภูเขาสูง ลำห้วยลึก ขึ้นลงแต่ละครั้งเหนื่อยมาก และยังมีอันตรายครบทุกอย่าง ตั้งแต่ เห็บ ยุงมาลาเรีย หมาใน จรเข้ เสือ ถ้าไปแถบภูเขาสูงใกล้ชายแดนก็จะมี คุ่น และ ทากตอง......
     
  8. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    กฎข้อที่สองของการเดินป่าคือ ที่พัก

    เรื่องแรกที่ควรจะคิดก่อนออกเดินทางคือ คืนนี้จะนอนที่ไหน และตรงนั้นนอนหลับได้หรือไม่ คนเมืองมักจะเคยชินกับการนอนดึก และมักจะไม่ค่อยคิดถึงเรื่องที่พักกัน พอมืดค่ำจะได้ที่พักที่ไม่เหมาะสม ใกล้ทางด่านสัตว์ หรือ ไม่มีน้ำเพียงพอ อยู่ในดงทากหรือดงเห็บ ถ้าโดนกัดตอนนอน จะโดนเยอะกว่าตอนเดิน เพราะเวลาอยู่เฉยๆแล้วพวกมันจะเดินมาหาได้ง่าย มืดแล้วจะทำอะไรก็ติดๆขัดๆ

    การเดินในป่า ต้องพึ่งแสงอาทิตย์เป็นหลัก แสงจากไฟฉายยังน้อยเกินกว่าที่จะเดินในเวลากลางคืนได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น กฎของการเดินทางในป่าคือ หาที่พักที่เหมาะสมให้ได้ก่อนมืดค่ำ ไม่ว่าจะลุยสักแค่ไหนก็ตาม ควรถึงจุดหมายก่อนบ่าย 3 โมงครึ่ง เพราะหลังจาก 3 โมงครึ่งไปแล้วป่าจะเริ่มมืด ช่วงบ่าย 3 โมงเย็น-8โมงเช้า เป็นเวลาที่สัตว์ป่าออกหากิน เพื่อหลีกเลี่ยงความร้อนในตอนกลางวัน ซึ่งจะทำให้มันหิวน้ำง่าย แสงแดดหลังบ่าย 3 โมงเย็น จะเริ่มหลอกตาทำให้หลงทางได้ง่าย ถ้ามองไปทางที่แสงแดดส่องมา แสงจะส่องเข้าตาทำให้ตาพร่ามองไม่เห็นทาง ถ้ามองไปทิศอื่น แสงแดดจะส่องทะลุใบไม้หรือสะท้อนกับใบไม้ ตัดกับป่ารอบข้างที่เริ่มมืดทำให้เกิด contrast สูง ทำให้มองเห็นทางไม่ชัด บริเวณที่แสงตกกระทบจะสว่างผิดปกติ จนดูเหมือนกับจะมีทาง แต่เมื่อเดินเข้าไปดูกลับไม่ใช่ แม้แต่ทากก็ชุกชุมในตอนกลางคืน มากกว่าตอนกลางวัน ถ้าหลัง 6 โมงเย็นจะเริ่มมองไม่เห็นทาง หากหลงทางก่อนบ่าย 3 โมง เรายังมีเวลาคลำทางหาที่พักอีก 3-4 ชั่วโมง หรือถ้าที่พักไม่เหมาะสม เรายังมีเวลาเหลือพอที่จะย้ายได้อีก ยกเว้น ถ้ามีที่พักอยู่แล้ว และ ชำนาญทาง อาจจะกลับช้ากว่าบ่าย 3 โมงครึ่งได้ แต่อย่างน้อยประมาณบ่าย 3 โมงเย็น ก็ควรหมดเวลาสำรวจ และกลับเข้าทางที่รู้จักได้แล้ว แต่ไม่ควรจะเดินในป่าเกิน 5 โมงเย็น เพราะมีโอกาสเจอสัตว์ป่าสูงมาก การหาที่พักช่วงใกล้ค่ำ อาจได้ที่พักแบบมัดมือชก ถ้าต้องเดินทางไกล ควรตื่นแต่เช้ามืด แล้วรีบออกเดินทางตั้งแต่เช้า ดีกว่าที่จะเดินทางจนมืดค่ำ

    เมื่อถึงที่พักแล้วยังต้องทำธุระอีกหลายอย่าง ตั้งแต่หาฟืน เตรียมฟืน ทำอาหาร อาบน้ำ ซักเสื้อผ้า ตากผ้า กางฟลายชีท ผูกเปล กินข้าว ล้างจาน ซึ่งใช้เวลาหลายชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะถึงที่พักบ่าย 3 โมงครึ่ง กว่าจะทำธุระเหล่านี้เสร็จก็ค่ำพอดี

    ปกติเมื่อเดินป่าถึงบ่าย 3 โมง แล้วยังไม่ถึงจุดหมาย ควรจะหาแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุด จะไม่ฝืนเดินทางต่อไปยังจุดหมายที่ไม่แน่ใจ รอรุ่งเช้าค่อยออกเดินทางต่อ การฝืนเดินป่าในช่วงใกล้มืดนั้น มองเห็นทางไม่ชัด ทำให้มีโอกาสหลงได้ง่าย และ ยังมีโอกาสเผชิญหน้ากับสัตว์สูง อาจจะเหยียบงู เพราะงูส่วนใหญ่จะอยู่บนต้นไม้ในตอนกลางวัน และลงมาหากินตามพื้นในตอนกลางคืน คนส่วนใหญ่จะเผชิญหน้ากับสัตว์ป่าหลังจากบ่าย 3 โมงเย็นไปแล้ว เคยมีคนที่เดินป่าตอน 6 โมงเย็น มัวแต่มองทาง จนไปชนกับช้าง จึงโดนช้างใช้งวงจับเข็มขัดเขาไว้ แล้วเหวี่ยงไปมา โชคดีที่เข็มขัดขาดเสียก่อน เขาจึงรอดมาได้

    เมื่อไปถึงจุดหมายแล้ว มีขั้นตอนการเตรียมที่พักดังนี้
    1. สำรวจสถานที่ และหาต้นไม้ผูกเปล เพราะบางแห่งอาจไม่เหมาะเป็นที่พัก เช่น ไม่มีต้นไม้ผูกเปล มียุงเยอะ เป็นดงเห็บ มีลมพัดแรง ไม่มีน้ำ ฯลฯ ทำให้ต้องย้ายสถานที่
    2. เลือกต้นไม้ผูกเปล ดูว่าต้นไม้ไม่มีมดไต่อยู่เป็นทาง ทดลองดึงและขย่มต้นไม้ดูว่า จะไม่งอหรือหักโค่นลงมา ต้นไม้ที่เล็กเกินไปจะมีโอกาสงอได้ง่าย ต้นไม้ที่ตายแล้วมีโอกาสหักโค่นสูง
    3. ถางป่า ที่นอนควรอยู่นอกทางด่านสัตว์ เพื่อไม่ให้โดนสัตว์รบกวน แต่จุดที่อยู่นอกทางด่านสัตว์ มักจะรก จึงต้องใช้มีดขอหวดถางวัชพืชให้เกลี้ยง
    4. ผูกเปล ยกเว้นถ้าฝนตก ควรกางฟลายชีทกันฝนก่อน เปลเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในการนอน ถ้าผูกแล้วมีปัญหาจะได้ย้ายที่ได้ง่าย โดยไม่ต้องเก็บอุปกรณ์อื่น หลังจากผูกเปลเสร็จแล้ว ควรทดลองนอน ลองขย่มดูว่า ไม่มีอะไรหักหรืองอ ถ้าไม่ทดลองแล้วพอถึงเวลาเข้านอนจริงแล้วมีปัญหา จะต้องลำบากหาที่นอนใหม่ตอนมืดค่ำ ซึ่งหายากแถมยังอันตรายกว่าการหาที่นอนในช่วงที่ยังมีแสงแดดอยู่ ผมเคยเจอมาหลายรูปแบบ ทั้งต้นไม้ไม่แข็งพอ ทำให้เปลและฟลายชีทหย่อน พอฝนตกน้ำจึงไหลจากฟลายชีทมาลงเปล หรือ ต้นไม้ผุหักลงมาทับตัวขณะกำลังจะปีนขึ้นนอน โชคดีที่เป็นต้นไม้ไม่ใหญ่จนเกินไป จึงไม่เป็นอะไรมาก แต่การเปลี่ยนที่ผูกเปลตอนมืด โดยเฉพาะช่วงใกล้เข้านอน ก็เป็นเรื่องยุ่งพอสมควร
    5. กางฟลายชีท
    6. กางผ้าปูพื้นเพื่อวางของ
    เรื่องที่ควรระวังในการจัดที่พักคือ เสื้อผ้าเครื่องนอนตกน้ำเปียก เพราะ ที่พักมักจะอยู่ใกล้น้ำ ถุงนอนหรือเสื้อผ้าที่วางไว้ตามต้นไม้หรือก้อนหินริมน้ำ มีโอกาสที่จะกลิ้งลงน้ำ หากมือเผลอไปโดน หรือแม้แต่ต้นไม้ขย่มเวลาทดลองนอนเปล พอเสื้อผ้าเครื่องนอนเปียก จะใช้นอนไม่ได้ ถ้าตากไว้ ตอนเช้ามักจะไม่แห้ง วิธีป้องกันไม่ให้ของใช้ตกน้ำคือ อย่านำออกมาจากเป้จนกว่าจะใช้ หรือ ถ้าจำเป็นต้องนำมาวางไว้ข้างนอก ให้ใส่ถุงแล้วผูกไว้ ถ้ายังไม่ได้ผูกเปลก็ผูกของไว้กับต้นไม้ ถ้าผูกเปลแล้ว อาจจะผูกไว้กับเปล

    ในป่าที่มีสัตว์ ควรหากำแพงธรรมชาติ อาจเป็นแนวต้นไม้ใหญ่ล้มจนรกท่วมหัว ดงเถาวัลย์ หน้าผาชัน ที่สัตว์จะเดินฝ่ามาไม่ได้ สัตว์ป่าจะคล้ายๆคน ถ้ารกมาก หรือชันมาก จะเดินไม่ไหว การหันหลังเข้าหากำแพงจะช่วยให้เราไม่ต้องระวังภัยจากด้านหลัง โดยเฉพาะเวลาก่อไฟหรือหุงข้าว เคยมีเหตุการณ์ที่หมีได้กลิ่นอาหาร แล้วย่องเข้ามาด้านหลังของคน ทำให้คนถูกทำร้าย แต่ถ้าหันหน้าเข้าหากัน สัตว์จะไม่กล้าเข้ามามากนัก ถ้าไม่มีกำแพงธรรมชาติ เราสามารถสร้างขึ้นมาได้ โดยใช้ไม้มาทำรั้ว เหมือนคอกส้ตว์ ถ้าสูงกว่าหัวสัตว์ คือประมาณระดับหน้าอกคน ก็สามารถป้องกันสัตว์กระโดดข้ามรั้วได้ (แต่ถ้าสูงแค่คอมัน บางตัวสามารถกระโดดข้ามมาได้) อาจจะตัดกิ่งไม้ที่มีพุ่มใหญ่ๆ มาวางซ้อนๆกัน การทำรั้วทำได้หลายวิธี ถ้าต้นไม้ไม่สูงมาก อาจโน้มยอดลงมาผูกไว้ด้วยกันเป็นโดม ถ้ามีต้นไม้สองต้นทำเป็นเสาได้ ให้ตัดกิ่งไม้มาพาด แล้วผูกเชือกไว้ ถ้าไม่มีต้นไม้เป็นเสา ให้ทำสามขา ถ้าฝั่งหนึ่งมั่นคงแล้ว อีกฝั่งไม่ต้องทำถึงสามขา จะทำแค่สองขาก็ได้ รั้วต้องทำให้รอบ อย่าเปิดโล่งแม้แต่ริมน้ำ เพราะสัตว์สามารถลุยน้ำอ้อมเข้ามาได้ แม้แต่เสือก็ว่ายน้ำได้ รั้วที่ทำไว้ดี สามารถป้องกันสัตว์ป่าได้ทุกชนิด ยกเว้นช้าง ซึ่งสามารถวิ่งชนหรือรื้อรั้วได้ แต่อย่างน้อย เราก็จะได้ยินเสียงรั้วหัก ก่อนที่ช้างจะมาถึงตัว การนอนติดกับหน้าผาชัน ถึงแม้ว่าจะปลอดภัยจากสัตว์ เพราะสัตว์ไม่เดินทางชัน แต่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอดินถล่ม โดยเฉพาะจุดที่มีน้ำไหลลงมา แต่ไม่มีลำธารชัดเจน น้ำจะกัดเซาะดินและหินถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ

    อย่านอนตากลม การนอนตากลมมีผล 2 อย่างคือ หนาวตาย หรือ หนาวจนนอนไม่หลับทั้งคืน หลายจุดที่ช่วงเย็นไม่มีลมหรือลมอ่อนๆเย็นสบาย แต่พอมืดลงก็จะมีลมพัดแรงมาก พอถึงตอนนั้น ถ้ารื้อของออกมาทำที่พักเสร็จแล้ว จะเก็บก็ลำบาก แค่อุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส ถ้าอากาศชื้น บวกกับ ลมแรงตลอดเวลา ก็สามารถทำให้อุณหภูมิภายในร่างกายลดต่ำลงจนเกิดอาการป่วยที่เรียกว่า hypothermia ภายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะใส่เสื้อผ้าแห้งสนิทและใส่ชุดกันลมก็ตาม อาการสั่นคืออาการเริ่มแรกของ hypothermia ที่ร่างกายพยายามสร้างความอบอุ่น พอเริ่มสั่นก็เริ่มเฉื่อย ร่างกายเริ่มตอบสนองช้าลงเรื่อยๆ จนเริ่มขยับตัวไม่ได้ ถึงตอนนั้นก็ไม่มีแรงพอที่จะเก็บของแล้ว พอหยุดสั่นเมื่อไหร่ นั่นคือใกล้ตายแล้ว ถ้าเริ่มร้อนจนต้องถอดเสื้อแสดงว่าใกล้หมดสติแล้ว คนที่เครื่องกันหนาวไม่พอ ถุงนอนไม่หนาพอ มักจะหนาวตายในที่สุด แต่เวลาอยู่ในป่า มีเครื่องกันหนาวจำกัด เพราะเราไม่สามารถแบกเครื่องกันหนาวไปได้มากนัก ถึงแม้จะไม่หนาวตาย แต่ก็จะหนาวจนนอนไม่หลับทั้งคืน สังเกตุง่ายๆบริเวณที่ตอนกลางคืนมีลมแรงคือ จุดที่มองเห็นวิวเปิดโล่ง ไม่มีต้นไม้บัง อาจเป็นบนยอดเขา หรือ ตรงช่องเขา ถึงแม้ว่าบริเวณที่มีลมจะไม่มีแมลง แต่ลมตอนกลางคืนจะแรงจนหนาวจนทนไม่ไหว ดังนั้นทางที่ดี ควรป้องกันไว้ล่วงหน้าด้วยการ หาที่พักที่หลบลมได้ ยอมทนแมลงอยู่ในที่อับลมดีกว่า เพราะเราสามารถป้องกันแมลง ได้ด้วยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ฉีดตะไคร้หอม และ ก่อกองไฟไล่แมลงได้ ถ้าอยู่บนสันเขาเปิดโล่ง ให้หาแนวต้นไม้บังลม หรือ เดินลงเขามาเล็กน้อย เพื่ออาศัยสันเขาช่วยบังลม หรือหาไม้มาทำกำแพงบังลมไว้

    อย่าไปอยู่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ เพราะ ต้นไม้อาจจะหักโค่นลงมาทับ มีทั้งล้มลงมาทั้งต้นเพราะลำต้นฉีกขาดออกจากราก หรือหักลงมาเป็นกิ่ง เพราะกิ่งที่ยื่นออกจากลำต้น ส่วนปลายจะแตกแขนงออกไปเรื่อยๆ จึงเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ จนสุดท้าย โคนกิ่งส่วนที่ยึดกับลำต้น รับน้ำหนักไม่ไหว แค่ฝนตกปรอยๆในช่วงต้นจนถึงปลายฤดูฝนก็เพียงพอแล้ว ที่จะเพิ่มน้ำหนัก ทำให้โคนกิ่งฉีกออกมาจากลำต้นได้ทุกเมื่อ ไม่จำเป็นต้องมีลมแรงหรือมีฝนตกหนัก บางทีฝนตกอยู่ 2 วัน พอวันที่สามไม่มีฝน ก็ยังหักโค่นลงมา จึงไม่แปลกที่เวลาที่เราอยู่ป่าแล้วได้ยินเสียงไม้หักโค่นเอง ตามธรรมชาติ แต่ถ้ามีพายุเข้าก็มีโอกาสหักโค่นมากขึ้น ผมเคยเจอมากับตัวเองครั้งหนึ่ง ขณะนั้นเป็นช่วงต้นฤดูฝน ฝนหยุดตกแล้ว ไม่มีลม แต่อยู่ดีๆก็ได้ยินเสียงไม้หักดังเปรี๊ยะ แล้วกิ่งไม้ขนาดใหญ่ ก็ขาดออกจากลำต้น หักโค่นลงมาทับข้าวของที่วางอยู่ตรงหน้าอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีคำเตือนใดๆ เรียกว่า ได้ยินเสียงไม้หักก็หนีไม่ทันแล้ว โคนกิ่งมีขนาดใหญ่กว่าโคนขา ปลายกิ่งยังหนักขนาดที่ว่าขยับไม่ได้เลย ไม่ต้องพูดถึงเรื่องยก ถึงแม้ว่าจะตัดกิ่งย่อยๆออกจนหมดแล้ว เหลือแต่กิ่งหลัก ก็ยังยกไม่ขึ้น ทำได้แค่ดันขยับออกไป หรือถ้าจะยกก็ต้องใช้กิ่งไม้ยาวๆมางัดขึ้น เรียกว่า ไม้ซีกงัดไม้ซูง โดยสอดไม้ซีกเข้าไปใต้ไม้ซูง ให้ปลายอยู่เลยไปพอสมควร แล้วยกไม้ซีกฝั่งหนึ่งขึ้นปล่อยให้ไม้ซูงไถลไปทางปลายไม้ซีกฝั่งที่อยู่ ต่ำกว่า ซึ่งไม้ซูงหนักขนาดนี้ แน่นอนว่าถ้าคนโดนทับ ก็คือตายแน่ แค่โดนปลายกิ่งโขกใส่ทีเดียวก็กระดูกแตกแล้ว ต้นไม้ที่ขึ้นชื่อว่าชอบสลัดกิ่ง อย่างต้นยางนา โคนกิ่งอาจมีขนาดใหญ่เท่าลำตัวคน เคยมีคนโดนกิ่นยางนาหล่นทับรถ จนกระจกแตก กระโปรงหน้ายุบ เราจึงมักไม่พบต้นไม้ที่ชอบสลัดกิ่งเหล่านี้ใกล้บ้านเรือนคน แม้แต่ต้นไม้ที่อยู่ใกล้บ้านเรือนคนอย่างเช่น ต้นก้ามปู ก็เคยหักโค่นลงมาทั้งต้น ล้มทับสายไฟ โคนต้นมีขนาดแค่เท่าตัวคน แต่ยังทำเสาไฟฟ้าหักเป็นสิบต้น ต้นไม้เล็กๆถือว่าปลอดภัย แต่ก็ต้องดูให้ดีๆว่าไม่มีต้นไม้ใหญ่ที่แตกกิ่งก้านสาขามาคลุมอยู่ด้านบน โดยเฉพาะกิ่งที่เอียงทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้น และเริ่มย้อยลงมา มีโอกาสหักสูงมาก กิ่งที่ค่อนข้างปลอดภัยคือ กิ่งที่ชี้ขึ้นฟ้า

    อย่าอยู่ใกล้ต้นไม้ที่ยืนต้นตาย เพราะ อาจจะมีปลวกเข้าไปกัดกินอยู่โคนต้น พอถึงเวลาที่เหมาะสม จะหักโค่นลงมา ถึงแม้จะเป็นฤดูร้อน ที่ไม่มีลมก็ตาม ถ้าจำเป็นต้องผูกเปลกับต้นไม้ที่ยืนต้นตาย ควรสำรวจโคนต้นให้ดีว่า ไม่มีปลวกมาทำรัง ทดลองนอนขย่มหลายๆรอบจนกว่าจะแน่ใจ และดูแนวต้นไม้ล้มว่าจะไม่ล้มมาทับตัวเรา

    ถ้าต้นไม้มีมดไต่อยู่ และจำเป็นต้องผูกเปล สามารถทำได้โดยใช้แป้งเด็กทาบริเวณเชือก จะกันได้ระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือที่อาจไต่ข้ามมา ป้องกันได้โดยใช้เปลที่มีมุ้ง

    อย่านอนในที่สัตว์เดิน ทางด่านสัตว์นั้นจัดว่าเป็นพื้นที่สังหาร ห้ามนอนเลย กลางคืนอาจจะหลับไม่สบาย ต้องผวากับสัตว์ที่ผ่านมา ควรหลบเข้าข้างทาง แล้วถางป่าเป็นที่นอนจะสบายกว่า สังเกตุว่าไม่มีร่องรอยสัตว์ ทั้งรอยเท้าและขี้สัตว์ ถือว่าใช้ได้ ในป่าใหญ่ที่สัตว์ชุกชุม ควรจะหลบไปไกลๆทางด่านเท่าที่จะทำได้ เพราะช้างอาจจะมาเป็นฝูงจนล้นทางด่าน แล้วกระจายหากินกันอยู่รอบๆบริเวณนั้น ฝูงขนาดกลางมีประมาณ 30 กว่าตัว ฝูงใหญ่อาจมีถึง 60 กว่าตัว วิธีสังเกตุว่าที่ไหนสัตว์เดินคือ จะมีรอยเท้า และ ขี้สัตว์ คณะของผมเคยเจอมากับตัวเองขณะนอนค้างกลางป่าเขาใหญ่ ทุกคนหลบเข้าข้างทางเพื่อผูกเปล พอตอนดึกช้างตัวหนึ่งร้องแปร๊นวิ่งมาตามทางด่าน

    อย่านอนในบริเวณที่มีอาหารสัตว์ เช่น โป่ง ดงผลไม้ ดงหน่อไม้ เพราะจะมีสัตว์ใหญ่อย่างหมี หมูป่า หรือช้าง มาหาอาหารกิน แม้จะมีสัตว์ที่ไม่อันตรายอย่างกวาง แต่ก็จะมีสัตว์อันตรายอย่างเสือ หมาป่า ตามมา สังเกตุว่า บริเวณที่เป็นโป่ง จะเป็นดินล้วนๆ ไม่มีต้นไม้ขึ้น แต่มีรอยเท้าสัตว์และขี้สัตว์จำนวนมาก ถ้ามีฝนตกหนักสักพัก จะมีน้ำขังคล้ายบึงขนาดเล็ก

    อย่านอนในพื้นที่ๆสัตว์นอน เพราะนอกจากจะมีโอกาสเจอสัตว์แล้ว ที่เหล่านั้นจะมีเห็บมาก พื้นที่ที่สัตว์นอนมักจะเป็นที่โล่งในป่า เช่น ที่ราบ ที่ชุ่มน้ำ โคนต้นไม้ โดยเฉพาะบริเวณที่แสงแดดส่องถึง สัตว์จะชอบมานอนอาบแดดตอนเช้าๆ ตั้งแต่งู จนถึงสัตว์ใหญ่อย่างหมาไน ส่วนที่สัตว์ไม่นอน เช่น ตามโหนก ที่รกๆ ชันๆ หรือสถานที่ไม่เรียบ


    หาทางหนีทีไล่ไว้ด้วย ทั้งทางหนีสัตว์ป่าอย่างช้าง จนถึงทางหนีน้ำป่า ห้วยเล็กๆจะดีกว่าลำน้ำสายใหญ่ ตรงที่น้ำสะอาดและค่อนข้างปลอดภัยจากน้ำป่า ห้วยสายใหญ่อาจจะมีสิ่งปนเปื้อนมาจากต้นน้ำ ถ้าเดินตามลำห้วยสายใหญ่ ควรมองหาลำธารสายเล็กข้างทาง ที่ไหลมาชนกับสายใหญ่ แล้วปีนขึ้นไปพักริมลำธารสายเล็ก พยายามอย่าพักริมลำห้วยสายใหญ่ เพราะ มีโอกาสเจอน้ำป่าได้ง่าย บางทีฝนตกหนักบนยอดเขา แต่บริเวณที่พักอาจไม่ตก บางทีมีแดดเปรี้ยงๆด้วยซ้ำ การนอนใกล้น้ำริมลำธารสายใหญ่สามารถทำได้ ในกรณีที่แน่ใจว่าจะไม่มีน้ำป่า อย่างในฤดูแล้งที่ไม่มีฝนตก จะนอนตรงไหนก็ได้ แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าจะมีน้ำป่าหรือไม่

    พยายามอย่านอนฝั่งที่น้ำพัดมาปะทะ เช่น ถ้าน้ำโค้งไปทางซ้าย อย่านอนฝั่งขวา มิฉะนั้นเวลาน้ำป่ามาจะโดนเต็มๆ เหมือนรถแหกโค้งมาชน และควรนอนบนตลิ่งที่สูงพอที่น้ำป่าจะขึ้นไปไม่ถึง ถ้าหานอนบนที่สูงไม่ได้ ควรนอนฝั่งที่ติดกับภูเขาที่จะสามารถหนีขึ้นที่สูงได้ หรือหาจุดที่มีก้อนหินใหญ่บังกระแสน้ำ เวลาน้ำป่ามา น้ำอาจจะไหลแรงขึ้นเรื่อยๆ หรืออาจจะทะลักมาทีเดียว แต่มักจะมีสัญญาณเตือนก่อน เช่น มีเสียงน้ำดังมาจากเหนือน้ำ น้ำเปลี่ยนเป็นสีขุ่นแดง น้ำเริ่มเย็น มีกลิ่นดินโคลนคละคลุ้ง หรือมีเสียงผิดปกติมาจากภูเขาด้านบนเหนือน้ำ เหมือนเสียงระเบิดหรือฟ้าผ่าหรือเสียงรถไฟ มีเสียงกิ่งไม้หัก เสียงก้อนหินกระทบกัน นั่นหมายถึงว่า น้ำป่ากำลังมา และอีกไม่กี่นาที น้ำก็จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจสูง 2-3 เมตร คนที่รอดตายจากน้ำป่าก็เพราะได้ยินเสียงเหล่านี้แล้วสะดุ้งตื่นหนีขึ้นที่สูงทัน คนที่ติดอยู่กลางน้ำแล้วรอดมาได้ คือคนที่อาศัยปีนขึ้นบนก้อนหินใหญ่มากพอที่น้ำท่วมไม่ถึง หรือหาต้นไม้เกาะอยู่กลางน้ำ คนที่อยู่เฉยๆไม่ทำอะไร จะเจอน้ำแรงขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถพัดคนให้ลอยไปตามน้ำได้ คนที่โดนน้ำพัดไปแล้ว โอกาสรอดยาก เพราะจะจมน้ำตาย หรือร่างไปกระแทกกับก้อนหินและกิ่งไม้ น้ำป่าไม่จำเป็นต้องเกิดในป่าที่ถูกบุกรุกเสมอไป
    แม้แต่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ ถ้ามีฝนตกหนักตลอดทั้งวัน หรือ ฝนตกบนภูเขาติดต่อกันหลายวัน ก็ทำให้เกิดน้ำป่าได้ เพราะมีพวกกิ่งไม้อุดตันขวางทางน้ำ ทำให้น้ำกลายเป็นแอ่งพอถึงจุดหนึ่งจึงเหมือนเขื่อนแตก กระแสน้ำพัดพาท่อนซุงมาด้วย ก้อนหินขนาดไม่ใหญ่มากอาจจะโดนน้ำพัดไปได้ สังเกตุว่าจุดที่เคยมีน้ำป่า จะมีก้อนหินขนาดใหญ่จำนวนมากอยู่ในลำธาร เพราะน้ำป่าพัดพาก้อนหินเหล่านั้นมา ถึงแม้ว่าจุดที่เราอยู่ จะไม่มีฝนตก แต่ฝนอาจจะตกที่อื่นได้

    หลีกเลี่ยงการนอนใกล้หน้าดินที่สูงชันมากเกินไป เพราะอาจเกิดดินถล่มได้ ดินถล่มสามารถเกิดได้ตามธรรมชาติในบริเวณที่สูงชัน ไม่ได้เกิดจากการบุกรุกทำลายป่า

    จุดที่นอน ควรระวังก้อนหินและกิ่งไม้หล่นลงมา สังเกตุว่าไม่มีก้อนหินหรือกิ่งไม้แห้งอยู่ด้านบนหรือบริเวณรอบๆ มิฉะนั้น ถ้าลมแรงพัดมา กิ่งไม้อาจจะหักลงมา กิ่งไม้ที่อยู่มานานจะมีเถาวัลย์พันอยู่ ก็จะพาเถาวัลย์ลงมาทั้งพวง ดึงเอากิ่งรอบข้างลงมาด้วย แค่กิ่งไม้ขนาดเขื่องหล่นใส่ตัว ก็เพียงพอที่จะทำให้กระดูกหัก หรือไหล่หลุดได้แล้ว

    การนอนบนเนินหรือบริเวณที่เห็นวิวโดยรอบ จะได้เปรียบ เวลาสัตว์อะไรเดินมา เราจะมองเห็นได้ง่าย
    ถ้าก่อกองไฟไว้ อย่านอนในทิศทางลม มิฉะนั้นจะต้องนอนดมควันไฟ ถ้าอยู่ริมลำธาร ลมจะพัดทวนน้ำในตอนกลางวัน และ ตามน้ำในตอนกลางคืน

    เมื่อแน่ใจว่าจะนอนตรงไหนแล้ว ควรเริ่มด้วยการ ใช้มีดถางวัชพืชบริเวณที่พักให้โล่ง เพื่อเวลาเดินไปมาบริเวณที่พัก จะได้ไม่โดนกิ่งไม้เกี่ยว และ ไม่โดนสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ตามต้นไม้กัด ตามต้นไม้โดยเฉพาะกิ่งไม้แห้ง อาจจะมีมด ปลวก เห็บ งู ฯลฯ ถ้าพื้นรกก็ควรจะหากิ่งไม้ขนาดเล็กๆอย่างเช่น แกนของใบต้นปาล์ม นำมามัดรวมกัน ใช้กวาดพื้นได้ ถ้ามีดอกแขมที่ชาวบ้านเรียกกันว่าต้นไม้กวาด สามารถนำมาทำไม้กวาดแบบเดียวกับไม้กวาดที่ใช้ตามบ้าน

    ถ้าเครื่องกันหนาวเพียงพอ ควรจะจัดที่นอนก่อนเป็นอันดับแรก แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าเครื่องกันหนาวพอหรือไม่ ควรหาฟืนให้พอก่อน เพราะถ้ามืดค่ำจะหาฟืนลำบาก ถ้ามืดแล้วเครื่องกันหนาวไม่พอ ยังสามารถมาผิงไฟได้ แต่ถ้าเจออากาศหนาวจนร่างกายรับไม่ไหวกลายเป็น hypothermia เวลานั้น ร่างกายจะตอบสนองช้ามาก จนไม่มีแรงแม้แต่จะก่อไฟ

    ถ้าไม่มีเครื่องนอน ควรปีนขึ้นไปนอนบนก้อนหินใหญ่ หรือทำห้างไว้บนต้นไม้ จะได้ปลอดภัยจากสัตว์ ตั้งแต่สัตว์เลื้อยคลาน จนถึงสัตว์ใหญ่ ถ้าก้อนหินไม่เรียบ ให้หาหญ้า หรือ ตัดใบไม้มาปูรองหนาๆ โดยเวลาหาใบไม้ ให้ดูพวกเห็บ บุ้ง แมงมุม ที่เกาะอยู่ตามใบไม้ด้วย แต่ถ้าฝนตก ควรหาที่พักที่มีร่มเงา เช่น ใต้ชะง่อนหิน หรือ ในรูต้นไม้ใหญ่ ซึ่งปกติสถานที่เหล่านี้มักจะเป็นบ้านของสัตว์ จึงควรตรวจสอบก่อนเข้าไปว่าไม่มีสัตว์อยู่ และเวลาพัก ให้ทำรั้วกันสัตว์เข้ามา
     
  9. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ขอขอบคุณคนเขียนด้วยที่เขียนให้ความรู้แก่ทุกคน
    คู่มือเดินป่าตอนที่12
    "อาบน้ำในป่า"

    nude-1820868_960_720.jpg


    เมื่อถึงที่พักแล้ว ควรรีบอาบน้ำแปรงฟันจัดที่พักก่อนค่ำ การอาบน้ำในช่วงเย็น น้ำจะยังอุ่นอยู่ แต่ถ้าพระอาทิตย์ตกไปแล้ว น้ำจะเริ่มเย็น การอาบน้ำเวลากลางคืนนอกจากจะต้องเจอสัตว์เลื้อยคลานเช่นงูหรือตะขาบ แล้ว ช่วงหัวค่ำคือช่วงที่แมลงออกหากิน อาจจะโดนยุงหรือริ้น กัดจนลายไปหมดทั้งตัว ถ้าอาบน้ำก่อนค่ำ ยังมีเวลาเหลือแต่งตัวให้มิดชิดป้องกันแมลง ถ้าหากต้องใช้เวลาเดินทางมากๆ ควรจะรีบออกเดินทางตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น

    การอาบน้ำในลำธารตอนกลางคืน ควรหาเพื่อนอีกคน ช่วยส่องไฟให้ และ คอยยืนดูความปลอดภัย ไฟฉายกระบอกเดียวส่องในน้ำก็พอ แต่ถ้าส่องหัวส่องท้ายได้ยิ่งดี ถ้าส่องดูจนทั่วแล้วไม่มีอะไร ก็คือไม่มีอะไร ธรรมชาติง่ายๆแบบนี้ จะไม่มีอะไรโผล่ออกมาอีกเหมือนในหนัง ยกเว้นระหว่างอาบน้ำ อาจมีสัตว์แถวนั้นผ่านมา เหตุการณ์ที่ผมเคยเจอมากับตัวเอง คือ ขณะส่องไฟให้เพื่อนที่อาบน้ำในลำห้วยกลางป่าเขาใหญ่อยู่นั้น เจองูเหลือมตัวหนึ่งว่ายตามน้ำมา โชคดีที่ผมเห็นผิวน้ำกระเพื่อมผิดปกติ จึงส่องไฟไปเจอเสียก่อน เพื่อนที่อยู่ในน้ำจึงกระโดดหนีขึ้นมาจากน้ำได้ทัน แล้วใช้ก้อนหินปาลงน้ำตรงหน้ามัน มันจึงตาเหลือกว่ายทวนน้ำหนีไป

    ถ้าอาบน้ำคนเดียวตอนกลางคืน การวางไฟฉายไว้บนก้อนหิน อาจจะลื่นหรือส่องไม่ทั่ว ควรหาไม้มาปักไว้ แล้วเสียบไฟฉายลงบนง่ามไม้ส่องมายังจุดที่อาบน้ำ หรือ ทำสามขาแล้วแขวนไฟฉายไว้ หรือ ใช้เทียน ปักไว้ตามก้อนหิน หรือ ขึงเชือกข้ามลำห้วย แล้วแขวนไฟฉาย และเสื้อผ้า ไว้กับเชือก

    การอาบน้ำในป่า ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าเช็ดตัว เพราะนอกจากแบกหนักแล้ว เวลาเปียกจะหนักเพิ่มขึ้น และเหม็นอีกด้วย ผ้าที่เปียก แล้วตากไว้ในป่าที่ชื้นๆ ตอนเช้าจะยังไม่แห้ง ถ้าหมกใส่เป้แล้วเดินต่ออีกวัน ผ้าจะเหม็น แต่ถ้าใส่ไว้ในถุงตาข่ายข้างเป้ มีสิทธิ์เปื้อนดิน ดังนั้น อาบน้ำเสร็จแล้ว ให้ใช้มือลูบตัวแทน ถ้าผมสั้น ใช้มือลูบ แล้วทิ้งไว้สักพักจะแห้ง แต่ถ้าผมยาว จำเป็นต้องใช้จริงๆ อาจพกผ้าผืนเล็กๆ บางๆ ไม่มีขน ไปสักผืน ผืนเล็กจะเบา และ ผืนบางๆ จะแห้งง่าย
    travel_toothbrush.jpg
    แปรงสีฟันสำหรับเดินทาง
    มีฝาครอบถอดมาทำด้ามได้

    และ ไม่จำเป็นต้องพกเครื่องสำอางพวก สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม ไปด้วยให้หนัก น้ำในลำห้วย เพียงพอแล้วที่จะล้างตัวไม่เหม็นหรือเหนียวเวลานอน การแปรงฟันก็เช่นกัน ใช้แปรงสีฟันอย่างเดียว ไม่ต้องใช้ยาสีฟัน ก็สะอาดได้ แถมลดความยุ่งยาก หลักสำคัญที่จะป้องกันฟันผุ ได้ดีกว่าการแปรงฟัน คือการบ้วนปากหลังกินข้าว อย่าให้มีเศษอาหารติดฟัน เมื่อตัดเครื่องสำอางเหล่านี้ออกไปแล้ว เหลือแต่แปรงสีฟันเพียงอย่างเดียว น้ำหนักของสัมภาระจะลดลงได้อีกเกือบครึ่งกิโลกรัม แถมยังช่วยให้ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง ที่ชาวบ้านอาจอาศัยกินน้ำในลำห้วย

    ยาสีฟัน ยาสระผม และน้ำยาล้างจาน มีส่วนผสมหลักตัวเดียวกันคือ sodium laureth sulfate ทำหน้าที่ละลายไขมัน ดังนั้น ถ้าตัวใดตัวหนึ่งขาดไป สามารถใช้ตัวอื่นแทนได้

    ถึงแม้ว่าจะอาบน้ำโดยไม่ใช้สบู่ แต่ควรจะพกสบู่ไปเล็กน้อย เผื่อต้องล้างมือ และ สบู่จะมีประโยชน์ ในป่าที่มีแมงแดง เพราะแมงแดง โดนสบู่แล้วจะหลุด การพกสบู่หรือยาสระผมเหลว มักจะหกเลอะเทอะง่าย ถ้าโดนกระแทก อาจทำให้ขวดพลาสติกแตก

    สบู่ก้อนจะดีกว่าสบู่เหลว เพราะว่าเวลาโดนบีบแล้วไม่แตกเลอะเทอะ แต่ควรจะใส่ถุงพลาสติกมีซิปไป เวลาเปียกจะได้ไม่เลอะเทอะ และ ถ้าไม่จำเป็นต้องพกสบู่ก้อนใหญ่ไป ให้ใช้มีดตัดแบ่งออกมา

    ถ้าทางลงไปการอาบน้ำเป็นดินลื่น ให้นำก้อนหินหรือกิ่งไม้มาวางเรียง จะใช้วัสดุใด ขึ้นอยู่กับว่า มีวัสดุใดอยู่ใกล้ ถ้าตลิ่งเป็นโคลน ให้นำก้อนหินมาวางเรียงจนเป็นสะพานยื่นลงไปในน้ำ

    เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์
     
  10. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    คู่มือเดินป่าตอนที่ 13....ไฟฉายเดินป่า
    การเดินตอนกลางคืนโดยไม่มีไฟฉายนั้น จะทำได้เฉพาะในที่โล่ง ในคืนที่พระจันทร์เต็มดวงเท่านั้น การใช้เทียนจะลำบากต้องจุดต้องเป่าให้ดับ เวลาเข้าป่าจึงควรจะมีไฟฉายไป 2 อัน เผื่ออันหนึ่งเสียหรือถ่านหมด จะได้มีไฟฉายเหลือ แต่ไม่จำเป็นต้องพกไปมากกว่านั้นให้เกะกะ ทางที่ถูกต้องคือ ต้องเลือกไฟฉายยี่ห้อที่เชื่อใจได้ว่า จะไม่ไปดับกลางทาง ผมเคยพกไฟฉายราคาถูกๆของจีนไปเข้าป่าถึง 3 อัน ปรากฎว่าพอเจอทั้งฝนและความชื้นแค่คืนเดียว ไฟฉายเปิดไม่ติดเลยสักกระบอก บางอันกดไปกดมา ปุ่มยุบไปก็มี ไฟฉายยี่ห้อที่ผมทดลองใช้ในป่าที่ชื้นๆ ลุยโหดๆเป็นเดือนๆโดยไม่ดับเลย แล้วยังคงใช้อยู่ได้ถึงปัจจุบันคือ energizer, black diamond, petzl แต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่น จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป แต่มักจะพังเพราะสาเหตุเดียวกันคือ ตกกระแทก แล้วแยกเป็นชิ้น เปิดไม่ติดอีกเลย ซึ่งถ้าใช้อย่างระวังก็จะไม่ตกหล่นเสียหาย ไฟฉายที่ทนกระแทกได้จะเป็นพวกอลูมิเนียม หรือพลาสติกหุ้มยางที่ออกแบบมาเฉพาะให้รับแรงกระแทกได้

    ไฟฉายคาดหัว ได้ผ่านการพิสูจน์ด้วยการเวลาแล้วว่า เป็นไฟฉายที่ดีที่สุดสำหรับใช้งานกลางแจ้ง เพราะ ช่วยให้มือว่างทั้ง 2 ข้าง เวลาไม่ใช้สามารถแขวนคอไว้ได้ ไม่ต้องพกใส่กระเป๋าให้เสี่ยงตกหาย ส่วนไฟฉายแบบแท่งใช้ไม่สะดวกเลย เพราะใช้มือถือได้อย่างเดียว จะเหลือมือเพียงข้างเดียว เวลาที่ต้องหยิบของด้วยสองมือเช่น ตักน้ำใส่หม้อ จะต้องใช้ปากคีบไฟฉายจะทำให้ลำบากมาก ใช้เป็นไฟฉายสำรองก็ไม่ได้ ผมเคยเจอ เพื่อนร่วมทางขอยืมไฟฉายคาดหัวไปใช้ แล้วตัวเองเหลือแต่ไฟฉายแบบมือถือ ทำให้ทำงานลำบากมาก
    t600_42551t1510117082.jpg


    แบบแรกคือ ไฟฉายสำหรับใช้เวลาอยู่ที่พัก จัดข้าวจัดของ ไฟฉายตัวนี้จะใช้งานบ่อยที่สุด จึงควรเป็นหลอดประหยัดไฟ เช่นหลอด led เพื่อที่จะใช้ได้นานๆ และการทำงานระยะใกล้ ต้องใช้ไฟที่มีมุมกว้างพอสมควร ไม่ควรใช้ไฟฉายมุมแคบ เพราะจะมีไฟพุ่งเป็นจุด ซึ่งเหมาะสำหรับใช้มองสิ่งที่อยู่ไกลๆ แต่ถ้าใช้ระยะใกล้จะต้องขยับหัวบ่อย ไฟฉายใช้งานระยะใกล้จะต้องใช้บ่อย จึงควรจะใช้ง่าย แค่กดเปิดปิดอย่างเดียว ไม่มีไฟแดง ไฟหรี่ ไฟกระพริบ มิฉะนั้นจะต้องกดหลายรอบ กว่าจะได้ไฟที่ต้องการ ใครที่เคยใช้ไฟฉายมาหลายแบบ จะพบว่าไฟฉายแบบนี้ถูกใจที่สุด ใช้ได้บ่อยที่สุด ด้วยเหตุผลหลักคือใช้ง่าย

    แบบที่สองเป็นไฟฉายที่ไฟแรงๆสว่างๆ เพื่อที่จะได้ส่องดูสิ่งที่อยู่ไกลๆ ตัวนี้เป็นไฟฉายสำรอง จึงควรปรับได้ทั้งไฟอ่อนและไฟสว่าง เพราะหากไฟฉายตัวแรกเสีย จะได้ใช้ตัวนี้ทำงานระยะใกล้แทน หรือถ้าต้องการส่องไกลก็ใช้ไฟฉายตัวนี้ช่วย ปัญหาของไฟฉายที่สว่างๆ คือ ถ่านหมดไว เมื่อถ่านอ่อนแล้ว ความสว่างจะไม่ต่างจากไฟฉายไฟอ่อนทั่วไป ดังนั้น ไฟฉายสว่างๆ จึงควรเก็บไว้ใช้เฉพาะเวลาจำเป็น

    ไฟฉายที่ปรับได้ทั้งไฟแรงและไฟอ่อน ถ้าเป็นแบบที่ใช้ปุ่มเดียวกดสลับไปมา จะใช้ยุ่งยาก เพราะมักจะต้องกดหลายรอบ กว่าจะได้ไฟที่ต้องการ ไฟฉายที่ใช้งานได้สะดวกขึ้นคือ แบบปรับไฟโดยไม่ใช้กดปุ่ม แต่ใช้วิธีอื่นเช่น ใช้ dimmer แบบหมุนได้ หรือถ้าฉลาดกว่านั้นก็สามารถปรับไฟได้อัตโนมัติ

    ไฟฉายทั่วไปจะใส่ถ่าน 3 ก้อน ถ้าเข้าป่าไปไม่กี่วัน คงจะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเข้าป่าไปเป็นอาทิตย์แล้วถ่านอ่อน จะไม่สามารถใช้ถ่านจากอุปกรณ์อื่นได้ เพราะอุปกรณ์อื่นอย่างเช่น gps, กล้องถ่ายรูปราคาถูกๆ ล้วนแต่ใช้ถ่าน 2 ก้อนทั้งนั้น เราจึงควรใช้ไฟฉายที่ใช้ถ่านจำนวนเท่ากับอุปกรณ์อื่น จะได้ไม่ต้องแบกถ่านสำรองไปหลายๆแบบ ถึงแม้ว่าถ่านจะใช้กับอุปกรณ์อื่นจนไฟหมดแล้ว แต่มักจะเหลือไฟพอให้ใช้กับไฟฉายต่อได้อีกนาน

    เวลาเดินตอนกลางคืนในป่าที่อันตราย จำเป็นต้องมองซ้ายขวาอยู่ตลอดเวลา จึงไม่เหมาะที่จะใช้ไฟฉายคาดหัว เพราะว่าหัวจะต้องหมุนไปหมุนมาตามไฟฉาย เพื่อส่องดูสิ่งต่างๆ ทำให้เวียนหัว ถ้าใช้ไฟฉายคาดหัวก็สามารถถอดออกจากหัวแล้วใช้มือถือได้ การเดินตอนกลางคืนในป่าที่อันตราย ควรใช้ไฟฉายทั้งมุมกว้างและมุมแคบ มุมกว้างสำหรับมองดูบริเวณเท้า เพื่อไม่ให้เหยียบงู ส่วนมุมแคบใช้มองดูไกลๆ ว่ามีสัตว์ป่าอยู่หรือไม่ ไฟฉายบางยี่ห้อจะส่องทั้งมุมกว้างและมุมแคบในคราวเดียวกัน แต่ก็ยังใช้ลำบาก เพราะ ถ้าจะมองไกลก็ต้องเงยหัวขึ้น ถ้าจะมองใกล้ก็ต้องกดหัวลง วิธีที่สะดวกที่สุดเวลาเดินคือ ใช้ไฟฉาย 2 อัน อันหนึ่งมุมกว้างใช้คาดหัว อีกอันหนึ่งมุมแคบใช้มือถือเพื่อส่องไกลออกไป ยกเว้นจะเดินในป่า ในสถานที่ๆไม่มีอันตราย อาจใช้ไฟฉายมุมกว้าง เพื่อส่องดูพื้นอย่างเดียวได้ง

    ไฟฉายสีอุ่นหรือสีเหลืองจะดีกว่าไฟสีขาวจากหลอด led ตรงที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของงูกับกิ่งไม้ และตัดหมอกได้ดีกว่า ส่วนแสงสีแดง ไม่มีประโยชน์อะไร ที่พอเห็นจะใช้ได้คือ เวลาตื่นมากลางคืนเพื่อหาของ แสงจากหลอดไฟปกติสว่างเกินไป ไฟสีแดงจะช่วยไม่ให้แสบตาตอนที่เปิดใหม่ๆ แต่ถ้าแค่ดูนาฬิกาแนะนำให้ใช้นาฬิกาแบบมีไฟในตัวจะดีกว่า

    ไฟฉายคุณภาพดี ดูตรง battery contact ที่เป็นหน้าสัมผัสกับถ่าน จะไม่ใช้สปริง แต่จะใช้แผ่นเหล็กแทน เนื่องจาก สปริงที่ใส่ถ่านไว้สักพัก จะเริ่มอ่อนตัว ถ้าเขย่าไฟฉาย สปริงที่อ่อน จะทำให้ถ่านเด้งไปมา จนไม่สัมผัสกับสปริง เวลากระเทือนจะทำให้ไฟดับ ต้องคอยกดใหม่อยู่เรื่อยๆ ไฟฉายที่รังถ่านใช้สปริง อย่างเช่น ฟีนิกส์ของจีน หรือออสแรมของเยอรมัน เวลาเขย่าแล้วไฟดับได้

    ส่วนตะเกียงนั้นไม่จำเป็นต้องพกไปให้หนัก เพราะไฟฉายคาดหัว สามารถแขวน ใช้แทนตะเกียงได้ ไฟฉายคาดหัวจะวางกับพื้นหรือแขวนไว้กับกิ่งไม้ก็ยังส่องได้

    เวลาเดินในป่าตอนกลางคืน ควรจะใช้ไฟฉายเสมอ ถึงแม้ว่าจะยังไม่มืดมาก เพราะอาจเดินไปเหยียบงู หรือตะขาบ แล้วโดนมันกัดได้ แค่โดนตะขาบกัด ก็อาจทำให้เท้าบวมจนใส่รองเท้าไม่ได้

    ไฟฉายที่เชื่อถือได้ นอกจากจะทนชื้นทนกระแทกแล้ว เวลาที่ถ่านอ่อน จะต้องยังมีไฟอยู่ ไฟฉายบางตัว พอถ่านอ่อน จะดับไปเลย

    ช่วงหัวค่ำ เป็นช่วงที่แมลงออกหากิน ไฟฉายคาดหัวจะมีแมลงบินมาตอม บางตัวบินมาเข้าตาเลย แค่แมลงบินเข้าตาสักตัวก็เสียศูนย์แล้ว ช่วงนี้จึงควรใส่แว่นตาป้องกัน

    ถ้าไม่มีไฟฉาย การก่อไฟจะเห็นได้ไกลประมาณ 5 เมตร แต่ถ้าสุมไฟให้แรงๆ จะเห็นได้ไกลประมาณ 10 เมตร ถ้าจะเดินไปไหนไกล ต้องทำคบไฟขึ้นมาใช้แทน ถ้าเป็นไม้แห้งตามธรรมชาติ ให้ใช้กิ่งไม้เล็กๆ รวมกันให้เป็นกำ แต่จะติดไฟอยู่ได้ไม่นาน และต้องควบคุมไฟไม่ให้ดับ ด้วยการกดหัวลงและพลิกไปมา ถ้าต้องการให้ติดไฟนานขึ้น และสามารถถือให้ไฟลุกอยู่ด้านบนได้ ต้องใช้เศษไม้มาคลุกน้ำมันพวก ยางสน หรือ น้ำมันยางซึ่งได้จากพืชตระกูลยาง เมื่อคลุกแล้วจะเรียกว่าขี้ไต้ แล้วนำมาห่อด้วยใบไม้ขนาดใหญ่สัก 2 ชั้น มัดไว้เป็นท่อนๆ พอมือถือได้ ถ้าต้องการทำด้ามไม้สำหรับถือ ให้ใช้ไม้เนื้ออ่อนเช่น ไม้ไผ่ ผ่าปลายออกเป็นอย่างน้อยสองส่วน เพื่อให้อ้าออก แล้วยัดไม้คลุกน้ำมันลงไป ถ้าใช้ไม้แข็งผ่าแล้วไม่ยอมอ้าออกมา ให้หาไม้มาเหลาเป็นรูปลิ่มแล้วตอกลงไป

    พืชตระกูลยาง จะแทงยอดสูงกว่าต้นไม้รอบๆ มักจะสูงถึง 30-50 เมตร ลำต้นตรงเหมือนเสา เริ่มตั้งแต่โคนต้นขึ้นไป เมื่ออยู่ที่ความสูง 0-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะเป็นต้นยางนา อาจมีต้นตะเคียนปนอยู่ด้วย การดูชนิดของต้นไม้ นิยมดูที่ กิ่ง ใบ เปลือก และลำต้น ยางนาจะมีกิ่งจะงอกออกมาจากลำต้นในแนวเกือบตั้งฉาก แตกกิ่งออกเป็นพุ่ม ตั้งแต่ระดับกลางลำต้นขึ้นไป
    .
    เพราะกิ่งที่อยู่เตี้ยๆ มักจะหลุดร่วงลงมาหมดแล้ว ใบยางนาจะคล้ายใบมะม่วง แต่ใบใหญ่กว่าและยาวกว่า คือขนาดใหญ่กว่ากว่าฝ่ามือเล็กน้อยทั้งด้านกว้างและด้านยาว ลำต้นขนาดเกือบ 2 คนโอบ เปลือกแตกเป็นสะเก็ด ลองแกะดู จะแกะได้บ้าง บางต้นแกะยาก บางต้นเลาะเปลือกออกมาแล้ว บางครั้งมีน้ำยางติดมาด้วย แสดงว่าใช่ บางต้นเป็นแผลอยู่แล้ว เพราะมีแมลงเข้าไปทำรัง จะเห็นน้ำยางได้ชัดโดยไม่ต้องแกะเปลือก (ซึ่งเรามักจะเห็นขี้แมลงเป็นสายขี้เลื่อยปนอยู่ด้วย) คนที่นำน้ำมันยางนามากลั่นเป็นน้ำมันดีเซล จะเจาะรูเข้าไปลึกประมาณ 15-20ซม. เจาะทำมุมชี้ขึ้น 45องศา พอใช้เสร็จจึงนำกิ่งยางนามาตอกเข้าไป จะสมานแผลกลับคืนมาเป็นเนื้อไม้ธรรมชาติ
    .
    ต้นยางนาจะออกดอกช่วงหน้าร้อน เดือน มีค.-พค. ดอกจะกลายเป็นผลช่วงต้นมรสุม เดือน พค.-มิย. ผลยางนามีปีกเป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัว เพื่ออาศัยลมมรสุมพัดพาไปตกในที่ห่างไกลเพื่อขยายพันธุ์ แต่ถ้าปีไหนที่อากาศไม่ร้อนจัด เช่น มรสุมเข้าช่วงสงกรานต์ ยางนาจะไม่ออกผล เพราะ ดอกเล็กๆที่ยังไม่สมบูรณ์ พอเจอมรสุม ก็จะร่วงหมด ไม่ทันได้เจริญพันธุ์เป็นดอกที่สมบูรณ์ ถ้าเป็นป่าดิบเขาที่ความสูง 300-1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล จะไม่มียางนา
    yangna.jpg
    .
    แต่เปลี่ยนเป็นต้นยางพันธุ์อื่น ซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ เช่น ยางเสี้ยน ยางปาย ยางแดง ส่วนที่ความสูงเกิน 1000 เมตรจะเปลี่ยนเป็นต้นสน สามารถใช้ยางสนมาจุดไฟได้ โดยขูดเปลือกไม้ออกมาให้ถึงเนื้อไม้ หรือ ตัดกิ่งไม้ออกมา แล้วรอสักพัก จะมียางสนซึมออกมาเรื่อยๆ
    .
    เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์
     
  11. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    คู่เมื่อเดินป่าตอนที่ 11
    "มีด"



    %25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25942.jpg


    มีดกับป่า เป็นของคู่กัน เหมือนเวลาอยู่ในเมืองที่ต้องมีเงินใช้ซื้อของ ต่างกันตรงที่เวลาอยู่ป่าไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้มีดเพื่อตัดไม้มาทำเครื่องมือต่างๆ เช่น ทำไม้เท้าเวลาขาเจ็บ ทำที่พักเวลาไม่มีเครื่องนอน ตัดไม้มาก่อไฟ และตัดกิ่งไม้ที่ขวางทางเวลาเดิน เพื่อเปิดทางให้เดินง่ายขึ้น คนที่เข้าป่าโดยไม่มีมีดเล่มใหญ่พอ คือคนที่ขาดประสบการณ์ เมื่อถึงเวลาคับขันขึ้นมา จะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เพราะขาดเครื่องมือ

    ในเมืองมีต้นไม้น้อย คนเมืองจึงไม่เคยชินกับการตัดต้นไม้ แต่ในป่ามีต้นไม้ขึ้นมากเกินไปจนรก เดินยาก แต่ไม้ล้มและทางรกถือเป็นธรรมชาติของป่าฝน ที่ต้นไม้แย่งกันเจริญเติบโต ส่วนต้นไม้ที่มีอยู่ก็ต้องสลัดกิ่งผลัดใบ พอไม่มีคนมาเก็บกวาดก็เลยรก การลุยฝ่าที่รกไป เราจะเจ็บตัว เพราะถูกหนามเกี่ยว จนแขนเป็นรอยข่วน เสื้อผ้าขาด ถูกหนามตำ หรือถูกกิ่งไม้ดีดใส่ และโดนสัตว์มีพิษที่อยู่ตามใบไม้ติดตัวมาเช่น มด เห็บ ไร แมงมุม และที่สำคัญคือ โดนงูกัด คนเดินนำหน้าจึงต้องมีมีดเล่มใหญ่และยาว ใช้ตัดกิ่งไม้ที่ขวางทาง เพื่อให้เดินง่ายขึ้น มีดฟันไม้จะทำจากเหล็กเท่านั้น ไม่ใช้สเตนเลส เพราะสเตนเลสทำให้ทั้งแข็งทั้งเหนียวพร้อมกันเหมือนเหล็กไม่ได้ (เหนียวคือไม่บิ่นง่าย) ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสเตนเลสส่วนใหญ่จะทำมาให้เหนียวอย่างเดียว จึงไม่แข็งเท่าเหล็ก พอฟันไม้เนื้อแข็งจึงทื่อเร็ว แต่พอทื่อแล้วลับยากกว่าเหล็ก



    bw.jpg


    คนทั่วโลก เมื่อเข้าไปในที่รก ต้องใช้มีดช่วย
    คนที่ลุยป่าโดยไม่ใช้มีดคือ ขาดประสบการณ์

    คนนำทางเคยบอกผมว่า "เข้าป่าต้องมีมีดติดตัวเสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ก็ตาม" แต่ผมไม่เชื่อ เนื่องจากเติบโตมาในเมือง และกฎข้อหนึ่งของการอยู่ในเมืองคือห้ามพกมีด มีข่าวอยู่แทบทุกวันว่า คนที่พกอาวุธ (มีดหรือปืน) เมื่อไม่พอใจใคร ก็จะนำอาวุธมาทำร้ายคนอื่น ผมจึงคิดว่าแค่ไม้เท้าเดินป่าก็เกินพอแล้ว จนกระทั่งวันหนึ่ง ผมมีโอกาสเดินป่าด้วยตนเอง โดยไม่อาศัยคนนำทาง และออกนอกเส้นทางที่คนทั่วไปเดินกัน แล้วไปเจอดงเถาวัลย์รกเกินกว่าจะฝ่าไปได้ ทำให้ต้องถอยหลังกลับ ต่อมา ผมจึงทดลองใช้มีด ปรากฎว่าสามารถเจาะผ่านไปได้อย่างง่ายดาย ทำให้ผมรู้ได้ด้วยตนเองว่า มีดมีหน้าที่ทำลาย และเป็นอุปกรณ์ที่ทำลายสิ่งกีดขวางได้เร็วที่สุด เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นขวาน เลื่อย กรรไกร ความเร็วในการทำลายล้าง สู้มีดไม่ได้เลย และมีดยังใช้งานได้หลากหลายที่สุด จะผ่าฟืนหรือตัดไม้มาทำอะไรก็ได้ ดังนั้น ที่เราเห็น เจ้าหน้าที่ป่าไม้บางแห่ง เดินป่าโดยไม่ใช้มีด คือ ขาดความชำนาญ หรือ เขาไม่ออกนอกเส้นทางที่คนหรือสัตว์เดินประจำ แต่ถ้าเขาอยู่ชายป่าซึ่งมักจะรก หรือต้องลงไปเจอหุบเขาบางแห่งที่เต็มไปด้วยดงหนาม เขาจะฝ่าไปไม่ได้ ปัจจุบัน เวลาเข้าป่า ผมจึงมักจะพกมีดไปด้วยเสมอ ถึงแม้จะไม่ได้ใช้ก็ตาม แต่พอมีมีดแล้วก็จะมีเรื่องให้ได้ใช้เสมอ แม้แต่ตามเส้นทางท่องเที่ยวที่โล่งๆ ก็ยังได้ใช้ บางทีก็ตัดไม้เท้าให้ตัวเองเวลาหมดแรง ผมเคยเจอลุงกับป้าคู่หนึ่ง เดินบนเส้นทางไปน้ำตกทอทิพย์ แต่พวกแกเดินไม่ไหว จึงไปเก็บไม้แห้งตายข้างทางมาแทนไม้เท้า แต่ไม้คดและสั้นเกินกว่าจะใช้ค้ำยันได้อย่างสบาย ผมจึงตัดไม้ไผ่มาทำไม้เท้าให้ ทั้งสองคนจึงเดินสะดวกขึ้นมาก

    หลักการอยู่ป่าคือ อย่ายื่นมือหรือเท้า ไปในที่ๆเรามองไม่เห็น เพราะอาจโดนตัวอะไรกัด โดยเฉพาะในรู มักจะเป็นที่อยู่ของสัตว์ตั้งแต่เล็กๆอย่างแมงมุม งู จนถึงสัตว์ใหญ่อย่างหมูป่าหรือหมาป่า ดังนั้น เวลาเดินป่า อย่างน้อย ควรจะมีไม้สักอันไว้เขี่ยดู ไม้รูปตะขอตรงปลายจะใช้เกี่ยวได้ แต่ถ้าเจอกิ่งไม้แข็งๆ หรือมีขนาดใหญ่ๆ อย่างพวกเถาวัลย์ จะเขี่ยไม่ไป ต้องใช้มีดฟันออกเท่านั้น
    .

    เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์
     
  12. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ขอบคุณผู้เขียนที่ให้ความรู้แก่ทุกท่าน
    คู่เมื่อเดินป่าตอนที่ 10
    "เดินป่าอย่างไร ไม่ให้เจ็บตัว"


    journey-2406354_960_720.jpg

    การเดินป่าวันแรก ควรจะเดินช้าๆตามกำลังของร่างกาย ออมแรงไว้ เพื่อให้ร่างกายปรับตัว ตามคนหน้าถ้าฝืนรีบเดิน อาจช็อกหรือหมดแรง เมื่อออมแรงดีแล้ว วันต่อมา ร่างกายเริ่มปรับตัวแล้ว จะเริ่มเดินเร็วขึ้นเรื่อยๆ ทำแบบนี้ ถึงแม้ว่าวันสุดท้าย หรือช่วงเย็น ที่คนอื่นหมดแรง แต่เรายังมีแรงอยู่เหลือเฟือ


    วิธีเดินป่าไม่ให้ลื่นล้ม คือ หาที่จับก่อนแล้วค่อยก้าว ถ้าเดินในป่า ให้จับต้นไม้ แล้วทดลองเหยียบให้แน่ใจว่า ดินข้างหน้าไม่เป็นหลุม ควรจะเกาะต้นไม้ทั้ง 2 มือ เผื่อว่าไปจับโดนไม้ผุทำให้เสียหลัก ถ้าลงทางชัน ไม่มีต้นไม้ให้เกาะ ให้นั่งยองๆ แล้วใช้มือยันกับก้อนหินหรือดินที่พื้น แล้วค่อยยื่นขาออกไปทีละข้าง ถ้าเดินในลำห้วย อาจจะจับก้อนหิน ลองแหย่ขาออกไปเหยียบหินก้อนต่อไป แล้วขยับเท้าให้แน่ใจก่อนว่าจะไม่ลื่นหรือหินพลิก จึงค่อยก้าวออกไป ถ้าน้ำลึกมาก ก้มลงไปจับก้อนหินไม่ได้ ให้ใช้ไม้เท้า 2 อันช่วยค้ำ ถ้าไม่มีไม้เท้า พยายามก้าวสั้นๆ จะทรงตัวขึ้น

    วิธีเดินขึ้นเขาไม่ให้เหนื่อยคือ ดูลมหายใจ ดูว่ากำลังหายใจเข้า หรือ หายใจออก ลมหายใจยาวหรือสั้น ลมหายใจแรงหรือเบา ดูอยู่อย่างนี้ก็จะลืมความเหนื่อย แต่ถ้าเผลอใจลอยไปคิดเรื่องอื่นอาจจะเหนื่อยอีก ถ้าเริ่มเหนื่อย พยายามเดินช้าลง ก้าวสั้นๆ ถ้าคนหน้าเดินเร็ว เราจะพยายามเร่งสปีดเพราะกลัวเดินตามคนหน้าไม่ทัน ช่วงเวลาที่พยายามเดินให้เร็วขึ้นนี้เองจะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เรียกว่า มัวแต่ดูคนอื่นจนลืมดูตัวเอง หรือถ้ามัวแต่คิดว่าเหนื่อยก็จะยิ่งเหนื่อย แต่ถ้าเปลี่ยนมาดูลมหายใจ เราจะพยายามควบคุมการเดิน ไม่ให้ลมหายใจเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป

    ถ้าไปกันหลายคน แล้วมีคนที่เหนื่อยจนเดินไม่ไหว เปลี่ยนให้คนนั้นมาเดินนำหน้า เขาจะหายเหนื่อย เพราะการเดินตามก้นคนอื่น จะมีแรงกดดัน แต่การเดินนำหน้าจะเดินตามกำลังของตัวเอง

    การอาบน้ำก็เช่นกัน วิธีอาบน้ำเย็นไม่ให้หนาวคือ เปลี่ยนมาดูลมหายใจ

    หลังจากลงเขามาแล้ว วันรุ่งขึ้นจะเจ็บกล้ามเนื้อขาเวลาย่อขาเพื่อขึ้นลงบันไดหรือทางชัน ทำให้เดินขาตรงได้อย่างเดียว สาเหตุเกิดจากลงเขาผิดวิธี คือ ลงเขาเร็วเกินไป และใช้กล้ามเนื้อขาเบรคมากเกินไป วิธีป้องกันคือ เวลาลงเขา พยายามลงช้าๆ หาต้นไม้เกาะ หาไม้เท้ายัน เพื่อใช้กล้ามเนื้อขาให้น้อยที่สุด บางคนเข้าใจผิดไปกินยาคลายเนื้อ แล้วไม่ดีขึ้น เพราะสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหดตัว แต่เกิดจากกล้ามเนื้อบอบช้ำ ทางรักษาที่ดีที่สุดคือ หยุดพัก รอให้ผ่านไปสัก 2-3 วันจึงเริ่มดีขึ้น ถ้าสัก 1 สัปดาห์ก็จะหายสนิท
    เมื่อเจอภัยธรรมชาติ
    เมื่อมีภัยธรรมชาติ ไม่ควรเข้าป่า ถ้าอยู่ในป่าก็ควรจะรีบออกจากป่า หรือ หาย้ายไปอยู่ในที่ปลอดภัย เช่น ถ้าฝนตกทั้งวันทั้งคืนติดต่อกันหลายวัน มีโอกาสเจอน้ำป่าหรือดินถล่ม หรือ พื้นที่ๆที่ตามปกติมีลมพัดอ่อนหรือไม่มีลม แล้วจู่ๆเกิดพายุเข้า อาจได้รับอันตรายจากกิ่งไม้หล่นใส่ มีตัวอย่างวันที่ 2 ตค. 2552 มีลมพายุแรงพัดผ่านป่าเขาใหญ่ ลมแรงขนาดที่ทำให้ต้นหญ้าลู่เกือบติดพื้น ลมพัดออกจากช่องเขาแถวนครนายก แรงขนาดทำให้ใบไม้เปลี่ยนสี ซึ่งปกติแล้วเขาใหญ่จะมีแค่ลมพัดเอื่อยๆ พอหลังจากลมสงบ ผมเข้าไปเดินป่าแล้วพบว่า ต้นไม้ใหญ่น้อยหักขวางทางเต็มไปหมด บริเวณที่ต้นไม้ล้มจะปกคลุมด้วยกิ่งไม้และเถาวัลย์จนไม่มีทางเดินผ่านไป ได้เลย หลังจากผ่านไป 1 ปี ผมกลับเข้าไปดูบริเวณที่ต้นไม้ล้มอีกครั้ง ปรากฎว่า เริ่มมีทางเดินแคบๆที่สัตว์ทำไว้ให้
    อย่าให้เจ็บตัว
    เวลาเดินป่า พยายามระวังอย่าให้เจ็บตัว ถ้าเจ็บตัวแล้ว อยู่บ้านยังพักได้ พอเจ็บป่วยในป่าแล้ว หยุดพักไม่ได้ ถึงป่วยก็ต้องเดิน ถึงเจ็บมือก็ยังต้องใช้มือหยิบจัดของในเป้ทุกวัน เวลาอยู่ในป่า ร่างกายมีโอกาสได้รับความบอบช้ำง่ายมาก จุดที่บาดเจ็บง่ายที่สุดคือ มือและเท้า
    ถ้าเข้าป่าระยะสั้น 1-2 คืน ถึงเจ็บตัวก็ยังพอทนได้ ออกจากป่ามาแล้วพักได้ แต่ถ้าเข้าป่าหลายๆวัน พอเจ็บตัวแล้วจะเดินทางต่อลำบาก เวลาเข้าป่าหลายวัน จึงควรจะถนอมร่างกายให้มากที่สุด อย่าให้เจ็บ อย่าให้ป่วย ด้วยการ
    • สวมถุงมือ ป้องกันหนามตำหักคาผิวหนัง มือที่เจ็บจะหยิบจับของไม่ได้ ถ้าเผลอไปโดนจะยิ่งเจ็บมาก และทำให้แผลหายช้าลง
    • สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และมีผ้าปิดคอ ตลอดเวลา เพื่อป้องกันยุงและริ้น และฉีดยาป้องกันเห็บและทากอย่าให้ขาด
    • เดินด้วยความระมัดระวัง อย่ารีบ เพราะถ้าพลาดล้ม จะเจ็บตัว นิ้วมือบวม เท้าแพลง
    • ถ้าต้องเดินฝ่าดงหนาม แล้วโดนหนมตำบริเวณหน้าแข้ง ให้หาใบไม้หนาๆเช่น ว่านหางจรเข้ (อย่าลืมขูดหนามออก) นำมาแปะไว้ตรงหน้าแข้งแล้วครอบให้อยู่กับที่ด้วยถุงเท้า ใบไม้หนาๆจะช่วยรับหนามแทนหน้าแข้ง
    เมื่อร่างกายมีปัญหา ไม่สบาย หรือ เป็นแผล สิ่งที่ควรทำคือ พักอยู่กับที่ หรือ หาทางออกจากป่าให้เร็วที่สุด อย่าฝืนเดินทางต่อไปยังจุดหมาย มิฉะนั้น จะยิ่งเจ็บตัวมากขึ้นจนอาจจะกลับไม่ได้

    เมื่อส่วนใดของร่างกายบาดเจ็บ หากหยุดพักอยู่กับที่ ผ่านไป 1 สัปดาห์อาการจะเริ่มดีขึ้นมาก ถ้าพักนาน 2 สัปดาห์จะหายสนิท แต่ถ้าส่วนที่บาดเจ็บนั้นถูกใช้งานโดยไม่หยุดพัก ก็จะไม่หายสักที ดังนั้น หลังออกมาจากป่าแต่ละครั้ง ควรเว้นระยะห่าง 2 สัปดาห์ ก่อนเข้าป่าครั้งต่อไป เพื่อรักษาตัวให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ

    เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์
     
  13. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ขอบคุณผู้เขียนที่ให้ความรู้แก่ทุกท่าน
    คู่มือเดินป่า...ตอนที่ 9 "เปลสนาม"
    พฤษภาคม 04, 25610Share


    เปลสนาม


    %25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25A52.jpg

    การนอนในป่าที่แย่ที่สุด คือการนอนที่พื้น เพราะตามพื้นเป็นที่อยู่ของสัตว์ ตั้งแต่สัตว์เล็กๆอย่าง ทาก เห็บ มด ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ จนถึงสัตว์ใหญ่อย่าง งู เม่น เสือ หมี ฯลฯ ล้วนอยู่กับพื้นหมด ส่วนสัตว์ที่อยู่สูงอย่าง ค่าง ชะนี นก ฯลฯ จะไม่มารบกวนคน ที่นอนที่ปลอดจากสัตว์รบกวน จึงควรจะสูงจากพื้นตั้งแต่ระดับเอวขึ้นไป คนที่มีประสบการณ์ ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใดในโลกก็ตาม ทั้งป่า ทะเล หรือแม้แต่ทะเลทราย เขาจะไม่นอนกับพื้นเลย เพราะ ทุกแห่งมีสัตว์อยู่ตามพื้น ตั้งแต่มด จนถึงงู แม้แต่ในทะเลทราย ก็ยังมีสัตว์เลื้อยคลานซ่อนอยู่ใต้ทราย แต่ที่เราเห็นคนชอบนอนเต็นท์คือ พวกขาดประสบการณ์ หรือไม่มีทางเลือก เพราะไม่มีต้นไม้ให้ผูกเปล แม้แต่การนอนบนแคร่ก็ยังไม่ปลอดภัยมากนัก เพราะเคยมีหนุ่มอีสานนอนอยู่บนกระท่อมนา แล้วมีงูจงอางตัวใหญ่ยาว 3.8 เมตร เลื้อยขึ้นมาบนกระท่อมแล้วกัดขาเขา


    1d3f73831079380160aa793a7ea2d376.jpg



    การนอนในป่าไม่ควรใช้เต็นท์เพราะ อาจมีสัตว์ป่าเดินผ่านมา ถ้าอยู่ในเต็นท์มองออกไปทางหน้าต่าง จะมองเห็นแค่บางมุม ไม่เห็นรอบๆ ยิ่งถ้าตอนนอน ยิ่งมองไม่เห็นอะไรเลย สัตว์ป่าอาจจะตะครุบเต็นท์ เคยมีหลายคนโดนหมีใช้เล็บตะปบผ้าเต็นท์จนขาด แล้วตบคนที่นอนหลับอยู่ในเต็นท์หลายครั้ง บางทีก็คาบคนออกมา หรือ ม้วนเต็นท์แล้วทำร้ายจากข้างนอก ถ้าเป็นช้าง อาจเหยียบเต็นท์หรือใช้งวงรวบขึ้นมาได้ทันที เคยมีคนโดนเหยียบเต็นท์มาแล้ว จะหนีก็ยาก เพราะว่าทางเข้าออกจำกัด กว่าจะรูดซิปก็ไม่ทันเสียแล้ว นอกจากนี้ยังเคยมีคนโดนงูจงอางฉกจนเต็นท์ทะลุมาแล้ว บางคนก็เจองูขดอยู่ใต้พื้นเต็นท์ ถึงแม้จะไม่มีสัตว์ และเต็นท์จะปิดซิปมิดชิด แต่ก็มีโอกาสพลาด เช่น กางเต็นท์เสร็จแล้วเผลอเปิดประตูทิ้งไว้ ทำให้ยุงหรือแมลงเข้าไป แล้วไล่ออกไม่ได้ เพราะประตูเต็นท์แคบ, บางทีแมงมุมก็ติดขากางเกงเข้าไป บางทีก่อนกางเต็นท์ วางเครื่องนอนไว้บนก้อนหินหรือกิ่งไม้ที่มีมดไต่อยู่ พอนำเครื่องนอนเข้าไปในเต็นท์ มดก็ติดเข้าไปด้วย พอมดเข้าไปแล้วก็เป็นงานใหญ่ เพราะ ขอบเต็นท์ยกสูง จะกวาดออกธรรมดาไม่ได้ แถมพื้นเต็นท์ที่ขายในท้องตลาด มักใช้สีดำ ทำให้มองไม่เห็นสิ่งแปลกปลอม เวลาเจอยุงหรือมดก่อนนอน จะไม่มีอารมณ์ทำอะไรแล้ว ถ้าอยู่ในสถานที่ๆอากาศไม่เย็นจริงๆ ในเต็นท์จะร้อนกว่าข้างนอก การเคลื่อนไหวในเต็นท์จะทำให้เหงื่อออกง่าย ถ้าเปิดเต็นท์เพื่อไล่เจ้าพวกนี้ แมลงก็จะเข้ามาอีก แมลงหลายชนิดตามแสงไฟมา ถ้าเป็นยุงก็ตามกลิ่นคนเข้ามา บางทีลืมเปิดประตูเต็นท์ทิ้งไว้ พอฝนตก น้ำก็เข้าไปในเต็นท์ จะเทออกก็ลำบาก เพราะขอบเต็นท์ยกสูง ต้องทนนอนแช่น้ำอยู่อย่างนั้นทั้งคืน การนอนเต็นท์ยังต้องแบกอุปกรณ์เสริมจำนวนมาก เช่น ผ้าปูพื้นกันพื้นเต็นท์เปื้อนทำให้หลังจากเก็บเต็นท์แล้ว น้ำค้างหรือทรายติดเข้ามาในเต็นท์ ต้องมีแผ่นรองนอน เพราะถ้านอนกับพื้น หลังจะสัมผัสกับพื้นโดยตรง นอกจากจะเจ็บหลัง จากก้อนหินหรือกิ่่งไม้ตำ แล้วยังต้องหนาวเพราะ ความร้อนจากลำตัวถ่ายเทลงพื้นอย่างรวดเร็ว เมื่อนอนพื้นก็ต้องมีหมอนหนุนหัว บางคนทำงานนั่งโต๊ะมาก จึงนอนยืดตัวตรงบนพื้นแข็งไม่ได้ ก็ต้องมีหมอนรองน่องอีก ต่างจากเปล แค่ผ้าผืนเดียวนอนได้เลย เหล่านี้คือเหตุผลที่ต้องนอนเปล ยิ่งผูกเปลสูงๆยิ่งปลอดภัยจากสัตว์
    a66f49c162374d0c448f8f5a1119408d.jpg

    เต็นท์เหมาะสำหรับสถานที่ๆอากาศหนาวจัด ซึ่งเปลนอนแล้วเย็นหลัง หรือในสถานที่ๆผูกเปลไม่ได้ เช่น บนดอยหัวโล้น หรือที่ไม่อนุญาติให้ผูกเปล เช่น ลานกางเต็นท์ในอุทยานแห่งชาติ ถ้าจะนอนเต็นท์จึงควรมีเต็นท์หรือเปลสนามสำรองไปด้วย เพราะผมเคยเจอในกรณีที่นอนเต็นท์ไม่ได้หลายครั้ง เนื่องจากมีมด ยุง หรือน้ำ เข้าไปข้างใน

    เปลสนาม ควรเลือกความยาวมากกว่าส่วนสูงประมาณ 50-60 ซม จะนอนสบาย หรือวัดง่ายๆคือ ยกแขนขึ้นจนสุด แบมือออก เขย่งเท้าขึ้น วัดตั้งแต่ปลายนิ้วมือ ลงมาจนถึงปลายนิ้วเท้า แล้วเผื่อออกไปอีก 10-20 ซม. เพื่อที่จะสามารถนอนยกแขนขึ้นได้ เปลที่สั้นเกินไป จะบีบไหล่และหลังงอมากเกินไป ทำให้นอนปวดไหล่และปวดหลัง แต่ถ้ายาวกว่านี้ก็ไม่เห็นความแตกต่างมากนัก แถมยังเกะกะเวลากางและเก็บ จะใช้สองมือรวบได้ไม่หมด ทำให้ผ้าหรือเชือกมักจะตกพื้นเปื้อนดินและน้ำ

    dccaa88e50e13b278e54abdd3218fe60.jpg

    ปัญหาของมุ้งแบบมีซิปคือ เข้าออกลำบาก หากมีสัตว์มาอาจจะหนีไม่ทัน มุ้งอีกแบบที่เหมาะสำหรับนอนในป่า คือ แยกอิสระจากเปล โดยตัดมุ้งให้มีขนาดเท่ากับเปล แล้วตรงหัวท้ายทำเป็นหูร้อยเชือกแบบรูดได้ นำมารัดและรูดเข้ากับหัวเปลและท้ายเปล ส่วนด้านข้างเปล ให้ห้อยมุ้งลงมา แล้วเย็บถุงตาข่ายสี่มุม เพื่อใส่ก้อนหินถ่วง ป้องกันมุ้งปลิว

    ปัญหาของเปลสนามคือ
    • เย็นหลัง เนื่องจาก ลมและน้ำสามารถผ่านได้ ลมพัดทะลุผ่านเนื้อผ้าเข้ามาจากข้างล่าง ถงนอนจะช่วยได้บ้าง ถึงแม้ว่าจะมีถุงนอน แต่ด้านล่างแฟบ ทำให้ความสามารถในการกันหนาวของถุงนอนลดลง เวลานอนเปลจึงต้องใช้ถุงนอนหนากว่าเวลานอนเต็นท์ที่มีแผ่นรองนอน
    • เวลาพายฝนุแรงๆ ลมมาจากทุกทิศทาง ฟลายชีทด้านหัวและท้ายเปลที่เปิดโล่ง จะเปิดช่องให้ละอองฝนเข้ามาทำให้เปลเปียกได้ แก้ไขด้วยการหุบปีกฟลายชีทลงมา
    • เวลาฝนตกหนัก ติดต่อกันหลายๆชั่วโมง น้ำจะไหลลงมาตามสายเปล ทำให้เปลเปียก ยกเว้นถ้าฝนตกเบาๆ ถึงแม้จะตกติดต่อกันทั้งคืน น้ำจะไม่ไหลมาถึงเปล วิธีแก้ไขน้ำไหลมาตามสายเปลเบื้องต้นคือ ใช้เชือกหรือผ้ามาผูกไว้ตามสายเปลเพื่อดักน้ำ ถ้าฝนตกหนักติดต่อกันนานๆ ผูกไว้ 2-3 จุดก็จะป้องกันได้ ถ้าน้ำผ่านจดุแรกมาได้ก็จะมาติดจุดต่อไป ส่วนถุงพลาสติกยังสู้ผ้าไม่ได้ ไม่ควรใช้เหล็กรูปตัว S มาคั่นกลาง เพราะเหล็กไม่แข็งแรงพอ จะยืดออกง่าย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะหยุดน้ำไว้ได้ แต่ปัญหาของการใช้เชือกหรือผ้ามาดักน้ำคือ ยุ่งยาก และเชือกผูกเปลบางส่วนก็ยังคงเปียก เวลาเก็บจะทำให้เปลเปียกไปด้วย วิธีแก้ไขที่สะดวกที่สุดคือ ใช้วงแหวนหรือคาราบิเนอร์ (carabiner) มาเป็นตัวดักน้ำแทน

    c65cfc6541e4c4c07a3fe73f0cdfee0c.jpg

    ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 20kN เทียบเป็นน้ำหนักขณะหยุดนิ่งได้ประมาณ 2000 กิโลกรัม ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีค่ามากขนาดนี้ เพราะ ถ้ามีการเคลื่อนไหวที่ระยะทางมาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น ตกเขา แรงดึงจะเพิ่มขึ้นตามระยะทาง แต่ในการผูกเปล จะไม่ต้องกังวลมากขนาดนั้น เพราะสายเปลจะกระจายน้ำหนักไปฝั่งละครึ่ง และการขย่มเปลไม่ได้เกิดระยะทางมากนัก เราจึงประมาณได้ว่า สายเปลแต่ละข้าง รับน้ำหนักเท่ากับน้ำหนักตัวคนหารสอง การผูกเปลจะใช้คาราบิเนอร์อลูมิเนียม ที่ไม่มียี่ห้อและไม่บอกแรงดึงก็ได้ เพราะคาราบิเนอร์อลูมิเนียมที่รับน้ำหนักไม่ไหว จะเริ่มจากเสียรูปก่อน เช่น อ้าออก หรือ ยืดออก (โดยวัดตอนรับน้ำหนัก เพราะถ้าเอาน้ำหนักออกแล้ว มันอาจจะหดกลับได้) ถ้ายังรับแรงมากขึ้นไปอีก จึงจะขาดออกจากกัน หากทดลองนำมาผูกเปล ลองขย่มดู และนอนไปนานๆ แล้วไม่เสียรูป ถือว่าใช้ได้ แต่จากที่ผมทดลองมา คาราบิเนอร์ไม่มียี่ห้อของจีนที่ไม่บอกสเปค นำมาผูกเปลแล้วจะรับน้ำหนักคนไม่ได้ จะอ้าออก การเลือกคาราบิเนอร์ ควรเลือกทรงตัว D จะแข็งแรงกว่าทรงตัว 0 เพราะการรับน้ำหนักของทรงตัว D จะตกอยู่ตรงแกนตรงเป็นหลัก ในขณะที่การรับน้ำหนักของทรงตัว 0 จะกระจายไปทั้ง 2 ข้าง ซึ่งข้างที่มีขาเปิดปิดนี้เองที่เป็นจุดอ่อน โดยเฉพาะเมื่อขาเปิดปิดไม่มีขอเกี่ยวช่วยรับแรงดึง หรือเปิดขาอ้าไว้โดยไม่เกี่ยว จะทำให้ความสามารถในการรับน้ำหนักจะลดลงไปเกินครึ่ง ตัวล็อกแบบแกนที่มีเกลียวจะแข็งแรงที่สุด แต่จะหนักขึ้น ส่วนแบบใช้ลวดล็อก (ตามรูป) จะแข็งแรงน้อยที่สุดแต่เบาที่สุด แบบลวดล็อกจึงเหมาะสำหรับใช้ผูกเปล
    hammock_show05_w460.jpg


    เชือกผูกเปลสนามกับต้นไม้ ควรใช้เชือกถักแบน จะยึดติดกับเสาได้ดีกว่า เชือกกลมจะแนบไม่สนิท ทำให้ลื่นง่าย เชือกแบนหน้ากว้าง 15mm เพียงพอที่จะรับน้ำหนักคนนอนเปลได้ถึง 1-2 คนโดยไม่ขาด

    ถ้าไม่มีต้นไม้ให้ผูกเปล สามารถผูกกับก้อนหินใหญ่ได้

    วิธีเลือกต้นไม้ที่จะผูกเปลคือ ทดลองขย่มดูหลายๆรอบ ต้นไม้ที่ยังไม่ตาย มักจะมีความยืดหยุ่น ทดลองผูกเปลแล้วลองนอนดู หากเริ่มนอนแล้วต้นไม้ไม่หักลงมาแสดงว่าใช้ได้ ถึงแม้ว่าจะนอนไปนานๆก็จะไม่หักลงมา

    ก่อนจะผูกเปล ควรกางฟลายชีทก่อน เพราะ นอกจากจะช่วยกันฝนเปียกเปลแล้ว ยังใช้เชือกที่ขึงกลางฟลายชีทแขวนเปลที่ยังไม่ได้ผูกได้อีกด้วย เพราะ เวลาคลี่เปลออกมา เปลจะยาวมาก พอผูกเปลด้านหนึ่งกับต้นไม้ อีกด้านที่ยังไม่ได้ผูก มักจะร่วงไปกองอยู่กับพื้น ทำให้เปลสกปรก ถึงแม้จะนำเปลมาแขวนคอไว้ก็มีโอกาสร่วงได้ แต่ถ้าแขวนเปลไว้กับเชือก จะไม่ค่อยมีปัญหา เวลาเก็บเปลก็เช่นกัน ควรเก็บฟลายชีททีหลัง

    ถ้าไม่มีเปลสนาม อย่านอนกับพื้น ถ้าไม่มีที่นอนตามธรรมชาติที่อยู่สูง เช่น บนก้อนหินใหญ่ ให้ทำแคร่ โดยตัดไม้สดตรงๆ หลายๆท่อนมาวางเรียงกันบนคานสองฝั่ง แล้วใช้เชือกมัดไม้ไว้กับคาน ถ้าเป็นแคร่บนต้นไม้เรียกว่า ห้าง การทำห้างบนต้นไม้ ต้องเลือกต้นไม้ที่มีกิ่งหรือมีเถาวัลย์ที่พอจะปีนขึ้นไปได้ ถ้าเป็นต้นตรงๆก็ต้องทำบ้นไดขึ้นไป ส่วนด้านบนต้องมีกิ่งที่จะวางคานได้ และมีกิ่งอีกชั้นให้ทำหลังคากันฝนได้ด้วย
    d03b27631d868d4e6c977e165860fe6d.jpg

    การทำเปลจากวัสดุธรรมชาติ ทำได้หลายวิธี เช่น ผ่าไม้ไผ่ให้เป็นซี่ๆเหลือปลายติดกัน แล้วกางออกเป็นเปล วิธีการคือ ใช้ไม้ไผ่สดที่ยาวกว่าความยาวของลำตัว วัดความยาวตรงกลางส่วนที่จะใช้นอน แล้วใช้มีดผ่าไม้ไผ่ส่วนนั้นออกครึ่งลำ แต่ยังคงเหลือปลายหัวท้ายไว้ไม่ต้องตัดออก แล้วกรีดไม้ไผ่ส่วนที่เหลืออีกครึ่งลำ ออกเป็นซี่ๆ กางออกเป็นเปลได้ แล้วใช้เถาวัลย์ผูกปลายห้วท้ายไว้กับต้นไม้ นอกจากไม้ไผ่แล้ว ยังสามารถนำเชือกที่หาจากวัสดุธรรมขาติแถวนั้น อย่างเช่น เถาวัลย์ หรือ เปลือกไม้ยาวๆเหนียวๆ มารวมกันหลายๆเส้นเป็นตาข่ายแล้วกางออกมา ก็กลายเป็นเปลได้ ถ้านอนแล้วเจ็บหลังก็หาใบไม้มาปูทับอีกชั้น ก่อนจะตัดใบไม้มาใช้ ควรดูให้ดีก่อนว่า ไม่มีตัวอะไรเกาะอยู่ตามใบไม้
    .

    เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์
     
  14. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    ขอบคุณผู้เขียนผู้ที่ให้ความรู้แก่ทุุกคน
    คู่มือเดินป่า..ตอนที่ 8 "อาหาร"
    กุมภาพันธ์ 13, 25612Share


    อาหาร
    fire-2886715_960_720.jpg

    กฎข้อที่สามของการเดินป่าคือ ..... อาหาร
    นายพรานจะพกอาหารอย่างน้อยที่สุดคือ ข้าวและเกลือ เพราะ 2 สิ่งนี้ทำให้เขามีชีวิตรอดได้ ข้าวเป็นตัวหลักในการสร้างพลังงาน ส่วนเกลือโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวกับการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบ ประสาท เมื่อขาดเกลือแล้ว ขาจะอ่อนแรง เดินแล้วล้มง่าย ถ้าขาดมากๆ จะไม่มีแรงเดิน เคยมีเหตุการณ์จริงของคนที่เข้าป่า แล้วลืมเกลือไว้กลางทาง ทำให้เป็นตะคริว เดินต่อไปไม่ได้



    คนเดินป่า เป็นโรคขาดสารอาหารได้ง่าย เพราะ เวลาเข้าป่า มักจะแบกอาหารไปได้ไม่หลากหลาย เวลากินข้าวก็เช่นกัน เรามักจะกินข้าวได้ไม่มาก เพราะกับข้าวน้อย แถมไม่อร่อยเพราะเครื่องปรุงไม่ครบ ประกอบกับการเดินป่าตลอดทั้งวัน ต้องเสียเหงื่อมาก ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่มาก หากกินอาหารไม่ครบ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่มีแรงเดิน เข้าป่าไปได้ไม่กี่วันก็เริ่มแย่ อยากจะออกจากป่าแล้ว คนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงปลายทาง ก็เพราะสาเหตุนี้ ถ้าขาดสารอาหารอยู่ในป่า ก็จะป่วยง่าย เพราะเชื้อโรคในร่างกายจะขยายตัวได้ง่าย ถึงแม้ว่าจะออกจากป่ามาแล้ว ถ้ายังขาดสารอาหาร จะมีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง

    เมื่ออยู่ในเมืองก็จะทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะ เหนื่อยง่าย สมองไม่แจ่มใส ดังนั้น เวลาเข้าป่า ควรพกกับข้าวไปมากๆ เน้นอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสูง เช่น เห็ด, ผลไม้แห้ง, เวย์โปรตีน, อาหารทะเลแห้ง, สาหร่ายทะเล ถ้าเป็นพวกผักเช่น ต้นหอม ผักชี หอมแดง ให้หั่นเป็นฝอย แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง เก็บใส่กระปุกไว้ สังเกตุว่าส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง เพราะมีน้ำหนักเบา ช่วยลดน้ำหนักเวลาแบกเป้ ยกเว้น ถ้าไปค้างคืนเดียว ซื้อกับข้าวปรุงสำเร็จที่ขายตามร้านหรือตามซุปเปอร์มาร์เก็ตติดไปจะ สะดวกกว่า ถ้าเป็นเนื้อสัตว์ก็ต้องทอดหรือผัดแล้ว จะเก็บได้นานกว่าอาหารที่ไม่มีน้ำมันอย่างพวกยำหรือลวก เมื่อถึงที่พักนำมาอุ่นแล้วเก็บต่อไปกินวันรุ่งขึ้นได้

    ในอาหาร 5 หมู่ อาหารแห้งที่หาซื้อยากที่สุดคือ ผักแห้ง ถ้าซื้อผักสดมาตอนเช้า พอตอนเย็นก็จะเริ่มเหี่ยว เพราะผักคายน้ำออก ผักบางชนิดเก็บได้หลายวัน เช่น แตงกวา, มะเขือเทศ, ถั่วฝักยาว เก็บได้ 2-3 วัน ถ้ากะหล่ำปลีอาจเก็บได้ 4-5 วัน แต่ปัญหาของผักสดคือ มีน้ำหนักมากเพราะมีน้ำปนอยู่ แต่ถ้าเราไม่กินผัก จะเป็นโรคขาดสารอาหารพวกแมกนีเซียม เพราะแมกนีเซียมพบน้อยในข้าวและเนื้อสัตว์ แมกนีเซียมในผักจะอยู่กับคลอโรฟิลล์ ทำให้ผักมีสีเขียว ผักที่ขาดแมกนีเซียมจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

    ในป่าไม่ค่อยมีอาหาร โอกาสเจอพวกผักผลไม้ในป่ามีน้อย แม้แต่นายพรานยังต้องแบกข้าวสารและน้ำพริกเข้าไปด้วย ถ้าไปเจอกบ เจอเต่ากลางทางก็จับกินเพื่อประหยัดกับข้าว ถ้าอาหารขาด อาจเดินไปขอจากคนรู้จักในป่า เช่น พวกลักลอบตัดไม้ แม้แต่พระธุดงค์ก็ต้องแบกอาหารเข้าไป ยกเว้นท่านที่เก่งแล้วขอบิณฑบาตอาหารจากเทวดาได้ หรืออยู่ด้วยธรรมปิติคือไม่ต้องกินข้าว ดังนั้น จะเข้าป่าต้องเตรียมอาหารไปให้เพียงพอกับจำนวนวัน และ ต้องเผื่อผิดพลาดอีกประมาณ 3 วัน เผื่อในกรณีที่หลงป่า หรือ บาดเจ็บทำให้เดินช้า จะได้มีอาหารกินจนกว่าจะออกจากป่า ปกติแล้ว เวลาหลงป่า มักจะต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 1-2 วัน แต่ก็มีหลายสาเหตุที่ทำให้เราต้องติดอยู่ในป่าเป็นเวลานานกว่านั้น ผมเคยมีเพื่อนที่เคยโดนตัวต่อรุมต่อยแถวที่พัก ถึงแม้ว่าเขาจะกระโดดลงน้ำหนี แต่ก็บวมไปทั้งตัว ต้องนอนพักอยู่ในป่าถึง 1 สัปดาห์ กว่าจะพอเดินออกมาไหว

    คนที่หาอาหารในป่าได้ มักจะรู้แหล่งอาหารในป่า เช่น รู้ว่ามีบ่อน้ำเก่าอยู่ตรงไหน มีดงผักอยู่ตรงไหน แต่ถ้าปีไหนอากาศแปรปรวน ผักที่เคยกินได้ก็อาจจะไม่มีให้กิน คนหาของป่า มีความรู้ไม่มากนักว่า ผักผลไม้อะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ เพราะต้องอาศัยเรียนรู้มาจากคนรุ่นก่อน ไม่มีสอนในโรงเรียน และไม่มีในตำรา ดังนั้น ถ้าไม่รู้จัก เขาจะไม่กิน เช่นเดียวกับสัตว์ป่าที่คนนำมาเลี้ยงจนโต พอนำไปปล่อย ก็จะหากินเองไม่ได้ เพราะสัตว์เรียนรู้จากแม่ของมัน

    พื้นที่แต่ละแห่งจะมีพันธุ์ไม้แตกต่างกัน ต้นไม้ที่ขึ้นในป่าดิบแล้งเช่น แถบเขตฯทุ่งใหญ่นเรศวร จะไม่พบตามป่าดิบชื้น เช่น อช.เขาใหญ่ คนที่รู้ว่าอะไรกินได้ จำเป็นต้องอาศัยศึกษามาจากคนในพื้นที่ หรือใช้วิธีสังเกตุ จากร่องรอย เช่น รอยเท้าของสัตว์ใหญ่มากิน รอยแทะของกระรอกหรือหนู ถ้าสัตว์กินได้คนก็กินได้ ถ้าเป็นพืชน้ำก็มีปลากิน แต่ถ้าเป็นผลไม้ลูกเล็กๆที่นกกิน อาจจะมีพิษ หรือกินได้แต่ไม่อิ่ม แต่ถ้าไม่มีสัตว์มาแตะต้อง ก็ไม่ควรกิน วิธีสังเกตุพืชมีพิษคือ จะไม่มีแม้แต่แมลงมาแตะต้องเลย ถ้าต้องการทดลอง ให้เริ่มต้นด้วยการเด็ดมา ลองดมกลิ่นดู พืชที่มีกลิ่นแรง มักจะมีสารเจือปนมาก กินไม่ได้ พืชที่มียาง มักจะฝาดและขม กินไม่ได้ ลองเด็ดมาถูที่เนื้ออ่อน อย่างเช่นหลังมือ ดูว่าแพ้หรือไม่ ลองใช้ลิ้นแตะ ลองชิม แล้วลองเคี้ยวดู จำนวนน้อยๆก่อน ถ้ารู้สึกผิดปกติให้รีบล้างปาก

    พิษในพืชป่า มักจะมีอยู่ 2 ประเภทหลักๆ คือ ชิมดูจะมีรสขม อาจเป็นไซยาไนด์ แตะผิวหนังหรือลิ้นแล้วคัน อาจเป็นออกซาเลต (เพราะออกซาเลตมีลักษณะเป็นเข็มเล็กๆ) พืชส่วนใหญ่จะมีออกซาเลต มากบ้างน้อยบ้าง ถ้ากินมากไปจะมีโอกาสเป็นนิ่วสูง พืชที่มีออกซาเลตมากคือพวก ใบชะพลู ผักโขม เผือกดิบ ส่วนมันสำปะหลังดิบ จะมีไซยาไนด์ (มันสำปะหลังมี 2 พันธุ์คือแบบหวาน และแบบขม แบบหวานมีไซยาไนด์น้อย คนและสัตว์จึงกินได้หากนำมาผ่านความร้อนแล้ว ส่วนแบบขมมีไซยาไนด์มาก ปลูกเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม), ในถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว หรือกวาวเครือขาว มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง ไม่เหมาะกับคนทุกวัย แม้แต่ผู้หญิงกินก็ไม่ดี, บิโกเนีย(ที่พบบนยอดเขาทางภาคใต้) และมะขาม เป็นยาระบายอ่อนๆ ฯลฯ ถึงแม้ว่าถ้านำมาผ่านความร้อน อาจทำให้พิษลดลงได้บ้าง แต่ถ้ากินแทนข้าว เราก็จะป่วย พืชบางชนิดกินจำนวนน้อยๆก็ป่วย ผมเคยกินแกงบิโกเนียบนเขาแค่ไม่กี่ต้น วันรุ่งขึ้นยังถ่ายตั้งหลายรอบ ด้วยเหตุนี้ สัตว์กินพืชทุกชนิด จึงต้องกินดินโป่ง เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุ ไปช่วยขับสารพิษที่ได้รับจากการกินพืช (ดินโป่งคือดินที่มีแร่ธาตุสูง) เช่นเดียวกับร่างกายคนที่ต้องอาศัยแร่ธาตุ อย่างเช่น โซเดียม แมกนีเซียม ไปจับกับสารพิษต่างๆแล้วขับออก นอกจากนี้ ลำใส้ของมนุษย์ไม่มีแบคทีเรียย่อยสลายพวกเซลลูโลสหรือไฟเตทเหมือนสัตว์กินพืช มนุษย์จึงไม่สามารถอยู่รอดได้ ด้วยการกินพืชเพียงอย่างเดียวเหมือนสัตว์

    e0b89ae0b8ade0b8991.jpg


    กินแล้วตายได้ ก่อนที่จะเก็บมากิน จึงต้องรู้จักพืชชนิดนั้นแน่ชัด อย่างเช่น ต้นบอน ที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ มี 3 ชนิด แต่มีหน้าตาคล้ายกัน คือมีใบรูปหัวใจ ส่วนใหญ่สูงระดับเอว บอนชนิดที่กินได้คือ บอนหวาน กินสดๆได้เลย สังเกตุว่า ใบจะมีสีเขียวสด ไม่มีสีขาวปน ลำต้นจะมีสีเขียว อาจแกมแดงหรือแกมม่วง แต่ไม่มีสีขาวเคลือบ ยางไม่มีสี ยางโดนหลังมือแล้วไม่คัน กินได้ทั้งต้นอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน แต่ถ้าจะกินลำต้นต้องลอกเปลือกแข็งออก บอนอีกชนิดที่หน้าตาคล้ายกัน คือ บอนคัน มีออกซาเลต กินสดๆแล้วจะคันปากคันคอ แต่ไม่เป็นอะไร ดื่มน้ำอุ่นมากๆก็จะหาย สังเกตุว่า ใบจะมีสีขาวนวล ต้นสีเขียวอ่อนมีสีนวลเคลือบจนเกือบขาว ยางมีสีเขียวน้ำเงิน ยางโดนหลังมือแล้วคัน บอนคันนำมากินได้เช่นกัน แต่ต้องนำมาทำลายพิษ ด้วยการผ่านความร้อนจนจับดูแล้วเละ จึงจะกินแล้วไม่คัน อาจนำมานึ่ง ต้ม หรือ ใส่กระบอกไม้ไผ่ย่าง ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือจะนำลำต้นมาเผาไฟทั้งเปลือก จนเปลือกดำหรือเปลือกพอง แล้วจึงลอกเปลือกออกมากินเนื้อข้างใน นอกจากนี้ ในดงบอน ยังมีบอนมีพิษอีกชนิด ขึ้นปะปนอยู่ด้วย คือต้นโหรา สังเกตุว่าจะมีใบใหญ่กว่า สีเข้มกว่าและหนากว่า ยางมีสีส้มอ่อนๆ เคยมีคนไม่ระวัง ตัดต้นโหรามาปน แล้วนำมาทำแกงส้ม ปรากฎว่าคนกินป่วยกันหมด บางคนน้ำลายฟูมปาก บางคนช็อคหมดสติ จะเห็นว่าวิธีแรกที่จะดูว่าบอนกินได้หรือไม่ คือ ดูที่ยาง ยางต้องใส ไม่มีสีริมลำธารในป่ามีผักขึ้นอยู่หลายชนิด สามารถเด็ดมากินได้ แต่พืชบางชนิดมีพิษ

    204377.jpg




    ผักหนาม ขึ้นตามริมน้ำ มีหนามตามลำต้นจนถึงยอดอ่อน
    ผักหนาม เป็นตัวอย่างของผักมีพิษอีกชนิด ที่กินได้ แต่กินดิบไม่ได้ เพราะ ในผักหนามดิบ จะมีไซยาไนด์ ซึ่งเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ก่อนนำมาปรุงอาหาร จึงต้องนำมาต้มแล้วเทน้ำทิ้งก่อน ผักหนามชอบขึ้นอยู่ริมน้ำ บริเวณที่มีร่มเงา ลำต้นขนาดเล็ก ตั้งเกือบตรง สูงเหนือหัวเข่าจนถึงเอว ไม่มีใบตรงกลางลำต้น แต่มีใบอยู่ตรงปลาย ใบมีขนาดใหญ่ บานออกเป็นแฉก วิธีสังเกตุนอกจากใบคือ จะมีหนามตามลำต้น จึงเรียกว่าผักหนาม วิธีกินคือ เด็ดยอดอ่อนมาต้ม หรือทำพวกแกงส้ม กินพร้อมหนาม

    พืชที่พบได้ทุกภาค เช่น หน่อไม้และกล้วย โดยเฉพาะกล้วย กินได้เกือบทุกส่วน ทั้งหัวปลีสีม่วง ที่ลอกเปลือกออก จนถึงเนื้อสีขาวด้านใน, หยวกกล้วย คือแกนกลางของต้นกล้วย เลือกต้นที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป คือลำต้นขนาดประมาณข้อมือ เพราะถ้าต้นอ่อนเกินไปจะไม่มีแกน ถ้าแก่เกินไปจะเริ่มมีเส้นใย, ผลกล้วยอ่อนสีเขียวเล็กๆเท่านิ้วก้อย เม็ดจะอ่อนกินได้ทั้งเม็ดและเปลือก นำมาล้างน้ำแล้วกินดิบๆ หรือต้มกิน โดยลองหักดู ถ้าเม็ดสีดำแสดงว่าแก่ เม็ดจะแข็ง กินไม่ได้ เนื้อก็มีน้อย กินไม่อิ่ม

    พืชตระกูลเฟิร์น 3 ชนิดที่คนกินกัน คือ ผักกูด, ผักแว่น, และ ลำเท็ง(ผักกูดแดง) ทุกชนิดล้วนขึ้นอยู่ริมน้ำ ถ้าเป็นป่าทางใต้ จะมีเฟิร์นอีกชนิดหนึ่งขึ้นอยู่ริมน้ำ คือ ต้นมหาสดำ ยอดอ่อนสามารถกินได้เช่นกัน แต่ยอดอ่อนอยู่ด้านบนสุด และต้นจะสูงเกินกว่ามือเอื้อมถึง ลำต้นเป็นขนแข็งๆลื่นๆ ปีนไม่ไหว

    Picture%2B035_7.jpg


    ผักกูด คือ ยอดเฟิร์นที่ขึ้นริมน้ำ ส่วนยอดที่กินได้ จะหงิกๆงอๆ

    ผักกูด เป็นผักที่พบบ่อยมาก ในป่าที่มีความชื้นสูง และมีแสงแดดน้อย เวลาอยู่ริมน้ำ มองหาตามตลิ่ง ตรงรอยต่อระหว่างน้ำกับผืนดิน เป็นจุดที่น้ำท่วมถึง จะเจอต้นเฟิร์น ดูเหมือนเฟิร์นทั่วไป ต้นเตี้ยๆสูงประมาณหัวเข่า บางต้นอาจชี้ขึ้นมาสูงกว่านั้น แต่ไม่เกินระดับเอว เมื่อเข้าไปใกล้ มองหาดีๆ จะเจอยอดอ่อนแซมอยู่ บางยอดม้วนเป็นก้นหอย ส่วนที่เก็บมากินได้คือ ต้นอ่อน สังเกตุว่าใบสีเขียวอ่อน ทุกใบยังหงิกๆงอๆอยู่ และเด็ดง่าย แต่ถ้าเป็นต้นแก่แล้ว ใบจะตรง เป็นสีเขียวแก่ ไม่นำมากิน หากเด็ดต้นอ่อนมาลองดมดู จะมีกลิ่นเขียวของผัก เป็นกลิ่นอ่อนๆ ถ้าลองเคี้ยวดูจะกรอบๆ รสชาดเหมือนผักกูดที่ขายในตลาด ถือว่าใช้ได้ ส่วนเฟิร์นที่อยู่ไกลน้ำ จะไม่ใช่ผักกูด สังเกตุว่าหน้าตาจะแตกต่างออกไป

    >>>>อ่านต่อยาวไปเลย<<<<

    ปกติในป่าที่มีสัตว์ จะหาผักกูดยาก เพราะโดนสัตว์แย่งกินหมด บางครั้งอาจต้องพักในจุดที่ไม่มีผัก ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องพกผักติดตัวไปส่วนหนึ่ง ผักที่พกง่ายที่สุดคือ สาหร่ายทะเลแห้ง

    ธรรมชาติของคน เวลากินผัก จะกินเฉพาะส่วนที่อ่อนๆ อย่างเช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ฝักอ่อน จะไม่กินส่วนที่แก่ อย่างใบแก่ เพราะย่อยยาก ส่วนที่แก่จะกินเมื่อไม่มีทางเลือก แม้แต่สัตว์อย่างกวางหรือช้าง ก็ยังเลือกกินแต่ยอดอ่อน

    ผักแต่ละชนิด มีพิษปนอยู่ไม่เท่ากัน บางชนิดมีพิษน้อยมาก กินได้ในปริมาณมากหน่อย และกินต่อเนื่องได้ทุกวัน อย่างเช่น ย่านาง ซึ่งรู้ได้จากการอ่านงานวิจัยที่คนทดลองกับสัตว์ แต่ผักบางชนิดมีพิษปนอยู่มากกว่า หากกินมากเกินไปอาจจะป่วยได้ ดังนั้นถึงแม้จะรู้แน่ชัดแล้วว่าเป็นผักที่คนกินได้ แต่ไม่รู้ว่ากินได้ในปริมาณเท่าไหร่ การกินผักให้ปลอดภัยคือ กินแต่พอดี เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับพิษมากเกินไป อาศัยกินให้หลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน ผักชนิดไหนที่คนไม่กิน เพราะมีพิษมาก มีตัวอย่างของเด็ก ที่เก็บเมล็ดสบู่ดำหรือผักที่หน้าตาคล้ายผักตามบ้านมากิน แล้วป่วยเข้าโรงพยาบาลกันหมด เถาวัลย์บางชนิดก็เป็นยา จริงๆแล้วยาหลายตัวในโลกก็สกัดมาจากพืช ถ้ากินพืชในปริมาณเล็กน้อย จะไม่มีปัญหา ร่างกายจะขับพิษส่วนเกินออกได้ แต่ถ้ากินในปริมาณมากหรือกินซ้ำๆ เราก็จะป่วย

    จะเห็นว่าหลักการกินพืชคือ ถ้าไม่รู้จักแน่ชัด ไม่ควรกินเลย โดยเฉพาะเห็ดในป่า ห้ามกินเลย เพราะ เห็ดพิษ กินเข้าไปแค่ชิ้นเดียวก็ตายได้ มีกะเหรี่ยงหรือชาวบ้านหาของป่า ตายเพราะกินเห็ดพิษที่เก็บมาจากในป่า อยู่เป็นประจำ เห็ดพิษอาจมีหน้าตาคล้ายกับเห็ดที่คนกินจนแยกไม่ออก บางทีเห็ดพิษก็ขึ้นปะปนอยู่กับเห็ดไม่มีพิษ เห็ดพิษที่ตายกันบ่อยมากคือ เห็ดระโงกหินพิษที่มีหน้าตาคล้ายเห็ดระโงกขาวกินได้ แต่เห็ดพิษจะมีก้านสูง กลางดอกหมวกจะนูนเล็กน้อย มีกลิ่นเอียนและค่อนข้างแรง หรืออย่างเห็ดที่มีหน้าตาคล้ายเห็ดโคน เห็ดโคนพิษจะมีใบร่มมีเกล็ดเหมือนหนังงูเห่า ก้านตันจากโคนถึงใบร่ม ส่วนเห็ดโคนที่ไม่มีพิษ จะมีก้านกลวง เคยมีชาวบ้านหลายคนเก็บเห็ดที่มีหน้าตาคล้ายเห็ดโคนและเห็ดนางฟ้า กินเข้าไป 3 ชม.จึงเริ่มออกอาการ เวียนหัวอาเจียน มือเท้าชา ถ่ายเหลว คนที่กินเยอะกว่า จะออกอาการมากกว่า ต้องรีบหามส่งโรงพยาบาลล้างท้อง บางรายโชคดีที่เห็ดยังไม่มีพิษมากนัก จึงรอดมาได้ เห็ดพิษไม่จำเป็นว่าจะต้องมีสีสันสวยงามเสมอไป อย่างเช่น เห็ดระโงกหินชนิดที่รูปกะทะคว่ำสีขาว

    mushroom.jpg


    ชาวป่าจะรู้วิธีกำจัดสารพิษออกจากพืช โดยอาศัยการสังเกตุ แล้วสอนกันมารุ่นต่อรุ่น หรืออาจจะทดลองให้สัตว์เลี้ยงกิน การนำมาผ่านความร้อน จะทำให้สารพิษสลายตัวไปได้มาก หรือ นำมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วจึงนำไปแช่น้ำค้างคืน สารพิษจะละลายน้ำไปจนเหลือน้อย พืชบางชนิดนำไปหมัก สารพิษจะสลายตัวไป พืชที่กินสดๆได้คือ ผลไม้ แต่ไม่กินเปลือกหรือเมล็ด เพราะนอกจากจะย่อยยากแล้ว ยังมีพิษมาก อย่างเช่นเปลือกมะนาว มีออกซาเลตสูง เมล็ดพืชบางชนิดก็มีไซยาไนด์สูง ร่างกายย่อยเมล็ดพืชไม่ได้ อย่างเช่นเม็ดกระท้อนที่เป็นข่าว เมื่อไหลลงไปในลำใส้จะแทงทะลุลำใส้ทำให้ปวดท้อง เป็นแผลติดเชื้อถึงตายได้ รากและหัวที่ขุดมาจากใต้ดินก็สะสมพิษไว้มาก คนจึงนำส่วนของรากมาใช้เป็นยารักษาโรค หรือ ยาฆ่าแมลง

    พืชที่เป็นหัวในดิน อย่างเช่น หน่อไม้ มักจะมีไซยาไนด์ปนอยู่ตามธรรมชาติ คนจะรู้วิธีกำจัดพิษคือ นำมาดอง ต้ม หรือเผา จะลดพิษลงไปได้มากพอสมควร หน่อไม้มีหลายชนิด แต่ละชนิด จะมีไซยาไนด์ในปริมาณไม่เท่ากัน หน่อไม้ที่กินดิบได้ คือพวกหน่อไม้หวาน ชิมดูไม่มีรสขม ต้มแล้วเนื้อมีสีขาว น้ำต้มยังใสไม่เหลือง ชิมน้ำต้มไม่มีรสขม แสดงว่าไม่มีไซยาไนด์ (ยกเว้นต้มทั้งเปลือก น้ำต้มอาจเป็นสีม่วงของเปลือก ซึ่งเหมาะสำหรับกินกับน้ำพริก

    เพราะการต้มทั้งเปลือกจะได้กลิ่นหอมหวานเหมือนข้าวโพด แล้วจึงยกออกจากไฟ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 นาที) ส่วนหน่อไม้ที่มีไซยาไนด์ ลองชิมดิบๆ จะมีรสขม ถ้ายิ่งขมมาก จะยิ่งมีไซยาไนด์ปนอยู่มาก ต้มแล้วเนื้อจะมีสีเหลือง น้ำต้มมีสีเหลือง ชิมน้ำต้มมีรสขม นั่นคือไซยาไนด์ที่ละลายออกมา ต้องเทน้ำทิ้ง แล้วต้มจนน้ำหมดรสขม จึงจะกินเนื้อได้ เวลาต้มให้หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ จะช่วยให้จืดเร็วขึ้น ถ้ามีพิษน้อย อาจจะต้มแค่ 10 นาที แต่ถ้ามีพิษมาก อาจต้องต้มนานถึง 2 ชั่วโมง แต่ถ้าต้มทั้งหัวอาจต้องต้มนานอย่างน้อย 4-5 ชั่วโมง

    การเผาก็เช่นกัน ต้องเผาจนกว่าจะหมดรสขม เมื่อผ่านความร้อนแล้ว จะมีพิษเหลือตกค้างอยู่น้อย ถ้ากินไม่มากเกินไป กินแบบคนทั่วไปกิน คือประมาณ 1 จานหรือ 1 กำมือ จัดว่าปลอดภัย ร่างกายสามารถใช้โปรตีนและแร่ธาตุขับไซยาไนด์ออกได้ทางปัสสาวะ มีตัวอย่างของคนแอฟริกา ที่กินมันสำปะหลังแล้วกินโปรตีนไม่พอ ทำให้ป่วยกันมาก แต่ถ้าได้รับไซยาไนด์มากเกินไปจนขับออกไม่ทัน จะมีอาการทางระบบประสาท เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หน้ามืดตาลาย หูหนวก แน่นหน้าอก ปวดหัว เวียนหัว ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง อัมพาติฉับพลัน ฯลฯ ในเมืองไทยเคยมีเด็กหลายคน (ข่าวปีพ.ศ.2550,2555) ที่ตายเพราะกินมันสำปะหลังดิบ โดยก่อนตายมีอาการ คลื่นใส้อาเจียน ชักดิ้น น้ำลายฟูมปาก แม้แต่สัตว์ตัวใหญ่ๆอย่าง วัวควาย ก็เคยตายเพราะกินมันสำปะหลังดิบมาแล้ว

    เนื้อสัตว์ ถึงแม้จะปลอดภัยกว่าพืช เพราะไม่มีพิษปนเปื้อนเหมือนพืช สัตว์กินเนื้อจึงไม่ต้องกินดินโป่ง แต่เนื้อสัตว์ก็ไม่ควรกินดิบๆ โดยเฉพาะสัตว์น้ำ เพราะ อาจมีเชื้อโรคหรือพยาธิอยู่ เคยมีคนกินหมูดิบแล้วตาย แม้แต่ไข่หรือนมดิบๆ ก็มีแบคทีเรียที่ทำให้คนกินแล้วป่วย สัตว์เล็กๆ ตั้งแต่นก กบ อึ่งอ่าง ไปจนถึงแมลง บางชนิดมีพิษที่ได้มาจากอาหารตามธรรมชาติ เช่น กบกินแมลงมีพิษ แล้วพิษสะสมอยู่ตามผิวหนัง สัตว์บางชนิดมีพิษสร้างขึ้นเอง เช่น คางคกจะมีต่อมพิษอยู่เหนือตาทั้งสองข้าง ถ้าทำให้มันตกใจ เช่น จับมันมาวางไว้บนฝ่ามือ บางตัวจะปล่อยพิษ ซึมออกมาเป็นยางสีขาวๆ (บางตัวก็ไม่ปล่อย) ถึงแม้ว่าพิษของคางคก โดนมือแล้วไม่มีอาการร้ายแรง ถ้าปล่อยให้ซึมเข้าไปในผิวหนัง อาจแค่ชาๆ มีเลือดคั่ง แต่ถ้ากินเข้าไปจะมีอันตรายมาก เคยมีคนตายเพราะกินคางคก โดยไม่ได้เอาส่วนที่มีพิษออก แม้แต่ไข่คางคก ก็เคยมีคนกินแล้วตาย แม้แต่ปลาถ้ากินไข่คางคกหรือลูกอ๊อดก็ยังตาย ถ้าคนนำปลาตัวนั้นมากินก็จะได้รับพิษไปด้วย ถึงแม้ว่าจะนำไปทำให้สุก ก็ไม่สามารถทำลายพิษด้วยความร้อน (ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ควรกินสัตว์ที่ตายโดยไม่รู้สาเหตุ เพราะมันอาจตาย เพราะได้รับพิษจากอาหารหรือสารเคมี) หรือแม้แต่สัตว์น้ำบางฤดูก็อาจมีพิษ อย่างเช่น ปลาที่อยู่ในลำห้วย อาจกินลูกไม้ที่มีพิษเข้าไปสะสมไว้ ถ้าคนกินเนื้อปลาจะเมา อ้วก หรือป่วย ดังนั้น การกินสัตว์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ควรได้รับคำแนะนำจากคนในพื้นที่

    ธรรมชาติของคนจะกินแต่เนืัอสัตว์ ไม่กินเครื่องใน เพราะ เครื่องในมีพิษมาก เช่น มีทองแดงสูง เมื่อเทียบกับเนื้อล้วนๆซึ่งมีทองแดงน้อยมาก ทองแดงที่มากเกินไปจะทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ หรืออย่างกรดยูริกที่พบตามเครื่องในทั่วไป ที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคข้อเสื่อม หรืออย่างตับ ที่ถึงแม้จะเป็นแหล่งสะสมวิตามินและแร่ธาตุ แต่ก็มีสารพิษสะสมไว้มากเช่นกัน เพราะตับทำหน้าที่กรองสารพิษออกจากร่างกาย ถึงแม้จะเป็นอาหารตามธรรมชาติ ก็มีสารพิษซ่อนอยู่ เมื่อเวลาผ่านไป สารพิษเช่น dioxin และโลหะหนักอย่าง สารหนู ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม จะเข้าไปสะสมในตับ

    โปรตีน ควรจะพกไปให้เพียงพอ เพราะการเดินป่าทั้งวัน ต้องใช้พลังงานมาก ร่างกายต้องการโปรตีนมากขึ้น เพื่อไปซ่อมแซมอวัยวะส่วนที่สึกหรอ โดยเฉพาะเวลาที่ต้องใช้แรงมากๆ และเวลาขึ้นภูเขาสูงที่มีออกซิเจนน้อย ร่างกายจะต้องใช้โปรตีนเพื่อสร้างเม็ดเลือดเพิ่มขึ้น เวลาที่เริ่มรู้สึกว่าไม่สบาย กินโปรตีนแล้วนอนมากๆ ตื่นมาจะแข็งแรงเหมือนเดิม เพราะโปรตีนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ ถึงแม้ว่าเวลากินโปรตีนไม่พอ ร่างกายจะดึงโปรตีนจากอวัยวะส่วนต่างๆมาใช้ แต่เวลานั้นระบบต่างๆในร่างกายจะทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้อ่อนเพลีย ภูมิคุ้มกันต่ำ ร่างกายดูดซึมแมกนีเซียมได้น้อยลง ร่างกายขับสารพิษได้น้อยลง และเนื่องจาก ร่างกายไม่สามารถสะสมโปรตีนไว้ใช้ในยามขาดแคลนได้จำนวนมาก เหมือนคาร์โบไฮเดรตและไขมัน แถมโปรตีนยังเป็นส่วนประกอบของพลังงานถึง 15-20% จึงควรพยายามกินโปรตีนสม่ำเสมอตลอดทั้งวัน เวลาที่ต้องใช้แรงมากๆ จะไม่เหนื่อยง่าย แหล่งโปรตีนที่ดี เช่น อาหารทะเลแห้ง (หาซื้อที่ตลาดแม่กลองจะราคาถูกและมีให้เลือกมาก ส่วนจังหวัดอื่นอย่าง ฉะเชิงเทรา จะมีให้เลือกน้อยและแพง เพราะรับมาจากที่อื่น), เวย์โปรตีนแบบ concentrate, ไข่ แหล่งโปรตีนที่ดีที่สุดมาจากเนื้อสัตว์ แต่ไม่ควรพึ่งโปรตีนจากแหล่งเดียว จะทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบ เช่น นมมีแคลเซียมสูงแต่ธาตุเหล็กต่ำ ทำให้คนป่วยเป็นโรคแคลเซียมเกินหรือโลหิตจาง และไม่ควรพึ่งโปรตีนจากพืชเป็นหลัก เพราะพืชมีกรดอะมิโนไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการ และพืชมีพิษปนอยู่ เช่น จมูกข้าวสาลีอบแห้งมีกรดออกซาลิกสูง
    egg_box.jpg

    กล่องใส่ไข่
    ไข่ เป็นโปรตีนที่พกเข้าป่าดีมาก เพราะเก็บได้นาน และ กินกับข้าวได้ทุกวัน โดยเฉพาะไข่เค็มจะช่วยให้ไม่ต้องเติมน้ำปลา ยิ่งใส่มะนาวไปจะยิ่งอร่อย แต่ปัญหาของไข่คือจะแตกง่าย ถ้าไม่มีกล่องพลาสติกใส่ อาจเปลี่ยนมาใช้ฝอยทองกรอบแทนได้ ไข่ที่ต้มสุกแล้วะเก็บได้ไม่นานเท่าไข่ดิบ การพกไข่ดิบต้องใส่ไว้ในกล่องแข็งๆที่ป้องกันไม่ให้ไข่ขยับเขยื้อน ซึ่งปัจจุบันมีกล่องใส่ไข่โดยตรงขาย มีน้ำหนักเบาเพราะทำจากพลาสติก แต่แข็งโดนกดทับแล้วไข่ไม่แตก ส่วนวิธีอื่นๆที่ใช้ได้คือ ใส่ในกล่องทั่วไป โดยห่อไข่ด้วยพลาสติกฟองอากาศกันกระแทก แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับเวลาไปกันหลายๆคน ซึ่งสามารถกินไข่ในกล่องให้หมดได้ในมื้อเดียว เพราะ การดึงไข่ออกมาฟองหนึ่ง จะเริ่มมีช่องว่างในกล่องทำให้ไข่ส่วนที่เหลือขยับได้ บางคนใช้วิธีใส่ข้าวสารลงในหม้อสนามจำนวนหนึ่ง ใส่ไข่ตามลงไป แล้วเทข้าวสารกลบไข่จนมิด แต่วิธีนี้จะลำบากเวลาที่ต้องหุงข้าว ต้องรื้อไข่ออกมาแล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ ในกรณีที่ไม่มีภาชนะใส่ แต่ใช้กล่องพลาสติกบางๆที่แถมมากับไข่ ควรใส่ลงในกล่องสี่เหลี่ยมอีกชั้น เพื่อกันไข่แตก หรือใส่ไข่แต่ละใบลงในถุงพลาสติกแล้วมัดปากถุง เพื่อเวลาไข่แตกจะได้อยู่แต่ในถุง ไม่เลอะออกมาข้างนอก

    ถึงแม้ว่าการขาดโปรตีนจะไม่ดีต่อสุขภาพ แต่การกินโปรตีนมากเกินไปก็มีอันตรายเช่นกัน เพราะทำให้เกิดกรดในร่างกายมากเกินไป (ส่วนย่อยของโปรตีนคือกรดอะมิโน) ร่างกายต้องใช้โซเดียมมาล้างกรดออก ถ้าโซเดียมไม่พอจึงใช้แคลเซียมและแมกนีเซียมมาช่วย ทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุมาก อาการที่สังเกตุได้ว่าร่างกายได้รับโปรตีนมากเกินไปคือ อาการขาดแมกนีเซียม เช่น ปวดเมื่อย ตะคริว นิ้วล็อก มือเท้าชา นอนไม่หลับ ซึ่งจะเป็นมากช่วงตื่นนอน

    การวัดว่าร่างกายขาดโปรตีนหรือไม่ คือ ตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเพื่อดูค่า Urine urea nitrogen เพราะไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบหลักของโปรตีน คนปกติควรจะขับออกมาประมาณ 10-15กรัม ถ้าน้อยกว่า 10 เป็นสัญญาณว่ากินร่างกายต้องการโปรตีนจากอาหารมากขึ้น แต่ถ้ามากกว่า 15 แสดงว่าร่างกายอาจกินโปรตีนเกิน คนปกติที่ไม่ได้ออกแรงมากนัก จะกินโปรตีนจากสัตว์ประมาณวันละ 30-40 กรัม แต่ถ้าต้องใช้แรงมากหรือร่างกายขาดโปรตีนอาจต้องการมากกว่านี้ อาจมากถึง 2 เท่า

    อาหาร 100 กรัม โปรตีน (กรัม)
    ข้าวขาวดิบ 6
    เวย์โปรตีน concentrate 80
    กุ้งแห้งตัวเล็ก 46.4
    ปลาช่อนทะเลแห้ง 41.8
    หมูหยอง 43.1

    คนปกติที่ไม่เป็นเบาหวาน ต้องใช้คาร์โบไฮเดรตต่อโปรตีนในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 เช่น ถ้าใช้โปรตีน 45 กรัม จะใช้คาร์โบไฮเดรต 45*4=180 กรัม แต่คนที่แข็งแรงและแก่ช้า จะกินโปรตีนมากกว่านี้ คือ กินคาร์โบไฮเดรตต่อโปรตีนในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 ถึง 3 ต่อ 1 เช่น ถ้ากินคาร์โบไฮเดรตวันละ 180 กรัม ควรกินโปรตีนระหว่าง 180/4= 45 กรัม ถึง 180/3 = 60 กรัม ต่อวัน ยกเว้นคนที่ออกแรงเกินตัว จนกล้ามเนื้อฉีกขาด จะต้องการโปรตีนสูงขึ้นอีก อย่างเช่นพวกยกน้ำหนัก อาจต้องใช้ คาร์โบไฮเดรตต่อโปรตีนสูงถึง 2 ต่อ 1

    อาหาร 100 กรัม คาร์โบไฮเดรต(กรัม)
    ข้าวขาวดิบ 80
    กล้วยตาก 80

    ถ้าต้องเดินป่าแบกของขึ้นหรือลงเขาทั้งวัน ร่างกายอาจต้องใช้คาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว นั่นคือ จะต้องกินโปรตีนเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อยเท่าตัว เช่น จากเดิม 45 กรัม ในวันที่ไม่ได้ออกแรง ก็ต้องเพิ่มเป็นอย่างน้อยวันละ 90 กรัม

    อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงคือพวกข้าว ผลไม้ ก่อนออกเดินทางตอนเช้า กินข้าวจะดีที่สุด เพราะข้าวคู่กับของเค็มๆ การกินข้าวมากๆ จะช่วยให้มีแรงเดินได้ทั้งวัน โดยไม่จำเป็นต้องกินข้าวกลางวัน มื้อกลางวันควรเป็นอาหารแห้ง ที่หยิบมาฉีกเดินไปกินไปก็ได้ เช่น ขนมปัง กล้วยตาก จะกินง่ายกว่าการพกข้าวใส่ถุงไป เพราะการกินข้าวนอกจากจะต้องหาที่นั่งแล้วยังเลอะเทอะ ถ้าจะซื้อข้าวไปกินกลางทางควรใส่ถุง อย่าใส่กล่องโฟม เพราะว่ากล่องโฟมเดินไปแล้วมีโอกาสแตกหรือหกเลอะเทอะกลางทาง

    ข้าวสารตามธรรมชาติจะแข็งกินไม่ได้ แต่เมื่อเจอกับน้ำและความร้อน ข้าวจะดูดน้ำจนนิ่มฟูกินได้ วิธีหุงข้าวสาร คือ ใช้ข้าว 1 ถ้วย ใส่น้ำ 1.5 ถ้วย ถ้าเป็นข้าวกล้องก็ใช้ข้าว 1 ถ้วย ใส่น้ำ 4 ด้วย ปิดฝาแล้วนำไปวางบนกองไฟ ต้มไปเรื่อยๆ คอยดูอย่าให้น้ำแห้ง เพราะถ้าน้ำแห้ง อุณหภูมิก้นหม้อจะสูงเกิน 100 องศาเซลเซียส ทำให้ข้าวไหม้ได้ (ถ้ายังมีน้ำอยู่ อุณหภูมิก้นหม้อจะอยู่ที่ 100 องศาเซลเซียส จึงไม่มีทางที่ข้าวจะไหม้) ใช้เวลาอย่างน้อย 20 นาที สังเกตุว่าเม็ดข้าวแตก ลองชิมดูข้าวนิ่มเคี้ยวได้ คือกินได้แล้ว อาจจะเทน้ำที่เหลือทิ้ง หรือ ต้มต่อไปจนน้ำแห้งก็ได้ แต่ต้องใช้ไฟอ่อน มิฉะนั้นข้าวก้นหม้อจะไหม้ ลองเทดูแล้วไม่มีน้ำไหลออกมา จึงยกออกมาตั้งทิ้งปิดฝาไว้อย่างน้อย 5 นาที เพื่ออบข้าวให้นิ่ม

    น้ำหนักของอาหารจริงๆอยู่ที่คาร์โบไฮเดรต ส่วนกับข้าวนั้นไม่ค่อยมีปัญหาเพราะ กับข้าวบางอย่างมีน้ำหนักเบา เช่น สาหร่าย 1 ห่อสามารถกินได้เป็นอาทิตย์ แต่ข้าวสาร 1 ถ้วยตวงใหญ่มีปริมาตรประมาณ 0.18 ลิตร จะหนักประมาณ 150 กรัมกว่าๆ จะเท่ากับข้าวสุกพูนจาน หรือมาม่า 3 ห่อ คนที่กินจุ จะกินข้าวพูนจานได้ประมาณ วันละ 2-3 จาน ดังนั้น ข้าว 1 กิโลกรัม จะอยู่ได้ 2-3 วัน ปัญหาของข้าวสารคือ
    • หนัก เนื่องจากข้าวสารมีความชื้นปนอยู่ด้วย
    • ยุ่งยาก ต้องซาว ต้องรินน้ำ ต้องรอร่วมครึ่งชั่วโมงกว่าจะได้กิน ต้องล้างข้าวที่ติดหม้อ ฯลฯ ข้าวยี่ห้อที่หุงสุกเร็วเพียง 10 นาที จะช่วยประหยัดเวลาหุงข้าวได้บ้าง
    เวลาเดินป่า ต้องใช้พลังงานมาก ร่างกายจึงต้องการคาร์โบไฮเดรตมาก แต่เวลาอยู่ป่า เรามักจะไม่สามารถกินคาร์โบไฮเดรตได้มากเท่ากับพลังงานที่ใช้ไป วิธีช่วยให้แบกคาร์โบไฮเดรตน้อยลงได้บ้าง คือ ตุนคาร์โบไฮเดรตไว้ในร่างกาย ธรรมชาติของร่างกายคนคือ เวลาที่เรากินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยยากก็ตาม ส่วนเกินจากที่ร่างกายนำไปใช้ จะสะสมไว้ในตับและกล้ามเนื้อ ในรูปของไกลโคเจน(glycogen) เพื่อเวลาที่เรากินคาร์โบไฮเดรตไม่พอ ร่างกายจะปล่อยไกลโคเจนออกมาใช้ในรูปของน้ำตาลกลูโคสในเลือด ไกลโคเจนจึงมีน้ำหนักเท่ากับน้ำตาลกลูโคส แต่การตรวจหาไกลโคเจนที่สะสมในร่างกายทำยาก การควบคุมไกลโคเจน จึงใช้วิธีประมาณ โดยไม่ต้องตรวจ โดยลดคาร์โบไฮเดรตลงวันละเล็กน้อย บวกกับจำกัดอาหารพวกไขมัน ช่วงที่ไกลโคเจนลดลงนี้ น้ำหนักตัวจะลดลงอย่างรวดเร็ว รอให้น้ำหนักตัวลดลงเกิน 2-3 กิโลกรัม จึงจะพอมั่นใจได้ว่าไกลโคเจนที่สะสมไว้หมด พอไกลโคเจนหมดแล้ว น้ำหนักตัวจะเริ่มคงที่ เพราะร่างกายจะนำไขมันมาเผาผลาญต่อทำให้น้ำหนักตัวลดลงช้ามาก โดยมีข้อควรระวังในการวัดน้ำหนัก คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอ มิฉะนั้นน้ำหนักตัวที่ลดลงไป อาจเป็นน้ำหนักน้ำก็ได้ หลังจากใช้ไกลโคเจนหมดแล้ว จึงเริ่มกินคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ร่างกายแต่ละคนสะสมไกลโคเจนได้แตกต่างกัน จึงต้องทดลองด้วยตนเอง คนที่มีกล้ามเนื้อมาก ร่างกายจะสะสมไกลโคเจนได้มาก ช่วงที่สะสมไกลโคเจน น้ำหนักตัวจะขึ้นเร็ว เพราะ การสะสมไกลโคเจนจะสะสมน้ำอีก 3 เท่าของน้ำหนักของมัน เช่น ถ้าสะสมไกลโคเจนไว้ 1 กิโลกรัม ร่างกายจะสะสมน้ำอีก 3 กิโลกรัม ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 4 กิโลกรัม เมื่อไกลโคเจนสะสมเต็มแล้ว คาร์โบไฮเดรตส่วนเกินที่กินเข้าไป จะสะสมในรูปของ triglyceride ซึ่งเป็นไขมันชนิดหนึ่ง การเก็บไกลโคเจน จึงไม่ควรเก็บจนเต็มขอบเขตที่ร่างกายสะสมได้ ควรเผื่อไว้สำหรับอาหารมื้อต่อไป เพราะทุกมื้อที่เรากินเข้าไป คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่จะเข้าไปในเซลเพ่อใช้เป็นพลังงาน ส่วนเกินจะไปสะสมเป็นไกลโคเจนไว้ใช้ในช่วงเวลาต่อไปของวัน

    คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ต้องหุง คือ ข้่าวผง หรือ ธัญพืช(cereal)ผงที่ขายเป็นซองๆ ใส่น้ำ หรือ เทใส่ปาก กินได้เลย นอกจากจะเบา เล็กกะทัดรัด แล้วยังราคาไม่แพง มีหลายขนาด หลายรสชาด ทั้งหวาน เค็ม จืด หาซื้อได้ตามร้านค้าของโครงการหลวง โอทอป และ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ถ้าต้องการสารอาหารเพิ่ม อาจซื้อ ผักผง เห็ดผง ฯลฯ ธัญพืชแบบซองขนาด 30-100 กรัม มีข้อดีตรงทีสามารถกินหมดได้ในมื้อเดียว และสามารถเลือกกินหลายๆแบบได้ แต่มีข้อเสียคือย่อยง่ายและหิวง่าย จึงเหมาะจะใช้เฉพาะเวลาฉุกเฉิน

    แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดี นอกเหนือจากข้าวสาร ได้แก่ กล้วยตาก เป็นอาหารแห้งที่ดีมาก เพราะมีน้ำหนักเบา และเป็นแหล่งของแร่ธาตุพวกโพแทสเซียมและแมกนีเซ๊ยม ซึ่งหาได้ยากในข้าวขาว กล้วยตากมีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 80% ของน้ำหนัก พอๆกับข้าวสาร ในขณะที่กล้วยแบบ freeze-dried มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 90% ซึ่งหมายถึง เมื่อแบกกล้วยตาก 1 กิโลกรัม จะได้คาร์โบไฮเดรต 800 กรัม แต่ถ้าแบกกล้วยแบบ freeze-dried 1 กิโลกรัม จะได้คาร์โบไฮเดรต 900 กรัม ซึ่งต่างกันเพียง 100 กรัม ซึ่งถือว่าไม่มากนัก กล้วยตากจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับราคา สามารถแกะกินได้เลย ข้อควรระวังในการกินกล้วยคือ ควรจะกินอาหารเค็มๆเพิ่มเพื่อให้ร่างกายได้รับโซเดียมเพียงพอเช่นเดียวกับการกินข้าวมื้อหนึ่ง

    เวลาหิวๆ น้ำตาลทรายไม่สามารถช่วยแก้หิวขณะเดินป่าได้มากนัก เพราะมันมีกลูโคสและฟรุกโตสอย่างละครึ่ง ถึงแม้ว่ากลูโคสเป็นน้ำตาลที่ร่างกายนำไปใช้ได้เลย แต่เมื่อเทียบกับปริมาณน้ำตาลที่กินเข้าไปแล้วถือว่ามีน้อย ส่วนฟรุกโตสต้องใช้เวลาแปลงเป็นกลูโคสที่ตับทีละน้อย อย่างเร็ว 2-3 ชั่วโมงกว่าจะแปลงได้สักครึ่งหนึ่งของที่กินเข้าไป น้ำตาลที่จะช่วยแก้หิวได้เร็วที่สุด คือ น้ำตาลกลูโคส แต่การกินน้ำตาลกลูโคสจะทำให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้น แล้วอินซูลินจะไปลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ทำให้หมดแรง น้ำตาลกลูโคสในปริมาณน้อยๆ อย่างที่อยู่ในซองเกลือแร่ จะเหมาะสำหรับกินช่วงหยุดเดินแล้ว แต่ถ้ายังต้องเดินต่อ ข้าวขาวจะดีที่สุด โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ เมื่อกินเปล่าๆ จะมีดัชนีน้ำตาล (glycemic index หรือ GI) ค่อนข้างสูงถึงประมาณ 60-80 (เทียบกับกลูโคสคือ 100) จะช่วยให้อิ่มได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่เร็วเท่ากับกลูโคส ข้าวขาวจึงเหมาะที่จะหุงตอนเช้า เพื่อเก็บไว้กินกลางทาง รวมทั้งกินตอนเย็น ทันทีที่หยุดเดิน จะแก้หิวได้เร็วที่สุด และได้ประโยชน์มากที่สุด เช่น ช่วยลดการสูญเสียกล้ามเนื้อจากน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าต้องการให้ข้าวขาวดูดซึมช้าลง แค่ใส่กับข้าวเข้าไปด้วย ค่า GI จะลดลง 20-40% ถ้าจะให้ดูดซึมช้าลงไปอีก ควรเปลี่ยนมาใช้ข้าวกล้องจะดีต่อสุขภาพมากที่สุด

    มะนาว นอกจากจะเพิ่มรสชาดให้อาหารแล้ว ยังช่วยปรับสมดุลกรดด่างในเลือดด้วย วงการแพทย์ทราบกันดีว่า ร่างกายจะแปลงกรดซิตริกเป็นไบคาร์บอเนต ซึ่งเป็นด่างที่ช่วยลดกรดในเลือด ผมเจอผู้ป่วยหลายคนที่ไม่กินเปรี้ยว ไม่กินมะนาวเลย มีอาการวูบ ปวดหัว คลื่นใส้ ตรวจเลือดพบเลือดเป็นกรด ค่า anion gap สูงกว่าค่าอ้างอิง ด้วยเหตุนี้เราจึงควรกินมะนาวทุกวัน แต่ปัญหาของการแบกมะนาว คือ มีน้ำหนักมาก โชคดีที่ปัจจุบันมีมะนาวผงขาย ซึ่งได้แก่น้ำมะนาวที่ระเหยน้ำออก หรือถ้าหาไม่ได้จริงๆ สามารถใช้กรดซิตริกแบบผงแทนได้ (จะเป็นแบบ hydrous หรือ anhydrous ก็ได้ แต่แบบ anhydrous ไม่มีน้ำอยู่เลย หากพกในปริมาณมาก จะเบากว่าแบบ hydrous เล็กน้อย)

    การเดินป่ามักจะต้องเสียเหงื่อมาก ทำให้ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุต่างๆไปกับเหงื่อ แร่ธาตุหลักที่สูญเสียมากคือ โซเดียม (สังเกตุว่าเหงื่อจะมีรสเค็ม) และ โพแทสเซียม และแร่ธาตุอื่นๆอย่างละเล็กละน้อยจนนับได้ว่าไม่สำคัญ เช่น ไอโอดีน, แคลเซียม, แมกนีเซียม, สังกะสี, ทองแดง, โครเมียม ฯลฯ ร่างกายสามารถสะสมแร่ธาตุ และปล่อยออกมาใช้ เวลาที่ขาดแคลน อย่างเช่น สะสมโซเดียมไว้ที่กระดูกประมาณ 40% เวลาเสียโซเดียมไปกับเหงื่อ ร่างกายก็จะดึงโซเดียมจากกระดูกมาใช้เพื่อปรับระดับโซเดียมในเลือดให้ ปกติตลอดทั้งวัน

    แร่ธาตุที่สำคัญที่สุดคือ โซเดียม สำคัญกว่าโปรตีนเสียอีก เพราะ ถ้าระดับโซเดียมในเลือดต่ำ จะทำให้หมดแรงและถึงตายได้ ต่างจากโปรตีน ซึ่งสามารถสลายกล้ามเนื้อมาใช้ได้ คนปกติร่างกายมักจะได้รับโซเดียม ได้ง่ายอยู่แล้วจากการกินเกลือหรือน้ำปลา การกินเค็มๆให้สม่ำเสมอตลอดทั้งวัน จะช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดโซเดียม การกินเค็มๆในช่วงเย็น หลังจากที่เสียเหงื่อมาตลอดทั้งวัน จะช่วยฟื้นฟูร่างกาย ด้วยการเพิ่มปริมาณโซเดียมในร่างกาย และการกินเค็มก่อนนอน จะช่วยไม่ให้ตื่นมาฉี่กลางดึก เพราะโซเดียมจะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ร่างกายขับน้ำออก แหล่งความเค็มที่ดีที่สุดคือน้ำปลา เพราะนอกจากจะมีรสชาดดีแล้ว น้ำปลายังทำจากเกลือเม็ด ซึ่งมีแร่ธาตุจากทะเลครบถ้วนเกือบร้อยตัว แถมยังมีแร่ธาตุจากปลาเพิ่มเข้ามาอีก แต่การพกน้ำปลานอกจากจะหนักแล้ว ยังหกเลอะเทอะได้ง่าย ผงน้ำปลาจะพกง่าย แต่หาซื้อยาก แหล่งความเค็มที่พกสะดวกที่สุด และยังคงมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ เกลือที่ขายตามนาเกลือ จะเป็นดอกเกลือหรือเกลือเม็ดสีเทาก็ได้ ทั้งคู่มีปริมาณแร่ธาตุจากทะเลไม่แตกต่างกันมากนัก แต่เกลือเม็ดจะหยิบกินง่ายกว่า และมีรสชาดดีกว่าดอกเกลือ เพราะเกลือเม็ดไม่เค็มเกินไป ซื้อมาถุงหนึ่งใส่กระปุกเก็บไว้ได้ไม่มีวันหมดอายุ ถ้าเหลือก็เอาไปโรยโป่งสัตว์ได้อีก ส่วนเกลือที่ไม่ควรใช้เลยคือ เกลือผงที่ผ่านการแปรรูปแล้ว แร่ธาตุต่างๆจากทะเลจะถูกกำจัดออกหมด เหลือเพียงโซเดียมคลอไรด์ ซึ่งแร่ธาตุโดดๆนี้เองที่เป็นผลเสียกับร่างกาย

    แร่ธาตุที่สำคัญรองลงมาคือ แมกนีเซียม แต่คนทั่วไปไม่มีรู้จักมัน เพราะตรวจเลือดด้วยวิธีปกติไม่เจอ จนกว่าจะเริ่มแย่แล้วจึงจะแสดงออกทางผลเลือด แมกนีเซียม เป็นตัวควบคุมแร่ธาตุตัวอื่นในร่างกาย และเป็นแหล่งพลังงาน นักเรียนแพทย์จะรู้ว่า ร่างกายสร้างพลังงาน ในรูปของโมเลกุลที่เรียกว่า ATP ซึ่งจับกับแมกนีเซียม ถ้าไม่มีแมกนีเซียมก็จะไม่มีพลังงาน สาเหตุสำคัญที่เราเดินป่าแล้วไม่มีแรง เหนื่อยง่าย ก็เพราะขาดแมกนีเซียม ซึ่งจากที่ผมเคยใช้วิตามินและแร่ธาตุรักษาโรคมา ก็มีแมกนีเซียมนี้เอง ที่ทำให้คนมีแรงมากขึ้นจนเห็นได้ชัด การเดินป่าในที่ร้อนชื้น จะเสียเหงื่อมาก ร่างกายจะสูญเสียแมกนีเซียมมากกว่าปกติ นอกจากนี้ ความเครียดทางร่างกาย จากการเดินป่าอย่างหนัก ก็ทำให้ร่างกายสูญเสียแมกนีเซียมมากขึ้น เคยมีการทดลองในทหารหน่วยซีลและนักวิ่งมาราธอนพบว่า หลังจากการฝึกหนักเพียง 1 เดือน พวกเขาจะเริ่มมีอาการขาดแมกนีเซ๊ยม และถ้าไม่กินแมกนีเซียมเสริม อาการจะยังคงอยู่อีก 3-6 เดือน ถ้าหลังจากเดินป่าแล้ววันรุ่งขึ้นปวดกล้ามเนื้อ เจ็บหัวใจ ก็แสดงว่าร่างกายขาดแมกนีเซียม เพราะแมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ขับกรดแลคติก ซึ่งกรดแลคติกนี้เองที่เป็นตัวทำให้ปวดนั่นปวดนี่ แมกนีเซียมจะสะสมในร่างกายตามกล้ามเนื้อและกระดูก คนที่ขาดแมกนีเซียม จะมีอาการที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ และระบบประสาทไวเกินไป เช่น ปวดหลัง เป็นตะคริว มือสั่น ใจหวิว กระตุก เครียดง่าย หดหู่ วิตกกังวล ปวดไมเกรน หลับได้ไม่กี่ชั่วโมงก็ตื่น พอตื่นแล้วหลับต่อไม่ได้ เจอแสงจ้าแล้วปวดหัว พอเหนื่อยๆแล้วเจ็บหน้าอก ท้องผูก อาการเหล่านี้เป็นเมื่อเกิดร่วมกันอย่างน้อย 2-3 อาการ ก็ชัดเจนว่าขาดแมกนีเซียม บางคนอาจมีแค่อาการเดียวอย่างเช่น ปวดหลัง บางคนไม่มีอาการเลยก็มี คนอ้วนก็น่าสงสัยว่าขาดแมกนีเซียม ทำให้แคลเซียมไปล้อมเซล ทำให้น้ำตาลเข้าไปในเซลไม่ได้ ทำให้การเผาผลาญอาหารต่ำ จึงอ้วนง่าย พอขาดแมกนีเซียมไปนานๆ ก็จะเป็นความดัน ไขมันสูง โคเลสเตอรอลสูง และ โรคหัวใจ เป็นตรงไหนก็แสดงว่าแคลเซียมเข้าไปสะสมตรงนั้น แต่เป็นการสะสมในระดับเซล จึงตรวจด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ไม่พบ คนที่ขาดแมกนีเซียมได้ง่าย คือ พวกที่เครียด หรือดื่มเหล้าบ่อยๆ ร่างกายจะขับแมกนีเซียมออกมาทางปัสสาวะ คนที่อายุมากขึ้น ปริมาณแมกนีเซียมที่สะสมในร่างกายจะลดลงเรื่อยๆ จนเรียกได้ว่า คนแก่ออกอาการทุกคนก็ได้ ถึงแม้ว่าตรวจเลือดแล้วพบว่าระดับแมกนีเซียมในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติก็ ตาม แต่ระดับแมกนีเซียมที่สะสมในอวัยวะต่างๆเหลือน้อย การดื่มนมมากเกินไปและนานเกินไป ก็ทำให้เป็นโรคขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน เพราะนมมีแคลเซียมสูง แคลเซียมจะไปขับแมกนีเซียมออก ผู้หญิงวัยประจำเดือนจะขาดแมกนีเซียมมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการสร้างฮอร์โมนในแต่ละรอบเดือน วิธีตรวจหาว่าขาดแมกนีเซียม คือ ตรวจระดับแมกนีเซียมในเลือด ถ้าตรวจดู serum magnesium ต่ำกว่า 1.8 mg/dl ก็ชัด แต่จากที่ผมเจอมา ถ้าต่ำกว่า 2.0 ก็เริ่มจะชัด สามารถยืนยันได้ด้วยการตรวจแมกนีเซียมไออน(ionized magnesium) ซึ่งสัมพันธ์กับระดับแมกนีเซียมที่สะสมในร่างกาย ปัจจุบันเมืองไทยมีตรวจอยู่ตามโรงพยาบาลใหญ่ๆไม่กี่แห่ง เช่น รพ.รามา รพ.กรุงเทพ วิธีแก้โรคขาดแมกนีเซียมง่ายๆคือ กินผักผลไม้ทุกวัน โดยอย่ากินผสมกับนมหรือเนื้อสัตว์ เพราะแมกนีเซียมจะไปจับกับฟอสฟอรัส ทำให้ดูดซึมไม่ได้

    ผลไม้ที่ปลอดภัยกินได้ทุกวันคือ กล้วย วิธีพกผลไม้เข้าป่าคือ ใช้ผลไม้แห้ง พวก freeze-dried ซึ่งดูดน้ำออกหมดแล้ว ทำให้มีน้ำหนักเบา และยังคงสารอาหารไว้ครบถ้วน หรือ พวกตากแห้ง เช่น กล้วยตาก หรือ ผลไม้กวน เช่น สัปปะรดกวน ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือกินแมกนีเซียมเสริม ซึ่งต้องกินตอนท้องว่างเช่นกัน ผมเคยแนะนำให้ผู้ป่วยรายหนึ่งกินกล้วย ปรากฎว่าเขากินกล้วยน้ำว้าถึงวันละหวี เรียกว่ากินแทนข้าวเลย กินผ่านไปอาทิตย์หนึ่ง อาการปวดเมื่อยเริ่มทุเลาลง เริ่มนอนหลับสบายขึ้น

    คนที่ไปเดินป่านานๆครั้ง ผลไม้แบบ freeze-dried จะเหมาะสมสำหรับซื้อกักตุนไว้ เพราะ เก็บได้นาน และถ้าใกล้หมดอายุก็สามารถนำมากินได้ แต่ข้อเสียของผลไม้ freeze-dried คือราคาแพง

    เราอาจจะได้ยินโฆษณาบ่อยๆว่า แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกแข็ง เวลาหกล้มกระแทก จะไม่มีปัญหาเรื่องกระดูกหักง่ายเกินไป แต่การกินแคลเซียมระหว่างเดินป่า มีอันตราย เพราะ เวลาที่ร่างกายใช้พลังงานมาก จะต้องการแมกนีเซียมสูง แต่แคลเซียมเป็นศัตรูกับแมกนีเซียม เคยมีนักกีฬาที่กินแคลเซียมก่อนฝึกซ้อม ปรากฎว่า บางคนเป็นตะคริว คนไหนที่ซ้อมหนักๆถึงกับชัก ซึ่งอธิบายได้ว่า แคลเซียมไม่ได้อยู่ในกระดูกอย่างเดียว แต่สามารถเข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้อได้ด้วย เมื่อกินแคลเซียมมากเกินไปแมกนีเซียมก็จะต่ำ แล้วแคลเซียมก็จะไหลเข้าไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆ แคลเซียมอยู่ในอวัยวะใดมากเกินไป จะทำให้อวัยวะนั้นหดตัวแล้วไม่ยอมคลายตัว เพราะแคลเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัว ในขณะที่แมกนีเซียมช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว นี่คือเหตุผลที่ทำให้คนเป็นตะคริวหรือชัก ที่จริงแล้วร่างกายเรา ดึงแคลเซียมจากกระดูกมาใช้ได้เวลาที่ขาดแคลน และร่างกายมีระบบป้องกันการสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะอยู่แล้ว แต่คนที่ขาดวิตามินดี ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้ไม่ดี และจะสูญเสียแคลเซียมออกทางปัสสาวะมากกว่าปกติ ด้วยเหตุนี้ วิธีที่ถูกต้องในการเสริมแคลเซียมคือ ได้รับวิตามินดีให้เพียงพอจากการตากแดดตอนเที่ยงๆ (แสงแดดตอนเช้าและเย็น ไม่มีวิตามินดี) ถ้าต้องการเสริมแคลเซียม จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการตรวจปัสสวะเพื่อดูแคลเซียมส่วนเกิน แล้วทำล่วงหน้าวันละเล็กน้อย อาจจะกินนมไม่เกินวันละกล่อง หรือปลาตัวเล็กๆกินพร้อมกระดูก พวกปลาป่นหรือปลากรอบ อาหารเหล่านี้มีแคลเซียมเพียงพอแล้ว ที่จะสะสมในร่างกายจนเต็ม ไม่จำเป็นต้องการแคลเซียมแบบเม็ดเสริม โดยมีข้อควรระวังคือ กินอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงควบคู่ไปกับแคลเซียม เพราะแมกนีเซียมเป็นตัวป้องกัน ไม่ให้แคลเซียมเข้าไปในเซล คนที่ขาดแมกนีเซียมแล้วกินแคลเซียมอย่างเดียว จะมีอันตรายมากขึ้น เพราะแคลเซียมที่มากเกินไป จะเข้าไปทำลายเซล ทำให้เกิดอาการป่วยแบบเดียวกับขาดแมกนีเซียม แต่จะชัดเจนกว่า และมีอาการอื่นมากกว่า เช่น เป็นตะคริว ท้องผูก ตื่นมาฉี่กลางดึก กลางวันก็ฉี่บ่อย หิวน้ำบ่อย ปากแห้ง ปากแตก เวลาเดินป่าจะเหนื่อยง่าย ถ้าเริ่มเป็นหนักก็จะปวดคอ ปวดหลัง ปวดท้อง กินอะไรก็อาเจียน พอหยุดกินแคลเซียมแล้วกินแมกนีเซียมเพิ่มขึ้น อาการเหล่านี้ก็จะหายไปอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาแค่ไม่กี่วัน

    คนที่เหนื่อยง่ายโดยไม่มีอาการขาดแมกนีเซียม อาจจะเกิดจากฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ แร่ธาตุ 2 ตัวคือ ไอโอดีน และ ซิลิเนียม เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์ คนที่ขาดแร่ธาตุเหล่านี้ไปนานๆ จะทำให้ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์ต่ำ (ถ้าขาดไอโอดีนจะมี Free T4 ต่ำ แต่ถ้าขาดซิลิเนียม จะมี Free T3 ต่ำ) ทำให้อัตราการเผาผลาญอาหารต่ำ ทำให้เหนื่อยง่าย หิวบ่อย หนาวง่าย ร้อนง่าย เวลาร้อนแล้วเหงื่อออกมาก คนที่เป็นไทรอยด์ทั้งสูงและต่ำจะขาดไอโอดีนทุกคน แต่ไทรอยด์บางประเภทขาดซิลิเนียมร่วมด้วย ถึงแม้ว่าร่างกายจะสะสมไอโอดีนได้ และ ฮอร์โมนที่ผลิตต่อมไทรอยด์สามารถสะสมไว้ใช้ได้นานเกือบ 1 สัปดาห์ แต่เราก็ควรจะมั่นใจได้ได้รับไอโอดีนจากอาหารอย่างเดียวพอตลอดเวลา เพราะ เวลาเสียเหงื่อ ร่างกายจะเสียไอโอดีนมากกว่าเวลาอยู่เฉยๆ ไอโอดีนจะมีอยู่ในอาหารทะเล และ อาหารที่มาจากผืนดินใกล้ทะเล เพราะ ไอน้ำที่ระเหยขึ้นมาจากทะเลจะมีแร่ธาตุปะปนมาด้วย แล้วไอน้ำเหล่านั้นก็จะถูกลมทะเลและฝนพามาตกลงบนผืนดิน สังเกตุง่ายๆว่าเวลายืนอยู่ริมทะเล จะตัวเหนียว คนที่อยู่ไกลทะเล จึงมักจะเป็นโรคตามอวัยวะที่สะสมไอโอดีน เช่น คอพอก มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ (โรคขาดไอโอดีนอาจเกิดจากสาเหตุอื่นด้วย เช่น ติดเชื้อเรื้อรัง หรือ มีโลหะหนักสะสม) ปริมาณไอโอดีนที่แนะนำต่อวันคือ อย่างน้อยวันละ 150-200 ไมโครกรัม เทียบได้กับ สาหร่ายแผ่นโนริ 4 กรัม นั้นเพียงพอแค่ต่อมไทรอยด์ แต่ไม่พอสำหรับอวัยวะอื่นในร่างกาย และอาจไม่เพียงพอสำหรับต่อมไทรอยด์ ถ้ากินพืชที่มีสารยังยั้งการดูดซึมไอโอดีน เช่น ถั่วเหลือง ฯลฯ อาหารที่มีไอโอดีนและซิลิเนียมสูง คือ พวกอาหารทะเล สาหร่ายทะเล พกเข้าป่าดีมาก เพราะว่ามีน้ำหนักเบา แถมยังมีแมกนีเซียมสูง ส่วนเกลือทะเลไม่ใช่แหล่งไอโอดีน เพราะเกลือทะเลตามธรรมชาติ มีไอโอดีนน้อยมาก จนเรียกได้ว่าไม่มี รัฐบาลจึงต้องบังคับให้เติมไอโอดีนลงในเกลือทะเล กลายเป็นเกลือเสริมไอโอดีน แต่คนที่ออกกฎเรื่องนี้จริงๆคือแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุขไทย ซึ่งไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไอโอดีน จึงไม่รู้ว่าการใส่ไอโอดีนลงในเกลือ ไม่ได้ช่วย เพราะ ไอโอดีนที่เติมลงไป ถ้าเปิดฝาไว้ จะระเหยไปหมด ถึงแม้จะไม่ระเหย แต่ก็ยังไม่ได้ช่วย เพราะร่างกายดูดซึมไอโอดีนจากในเกลือไปใช้ได้เพียง 10% เท่านั้น ในเกลือเม็ด ซึ่งได้มาจากนาเกลือ จะมีไอโอดีนรวมทั้งแร่ธาตุอื่นๆปนอยู่ด้วย เช่น แมกนีเซียม แต่พอกลายเป็นเกลือป่นแล้ว แร่ธาตุพวกนี้จะหายไป ด้วยเหตุนี้ ถ้าจะกินเกลือ เกลือเม็ดที่เรียกว่าดอกเกลือจะปลอดภัยกว่า แต่แหล่งไอโอดีนที่ดีในเวลาปกติ คือพวกอาหารทะเล และน้ำปลา

    วิธีเตรียมอาหารเข้าป่าที่สะดวกสุดคือ แบ่งใส่ถุงเล็กๆ ถุงหนึ่งพอกินมื้อหนึ่ง ยกเว้นข้าวสาร ไม่ต้องแบ่ง แต่ควรพกถ้วยตวงไปด้วย เพราะจำเป็นต้องใช้ถ้วยตวง เพื่อตวงน้ำที่ใช้หุงข้าว (ถ้วยตวงนี้อาจจะครอบไว้บนกระติกน้ำ เพื่อระหว่างทางจะใช้ตักน้ำใส่กระติก) โดยเฉพาะอาหารประเภทผง ถ้าพกไปทั้งถุง เวลากินจะตักแบ่งลำบาก ควรแบ่งใส่ถุงพลาสติกถุงเล็กๆ ถุงหนึ่งแค่พอกินครั้งหนึ่ง ใช้ถุงพลาสติกใสเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ถุงอลูมิเนียมฟอยล์เพราะหนัก อลูมิเนียมฟอยล์เหมาะสำหรับใส่พวกวิตามินที่โดนแสงไม่ได้ เมื่อแยกใส่ถุงเล็กแล้ว อาจมักปากถุงด้วยหนังยางรัดของ หรือ ถ้ามีเครื่องรีดปากถุงพลาสติกด้วยความร้อนจะสะดวกขึ้น แต่รีดเสร็จแล้ว จะมีอากาศเหลือในถุง จะทำให้ถุงแตกเวลากดทับ แก้ไขโดยใช้เข็มเจาะต่ำกว่ารอยปิดปากถุงเล็กน้อย แล้วใช้มือรีดอากาศออกจากถุงอีกรอบ แล้วจึงใช้เครื่องรีดปิดปากถุงอีกรอบ ในแนวต่ำกว่ารูที่เจาะ พวกขนมขบเคี้ยวก็มักจะอัดไนโตรเจนมาจนโป่งก็เช่นกัน ถ้าพกไปแบบโป่งๆจะเปลืองเนื้อที่ในเป้มาก แก้ไขโดยใช้เข็มเจาะตรงปลายด้านหนึ่ง รีดอากาศออกจนแฟบ แล้วใช้เครื่องรีดปากถุงพลาสติก ปิดปากถุงไม่ให้อากาศเข้าออกอีก

    อาหารที่ไม่ควรพกเข้าป่าเป็นเวลานานๆคือ อาหารที่ขึ้นราได้ เช่น ฝอยทอง ส่วนอาหารที่ไม่ขึ้นรา คือ อาหารที่ปิดผนึกสำเร็จรูปมาจากโรงงาน มีบอกวันหมดอายุชัดเจน

    ถึงแม้ว่าจะไปกับกลุ่มก็ควรพกอาหารส่วนตัวติดไปด้วย เพราะเราอาจหลงป่า, หิวกลางทาง, ต้องรอกลุ่มทำกับข้าวเสร็จ หรือ กับข้าวไม่ถูกปาก เพราะในป่าจะหากับข้าวเหมือนในเมืองไม่ได้ ถ้าส่วนรวมพกอะไรมา หรือใครทำกับข้าวอะไร ก็ต้องทนกิน บางคนกินอาหารโดยไม่ห่วงสุขภาพมากนัก แค่มีข้าวสารกับกุนเชียง เขาก็อยู่ได้แล้ว โดยที่เขาไม่รู้ว่า เขาจะเป็นโรคที่เกิดจากขาดสารอาหารตามมา เช่น มะเร็ง เบาหวาน ผมร่วง

    ปัญหาของการพกอาหารเข้าป่าคือ ประมาณไม่ถูกว่า ตัวเองกินอะไร ปริมาณเท่าไหร่ ดังนั้น ควรเริ่มต้นจากทริปสั้นๆ 1-3 วัน ใกล้ๆบ้าน เพื่อเวลาไปทริปไกลๆ ใช้เวลานานๆ จะได้ไม่ต้องลำบากแบกอาหารไปเกินความจำเป็น การเดินป่าช่วงสั้นๆ ยังช่วยให้เรารู้พละกำลังของตัวเองอีกด้วย เพราะถ้าเดินแค่วันหรือสองวัน แล้วรู้สึกเหนื่อยมาก แสดงว่าร่างกายผิดปกติ อาจเป็นโรคขาดแมกนีเซียม แต่ถ้ายังมีพละกำลังเหลือเฟือ แสดงว่าเดินทางไกลกว่านี้ได้

    อาหารควรเก็บไว้ให้มิดชิด อย่าให้มีกลิ่น กลิ่นอาหารจะดึงดูดสัตว์หลายชนิด ตั้งแต่หนูจนถึงช้าง หนูจมูกไวมาก แม้แต่อาหารแห้งที่อยู่ในถุงปิดเคลือบจนไม่มีกลิ่นออกมา มันยังหาเจอ หนูจะแทะเป้สะพายหลังราคาแพงของเรา จนเป็นรูเพื่อมุดเข้าไปกินอาหาร บางทีไม่มีอาหารมันก็ยังกัด ดังนั้น ควรโปรยอาหารเลี้ยงหนูไว้ด้วย แต่ปัญหาใหญ่คือ ช้าง ซึ่งเป็นสัตว์ที่จมูกไวที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมด จมูกดีกว่าหนูและหมา คณะของผมเคยเจอช้างบุกที่พักในป่ากลางดึกมาแล้ว 2 ครั้ง โดยไม่ได้ทำอันตรายคน แต่ทำลายแหล่งอาหารจนพังหมด รื้อเป้สะพายหลังซึ่งทำจากผ้าไนล่อนหนาๆ จนขาดเป็นชิ้นๆ เพื่อจะกินอาหารข้างใน ช้างจะกินอาหารแห้งไปทั้งถุง โดยเฉพาะพวกถุงใส่ไมโลโอวัลตินและมาม่า มันชอบมาก ยกเว้นข้าวสารบ้วนทิ้งหมด ทำให้คืนนั้นพวกเราไม่ได้นอนกันเลยทั้งคืน เพราะต้องหนีออกมาที่พักจนถึงรุ่งเช้า รอให้ช้างไปแล้ว จึงกลับมาเย็บเป้สะพายหลัง จึงเดินทางออกมาได้

    ดูสินค้าของเราคลิก..>>>

    เครดิต:ผู้เขียนเนื้อหาเหล่านี้เผยแพร่เพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง จึงไม่มีลิขสิทธิ์
     
  15. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    เครื่องปั่นไฟฟ้า แค่ใช้มือปั่น 15 นาที ออเดอร์ล้นจองนับล้านเครื่อง!!!


    เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร
    เผยแพร่เมื่อ 3 ก.ค. 2019
    ชลบุรี-ลุงชื่น ฝันเมฆ ในวัย 75 ปี อดีตพนักงานการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย หลังจากเกษียณอายุราชการได้ใช้เวลาถึง 12 ปี คิดค้นต้นแบบเครื่องจักรไฟฟ้าแรงสูงประหยัดพลังงาน

    โดยไม่ต้องใช้น้ำมัน ถ่านหิน หรือแก๊ส ให้เกิดมลภาวะ เพียงใช้ระบบเฟืองเข้ามาช่วยขับเคลื่อนก็สามารถผลิตกระแสไฟฟ้า 220 โวลท์ 500 วัตต์ ได้เหมือนกระแสไฟฟ้าใช้งานทั่วไปทั้งไฟแสงสว่าง เครื่องซักผ้า แอร์ พัดลม เครื่องตัดเหล็ก นับเป็นสุดยอดมันสมองคนไทย

    ล่าสุดจดสิทธิบัตรเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภูมิปัญญาคนไทยเรียบร้อย คนทราบข่าวโทรศัพท์สั่งจองนับล้านเครื่อง ราคาต้นทุนการผลิตเพียง 16,000 บาท/เครื่อง ลดค่ากระแสไฟฟ้าได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

    โดยตัวเครื่องจักรต้นแบบ(อาจจะยังไม่สวยงาม) มีขนาดเล็ก นน.เบา (ประมาณ 100 กก.) ด้วยตัวถังกว้าง 80 ซม. ยาว 1 เมตร เคลื่อนย้ายสะดวก มีหัวใจเป็นไอซีบรรจุในกล่องแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า 220 โวลท์ ใช้มือปั่นเบาๆ 15 นาที จะได้ไฟฟ้าสม่ำเสมอ 6-8 ชม. รับประกันไฟไม่ตก ใช้งานได้ระยะยาว

    ต้องปรบมือดังๆ ให้ลุงชื่น ที่คิดค้นขึ้นมาจากมันสมองของคนไทยจริงๆ ล่าสุดได้นำให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา นำวิศวกรเข้าตรวจสอบผ่านเรียบร้อย พร้อมนำเข้าประมูลให้ผู้มีทุนซื้อสิทธิบัตรนำไปผลิตให้ผู้สนใจได้ใช้ไฟฟ้าในราคาถูก ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ได้ในวันและเวลาราชการ
     
  16. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    เครื่องปั่นไฟฟ้า แค่ใช้มือปั่น 15 นาที
    จะได้ไฟฟ้าสม่ำเสมอ 6-8 ชม.
    ผลิตกระแสไฟฟ้า 220 โวลท์ 500 วัตต์ ได้เหมือนกระแสไฟฟ้าใช้งานทั่วไปทั้งไฟแสงสว่าง เครื่องซักผ้า แอร์ พัดลม เครื่องตัดเหล็ก ลดค่ากระแสไฟฟ้าได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์
    แต่ราคายังแพง 16,000 บาท/เครื่อง

    ข้างบนที่คุณเกษม นำมาลง น่าสนใจแต่ราคายังสูงมาก ต้องรอให้นายทุนผลิตเป็นอุตสาหกรรมทำมากออกมาขายราคาถูก แต่เสนอแนะให้ลุงชื่น ฝันเมฆ หรือนายทุนดิดต่ออีก คือคนไม่ต้องไปปั่นจักรยาน เอาไฟฟ้าที่ได้มาปั่นมันเองเลย ทำให้เป็นอุปกรณ์ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักไม่มาก แต่ผลิดไฟฟ้า เข้าเก็บแบตเตอรี่ตามต้องการ จะเก็บกี่ก้อนก็เต็มพร้อมใช้ ชาร์ทเสร็จเร็ว หรือนำระบบนี้ที่ทำเพิ่มเติมแล้วไปใช้ในรถกะบะไฟฟ้าพลังงานไม่มีวันหมดแล้วสามารถมีพลังงานเหลือมาใช้ใน งานภาคสนามในกรณีออกเดินทางอยู่ข้างนอกหรือเมื่ออยุ่บ้านก็ใช้ในงานบ้านช่วยประหยัดไฟฟ้าบ้าน เช่น แอร์ พัดลม ทีวี ตู้เย็น และไฟฟ้า
     
  17. ด้วยรัก30

    ด้วยรัก30 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    3,776
    ค่าพลัง:
    +1,221
    แค่ฟังมาแล้วเก็บมาเล่าแต่เรายังไม่เชื่อว่าจะมาจริง
    ดาวเคราะห์น้อย2006QV89กำหนดชนวันที่9:9:19เวลา07:03น.บริเวณแปรซิฟิคผลกระทบคือประเทศไทย เขมร ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน เวียดนาม ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้
    แต่ข้อมูลเพิ่มว่าคนเล่าบอกเพิ่มว่าหลวงปู่เปลี่ยน อาจเคยเล่าบอกลูกศิษย์ ว่าอาจจะมีอุกกาบาตมาก่อนไม่บอกเล็กหรือใหญ่

    แต่สิ่งน่าสนใจกับไปอยู่ข้อความที่คนติดตามได้ลงความรู้หรือข้อมูลอย่างอื่นๆเขานั้นได้รู้มาแล้วเขียนไว้น่าสนใจให้ไปคิดต่อกันเอาเอง(ถือว่าเป็นการบันทึกไว้กันบันทึกไว้ดูกัน)

    เอกชัย นิพนุติยันต์4 วันที่ผ่านมา
    ข่าวล่าสุดนาซ่าเตือนปี ๒๕๖๕ มีดาวเคราะห์น้อยจะชนโลก ไว้รอฟังข่าวนาซ่าเตือนเรื่องนี้ เพราะเขาคงไม่เตือนกระชั้นชิด
    มอนโช โฮตาคุ2 วันที่ผ่านมา
    เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ30เมตร มั้ง (เห็นเขาว่า)


    วิชา ในความคิดเรา

    ถ้าอุตกาบาต ลูกเล็กไม่ถึง 1 กิโลเมตร ไม่น่ากลัว โลกเราเอาอยู่ ถ้าโลกเรายังหมุดเป็นปกติตอนนี้หรือบรรยากาศโลกตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลการทำลายยังปกติอยู่จึงไม่กลัว เชื่อว่าแรงเหวี่ยงของโลกจะทำให้ดาวเคราะห์ตกได้เหนือกับใต้เท่านั้น และถ้าก้อนยังไม่ใหญ่กว่าที่บอกเชื่อว่าบรรยาศของโลกเผาไหม้ไปด้วยทำให้ตกถึงพื้นโลกได้ก้อนเล็กลงทำอันตรายได้ไม่เท่าไรจึงไม่น่ากลัวอะไร
    ที่เป็นห่วงก็มีคำทำนายไว้แล้วตกที่กลางมหาสมุทรอินเดีย ลูกประมาณ1กม.ทำให้ผลกระทบต่อคลื่นทำให้น้ำท่วมด้วยกับเมืองเก่า ไทยเราก็เก่าบ้านเชียงยังไง มันตกได้กลางโลกแสดงโลกตอนนั้นต้องมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นแล้ว ผู้สังเกตุเช่นนาซ่าและประเทศต่างๆไปไหนถึงไม่บอกปล่อยให้มันตกลงมาได้ คำทำนายบอกไว้เกิดสงครามไปก่อนมันมาตกของอุตกาบาตกับเพิ่มความสับสนและความทุกข์ร้อนในเรื่องน้ำท่วมเข้าไปอีกให้กับคนลำบากเรื่องน้ำซ้ำเข้าไปอีก


    Pudzaขอขอบคุณอาจารย์เบ้มากๆครับ ที่ให้ความรู้ดีๆ Sangbudda1 วันที่ผ่านมา
    ถ้าเกิดภัยพิบัติจริงใครๆก็ลำบากโดยเฉพาะก.ท.ม คือมีสะพานลอยหรือทางรอยฟ้าเยอะ และทุกจังหวัดทำสะพานลอยข้ามถนนใว้หมดแล้ว ถ้าแผ่นดินไหวสะพานลอยพัง สรุปน้ำมันเต็มถังก็ช่วยไม่ได้ ผมเชื่อเรื่องภัยพิบัติจึงช่วยเตือนภัยเรื่องสะพานลอยที่มีอยู่ทั่วประเทศ หรือคนพวกนั้นจะโดนล็อคใว้แล้ว(กรรมที่พวกนั้นสร้างใว้)
    Babu Babu2 วันที่ผ่านมา (แก้ไขแล้ว)
    ในคำภีร์(อัลกุรอาน)มีอยู่หลายบทและหลายโองการซึ่งได้ดำรัสระบุไว้อย่างชัดเจนว่าใกล้ๆก่อนจะถึงวันสิ้นโลกซึงเป็นสัณญาณก่อนวันสิ้นโลกจะมีปรากฏกาณ์จะเรียกว่าดาวเคราะน้อยหรืออุกาบากซึ่งเป็นวัตถุนอกโลกจะวิ่งมาชนโลกและเป็นความหายนะครั้งยิ่งใหญ่สำหรับโลกมนุษย์ยุคสุดท้ายก่อนวันจะสิ้นโลกจะมาถึงและนี้คือหนึ่งในสิบสัญญาณของวันสิ้นโลก(Kiyamat)แต่ไม่ระบุวันและเวลาวันเท่านั้นเองและเป็นสัจธรรมอันแท้จริงและไม่มีผู้ใดปฎิเสธในหมู่ผู้ศรัทธา.Wallahhua"lamaxlam
    Huaweiy5 Mobilephone4 วันที่ผ่านมา
    "ใต้สูงเหนือต่ำน้ำทะลักไหลเข้าตรงกลาง น้ำใหญ่บนไหลลงด้านล่าง น้ำใหญ่ล่างดันอัดขี้นด้านบน" @ปริศนาพระโอวาท พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ในเดือนตุลาคมพศ. 2558.ณ.ต.ตลาด.อ.เมือง.จ.สุราษฎร์ธานี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มีนาคม 2022
  18. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ไม่ได้มาโฆษณานะครับ ผมเห็นไอเดียของเขาดีจริง จึงนำมาฝากให้ได้ชมกันครับ


    X File 007
    เผยแพร่เมื่อ 26 ต.ค. 2018​

    EAZY CHEF ชุดซึ้งนึ่งครบคุ้ม 1618 22 min ใช้ได้กับเตาทุกชนิด ยกเว้นเตาไม่โครเวฟ ถ้าในช่วงที่เกิดภัยพิบัติ ไม่มีไฟฟ้าใช้ ก็ใช้กับเตาแก๊ส หรือเตาถ่าน เตาฟืน ก็ได้ หุงช้าวก็ได้ ทำอาหารก็ได้ ทำขนมก็ได้ กลั่นน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดก็ได้ ประหยัดเชื้อเพลิงดีด้วย เพราะตั้งเตาครั้งเดียว ทำอาหารหลายๆอย่างไปพร้อมกันครับ
     
  19. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    วิธีนึ่งข้าวในปริมาณมากๆ เหมาะสำหรับที่หลบภัยที่มีคนอยู่กันมากๆครับ


    เผยแพร่เมื่อ 29 ม.ค. 2019​

    วิธีการทำข้าวนึ่งขาย โดยคุณอั๋น เจ้าของร้านข้าวเพื่อคุณ ผู้มีสาขาร้านข้าวนึ่งถึง 5 สาขา
     
  20. เกษม

    เกษม ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    24,710
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +77,192
    ห่อหมก อาหารแบบง่ายๆ ครับ


    Benchawan Place
    เผยแพร่เมื่อ 25 เม.ย. 2015​
     

แชร์หน้านี้

Loading...