เมตตาฌาน ของกบิลฤาษีมหาโพธิสัตว์ (อดีตชาติของพระพุทธเจ้า)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย นะมัตถุ โพธิยา, 2 กุมภาพันธ์ 2014.

  1. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    เมตตาฌาน ของกบิลฤาษีมหาโพธิสัตว์
    (อดีตชาติของพระพุทธเจ้า)



    เมตตาฌาน เป็นเทคนิควิธีการแผ่เมตตาชั้นยอดของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่สมัยเมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นกบิลฤาษี
    ซึ่งปรากฏอยู่ในพุทธประวัติ ตอนที่เล่าถึงความเป็นมาในการก่อตั้งกรุงกบิลพัสดุ์ ดังนี้

    หลายพันปีก่อน ในช่วงต้นๆ ก่อนที่มีจะสร้างกรุงกบิลพัสดุ์ (อันเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประสูติ)
    ครั้งกระนั้น พระเจ้าโอกกากราช ผู้ปกครองประเทศอินเดีย ทรงหลงใหลต่อรสเสน่ห์ ของพระมเหสีองค์ใหม่ เมื่อทรงมีประสูติกาลจึง พระราชทานพร ...ให้พระมเหสีขออะไรก็ได้เป็นรางวัล

    ...พระมเหสีจึงทูลขอพระราชสมบัติและแผ่นดินให้กับพระราชโอรส ครั้นพระองค์จะไม่ยกให้ก็เกรงจะเสียสัตย์ จึงจำเป็นต้องพระราชทานพระราชสมบัติ ให้แก่พระโอรสอันเกิดกับพระมเหสีองค์ใหม่ แล้วมีพระราชดำรัสให้พระราชบุตรทั้ง 4 และพระราชธิดาทั้ง 5...ไปสร้างนครอยู่ใหม่

    จึงเป็นมูละในการสร้างความโกรธแก่เหล่า พระราชบุตร พระราชธิดา และบริวารเป็นอย่างมาก จึงได้ยกรี้พลเดินทางไปให้ไกลจากถิ่นฐานเดิม

    เมื่อขบวนทัพที่จะสร้างนครใหม่ มาถึงป่าป่าไม้สากะใหญ่อยู่ริมฝั่งสระโบกขรณีข้างภูเขาหิมพานต์ ก็ได้พบกับฤาษี นามว่า”กบิล” ซึ่งมีอาศรมอยู่ที่ในป่าหิมพานต์นั้น

    กบิลฤาษี...คือพระมหาโพธิสัตว์(อดีตชาติของพระพุทธเจ้า) ซึ่งต่อมาได้อุบัติเป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

    กบิลฤาษี ...เป็นผู้เรืองวิชาสำเร็จวิชาเมตตาฌาน
    ที่มีพลังแผ่ไปไกลถึง ๑๐๐ โยชน์ แม้ว่าอาศัยอยู่อาศรมในดงลึก แต่เมตตาฌานได้แผ่พลัง ไปเป็นวงกว้างไกล ส่งผลให้ผู้คนและสัตว์ทั้งหลายเกิด ความสุขขึ้นโดยไม่รู้ตัว สรรพสิ่งในบริเวณปริมณฑลป่านี้ต่างก็มีความสุข สัตว์ที่เคยเป็นศัตรูกันก็กลายเป็นมิตร อย่างเช่นพังพอนกับงูเห่าเคยทะเลาะกันก็กลับกลายเป็นมิตรต่อกัน เสือกับกวางที่เคยกินกันเป็นอาหารก็กลายเป็นเพื่อนกัน คนที่เกลียดกันก็กลับมารักกัน ด้วยพลังแห่งเมตตาฌานของฤาษีกบิล ทั่วทั้งป่าหิมพานต์จึงมีแต่ความสงบสุข-ร่มเย็นมาตลอด

    พระราชบุตร พระราชธิดาจึงเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดให้กบิลฤาษีฟัง พร้อมกับเรื่องที่จะกลับไปชำระบัญชีกับพระโอรสและพระมเหสีของพระราชบิดาให้หายแค้น

    กบิลฤาษีจึงจัดพิธีกรรมเมตตาฌานขึ้น แล้วให้พระราชโอรส พระราชธิดาและไพร่ฟ้าทั้งหลายเข้าร่วมพิธีกรรม...ด้วยการเจริญเมตตาฌาน

    ด้วยอำนาจของเมตตาฌาน...
    ความโกรธเกลียดเคียดแค้นของมนุษย์ทั้งหลาย ก็สลายไป แล้วกลับมามองกันในแง่ดี...!
    พระราชโอรสและพระราชธิดาจึงเลิกคิดที่จะยกพลกลับไปยึดเมืองของพระราชบิดา

    ฤาษีกบิล จึงแนะให้สร้างเมืองในเขตปริมณฑลนี้ แล้วจะเกิดความสันติสุข (ด้วยอยู่ในรัศมีของเมตตาฌาน)
    พระราชโอรสและพระราชธิดาจึงได้ขอเอาบริเวณป่านั้น สร้างนครขึ้นมา
    และให้ชื่อว่า “กรุงกบิลพัสดุ์” ตามนามของกบิลฤาษี




    กราบขอบพระคุณ เอกสารอ้างอิง:

    ๑) พระไตรปิฎกเล่มที่ 9 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค อัมพัฏฐสูตร (หัวข้อที่ ๑๔๙ ว่าด้วยศากยวงศ์)<O:p</O:p
    http://larndham.net/cgi-bin/stshow.pl?book=09&lstart=1920&lend=2829&word1=อัมพัฏฐสูตร<O:p</O:p

    ๒) สถาบันพลังจิตตานุภาพ
    เอกสารประกอบ "พิธีเจริญเมตตาฌาน คณะครูสมาธิ"
    http://www.samathi.com/

    ๓) นสพ.ไทยรัฐ
    หัวข้อข่าว "สมาธิจิตเจริญเมตตา 12 ปี..พลังจิตตานุภาพ"
    https://www.thairath.co.th/column/life/badal/17337
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2014
  2. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    เมตตาฌาน ของกบิลฤาษี...มีอยู่จริง



    จาก...กบิลฤาษี
    สู่...หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    สืบทอดต่อโดย...หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธฺโร
    เป็นมรดกล้ำค่าให้...สถาบันพลังจิตตานุภาพ


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2014
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    แต่ละสายวิชา ล้วนมีของดี ที่สามารถช่วยผู้ปฏิบัติและบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้แก่สาธารณะชน

    ที่เหลือ ...คือ การเผยแผ่ และ สามารถรวบรวมจำนวนผู้ที่ประสพความสำเร็จจากการปฏิบัติ ในแต่ละสายที่แต่ละคนถนัด ให้ได้มากที่สุด

    ให้เป็นสัดส่วน ที่มากพอจะต้านแรงอกุศลกรรมที่คนจำนวนมากสร้างขึ้นมาใหม่
    และ บรรเทาภัย ที่เกิดจากวิบากกรรมเก่าตามมาทัน

    เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนและส่วนรวม

    -------------------------------------------------------------------


    ...สภาพความเดือดร้อนที่กำลังเกิดในปัจจุบัน

    แม้พระผู้ปฏิบัติดี ในสายกรรมฐานพระป่า ที่ท่านหลบมาวิเวกแถวป่าที่อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ได้บอกล่วงหน้าไว้กับผมเมื่อ3ปีก่อน

    และเป็นที่ทราบกันดี ตามที่ท่านบอกผมว่า ครูบาอาจารย์ล้วนภาวนา แผ่เมตตา แผ่กุศล
    ฯลฯ ถวายแก่หลักบ้านหลักเมือง ทุกท่าน ทุกพระองค์ ให้หนักเป็นเบา

    .....และ ท่านสรุปให้เพียงว่า " ธรรม ย่อม ชนะ อธรรม" (ถ้าเราไม่หลงทำอกุศลกรรมเสียเอง )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 กุมภาพันธ์ 2014
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    บางวาระ ที่หลวงพ่อวิริยังค์ ได้นำกลุ่มผู้ภาวนา มาร่วมกันเจริญภาวนา แผ่กระแสเมตตา
    บนดอยอินทนนท์ แม้ไม่ได้ขึ้นไปกับคณะของท่าน

    แต่ก็ทราบถึงเมตตา กรุณาของท่านที่มีต่อส่วนรวม

    ขออนุโมทนา ในมหากุศลด้วย สาธุ
     
  5. octobernism

    octobernism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2012
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +150
    ผมเองก็ขอ อุทิศตัวทดแทนพระคุณความเมตตาที่หลวงพ่อได้แผ่มาให้เป็นบุญคุ้มกบาลหัว
    ดีใจมากๆที่ได้เกิดมาเรียน และฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อ วิชาความรู้ที่หลวงพ่อสั่งสอน มีค่าหาประมาณไม่ได้จริงๆ สาธุ...กับตัวเองที่ได้เรียนสมาธิกับพระอาจารย์ ทำให้ผมมั่นใจว่าไม่เสียชาติเกิดแล้ว สาธุๆ
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,973
    หลวงพ่อวิริยังค์ ท่านอายุมากแล้ว แต่ก็ยังเดินทางไปเผยแผ่วิชาสมาธิ และธรรมะ ตามแนวพุทธศาสน์ คนต่างประเทศ เลื่อมใสศรัทธาท่านมาก


    อีกทั้งท่านเป็นพระรุ่นท้ายๆที่ได้ทันหลวงปู่มั่น ปรมาจารย์สายพระป่ากรรมฐานอีกด้วย

    คนไทย ที่มีโอกาส หลายท่านที่มีโอกาสดี อย่าทิ้งโอกาสนี้
     
  7. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    เคล็บลับ...เมตตาฌาน
    (เท่าที่พอจะเผยแผ่แก่สาธารณะได้)


    ๑.ระยะเวลาในการนั่งสมาธิเพื่อสะสมพลังก่อนแผ่เมตตา ต้องกำลังพอดี
    เพราะ...ถ้าน้อยไป ก็ได้พลังน้อย หรือ ถ้ามากไป ก็จะเสียพลังมากกว่าได้

    ๒.คำภาวนาในขณะนั่งสมาธิ ต้องเป็นเฉพาะเรื่อง"เมตตา"เท่านั้น และต้องเป็นคำสั้นๆไม่เกิน ๕ พยางค์

    ๓. ผู้ที่ยังไม่มีพลังมากมายจนล้นเหลือ ไม่ควรเข้า"อรูปฌาน"ก่อนแผ่เมตตา

    ๔. นิมิตสมาธิที่ใช้งานในการแผ่เมตตา เป็นภาพกสิน ๑ ในกสิณ ๑๐ ชนิด

    *** ๕. เป็นการแผ่เมตตา โดย"ใช้งานนิมิตกสิณ" คือ ใช้พลังบังคับให้ภาพกสิณแปรรูปร่างและเคลื่อนไหวไปสู่เป้าหมายที่ต้องการแผ่เมตตาถึง (ไม่ใช่การสวดบทแผ่เมตตา ซึ่งเป็นประโยคอย่างที่ใช้กันอยู่ทั่วไป)

    ๖. ระยะเวลาในการแผ่เมตตา ต้องกำลังพอดี เพราะ...ถ้ามากไป ก็จะเสียพลังจนมากเกินไป

    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ขออนุญาตสงวนที่จะไม่บอก :
    - ตัวเลขระยะเวลา ในการนั่งสมาธิเพื่อสะสมพลังก่อนแผ่เมตตา
    - ตัวเลขระยะเวลา ในการแผ่เมตตา
    - ชนิดกสิณนิมิต ที่ใช้งานเฉพาะสำหรับเมตตาฌาน

    เพราะทางสถาบันพลังจิตตานุภาพ
    สงวนไว้ให้รู้ เฉพาะผู้ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อวิริยังค์ (คือผู้ที่จบหลักสูตรครูสมาธิของสถาบัน) เท่านั้น


    -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



    สถาบันพลังจิตตานุภาพ
    ก่อตั้งและสอนโดย...
    พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธฺโร)


    สนใจรายละเอียดหลักสูตรครูสมาธิ ของสถาบันพลังจิตตานุภาพ
    เชิญคลิก : สถาบันจิตตานุภาพ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2014
  8. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    เมตตาฌาน...ในชีวิตประจำวัน


    [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย...
    ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต แม้ชั่วการเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น
    ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
    ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
    ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
    ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ

    [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย...
    ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น
    ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
    ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
    ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
    ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ

    [๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย...
    ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น
    ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน
    ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท
    ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
    ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ

    ------------------------------------------------------------------------

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ (พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒)
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    บรรทัดที่ ๒๑๐ - ๒๔๖. หน้าที่ ๙ - ๑๑.


    กราบขอบพระคุณแหล่งข้อมูล :
    พระไตรปิฎกออนไลน์(เว็บ84000.org)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2014
  9. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    พระสุภูติเถระ
    เอตทัคคะในทางอรณวิหาร
    (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา)


    พระสุภูติ เกิดในวรรณแพศย์ เป็นบุตรของสุมนเศรษฐี ผู้เป็นน้องชายของอนาถบิณฑิก เศรษฐี ในนครสาวัตถี ท่านเป็นผู้มีลักษณะดี ผิวพรรณผ่องใสสะอาด สวยงาม จึงได้นามว่า “สุภูติ” ซึ่งถือว่าเป็นมงคลนาม มีความหมายว่า “ผู้เกิดดีแล้ว”


    ออกบวชคราวฉลองพระเชตวัน
    เหตุการณ์ที่ชักนำให้ท่าน ได้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็เนื่องมาจากอนาถบิณฑิก เศรษฐี ผู้เป็นลุง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ขณะประทับอยู่ ณ ป่าสีตวัน เมื่องราชคฤห์ และได้ฟังพระธรรมเทศนา ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วกราบทูลอาราธนา พระผู้มีพระภาค เพื่อเสด็จกรุงสาวัตถี เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงรับอาราธนาแล้ว รีบเดินทางกลับมาสู่กรุงสาวัตถี ได้จัดซื้อที่ดิน อันเป็นราชอุทยานของเจ้าชายเชตราชกุมาร ด้วยวิธีนำเงินมาวางเรียงให้เต็มพื้นที่ ตามที่ต้องการ


    ปรากฏว่าอนาถบิณฑิกเศรษฐี ต้องใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ จึงได้พื้นที่พอแก่ความ ต้องการ จำนวน ๑๘ กรีส (๑ กรีส = ๑๒๕ ศอก) และใช้เงินอีก ๒๗ โกฏิ สร้างพระคันธกุฎีที่ ประทับ สำหรับพระผู้มีพระภาค และเสนาสนะสำหรับพระสงฆ์สาวก แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้ม ประตูพระอาราม เจ้าชายเชตราชกุมาร จึงขอมอบพื้นที่และจัดสร้างให้ โดยขอให้จารึกพระนาม ของพระองค์ไว้ที่ซุ้มประตูพระอารามนั้น “เชตวัน” ดังนั้น พระอารามนี้จึงได้นามว่า “พระเชตะวันมหาวิหาร”


    ในวันที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จัดการฉลองพระวิหารเชตะวันนั้น ได้กราบอาราธนา พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหาร สุภูติกุฎุมพี ผู้เป็นหลาน ได้ติด ตามไปร่วมพิธีช่วยงานนี้ด้วย ครั้นได้เห็นพระฉัพพรรณรังสี ที่เปล่งออกจากพระวรกายของพระบรมศาสดา สวยงามเรืองรองไปทั่วบริเวณ ทำให้เกิดศรัทธาเลื่อมใส


    เมื่อการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีพระพุทธองค์เป็นประมุขเสด็จเรียบร้อยแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสพระธรรมกถาอนุโมทนาทาน สุภูติกุฎุมพี ได้ฟังแล้วยิ่งเกิดศรัทธามากขึ้น จึงกราบทูลขออุปสมบท ในพระธรรมวินัย ครั้นได้อุปสมบทสมความปรารถนาแล้ว ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก จนเชี่ยวชาญ จากนั้นได้เรียนพระกรรมฐาน จากพระบรมศาสดาแล้ว หลีกออกไปบำเพ็ญสมณธรรม เจริญวิปัสสสนากรรมฐานอยู่ในป่า ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล สิ้นกิเลสอาสวะ เป็นพระอริยบุคคล ชั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา


    พักกลางแจ้ง ฝนจึงแห้งแล้ง
    พระสุภูติเถระ โดยปกติแล้วมักจะเข้าฌานสมาบัติ เพื่อแสวงหาความสุขอันเกิดจากการสิ้นกิเลส
    ท่านประกอบด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ:-
    ๑. อรณวิหารธรรม คือ เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา (หรือเป็นอยู่อย่างไม่มีข้าศึก)
    ๒. ทักขิเณยยบุคคล คือ เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน


    เพราะท่านมีปฏิปทา นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น อันเป็นการช่วยเผยแผ่พระพุทธ ศาสนาทางหนึ่ง แม้แต่พระเจ้าพิมพิสาร เมื่อได้ทรงทราบว่า ท่านเป็นผู้มีปกติเข้าฌานที่ประกอบด้วยเมตตาเป็นประจำ ไม่เว้นแม้แต่ในขณะบิณฑบาต ก็ยังแผ่เมตตาให้แก่ผู้ถวายอาหารบิณฑบาต อย่างทั่วถึง ครั้นเมื่อพระเถระจาริกมาถึงแคว้นมคธ พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้อาราธนาให้ท่านจำ พรรษาที่แคว้นมคธ และท่านก็รับอาราธนาตามนั้น


    แต่เนื่องจากพระเจ้าพิมพิสาร ทรงมีพระราชกิจมาก จึงลืมรับสั่งให้จัดเสนาสนะสถานที่พัก ถวายท่าน ดังนั้น เมื่อท่านมาถึงแล้ว จึงไม่มีที่พัก ท่านจึงต้องพักกลางแจ้ง ด้วยอำนาจแห่งคุณของท่าน จึงทำให้ดินฟ้าอากาศปรวนแปร ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ชาวไร่ชาวนาปลูกพืชผลไม่ได้ผลผลิต ต้องเดือดร้อนไปทั่ว ความทราบถึงพระเจ้าพิมพิสาร ทรงใคร่ครวญทบทวนแล้ว ทราบชัดว่า เพราะพระเถระจำพรรษากลางแจ้ง จึงเป็นเหตุให้ฝนแล้งไปทั่ว ดังนั้น จึงทรงรีบแก้ไขด้วยการรับ สั่งให้สร้างกุฎีถวายท่านโดยด่วน เมื่อกุฎีสำเร็จแล้ว จึงได้อาราธนาท่าน ให้เข้าพักอาศัยอยู่จำพรรษาในกุฎีนั้น จากนั้น ฝนก็ตกลงมาชาวประชาก็พากันดีใจ ปลูกพืชผักผลไม้ก็ได้ผลผลิตดี ตามต้องการ ความทุกข์ความเดือดร้อนก็หายไป



    ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคจึงทรงยกย่องท่าน ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลาย ในทางอรณวิหาร (เจริญฌานประกอบด้วยเมตตา) และ ทักขิเณยยบุคคล (เป็นผู้ควรรับ ทักษิณาทาน)


    ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน



    กราบขอบพระคุณแหล่งข้อมูล :
    ธรรมะพีเดีย | Thammapedia.com : พระสงฆ์ : ประวัติพระสุภูติเถระ เอตทัคคะในทาง อรณวิหาร (เจริญฌานประกอบด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2014
  10. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    พระพุทธองค์ทรงแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ อย่าง
    ๑. หลับก็เป็นสุข
    ๒. ตื่นก็เป็นสุข
    ๓. มีหน้าตาผ่องใสเบิกบาน
    ๔. ไม่ฝันร้าย
    ๕. เป็นที่รักของมนุษย์
    ๖. เป็นที่รักของเทวดาและอมนุษย์
    ๗. เทวดารักษา
    ๘. ไม่เป็นอันตรายด้วยยาพิษหรือศาสตรา
    ๙. จิตเป็นสมาธิ
    ๑๐. เมื่อจะตายมีสติไม่หลงตาย
    ๑๑. หากไม่บรรลุมรรคผลในชาตินี้ ก็จะได้ไปเกิดในพรหมโลก ( ข้อนี้หมายเฉพาะผู้ที่เจริญเมตตาจนได้ฌาน )

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2014
  11. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    การเจริญเมตตา (หรือการเจริญพรหมวิหาร)
    อริยสัจจากพระโอษฐ์​


    เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักตั้งมั่น ดํารงอยู่ด้วยดีในภายใน เเละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นเเล้ว จักไม่ครอบงําจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น ดํารงอยู่ด้วยดีเเล้วในภายใน เเละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นเเล้ว ไม่ครอบงําจิตได้ เมื่อนั้นเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทําให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติ ทําให้เป็นดุจยาน ทําให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีเเล้ว


    เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นเเล้วจากบาปอกุศลที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์เเล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติเเล้ว นามกายก็สงบ เธอมีนามกายสงบเเล้ว ก็เสวยสุข เมื่อเธอมีสุข จิตก็ตั้งมั่น


    เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น เเละเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เเผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวาง


    มีจิตสหรคตด้วยกรุณา เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น เเละเธอมีจิตสหรคตด้วยกรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เเผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวาง.


    มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น เเละเธอมีจิตสหรคตด้วยมุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เเผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวาง


    มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น เเผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น เเละเธอมีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท เเผ่ไปสู่โลกหมดทุกส่วน โดยประการทั้งปวง ในที่ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องตํ่า เบื้องขวาง


    เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ ผู้มีกําลังย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยาก ฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุติ (กรุณาเจโตวิมุติ...., มุทิตาเจโตวิมุติ...., อุเบกขาเจโตวิมุติ....) ที่เจริญเเล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทําอย่างมีขีดจํากัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น



    สระโบกขรณี มีนํ้าใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาเเต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ เเละจากที่ไหนๆ อันความร้อนเเผดเผา เร่าร้อน ลําบาก กระหาย อยากดื่มนํ้า เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นเเล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มนํ้า เเละความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ เเม้ฉันใด เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศเเล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา เเละอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง


    เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีเเล้ว เมื่อนั้น เธอจักเดินไปทางใดทางๆ ก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่ใดๆ ก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ ฯ


    (ความเต็มดูได้ในพระสูตรดังกล่าวนี้)
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฎฐก-นวกนิบาต หน้า ๒๓๘ ข้อ ๑๖๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้า ๓๖๒ ข้อ ๔๘๒
    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๒๙๘


    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    ขอบพระคุณที่มา :
    http://palungjit.org/threads/การเจริญเมตตา-หรือการเจริญพรหมวิหาร.528930/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2014
  12. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,268
    กรณียเมตตสูตร



    ความเป็นมาของกรณียเมตตสูตร​


    ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเมืองสาวัตถี เรียนกรรมฐานในสำนักของพระพุทธเจ้าแล้วพากันเดินทางออกจากวัดพระเชตะวัน บ่ายหน้าสู่เทือกเขาหิมาลัยอันอยู่ทางทิศเหนือ เดินทางไปประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ก็ถึงหมู่บ้านใหญ่ใกล้เชิงเขามีผู้คนอยู่อาศัยกันหนาแน่น ในที่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนั้น มีภูเขาลูกหนึ่งทอดต่อเนื่องมาจากภูเขาหิมาลัย เป็นที่สัปปายะสงบและร่มรื่นไปด้วยไม้ใหญ่มีน้ำใสสะอาดและเย็นสนิท


    ชาวบ้านในแถบนี้เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อเห็นพระมาก็พากันยินดี เพราะในแถบชนบทปลายแดนนี้ นานๆ จึงจะมีพระภิกษุจาริกผ่านมา จึงเข้ากราบเรียนถามและเมื่อทราบถึงจุดประสงค์แล้ว ก็พร้อมใจกันนิมนต์ท่านพักเจริญสมณธรรมในราวป่า เพื่อพวกตนจะได้ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ รับศีล ฟังเทศน์ และปฏิบัติธรรม


    ภิกษุเหล่านั้นคิดว่าคงไม่มีอันตรายอะไรในป่านั้นจึงได้รับนิมนต์ ชาวบ้านทั้งหลายได้ร่วมแรงร่วมใจกัน ก่อสร้างกุฏิอันเหมาะสมจำนวน ๕๐๐ หลัง ถวาย


    ภิกษุเหล่านั้นจึงได้พากันเข้าป่า ต่างแยกย้ายและเริ่มปรารภความเพียรในการฝึกจิตของตนทั้งกลางวันและกลางคืน โดยอาศัยโคนไม้ใหญ่เป็นที่เจริญภาวนาและเดินจงกรม


    รุกขเทวดา ซึ่งได้ยึดต้นไม้ในราวป่านั้นเป็นที่อาศัย ครั้นเห็นพระภิกษุผู้อุดมด้วยศีลและคุณธรรมพากันมาเจริญภาวนา ณ โคนต้นไม้เช่นนั้น จึงพร้อมใจกันลงมาอาศัยอยู่พื้นดิน ต้องเสวยทุกขเวทนานานร่วมครึ่งเดือน นานวันเข้า ความอดทนเริ่มลดน้อยลงไป จึงคิดจะพากันขับไล่ให้พระภิกษุทั้งหมดออกจากสถานที่นั้น


    ในค่ำคืนวันหนึ่ง ขณะที่พระภิกษุทั้งหลายต่างแยกย้ายกันปฏิบัติธรรมอยู่นั้น ก็ดลบันดาลให้เกิดสิ่งน่าสะพรึงกลัว เช่น กลิ่นเหม็นน่าสะอิดสะเอียน เสียงร้องอันโหยหวน และซากศพที่น่าเกลียดน่ากลัว เหล่าพระภิกษุจึงไม่เป็นอันเจริญภาวนาได้ ในที่สุดก็ได้ปรึกษาและตกลงกันว่า จะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และกราบทูลเรื่องให้ทรงทราบ


    เมื่อพระพุทธองค์ได้ทรงทราบเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบแล้ว จึงแสดง กรณียเมตตสูตร แก่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป แล้วทรงตรัสว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสาธยายพระสูตรนี้ ตั้งแต่ราวไพรภายนอกพระวิหารที่อยู่ ก่อนเข้าสู่พระวิหารในราวไพร”
    ภิกษุเหล่านั้นถวายบังคมลาแล้วได้ออกเดินทางไปตามลำดับ พากันสาธยาย กรณียเมตตสูตร ตั้งแต่เขตชายป่าตามพุทธดำรัส


    พวกเทวดาในป่าทั้งหมด ได้รับกระแสแห่งเมตตาจิตของพระภิกษุเหล่านั้น ต่างยินดีพากันมาต้อนรับ ปกป้องคุ้มครองพระภิกษุทุกรูปผู้ปฏิบัติสมณธรรมในป่าแห่งนั้น ทำให้ป่าสงบรื่นรมย์ไม่มีสิ่งน่าเกลียดน่ากลัวมาปรากฏให้เห็นอีกต่อไป


    ภิกษุเหล่านั้นได้เจริญภาวนาทั้งกลางวันและกลางคืนจนไดบรรลุอรหัตผลทุกรูป



    กรณียเมตตสูตร​


    กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตังสันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
    (กิจอันใดอันพระอริยเจ้าบรรลุแล้วซึ่งบทอันระงับกระทำแล้ว กิจนั้น อันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงกระทำ)
    สักโก อุชู จะสุหุชูจะ
    (กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญแลซื่อตรงด้วยดี)
    สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
    (เป็นผู้ว่าง่ายละมุนละไม ไม่มีอติมานะ)
    สันตุสสะโกจะสุภะโรจะ
    (เป็นผู้สันโดษและเป็นผู้เลี้ยงง่าย)
    อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
    (เป็นผู้มีธุระน้อย ประพฤติเบากายและจิต)
    สันตินทะริโย จะ นิปะโก จะ
    (มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญาดี)
    อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
    (เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย)
    นะจะขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะวิญญูปะเร อุปะวะเทยยุง
    (วิญญูชนล่วงติเตียนชนทั้งหลายอื่นได้ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นน้อยหน่อยหนึ่งแล้ว พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า)
    สุขิโน วา เขมิโน โหตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    (ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด)
    เยเกจิ ปาณะภูตัตถิ
    (สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่)
    ตะสา วา ถาวะราวา อะนะวะเสสา
    (ยังเป็นผู้สะดุ้ง คือ มีตัณหาอยู่ หรือเป็นผู้ถาวรมั่นคง คือตัณหาทั้งหมดไม่เหลือ)
    ทีฆา วาเย มะหันตาวา
    (เหล่าใดเป็นทีฆะชาติ หรือ โตใหญ่)
    มัชฌิมา รัสสะกา อะนุกะถูลา
    (หรือ ปานกลาง หรือ ต่ำเตี้ย หรือ ผอมพี)
    ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา
    (เหล่าใดที่เราเห็นแล้วหรือมิได้เห็น)
    เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
    (เหล่าใด อยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้)
    ภูตา วา สัมภะเวสี วา
    (ที่เกิดแล้ว ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป หรือยังแสวงหาภพต่อไปก็ดี)
    สะพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
    (ขอสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงซึ่งความสุขเถิด)
    นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ
    (สัตว์อื่น อย่าพึงข่มเหงสัตว์อื่นเลย)
    นาติมัญเญถะ กัตถะจินัง กิญจิ
    (อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขาในที่ไรๆ เลย)
    พะยาโรสะนา ปฏีฆะสัญญา นาญญะ มัญญัสสะ ทุกขะ มิจเฉยยะ
    (ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน ด้วยความกริ้วโกรธแลด้วยปฏิฆะสัญญาความคับแค้นใจทั้งหลาย)
    มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะ มะนุรักเข
    (มารดาถนอมบุตรผู้เกิดในตนอันเป็นลูกเอกด้วยอายุ คือแม้ชีวิตก็สละรักษาบุตรได้ฉันใด)
    เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะ สัมภาวะเย อะปะริมาณัง
    (พึงเจริญเมตตาจิตมีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น)
    อุทธัง อะโธ จะติริยัญจะ
    (ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง)
    อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
    (เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู)
    ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา
    (ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เที่ยวไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี)
    สะยาโนวา ยาวะตัสสะ วิคะ ตะมิทโธ
    (นอนแล้วก็ดี หรือเป็นผู้มีความง่วงนอนไปปราศแล้วคือยังไม่หลับเพียงไร)
    เอตังสะติง อะธิฏเฐยยะ
    (ก็ตั้งสติระลึกเมตตาเพียงนั้น)
    พรัหมมะเมตัง วิหารัง อิธะ มาหุ
    (บัณฑิตทั้งหลายกล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้)
    ทิฏฐิญจะ อะนะปะคัมมะ สีละวา
    (บุคคลที่มีเมตตาพรหมวิหาร ไม่เข้าถึงทิฏฐิเป็นผู้มีศีล)
    ทัสสะเนนะ สัมปันโน (ถึงพร้อมแล้วด้วยทัสสนะ คือ โสดาปัตติมรรค)
    กาเมสุ วิเนยะเคธัง
    (นำความกำหนัดในกามทั้งหลายออกได้)
    นะหิ ชาตุ คัพภะ เสยยัง ปุนะเรตีติ
    (ย่อมไม่ถึงความเกิดในครรภ์อีกโดยแท้ทีเดียว)



    พระคาถาที่มาจากกรณียเมตตสูตร​


    ท่านที่สวด กรณียเมตตสูตร อยู่เป็นประจำ ย่อมจะสามารถอาราธนาอานิสงส์ที่ได้สวดปกป้องคุ้มครองหรือให้เกิดผลได้ทุกเมื่อ เพียงแค่อธิษฐานในใจว่าให้บังเกิดผลในเรื่องใดโดยไม่จำเป็นต้องว่าคาถาอะไร แต่ตามโบราณนิยมนั้นก็มีรูปแบบการใช้มนต์คาถาจาก กรณีเมตตสูตร ดังนี้

    เมตตัญจะ สัพพะโลกัสสะมิง​


    บทนี้เรียกว่า หัวใจเมตตา หรือ หัวใจกรณี กล่าวกันว่ามีอานุภาพทางเมตตาและขจัดปัดเป่าโรคภัยทั้งหลาย เวลาเดินทางไปที่ไหนๆ ถ้าพบสถานศักดิ์สิทธิ์ เช่น ศาลเจ้า หรือ ศาลพระภูมิ หรือ ศาลหลักเมือง หรือ ศาลเทารักษ์ หากตั้งจิตแผ่เมตตาด้วยพระคาถานี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก็จะคุ้มครองรับช่วงต่อไปเรื่อยๆ ให้แคล้วคลาดปลอดภัย บางท่านจะบริกรรมทุกครั้งที่เริ่มขับขี่ยวดยานไปมาจนเป็นนิสัย ก็ปลอดภัยไร้อันตราย

    อะ ภิ สะ เมห์ จะ​


    บทนี้เรียกว่า หัวใจมหาระงับ ใช้ดับพิษทั้งปวงไม่ว่าพิษฝีหรือแมลงกัดต่อย ภาวนาแล้วกลั้นใจหยิบพิษทิ้งก็จะบรรเทาความเจ็บปวดไปได้


     

แชร์หน้านี้

Loading...