เมืองจมน้ำ น้ำท่วมขังจนวิบัติ กรณีศึกษาทั่วโลกและที่เวียงกุมกาม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Nat_usp, 13 พฤษภาคม 2018.

  1. Nat_usp

    Nat_usp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    677
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,394
    เมืองจมน้ำ น้ำท่วมขังจนวิบัติ กรณีศึกษาทั่วโลกและที่เวียงกุมกาม

    กรณีศึกษาวิจัยของ “รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ” หนึ่งในกรรมการภูมิศาสตร์โลก และผอ.ศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ ม.รังสิต ซึ่งได้ทุนจากธนาคารโลก ศึกษาประเด็น”อีก 10 ปีกรุงเทพอยู่ใต้บาดาล” มีความน่าสนใจด้วยสะท้อนหลักการจมหายของเมืองในบางพื้นที่ เกิดจากองค์ประกอบสำคัญๆคือ ปริมาณน้ำฝน การทรุดตัวของแผ่นดิน ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูง และผังเมือง 2_0.jpg-800x556.png ในงานวิจัยของ รศ.ดร.เอกนรินทร์ อนุกูลยุทธยน จากคณะสถาปัตย์ ม.เกษตรฯ และอาจารย์ด้านภูมิสถาปัตย์ จาก ม.แม่โจ้ เชียงใหม่ หลายๆท่าน ยืนยันว่า ผังเมืองมีส่วนสำคัญกับการป้องกันและรับมือภัยพิบัติเหตุปัจจัยแห่งภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น ในวงจรธรรมชาติ คือมนุษย์ตัดไม้ ทำลายป่า บุกรุกป่าต้นน้ำจนแหล่งซับเก็บกักน้ำลดลงภัยน้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินถล่มหายนะก็มาเยือน ซึ่งป่าภาคเหนือแทบจะเสื่อมสภาพการซับน้ำ ยกตัวอย่างเขื่อนภูมิพล ตาก ปริมาณน้ำกักเก็บ 13,462 ล้าน ลบ.ม. แต่ต้องรองรับน้ำที่เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ในปัจจุบัน 47,117 ล้านลบ.ม. เขื่อนสิริกิตติ์ กักเก็บน้ำได้ตามที่กำหนด 9,510 ล้าน ลบ.ม. แต่ปริมาณน้ำเพิ่ม 38,040 ล้าน ลบ.ม. สูงถึง 4 เท่าจากปกติ 4-114.jpg-114-800x562.jpg พิสูจน์ได้ด้วยสภาพน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 แม้จะพร่องน้ำออกมา แต่ปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องระบายน้ำจากเขื่อน ไม่ให้เขื่อนแตกเมืองที่จะปลอดภัยจากภัยพิบัตินั้น จำเป็นต้องมีการจัดระเบียบ แบบแผนด้านการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม ต้องมีแผนผังเมืองที่สอดรับกับการพัฒนาที่มองอนาคต ความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ไม่อาจคาดเดาได้ ในอดีตการเปลี่ยนทิศทางของสายน้ำปิง ส่งผลให้ เวียงกุมกาม ราชธานีสมัยพระยามังรายที่สร้างเมื่อปีพศ. 1829 เผชิญกับปัญหาน้ำท่วม จนยากจะรับมือป้องกันได้ จนต้องย้ายเมืองหลวงใหม่ ซึ่งก็คือ นครเชียงใหม่ใน พ.ศ.นี้ 3-126.jpg-126-800x596.jpg 1-146.jpg-146-800x533.jpg ข้อมูลศึกษา แนวโน้มเมืองที่จะจมใต้น้ำระดับ 160 เมตร ทั่วโลกในปีพศ.2563 จะมี 30 เมือง รวมถึงกรุงเทพ ซึ่งทรุดตัวปีละ2-3 ซม. คาดว่าไม่เกิน 20 ปี ถ้าไม่มีแผนป้องกัน น้ำจะท่วมขัง นานหนักกว่าที่เป็นอยู่ เมืองท่องเที่ยวดังๆเช่น เมืองเวนิช อิตาลี ทุ่มงบเกือบ3 แสนล้านล้านบาทกับโครงการกำแพงกันน้ำท่วมที่ชื่อว่า โมเซ่ รับมือกับระดับน้ำทะเลที่สูงเกินกว่าระดับปกติ 1.1 เมตร แถบเพื่อนบ้านใกล้เคียง ไม่ว่าจะที่ย่างกุ้ง เมียนมาร์ ,ฮานอย เวียดนาม ถึงช่วงฤดูฝนมาน้ำหลากท่วมมิดหลังคา ขยายวงกว้างในอาณาบริเวณน้ำท่วมเพิ่มเรื่อยๆพอๆกับนครเชียงใหม่ 2 ฝั่งลำน้ำปิง เขตเมือง เดิมมีแผนของบฯ 1.8 หมื่นล้านบาทเมี่อปี พศ. 2548 มาสร้างพนังป้องกันน้ำท่วมเขตเมืองเศรษฐกิจชั้นใน 7-92.jpg-92-800x600.jpg สามารถดำเนินการได้เพียงบางช่วง ในเขตนครเชียงใหม่ และย่านหนองหอย ป่าแดด ซึ่งคาดว่า การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในฤดูฝนที่จะมาถึงปลายเดือนพค.นี้ คงต้องหากระสอบมาบรรจุทราย วางเป็นแนวกั้นริมตลิ่ง ไม่ให้น้ำปิงไหลบ่าท่วมชุมชน ที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน แผนงาน 10-20 ปี อย่าไปคาดหวัง เพราะ “ท่วมหนักก็หนีไปอยู่เชิงดอย(สุเทพ) หรือขึ้นดอยสูงๆเข้าไว้ เชียงใหม่เมืองเดิม ที่เพิ่มเติมทุกฤดูฝนคือ พื้นที่น้ำท่วมขัง ท่วมนานและท่วมจนทุกข์บานตะไทกันถ้วนหน้า 8-86.jpg-86-800x466.jpg 6-113.jpg-113-800x578.jpg 9-69.jpg-69-800x450.jpg 5-118.jpg-118-653x600.jpg
    ที่มา http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/713634

     

แชร์หน้านี้

Loading...