เมื่อพระอภิญญาท่านว่า...

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย toplus99, 20 พฤศจิกายน 2011.

  1. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    ท่านทั้งหลายครับ มีเรื่องหนึ่งที่อยากจะเล่าให้ฟังมากเลย......
    เรื่องนี้เกิดขึ้นมานานมากๆแล้ว แต่เมื่อหวนระลึกถึงเรื่องนี้ทีไร... ช่างสะเทือนความรู้สึกบาดลึกเข้าไปในหัวใจ....ทุกที

    ลองมาฟัง มาอ่านกันดู...สัญญากันก่อนว่าห้ามร้องไห้นะ

    *********************

    ที่โรงพยาบาลชื่อดังมีชื่อเสียง ด้านอาจารย์แพทย์ที่เชี่ยวชาญหลายสาขาแห่งหนึ่ง กลางเมืองใหญ่

    บรรยากาศในห้องผู้ป่วยพิเศษ ที่มีทั้งคนไข้นอนอยู่บนเตียง
    คุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็ง พยาบาลสาว และบรรดาญาติๆใกล้ชิดของคนไข้ ได้มาออรวมกันอยู่ในห้องผู้ป่วย
    ห้องที่ท่ามกลางคนหลายคน แต่บรรยากาศกลับเงียบกริบ ได้ยินเพียงเสียงหัวใจของตัวเองเท่านั้น และแล้วคุณหมอก็พูดขึ้นว่า....

    คุณหมอ : “สาเหตุที่หมอได้เรียกญาติๆมาในวันนี้ คือหมอมีข่าวร้ายที่จะแจ้งให้ ทั้งคนไข้ และญาติๆได้รับทราบว่า..ขณะนี้ เราได้ตรวจพบว่า คนไข้ป่วยเป็นมะเร็งร้ายแรงระยะสุดท้ายแล้ว คงมีชีวิตเวลาอยู่ได้อีกไม่นาน จึงอยากแจ้งให้คนไข้และญาติได้รับทราบและมีโอกาสเตรียมใจไว้ และมีบางสิงที่อยากจะบอกเพิ่มเติมด้วยหนะครับ”

    คนไข้ และญาติ : ฮ้า!(พากันอุทานตกใจ ตะลึงงันหน้าซีด)

    คนไข้ : “อะไรนะครับหมอ ผมนะเหรอเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แล้วผะ...ผมจะมีเวลาอยู่ได้อีกกี่ปีครับ”

    คุณหมอ : (ไม่ตอบ แต่ส่ายหน้าแทน และยกนิ้วมือขึ้นมา 9 นิ้ว)

    คนไข้ : “อะไรนะครับแสดงว่า แค่ 9 เดือนเองเหรอ”

    คุณหมอ : “ไม่ใช่ครับ”

    คนไข้ : “โธ่...งั้นก็แค่ 9 สัปดาห์”

    คุณหมอ : (ส่ายหน้าอีก... แต่เก็บนิ้วลงทีละนิ้วๆ พร้อมเสียงนับตัวเลขอย่างช้าๆว่า) “แปด เจ็ด หก ห้า สี่ สาม สอง หนึ่ง...”

    คนไข้ : อ๊า..! คร่อก! (ร้องขึ้น... พร้อมกับอาการนิ่งเงียบลงไป)

    พยาบาลสาว : คุณหมอคะ คนไข้เสียชีวิตแล้วค่ะ (รายงานผล หลังตรวจสอบชีพจรคนไข้แล้ว)

    คุณหมอ : ก็นี่แหละครับ ที่หมออยากจะบอกคนไข้และญาติๆได้รับทราบเพิ่มเติม

    ญาติ : ???
    *********************************
    บอกแล้วเรื่องนี้มันเศร้า สะเทือนใจห้ามร้องไห้นะ ไม่อยากเห็นน้ำตาใคร…
    อะ! ล้อเล่นขำๆ “มุกที่หมอนับนิ้ว ถอยหลังนี่ หมอเชี่ยวชาญโรคจริงๆ”

    นึกถึงเรื่องนี้ที่เคยมีเพื่อนมาเล่าให้ฟังแล้ว มันก็อดขำ อดอมยิ้มไม่ได้ซักที
    ก็ไม่รู้ไอ้เจ้าของต้นเรื่องตัวจริงเป็นใคร แต่ยอมรับว่าเขาแน่ คิดได้ไง!?

    เรื่องนี้แม่ต้อย Supatorn ตอนนั้นยังเป็นสาวๆอยู่เลย แต่ทำงานอยู่ดูแลผู้ป่วยอยู่อีกห้องและคนละโรงพยาบาล
    เลยไม่รู้เรื่องนี้แต่ไม่แน่พยาบาลสาวสวยในห้องนั้น อาจจะเป็นเพื่อนกับแม่ต้อยก็ได้ใครจะไปรู้ ฮิ ฮิ ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2012
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    มีเรื่องจริงค่ะ คนไขัคนหนึ่งตายไป ทั้งหมอทั้งพยาบาลก็เห็น เครื่องมันก็บอกเป็นเส้นตรงตลอด แม่ต้อยก็บอกหมอให้ไปบอกญาติที่รออยู่อีกห้องหนึ่ง ทีนี้เราก็เริ่มปิดเครื่องหายใจ เครื่องไม่เครื่องมือรอบๆเขาแหละ พอถึงตอนที่จะดึงท่อออกจากปากเขาก็เฮือกขึ้นมาอีกทีเอาละซิเราก็เริ่มจากทีม Emergency...ใส่ท่อหายใจ เริ่มทุกอย่างหมด หมอพอได้ยินกลับเข้ามาหลังจากบอกญาติๆ(ญาติก่อโทรไปที่Funeral home จองที่จะทําพิธี)ก็ตกใจ ว่าเป็นไปได้อย่างไร เอ้าโทรเรียกญาติให้กลับมาใหม่ อธิบายไปๆเขาก็ต้องโทรไปCancel funeral home เราต้องเขียนรายงานกันให้ยุ่งไปหมด เพราะเรา๖คนทั้งหมอทั้งพยาบาลอยู่ในห้องทั้งหมด เขาก็นอนตาแป๋วอยู่ต่อไปอีกอาทิตย์กว่าๆถึงได้ไปจริงๆ คราวนึ้รอนานเลยทั้งหมอทั้งญาติ มีอีกเยอะนะทั้งตลกทั้งเศร้าหลายDrama นี่แหละมนุษย์ บางทีคนไข้เราตายนอนอยู่ก็มีคนมาX-ray,เจาะเลือด ก็มี:boo:
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    อานิสงส์ ๑๑ ประการของคนผู้เจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำทำให้ชำนาญ
    ทำให้เจริญขึ้นแล้วทำให้มากขึ้นแล้วสั่งสมดีแล้วทำให้บังเกิดขึ้นดีแล้วเรียกว่า
    การทำเมตตาเจโตวิมุตติ
    อานิสงส์ ๑๑ ประการคือ
    ๑.นอนหลับเป็นสุข
    ๒.ตื่นเป็นสุข
    ๓.ไม่ฝันร้าย
    ๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
    ๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
    ๖.เทวดาทั้งหลายเฝ้ารักษา
    ๗.ไฟ พิษ หรือศัสตรา ไม่กล้ำกรายในตัวของเขา
    ๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว
    ๙.ผิวหน้าผ่องใส
    ๑๐.ไม่หลงตาย
    ๑๑.หากยังไม่บรรลุคุณธรรมเบื้องสูง ก็จะบังเกิดในพรหมโลก

    จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้นชื่อว่า
    วิมุตติ เพราะพ้นจากพยาบาท และ พ้นจากกิเลสที่มีอันกลุ้ม

    รุมอยู่ในใจนั้นไม่มีกิเลส ที่ครอบงำจิตทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย จึงได้ชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุตติยา
    ====================================
    ท่านอาจารย์เรามีธุระกิจ เลยเอามาลงอ่านกันค่ะ ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
    catt1
     
  4. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    เมตตาอัปปมัญญา
    หมายถึง การเจริญเมตตามีความสงบแนบแน่นจนถึงอัปปนาสมาธิ เป็นฌานจิต แผ่ไปไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ไม่เลือก ไม่เจาะจง

    แต่ในชีวิตประจำวันการอบรมเจริญเมตตา คือ การมีไมตรี มีความเป็นเพื่อน มีความเป็นมิตร มีความหวังดีกับบุคคลต่างๆ ซึ่งจะเริ่มต้นเพียงบุคคลบางคน บางกลุ่ม และเมื่อมีกำลังมากขึ้น ขยายกว้างออกไป ในเบื้องต้นการเจริญเมตตาเป็นเพียงความสงบของจิตขั้นขณิกสมาธิ เมื่อสงบมากขึ้นจนไม่มีขอบเขตเป็นอุปจารและอัปปนา เพราะเมตตามี

    กำลังมากถึงขั้นฌาน จึงเรียกว่า เมตตาอัปปมัญญา

    เมตตาแบบอัปปมัญญา เป็นอย่างไร
     
  5. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    ขั้นตอนการฝึก เมตตาเจโตวิมุึตติื

    พรหมวิหารบัวบาน
    พระศาสดา ตรัสเมตตาเจโตวิมุตติ


    พระบรมศาสดา ตรัสว่า เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ประกอบไปด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เปรียบดังคนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากเลย

    ฉันใด กรรมที่ทำพอประมาณอันใดในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้ กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจร และอรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

    ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ทิศที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็เหมือนกัน เธอมีใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าโดยความมีตนทั่วไป ในที่ทุกสถานอยู่ ด้วยประการฉะนี้ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตินี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เธอตั้งอยู่ในเมตตาเจโตวิมุตินั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะ และวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ก็เมตตาเจโตวิมุตติเราให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้นพยาบาท ยังครอบงำจิตของเราตั้งอยู่ ภิกษุนั้นพึงถูกว่ากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ ท่านผู้มีอายุอย่าได้กล่าวอย่างนี้ อย่าได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีเลย พระผู้มีพระภาคไม่พึงตรัสอย่างนี้ข้อนี้มิใช่ฐานะมิใช่โอกาส คำที่ว่า เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ ภิกษุให้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็นดังยาน กระทำให้เป็นดุจที่ตั้ง คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว และเมื่อเป็นเช่นนั้น พยาบาทจักครอบงำจิตของภิกษุนั้นตั้งอยู่ ดังนี้นั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เพราะว่าเมตตาเจโตวิมุตตินี้ เป็นที่สลัดออกจากพยาบาท

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆอบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ประการเป็นไฉน คือ

    ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑
    ตื่นเป็นสุข ๑
    ไม่ฝันลามก ๑
    ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑
    ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑
    เทวดาย่อมรักษา ๑
    ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกลาย ๑
    จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว ๑
    สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑
    ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ ๑
    เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้วอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ

    คำอาราธนาออกพรหมวิหารบัวบาน
    (เมตตาเจโตวิมุตติ)
    ข้าฯขอภาวนา เมตตาเจโตวิมุตติ เพื่อจะขอเอายัง ออกบัวบานพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด ฯลฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิด
    อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าฯจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อขอเอายัง เมตตาเจโตวิมุตติ ในห้อง ออกบัวบานพรหมวิหารเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาสัญญาแก่ข้าให้รู้ทีเถิด นิพพาน ปจฺจโย โหนฺตุ

    อิติปิโส ฯลฯ ภควาติ สมฺมาอรหํ ๓ ที อรหํ ๓ ที
    ถ้าจะออกพรหมวิหารบัวบาน ครั้นตั้งจักร ด้วย สุขี จึงออก สุขี แต่ในภูมิ ไป ทุติยะ ครั้นถึง ทุติยะ จึงออกด้วย อเวรา แต่ ทุติยไปให้ออกขึ้นตรงหน้า ขึ้นเบื้องบน ให้ถึงพรหมโลก จนจบอเวรา แล้วจึงคลุม แต่พรหมโลกลงมา เอาขอบจักรวาลให้เห็นขอบจักรวาลอยู่ จบอเวราแล้วช้อนขึ้นไปตามศิลาปฐพีรอบลงไปเอา อเวจีมหานรก ด้วย อเวรา จบหนึ่งเล่า แล้วกลับเข้ามายัง ภูมิ บริกรรม ด้วย สุขี อยู่ในภูมิ นั้น สักคำหมากหนึ่ง แล้วออกจากสมาธิ

    ที่มา
    คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
    ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
    วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
    พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
    ----------------------------------------------


    พรหมวิหารสี่
    ข้อเมตตาและกรุณาเจโตวิมุตติ


    พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้อบรมโพชฌงค์ทั้งเจ็ดข้อนี้
    ประกอบไปด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อันเป็นพรหมวิหาร
    ธรรม เป็นเครื่องอยู่ของพรหมคือผู้ประเสริฐหรือผู้เป็นใหญ่เป็นอัปปมัญญา


    เมื่อแผ่ไปในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า ไม่มีประมาณ
    ก็เป็นอันว่าแม้การปฏิบัติอบรมพรหมวิหารทั้งสี่
    หรืออัปปมัญญาทั้งสี่ข้อ ก็เป็นอันปฏิบัติโพชฌงค์ทั้งเจ็ดประการนั้นด้วย

    และ การอบรมพรหมวิหารทั้งสี่หรืออัปปมัญญาทั้งสี่นี้
    ชื่อว่าเป็นการปฏิบัติเจโตวิมุตติคือความพ้นแห่งใจ


    เพราะว่า ใจนี้ยังประกอบด้วยพยาบาท ราคะสิเน่หาบ้าง
    ประกอบด้วยวิเหสา ความเบียดเบียน
    คือความคิดเบียดเบียนและโทมนัสต่างๆบ้าง
    ยัง ประกอบด้วยอรติ ความไม่ยินดีหรือความริษยา
    และโสมนัสต่างๆด้วยยังประกอบด้วยราคะ ปฏิฆะ คือความติดใจยินดี
    หรือ ว่าความกระทบกระทั่งไม่พอใจและความที่เฉยเมยด้วยความไม่เอาใจใส่
    ด้วยความไม่รู้บ้าง

    ใจสามัญย่อมยังข้องเกี่ยวอยู่ด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองเหล่านี้
    อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็เพราะว่ายังมีสังโยชน์คือความผูก
    ในเมื่อตากับรูปประจวบกันก็ยังมีความผูกตากับรูปนั้นไว้ที่จิต
    เมื่อหูกับเสียง ประจวบกันก็ ยังมีความผูกหูกับเสียงนั้นไว้ที่จิต
    เมื่อจมูกกับกลิ่นประจวบกัน ก็ยังมีความผูกจมูกกับกลิ่นนั้นไว้ที่จิต
    เมื่อลิ้นกับรส ประจวบกัน ก็ยังมีความผูกลิ้นกับรสไว้ที่จิต

    เมื่อกายและสิ่งที่กายถูก ต้องประจวบกัน
    ก็ยังมีความผูกกายและสิ่งที่กายถูกต้องนั้นไว้ที่จิต
    เมื่อมโนคือใจเองกับธรรมคือเรื่องราวของรูป เสียงเป็นต้นเหล่านั้น

    ประจวบกันก็ยังมีความผูกมโนกับธรรมนั้นไว้ที่จิต
    จิตจึงถูกสิ่งที่ผูกไว้นี้ดึงไปเหมือนกับเกวียนที่ถูกโคทั้งคู่ที่เทียม เกวียน
    มี เชือกผูกไว้ที่เกวียนกับโคเมื่อโคเดินไปก็ดึงเอาเกวียนไป
    ฉันใดก็ดีจิตที่ถูกสิ่งที่ผูกนี้ดึงไป
    ด้วยอำนาจของความยินดีบ้าง
    ด้วยอำนาจของความยินร้ายบ้าง
    ทั้งนี้ก็เพราะมีสังโยชน์คือความผูกดังกล่าว
    จิตจึงถูกผูกไว้ด้วยสิ่งที่ผูกเหล่านี้
    จิตก็วิ่งไปคือคิดไปในสิ่งที่ผูกเหล่า นี้
    ยินดีใน ส่วนที่ชอบ ยินร้าย ในส่วนที่ไม่ชอบ
    ก็ ปรากฏเป็นพยาบาท ราคะสิเน่หา เป็นต้น

    ดังกล่าวแล้ว เมตตาเจโตวิมุตติ
    พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงสั่งสอนให้เจริญ เมตตา
    แผ่ จิตออกไปด้วยเมตตาคือ ความมีไมตรีจิต รักสนิทด้วยไมตรีจิต
    มุ่งดีปรารถนาสุข ทั้งไม่เจือด้วยสิเน่หา ความเยื่อใยผูกพัน
    การ แผ่จิตด้วยเมตตานี้ก็ด้วยอาศัยการคิดแผ่ไปก่อน
    ว่าถึงเป็นอัปปมัญญา คือไม่มีประมาณ

    ก็คิดแผ่ไปในสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า
    ให้มีความสุขทุกถ้วนหน้า
    ในทิศเบื้องหน้า ในทิศเบื้องขวา ในทิศเบื้องหลัง
    ใน ทิศเบื้องซ้าย ในทิศเบื้องบน ในทิศเบื้องล่าง
    ในทิศขวางโดยรอบ

    ให้จิตผ่องพ้นจากพยาบาท ความมุ่งร้าย
    ตลอดจนพ้นจากราคะสิเน่หา
    ในบุคคล ในสัตว์ทั้งหลายที่แผ่จิตไปนั้น
    เมื่อจิตปรากฏเป็นเมตตาจิตขึ้นมา
    หากจะมีพยาบาทหรือราคะสิเน่หาใด ๆ มาก่อน
    กิเลส เหล่านี้ก็จะหลุดไปจากจิตจึงเป็นเจโตวิมุตติ
    ความพ้นแห่งใจข้อหนึ่งเรียกว่าเมตตาเจโต วิมุตติ

    เมื่อเป็นชื่อของธรรมข้อนี้
    ก็แปลว่าธรรมที่ทำให้ได้ความพ้นแห่งใจคือเมตตา
    เมตตานี้ตรัสแสดงว่ามีความงามเป็นอย่างยิ่ง
    คือจะรู้สึกว่างามด้วยความสุขอัน บริสุทธิ์ไปทั่วทุกทิศ
    ทั่วทุกบุคคลสัตว์ทั้งหลายไม่ปรากฏความรู้สึกน่าเกลียดน่าชังใด ๆ ทั้งสิ้น
    ไม่ มีความรู้สึกที่เป็นพยาบาท
    หรือที่เป็นราคะสิเน่หาอันน่าเกลียดน่าชัง
    ไม่มีรูปพรรณสัณฐานของบุคคลและสัตว์ใด ๆ ที่น่าเกลียดน่าชัง
    แม้ ผู้ที่เคยเกลียดจิ้งจก ตุ๊กแก

    แต่ว่าเมื่อได้เจโตวิมุตติข้อนี้
    ย่อมจะรู้สึกว่าจิ้งจกตุ๊กแกก็งามไปหมด
    ไม่น่าเกลียด ไม่น่าชังอะไร
    จึงได้ตรัสว่ามีความงามเป็นอย่างยิ่ง
    คือน่ารักน่าใคร่ไปหมดแต่ว่า
    เป็นความรักใคร่ที่บริสุทธิ์ไม่เจือด้วย ราคะสิเน่หา



    คัดลอกจาก...
    ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน-หน้า ๖๑-๖๒
    พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายก
    พรหมวิหารสี่ข้อเมตตาและกรุณาเจโตวิมุตติ-๒ จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net
    โดย อักษราภรณ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2012
  6. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    อัปปมัญญาพรหมวิหาร ๔


    (เมตตาพรหมวิหาร)

    ก็แลโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญเมตตาพรมหมวิหารเป็นอันดับแรก พึงเป็นผุ้ตัดปลิโพธถือเอากรรมฐานแล้ว ทำภัตกิจ บรรเทาความเมาอาหารแล้ว นั่งให้สบายตามแบบนั่งกรรมฐาน ณ อาสนะที่จัดไว้อย่างดีในที่สงัด ชั้นแรก พึงพิจารณาให้เห็นโทษในโทสะ และอานิสงส์ในขันติก่อน
    ถามว่า เพราะเหตุอะไร ?
    ตอบว่า เพราะโทสะจะพึงลงได้ และขันติจะพึงบรรลุได้ ก็ด้วยภาวนานี้ และใคร ๆ จะอาจละโทษที่ตนไม่เห็นสักหน่อย หรือได้อานิสงส์ที่ตนไม่ทราบสักนิดหาได้ไม่ เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรพึงเห็นโทษในโทสะ ตามแนวพระสูตทั้งหลาย เช่นสูตรว่า “ดูกรอาวุโส บุคคลผู้เกิดโทสะแล้ว อันโทสะครอบงำ มีจิตอันโทสะยึดไว้รอบแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ดังนี้เป็นอาทิ พึงทราบอานิสงส์ในขันติว่า “ขันติ คือความอดกลั้นเป็นบรมตบะ พระพุทธทั้งหลาย กล่าวนิพพานว่าเป็นบรมธรรม  เรากล่าวบุคคลนั้น ผู้มีขันติเป็นกำลัง มีกำลังคือขันติเป็นกอบทัพ ว่าเป็นพราหมณ์ ประโยชน์ยิ่งกว่าขันติหามีไม่ ดังนี้เป็นต้น ครั้นแล้วพึงเริ่มเมตตาภาวนา เพื่อยังจิตให้สงัดจากโทสะอันมีโทษที่ตนเห็นแล้ว และเพื่อผูกจิตไว้ในขันติ อันมีอานิสงส์ที่ตนทราบแล้วอย่างนี้

    #####################

    "เมื่อใด พระโยคาวจรผู้มีจิตคิดเกื้อกูลแก่สัตว์ ทั้งหลาย ยังเห็นความต่างกันในคน ๔ คน คือใน ตน ในคนที่เกื้อกูลกัน ในคนกลาง ๆ กัน และในคนไม่เกื้อกูลกันอยู่ เมื่อนั้นยังไม่เรียกว่าเป็นผู้ฉลาดได้เมตตา ฌานอย่างที่ต้องการ ต่อเมื่อใด แดนทั้ง ๔ ภิกษุ (โยคาวจร) รวมเข้าด้วยกันแล้ว แผ่เมตตาไปยัง สัตวโลกทั้งปวง กับทั้งเทวดาด้วย เสมอกันหมด เมื่อนั้น เธอผู้มีเมตตาไม่ปรากฏแดน จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเมตตาภาวนา กว่าพระโยคาวจรรูปก่อน"

    [เมตตาฌาน]


    ในกาลเสมอกับกาลที่รวมแดนได้อย่างนี้นั่นแล ภิกษุ (โยคาวจร)นี้ ก็เป็นอันได้นิมิต และอุปจารด้วย ก็แลครั้นทำการรวมแดนแล้ว เธอเสพยิ่งขึ้นไป เจริญทำให้มากขึ้นไปซึ่งนิมิตนั้นแหละก็จะบรรลุอัปปนา ตามนัยที่กล่าวแล้วในปฐวีกสิณโดยไม่ยากเลย ด้วยภาวนานุโยคเพียงนี้ ปฐมฌานที่สหรคตกับเมตตาอันละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ มีความงาม ๓ ประการ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ก็เป็นอันภิกษุ (โยคาวจร) นั้นได้บรรลุแล้ว และครั้นได้บรรลุ ปฐมฌานนั้นแล้ว เธอเสพยิ่งขึ้นไป เจริญทำให้มากขึ้นไปซึ่งนิมิต นั้นแหละ ก็จะบรรลุทุตยฌานและตติยฌานในจตุกนัย แท้จริง พระโยคาวจรนั้นจะชื่อว่ามีใจสหรคตกับเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้นทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศขวาง ก็โดยนัยนั้นแล เธอมีใจสหรคต กับเมตตา เป็นใจกว้างใหญ่ไม่มีประมาณ เป็นใจไม่มีเวร ไม่มีความบีบคั้น แผ่ไปในทิศทั้งปวงตลอดโลกที่มีสรรพสัตว์โดยความเป็นตนเสมอกัน ในสัตว์ทั้งปวงอยู่ได้ดังนี้ ก็ด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น ฌานใดฌานหนึ่ง เพราะว่าการทำเมตตาได้ต่างๆ นี้ ย่อมสำเร็จแก่พระโยคาวจรผู้มีจิตถึงอัปปนาด้วยอำนาจฌาน มีปฐมฌานเป็นต้นเท่านั้น มิใช่สำเร็จแก่ผู้ได้เพียงอุปจาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2012
  7. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    [กรุณาพรหมวิหาร]

    ส่วนว่า พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญกรุณาพรหมวิหาร พึงพิจารณาให้เป็นโทษของความไม่มีกรุณา และอนิสงส์ของกรุณาแล้วจึงเริ่มเจริญกรุณาพรหมวิหาร ก็แลเมื่อจะเริ่มเจริญกรุณานั้น ไม่ควรเริ่มในบุคคลที่เป็นโทษแก่ภาวนา ก่อนอื่นพระโยคาวจรได้พบใครสักคนที่น่าสงสาร มีรูปร่างน่าเกลียด ถึงซึ่งความลำบากเต็มประดา ยากแค้นแสนเข็ญ เป็นคนกำพร้า มือและเท้ากุด นอนอยู่ที่ศาลาคนอนาถา วางกระเบื้องขอทานไว้ข้างหน้า มีหมู่หนอนออกจากมือและเท้า ทำเสียงครวญครางอยู่ พึงยังกรุณาให้เป็นไปว่า

    “สัตว์ผู้นี้ถึงซึ่งความทุกข์ยากหนอไฉนเล่าหนอเขาจะพึงพ้นจากทุกข์นี้ได้” ดังนี้เถิด

    เมื่อไม่ได้คนทุคตะ เช่นนั้นเป็นอารมณ์ แม้บุคคลผู้มีความสุขแต่มักทำบาป ก็พึงเจริญกรุณาได้ โดยเปรียบกับโจรที่เขาจะฆ่าก่อน ถามว่า เปรียบอย่างไร ? ตอบว่า เปรียบเหมือนราชบุรุษทั้งหลายมัดโจรที่จับได้พร้อมทั้งของกลาง โดยพระราชบัญชาว่า จงฆ่ามันเสีย ให้ประหาร เฆี่ยน ๑๐๐ ที ๆ ทุกที่สี่แพร่ง นำไปสู่ตะแลงแกง คนทั้งหลายสงสารมัน ให้ของเคี้ยวบ้าง ของกินบ้างดอกไม้ของหอมเครื่องไล้และ หมากพลูบ้างแก่มัน มันขบเคี้ยวและกินของเหล่านั้นไป ดูราวกะเป็นคนมีความสุขพรั่งพร้อมด้วยโภคะก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น ใคร ๆ ก็มิได้สำคัญเห็นมันว่า “โจรผู้นี้เป็นผู้มีความสุข มีโภคะมากหนอ” ดังนี้เลย

    ที่แท้คนเขากรุณามัน “คนน่าสงสารผู้นี้จักตายบัดเดี๋ยวนี้ละ เพราะมันวางเท้าข้างใด ๆ ลงไป มันก็ใกล้ความตายเข้าไปทุกทีด้วยเท้าข้างนั้น ๆ” ดังนี้ ฉันใดก็ดี แม้บุคคลผู้มีความสุข แต่ว่ามักทำบาป

    ภิกษุผู้บำเพ็ญกรุณากรรมฐานก็พึงแผ่กรุณาได้อย่างนี้ว่า “บุคคลผู้น่าสงสารนี้ ในกาลบัดนี้เป็นผู้ถึงซึ่งความสุข จัดเตรียมไว้อย่างดี บริโภคโภคะ ก็จริงแลแต่ทว่าเขาจะต้องได้เสวยทุกข์โทมนัสมิใช่น้อยในอบายทั้งหลาย ในไม่ช้านี้ เพราะไม่มีกัลยาณกรรมที่ได้ทำไว้ด้วยทวารทั้ง ๓ แม้แต่ทวารเดียว” ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน

    ครั้นกรุณาบุคคลนั้นได้อย่างนี้แล้ว ต่อนั้นไปจึงยังกรุณาให้เป็นไปโดยลำดับ คือ ในบุคคลที่รักกัน ต่อนั้น ในบุคคลที่เป็นกลาง ๆ กัน แต่นั้น ในบุคคลที่เป็นศัตรูกัน โดยอุบายวิธีเดียวกันนั้น แต่ถ้าปฏิฆะ ความขึ้งเคียด ในศัตรูเกิดขึ้นแก่เธอ โดยนัยที่กล่าวมาในก่อนนั้นไซร้ปฏิฆะนั้น เธอก็พึงระงับเสีย ตามนัยที่กล่าวในเมตตาภาวนานั่นเถิด อนึ่ง ในการแผ่กรุณาวิธีนี้ พระโยคาวจรได้พบหรือได้ยินข่าวบุคคลผู้ที่แม้ได้ทำความดีไว้ แต่มาประสบความเสื่อม มีความเสื่อมญาติ เสื่อมเพราะเกิดโรค เสื่อมโภคทรัพย์เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็พึงเจริญกรุณาได้ทุกประการอย่างนี้ว่า “บุคคลผู้นี้ แม้ไม่มีความเสื่อมเหล่านั้น แต่ก็เป็นผู้ชื่อว่ามีทุกข์อยู่นั่นเอง เพราะยังไม่ล่วงวัฏฏทุกข์---

    -”ดังนี้แล้ว จึงทำสีมสัมเภท (รวมแดน) ในชนทั้ง ๔ คือ ในตนเองในบุคคลที่รัก ในบุคคลกลาง ๆ ในบุคคลที่เป็นศัตรู ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ แล้วส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งนิมิตนั้นไป ก็ทำอัปปนาให้เจริญได้ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๓ โดยนัยที่กล่าวแล้วในเมตตาภาวนานั่นแล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2012
  8. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    [มุทิตาพรหมวิหาร]

    พระโยคาวจรผู้จะเริ่มทำมุทิตาภาวนา ก็ไม่ควรเริ่มทำในบุคคลที่เป็นโทษแก่ภาวนา มีบุคคลที่รักเป็นต้นก่อน เพราะว่า บุคคลที่รักหาเป็นปทัฏฐานแห่งมุทิตา ด้วยเพียงแต่ความเป็นที่รักเท่านั้นไม่ จะกล่าวไยถึงบุคคลที่เป็นกลาง ๆ และที่เป็นศัตรูเล่า ส่วนบุคคลที่มีเพศเป็นข้าศึกกัน และบุคคลที่ทำกาลกิริยาแล้ว ก็มิใช่แดนที่จะเจริญมุทิตาเหมือนกัน แต่บุคคลผู้เป็นสหายที่รักยิ่ง ซึ่งในอรรถกถาเรียกว่าสหายนักเลง พึงเป็นปทัฏฐานได้ เพราะสหายนักเลงนั้นเป็นคนบันเทิงเริงรื่นแท้ พบกันก็หัวเราะก่อน แล้วจึงพูดภายหลัง เพราะเหตุนั้น สหายนักเลงนั้น พระโยคาวจรพึงแผ่มุทิตาให้ก่อนก็ได้ หรือมิฉะนั้น ได้พบหรือได้ยินข่าวบุคคลที่รักได้รับความสุขก็ดี มีสุขวตถุจัดเตรียมไว้ก็ดี บันเทิงอยู่ พึงยังมุทิตาให้เกิดขึ้นว่า “สัตว์ผู้นี้บันเทิงหนอ โอ สาธุ ดีแท้”

    แท้จริง ท่านอาศัยอำนาจแห่งความข้อนี้แหละกล่าวไว้ในวิภังค์ว่า “อนึ่ง ภิกษุมีใจสหรคตกับมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่อย่างไร คือ ภิกษุมีมุทิตาแผ่ไปยังสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง เหมือนอย่างเห็นบุคคลผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่รักที่เจริญใจแล้ว พึงเป็นผู้บันเทิงใจฉะนั้น” ดังนี้

    ถ้าแม้สหายนักเลง หรือบุคคลที่รักของเธอนั้น เป็นผู้ได้รับความสุขมาแล้วในอดีต แต่เดี๋ยวนี้เป็นทุคตะเข็ญใจไป ก็พึงระลึกถึงภาวะที่เขาได้รับความสุขอันเป็นอดีตนั่นแหละ แล้วถือเอาอาการบันเทิงใจในอดีตของเขานั่นเอง ยังมุทิตาให้เกิดขึ้นว่า เขาผู้นั้น ในอดีตได้เป็นผู้มีโภคะมากอย่างนั้น มีบริวารมาอย่างนั้น บันเทิงใจอยู่เป็นนิตย์อย่างนั้น หรือว่า ถือเอาอาการบันเทิงใจของเขาที่เป็นอนาคตก็ได้ยังมุทิตาให้เกิดขึ้นว่า ในอนาคตเขาจักได้สมบัตินั้นอีก แล้วเที่ยวไปด้วยยานวิเศษทั้งหลาย มีคอช้าง หลังม้า และวอทองเป็นต้น ครั้งยังมุทิตาให้เกิดขึ้นในบุคคลที่รักได้อย่างนี้แล้ว ทีนี้จึงยังมุทิตาให้เป็นไปในคนกลาง ๆ ต่อนั้น ในคนเป็นศัตรู ดังนี้โดยลำดับแต่ถ้าปฏิฆะในคนที่เป็นศัตรูเกิดขึ้นแก่เธอโดยนัยที่กล่าวในก่อนนั้นไซร้ก็พึงระงับมันเสียตามนัยที่กล่าวในเมตตาภาวนานั้น แล้วทำสีมสัมเภทโดยความมีจิตเสมอในชนทั้ง ๔ คือ ในบุคคล ๓ นี้และในตนเองด้วย จึงต้องเสพเจริญกระทำให้มาก ซึ่งนิมิตนั้นไป ก็จะพึงยังอัปปนาให้เจริญได้ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๓ โดยนัยที่กล่าวแล้วในเมตตาภาวนานั้นแลต่อนั้นไป
     
  9. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    (อุเบกขาพรหมวิหาร)

    ส่วนพระโยคาวจารผู้ใคร่จะเริ่มทำอุเบกขาภาวนา ออกจากฌานที่ ๓ อันคล่องแคล่ว ที่ตนได้ในภาวนา ๓ มีเมตตาภาวนาเป็นต้นแล้ว เห็นโทษในภาวนาข้างต้น
    เพราะเป็นภาวนาประกอบด้วยมนสิการอันเป็นไปโดยความรักในสัตว์ เนื่องด้วยความนึกแผ่ไปว่า
    ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ถึงซึ่งความสุขเถิด ดังนี้เป็นต้น ๑

    เพราะเป็นภาวนาที่ท่องเที่ยวอยู่ใกล้ความยินร้าย และความยินดี ๑

    เพราะเป็นภาวนาที่ยังหยาบ เหตุยังประกอบด้วยโสมนัส ๑


    และเห็นอานิสงส์ในอุเบกขาโดยความเป็นธรรมละเมียดแล้ว บุคคลใดเป็นกลาง ๆ อยู่โดยปกติของเธอพึงวางเฉยกะบุคคลนั้น ยังอุเบกขาให้เกิดขึ้น

    ต่อนั้นจึงยังอุเบกขาให้เกิดขึ้นในบุคคลประเภทอื่น ๆ มีบุคคลที่รักเป็นอาทิ สมคำที่กล่าวไว้ในวิภังค์ว่า “อนึ่ง ภิกษุมีใจสหรคตกับอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่อย่างไร คือ ภิกษุแผ่อุเบกขาไปยังสัตว์ทั้งปวง เหมือนอย่างได้เห็นบุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่พอใจก็มิใช่ ไม่พอใจก็มิใช่ แล้วพึงวางเฉยอยู่ฉะนั้น” ดังนี้

    เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรครั้นยังอุเบกขาให้เกิดขึ้นได้ ในบุคคลกลาง ๆ โดยนัยที่กล่าวแล้ว ทีนี้จึงยังอุเบกขาให้เกิดในบุคคลที่รัก แต่นั้นในสหายนักเลง ต่อนั้นในคนที่เป็นศัตรูแล แล้วทำสีมสัมเภทโดยวางใจเป็นกลางในบุคคลทั้งปวงคือ ในบุคคล ๓ ตามที่กล่าวมานี้และในตนเอง แล้วเสพนิมิตนั้นให้ยิ่ง เจริญนิมิตนั้น ทำนิมิตนั้นให้มากเมื่อพระโยคาวจรทำไปอย่างนั้น จตุตถฌาน จะเกิดขึ้นตามนัยที่กล่าวแล้วในปฐวีกสิณนั้นแหละ

    มีปัญหาว่า “ก็จตุตถฌานนี้ เกิดแก่พระโยคาวจรผู้ได้ตติยฌานที่เกิดในกรรมฐานอื่น มีปฐวีกสิณเป็นต้นด้วยหรือ ?”
    ตอบว่า “หาเกิดไม่”

    ถามว่า “เพราะเหตุอะไร ?”
    ตอบว่า “เพราะความที่มีอารมณ์ไม่สมกัน แต่เกิดแก่ผู้ได้ตติยฌานที่เกิดในพรหมวิหารภาวนา มีเมตตาภาวนาเป็นต้นเท่านั้นเพราะมีอารมณ์สมกัน”

    [ประโยชน์ของพรหมวิหาร]
    ก็แลวิปัสสนาสุขก็ดี ภพสมบัติก็ดี เป็นประโยชน์ทั่วไป ความกำจัดปฏิปักขธรรมมีพยาบาทเป็นต้นได้ เป็นประโยชน์เฉพาะข้อ แห่งพรหมวิหารทั้ง ๔ นั่น จริงอยู่ ในพรหมวิหาร ๔ นั่น เมตตามีการกำจัดพยาบาทได้เป็นประโยชน์ ๓ ข้อนอกนี้ ก็มีการกำจัดวิหิงสา อรติและราคะเป็นประโยชน์ตามลำดับ สมคำพระสาริบุตรกล่าวไว้ว่า “ดูกรอาวุโส สิ่งซึ่งเป็นทางออกไปแห่งพยาบาท ก็คือเมตตเจโตวิมุติ สิ่งซึ่งเป็นทางออกไปแห่งวิเหสา ก็คือกรุณาเจโตวิมุติ สิ่งซึ่งเป็นทางออกไปแห่งอรติ ก็คือมุทิตาเจโตวิมุต สิ่งซึ่งเป็นทางออกไปแห่งราคะ ก็คืออุเบกขาเจโตวิมุติ” ดังนี้


    http://www.huajaifaidee.com/index2.php?option=com_content&view=article&id=189&Itemid=219
     
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    41,618
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,017
    ขอบพระคุณท่านอาจารย์ค่ะ ขออนุญาติไปลงเฟสบุค ทําไมอ่านจบแล้วมันตื้นตันใจ(คอหอย)เหลือเกิน ทําอยู่เป็นประจําเลยค่ะโดยเฉพาะเวลาทําสมาธิcatt1
     
  11. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    เมื่อจำเริญพระเมตตาเป็นสีมสัมเภทดังนี้แล้ว พึงแผ่เมตตาเป็น ๓ สถานด้วยสามารถ อโนทิศ โอทิศ ทิสาผรณะ คือแผ่เมตตามิได้เฉพาะก็ดี เฉพาะก็ดี แผ่ทั่วทิศทั้ง ๑๐ ก็ดี มีเมตตาจิตให้เป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ทั้งปวงเบื้องบนถึงภวัคคพรหมเป็นที่สุด เบื้องต่ำตลอดอเวจีนรก โดยปริมณฑลทั่วอนันตสัตว์อันอยู่ในอนันตจักรวาล พระโยคาพจรแผ่เมตตาเป็นอโนทิศนั้นด้วยอาการทั้ง ๕ ว่า สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนฺตุ อพฺยาปชฺญา โหนฺตุ อนีฆา โหนฺตุ สุขี อัตฺตานํ ปริหรนฺตุ สพฺเพ ปาณา สพฺเพ ภูตา สพฺเพ ปุคฺคลา สพฺเพ อตฺตภาวปริจาปนฺนา อเวรา โหนตุ ฯลฯ ปริหรนฺตุ แปลเนื้อความว่า สพฺเพ สตฺตาอันว่าสัตว์ทั้งหลายอันยังข้องอยู่ในรูปปาทิขันธ์ด้วยฉันทราคะ อเวรา โหนฺตุจงอย่ามีเวรแก่กัน อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุจงอย่ามีพยาบาทแก่กัน อนีฆา โหนตุ จงอย่ามีอุปัทวทุกข์ในกาย สุขี อตตานํ ปริหรนฺตุ จงนำให้พ้นจากทุกข์รักษาตนให้เป็นสุขทุกอิริยาบถเถิด อย่างนี้เป็นอาการอัน ๑

    สพฺเพ ปาณา อันว่าสัตว์อันมีชีวิตอยู่ด้วยอัสสาสะ ปัสสาสะมีปัญจขันธ์บริบูรณ์ทั้งปวงบทประกอบเหมือนกันเป็นอาการอัน ๑ สพฺเพ ภูตาอันว่าสัตว์ทั้งหลายอันเกิดในจตุโวการภพมีขันธ์ ๕ ประการ คือรูปพรหม แลสัตว์อันเกิดในเอกโวการภพมีขันธ์ ๑ คือสัญญีสัตว์เป็นอาการอัน ๑ สพฺเพ ปุคฺคลาอันว่าสัตว์อันจะไปสู่นรกทั้งปวงเป็นอาการ ๑ สพฺเพ อตฺตภาวปริยาปนฺนา อันว่าสัตว์อันนับเข้าในอาตมาภาพ เหตุอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ แลบัญญัติว่าอาตมาภาพนั้น จึงเอาบทอเวราเป็นต้นนั้นประกอบด้วยเป็นอาการอันเป็น ๑ เป็น ๕ ด้วยกัน

    ในอโนทิศนั้นแลแผ่เมตตาไปในอโนทิศนั้นคือเฉพาะเป็นส่วนว่าหญิงชายมีอาการ ๗ ว่า สพฺเพ อิตฺถิโย อเวรา โหนฺตุ ฯลฯ สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ สพฺเพ ปุริสา สพฺเพ อริยา สพฺเพ อนริยา สพฺเพ เทวา สพฺเพ มนุสฺสา สพฺเพ วินิปาติกา อเวรา โหนฺตุ ฯลฯ ปริหรนฺตํ สพฺเพ อิตฺถิโย นั้น แปลว่าบุรุษทั้งหลายทั้งปวง สพฺเพ ปุริสานั้น แปลว่าบุรุษทั้งหลายทั้งปวง สพฺเพ อริยา แปลว่าพระอริยเจ้าทั้งหลายทั้งปวง สพฺเพ อนริยาแปลว่าไม่ใช่พระอริยเจ้า คือปุถุชนทั้งหลายทั้งปวง สพฺเพ เทวา แปลว่าเทวดาทั้งหลายทั้งปวง สพฺเพ มนุสฺสา แปลว่ามนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง สพฺเพ วินิปาติกาแปลว่าอสุรกายทั้งหลายทั้งปวงจึงใส่อเวราเป็นต้นเข้าทุกบท ๆ เป็นอาการ ๗ ด้วยกัน

    แลทิสาผรณะนั้นมีอาการ ๑๐ คือ สพฺเพ ปุรตุถิมาย ทิสาย สตฺตา อเวรา ฯลฯ ปริหรนฺตุ สพฺเพ ปจฺฉิมาย ทิสาย สตฺตา สพฺเพ อุตฺตราย ทิสาย สพฺเพ ทกฺขิณาย ทิสาย สพฺเพ ปุรตฺถิมาย อนุทิสาย สพฺเพ ปจฺฉิมาย อนุทิสาย สพฺเพ อุตฺตราย อนุทิสาย สพฺเพ ทกฺขิณาย อนุทิสาย สพฺเพ เหฏฺิมาย ทิสาย สพฺเพ อุปริมาย ทิสาย สตฺตา อเวรา โหนฺตุ ฯลฯ ปริหรนฺตุ

    อธิบายเนื้อความว่า แผ่เมตตาไปแก่สัตว์อันอยู่ในทิศทั้ง ๑๐ เป็นอาการ ๑๐ ประการด้วยกัน อาการ ๕ อาการ ๗ อาการ ๑๐ ดังกล่าวมานี้ สมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าตรัสเทศนาไว้

    สำหรับพระโยคาพจรอันได้ฌานแล้วแผ่เมตตาเป็น...
    เจโตวิมุตติ พรหมวิหารอัปปนาฌานในกรุณาพรหมวิหารนั้น คือโยคาพจรได้เห็นแล้ว ซึ่งบุรุษอันเป็นกำพร้ามีรูปวิกลพึงเกลียดเป็นคนเข็ญใจได้ซึ่งความยากยิ่งนัก มีมือแลเท้าอันท่านตัดเสียมีแต่กระเบื้องขอทานวางไว้เฉพาะหน้า นอนอนาถอยู่ในศาลาแห่งคนยาก แลมีหมู่หนอนอันคลานคล่ำออกจากมือจากเท้า แลร้องไห้ร้องคราง เมื่อเห็นแล้วจงถือเอาซึ่งสัตว์นั้นเป็นนิมิต
    พึงแผ่ซึ่งกรุณาไปว่า กิจฺฉาวตายํ สตฺโต อาปนฺโน อปฺเปวนาม อิมมฺหา ทุกฺขา มุญฺเจยฺย เอาบทดังนี้เป็นบริกรรมภาวนาจำเริญไปลงเนือง ๆ แปลเป็นเนื้อความว่าดังเราสังเวช สัตว์ผู้นี้ถึงซึ่งความลำบากยิ่งนักแม้ไฉนพึงพ้นจากความทุกข์บัดนี้เถิด

    ถ้าจะแผ่ซึ่งกรุณาไปในสัตว์เป็นอันมาก ให้เอาบทดังบริกรรมภาวนาว่า ทุกฺขา ปมุญฺจนฺตุ ปาณิโน ดังนี้จงเนือง ๆ ถ้ามิได้ซึ่งคนอนาถาเห็นปานดังนั้น แม้บุคคลอันกอปรด้วยความสุข แต่ทว่าเป็นคนกระทำบาปหยาบช้า มีกายแลวาจาจิตทั้ง ๓ สถานนั้น นิราศจากกุศลธรรมสิ้น ให้โยคาพจรน้อมซึ่งคนดังนั้นมาเคียงข้าง ด้วยโทษในอนาคตแล้วพึงจำเริญซึ่งกรุณาไปว่า บุคคลผู้เป็นกำพร้า แต่ในมนุษย์โลกนี้กอปรด้วยความสุขเสวยซึ่งโภคสมบัติล้วนแล้วด้วยความสุข แต่ทว่ากายทวาร วจีทวาร มโนทวาร แห่งผู้นี้จะมีเป็นกุศลแต่อันเดียวก็หามิได้ แม้ดับชีวิตแล้วที่ไหนจะแคล้วอบายทั้ง ๔ ก็จะเสวยแต่ทุกขโทมนัสจะนับมิได้ ในอบายภูมิเที่ยงแท้เบื้องหน้าแต่นั้นโยคาพจรพึงจำเริญซึ่งกรุณานั้นไปแก่บุคคลอันเป็นที่รักแล้วให้จำเริญไปแก่คนอันมัธยัสถ์ไม่รักไม่ชัง ลำดับนับพึงจำเริญไปแก่บุคคลอันเป็นเวรแก่ตน แลวิธีอันจะระงับซึ่งเวรแลกระทำซึ่งสีมสัมเภทนั้น ก็เหมือนดังวิธีอันกล่าวแล้วในเมตตาพรหมวิหาร เมื่อโยคาพจรเสพซึ่งสมถนิมิตอันเป็นไปด้วยสามารถสีมสัมเภทนั้นแล้ว จะจำเริญซึ่งกรุณาไปก็จะถึงซึ่งอัปปนาฌาน โดยนัยดังกล่าวในเมตตาพรหมวิหาร ฯ

    จบเมตตากรุณาพรหมวิหารแต่เพียงเท่านี้

    ในวิมุทิตาพรหมวิหารนั้น ให้พระโยคาพจรแผ่ซึ่งมุทิตาจิตอันชื่นชมไปในสหายนักเลงนั้นก่อน แลสหายเห็นปานนั้นเคยชื่นชมด้วยกัน เมื่อจะกล่าวซึ่งวาจานั้น สำรวจก่อนแล้วจึงเจรจากันต่อภายหลัง ถ้ามิดังนั้นพระโยคาพจรได้เห็น มิฉะนั้นได้ฟังข่าวแห่งบุคคลอันเป็นที่รักแห่งตนอันกอปรด้วยความสุขเสวยซึ่งอารมณ์อันเป็นสุขนั้น ให้ทำจิตให้ชื่นชมยินดีด้วยความสุขความสบายแห่งสหายนั้นแล้ว พึงแผ่มุทิตาไปว่า อโห วตายํ สตฺโต สาธุ อโห สฏฺฐุ ดังนี้จงเนือง ๆ แปลว่า อโห วตดังเราชื่นชม อยํ สตฺโต อันว่าสัตว์ผู้นี้ดียิ่งนัก ถ้าจะแผ่ไปซึ่งมุทิตาในสัตว์เป็นอันมาก ให้เอาบทดังนี้บริกรรมภาวนาว่า สสมฺปตฺติโต มา วิคจฺฉนฺตุ จงเนือง ๆ ในลำดับนั้นจึงจำเริญมุทิตาไปในบุคคลอันมัธยัสถ์ แลบุคคลอันเป็นเวร แลวิธีอันจะบรรเทาซึ่งเวรแลกระทำซึ่งสีมสัมเภทนั้น มีนัยอันกล่าวแล้วในเมตตาพรหมวิหารนั้น ฯ

    จบมุทิตาพรหมวิหารแต่เพียงเท่านี้

    โยคาพจรปรารถนาจะจำเริญอุเบกขาพรหมวิหารร ให้ออกจากตติยฌานอันตนได้ในเมตตาพรหมวิหาร แลกรุณาพรหมวิหาร แลมุทิตาพรหมวิหารนั้นแล้ว จึงบำเพ็ญซึ่งจิตไปให้เฉพาะต่อบุคคลอันมัธยัสถ์ไม่รักไม่ชัง พึงยังอุเบกขาจิตให้บังเกิดด้วยกรรมว่า สตฺตา สตฺตา คตา วา กมฺมสฺสกา โหนตฺ ดังนี้จงเนือง ๆ เมื่อุเบกขาจิตบังเกิดเป็นอันดี ในบุคคลอันมัธยัสถ์แล้ว ให้โยคาพจรแผ่ซึ่งอุเบกขาไปในบุคคลอันเป็นที่รักแล้ว จำเริญไปในสหายอันเป็นนักเลงแล้ว จำเริญไปในบุคคลอันเป็นเวรแล้วจึงกระทำสีมสัมเภทในบุคคลทั้ง ๔ จำพวก ด้วยสามารถตั้งจิตให้เสมอกันในบุคคลทั้ง ๔ จำพวกแล้ว พึงส้องเสพกระทำเนิง ๆ ซึ่งสีมสัมเภทนั้นเป็นนิมิต เมื่อจำเริญไปดังนี้เนือง ๆ อันว่าจตุตถฌานก็จะบังเกิดแก่โยคาพจรเจ้านั้นโดยนัยอธิบายอันกล่าวแล้วในปวีกสิณนั้น ฯ

    จบอุเบกขาพรหมวิหารแต่เท่านี้

    แลโยคาพจรอันจำเริญซึ่งเมตตาพรหมวิหารนั้น จะได้ซึ่งอานิสงส์ ๑๑ ประการ สุขํ สุปติ คือจะหลับก็เป็นสุขดุจเข้าซึ่งสมาบัติ ๑ คือตื่นขึ้นก็เป็นสุข ๑ มีหน้าอันปราศจากวิการดุจดังว่าดอกบัวอันบาน ๑ จะนิมิตฝันก็มิได้เห็นซึ่งสุบินอันลามก ๑ จะเป็นที่รักแก่มนุษย์ จะเป็นที่รักแห่งเทวดาและฝูงผี ๑ ฝูงเทพยดาจะอภิบาลรักษา ๑ และผู้จำเริญเมตตานั้น เพลิงก็มิได้สังหาร จะมิได้เป็นอันตรายเพราะยาพิษ ศัสตราวุธอันบุคคลประหารก็มิได้เข้าไปในกาย ๑ คือจิตแห่งบุคคลผู้นั้นจะตั้งมั่นลงเป็นองค์สมาธิ ๑ คือมีพักตร์จะผ่องดังผลตาลอันหล่นจากขั้ว ๑ เมื่อกระทำกาลกิริยามิได้ฟั่นเฟือนสติ ๑ แม้จะมิได้ตรัสรู้มรรคผลในชาตินี้ ก็จะไปบังเกิดในพรหมโลก ๑ เป็น ๑๑ ประการด้วยกัน เหตุดังนั้น นักปราชญ์ผู้มีปัญญาพึงหมั่นจำเริญซึ่งเมตตาพรหมวิหาร อันมีอานุภาพเป็นอันมากดังกล่าวมานี้ ฯ

    วินิจฉัยในจตุพรหมวิหารยุติเท่านี้



    คัดลอก บางส่วนจาก:

    ::
     
  12. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    อย่าเพิ่งเบื่อเนื้อหา เรื่องการเจริญพรหมวิหารสี่

    บุคคลใดที่พึงเจริญในกรรมฐานนี้ น้อมจิตโยนิโสมนสิการ จนเข้าถึงระดับอัปปณาสมาธิได้แล้ว และทรงอารมณ์องค์ฌานนี้จะสามารถดำรงสภาวะได้เนิ่นนานกว่า กรรมฐานใดๆในทั้ง 40 กอง
    เป็นกรรมฐานที่ใช้ต่อรองขออโหสิกรรมต่อเจ้ากรรมนายเวรได้ที่สุด เป็นพื้นฐานของเจโตปริยญาน ญาณหยั่งรู้วาระอื่นได้"
    และ "จะพึงรู้ได้ว่า มันน่ามหัศจรรย์มากมายเหลือเกิน บางครั้งอาจซึ้งจนถึงขั้นน้ำตาไหลร่วงด้วยปิติธรรม ทราบซึ้งในพระกรุณาธิคุณ ปัญญาธิคุณ บริสุทธิ์คุณ ขององค์พระสัมมาสัมพุทเจ้าโดยอัตโนมัติ

    ว่าหนอว่าเราเพียงพยายามเจริญจิตพรหมวิหารได้นิดหน่อยเพียงนี้
    ยังทราบซึ้งได้วิเศษเลิศคุณปานนี้ แต่ยังน้อยนิดนัก ไม่สามารถเทียบเท่าได้แม้แค่เศษเสี้ยวอณูความมีเมตตากรุณา
    ของทุกพระพุทธองค์ ที่มีต่อเหล่าสรรพสัตว์โลกทั้งหลายมากมายหาที่เปรียบมิได้

    แล้วองค์พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่อุบัติมา จะต้องความเพียรของท่านนั้นจะมากมายปานใด
    ที่พระองค์ต้องทนทกข์ เวียนเกิดเวียนตาย เพื่อสั่งสมบารมีจนเต็มกว่าจะได้ตรัสรู้เพื่อสงเคราะห์ต่อบรรดาเหล่าสรรพสตว์ทั้งหลาย"


    "เมตตาธรรมค้ำจุนตนเอง และโลกา...ให้ผาสุข"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2012
  13. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    รายงานล่าสุดจากดร.ก้องภพครับ
    ก้องภพ อยู่เย็น
    เรามาติดตามสถานการณ์นอกโลกกันต่อครับ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน เวลา 13:43 UT ได้เกิดปฏิกริยาขนาดใหญ่ที่ดวงอาทิตย์ที่น่าติดตามอีกครั้ง โดยพลังงานนี้แพร่กระจายออกมาเป็นมุมกว้างทางทิศตะวันออก และพบปริมาณจุดดับขยายตัวในวันที่ 17 จากโมเดลพบว่าพลังงานบางส่วนจะเดินทางมาถึงโลก ในวันที่ 19 พฤศจิกายน เวลา 6-18 UT +/- 6 ชั่วโมง ผู้ที่สนใจการเปลี่ยนแปลงของโลกโปรดติดตามสถานการณ์ดูตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 22 ครับ
     
  14. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=IJf5hFi25kk&feature=related]อัปปมัญญาภาวนา - บทสวดและแปลไทย - YouTube[/ame]

    เปิดฟังไปเรื่อยๆ ทำจิตให้อ่อนโยน (ถ้าทำจิตให้เป็นสมาธิร่วมด้วยจะช่วยได้มาก )
    ช่วยเพิ่มผลึกโมเลกุลน้ำ รูป 6 เหลี่ยมในร่างกาย ที่มีปริมาณมากว่า 80% ให้สวยงาม จิตใจผ่องใส หน้านวลยิ่งกว่าใช้แป้งเด็กทาหน้าซะอีก

    หรือจะเปิดบทสวดนี้ออกลำโพงใส่น้ำในแก้ว ให้น้ำฟังแล้วนำมาดื่มก็ดีนะ(ควรใส่ขวดแก้วปิดฝาให้สนิทกันฝุ่น หรือตัวแมลงลงว่ายเล่น)

    เปืดฟังในบ้านบ่อยๆ เสริมบรรยากาศให้สุขสงบร่มเย็น
    หากมีคนป่วยอยู่ก็เปิดให้ฟังบ่อยๆ จะสามารถช่วยลดอาการเจ็บป่วยบางอย่างได้ อยากให้ทดลองดู

    และลองเปรียบเทียบน้ำดื่มพิเศษของน้ำ แยกออกเป็น 2 แก้ว
    พิสูจน์ลองดื่มว่าแตกต่างกันหรือเปล่า ?

    ระหว่างน้ำที่ เปิดฟังบทสวดอัปปมัญญาภาวนานี้ กับน้ำที่เทใส่แก้วแล้วดื่มทันที
    ค่อยๆละเมียดดื่มดู จะรู้สึกว่า น้ำที่เปิดบทสวดนี้ ให้ความรู้สึกนุ่มคอ ชุ่มคอกว่ากันเยอะเชียวหนา

    ลองๆดู เหอะท่าน..ไม่เสียหลายดีกว่าอยู่เปล่าๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2012
  15. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    หรือเอาอีกหนึ่งผลงาน เผื่ออยากทราบความหมายคำแปลของบทสวด

    ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำผลงาน VDO ทุกท่าน ขออนุโมทนาอย่างสูง



    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=YQHUSuzEAmM&feature=related]อัปปมัญญาเมตตาแปล ๏ The Metta compassionate mantra - YouTube[/ame]



    แล้วเดี๋ยวมาเดินเรื่องกันต่ออีก..
     
  16. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    เผื่อนำไปสวดท่องเอง...ซะเลย (หาได้แคร์..ไม่)

    บทเพลงแผ่เมตตา


    Aham avero homi
    อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากเวร

    abyapajjho homi
    อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    anigho homi
    อะนีโฆ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

    sukhi - attanam pariharami
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Mama matapitu
    มะมะ มาตาปิตุ ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า

    acariya ca natimitta ca
    อาจาริยา จะ ญาติมิตตา จะ ครูอาจารย์ และญาติมิตร

    sabrahma - carino ca
    สะพราหมะจาริโน จะ ผู้ประพฤติธรรมทั้งปวง

    avera hontu
    อะเวรา โหนตุ จงปราศจากเวร

    abyapajjha hontu
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    anigha hontu
    อะนีฆา โหนตุ จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

    sukhi - attanam pariharantu
    สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Imasmim arame sabbe yogino
    อิมัสมิง อาราเม สัพเพ โยคิโน ขอให้ท่านโยคี ( ผู้ทรงสมาธิ)ทั้งปวงในเขตนี้ )

    avera hontu
    อะเวรา โหนตุ จงปราศจากเวร

    abyapajjha hontu
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    anigha hontu
    อะนีฆา โหนตุ จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

    sukhi - attanam pariharantu
    สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Imasmim arame sabbe bhikkhu
    อิมัสมิง อาราเม สัพเพ ภิกขู ขอพระภิกษทั้งหลายทั้งปวงที่อยู่ในเขตนี้

    samanera ca
    สามะเณรา จะ และสามเณร

    upasaka - upasikaya ca
    อุปาสะกา อุปาสิกายา จะ ทั้งอุบาสกและ อุบาสิกา

    avera hontu
    อะเวรา โหนตุ จงปราศจากเวร

    abyapajjha hontu
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    anigha hontu
    อะนีฆา โหนตุ จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

    sukhi - attanam pariharantu
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Amhakam catupaccaya - dayaka
    อัมหากัง จะตุปัจจายะทายะกา ขอทายกทายิกา ผู้ให้ปัจจัย๔ แก่พวกเราทั้งหลาย

    avera hontu
    อะเวรา โหนตุ จงปราศจากเวร

    abyapajjha hontu
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    anigha hontu
    อะนีฆา โหนตุ จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

    sukhi - attanam pariharantu
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Amhakam arakkha devata
    อัมหากัง อารักขา เทวาตา ขอเทวดาผู้อารักขาเราทั้งหลาย

    Ismasmim vihare
    อิมัสมิง วิหาเร ในวิหารแห่งนี้

    Ismasmim vihare
    อิมัสมิง อาวาเส ในอาวาสแห่งนี้

    Ismasmim arame
    อิมัสมิง อาราเม ในอารามแห่งนี้

    arakkha devata
    อารักขา เทวาตา ขอเทวาผู้รักษาสถานที่เหล่านี้

    avera hontu
    อะเวรา โหนตุ จงปราศจากเวร

    abyapajjha hontu
    อัพยาปัชฌา โหนต จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    anigha hontu
    อะนีฆา โหนตุ จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

    sukhi - attanam pariharantu
    สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Sabbe satta
    สัพเพ สัตตา ขอสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง

    sabbe pana
    สัพเพ ปาณา ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

    sabbe bhutta
    สัพเพ ภูตา ขอภูติทั้งหลาย

    sabbe puggala
    สัพเพ ปุคคะลา ขอบุคคลทั้งหลาย

    sabbe attabhava - pariyapanna
    สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย

    sabba itthoyo
    สัพพา อิตถีโย ขอสตรีทั้งหลาย ทั้งปวง

    sabbe purisa
    สัพเพ ปุริสา ขอบุรุษทั้งหลาย ทั้งปวง

    sabbe ariya
    สัพเพ อริยา ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง

    sabbe anariya
    สัพเพ อนริยา ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง

    sabbe deva
    สัพเพ เทวา ขอเทวาทั้งหลาย ทั้งปวง

    sabbe manussa
    สัพเพ มนุสสา ขอมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งปวง

    sabbe vinipatika
    สัพเพ วินิปาติกา ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย ทั้งปวง

    avera hontu
    อะเวรา โหนตุ จงปราศจากเวร

    abyapajjha hontu
    อัพยาปัชฌา โหนตุ จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    anigha hontu
    อะนีฆา โหนตุ จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ

    sukhi - attanam pariharantu
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Dukkha muccantu
    ทุกขา มุจจันตุ ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์

    Yattha-laddha-sampattito mavigacchantu
    ยถาลัทธาสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา

    Kammassaka
    กัมมัสสะกา ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น

    Purathimaya disaya
    ปุรถิมายะ ทิสายะ ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ( ทิศตะวันออก )

    pacchimaya disaya
    ปัจฉิมายะ ทิสายะ ในทิศปัจฉิม ( ทิศตะวันตก )

    uttara disaya
    อุตตรายะ ทิสายะ ในทิศอุดร ( ทิศเหนือ )

    dakkhinaya disaya
    ทักขิณายะ ทิสายะ ในทิศทักษิณ ( ทิศใต้ )

    purathimaya anudisaya
    ปุรถิมายะ อนุทิสายะ ในทิศอาคเนย์ ( ทิศตะวันออกเฉียงใต้ )

    pacchimaya anudisaya
    ปัจฉิมายะ อนุทิสายะ ในทิศพายัพ ( ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ )

    uttara anudisaya
    อุตตระ อนุทิสายะ ในทิศอิสาน ( ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ )

    dakkhinaya anudisaya
    ทักขิณายะ อนุทิสายะ ในทิศหรดี ( ตะวันตกเฉียงใต้ )

    hetthimaya disaya
    เหฎฐิมายะ ทิสายะ ในทิศเบื้องล่าง

    uparimaya disaya
    อุปาริมายะ ทิสายะ ในทิศเบื้องบน

    Sabbe satta
    สัพเพ สัตตา ขอสัตว์ทั้งหลาย

    sabbe pana
    สัพเพ ปาณา ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

    sabbe bhutta
    สัพเพ ภูตา ขอภูติทั้งหลาย

    sabbe puggala
    สัพเพ ปุคคะลา ขอบุคคลทั้งหลาย

    sabbe attabhava - pariyapanna
    สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย

    sabbe itthiyo
    สัพพา อิตถีโย ขอสตรีทั้งหลาย

    sabbe purisa
    สัพเพ ปุริสา ขอบุรุษทั้งหลาย

    sabbe ariya
    สัพเพ อริยา ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย

    sabbe anariya
    สัพเพ อนริยา ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย

    sabbe deva
    สัพเพ เทวา ขอเทวา ทั้งหลาย

    sabbe manussa
    สัพเพ มนุสสา ขอมนุษย์ทั้งหลาย

    sabbe vinipatika
    สัพเพ วินิปาติกา ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย

    avera hontu
    อะเวรา โหนตุ อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

    abyapajjha hontu
    อัพยาปัชฌา โหนตุ อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

    anigha hontu
    อะนีฆา โหนตุ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

    sukhi - attanam pariharantu
    สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ จงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ

    Dukkha muccantu
    ทุกขา มุจจันตุ ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์

    Yattha-laddha-sampattito mavigacchantu
    ยถาลัทธา สัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา

    Kammassaka
    กัมมัสสะกา ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น

    Uddham yava bhavagga ca
    อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ และสัตว์ที่อยู่สูงขึ้นไปจนถึงภวัคคภูมิ

    adho yava aviccito
    อโธ ยาวะ อวิจจิโต และสัตว์ที่อยู่เบื้องล่างจนถึงอเวจีมหานรก

    samanta cakkavalesu
    สมันตา จักกะวาเลสุ สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล

    ye satta pathavicara
    เย สัตตา ปถวิจารา ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี

    abyapajjha nivera ca
    อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ขอจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน

    nidukkha ca nupaddava
    นิทุกขา จะ นุปัททวา ปราศจากทุกข์ และอุปัทวันตราย

    Uddham yava bhavagga ca
    อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ขอสัตว์ที่อยูสูงขึ้นไปถึงภวัคคภูมิ

    adho yava aviccito
    อโธ ยาวะ อวิจจิโต และสัตว์อยู่เบื้องล่างในอเวจีมหานรก

    samanta cakkavalesu
    สมันตา จักกะวาเลสุ สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล

    ye satta udakecara
    เย สัตตา อุทักเขจารา ขอสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ

    abyapajjha nivera ca
    อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย

    nidukkha ca nupaddava
    นิทุกขา จะ นุปัททวา ปราศจากทุกข์ ปราศจากอุปัทวันตราย

    Uddham yava bhavagga ca
    อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ขอสัตว์ในโลกธาตุอื่น ที่อยูเบื้องบนคือภวัคคภูมิลงมา

    adho yava aviccito
    อโธ ยาวะ อวิจิโต ตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้นไป

    samanta cakkavalesu
    สมันตา จักกะวาเฬสุ ขอสัตว์ทั้งหลายโดยรอบจักรวาล

    ye satta pathavicara
    เย สัตตา ปฐวีจารา ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี

    abyapajjha nivera ca
    อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย

    nidukkha ca nupaddava
    นิทุกขา จะ นุปัททวา ปราศจากทุกข์

    http://www.dhammathai.org/radio/illimitable.php
     
  17. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    เปิดเพลงคาราโอเกะ....ภาคบทสวดมนต์แผ่เมตตา แบบแขกๆประกอบ

    ลองมาตั้งจิตมั่นไว้ในท่าสบายๆ
    โดยแย้มน้อยๆในดวงใจเข้าไว้
    ที่จักระที่4 (กลางอก)สีขาวกลมภายในสว่าง
    ภายนอกดวงแก้ว...มีสีเขียวสดใสแผ่สาดกระจายไปโดยรอยรอบดวงแก้วขาวทั่วทุกทิศา

    อุทิศแด่ทุกดวงจิต ทุกดวงสรรพวิญญาณแผ่ไปทั้งในกายเรา ในโลก นอกโลก นอกจักรวาล
    อนันตจักรวาล อันไม่มีเขตประมาณ

    ให้มีความสุข ปราศจากเวรภัย พันจากการเบียดเบียน ปราศจากทุกข์ทั้งปวง

    รักษาตนให้พันจากทุกข์ภัย ทุกถ้วนหน้าทั้งปวงเทอญ


    ทำจิตให้สงบอ่อนโยน...

    ระลึกถึงบุคคลที่รักที่สุด(ห้ามระลึกถึงบุคลที่เสียชีวิตไปแล้ว)

    ระลึกถึงบุคคลที่รักรองลงมา (ห้ามนึกถึงเพศตรงข้ามที่ทำให้การมณ์กำเริบ)

    ระลึกถึงบุคคลที่จิตกลางๆ ไม่รัก...ไม่ชัง

    ระลึกถึงบุคคลที่โกรธเกลียดชัง ให้อภัย จนจิตสงบเย็น

    (ว่าบุคคลเหล่านี้ล้วนแต่อยู่ในวัฏฏะสงสาร น่าเวทนา ล้วนอยู่วังวนของกองทุกข์ทั้งสิ้น ให้ระลึกภาพว่าบุคลลทั้งหลายเหล่านั้น
    ว่าอยู่ในภาพ ที่จิตแย้มยิ้มในท่านั่งสมาธิ สุขสงบ...ทำได้ไหม?)



    และท้ายสุดเมื่อสุขสงบจนแนบแน่น...จึงแผ่จิตจากจุดกลางอกไปเรื่อยๆโดยรอบไม่มีประมาณ...ว่า
    "สัพเพ สัตตานัง สุขขี อัตตานัง ปะริหะรัญตุ
    สรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากภัยทั้งหมดทั้งสิ้นเทอญ " ๆๆๆ


    ระลึกถึงผู้ใด ภาพผู้ใดผุดขึ้นมา ให้บริกรรมบทนี้สำทับลงไปเรื่อยๆๆ

    บริกรรมสั้นๆเช่นนี้ ช้าๆ...นับร้อยครั้ง พันหน ด้วยจิตที่แย้มในดวงใจเช่นนี้เรื่อยๆ เทอญ


    เปิดเพลงสวดคลอ...ฟังไปเรื่อยๆ แย้มน้อยๆในดวงใจเข้าไว้ ให้จิตสุขสงบไปเรื่อยๆ

    จนผ่านเข้าสู่สภาวะอารมณ์ วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข จนลงอุเบกขา ในขั้นอัปปนาสมาธิ

    นี้เป็นสูตรลัดแบบง่ายๆ สำหรับอัปปมัญญาเมตตา
    ของ Toplus99 ลองดูครับท่านผู้เจริญทั้งหลาย แล้วจะประจักษ์ผลด้วยตนเอง

    เอาเฮอะ! ถ้ายังไม่เคย 10-20 นาที ลองดูซักที ชาตินี้จะเป็นไรไปเล่า!

    รับรองว่า..ดี๊ดี จริงๆนะ!


    (ถ้ายังไม่ทำ..ไม่ต้องกดอนุโมทนานะจ๊ะ ...ขอร้อง)

    แหม..หยิ่งซะด้วยเรา!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2012
  18. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    อุทิศส่วนกุศลประจำ(โดยไม่มีคาราโอเกะ) หลังการสวดมนต์........
     
  19. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004
    วันที่ 19/11/2012 ครบรอบวันเกิดกระทู้ 1 ขวบปีพอดี

    (^)HBDs

    เมื่อพระอภิญญาท่านว่า เขื่อนป่าสักจะกลายเป็นบางแสน (2 คน กำลังดูอยู่) ( 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ... หน้าสุดท้าย)
    toplus99 วันนี้ 01:12 AM
    โดย ton344 1,546 150,308
     
  20. toplus99

    toplus99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,621
    ค่าพลัง:
    +13,004

    น้องต้น ton344 ครับ
    สงสัยว่าเรามีเรื่องต้องเคลีย์กันหน่อย...ว่าการอธิษฐานจิตอุทิศส่วนบุญกุศล กับการเจริญเมตตาจิต นี่ต่างกันนะครับ..คุณน้อง


    การเจริญจิตภาวนา แบบอัปปมัญญา 4 คือ การปฏิบัติธรรมสมาธิ ด้วยการน้อมจิตพิจารณาโทษของความโกรธ ระลึกถึงผลความดีแห่งพรหมวิหารสี่ คือการพิจารณาธรรมแห่ง อำนาจของความ เมตตา กรุณา มุธิตา อุเบกขา

    ใช้จิตระลึกแผ่จิตอ่อนโยน ถึงทั่วทุกแดนภพ จนจิตก้าวล่วงถึงขั้นฌาณ4 แห่งอัปปณาสมาธิได้ จึงเรียกกันว่า " เมตตาเจโตวิมุติ "
    คาถาแผ่เมตตาพรหมวิหารสี่
    1 บทเมตตา
    2 บทกรุณา
    3 บทมุทิตา
    4 บทอุเบกขา


    บทเมตตาสัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ
    จงเป็นผู้ไม่มีเวรแก่กันและกันเถิด
    อัพยาปัชฌา โหนตุ
    จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
    อะนีฆา โหนตุ
    จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กาย ทุกข์ใจเถิด
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
    จงเป็นผู้มีสุข พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


    บทกรุณาสัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
    สัพพะทุกขา ปะมุจจันตุ
    จงพ้นจากทุกข์เถิด


    บทมุทิตาสัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
    ยะถาลัทธะลาภะ
    จงอย่าเสื่อมคลายจากสมบัติคือลาภที่ตนได้แล้ว
    ยะถาลัทธะยะสะ
    จงอย่าเสื่อมคลายจากสมบัติคือยศที่ตนได้แล้ว
    ยะถาลัทธะปะสังสะ
    จงอย่าเสื่อมคลายจากสมบัติคือสรรเสริญที่ตนได้แล้ว
    ยะถาลัทธะสุขะสัมปัตติโต
    จงอย่าเสื่อมคลายจากสมบัติคือความสุขที่ตนได้แล้ว


    บทอุเบกขา
    สัพเพ สัตตา
    สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
    กัมมัสสะกา
    เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
    กัมมะทายาทา
    เป็นผู้รับผลของกรรม
    กัมมะโยนิ
    เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
    กัมมะพันธุ
    เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    กัมมะปะฏิสะระณา
    เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
    ยัง กัมมัง กะริสสันติ
    กระทำกรรมอันใดไว้
    กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา
    ดีหรือชั่ว
    ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ
    จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

    #########

    พิจารณาบริกรรมภาวนาดังนี้ โดยแยบคายแล้วจิตก้าวล่วงด้วยแห่งอำนาจ ฌาน4 จิตใจจะเบาสบาย จิตแจ่มใส เจ้ากรรมนายเวร โรคภัย เบียดเบียนทั้งหลายจะน้อยลง อายุยืนยาวขึ้น..ได้อานิสงส์ดีมาก ประเสริฐนัก

    แต่การจะเจริญพรหมวิหาร สี่ จนก้าวล่วงครบถึงแห่ง องค์ฌาน 4 นี้ก็ต้องใช้เวลากันนานหน่อย แก้โทษจากการปฏิบัติธรรมจากกรรมฐาน กองอื่นๆได้ดีที่สุด
    เช่น อาการปวดหัว หนักหัว หรือนอนไม่หลับ อาการร้อน หนาววูบวาบๆ
    แก้อาการ จิตตึงตัว ขาดกำลังสติสัมปชัญญะ เซ่อๆ ซึม หรือลดความสะดุ้งหวาดกลัว จากเหล่าภูติผีวิญญาณ หรือโอปปาติกะทั้งหลายได้ดีมาก

    เหล่าเทวดาคุ้มครองรักษา..ให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง


    อยากจะพูดสำเนียงสุพรรณ เหน่อๆว่า...
    แหม๊! ของเขาดีจริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...