เมื่อองค์หลวงปู่ไดโนเสาร์ (พระสมุห์หา สุภโร)ไปวัดป่าบ้านตาด

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย newnewkku, 13 กรกฎาคม 2014.

  1. newnewkku

    newnewkku เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +177
    [​IMG]

    เมื่อองค์หลวงปู่เป็นพระกรรมฐานหนุ่ม(พระสมุห์หา สุภโร) เดินทางจากวัดบ้านคำคา จังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อไปฟังธรรมจากพระอาจารย์มหาบัวในสมัยนั้น
    พอไปถึงวัดป่าบ้านตาดปรากฏว่าพระอาจารย์มหาท่านไม่อยู่จึงเดินสำรวจภายในวัด ก็ได้เจอแม่ชีสูงอายุกำลังตากกล้วยสุกในกระด้ง ท่านจึงถามว่า

    พระสมุห์หา ; แม่เอ๋ย มาบวชอยู่วัดป่าวัดดง ปรารถนาทิพยสมบัติอันใด สวรรค์ชั้นไหนหนอ

    แม่ชี ; ลูกพระเอ้ย แม่ออกจากบ้านจากเรือน ออกทำความพากความเพียรภาวนา อย่าว่าแต่ทิพยสมบัติในสวรรค์นั้นเลย แม้แต่พรหมชั้นใดแม่ก็ไม่ได้
    ปรารถนา แม่มาปฏิบัติเพื่อละเพื่อทิ้งโลกนี้และโลกหน้า พรหมสมบัติ ทิพยสมบัติ สวรรค์สมบัติก็โลก แม่เพลิดแม่เพลินแม่ก็มาเกิดอีก เวียนตายเวียนเกิดไม่จบไม่สิ้น
    แม่ไม่เพลิดเพลินในโลกทั้งที่เป็นมนุษย์และเป็นทิพย์ ลูกพระก็เหมือนกันนะ ทำความเพียรนะลูก คนได้พระนิพพานมีเอนกคุณมากล้น ทิพยสมบัติ ทิพยพรหม จะได้เศษได้เสี้ยวอะไร

    หลวงปู่ชอบสอนพวกเราว่าได้ฟังธรรมวันนั้นเหมือนได้อริยะทรัพย์มหาศาล อย่าดูเบาผู้หญิง ในธรรมะไม่มีตัวผู้ตัวเมีย ไม่มีหญิงไม่มีชาย มีแต่เพศสาวก หญิงก็สาวก
    ชายก็สาวก สาวกแปลว่าผู้เชื่อผู้ฟัง ถ้าเชื่อถ้าฟังก็เรียกว่าเพศสาวก ตั้งใจประพฤติปฏิบัติก็เป็นสาวกะสังโฆ หญิงก็ดาม ชายก็ตาม ได้เหมือนกันหมด อย่าว่าตนเป็นลูกผู้หญิง ผู้หญิงเก่งกว่าผู้ชายก็มีมากมาย ในธรรมะไม่เลือกหญิงเลือกชาย ปฏิบัติได้ก็ถึงธรรมได้ถ้วนหน้า อย่าน้อยอกน้อยใจว่าเป็นหญิงแล้วบวชไม่ได้ เป็นหญิงถ้าตั้งใจปฏิบัติก็พ้นทุกข์ได้เหมือนกัน

    ภายหลังเมื่อเอารูปเก่าๆในหนังสือองค์หลวงตาถวายท่านดู ท่านก็ชี้ว่าเป็นแม่ชีคนนี้ แม่ชีสูงอายุวันนั้นคือ คุณแม่แพงศรี โลหิตดี โยมมารดาองค์หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน นั่นเอง​
    จากเพจหลวงปู่ไดโนเสาร์ค่ะ
     
  2. newnewkku

    newnewkku เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +177
    ประวัติ

    ประวัติ
    พระญาณวิสาลเถร
    มีนามเดิมว่า หา เกิดในสกุล ภูบุตตะ เมื่อขึ้น 10 ค่ำ เดือน 8 ปีฉลู ตรงกับวัน ศุกร์ ที่ 2 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2468 ที่บ้านนาเชือก ตำบลเวอ (ปัจจุบันเป็นตำบลนาเชือก) อ.ยางตลาด(ปัจจุบันเป็นอำเภอเมือง) จังหวัดกาฬสินธ์
    โยมบิดาชื่อ คุณปู่ สอ ภูบุตตะ โยมมารดาชื่อ คุณย่า บัวลา ภูบุตตะ
    มีพี่น้องรวมกัน 7 ท่าน
    ท่านถือกำเนิดในตระกูล คหบดี ในหมู่บ้านนาเชือก ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี มีฝูงวัวกว่า 200 ตัว มีที่นากว่า 300 ไร่ โยมแม่เลี้ยงหม่อนกว่า 100 กระด้ง ซึ่งถือว่ารวยที่สุดในแถบนั้น
    เมื่อท่านเป็นฆาราวาส ท่านช่วยพ่อแม่ทำงาน ทุกอย่างและที่สำคัญท่านเป็นนักมวย แต่ด้วยโยมพ่อท่านไม่ชอบที่ท่านเป็นนักมวยจึงยื่นคำขาดให้ท่านเลิกเป็นนักมวย ท่านจึงเบื่อหน่ายการครองเพศฆราวาส
    ท่านบรรพชา เมื่ออายุ 19 ปี ที่วัดสุวรรณชัยศรี (ปัจจุบันนี้เป็นท่านาชาวบ้าน ในตำบลท่าเรือ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์) โดยมีหลวงปู่ลือ เป็นอุปัชฌาย์
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ 20 ปี ที่อุโบสถหลังเดิมและอุปัชฌาย์ องค์เดิม แต่เนื่องด้วย แต่ก่อนคณะธรรมยุติและคณะมหานิกาย ยังไม่แยกกันอย่างเป็นทางการและคณะสงฆ์ในสมัยนั้นยังทำสังฆกรรมร่วมกันอยู่ การอุปสมบทของท่านจึงเป็นการรวมสองนิกาย คือพระอุปัชฌาย์เป็นคณะมหานิกาย ส่วน พระกรรมวาจารย์ พระอุสาวนาจารย์เป็นธรรมยุติกนิกาย เมื่อท่านอุปสมบทแล้วจึงมีคำสั่งให้แยกคณะกันชัดเจนและแยกกันทำสังฆกรรม เป็นปัญหาที่หลวงปู่เพราะพระอาจารย์ท่าน(พระครูประสิทธิ์สมณญาณ)เป็นคณะธรรมยุติแต่พระอุปัชฌาย์ท่าน(หลวงปู่ลือ)เป็นคณะมหานิกาย ท่านจึงต้องญัติเป็นคณะธรรมยุติอีกครั้งหนึ่ง
    ท่านญัติเป็นคณะธรรมยุติ ที่พัทธสีมาวัดสุวรรณชัยศรี ตำบลเว่อ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อ วันที่ 21 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2490 เวลา 13.00น. โดยมีพระครูประสิทธิ์สมณญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่สุข เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายา ว่า สุภโร แปลว่า ผู้เลี้ยงง่าย
    เมื่อท่านยังเป็นนวกะ(ผู้บวชใหม่) ได้จำพรรษาที่วัดสุวรรณชัยศรี จนสอบไล่นักธรรมตรี โท เอกได้ และได้มีโอกาสไปศึกษาต่อที่วัดนรนาถสุทริการาม ได้มีโอกาสอุปฐากท่านเจ้าประคุณสมเด็จมหามุนีวงศ์(สนั่น จนฺทปชฺโชโต) ด้วยนิสัยใฝ่เรียนรู้ของท่าน ท่านจะเรียนบาลีประจำทุกวัน เมื่อเว้นว่างจากการเรียนบาลีแล้ว ท่านก็จะเดินทางด้วยเท้าเปล่า เพือ่ไปเรียนกรรมฐานจาก พระครูญาณวิริยะ วัดป่าสะแก เขตพระโขนง ปัจจุบันคือ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล และพระสุทธิธรรมรังสี (ลี ธมฺมธโร) วัดอโศกการาม สมุทรปราการ แต่ด้วยท่านเริ่มมีอาการดีซ่าน การเรียนการสอนทั้งปริยัติและปฏิบัติจึงได้ถูกยับยั้งไว้และเมื่ออาการมากขึ้นจนต้องไปนอนพักที่โรงพยาบาลสงฆ์ ถึง 3 เดือน แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลย ท่านจึงทอดอาลัยในชีวิต ตั้งปารถนาขอใช้ชีวิตที่เหลือรับใช้การพระศาสนาสมเป็นผู้อุทิศตนต่อชาวโลกแล้ว จึงเดินทางกลับมาที่บ้านเกิด ในขณะนั้นท่านก็ได้รับการรักษาจากหมอพื้นบ้านและการอบรมทางใจ ปฏิบัติสมาธิกรรมฐานเข้าช่วยเหลือ จึงเป็นผลให้อาการของโรคทุเลาลงจนหายขาดในที่สุด เมื่อหายเป็นปกติแล้วท่านจึงออกเที่ยวปฏิบัติรุกขมูล หาความวิเวกทางกายและใจ ออกธุดงค์ไปยังภาคต่างๆในประเทศไทยและข้ามไปยังฝั่งลาว เข้ากัมพูชา จนเห็นผลทางจิตอันแน่นอนแล้วจึงกลับมาช่วยงานการพระศาสนา ในขณะที่ท่านออก ธุดงค์กรรมฐานนั้น ท่านได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพ่อแม่ครูบาอาจารย์พอประมวลได้ดังนี้
    1.หลวงปู่พระครูประสิทธิ์สมณญาณ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณชัยศรี ศิษย์อุปฐากหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยท่านจำพรรษาอยู่แถบจังหวัดเชียงใหม่
    2.หลวงปู่พระสุธรรมคณาจารย์ (แดง ธมฺมรกฺขิตฺโต) ผู้ก่อตั้งวัดประชานิยม ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต สมัยก่อนที่ท่านจะเดินทางไปเชียงใหม่ เป็นศิษย์ร่วมสมัยหลวงปู่ฝั้น หลวงปู่ขาว
    3.หลวงปู่พระสุทธิธรรมรังสี (ลี ธมฺมธโร) วัดอโศกการาม สมุทรปราการ
    4.หลวงพ่อพระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินธโร) วัดธรรมมงคล กรุงเทพ
    5.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล
    6.หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดถ้ำขาม สกลนคร
    7.หลวงปู่ทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี ร้อยเอ็ด
    8.พระอริยะเวที(เขียน ฐิตสีโล) วัดรังสิปาลิวัน
    ตำแหน่งทางการพระศาสนา
    1.เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ชั้น เอก โท ตรี
    2.กรรมการตรวจธรรมสนามหลวงในคณะธรรมยุติภาคอีสาน
    3.รับตำแหน่งพระฐานานุกรมในพระสุธรรมคณาจารย์ที่พระสมุห์หา สุภโร
    4.รับตำแน่งเจ้าคณะอำเภอสหัสขันธ์-ท่าคันโท-กุฉินาราย์
    5.รับประทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรีที่พระครูวิจิตรสหัสคุณ
    6.รับตำแหน่งรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์(ธ)
    7.รับประทานสมณะศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญวิปัสนาที่พระญาณวิสาลเถร
    8.ด้วยท่านชราภาพและมีอายุ80ปีมหาเถระสมาคมจึงยกให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธ์(ธ)
     
  3. newnewkku

    newnewkku เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +177
    ประวัติการสร้างวัดภูกุ้มข้าว

    เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่กลับมาจำพรรษาที่จังหวัดกาฬสินธุ์อันเป็นมาตุภูมิของหลวงปู่เอง ขณะนั้นท่านก็ได้ช่วยงาน พระครูประสิทธิ์สมณะญาณผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ในการเผยแผ่พระศาสนาและคณะธรรมยุติกนิกาย สร้างวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง โดยการที่เมื่อมีวัดร้างจากพระชาวบ้านจะมาขอพระไปจำพรรษาให้เป็นการเผยแผ่คณะธรรมยุติกนิกายโดยไม่ต้องสร้างวัดใหม่โดยการที่จะส่งพระออกไปต้องมีการอบรมทางปริยัติและปฏิบัติโดยพระเดชพระคุณหลวงปู่ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกอบรม ทำให้ท่านได้รู้จักกับพระสุธรรมคณาจารย์(แดง ธมฺมรกฺขิโต) ซึ่งขณะนั้นท่านกำลังสร้างวัดประชานิยม ในเมืองกาฬสินธุ์ท่านจึงเขาไปช่วยก่อสร้างและดูแลวัดแทนในขณะที่ท่านเจ้าคุณสุธรรมคณาจารย์เดินทางมาจำพรรษาที่วัดอโศการามจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อท่านเจ้าคุณเดินทางกลับจังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านจึงเห็นความวิริยะและความซื่อสัตย์ต่อครูบาอาจารย์ที่ได้ฝากฝังวัดวาอารามไว้ได้ท่านจึงชักชวนให้พระเดชพระคุณหลวงปู่ออกรุกขมูล วิเวก ธุดงค์ หาความสงบทางจิตจากจังหวัดกาฬสินธุ์ผ่านสกลนคร เข้าหนองคายไปพักที่วัดหินหมากเป้งที่หินหมากเป้งนี้เองหลวงปู่เทศก์ เทสฺรงฺสี(พระราชนิโรธรังสี)ได้ปลูกต้นสักทองไว้มากมายท่านเจ้าคุณจึงสั่งให้หลวงปู่เก็บเอาลูกสักทองใส่ย่ามไว้จำนวนมากโดยที่ท่านให้เหตุผลว่า “เก็บไว้เถิดต่อไปจะได้ใช้ประโยชน์”พักที่หินหมากเป้งได้ระยะเวลาพอสมควรจึงเดินทางต่อไปที่ประเทศลาวเที่ยวธุดงค์อยู่จนใกล้พรรษากาลจึงเดินทางกลับจังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อใกล้เข้าพรรษาไม่กี่วันได้รับการอาราธนาให้ไปสร้างวัดใหม่ที่บ้านคำคาอ.สหัสขันธ์ ซึ่งขณะนั้นมักเรียกกันว่าอำเภอใหม่ และให้ชื่อวัดใหม่โดยถือเอานิมิตลูกสักทองที่เก็บใส่ย่ามมาตั้งแต่วัดหินหมากเป้ง มาปลูก แล้วตั้งชื่อวัดว่า“วัดป่าสักกะวัน”
    ประมาณ ปี๒๕๐๑ทางราชการได้มีโครงการกั้นแม่น้ำลำปาวทำเขื่อน เพื่อผลิตไฟฟ้าและใช้ประโยชน์จากน้ำจึงได้มีการประกาศให้ประชาชนในพื้นที่ อำเภอเมืองและชาวอำเภอสหัสขันธ์ซึ่งเป็นเขตเขื่อนที่น้ำจะท่วมถึง ได้อพยพขึ้นบนที่สูงจะจับจองพื้นที่ใหม่ซึ่งวัดป่าสักกะวันก็อยู่ในเขตน้ำท่วมนั้นด้วยจึงได้ย้ายวัดไปตามที่ทางนิคมสร้างตนเองลำปาว จัดสรรให้ แต่ปรากฏพื้นที่ที่ทางราชการจัดสรรให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าและเป็นที่ใกล้ชุมชนในอนาคตอันใกล้ทางจึงขอเปลี่ยนที่ใหม่เพราะพื้นที่ดังกล่าวไม่สัปปายะ เป็นที่พลุกพล่านของผู้คน ไม่เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมนายอำเภอสหัสขันธ์ในสมัยนั้นจึงนิมนต์ให้หลวงปู่ขึ้นรถส่วนของท่านเพื่อหาเลือกสถานที่เพื่อสร้างวัด เมื่อนั่งรถผ่านภูกุ้มข้าวท่านจึงขอลงสำรวจพื้นที่และตกลงเลือกสถานที่นี้เพื่อสร้างวัดทั้งๆที่ภูกุ้มข้าวไม่มีสายน้ำหรือตาน้ำเพื่อใช้สอยเลย อีกทั้งเป็นสถานที่กันดารลำบาก(ในสมัยก่อนคนกาฬสินธุ์เรียกอำเภอสหัสขันธ์ว่าอำเภอสาหัสสากัน) ไม่มีต้นไม้ใหญ่มีเพียงต้นไผ่ขนาดเล็กที่ชื่อว่า “ต้นเพ็ก”เท่านั้นเอง แต่หลวงปู่ท่านก็เลือกสถานที่แห่งนี้ โดยให้เหตุผลว่าห่างไกลผู้คนนายอำเภอจึงได้อนุโมทนาที่หลวงปู่จะพัฒนาสถานที่นี้และกล่าวคำถวายสถานที่ให้หลวงปู่ดูแลทั้งลูกภูเขาหลวงปู่ก็รับไว้ด้วยความยินดีเมื่อท่านได้มาพัฒนาที่ภูกุ้มข้าวท่านก็เริ่มปลูกต้นไม้เจาะน้ำและขุดสระสร้างเสนาสนะ มีศาลาการเปรียญและอุโบสถ์เป็นต้น
    ประวัติการอัญเชิญหลวงพ่อบันดาลฤทธิ์ผล
    ในปีนั้นเองได้มีข่าวว่าหลวงพ่อบ้านด่านพระพุทธรูปนั่งดินข้างบึงโดนมีความประสงค์ที่จะอยู่ภูกุ้มข้าว(อ่านมาถึงตรงนี้ท่านผู้ชมเอ้ยท่านผู้อ่านคงแปลกใจว่า พระพุทธรูปจะพูดได้อย่างไร ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อเพราะเรื่องนี้เป็นจริงมาแล้ว โดยที่ฐานล่างของพระพุทธรูปองค์นี้ มีรูปพระองค์ขนาดย่อมอยู่เป็นรูปลักษณ์พระสาวกศรีษะโล้น ไม่มีเกศเหมือนพระพุทธรูปทั่วไป ชาวบ้านจะเรียกว่าเณรอุปฐากของหลวงพ่อบ้านด่านเมื่อชาวบ้านมีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจใคร่จะหาทางออกต้องไปถามกับหลวงพ่อการถามกับหลวงพ่อนั้นต้องยกเณรองค์นี้เสี่ยงทาย ปัจจุบันเณรองค์นี้ก็ได้รับการอัญเชิญให้มาอุปฐากหลวงพ่อที่วัดภูกุ้มข้าวด้วย)ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้มีประวัติเล่าสืบๆกันมาว่าในสมัยที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ได้เสด็จเข้าพระนิพพาน นานได้ ๘ พระวัสสาการพระมหากัสสะปะมหาเถราจารย์ ได้ปริวิตกในดวงมาล ว่าเมื่อครั้งพระพิชิตมารได้รับสั่ง ให้เอาพระอุรังคะธาตุคือกระดูกหัวอกแห่งพระองค์ไปประดิษฐานไว้ที่กัปปะคีรี ภูกำพร้าในดินแดนสุวรรณภูมิ พระองค์ผู้ทรงธุดงควัตรเป็นอาจิณจึงได้เรียกประชุมพระอริยะสงฆ์ได้ ๕๐๐รูป เดินทางผ่านฟ้าโดยนภากาศมาลงหยุดพักที่เมืองหนองหาน พระยาหนองหารกับนางเวงผู้เป็นเหสีเอกจึงได้ต้อนรับอุปฐากตามฐานานุรูป และมีการก่อพระธาตุเจดีย์เพื่อรับบรรจุพระธาตุนั้นแต่พระคุณท่านมิได้โปรดตามพระประสงค์เพราะไม่ใช่พระพุทธประสงค์จึงใหพระไปเอาพระอังคารธาตุ จากเมือกุสินารา มาบรรจุไว้แทน ได้นามว่าพระธาตุนาราย์เจงเวงและพระธาตุภูเพ็กมาจวบจนทุกวันนั้นท่านจึงเดินทางต่อไปที่เนินพระอรหันต์เริ่มสถาปนาภูกำพร้าให้เป็นพระธาตุเพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุไว้ในการนั้นได้มีท้าวนางเจ้าพญาทั้ง ๕ ได้ร่วมบุญกิจด้วยได้แก่ พระยาคำแดงพระยาอินทปัตย์ พระยาหนองหารน้อง พระยาหนองหารหลวง พระยา ข่าวการมงคลนี้ได้ขจรขจายออกไปสู่บ้านน้อยเมืองใหญ่ แต่ละแห่งแต่ละที่เมื่อได้รับข่าวนี้ก็ล้วนแต่เกิดปีติมงคลในจิตใจจึงได้รวบรวม ข้าวของเงิน เพชรนิลจินดาเพื่อมาร่วมก่อร่วมสร้าง พระธาตุองค์นั้นให้สำเร็จ ในจำนวนนั้นมีคณะจากแผ่นดินทวาราวดีได้เดินทางมาเพื่อร่วมสร้างพระธาตุครั้งนี้ และได้เดินทางมาพักที่ข้างบึงโดน เมื่อตื่นเช้าก็ รับประทานอาหารเก็บสัมภาระเพื่อจะเดินทางต่อขณะจะเดินทางต่อนั้นก็ได้มีคณะเดินทางอีกคณะเดินทางสวนมาจึงได้ไตร่ถามถึงที่ไปที่มาจึงทราบการบอกเล่าว่า“พวกท่านอย่าได้ไปต่อเลยหนทางแสนธุระกันดาร ข้ามภูเขาสูงทั้งไข้ป่า อสรพิษและสัตว์ร้ายนาๆชนิด พวกผมเดินทางไปล้มตายกันก็มาก ขากลับมาก็ล้มตายมากมายที่สำคัญพวกผมร่วมกันสร้างพระมหาธาตุเจดีย์พระธาตุพนมสำเร็จแล้วทำพิธีเฉลิมฉลองแล้วจึงเดินทางกลับมา” ความโศกเศร้าโศกาอาดูรได้หลั่งไหลมาสู่คณะเดินทาง ความเสียอกเสียใจเสียความตั้งใจ ที่จะมาสร้างบุญใหญ่ได้ล่มสลายแล้ว เมื่อสร่างจากอาการเศร้าโศกแล้ว จึงได้ตกลงกันว่าจะไม่เอาสมบัติใดๆกลับบ้านเมืองจะถวายเป็นพุทธบูชาแต่ในที่ไกลจึงได้หาศิลาแลงมาทำเป็นแผ่น ขุดหลุมลงเป็นทรงลูกบาศก์ เอาหินปิดทุกด้านไว้แล้วเอาศิลามาแกะเป็นพระพุทธปฏิมานั่งดินไว้ ฝากกับพระแม่ธรณีไว้ว่าขอฝากพระพุทธรูปและสมบัติเหล่านี้ไว้เป็นสมบัติของพระศาสนา หากมีผู้มีใจคดเลี้ยวไม่มีจิตใจเพื่อพระศาสนาขาดบุญญาบารมี อย่าได้ให้มาเอาไปได้ กาลเบื้องหน้าหากมีผู้ใดเป็นผู้มากด้วยบุญญาธิการ เป็นผู้อุทิศตนต่อพระศาสนาแล้วไซร้ขออุทิศสมบัติและพระปฏิมาองค์นี้บูชาแก่ท่านผู้นั้นให้นำไปค้ำชาติค้ำพระศาสนาขจัดเพศภัยให้แก่ผู้คนทั้งหลาย เมื่อฝากฝังกับพระนางธรณีแล้วจึงเดินทางกลับบ้านเมืองของตน
    ทุกปีเมื่อถึงฤดูปีใหม่สงกรานต์ชาวบ้านจะมาสรงน้ำและจุดบั้งไฟ ถวายเป็นพุทธบูชาเมื่อใครเดือดเนื้อร้อนใจก็ได้พึ่งพาหลวงพ่อ ให้ขจัดปัดเป่าให้เป็นปกติสุข โดยเฉพาะเรื่องทหารหลวงพ่อท่านโปรดเป็นที่สุดกาลครั้งก่อนเมื่อมีคนประสงค์จะเป็นทหารจะมาขอพรหลวงพ่อ เพื่อจับใบดำใบแดงไม่เคยพลาดเลยสักรายหรือมีคนเดินทางไปเกณฑ์ทหารแค่ผ่านอาณาเขตบึงโดนก็จับฉลากได้เป็นทหารฉะนั้นผู้ไม่ประสงค์จะเป็นทหารจะเดินทางหลีกบึงโดน ไกลแค่ไหนก็ต้องเดินทางอ้อมไปเพราะกลัวในฤทธิ์หลวงพ่อนั้นเอง เมื่อทางราชการจะกั้นแม่น้ำทำเขื่อนชาวบ้านจึงกลัวหลวงพ่อจะจมน้ำจึงพากันไปเสี่ยงทายถามสถานที่ที่หลวงพ่อมีประสงค์จะอยู่โดยมีการเสี่ยงทายถามตามทิศ ได้ทิศแล้วก็ถามตามเมือง ได้เมืองแล้วก็ถามหาหมู่บ้านได้หมู่บ้านก็ถามหาวัด ซึ่งเป็นผลว่าหลวงพ่อมีประสงค์จะมาอยู่ภูกุ้มข้าวถึง ๓ครั้ง ๓ ครา เมื่อมีข่าวดังนั้น ชาวบ้านจึงมานิมนต์หลวงปู่ให้ไปรับหลวงพ่อมาแต่หลวงปู่ยังไม่ว่าอย่างใด ในขณะนั้นได้มีอดีตนายตำรวจมาอุปสมบทอยู่กับหลวงปู่ท่านจึงขอให้หลวงปู่ไปรับหลวงพ่อมาก่อนที่น้ำจะท่วม องค์พระแต่ขอให้ท่านขออนุญาตทางบ้านเมืองให้เป็นลายลักษณ์อักษร ท่านจึงทำหนังสือขออนุญาต นายอำเภอและเจ้าคณะอำเภอมหานิกายเพราะองค์พระได้รับการดูแลโดยคณะสงฆ์มหานิกายเมื่อได้รับอนุญาตเป็นลาบลักษณ์อักษรแล้วท่านพร้อมด้วยคณะญาติโยม ศิษยานุศิษย์พากันไปอัญเชิญหลวงพ่อบ้านด่านที่บึงโดน แต่พอไปถึงปรากฏว่าน้ำกำลังท่วมอีกทั้งคลื่นลมแรงไม่มีเรือลำใดกล้าพาคณะอัญเชิญพระไปเลยบังเอิญว่ามีศิษย์ที่เคยบวชกับท่านไปรับจ้างขับเรือหางยาวอยู่แถวนั้น เมื่อได้ฟังประสงค์ของหลวงปู่แล้วจึงปวารณาว่าหาอาจารย์เอาหลวงพ่อมาได้ กระผมจะไม่ขอคิดค่าแรงค่าใดๆเลย คณะจึงได้เดินทางไปรับหลวงพ่อบ้านด่านขณะนั้นน้ำกำลังเอ่อท่วมในที่ต่างๆ มีเศษขยะใบไม้ลอยเต็มไปหมดมวลหมู่อสรพิษจับอยู่ตาม ต้นไม้ ยอดไม้และโขดหิน เมื่อเดินทางไปถึงปรากฏว่าน้ำได้ท่วมหมดทุกที่เว้นแต่ที่ๆหลวงพ่ออยู่เท่านั้นที่ยังไม่ท่วมเหมือนท่านกำลังรออะไรอยู่เมื่อคณะฯเดินทางไปถึงก็ให้หมอผี (อีสานเรียกหมอธรรม) ได้ทำพิธีขออนุญาตแต่ขณะกำลังทำพิธีอยู่นั้น หมอธรรมก็ตกใจสุดขีด ทิ้งเครื่องเซ่นบูชาวิ่งขึ้นไปนั่งบนเรือ ตัวสั่นงันงก อุทานได้แค่ว่างูๆๆๆ งูตัวสีทองใหญ่เท่าลำตาลพันรอองค์พระ องค์หลวงปู่เมื่อเห็นเหตุการณ์ดังนั้นจึงประกาศว่า“ข้าพเจ้าเป็นพุทธบุตร ที่มาที่นี้วันนี้ก็เพียงมีประสงค์มารับสมเด็จพ่อกลัวว่า น้ำจะท่วมองค์ท่าน ท่านผู้ที่พิทักษ์รักษาอยู่ที่แห่งนี้จงรับรู้ไว้ว่าข้าพเจ้ามิได้ต้องการทรัพย์สินสมบัติใดๆที่อยู่ที่นี่หากแต่ประสงค์องค์พ่อกับสามเณรของท่านเพื่อหนีน้ำที่กำลังจะท่วมนี้พวกท่านจะให้หรือไม่ก็ตาม แต่ข้าพเจ้าจะเอาพระนี้ไปอารักขาเอง” จบคำประกาศท่านจึงให้คนใช้เลื้อยตรงฐาน หลวงพ่อเมื่อขาดแล้วก็ให้ ผู้ชายกำลังดีอยู่ในวัยฉะกรรณ ยก ๔ คนแต่ปรากฏว่าไม่อาจขยับได้ ท่านจึงอธิษฐานขอต่อเทพเทวาผู้รักษาและยกเอาองค์พระขึ้นเรือมา นำมารักษาไว้ที่วัดสักกะวันจวบจนปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2014
  4. newnewkku

    newnewkku เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +177
    ประวัติการพบวิญญาณไดโนเสาร์ด้วยวิถีญาณสมาธิ

    ในขณะที่ท่านกำลังดำเนินการก่อสร้างวัดสั่งสอนผู้คนพุทธศาสนิกชน สอนปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรบริหารการปกครองคณะสงฆ์อยู่นั้นท่านก็ไม่ทิ้งการปฏิบัติในทางการอบรมจิตทำสมาธิภาวนา เมื่อมีเวลาว่างท่านจะขึ้นบนยอดภูกุ้มข้าวกางกลดนั่งสมาธิครั้งละ ๑๕ วัน โดยไม่ฉันอาหารไม่เข้าห้องน้ำ อบรมจิตใจตนเองอย่างนี้โดยวิธีนี้เรียกว่าการเข้า “ปฏิสลี”มีเพียงบางวันที่สามเณรจะเอายาต้มไปส่งแต่ถ้าเห็นหลังปู่ไม่เปิดกลดก็จะกลับลงมาโดยไม่ได้ถวายยาต้มนั้นในบางปีท่านฉันภัตตาหารเพียงวันเข้าพรรษาและวันออกพรรษาเท่านั้น ประมาณปี๒๕๓๔ท่านได้พบนิมิตโอภาส คือพบแสงสว่างที่ใสมากเป็นแสงที่ท่านไม่เคยพบในโลกนี้สว่างไปทั่วโลกธาตุ สว่างทั้งจักรวาล มองทะลุภูเขา มองทะลุต้นไม้มองเห็นทุกอย่างอยากเห็นสิ่งใดก็เห็นไปหมด แล้วก็ปรากฏสัตว์ชนิดหนึ่ง คอยาว ตัวใหญ่กว่าช้างเท้าใหญ่เท่ากระบุง เดินไปเดินมาในบริเวณภูกุ้มข้าว กินยอดไม้ เล่นน้ำ และล้มลงตายขณะที่เห็นมีลักษณะเป็นเหมือนฟีมล์หนังกลางแปลงในสมัยก่อนพอสัตว์นั้นตายลงก็หมดม้วนพอดี เป็นอย่างนี้อยู่ ๒-๓ครั้ง ในปี๒๕๓๖และปี๒๕๓๗ก็มีลักษณะเดียวกัน ครั้งสุดท้าย พอเห็นจบแล้วก็มีเสียงมาบอกว่า จะมาขออยู่ด้วยเตรียมตัวไว้พรุ่งนี้จะมีฝนมาจากทิศอุดรห่าใหญ่ผมจะมากับฝน ครั้งล่าสุดท่านเข้าปฏิสลีได้เพียง ๓ วันเท่านั้น ท่านจึงเก็บบาตรและกลดลงจากยอดเขาสั่งให้พระเณรเก็บสิ่งของไปไว้บนกุฏิเวลาประมาณเที่ยงวันฝนก็เริ่มตั้งเคาและตกลงมาอย่างไม่ลืมหูลืมตาหลวงปู่ท่านได้กางร่มเดินออกมาตรวจบริเวณวัดขณะฝนตก ร่มที่กางโดนลมพัดจนหักและปลิวไปกับลมเหลือเพียงด้ามร่มเท่านั้น บริเวณทั้งหมดมืดไปหมดมองสิ่งใดไม่เห็นท่านจึงนั่งลงตรงที่เห็นสัตว์นั้นตายในนิมิต ฝนตกกว่า ๓ ชั่วโมงจึงเริ่มซาและหายไปในที่สุด จากฟ้าที่มืดก็ปรากฏแสงสว่างขึ้นมาแผ่นดินที่เคยสูงโดนน้ำเซาะจนเห็นเป็นกระดูกชิ้นใหญ่ หลายสิบชิ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ท่านนั่ง ท่านก็สั่งให้คนเก็บกระดูกนั้นไว้และส่งข่าวไปยังนายอำเภอเพื่อมาตรวจสอบ ทางอำเภอจึงส่งข่าวไปยังศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เจ้าหน้าที่ก็ได้มาตรวจสอบปรากฏว่าเป็นไดโนเสาร์พันธ์กินพืชที่ใหญ่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบมา (ภายหลังให้ชื่อว่า อีสานโนซอรัสสิรินธรเน่) ต่อมามีการแจ้งว่าจะมีการจะขอทำการขุดค้นเพิ่มเติมจึงกราบเรียนถามองค์หลวงปู่เพื่อชี้จุดที่เห็นในนิมิตเพิ่มเติมท่านจึงได้ชี้ใต้ต้นไม้ทางทิศเหนือของวัดก็พบฟอสซิลไดโนเสาร์อีกหลายตัว(ปัจจุบันคือ“อาคารหลุมขุดค้นไดโนเสาร์พระญาณวิสาลเถร” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ค้นพบครั้งแรก)อีกทั้งยังมีการรวบรวมฟอสซิลไดโนเสาร์จากทั่วสาระทิศมารวมที่วัดสักกะวันและก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสัตว์โลกล้านปีได้รับพระราชทานนามว่า“พิพิธภัณฑ์สิรินธร” คณะศิษย์ยานุศิษย์ ลูกหลาน จึงถวายฉายานามหลวงปู่ว่า“หลวงปู่ไดโนเสาร์” (แต่เดิมท่านชื่อพระหา ภายหลังได้รับถวายตำแหน่งพระฐานานุกรมในตำแหน่งพระสมุห์ชาวบ้านจึงให้ชื่อว่าพระอาจารย์สมุห์หาภายหลังเมื่อมีการถวายสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูวิจิตรสหัสคุณชาวบ้านก็เรียกหลวงตาวิจิตร เมื่อท่านค้นพบไดโนเสาร์ชาวบ้านจึงนิยมเรียกท่านว่าหลวงตาวัดไดโนเสาร์ เมื่อเรียกบ่อยๆจึงเหลือแต่หลวงตากับไดโนเสาร์ แต่คณะศิษย์ในภายหลังไม่อาจเรียกท่านว่าหลวงตาได้(เพราะคำว่าหลวงตาคือคนที่มีครอบครัวแล้วมาอุปสมบท)จึงเรียกท่านว่าหลวงปู่ไดโนเสาร์จวบจนปัจจุบัน)
     

แชร์หน้านี้

Loading...