เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ปาปิปผลิ, 28 สิงหาคม 2012.

  1. ปาปิปผลิ

    ปาปิปผลิ พระอุโบสถเจดีย์7ชั้น

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    503
    ค่าพลัง:
    +1,801
    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวช เรียกว่า พระสิทธัตถะ ทรงได้ศึกษาค้นคว้าหาทางพ้นทุกข์อยู่เป็นเวลา 6 ปี และในช่วง 6 ปี พระองค์ทรงทำอะไรบ้าง

    ขั้นที่ 1 ทรงฝึกปฏิบัติโยคะ ในแคว้นมคธจากสำนักของ อาฬารดาบส กาลามโคตร กับ อุทกดาบส รามบุตร ทรงได้ศึกษาและปฏิบัติจนจบความรู้ของท่านทั้งสอง โดยได้สำเร็จฌานสมาบัติ 7 จากอาฬารดาบส และได้ฌานสมาบัติ 8 จากอุทกดาบส ก็ทรงทราบด้วยพระองค์เองว่า ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ที่แท้จริง จึงอำลาอาจารย์ทั้งสองเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกโดยลำพังต่อไป

    ขั้นที่ 2 ทรงบำเพ็ญตบะ หมายถึง การทรมานตนเองให้ลำบาก ตามวิธีทรมานตนเองแบบต่างๆ ที่นักบวชชาวอินเดียนิยมทำกันเป็นจำนวนมาก และเชื่อว่าเป็นแนวทางพ้นทุกข์ทางหนึ่งในคัมภีร์พระไตรปิฎกบันทึกไว้พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้สาวกทั้งหลายฟังว่า พระองค์ทรงทำตบะหรือทรมานตนหลายอย่าง เช่น เปลือยกายตากลมและฝน ไม่ฉันปลาและเนื้อ กินโคมัย(มูลโค) ยืนเขย่งเท้า ไม่ยอมนั่ง นอนบนหนามแหลมคม ลงไปแช่น้ำเย็นจัดวันละ 3 เวลา ฯลฯ พระองค์ทรงทรมานตอนอย่างอุกฤษฏ์ปานฉะนี้ ก็ยังไม่ค้นพบทางแห่งความพ้นทุกข์ จึงเลิก

    ขั้นที่ 3 ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา “ทุกรกิริยา” แปลว่า การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง พระองค์ทรงเล่าไว้ว่า ทรงกระทำเป็น 3 ขั้นตอน คือ
    - ขั้นที่ 1 กัดฟัน คือ กัดฟันเข้ากัน เอาลิ้นดุนเพดาน ทำนานๆ จนเกิดความร้อนขึ้นในร่างกาย จนเหงื่อไหลออกจากรักแร้
    - ขั้นที่ 2 กลั้นลมหายใจ คือ กลั้นลมหายใจให้นานที่สุด จนกระทั่งหูอื้อ ปวดศีรษะ จุกเสียดท้อง ร้อนไปทั่วร่างกาย ดุจนั่งอยู่บนกองไฟ
    - ขั้นที่ 3 อดอาหาร คือ ค่อยๆ ลดอาหารลงทีละน้อยๆ ในที่สุดไม่เสวยอะไรเลยเป็นเวลานาน จนกระทั่งร่างกายผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก เวลาเอามือลูบกายเส้นขนก็ร่วงหลุดออกมาเป็นกระจุด เดินไปไหนก็ซวนเซ เป็นลมแทบสิ้นชีวิต พระองค์ทรงกระทำถึงขั้นนี้ก็ยังไม่ตรัสรู้ จึงทรงคิดว่ามิใช่หนทางที่ถูกต้อง จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วหันมาเสวยพระกระยาหารดังเดิม พระองค์ทรงตระหนักว่าแนวทางที่รงทำมาเป็นเวลา 6 ปีเต็ม เป็นแนวทางที่ผิดพลาด ขณะเดียวกันก็ทรงค้นพบทางสายใหม่ ซึ่งเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” หรือ “ทางสายกลาง” จากนั้นพระองค์ทรงดำเนินตามทางสายกลางอันเป็นขั้นสุดท้าย ในระหว่างนี้ปัญจวัคคีย์ ที่ตามมาอุปัฏฐากขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเห็นพระองค์ทรงกลับมาเสวยพระกระยาหาร จึงเสื่อมศรัทธาหาว่าพระองค์ทรงคลายความเพียรเวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว คงไม่มีทางตรัสรู้แน่ จึงพากันปลีกตัวไปอยู่เสียที่อื่น
    ขั้นที่ 4 ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต หมายถึง ทรงคิดค้นหาเหตุผลทางด้านจิตใจ เหตุการณ์ช่วงนี้มีอยู่ว่า เมื่อพระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว พระองค์ก็เสด็จลำพังพระองค์ไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้าทรงรับข้า มธุปายาส จากนางสุชาดา ซึ่งนำมาถวายโดยนางคิดว่าเป็นเทวดาที่ตนบนบานขอบุตรชายไว้ หลังจากเสวยข้าวมธุปายาสแล้ว ก็ทรงลอยถาดลงในแม่น้ำ ต่อมาในเวลาเย็นพระองค์ได้เสด็จข้าแม่น้ำเนรัญชราไปยังฝั่งตะวันตก ทรงนำเอาหญ้า กุศะ(หญ้าคา) 8 กำที่นายffice:smarttags" /><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>โสตถิยะถวาย มาปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนต้นมหาโพธิ์ พระองค์ประทับนั่งขัดสมาธิ ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก พระปฤษฏางค์(หลัง) พิงต้นมหาโพธิ์ ทรงเข้าสมาธิจนจิตตั้งมั่นแน่วแน่บรรลุฌานทั้ง 4 และใช้ฌานทั้ง 4 เป็นพื้นฐาน พิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติและสภาวะธรรมทั้งหลายจนเกิดญาณ (การหยั่งรู้) ในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ความรู้แจ่มแจ้งนั้น ปรากฏขึ้นในพระทัยของพระองค์ดุจมองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นความสว่างโพลงภายในที่ปราศจากความสงสัยเคลือบแคลงใดๆ ความรู้นี้ได้ตอบปัญหาที่ทรงค้างพระทัยมาเป็นเวลากว่า 6 ปี พร้อมกับการเกิดความรู้ด้านกิเลส (ความเศร้าหมองแห่งจิต คือ โลภ โกรธ หลง) ที่ทรงสงสัยอยู่ในจิตใจของพระองค์ก็ได้ปลาสนาการไปหมดสิ้น
    การรู้แจ้งของพระองค์สามารถ สรุปเป็นขั้นๆ ดังนี้


    1.ในยามต้น ทรงระลึกชาติหนหลังของพระองค์ได้ เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ

    2.ในยามที่ 2 ทรงมองเห็นการเกิด การตายของสัตว์ทั้งหลาย ตามผลกรรมที่ได้กระทำไว้ เรียกว่า จุตูปปาตญาณ

    3.ในยามที่ 3 ทรงเกิดความรู้แจ้งที่สามารถทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้ชีวิตของคนเราและสัตว์ทั้งหลายต้องเวียนว่ายตายเกิด เรียกว่า อาสวักขยญาณ


    พระองค์ได้ทรงบรรลุถึงสิ่งที่ทรงประสงค์ โดยตรัสรู้ถึงความจริงในข้อที่ว่า ความทุกข์ทั้งปวงเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและจะทำอย่างไร จึงจะรอดพ้นจากความทุกข์นั้นได้ เรียก อาการที่พระองค์ทรงบรรลุว่า การตรัสรู้ คือ การรู้กระบวนการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับทุกข์ หรือรู้ความจริงของทุกข์ 4 ประการ เรียกว่า อริยสัจ 4


    1) ทุกข์ คือ ความอยากลำบาก ความเดือดร้อน

    2) สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดความอยากลำบาก ความเดือดร้อน

    3) นิโรธ คือ ความดับทุกข์ได้สิ้นเชิง

    4) มรรค คือ แนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่ความดับทุกข์

    ตั้งแต่พระสิทธัตถะเสด็จออกผนวช จนถึงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เป็นเวลา 6 ปี การตรัสรู้เรียกด้วยภาษาบาลีว่า พุทโธ ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า พุทธะ หมายถึง ผู้ตื่นจากความหลับใหล หลงใหลด้วยกิเลส ทรงเบิกบาน เพราะหลุดพ้นกิเลสด้วยพระองค์เองโดยไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สอน เหมือนนักวิทยาศาสตร์ประสบผลสำเร็จจากการค้นคว้าด้วยตนเอง จึงทรงมีพระนามว่า อรหัง สัมมาสัมพุทโธ หรือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อรหัง คือ ผู้ทรงหลุดพ้นจากิเลส สัมมาสัมพุทโธ คือ ผู้ทรงรู้แจ้งโดยชอบด้วยพระองค์เอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 สิงหาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...