เรื่องเด่น เมื่อ"ขั้วโลกใต้"ส่งเสียงเตือนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ถ้าเรายังอยู่เฉย น้ำท่วมโลกจะเป็นเพียงเศษเสี้ยว

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 15 กรกฎาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ขั้วโลกใต้-พลังจิต.jpg


    หลังจากมีข่าวว่ามีหิ้งน้ำแข็งได้หลุดจากขั้วโลกใต้ออกมานั้น ล่าสุด ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้ออกมาโพสต์ข้องความผ่านเฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" สรุปเรื่องดังกล่าว โดยมีเนื้อหาดังนี้



    5-4%2838%29.jpg

    วันนี้ผมให้สัมภาษณ์เรื่องหิ้งน้ำแข็งหลุดจากขั้วโลกใต้ เลยสรุปเรื่องมาบอกเพื่อนธรณ์ #เมื่อขั้วโลกใต้กรีดร้อง #เวลาของเราใกล้หมดแล้ว


    โลกกำลังร้อนขึ้น ปัญหาใหญ่มาจากการกระทำมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกคือตัวการสำคัญ เรื่องนั้นพวกเรารู้กันดีแล้ว


    สหประชาชาติพยายามหาทางให้คนทั้งโลกมาร่วมมือ จนเกิด Paris Agreement ที่อาจช่วยผ่อนหนักเป็นเบา แต่จู่ๆ นายทรัมป์ก็บอกว่าอเมริกาขอถอนตัวเฉยเลย แถมยังบอกว่าโลกร้อนเป็นเรื่องตลก ฮ่าๆ ตรูไม่เชื่อเฟ้ย

    โป๊ะ...แคร็ก ส่วนหนึ่งของหิ้งน้ำแข็งขนาดยักษ์ชื่อ Larsen C แตกเปรี๊ยะหลุดจากขั้วโลกใต้ (แล้ว Larsen A กับ B หายไปไหน ? คำตอบคือแตกไปก่อนหน้านี้และละลายไปหมดแล้วฮะ)

    ส่วนที่แตกออกมาของ Larsen C เป็นการแตกตัวของน้ำแข็งขั้วโลกใต้ ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึก ขนาด 5,300 ตร.กม. ใหญ่กว่ากรุงเทพเกือบ 4 เท่า (กรุงเทพมีพื้นที่ 1,500 ตร.กม.)

    นอกจากใหญ่ ยังหนาถึง 350 เมตร สูงกว่าตึกมหานคร ตึกสูงที่สุดของประเทศไทย (ตึกสูง 314 เมตร)

    ใหญ่และหนาไม่พอ ยังหนักอึ้ง น้ำหนัก 1 ล้านล้านตัน หรือเท่ากับวาฬบรูด้า 50,000,000,000 ตัว (ห้าหมื่นล้านตัว วาฬบรูด้าหนักเฉลี่ย 20 ตัน)


    บอกแค่นี้ เพื่อนธรณ์คงใกล้ช็อค แล้วน้ำไม่ท่วมโลกเหรอ ?

    ผมขอพาเรามุ่งหน้าไปขั้วโลกใต้ เวลาเราได้ยินคำว่าน้ำแข็งละลาย น้ำท่วมโลก ขอให้คิดถึงขั้วโลกใต้เข้าไว้

    เหตุผลคือขั้วโลกใต้มีแผ่นดิน น้ำแข็งละลายจากแผ่นดินลงทะเล น้ำจะเพิ่มขึ้น

    ขั้วโลกเหนือเป็นน้ำแข็งลอยอยู่ในน้ำทะเล ละลายก็ไม่มีผลมาก (ยกเว้นเกาะกรีนแลนด์มีหิมะจำนวนมากอยู่บนเกาะ)

    นักวิทยาศาสตร์จับตาดูน้ำแข็งขั้วโลกใต้ด้วยความหวาดเสียว โดยเฉพาะ Antarctic Peninsula

    AP เป็นแหลมยื่นเป็นจงอยออกมาจากขั้วโลกใต้ ชี้ไปทาง South Africa นักวิทยาศาสตร์บอกว่าบริเวณนี้แหละที่ร้อนเร็วกว่าตรงอื่น

    เป็นแหลมก็ย่อมมีอ่าว ในอ่าวเป็นแผ่นน้ำแข็งหนาหลายร้อยเมตร แผ่นแบบนี้เรียกว่า Ice Shelf หากแปลเป็นไทยตรงตัวได้ว่า “หิ้งน้ำแข็ง” (ผมรู้สึกทะแม่งๆ กับคำนี้ แต่ก็ใช้ไปก่อนแล้วกัน)



    5-2%2881%29.jpg


    เจ้าแผ่นน้ำแข็งดังกล่าวลอยอยู่ในน้ำ แม้จะแตกออกและละลาย ก็ไม่ได้มีปัญหามาก


    ทว่า...ฮ่าๆ อย่าดีใจไปครับ เพราะหิ้งน้ำแข็งคอยกันกลาเซียร์หรือธารน้ำแข็งที่ไหลลงสู่ทะเล ให้ไม่ไหลลงมาเร็วไปนัก

    ถ้าหิ้งน้ำแข็งแตกหลุดไป กลาเซียร์พาน้ำแข็งจากแผ่นดินไหลลงทะเลเร็วขึ้น ระดับน้ำทะเลก็สูงขึ้น

    หิ้งน้ำแข็ง Larsen ค่อยๆ หลุดออกมาทีละชิ้น ตั้งแต่ A และ B จนเริ่มมีรอยร้าวที่แผ่น C


    นักวิทยาศาสตร์ใช้ดาวเทียมตามดูรอยแยกยาว 120 ไมล์ พลางบอกชาวโลกว่าไอ๋หยา แย่แล้วจ้า แต่มีคนฟังไม่เท่าไหร่ ส่วนใหญ่ไปติดตามป้าซุ่มทุ่มไม่อั้น

    ในที่สุด นักวิทยาศาสตร์จากอังกฤษก็ร้องจ๊าก ตะโกนบอกว่า ณ บัดนาว ส่วนหนึ่งที่แตกจากหิ้งน้ำแข็ง Larsen C หลุดออกมาแล้วจ้า หลุดอย่างอิสรเสรี

    เมื่อหลุดออกมาก็จะพังทลาย กลายเป็น Ice Berg ลอยเท้งเต้งกลางทะเล ก่อนสูญสลายไปเหมือนรุ่นพี่ Larsen A&B

    ส่วนหนึ่งของหิ้งน้ำแข็ง C มีพื้นที่ 12 เปอร์เซ็นต์ ของหิ้งน้ำแข็ง Larsen ทั้งหมด


    เมื่อแตกออกไป หิ้งที่เหลือก็เริ่มจะทานไม่ไหว และอาจพังทลายตามมาในไม่ช้า

    นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งบอกว่า ยังไม่เป็นไรหรอก หิ้งน้ำแข็ง Larsen กั้นกลาเซียร์ไม่ใหญ่มาก หากพังหมด กลาเซียร์ไหลลงทะเล อย่างเก่งก็น้ำทะเลสูงขึ้น 10 เซนติเมตร ก็แค่ปลาตีนย้ายที่หากินเท่านั้น


    นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนั้นอาจอยู่บนเทือกเขาร็อคกี้ แต่ประเทศที่อยู่ริมฝั่งทะเลอย่างมัลดีฟส์ เมืองที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลนิดเดียวเช่นบางกอก คงบอกว่าเป็นไรสิเฟ้ย


    นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มบอกว่า ถ้าหิ้ง Larsen พังได้ ที่อื่นก็พังตามได้ด้วยสิจ๊ะ ยังมี Ice Terrace อีกมากที่กั้นธารน้ำแข็งในขั้วโลกใต้


    ถ้าพวกนั้นค่อยๆ ทยอยแตก คราวนี้แหละปลาตีนจะไปอยู่รังสิต เพราะระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

    นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า ปรากฏการณ์แบบนี้ไม่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่มนุษย์ทำมั้ง เป็นแค่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ Natural Phenomenal ฮ่าๆ ยูรู้จักป่าว ?




    5-3%2859%29.jpg


    นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มบอกว่ารู้เฟ้ย ว่าแต่ยูรู้ได้ไงว่าไม่เกี่ยว เก่งขนาดนั้นเลยเรอะ ยูพวกทรัมป์หรือเปล่า

    ผมก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ ผมสรุปง่ายๆ ให้เพื่อนธรณ์ฟังว่า มันจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยว โลกมันก็ร้อนขึ้น และน้ำแข็งก็ละลายหนักขึ้นเรื่อยๆ

    ถ้าคิดว่าไม่เกี่ยว จะให้เราท่องว่า Natural Phenomenal จนน้ำทะเลท่วมบ้านเรอะ ?

    ไม่เกี่ยวแล้วรัฐบาลเกือบทุกประเทศในโลก จะยอมมาเจรจาด้วยกันเกือบสิบปี จนมีข้อตกลงปารีสทำไม ? จะเดือดร้อนอะไรหนักหนา ?

    เพราะฉะนั้น อะไรช่วยได้ต้องช่วยกัน เพราะความเดือดร้อนกำลังมาเยือน

    ผมคงไม่ต้องอธิบายว่าเราจะลดก๊าซเรือนกระจกได้ยังไงบ้าง

    ผมเพียงอยากบอกว่า ขั้วโลกใต้ส่งเสียงเตือนแล้ว เตือนดังที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยนะ

    น้ำท่วมโลกเป็นเพียงเศษเสี้ยวของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากโลกร้อน เพราะเราไม่เรียกโลกร้อน นักวิทยาศาสตร์เรียก “สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง” (Climate Change)

    เมื่อน้ำแข็งแตกอย่าคิดถึงแค่น้ำท่วมโลก อยากให้คิดถึงภัยแล้ง น้ำท่วม ปะการังฟอกขาว พายุรุนแรง คลื่นความร้อน ฯลฯ

    เคราะห์ดีที่ผมเริ่มแก่แล้ว แต่ลูกผมหลานผมคงต้องเผชิญมหันตภัยเหล่านั้น

    และพวกเขาคงไม่มีทางแก้ไขอะไรได้ ยกเว้นส่งเสียงต่อว่าพ่อแม่ปู่ย่าตายาย

    ทำไมถึงส่งโลกเน่าๆ ให้พวกเขาพวกเธอครับ ?

    5-1%2887%29.jpg



    Cr.Thon Thamrongnawasawat

    เรียบเรียงโดย

    จิรศักดิ์ ทิตตยานนท์ : สำนักข่าวทีนิวส์


    -----------------------------------
    http://www.tnews.co.th/contents/y/337422
     
  2. หัวมัน

    หัวมัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2013
    โพสต์:
    2,191
    ค่าพลัง:
    +6,946
    งง เหมือนกันนะ
    จริงๆ เรื่องนี้ รัฐบาลประเทศมหาอำนาจน่าจะทราบและคาดการณ์ถึงอันตรายที่เกิดขึ้นได้ดี
    แต่ไม่มีใครทำอะไรอย่างจริงจัง
     
  3. สุวิทย์ มหา

    สุวิทย์ มหา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2017
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +37
    มันมีทางออกนะครับ คือ ลดจำนวนตัวสร้างปัญหา ก็คนนี่เเหละครับ โลกเดี๋ยวเค้าก็ลดจำนวนด้วยวิธีเค้าเองหละครับ เค้าก็รีเซ็ทใหม่มาหลายรอบเเล้ว ไม่ซิครับต้องบอกว่าเป็นเเสน เป็นล้านรอบ จากที่ก่อนจะมีพระโคดม
     
  4. สุวิทย์ มหา

    สุวิทย์ มหา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2017
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +37
    ผมว่าหน้าที่คนที่อยู่ตอนนี้คือไม่ควรสร้างประชากรให้มากกว่านี้ หรือควรลดให้เหลือซัก 1000-2000 ล้านคน จะไม่มีปัญหาเลย ฟังดูเหมือนเรื่องตลก เเต่ความจริงอันนี้เเก้ตรงจุดจริงๆ
     
  5. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ชมรอยแตกของหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี กันแบบชัดๆ



    รับชมกันอีกครั้งแบบชัดๆ ถึงความกว้างใหญ่ไพศาลและใหญ่โตมโหฬารของพืดน้ำแข็ง (ice sheet) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหิ้งน้ำแข็งลาร์เซน ซี (Larsen C Ice Shelf) ในแอนตาร์กติกาตะวันตก ก่อนหน้าที่มันจะแตกตัวออกและกลายเป็นภูเขาน้ำแข็ง (iceberg) ขนาดใหญ่กว่ากรุงเทพมหานครเกือบสี่เท่าหรือเกือบ 6,000 ตารางกิโลเมตร

    วิดีโอนี้ถ่ายไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2017 เผยให้เห็นรอยแยกหลักบนหิ้งน้ำแข็ง ก่อนหน้าที่ภูเขาน้ำแข็งจะแตกตัวออกในสัปดาห์ที่สองของเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยภูเขาน้ำแข็งลูกใหม่นี้มีขนาดใหญ่ที่สุดลูกหนึ่งเท่าที่เคยบันทึกไว้

    ปัจจุบันน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยังคงเร่งการละลายของน้ำแข็งทั่วโลก

    --------------
    ที่มา
    http://www.ngthai.com/environment/2864/see-the-huge-crack-in-west-antarctica/
     
  6. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    โลกจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร? ถ้าน้ำแข็งละลายหมด

    ice-melt-globe-opener.adapt_.590.1.jpg
    ภาพแผนที่ทั้งหมดในนี้ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากแผนที่ในปัจจุบัน เว้นเพียงแต่อย่างเดียวนั่นคือ น้ำแข็งทั้งหมดบนโลกได้ละลายหายไปสิ้น นี่คือแผนที่ของทวีปต่างๆที่จะจำลองให้เห็นถึงผลกระทบหากระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น 216 ฟุต ชายฝั่งใหม่ๆและทะเลในแผ่นดินจะถือกำเนิดขึ้น และหน้าตาของทวีปต่างๆ จะแตกต่างไปจากภาพที่ทุกคนคุ้นตา

    ทั่วโลกมีน้ำแข็งรวมกันคิดเป็นปริมาณ 5 ล้านลูกบาศก์ไมล์ นักวิทยาศาสตร์เคยประมาณไว้ว่า หากมนุษย์ยังคงเดินหน้าผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ต่อไป จะใช้เวลาราว 5,000 ปี จึงจะละลายน้ำแข็งทั้งหมดที่มีลงได้ เมื่อถึงเวลานั้นโลกที่ปราศจากน้ำแข็งจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 80 องศาฟาเรนไฮต์เมื่อเทียบกับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 58 องศาฟาเรนไฮต์



    01-ice-melt-north-america.adapt_.1900.1-1024x768.jpg

    ทวีปอเมริกาเหนือ

    ชายฝั่งทะเลแอตแลนติกเดิมจะหายไป ในที่นี้รวมไปถึงชายฝั่งฟลอริดา และชายฝั่ง Gulf ด้วย ในแคลิฟอร์เนีย หุบเขาซานฟรานซิสโกจะกลายเป็นกลุ่มเกาะ บริเวณ Central Valley จะกลายเป็นอ่าวแทน

    02-ice-melt-south-america.adapt_.1900.1-1024x768.jpg

    ทวีปอเมริกาใต้

    พื้นที่ลุ่มน้ำแอมะซอน บริเวณรอบๆแม่น้ำ Basin จะกลายเป็นอ่าว ส่วนกรุงบัวโนสไอเรส เมืองหลวงของอาร์เจนตินาจะจมอยู่ใต้น้ำ เมื่อน้ำทะเลท่วมเข้าไปในแผ่นดินก่อให้เกิดชายฝั่งใหม่ๆ

    03-ice-melt-africa.adapt_.1900.1-1024x768.jpg

    ทวีปแอฟริกา

    เทียบกับทวีปอื่น แอฟริกาได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลน้อยที่สุด แต่อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของโลกจะส่งผลให้หลายพื้นที่ในทวีปไม่สามารถอยู่อาศัยได้ ในอียิปต์ กรุงไคโร และนครอเล็กซานเดรียจะถูกน้ำจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนท่วม

    04-ice-melt-europe.adapt_.1900.1-1024x768.jpg

    ทวีปยุโรป

    กรุงลอนดอนจะกลายเป็นแค่ความทรงจำ นครเวนิชจะจมอยู๋ใต้ทะเลเอเดรียติก อีกหลายพันปีนับจากนี้ เนเธอร์แลนด์จะค่อยๆจมลงสู่ทะเล เดนมาร์กเองก็ด้วย จากการขยายตัวของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำและทะเลแคสเปียนก็เช่นกัน

    05-ice-melt-asia.adapt_.1900.1-1024x768.jpg

    ทวีปเอเชีย

    พื้นที่อยู่อาศัยของชาวจีนจำนวน 600 ล้านคนจะถูกน้ำท่วม รวมไปถึงบังกลาเทศที่มีประชากร 160 ล้านคนด้วยบริเวณแนวชายฝั่งทางตะวันออกของอินเดียจะถูกรุกล้ำเข้ามามากขึ้น ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ น้ำจากแม่น้ำโขงจะเอ่อท่วมและส่งผลให้ประเทศกัมพูชากลายเป็นเกาะ

    06-ice-melt-australia.adapt_.1900.1-1024x768.jpg

    ทวีปออสเตรเลีย

    อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ทะเลทรายขยายตัว ระดับน้ำทะเลจะส่งผลให้เกิดทะเลในทวีปเพิ่ม พื้นที่ชายฝั่งทางตะวันออกของทวีปจะถูกน้ำทะเลท่วมเอ่อล้น ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีความสำคัญเนื่องจากประชากรของประเทศราว 4 ใน 5 จากทั้งหมดอาศัยอยู่ในบริเวณนี้

    07-ice-melt-antarctica.adapt_.1900.1-1024x768.jpg

    แอนตาร์กติกา

    แอนตาร์กติกาตะวันออก : พืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกาตะวันออกมีขนาดใหญ่มาก และบรรจุน้ำแข็งปริมาณ 4 ใน 5 จากทั้งหมดทั่วโลก แต่แม้จะมากมายแค่ไหน ก็ไม่อาจต้านทานการละลายได้ อย่างไรก็ตามผลการศึกษาล่าสุด ดูเหมือนว่าชั้นน้ำแข็งบริเวณนี้จะมีความหนาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลให้เกิดไอน้ำ และกลั่นตัวตกลงมาเป็นหิมะมากขึ้น

    แอนตาร์กติกาตะวันตก : เช่นเดียวกับกรีนแลนด์ พื้นที่ของแอนตาร์กติกาตะวันตกมีขนาดเล็กมากหากปราศจากน้ำแข็งและผืนทวีปส่วนใหญ่ก็อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งค่อยๆยุบตัวลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา มีปริมาณน้ำแข็งราว 65 ล้านเมตริกตันละลายลงทะเลไปในทุกๆปี

    ----------------------
    ขอบคุณที่มา :
    http://www.ngthai.com/environment/2663/the-world-would-look-like-if-all-the-ice-melted/
     
  7. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,174
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,647
    ANTARCTICA — นาซารายงานว่าภูเขาน้ำแข็งขนาดราวเดลาแวร์ได้แตกออกจากชั้นน้ำแข็ง Larsen C ในแอนตาร์กติกา ระหว่างวันที่ 10 ถึง 12 กรกฎาคม นักวิทยาศาสตร์เตือนว่าการแตกในครั้งนี้สามารถทำให้เกิดรอยแตกใหม่และก่อให้การแยกตัวของภูเขาน้ำแข็งขึ้นขึ้นอีก


    ชั้นน้ำแข็งเป็นส่วนที่ลอยตัวของธารน้ำแข็งซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุน ในระบบธารน้ำแข็งที่มั่นคง การเคลื่อนที่ลงเนินของธารน้ำแข็งจะถูกชดเชยโดยแรงลอยตัวของน้ำที่หน้าชั้นน้ำแข็ง


    ระบบดังกล่าวจะไม่เสถียรเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นทั้งบนพื้นผิวและด้านล่างของชั้นน้ำแข็ง ส่งผลให้เกิดการแตก อย่างไรก็ตามชั้นน้ำแข็งที่ยุบตัวลงไม่ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นโดยตรงเนื่องจากยังคงมีการลอยตัว

    เมื่อชั้นน้ำแข็งแยกตัวออกมา แรงลอยตัวซึ่งก่อนหน้านี้จะชดเชยการไหลของธารน้ำแข็งก็จะหายไป จากนั้น ธารน้ำแข็งจะเลื่อนลงสู่มหาสมุทรซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว


    คาบสมุทรแอนตาร์กติกเป็นหนึ่งในสถานที่ที่อุณหภูมิเพิ่มเร็วที่สุดในโลกตลอดช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมาก รวมไปถึงการยุบตัวของ Larsen A และ B แต่รอยแตกของ Larsen C นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับภาวะโลกร้อน ทว่าการเปลี่ยนแปลงบางอย่างอาจจะมีส่วนเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อน้ำที่อุ่นขึ้นค่อยๆเซาะฐานของชั้นน้ำแข็ง "แดน แมคกราธ นักธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคโรลาโดสเต็ท ซึ่งเป็นผู้ศึกษาเกี่ยวกับชั้นน้ำแข็ง Larsen C มาตั้งแต่ปี 2008 เผย


    ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าส่วนที่เหลือราว 90% ของ Larsen C ถูกยึดอยู่กับที่ด้วย Bawden Ice Rise ทางตอนเหนือของรอยแยกและ Gipps Ice Rise ในทางทิศใต้ ดังนั้นชั้นน้ำแข็งจึงไม่น่าจะยุบตัวลงในเร็ววันนี้



     

แชร์หน้านี้

Loading...