เยี่ยมบ้านเกิดยอดกวีเช็กสเปียร์

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 17 กรกฎาคม 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,488
    เยี่ยมบ้านเกิดยอดกวี'เช็กสเปียร์'

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]



    [​IMG]

    สิริวรรณ เอี่ยมเทศ รายงาน







    </TD><TD vAlign=top align=right>





    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    ด้านหลังของบ้าน






    </TD></TR></TBODY></TABLE>ยอดกวีชาวอังกฤษ วิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ ว่ากันว่า บทประพันธ์ของเขา มีผู้อ่านมากพอๆกับไบเบิลเลยทีเดียว

    ในภาษาไทย มีเรื่องของเช็กสเปียร์ให้อ่านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อทรงแปล The Merchant of Venice ออกมาเป็น"เวนิสวาณิช"

    ได้โอกาสไปเยือนบ้านเกิดของเช็กสเปียร์ ที่เมืองสแตรตฟอร์ด อัพพอน เอวอน (Stratford upon Avon ) ประเทศอังกฤษ ได้พบกับบรรยากาศโรแมนติค อาคารอิฐเก่าๆ หน้าบ้านหรือร้านค้าประดับประดาด้วยดอกไม้สีสดใสห้อยระย้อยระย้า อาจจะเป็นเพราะฤดูร้อนก็ได้ที่ทำให้สภาพทั่วๆเมืองสดใส

    [​IMG]

    มีแม่น้ำเอวอนไหลผ่านมาจากทางตะวันออกของอังกฤษ เป็นแหล่งอาศัยของนกหงส์ นกเป็ดน้ำ

    บ้านเกิดของเช็กสเปียร์ หรือ Shakespere"s birthplace นับถึงวันนี้มีอายุกว่า 400 ปี หรือประมาณสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นระยะเดียวกับเสียกรุงครั้งแรกนั่นเอง
    [​IMG]
    เช็กสเปียร์เกิดและเติบโตที่บ้านหลังนี้ ก่อนที่จะไปโด่งดังที่กรุงลอนดอน

    ก่อนที่จะเข้าไปชมภายในบ้านมาทำความรู้จักกันคร่าวๆก่อนว่าวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ มีความยิ่งใหญ่อย่างไรในกวีนิพนธ์ของเขา
    [​IMG]
    เช็กสเปียร์ เกิดและเสียชีวิตในวันเดียวกันคือ เกิด 23 เม.ย.1564 ( พ.ศ.2107 ) และเสียชีวิต 23 เม.ย.1616 ( พ.ศ.2159 )

    เป็นบุตรของจอห์น เช็กสเปียร์ พ่อค้าและเทศมนตรีแห่งเมืองสแตรตฟอร์ด จริงแล้วๆในช่วงวัยเด็กไม่ค่อยจะมีใครรู้ประวัติของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องที่เล่าปากต่อปากกันมา

    [​IMG]
    เช่นเล่ากันว่า วัยเด็ก หลังจบแกรมม่าร์ สคูล แล้วไม่ได้เข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย จุดหักเหที่ต้องออกจากเมืองสแตรตฟอร์ด ก็เพราะไปลักลูกแกะของคหบดีรายหนึ่งเข้า ทำให้ต้องหลบหนีเข้ามาอยู่ในกรุงลอนดอนตั้งแต่นั้นมา

    เล่ากันอีกว่าต่อมาคหบดีคนนั้นก็ได้ไปนั่งดูขโมยที่ลักลูกแกะของตัวเอง เล่นละครให้ดูที่โรงละครโกล้บ ( Globe )
    [​IMG]

    อาชีพแรกในกรุงลอนดอน คือดูแลรถม้าให้กับขุนนางและผู้ที่มาชมละครเวทีชื่อ Globe เช็กสเปียร์ มีเทคนิคพิเศษคือให้อาหารม้าที่ตัวเองรับผิดชอบ ทำให้เหล่าเจ้าของต่างชื่นชมในการเอาใจใส่ทุกครั้งที่มาโรงละครทุกคนจึงต้องการใช้บริการของ เช็กสเปียร์ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    หงส์ที่แม่น้ำเอวอน






    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อาศัยความคุ้นเคยกับคนในโรงละคร เลื่อนฐานะมาเป็นคนเปิดม่านก่อนแสดง ต่อมาไม่นานก็มีหน้าที่ในการประกาศชื่อตัวละครก่อนที่ตัวละครจะออกแสดง คลุกคลีในโรงละครไม่นานนัก เริ่มมีบทแสดงบนเวทีบางเล็กๆน้อยๆอยู่หลายครั้ง

    ตลอดที่อยู่ในโรงละคร พยายามฝึกฝนขีดๆเขียนๆบทกวี กระทั่งในปี 1593 สาธารณชนเริ่มรู้จัก วิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ ในบทบาทนักเขียนเรื่อง Venus and Adonis เวลาต่อ เช็กสเปียร์ กลายเป็นหุ้นส่วนของโรงละคร Globe


    เริ่มเขียนบทละครในปี 1595 เป็นบทละคร 36 เรื่องจากที่ประพันธ์ไว้ 38 เรื่อง

    บทกวีของเช็กสเปียร์ มีหลายรสชาติไม่ว่าจะเป็นความรักความผูกผัน อำนาจ ความสนุกสนาน โศกนาฏกรรม และความเศร้า ที่คุ้นหูคนไทยก็จะมี โรเมโอแอนด์จูเลียต , แฮมเล็ต , จูเลียส ซีซาร์

    ในบทประพันธ์ยังแสดงความรอบรู้เชี่ยวชาญหลายสาขาทั้ง ปรัชญา การเมือง การทหาร และดนตรี การใช้คำที่ตรงไปตรงมาชัดเจน รวมไปถึงการแสดงอำนาจพลังการต่อสู้ดิ้นรนของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นบุคคลระดับสูงจนถึงระดับล่าง ประเภทโจร ไพร่ สมัยก่อนยังไม่นิยมใช้กันแต่ เช็กสเปียร์นำมาใช้ทำให้โดนใจผู้อ่าน
    [​IMG]

    [​IMG]
    ด้วยความโดดเด่นเหล่านี้เอง ทำให้เกิดเสียงเล่าลือว่า ผลงานของเช็กสเปียร์นั้น หลายเรื่องไม่ใช่บทประพันธ์ของเขาเอง แต่เป็นของเพื่อนเช็กสเปียร์ที่เขียนออกมาแล้วใช้ชื่อเช็กสเปียร์แทนลงไป และยังเล่ากันว่า เช็กสเปียร์ไม่เคยออกนอกประเทศอังกฤษเลย

    นักเขียนบทละครในยุคนั้นหลายคนไม่ยอมรับผลงานของเช็กสเปียร์ระบุว่า ละครของเขาไม่มีความเป็น ปัญญาชน เพราะเช็กสเปียร์ไม่ได้จบจากรั้วมหาวิทยาลัยเฉกเช่นนักเขียนเหล่านั้น
    [​IMG]


    [​IMG]
    ด้านชีวิตรักขณะที่อายุได้ 18 ปี ทำหญิงสาวรุ่นพี่ ชื่อแอนน์ แฮทธะเวย์ วัย 26 ปีท้อง เช็กสเปียร์ยอมรับลูกในท้องและแต่งงานด้วย มีลูกด้วยกัน 3 คนในจำนวนนี้ เป็นลูกแฝด 1 คู่ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    ถุงมือ-ถุงสตางค์ที่ทำจากหนังแกะแขวนที่หน้าต่าง






    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    บั้นปลายชีวิตกลับมาที่สแตรตฟอร์ด อย่างสงบๆ โดยปฏิเสธไม่ยอมให้นำศพไปฝังที่ลอนดอน ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรว่าต้องนำศพฝังไว้ที่โบสถ์ Holy Trinity อันเป็นโบสถ์ที่ช่วงมีชีวิตเขามักจะมาล้างบาปที่นี้



    สำหรับค่าเข้าชมบ้านเช็กสเปียร์ ก่อนเข้าชมต้องจ่ายก่อน ในอัตราผู้ใหญ่ 7 ปอนด์ เด็ก 2.75 ปอนด์

    สภาพบ้านสร้างด้วยอิฐและไม้สักหลังเล็กๆ เวลาเข้าต้องระมัดระวังเพราะสภาพอายุของบ้าน ทางเดินเข้าสู่ห้องแต่ละห้องค่อนข้างจะคับแคบ บันไดไม้เล็กๆเดินต้องเรียงหนึ่งเท่านั้น ประกอบนักท่องเที่ยวเข้าไปชมกันมากอากาศภายในค่อนข้างร้อน

    ห้องแรก ระบุว่าเป็นห้องที่เกิด หรือบางครั้งจะปรับเปลี่ยนเป็นห้องใช้ทั่วๆไปภายในบ้าน มีเตาผิงขนาดใหญ่ติดตั้งไว้ ถัดจากเตาผิงไม่ไกลกันนั้นจะมีเตียงนอน เรียกว่าใช้งานสารพัดประโยชน์เป็นทั้งนั่งเล่นและห้องนอน

    ห้องรับประทานอาหารเป็นห้องใหญ่ศูนย์รวมของคนในครอบครัว โต๊ะตัวยาวตั้งอยู่พร้อมจานอาหารครบชุด

    ชั้นล่างด้านหนึ่งของบ้านติดถนนเจาะเป็นหน้าต่างเป็นห้องทำงานของจอห์น ผู้เป็นพ่อซึ่งมีอาชีพทำถุงมือจากขนแกะและถุงเก็บสตางค์จากหนังแกะเป็นกิจการที่ขายดีอย่างมากในยุคสมัยนั้น

    ชั้นสองของบ้านมีอยู่สองห้อง ห้องหนึ่งจะแบ่งครึ่งจัดวางเตียงนอน มีภาพเขียนลายโบราณติดอยู่กับผนังหัวนอน อีกห้องเป็นห้องประชุมของจอห์น เพราะนอกจากเป็นพ่อค้าแล้วยังมีตำแหน่งเป็นเทศมนตรีอีกด้วย

    ถัดไปเป็นห้องเด็กแรกเกิดภายในห้องจะมีเตียงใหญ่ตกแต่งด้วยผ้าทอขนสัตว์สีเขียวและแดง ข้างๆเตียงใหญ่มีตะกร้าหวายบุนวมสำหรับเด็กแรกเกิดนอน

    ลงชั้นล่างอีกครั้ง เข้าชมห้องเล็กสองห้องสุดท้ายจะเป็นที่จัดเก็บผลงานของเจ้าของบ้าน โดยทายาทเก็บไว้ ห้องนี้มีการต่อเติมหลังจากพ่อของเช็กสเปียร์เสียชีวิตเมื่อปี 1601 และบ้านหลังนี้ครั้งหนึ่งเคยทำเป็นโรงแรมเล็กๆ

    ท้ายสุดก็ห้องครัวและห้องเก็บอาหารสดและแห้ง

    ภายนอกอาคารมีสวนดอกไม้และสวนสมุนไพร บางชนิดเช็กสเปียร์นำไปกล่าวไว้ในบทประพันธ์

    ว่ากันว่าบริเวณที่แขวนถุงมือและถุงสตางค์นี้แหละเป็นใจกลางตลาดสดของเมืองสแตรตฟอร์ด ชาวบ้านจะมาแวะเวียนซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อของบ้านแห่งนี้

    หลังจากที่เช็กสเปียร์ เสียชีวิตไปแล้ว โจน น้องสาวของยอดกวี-นักเขียนยังคงพักอาศัยอยู่ กระทั่งเสียชีวิตลงในปี 1646

    หลังจากนั้นทายาทรุ่นต่อๆมาได้อาศัยสืบทอด ปัจจุบันสงวนไว้ โดยถือเป็นทรัพย์สินที่บริหารงานโดย กองทุนบ้านเกิดเช็กสเปียร์ หรือ The Shakespear Birhplace Trust อนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป

    ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 บ้านหลังนี้เป็นแหล่งดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกในปี 1769 มีนักแสดงที่มีชื่อเสียงคือ David Garrick เป็นโต้โผใหญ่ พร้อมมีการปรับปรุงด้านสาธารณูปโภคต่างๆให้ดีขึ้น ด้วยชื่อเสียงของเช็กสเปียร์ ทำให้เริ่มมีผู้มาเยือนมากขึ้น


    แขกผู้มีชื่อเสียงเข้ามาเยี่ยมชมในช่วงศตวรรษ 19 ยังมีอย่าง จอห์น คีตส์ ยอดกวี ไปจนถึงเซอร์วอลเตอร์ สก็อต นักเขียนดังของอังกฤษอีกเช่นกัน

    ละครจากบทของเช็กสเปียร์ จัดว่าเป็นด่านหินสำหรับดาราตะวันตก ดาราดังๆ หลายคนอยากเข้ามาแสดง ให้ได้ชื่อว่าได้ผ่านงานยากๆมาแล้ว แต่ส่วนใหญ่มักจะไม่ผ่านการคัดเลือก เพราะสำเนียงในการพูด บางทีก็เป็นอเมริกันเกินไป ผู้ที่จะแสดงต้องออกสำเนียงอย่างคนอังกฤษอย่างแท้จริง

    นอกจากบ้านเช็กสเปียร์ สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวคือ ร้านค้าสองข้างถนน ทั้ง Henley Street , Bridge Street , Wood Street มีสินค้าแบรนด์เนมของอังกฤษวางขาย รวมถึงร้าน Boots เป็นสาขาใหญ่สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูก โดยเฉพาะช่วงเดือนก.ค.เป็นช่วงลดราคา

    หรือจะไปที่สวนสาธารณะริมแม่น้ำเอวอน มีเรือตกแต่งอย่างสวยงามคอยให้บริการนักท่องเที่ยวล่องแม่น้ำ

    ได้ความรู้และเพลิดเพลินใจไปอีกแบบหนึ่ง


    ที่มา : [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2006

แชร์หน้านี้

Loading...