เยือนถิ่นสุราษฎร์ฯ ล่องเขื่อนเชี่ยวหลาน ไหว้พระธาตุไชยา กราบพุทธทาสภิกขุที่สวนโมกขพลาราม

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 26 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,297
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,273
    ค่าพลัง:
    +9,528
    0b8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887.jpg

    โดย กนกวรรณ มากเมฆ ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจออนไลน์ – Spinoff

    เมื่อเอ่ยถึง จ.สุราษฎร์ธานี แหล่งท่องเที่ยวที่ใครๆ ก็นึกถึงในทันทีก็คงจะเป็น “เกาะสมุย” ที่เที่ยวเชิงนิเวศที่มีชื่อเสียงของจังหวัด แต่อย่างที่รู้กันว่าอุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศก็คือฤดูกาล โดยเฉพาะช่วงมรสุม ทำให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ทั้ง 4 จังหวัดในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ที่ประกอบไปด้วย จ.สุราษฎร์ธานี, ชุมพร, นครศรีธรรมราช และ จ.พัทลุง จัดแคมเปญ “มหาจตุธรรมธาตุแดนใต้” เพื่อนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวบนบกแห่งใหม่โดยใช้แนวทางท่องเที่ยว 4 พระบรมธาตุใน 4 จังหวัดเป็นแกน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย โดยในครั้งนี้ ได้พาคณะเดินทางไปสัมผัสกับสุราษฎร์ธานีและชุมพร ซึ่งในตอนแรก ผู้เขียนจะขอเริ่มที่สุราษฎร์ธานีกันก่อน

    เริ่มต้นจากสนามบินดอนเมืองในตอนเช้า เรานั่งเครื่องบินไปลงที่สนามบินสุราษฎร์ธานี ก่อนที่ไกด์ท้องถิ่นจะพาคณะของเราเริ่มต้นทริปด้วยการชมวิวธรรมชาติที่ไม่ใช่ท้องทะเลของสุราษฎร์กันที่ “เขื่อนรัชชประภา”

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-1.jpg

    ใช้เวลาประมาณ 40 นาที รถมินิบัสพาเรามาหยุดอยู่ที่ท่าเรือริมเขื่อนรัชชประภา หรือที่หลายคนรู้จักกันอีกชื่อว่า “เขื่อนเชี่ยวหลาน” ซึ่งตั้งอยู่ใน ต.เขาพัง อ.บ้านตาขุน น้ำสีเขียวอมฟ้า รายล้อมไปด้วยภูเขา ทำเอาเราอดใจไม่อยู่ รีบลงไปที่ท่าเรือ ขอแตะน้ำเย็นๆ สักนิด ก่อนจะขึ้นเรือมุ่งหน้าสู่ “แพเดอะกรีนเนอรี่ พันวารีย์” ไปกินมื้อเที่ยงท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติโอบล้อมที่เขื่อนเชี่ยวหลานแห่งนี้

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-2.jpg

    ระหว่างทางบนเรือ ทุกคนตื่นตาไปกับทัศนียภาพรอบด้านจนลืมอากาศร้อนจัดแต่ฟ้าครึ้มเหมือนฝนจะตกไปเสียสนิท น้ำสีเขียวเวอร์ริเดียนมองเพลิน ตัดกับภูเขาหินปูนมีต้นไม้สีเขียวแซมที่มีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-3.jpg

    มาถึงแพกรีนเนอรี่ ที่พักเงียบสงบในทำเลที่มีภูเขาโอบล้อมด้านหลัง มีน้ำของเขื่อนกว้างใหญ่เหมือนทะเลสาบอยู่ด้านหน้า นำเสนอเมนูมื้อเที่ยงต้อนรับพวกเราด้วยอาหารใต้อย่าง คั่วกลิ้งหมู, แกงไก่, ยำเส้นบุก ผสมกับอาหารที่กินได้ทุกคนอย่าง ปลาทอด ผัดผักรวม รสชาติกลมกล่อมทุกเมนูแบบไม่ต้องบรรยายมาก

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-4.jpg

    อิ่มแล้วต่างคนต่างหามุมเก็บบรรยากาศสวยๆ กันเต็มที่ ก่อนจะมาฟังประวัติของเขื่อนเชี่ยวหลานที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กักเก็บน้ำเพื่อการชลประทาน, ผลิตไฟฟ้า, บรรเทาอุทกภัย รวมไปถึงแก้ไขน้ำเสียและผลักดันน้ำเค็ม แต่สิ่งที่น่าสนใจคือระหว่างการสร้างเขื่อน ในช่วงที่ปล่อยน้ำเข้าสู่เขื่อน ที่เกิดเหตุการณ์น่าสลดใจ เมื่อการปล่อยน้ำเข้ามาทำให้สัตว์ป่าหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในบริเวณอพยพไม่ทัน จึงมีสัตว์ป่าล้มตายเป็นจำนวนมาก โดยที่แพเปิดคลิปวิดีโอวินาทีที่ “สืบ นาคะเสถียร” ช่วยกวางที่กำลังจะจมน้ำขึ้นมาบนเรือเพื่อทำ CPR แต่ก็ไม่สามารถยื้อชีวิตมันไว้ได้ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง สร้างความหดหู่ใจให้เราเล็กๆ

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-5.jpg

    ปัจจุบันนอกจากภารกิจของเขื่อนดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว เขื่อนเชี่ยวหลานยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง มีแพที่พักทั้งของรัฐและเอกชนให้บริการ ซึ่งของเอกชนก็ต้องมีรูปแบบตามข้อกำหนดของรัฐด้วย

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-6.jpg

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-7.jpg

    จากแพเดอะกรีนเนอรี่ พันวารีย์ เรานั่งเรือไปยังจุดชมวิวยอดฮิตอย่างบริเวณ “เขาสามเกลอ” ที่มีภูเขาหินปูน 3 ลูก ตั้งเป็นแท่งเรียงกัน สวยงามจนได้รับฉายาว่าเป็น “กุ้ยหลินเมืองไทย”

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-8.jpg

    ดื่มด่ำกับบรรยากาศธรรมชาติกันแล้ว เรานั่งเรือกลับไปที่ท่าเรืออีกครั้ง เพื่อเดินทางไปยังสถานที่อื่น เรียกได้ว่าเป็นทริปเขื่อนเชี่ยวหลานแบบสั้นๆ แต่ภาพความสวยงามของธรรมชาติยังตราตรึง จนคิดว่าเราจะต้องกลับมาที่นี่อีกครั้งเพื่อนอนค้างเห็บบรรยากาศหมอกยามเช้าที่เขื่อนให้ได้

    8b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-9.jpg

    จุดหมายถัดไปของเราอยู่ที่ “วัดถ้ำสิงขร” อ.คีรีรัฐนิคม ใช้เวลาเดินทางจากจุดลงเรือเขื่อนเชี่ยวหลานสักพัก ตัววัดอาจจะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมาก แต่เรียกได้ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง ด้วยพบโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญหลายชิ้น ตั้งแต่ใบเสมาหินทรายที่อยู่บริเวณอุโบสถที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-10.jpg

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-11.jpg

    ที่สร้างความตื่นตาให้กับเราทุกคนคือ เมื่อเดินเข้าไปบริเวณถ้ำภายในวัด นอกจากจะพบพระพุทธรูปปูนปั้นปางป่าเลไลยก์และพระพุทธรูปปางมารวิชัยลงรักดำประดิษฐานบนแท่นแล้ว ยังพบลวดลายจิตรกรรมฝาผนังบนเพดานถ้ำ และมีการนำถ้วยชามไปประดับงานจิตรกรรมด้วย นอกจากนี้ ภายในถ้ำยังแบ่งออกเป็นหลายคูหา พบเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์หลายชิ้น เช่น หม้อสามขา, เครื่องมือขวานหินขัด และยังพบโครงกระดูกมนุษย์ยุคหินกลางบริเวณโพรงถ้ำอีกด้วย

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-12.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-13.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-14.jpg

    ส่วนด้านหน้าของปากถ้ำจะมีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนเลียนแบบพระบรมธาตุไชยา ประดับตกแต่งด้วยเครื่องถ้วยชามทั่วทั้งองค์ เรือนธาตุเจดีย์มีซุ้มทิศ (ซุ้มจระเข้นำ) ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานห้ามสมุทร ปางห้ามญาติ และปางห้ามแก่นจันทน์ ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-15.jpg

    เราใช้เวลาอยู่ที่วัดถ้ำสิงขรกันครู่ใหญ่ อากาศสุราษฎร์ฯเดือนกรกฎาคมเรียกว่าร้อนใช้ได้ ถึงแม้จะนั่งอยู่ในร่มไม้ แต่ก็มีเหงื่อซึมๆ ให้พอเหนียวตัว เป็นอากาศร้อนๆ ชื้นๆ เหมือนฝนจะตก แนะนำว่าพกมาพัดลมมือถือมาด้วยน่าจะดีมาก

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-16.jpg

    หนีความร้อนเข้าไปพักผ่อนในตัวเมืองสุราษฎร์ฯ ก่อนที่เช้ามาจะไปกินเมนูมื้อเช้าของชาวใต้อย่าง “ติ่มซำ” โดยร้านที่เราไปกินมีชื่อว่า “เจ็กบั๊กแต้เตี๊ยม” อยู่ถนนดอนนก 7 เมนูคล้ายๆ กับร้านติ่มซำอื่นๆ พิเศษกว่าคือแทนที่จะให้เราจิ้มกับจิ๊กโฉ่ว ที่ร้านแนะนำให้เราจิ้มน้ำจิ้มของที่ร้าน ออกคล้ายๆ ซอสพริก แต่ส่วนตัวเราชอบจิ๊กโฉ่วมากกว่า

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-17.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-18.jpg

    มาดูเมนูที่เราสั่งกันมาบ้าง นอกจากขนมจีบและซาลาเปาแล้ว อื่นๆ เรียกว่าอะไรบ้างเราก็เรียกไม่ถูก แต่กินได้หมดทุกอย่าง ส่วนรสชาติกลางๆ ไม่ถึงกับอร่อยตราตรึงแต่ก็ใช้ได้ทีเดียว สนนราคาอยู่ที่เข่งละ 15 บาท ใครไปสุราษฎร์ธานีก็อย่าลืมแวะไปชิมกันได้

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-19.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-20.jpg

    อิ่มท้องแล้วก็เดินทางสู่จุดหมายของแรกของเราในวันนี้ที่ “สวนโมกขพลาราม” หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดธารน้ำไหล” ตั้งอยู่ใน อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี เป็นวัดที่ “ท่านพุทธทาสภิกขุ” (พุทธทาส อินทปัญโญ) สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-21.jpg

    เดินเข้ามาภายในสวนโมกข์ บรรยากาศร่มรื่น เย็นสบาย แวดล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ มีนักเรียน ประชาชน แวะเวียนมาที่นี่หลายคนทีเดียว เราเดินทางไปพบ “พระประสิทธิ์ ปสิทธิโถ” ซึ่งท่านได้เล่าประวัติของสวนโมกขพลารามให้ฟังว่า เกิดขึ้นจากแนวคิดของ “ท่านพุทธทาสภิกขุ” ที่ระหว่างศึกษาอยู่ที่กรุงเทพฯ ในปลายปี พ.ศ.2474 มีแนวคิดต้องการจะสร้างสถานที่ปฏิบัติธรรมขึ้น เพื่อส่งเสริมความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา จึงปรึกษากับน้องชาย และตกลงกันว่าพื้นที่ อ.ไชยา น่าจะเหมาะสม จึงออกหาสถานที่จนมาพบกับวัดร้างชื่อวัดตระพังจิต เป็นบริเวณที่มีป่ารก มีต้นโมกและต้นพลาเป็นพืชเด่น จึงนำมาตั้งเป็นชื่อสถานที่แห่งนี้

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-22.jpg
    พระประสิทธิ์ ปสิทธิโถ

    พระประสิทธิ์พาเราชมสถานที่ต่างๆ ในวัด ไม่ว่าจะเป็นกุฏิของท่านพุทธทาส ม้านั่งประจำของท่านพุทธทาส และใช้ในการเทศนาธรรมให้แก่ผู้ที่แวะเวียนมา นอกจากนี้ ยังมีห้องที่ท่านเคยพักขณะอาพาธ รวมไปถึงห้องที่ท่านมรณภาพด้วย ก่อนจะพาเราไปศาลาธรรมโฆษณ์อนุสรณ์ ที่รวบรวมผลงานหนังสือของท่านพุทธทาส พร้อมกราบสักการะพระพุทธรูปในศาลา ที่ใต้ฐานมีอัฐิของท่านพุทธทาสอยู่ด้วย

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-23.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-24.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-25.jpg

    เสร็จแล้วเราเดินผ่าน ลานหินโค้ง ซึ่งเป็นลานที่ใช้จัดกิจกรรมของวัด ทั้งทำบุญใส่บาตรหรือบรรยายธรรม เป็นต้น

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-26.jpg

    มาถึงจุดสุดท้ายของสวนโมกขพลาราม ที่ถือเป็นอีกจุดสำคัญ กับส่วนที่เรียกว่า “โรงมหรสพทางวิญญาณ” เป็นอาคารที่มีความแปลกและน่าสนใจไม่น้อย เพราะภายในเต็มไปด้วยภาพวาดสอนธรรมะและภาพปริศนาธรรมต่างๆ ที่เราพบพระภิกษุคอยอธิบายธรรมะจากภาพเหล่านั้น ไขข้อกระจ่างความสงสัยให้กับผู้เข้าชมได้เป็นอย่างดี

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-27.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-28.jpg b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-29.jpg

    ออกจากโรงมหรสพทางวิญญาณ เราเดินสูดอากาศในบริเวณวัด รอบๆ เต็มไปด้วยป้ายข้อคิดและธรรมะจากท่านพุทธทาส หลายชิ้นสอนใจ หลายชิ้นเตือนสติเราได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเองจะ “เปิดใจ” มากน้อยแค่ไหนด้วยเช่นกัน

    เรากราบลาพระประสิทธิ์ และออกเดินทางสู่จุดหมายถัดไป ที่เป็นจุดหมายหลักของทริปนี้อย่าง “วัดพระบรมธาตุไชยา” ที่ห่างจากสวนโมกข์ไม่ไกลนัก

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-30.jpg

    ถึงที่วัด เราถอดรองเท้าและเข้าไปในบริเวณพระบรมธาตุ พบกับ “กรวิชญ์ ผ่องฉวี” ยุวมัคคุเทศก์เมืองไชยา ที่เล่าข้อมูลของวัดพระบรมธาตไชยาให้ฟังว่า เป็นโบราณสถานที่สำคัญของ จ.สุราษฎร์ธานี โดยเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เลื่อนชั้นเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ.2500 ซึ่งในสมัยนั้นมีพระธรรมโกศาจารย์ หรือพุทธทาสภิกขุ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส โดยให้รองเจ้าอาวาสดูแลวัดนี้แทน

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-31.jpg

    ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญคือองค์พระบรมธาตุไชยา สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.1300 ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาในนิกายมหายาน ปัจจุบันพระบรมธาตุมีอายุประมาณ 1,200 กว่าปี ที่สำคัญคือถือเป็นพระบรมธาตุองค์เดียวของประเทศไทยก็ว่าได้ ที่มีความสมบูรณ์ในลักษณะที่ยังเป็นองค์เดิม คือยังไม่ถูกสร้างครอบ และยังไม่พังทลาย

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-32.jpg

    ภายในพระบรมธาตุไชยานั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า บริเวณนี้เคยเป็นสระบัวมาก่อน ล้อมรอบด้วยนาข้าว ซึ่งจะมีชาวนาเอาวัวมาผูกไว้ให้กินหญ้า จนกระทั่งช่วงหน้าแล้งที่น้ำลดลง ปรากฏว่ามีซากปรักหักพังต่างๆ ปรากฏขึ้นมาเหนือผิวน้ำ มีวัตถุคล้ายแผ่นกะลามะพร้าวอ่อนลอยอยู่เหนือผิวน้ำ ซึ่งเชื่อกันว่าสิ่งนั้นคือพระบรมสารีริกธาตุ ชาวบ้านจึงร่วมกันนำเอาต้นผักบุ้งที่ขึ้นอยู่รอบสระบัวผูกเป็นเชือกต่อกัน แล้วคล้องพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้ เพื่อแสดงให้รู้ตำแหน่งว่าอยู่ตรงนี้ ต่อมาจึงร่วมกันสร้างพระบรมธาตุองค์นี้ ครอบพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งจะตรงกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์หรือหลักฐานทางวิชาการที่ว่าการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในยุคโบราณจะกระทำเหมือนกับอินเดียโบราณ คือ จะมีการเตรียมพื้นที่ที่จะสร้างพระธาตุเจดีย์ไว้ก่อน และอาจจะมีการทำเป็นเนินดินหรือขุดเป็นหลุมลงไป และอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และเครื่องพุทธบูชา เครื่องหอมต่างๆ ประดิษฐานวางลงไป แล้วจึงปิดปากหลุม แล้วสร้างฐานเจดีย์ทับลงตรงนั้น

    ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุชิ้นส่วนได้อย่างชัดเจนว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นชิ้นส่วนไหน เนื่องจากลักษณะคล้ายกับชิ้นส่วนในร่างกายมนุษย์ 3 ส่วน คือ กะโหลกศีรษะ, กระดูกสะบักตรงไหล่ และกระดูกเชิงกรานตรงสะโพก

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-33.jpg

    สิ่งที่พิเศษของพระบรมธาตุไชยาคือ มีวิธีการก่ออิฐที่พิเศษ ที่เรียกว่า “ก่ออิฐแต่ไม่สอปูน” คือการนำอิฐขึ้นมาก่อ แล้วขัดผิวให้เรียบเสมอกัน จากนั้นใช้ยางไม้ทาลงไปเป็นกาวเพื่อเชื่อมอิฐแต่ละแผ่นให้ยึดติดกัน โดยที่อิฐแต่ละแผ่นจะผสานกันแบบไม่เห็นรอยต่อ ซึ่งปัจจุบันยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ายางไม้ที่ใช้เป็นยางไม้อะไร ทั้งนี้ จะเจอลักษณะการก่ออิฐแบบนี้ได้ที่อาคารบริวารที่ปราสาทหินพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ ส่วนปัจจุบัน มีการฉาบปูนลงไปที่องค์พระบรมธาตุไชยา แต่ช่างจะยังเผยให้เห็นบริเวณที่เป็นเนื้ออิฐเดิมอยู่

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-34.jpg

    บริเวณองค์พระบรมธาตุไชยายังมีน้ำล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากการขุดลอกส่วนฐานเดิมในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาภายหลังมีตาน้ำผุด ซึ่งตัวตาน้ำจะอยู่ในบ่อทองเหลืองสี่เหลี่ยมทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ โดยน้ำตรงนี้จะใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รวมทั้งพระราชพิธีมหามงคลทั่วไป โดยใช้กันมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 ซึ่งเวลาจะมีพระราชพิธี ทางวัดจะทำการขัดทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-35.jpg

    มองไปที่โดยรอบขององค์พระบรมธาตุ จะมีส่วนที่เรียกว่า “พระระเบียงคต” สร้างในสมัยกรุศรีอยุธยาตอนปลาย ซึ่งมีพระพุทธรูปที่แกะสลักจากเนื้อศิลาทรายแดง หรือหินทรายแดง ลงรักและปิดทอง แต่ละองค์มีขนาดแตกต่างกัน ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านี้เป็นพระพุทธรูปที่คนโบราณสร้างถวายเป็นพุทธบูชา โดยบ้านหลังหนึ่งก็สร้างถวายไว้องค์หนึ่ง เพื่อสืบทอดพระศาสนา และเชิญอัฐิของบรรพชนบรรจุไว้ที่ใต้ฐาน ตามความเชื่อที่ว่า หากลูกหลานมากราบพระ ก็เหมือนมากราบบรรพบุรุษด้วย ปัจจุบันเฉพาะในเขตพระระเบียงคต มีพระพุทธรูปอยู่ราว 180 องค์

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-36.jpg

    ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ภายในบริเวณพระระเบียงคต ยังมีพระพุทธรูปที่เรียกว่าเป็นรูปแบบเฉพาะสกุลช่างไชยา คือ มีลักษณะที่ยอดพระเกศจะเป็นมวยผม และมีแผ่นคล้ายๆ ใบไม้หรือใบโพธิ์อยู่ข้างหน้ามวยผม จากปกติที่บริเวณเศียรพระพุทธรูปทั่วไปจะเป็นพระรัศมีเปลวเพลิง ซึ่งศิลปะแบบนี้ในประเทศไทยเราจะเจอที่ไชยาที่เดียวเท่านั้น

    b4e0b988e0b899e0b8aae0b8b8e0b8a3e0b8b2e0b8a9e0b88ee0b8a3e0b98ce0b8af-e0b8a5e0b988e0b8ade0b887-37.jpg

    เต็มอิ่มกับเรื่องราวที่น่าสนใจกันแล้ว ยุวมัคคุเทศก์ของเราก็พาทุกคนสักการะพระธาตุพร้อมทำพิธีห่มผ้าพระธาตุด้วย โดยปกติงานห่มผ้าพระธาตุที่ถือเป็นงานใหญ่ของวัด จะจัดขึ้นในวันวิสาขบูชา

    เราหามุมเก็บภาพกันอีกพักใหญ่ ก่อนจะเดินทางสู่จุดหมายถัดไปของทริปใน จ.ชุมพร เรียกได้ว่าทริปสุราษฎร์ธานีครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศภาพจำจากทะเล มาสู่เรื่องราวของศิลปะ วัฒนธรรม ธรรมะ และธรรมชาติ ที่น่าสนใจไม่แพ้ทะเลเลยทีเดียว ส่วนทริปในชุมพรจะเป็นอย่างไร ติดตามต่อได้ตอนหน้า

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.prachachat.net/spinoff/news-26362
     

แชร์หน้านี้

Loading...