เราจะทำดวงตาให้เห็นธรรมให้เห็นธรรมได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กลายแก้ว, 8 พฤศจิกายน 2013.

  1. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    เราจะทำดวงตาให้เห็นธรรมได้อย่างไร

    มาอีกแล้วจ้า ธรรมะกระดาษ เป็นการสรุปประเด็นสำคัญของการปฏิบัติอีกสายหนึ่ง ในทางพระพุทธศาสนา

    ที่ให้ผู้ปฏิบัติมีความอิสระในด้านการประพฤติปฏิบัติ ในแนวคิด ความเห็น ทดลองฝึกฝน บางทีอาจเจอแนวทางมีดวงตาเห็นธรรมบ้างก็ได้ เพราะธรรมนั้น ถ้าผู้ใดได้เห็นแล้ว จะไม่มีความแตกต่าง

    ถ้าสนใจไปหาอ่านได้นะคะ เป็นหนังสือที่มีคุณค่าอีกเล่มหนึ่ง จัดทำเมื่อปี 2515 โดย รตนญาโณ ภิกขุ


    วัตถุประสงค์ต้องการหาข้อคิด ข้อธรรมดี จาก พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ นำมาเผยแพร่ เผื่อจะตรงใจ ตรงจริตนิสัยบางคนก็ได้

    ที่นำมาเผยแพร่นี้ ก็เหมือนการจัดพิมพ์หนังสืออย่างย่อนะคะ สรุปให้กระชับ ประเด็นสำคัญถ้าสนใจไปหาอ่านเต็มเล่มก็จะดีนะคะ

    ขอความร่วมมือจากผู้รู้ ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย ช่วยขยายความให้วิจิตรพิสดารก็ดีนะคะ จะได้ช่วยเพิ่มทำความเข้าใจยิ่งขึ้น เป็นผู้เพียงแค่ โยนหินถามทาง เท่านั้น

    อย่าถามนะคะว่า ปฏิบัติได้หรือเปล่า เอาเป็นว่าที่จะพิมพ์เพื่อเผยแพร่ธรรมะ ของพระบรมศาสดา และ พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ที่เห็นแล้วว่าดีว่าชอบ แล้วแต่จะพิจารณานะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2013
  2. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ศัตรูที่สำคัญที่กั้นจิต ไม่ให้หลุดพ้น คือ ใจ



    จิตที่โง่ย่อมเป็นข้าทาสของใจอยู่เสมอ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว จิตย่อมเป็นนายของใจอยู่ตลอดเวลา
     
  3. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    บุคคลที่เอาสติไปรวมกับใจมาก ๆ แล้วเห็นว่า กิเลสตัณหาเข้ามาไม่ได้ถ้ามีสติอยู่ บุคคลนี้จิตย่อมไม่หลุดพ้น

    บุคคลที่มองเห็นธรรมที่ใจ ย่อมถูกมายาของใจหลอกอยู่ตลอดเวลา

    บุคคลที่ใฝ่หาธรรมที่ใจ เขาย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น

    บุคคลที่รู้เห็นนิพพานที่ใจ ย่อมไม่เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้น

    บุคคลที่รู้ว่าใจและจิต สะอาด สว่าง สงบ จิตย่อมไม่หลุดพ้น

    บุคคลที่รู้เห็นว่า จิตว่างจากตัวตน ของตน จิตย่อมไม่หลุดพ้น

    บุคคลที่เจริญสติ ตามรู้ตามเห็นอาการของใจและจิตย่อมไม่เข้าถึงความหลุดพ้น

    บุคคลที่ยกจิตขึ้นไปเหนืออารมณ์ แล้วปล่อยให้ใจไหลเป็นกระแส ย่อมไม่ถึงความหลุดพ้น
     
  4. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ขั้นตอนในการปฏิบัติศาสนาพุทธ
    มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน คือ

    1.ขั้นรักษาศีล คือ การสำรวม ระวัง รักษากาย วาจาให้เรียบร้อย เช่น รักษาศีล 5 , 8 ,10 ศีลปาฎิโมกข์

    2.ขั้นสมาธิ คือ การทำจิตให้สงบ ให้อยู่ฐานใด ฐานหนึ่ง เช่น อยู่ที่ ใจ กาย ฯลฯ

    3.ขั้นปัญญา นำผลจากการฝึกสมาธิที่ได้ มาพิจารณา เห็นสิ่งต่างๆ ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วจางคลายความยึดมั่น ถือมั่น จนถึงสภาวะจิตหลุดพ้น (วิมุติ)

    4.ขึ้นวิมุตติ (หลุดพ้น) ขั้นนี้ ผู้ปฏิบัติ จะเห็นทางเดิน(มรรค) ว่าเป็นอย่างไร และจะมีวิธีการอย่างไร ที่จะให้ทางนี้โล่งเตียนเสมอ (มรรค 8) คือ ขั้นชำระกิเลสที่เป็นอนุสัยนอนเนื่องในสันดานออก อาศัยมรรค เป็นที่ประหารกิลเลส จนสามารถทำอาสวะกิเลสสิ้นไป

    5.ขั้นวิมุตติญาณทัสสนะ ขั้นนี้ผู้ปฏิบัติจะทำมรรค 8 ให้รวมกันเป็นอันเดียวได้ เกิดความรู้ขึ้นไป โดยไม่ต้องนึกคิด (โพชฌงค์) ถ้าเอาสิ่งใดไปประกอบตัวรู้นี้ จะรู้ได้เป็นสาย ๆ โดยไม่ต้องผ่านความนึกคิด เช่น เอาสติไปประกอบตัวนี้ ก็จะเป็นสติสัมโพชฌงค์ จะรู้เรื่องสติเป็นสาย ๆ ตั้งแต่ต้นจนถึงสติเว้นรอบ และถ้าเอาเรื่องไปประกอบ เช่น ธัมมวิจจยะ ปิติ ปัสสัทธิ วิริยะ สมาธิ อุเบกขา ก็จะเกิดความรู้ขึ้นแต่ละอย่างเป็นสาย ๆ ตั้งแต่เหตุเกิดแต่แรก จนถึงขั้นสุดท้าย โดยไม่ต้องนึกคิด เป็นความรู้ที่เรียกว่า “ตรัสรู้” ไม่เนื่องด้วยความนึกคิด[
     
  5. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ดวงตาเห็นธรรม

    ดวงตา ไม่ได้หมายถึงตาเนื้อที่เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ หรือ เห็นตาในที่เห็นจากธาตุรู้ในใจ

    เห็นธรรม คือ สิ่งที่ปรากฏซึ่งไม่เกี่ยวกับดวงตาที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น ซึ่งผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง บอกผู้อื่นไม่ได้ แต่เรียกให้ผู้อื่นเข้ามาดูได้ด้วยการปฏิบัติ

    สิ่งที่กีดขวางไม่ให้เห็นธรรม คือ จิตปรุงแต่ง เพราะปุถุชนทั่ว ๆ ไป ย่อมยึดถือในสภาวะปรุงแต่งที่เกิดขึ้นจากการกระทบทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า เป็นสิ่งที่มีตัวตน แล้วนำความรู้สึกเหล่านี้มาปรุงซ้ำเก่า ซ้ำใหม่ วนไป วนมา ไม่รู้ จบสิ้น ซึ่งสภาวะเหล่านี้แหละจะเป็นเครื่องกั้นบังไม่ให้เห็นธรรม ดังนั้น เราควรจะศึกษาเรื่องจิตก่อว่า คืออะไรและจะทำให้มัน “หลุดพ้น” จากสภาวะปรุงแต่งได้อย่างไร
     
  6. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    เท่าที่สปอยมา ผมอ่านแล้วคิดว่าเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับผู้มีความรู้ เคยศึกษาพระธรรมมาแล้วค่อนข้างมาก ถ้าจะอ่านแล้วทำความเข้าใจ และเอามาแปลงให้เป็นภาษาบ้านๆเข้าใจง่าย จากนั้นค่อยเอาไปพิมแจกต่อเป็นธรรมทาน จะเป็นการดี ได้ทั้งตัวเอง และผู้อื่น อานิสงส์มาก
     
  7. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817

    บุคคลจะมีดวงตาเห็นธรรมได้ ก็ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัย หลายสิ่งหลายประการ
    ปัจจ้ยทุกอย่างนับตั้งแต่ตัวของบุคคลนั้นๆเป็นต้นไป ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญเสมอกันทั้งสิ้น
     
  8. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,124
    อืม...น่าพิจารณา แต่ละข้อความข้างบน คงจะเป็นปฏิเวธขั้นนั้นๆ แต่ยังไม่ถึงจุดสูงสุด


    จิตกับสติเป็นคนละสิ่งกัน
    จิตผ่องใสคืออวิชชา
    ผู้รู้ไม่ใช่นิพพาน
    มีิจิตมีภพ

    ลองอ่านตรงนี้ดูกันครับ น่าจะเข้าใจยิ่งขึ้น

     
  9. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,124
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แม้ข้อแรกอ่านแล้ว ก็ งง

    มีแต่ว่า มีสติมากเท่าไรยิ่งดี
     
  11. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    คุณ Acklorrwil ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลดี ๆ อ่านแล้วโดนใจมากเลย โดยเฉพาะเรื่องตัวรู้ได้ชัดเจน และตรงประเด็นมาก


    ลองอ่านดูนะคะข้าพเจ้านำมาสรุปอีกครั้ง

    หาผู้รู้ให้เจอ แล้วปล่อยผู้รู้ ทางที่ผ่านแล้วของลุงหวีด บัวเผื่อน

    ประมวลคำสอน

    อีกประการหนึ่งคือ “...ในหนังสือยังกล่าวถึงแนวทางปฏิบัติของคุณลุง ตลอดจนธรรมะที่คุณลุงเห็นว่า สำคัญที่สุด อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาคือ ‘รู้’ และธรรมอื่นๆ อันเป็นแก่นของพุทธศาสนา”

    “พยายามให้มีสติ หยุดความคิด อย่าให้มีความคิด เพราะความคิดเป็นต้นเหตุของความทุกข์”

    เมื่อจับอยู่กับสติได้แล้วขั้นต่อไปคือ “เมื่อมีสติแล้ว พอมีความคิด เราก็จะเห็น เมื่อเห็นความคิด ก็หยุดซะ อย่าให้มันมีต่อไปให้ยาวนัก...”


    สิ่งที่ท่านมาประยุกต์เอาในการปฏิบัติจริงคือ “พยายามมีสติให้ได้ทั้งวันทั้งคืน ช่วงแรกๆ ทำได้นิดเดียว แวบหนึ่งก็ขาดสติแล้วแต่ด้วยความที่คุณลุงไม่ยอมแพ้ ตั้งใจแน่วแน่ว่า จะทำตรงนี้ให้จงได้ ตอนนั้นคุณลุงเข้าใจว่า สติก็คือ ตัวตื่นที่ใจ แล้วก็จับเอาตรงนั้นไว้เรื่อยมา เวลาขาดสติก็ระลึกขึ้นมาให้ตื่นที่ใจ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ให้ตื่นที่ใจเอาไว้ จะคิดจะพูดจะทำอะไรก็ให้ตื่นที่ใจไว้ จับตรงนี้...”


    สิ่งที่เกิดตามมาคือ “มันให้ผลเร็ว สติเริ่มต่อเนื่อง ต่อมาก็ทำได้นานขึ้น สติยาวเป็นสาย ไม่ว่าจะพูดจะทำอะไร รู้สึกว่ามีสติตลอด หลังผ่านไป 2 ปีคุณลุงสามารถมีสติได้ตลอดเวลา ไม่มีความคิดแทรกเข้ามาเลย อยากจะหยุดความคิดเมื่อไหร่ มันก็หยุดได้ในทันทีอย่างง่ายดาย”


    พระอาจารย์ท่านว่า ตรงนี้มันถูกจุดที่สุด จะนำไปสู่การหลุดพ้น!

    หลังจากนั้นท่านก็ได้เห็นทุกข์ ได้พบความว่าง ได้รู้จักความว่างที่แท้จริง ได้พิจารณาโดยมีสติรู้ตลอดเวลาแล้วรู้ว่า การพิจารณาตามความเป็นจริงนั้นเป็นอย่างไร ได้พิจารณาจนเวทนาขาดจากจิต ได้รู้ว่าเวทนาไม่ใช่จิต สัญญาไม่ใช่จิต สังขารความคิดก็เป็นคนละอันกับจิต วิญญาณก็ไม่ใช่จิต

    เมื่อเวทนาขาดจากจิต ก็ได้ทบทวนใหม่ว่า จากเดิมที่เข้าใจว่า สติเป็นเรา ไม่เกี่ยวกับขันธ์ห้าเลยนั้น แท้จริงแล้วเราคือใคร?

    ท่านว่าระหว่างนั้น “เราก็มาอยู่กับสติตามเดิมแต่รู้แล้วว่า สติ คือ ความระลึกได้เท่านั้นเอง ที่เราไม่ขาดจากจิตก็เพราะมีสติระลึกอยู่...”

    เมื่อผ่านด่านนั้นมาแล้ว ท่านจึงสรุปภาวะที่เกิดขึ้นตอนนั้นว่า “...ตอนนั้นมันยังมีอุปทานอยู่ว่า เราก็คือ จิตนั่นแหละคือ ความรู้สึกอันนี้ แต่กาย ขันธ์ห้าไม่เกี่ยว (กับจิต)...รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เกี่ยว เรียกว่า เราไปอยู่กับความรู้สึก (ซึ่งก็คือจิต) ในขณะนั้น”

    ต่อมาท่านพบว่า จิตกับสติเป็นคนละสิ่งกัน

    ฉะนั้นวิหารธรรมของท่านจึงกลายเป็นว่า “...ตอนนี้เราไม่ได้ใช้สติแล้ว มันมาอยู่กับจิตโดยตรง”

    และนั่นทำให้ท่านได้ข้อสรุปว่า “เราคือจิต จิตคือเรา จิตคือรู้ รู้คือจิต”

    สภาวะของจิตอยู่กับจิตนั้นเป็นอย่างไร


    คุณลุงหวีดเล่าไว้ว่า จากที่เมื่อก่อนต้องคอยประคองสติให้จ่อกับผู้รู้หรือจิต เวลานี้ไม่ต้องประคอง คือ เป็นรู้โดยอัตโนมัติ จิตทรงอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ชัดเจนอยู่ข้างในว่านี่คือ เรา...”

    เราที่ว่าก็คือ “เราคือจิต จิตคือเรา จิตคือรู้ รู้คือจิต”
    ถึงขนาดนั้นแล้วก็ยังไม่ใช่ที่สุด


    พอรู้และอยู่กับรู้ ไป “ตั้งรู้อยู่นั้น” ผลคือ “รู้ ตัวนี้มันหนัก...มันเหมือนกับเราหิ้วหรือหาบอะไรอยู่ตลอดเวลา”

    เมื่อตามไปขอรับการชี้แนะจากครูบาอาจารย์ท่านก็แนะให้ “ให้ปล่อย ‘รู้’ เสีย...”

    ท่านว่าจากนั้นมาก็จนด้วยเกล้าไม่รู้จะปล่อยอย่างไร เพราะเราคือตัวนี้...ถ้าปล่อยมันก็คือ ตาย มันจะไม่มีเราไปได้ยังไง...มันจนด้วยเกล้า”

    เราคือตัวนี้ เพราะสรุปไว้ว่า “เราคือจิต จิตคือเรา จิตคือรู้ รู้คือจิต”

    วนเวียนอยู่กับภาวะ จะปล่อยยังไง ไม่ปล่อยก็ผิด ปล่อยก็ปล่อยไม่เป็น อยู่ 2 ปี วันหนึ่งตามไปกราบพระอาจารย์รูปดังกล่าวที่ภาคใต้ แนะกันยังไงมันก็ไม่ตก ไม่คลาย ท่านว่าเราคงไม่มีวาสนาบารมีแล้ว ไม่มีปัญญาแล้ว มันจนปัญญาจริงๆ รถก็กำลังจะออก ในเวลานั้นหน้าลุงหวีดมีแก้วอยู่ 2 ใบ พระอาจารย์ท่านจึงหยิบแก้ว 2 ใบนั้นมาตั้งเรียงกันแล้วกล่าวขึ้นว่า

    “โยม...เวลามีสิ่งมากระทบ โยมก็กระโดดจากแก้วนี้ไปอยู่แก้วนี้ เวลาไม่มีกระทบ โยมก็กลับไปอยู่ตัวเดิม คือ มันจับทั้งสองตัวใช่ไหม ปล่อยหัวจับหาง จับหางปล่อยหัว มันก็ไม่ปล่อยสักทีใช่ไหม เอาอย่างนี้ได้ไหมโยม ให้ปล่อยทั้งหัวทั้งหางเลย คือ เวลามีสิ่งกระทบ โยมปล่อยไปทั้งสองตัวเลย อย่างปล่อยตัวเดียว”

    “ท่านพูดเท่านั้นเองล่ะก็ดีดพัวะ...เหมือนกับตอนเวทนาที่หลุดลอยออกไป มันเหมือนที่รู้ที่เราจับไว้ มันดีดผึงออกไปจากใจ ถึงตอนนั้นเรารู้ทันทีว่า โอ้โฮ ความเป็นอิสระมันเป็นอย่างนี้ จิตใจที่เป็นกลางมันเป็นอย่างนี้ สิ่งเราไม่ต้องรักษามันเป็นอย่างนี้ คือ เขาเป็นของเขาเอง ไม่มีเราเรานี่ดับพรึ่บไปเลย มันเหลือแต่จิตล้วนๆ จริงๆ ความรู้สึกที่เบา ไม่เป็นภาระเหมือนรู้ตัวก่อน

    รู้ตัวแรกมันเป็นภาระ เราประคับประคองไว้ ประคบประหงมเอาไว้เป็นอย่างดีเลย กลัวมันหลุดลอยไป เราไปหมายรู้ไว้อย่างชัดเจน แต่เราไม่รู้เลยว่าเราหมาย เอา “เรา” นี่แหละไปหมาย

    พอเราหมายปุ๊บ รู้นั้นเป็นอวิชชาทันที แต่พอปล่อยปุ๊บ มันก็มีรู้ที่ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องกำหนด ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งสิ้น จิตที่เป็นกลางๆ เป็นปัจจุบันธรรมขึ้นมา ก็คือ รู้ที่เกิดใหม่ขึ้นมานี้เอง รู้เลยว่าจิตที่เป็นปัจจุบันธรรมเป็นอย่างนี้ จิตเป็นกลางเป็นอย่างนี้ ทั้งหมดทั้งปวงมันอยู่ในนี้หมดเลย ปล่อยตัวรู้ตัวเดียวมันเข้าใจหมด”

    ความนี้ทำให้ระลึกถึงคำชี้แนะของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งได้ชี้แนะ หลวงพ่อพุธ ฐานิโยว่า “พบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้พบจิตให้ทำลายจิต”

    ถามว่า ผู้รู้คืออะไร

    รู้ไว้ใช่ว่า ปฏิบัติถึงไม่ถึงไม่เป็นไร คุณลุงหวีดบอกไว้ว่า ผู้รู้สำหรับท่านนั้นหมายถึง “ความรู้สึกที่ตื่นขึ้นมาจากใจตัวเอง”


    ท่านว่า เราต้องขวนขวายให้เจอผู้รู้ว่า มันคืออะไร
    ท่านว่า เทคนิคมันมีง่ายๆ เพราะทุกคนมี “รู้” อยู่แล้ว แต่ความรู้ต่างๆ ที่ได้ยินจากหู ได้กลิ่นจากจมูกตาเห็นภาพแล้วฯลฯนั้นไม่ใช่ผู้รู้

    เวลาเห็นผู้หญิงหรือกระป๋อง ทั้งผู้หญิง ทั้งกระป๋องมิใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้ถูกรู้ ส่วนผู้เห็นนั่นล่ะผู้รู้

    ท่านว่า “เข้าใจรู้ จับรู้ได้ ถือเป็นก้าวแรกของการรู้จักพระพุทธศาสนา เริ่มเข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนาแล้ว...”

    “ผู้รู้ นั่นแหละ อวิชชา กิเลสตัวใหญ่ ฉะนั้นเราต้องปล่อยรู้”

    “ปล่อยรู้ ก็คือ ปล่อยอวิชชานั่นเอง”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2013
  12. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมว่า......

    อ้างอิงลุงหวีด เวลาเห็นผู้หญิงหรือกระป๋อง ทั้งผู้หญิง ทั้งกระป๋องมิใช่ผู้รู้ แต่เป็นผู้ถูกรู้ ส่วนผู้เห็นนั่นล่ะผู้รู้

    ความเห็นของข้าพเจ้า คือ ผู้รู้คือ อย่างเช่น กรณีง่ายๆ เวลาเราดูโทรทัศน์ หากคนไม่ได้ฝึกสติ ตัวรู้ของเราจะไปอยู่ที่จอโทรทัศน์ หรือ ใจไปจดจ่ออยู่ที่รายการในโทรทัศน์ โดยเราไม่มีความรู้สึกตัวว่าเป็นผู้ดูอยู่ แต่ถ้าเรามีสติ เราฝึกให้เห็นผู้รู้ เราจะรู้ว่าตัวเรากำลังดูโทรทัศน์อยู่ เราเห็นทั้งรายการในจอโทรทัศน์ที่เราดู และเราก็รู้เห็นตัวเราว่า เรากำลังดูโทรทัศน์อยู่ ขณะที่เราเห็นว่าเรากำลังดูอยู่คือผู้รู้


    อ้างอิงลุงหวีดท่านว่า เทคนิคมันมีง่ายๆ เพราะทุกคนมี “รู้” อยู่แล้ว แต่ความรู้ต่างๆ ที่ได้ยินจากหู ได้กลิ่นจากจมูกตาเห็นภาพแล้วฯลฯนั้นไม่ใช่ผู้รู้

    ความเห็นของข้าพเจ้า คือ อย่างเช่น เวลาเราได้รับการกระทบที่ไม่พอใจ เราจะมีผู้รู้เห็น อาการกำลังโกรธ และจะมีตัวหนึ่งกำลังดูความโกรธอยู่ ผู้ที่กำลังดูความโกรธอยู่คือ ผู้รู้

    แต่ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นตลอดเวลา เห็นในบางครั้ง จึงรู้เลยว่าทำไมความเพียรและขันติในการฝึกสติรู้ตลอดเวลาจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในการหาผู้รู้ เพราะเป็นเครื่องกั้นไม่ให้ทำความชั่ว หรือใจ ไหลไปตกสู่ที่ต่ำ

    ขอบคุณจริง ๆ สำหรับข้อมูลดี ๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2013
  13. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634

    ข้อแรกที่ว่า บุคคลที่เอาสติไปรวมกันใจมาก ๆ แล้วเห็นว่า กิเลสตัณหาเข้ามาไม่ได้ถ้ามีสติอยู่ บุคคลนี้จิตย่อมไม่หลุดพ้น

    เพราะมันเป็นอย่างนี้หรือเปล่าค่ะ จึงไม่ถึงความหลุดพ้น ลองพิจารณาดูนะคะ

    จิตกับสติเป็นคนละสิ่งกัน

    ให้ “ให้ปล่อย ‘รู้’ เสีย...” เวลามีสิ่งมากระทบให้ปล่อย

    “ท่านพูดเท่านั้นเองล่ะก็ดีดพัวะ...เหมือนกับตอนเวทนาที่หลุดลอยออกไป มันเหมือนที่รู้ที่เราจับไว้ มันดีดผึงออกไปจากใจ ถึงตอนนั้นเรารู้ทันทีว่า โอ้โฮ ความเป็นอิสระมันเป็นอย่างนี้ จิตใจที่เป็นกลางมันเป็นอย่างนี้ สิ่งเราไม่ต้องรักษามันเป็นอย่างนี้ คือ เขาเป็นของเขาเอง ไม่มีเรา

    โดย ลุงหวีด บัวเผื่อน

    คนส่วนมากก็เข้าใจกันว่า จิตกับใจ คือ อันเดียวกัน แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นคนละส่วน ที่เราว่าเป็นอันเดียวกันเพราะรากดจิตให้อยู่กับใจนาน ๆ ไม่ให้มันส่งออก ที่แท้ฝืนธรรมชาติของมัน ตามธรรมชาติของจิตจะเป็นอิสระ สามารถรับอารมณ์จากทวารทั้ง 6 ได้เป็นอิสระ ถ้าเรากดมันให้อยู่กับใจ จะทำให้ฝืนธรรมชาติของมัน ทำให้ไม่หลุดพ้นได้ง่าย

    รตนญาโณ ภิกขุ
     
  14. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    ความแตกต่างระหว่าง จิต กับ ใจ


    ใจ หรือ มโน
    เป็นอายตนะภายใน ซึ่งเป็นเหตุรับปัจจัยจากทวารทั้ง 6 เท่านั้น และเป็นของร้อน เป็นตัวที่ทำให้เกิดความรู้สึก เช่น ติดใจ เป็นต้น

    ในอาทิตตปริยายสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า มโนเป็นของร้อน ธรรมารมณ์ทั้งหลายเป็นของร้อน วิญาณอาศัยมโนเป็นของร้อน



    จิต
    เราตอบไม่ได้มันคืออะไร แต่เราฝึกมันได้ ตามแนวทางสมถะ วิปัสสนา ถึงจะรู้เรื่องจิต

    จิตหลงยึดถือเป็นปัจจัยให้เกิด ... เรียกว่าการยึดถือของจิต
    ฝึกจิตให้เข้าถึงสภาวะหลุดพ้นจากการปรุงแต่ง .... จิตหลุดพ้น
     
  15. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    สำหรับความเห็นของข้าพเจ้า ที่ได้ศึกษามา

    จิต คือ รู้
    จิตผู้รู้ คือ ปัญญา
    จิตตัวรู้ คือ ปัญญาที่เห็นสัมมาทิฐิ หรือ ปัญญาสัมมาทิฐิ

    ใจ คือ สภาวะที่เกิดขึ้นทางรูปที่กระทบ ใจรับรู้ (วิญญาณ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2013
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สังเกตุเห็นไหมว่า เขาเป็นของเขาเอง


    กับอีกคำนึง " เวลามีสิ่งมากระทบให้ปล่อย "
     
  17. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +1,124
    ผู้รู้ ตัวรู้ นี่รู้อะไร ปฏิยัติสักหน่อยไหม เกี่ยวกับ "ญาณ"

    http://www.siripat.com/The-Purity-of-Knowledge-and-Vision-2013-0011.asp
     
  18. xeforce

    xeforce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2011
    โพสต์:
    140
    ค่าพลัง:
    +413


    ลำดับการปฎิบัติ (ขออนุญาติขยายความคุณ กลายแก้ว)

    1.ขั้นการรักษาศีล การรักษาศีล ต้องเป็นการรักษาศีลที่ใจ คือ จิตนี้
    เป็นเมตตา ไม่คิดเบียดเบียน พอจิตคิดได้อย่างนี้ การกระทำที่ออกไป
    ก็จะไม่ผิดศีล ลองไล่ดูครับ ในศีลทั้ง 5 ข้อ อย่างนี้เรียกว่า "มีศีลที่ใจ"
    ใจนี้ก็จะไม่ร้อนรน เป็นผลดีต่อการปฎิบัติในขั้น สติ และสมาธิ


    2.ขั้นสติและสมาธิ การฝึกสติและสมาธิให้มีกำลังมากพอที่จะสามารถ
    แยก กายและจิตออก เพื่อจะเห็นจิต ที่มีทั้ง สุข ทุกข์ อารมณ์ กิเลสต่างๆ
    ที่ผุดขึ้นในจิต หากเราไม่ฝึก สติและสมาธิเราจะไม่สามารถ แยกสิ่งต่างๆ
    ที่ผุดขึ้นมาในจิตได้เลย


    3.ขั้นปัญญา ปัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อเราเห็น กาย ใจ นี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นอนัตตา เห็นแจ้งที่จิตนี้ จิตมันจะเห็นว่า สรรพสิ่ง ทุกอย่าง ล้วนอนิจจัง
    ไม่เป็นสาระที่น่ายึดถือ แม้สิ่งที่ดี และไม่ด้


    บรรลุธรรมขั้นต้น ผู้ถึงขึ้นนี้จิตจะรู้ถึงความไม่เที่ยง และเกิดความรู้ เทียบ
    เคียงทุกสิ่ง ในกฎไตรลักษ์ เป็นอัตโนมัติ ไม่ได้เป็นการคิดเอง แม้มีเหตุการณ์
    ใดเกิดขึ้นมาจะไม่เอาเป็นสาระทั้งสุข ทุกข์ ดี ไม่ดี ความทุกข์ในจิตจึงหายไป
    มาก ส่วนความบีบคั้นใจจิตยังมีอยู่ ตามการกระทบของอายตนะ แต่การ
    กระเพื่อมในจิตนั้น สั้นมาก จิตจะวางเองอัตโนมัติ โดยไม่ต้องบังคับให้หาย
    หรือคิดให้จิตวางลง สภาวะของกิเลสจะเบาบางลง แต่ยังคงมีอยู่ ตัณหาความ
    ทะยานอยากจะมีแต่ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น จิตส่วนใหญ่อยู่ใน อุเบกขา
    จะไม่ทำผิดศีลแม้สถานะการณ์จะบีบคั้นเพียงใด จึงเป็นผู้ปิดอบายภูมิได้แล้ว
    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ที่เกิดขึ้นในจิตที่กล่าวมาแล้วจะเป็นเองโดยอัตโนมัติ
    และจะไม่เสื่อมลง แม้มิได้ระวังจิต จะมีแต่ความเจริญยิ่งขึ้นไป



    ขั้นวิมุตติ และ วิมุตติญาณทัสสนะ .............................................................
     
  19. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    หากผู้ปฏิบัติสั่งสมปัญญาจนสามารถรอบรู้เท่าทันกิเลสได้
    ความทุกข์ต่างๆย่อมไม่สามารถเข้ามาครอบงำจิตใจนี้ได้อีก....​
     
  20. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,019
    อืมๆ.เจตนา จขกท. ดีครับ..การแนะนำให้ไปอ่านหนังสือก็ถือว่าเป็นเจตนาที่ดีครับ.
    ส่วนใครจะอ่านหรืออ่านแล้วชอบก็เป็นส่วนบุคคล..
    ส่วนตัวขอเสนอความคิดเห็นอย่างนี้นะครับ..ผมก็ไม่รู้หรอกนะครับว่าเนื้อหาในหนังสือเล่ม
    นี้เป็นอย่างไร แต่ถ้าเราต้องการนำธรรมของใครก็ตามมาเผยแพร่นั้น.เราควรต้องระวัง
    ในส่วนของการคัดลอกเนื้อหาที่นำมาลงด้วยครับ.การนำเนื้อหามาลงเพียงบางส่วนบางครั้ง
    ในย่อหน้านั้นอาจจะยังไม่ใช่เจตนาที่ท่านผู้แต่งท่านต้องการจะสื่อครับ..

    และสิ่งที่สำคัญนะครับ.ยิ่งถ้าเรายังปฏิบัติยังไม่ถึงขั้นที่เข้าใจ เข้าถึง
    และรู้นั้น การแทรกความคิดเห็นส่วนตัว หรือเราจะไปสรุปเอาเองจากการอ่าน.
    เพื่อไปเสริมกับบทความที่นำมาลงถือว่าสุ่มเสี่ยงกับการปฏิบัติของเรามากๆครับ.
    ที่จะทำให้เราหลงทางได้ง่ายๆครับ..และจะทำให้คนที่เข้ามาอ่านแล้วจะไม่
    เคลียกับบทความที่นำมาลงครับ.เพราะไม่ทราบว่า ประโยคไหนมาจากหนังสือ
    หรือว่ามาจาก การสรุปตามความเข้าใจของเรา ณ เวลานี้ด้วยครับ.
    .คือถ้าจะทำบอกเลขหน้า เพิ่มเติม แยกสีให้ชัดเจนก็จะทำให้คนเข้ามาอ่านตรงนี้เข้าใจได้
    ง่ายขึ้นครับ..ส่วนไหนที่เป็นส่วนความคิดที่เราเข้าใจก็ว่ากันไปครับ.ไม่ใช่ประเด็น
    หลักอะไรจะทำได้จริงๆหรือไม่ได้จริง หรือเข้าใจจริงหรือเปล่า อย่างน้อยก็จะได้
    แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันและคนแนะนำจะได้แนะนำได้ถูกทางด้วยครับ..

    ไม่งั้นก็จะเป็นธรรมะกระดาษจริงๆครับ..คือ ณ เวลานี้นะครับ.ถ้าผมอ่านจากที่คุณ
    นำมาลง.จากข้อมูล ณ เวลานี้นะครับ.แม้ว่าส่วนตัวจะยังไม่ถึงขั้นที่ละเอียดนะครับ..
    บอกได้เลยผู้เขียนยังไม่เข้าใจเรื่องจิตและ
    เรื่องใจอะไรเลยครับ.หลายๆคนในห้องนี้ปฏิบัติไปไกลกว่านี้เยอะครับ
    .แค่เริ่มต้นก็ไม่ถูกแล้วครับ..คือยังไม่ละเอียดพอที่จะเข้าใจเรื่องนามธรรมในทำนองนี้ครับ.
    ลักษณะที่อธิบายที่แนะนำ.ยังไม่ใช่ลักษณะของคนที่เห็นตัวจิตจริงๆ.
    และแยกแยะความคิดที่เกิดจากจิตได้ และเห็นอารมย์ส่วนนามธรรมได้ครับ..
    และไม่ใช่ธรรมที่มาจากการปฏิบัติแล้วนำมาปฏิเวธได้จริงๆครับ
    เป็นธรรมะกระดาษเหมือนที่คุณเขียนจริงๆนั้นหละครับ.
    เพราะการอธิบายมาจากสภาวะที่ความคิดที่เกิดจากจิตปรุงแต่งร่วมกับตัว
    จิตของตัวเองอยู่ด้วยครับ..
    ไม่ใช่ลักษณะปัญญาทางธรรมที่ได้มาจากปฏิบัติ แต่ยังเป็นสัญญาปัญญา
    หรือปัญญาทางโลกอยู่ครับ.ไม่ใช่ว่าไม่ดีนะครับ.แต่มันยังละ คลายกิเลส
    จากจิตไม่ได้จริงๆเหมือน ในบทความที่นำมาลงครับ..
    คุณสังเกตุไหมหละครับ..ว่าการอธิบายพออ่านแล้วมันจะไม่เคลียและชัดเจน
    เหมือนบทความที่หลายๆคน.นำบทความของพระรูปอื่นๆมาลงครับ.
    ยังไงก็ลองพิจารณาด้วยนะครับ..
    ไม่งั้นจะไปไกลกว่านี้เยอะ.ยิ่งพูดจะยิ่งออกนอกแนวทางได้ครับ..
    คุณลองอ่านหลายๆบทความดูก่อนก็ได้ครับจะเห็นความแตกต่าง
    ในการอธิบายธรรมได้แตกต่างชัดเจน.จากพระหลายท่านที่ได้รับ
    การยอมรับอย่างกว้างขวางจากสังคมนะครับ..
    ยังไงก็ถือว่าเป็นหนึ่งความเห็นนะครับ.
    .​
     

แชร์หน้านี้

Loading...