เรียนถามเรื่อง อรูปฌาน(อรูปสัญญา)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bentagon, 19 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. bentagon

    bentagon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    ข้าพเจ้าเรียนถาม ญาติธรรมท่านผู้เจริญ

    ข้าพเจ้าได้ฝึกปฎิบัติ อนาปานสติ จนชำนาญในฌาน4ในระดับหนึ่ง
    เรียนถามท่านผู้รู้ว่า
    การจะเข้า อากาสานัญจายตน นั้นจะต้องน้อมจิตคิดเอาอากาศเป็นอารมณ์ใน ฌาน4 ใช่หรือไม่ครับ
    ตัวข้าพเจ้าผู้ถาม ไม่สามารถน้อมจิตคิดเอาอากาศเป็นอารมณ์ใน ฌาน4 ได้
    พอน้อมคิดทีไร อุเบกขาก็ หลุด นั้นแสดงว่าไม่ครบองค์ ของฌาน4
    หรือหนักๆเข้า กลับมาหายใจ นั้นคือหลุดออกจาก ฌาน4
    แล้วเยี่ยงนี้จะเข้า อรูปฌานได้อย่างไรเล่า
    (ข้าพเจ้าทราบดีว่า อรูปฌาน ไม่จำเป็นก็ได้)

    ท่านผู้รู้ท่านใดรู้ทาง ขอความอนุเคราะห์ชี้ทางสว่างให้แต่ตัวข้าพเจ้าผู้ถาม จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง


    :'(
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  2. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    ธรรมภัฎเองก็ยังไม่มีใจอยากเข้าลึกกว่านั้นหรอกนะครับ เพราะทุกวันนี้ อยากเอาตัวนี้ให้คล่องกว่านี้ก่อน แล้วค่อยเดินต่อ ครั้งนี้ต้องขอตัวงดออกเสียงคำอธิบายแนะนำทั้งปวง เพราะเกินตัวไป

    ขอร่วมอนุโมทนาสาธุการกับท่านที่มีใจรักความสงบเช่นกันนะครับ

    ท่านที่ได้แล้วมาต่อให้ท่าน จขกท ก็ดีนะครับ ผมอาจจะขอแจมได้มีเทคนิค อาชีวะ ช่างกลเข้าอย่างท่านได้มั่ง อยากรู้เหมือนกัน มันจาเป็นยังไง สนุกไหม

    เจริญธรรมครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เดี๋ยวนะ...เดี๋ยวผมหาที่ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำให้......
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    อรูปฌาน ๔

    โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)

    ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงวิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ อากาสานัญ-
    จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะรวม ๔ อย่างด้วยกัน
    อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว
    เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
    ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
    สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ แต่ทว่าอรูปฌานนี้
    ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
    ว่างเป็นสำคัญ

    อานิสงส์อรูปฌาน

    ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌาน
    ที่ได้แล้ว ยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้อรูปฌานนี้แล้ว
    เมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ คือมีคุณสมบัติพิเศษ เหนือจากที่ทรง
    อภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และ คุณสมบัติพิเศษ
    อีก ๔ คือ

    ปฏิสัมภิทา ๔

    ๑. อัตถปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ท่านอธิบาย
    มาแล้วอย่างพิสดาร ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัดไม่เสียความ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้พิสดาร
    เข้าใจชัด
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่างอัศจรรย์
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่างอัศจรรย์
    ปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา
    หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ ๑๐ และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้
    ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญา แล้วท่าน
    มาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ ๙ ประการ
    ปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาท
    ของอรูปฌาน คือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึง
    จตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติ
    ในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่านที่ได้กสิณจน
    คล่องอย่างน้อย ๙ กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้ว จึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้ ฉะนั้นท่าน
    ที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน
    อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอา
    โลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐ หรือทั้ง ๘ นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันที
    ในสมัยที่เป็นฌานโลกียส่วนปฏิสัมภิทาญาณ ๔ นี้ เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรง
    ปฏิสัมภิทาไม่ได้ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะ
    ปรากฏบังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

    ๑. อากาสานัญจายตนะ

    การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐานละเอียด
    ทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้ มีความสำคัญ
    อยู่อย่างหนึ่ง คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบายไม่ตรงตามความเป็นจริง
    ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ ก็ต้องได้กรรมฐานกองนั้น ๆ มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็ เช่นกัน
    อาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสาม สำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมา
    พอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จ มรรคผลใด ๆ ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอด
    ได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ฉลาดจริงเข้า ท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกันส่วน
    ด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษาในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบแต่ถึงจะได้
    ไม่ครบก็ทราบว่าแนวของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ ๆ ฟุ้งได้บ้าง
    พอสมควร
    อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะ
    นี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญ
    ว่ากสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญความสุข ความทุกข์ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็น
    ต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็น
    นิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศ
    ไว้โดยกำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน
    ๒. วิญญาณัญจายตนะ

    อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์ โดยจับอากาสานัญจายตนะ คือกำหนดอากาศจาก
    อรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์ แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิต
    ที่อาศัยรูปอยู่ ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตาม แต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะ
    วิญญาณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดจิตว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาด
    กำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือนจิต โดยคิดว่า เราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่น
    ไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์

    ๓. อากิญจัญญายตนะ

    อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน ๔ ในวิญญาณแล้วเพิก
    วิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
    ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการ
    ปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้

    ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ

    เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก
    ตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว
    เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน
    แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง
    เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์
    เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรอง
    ผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้ ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด สมัยเป็นนัก
    เทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์
    จริง ๆ ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่ ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คง
    ไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญา
    กับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    (ขอยุติอรูป ๔ ไว้เพียงเท่านี้)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ที่มา http://www.palungjit.org/smati/k40/aru4.htm
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    เพิ่มเติมในส่วนของ พระธรรมเทศนานะครับ....ลองโหลดไปฟังดูนะครับ....น่าจะช่วยได้มาก...เพราะว่าเนื้อหาข้างบนนั้นหลวงพ่อท่านเขียนไว้แล้วผ่านเวลาค่อนข้างนานมาก...ซึ่งต่อมาท่านก็มีเคร็ดลับอะไรมากขึ้นในการปฏิบัติ...ส่วนตัวผมแนะนำไม่ได้ครับ....เพราะผมยังไม่เคยได้ปฏิบัติอรูปเลยครับ.....

    แต่ส่วนตัวเชื่อแน่ว่าถ้าเกิดว่าต้องถอนมาเพื่อพิจารณาความว่างต้องเพิกอารมณ์ก่อนเพราะฌาน ๔ มันไม่มีสถาวะที่จะคิดอะไรได้เลย....ทรงอยู่ใน เอกคัตตา และ อุเบกขา....ถ้าลงมาบทที่ใช้ความคิดมันจะถอนออกมาเองโดยอัตโนมัติเลยครับ....

    โมทนาสาธุบุญด้วยนะครับ.....ว่าที่ผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ เอ หรือว่าพุทธภูมิหว่า..
    _________________________________________


    อรูปฌาน ๔



    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1>Artist: หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ


    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>ไฟล์แนบข้อความ</LEGEND><TABLE border=0 cellSpacing=3 cellPadding=0><TBODY><TR><TD width=20><INPUT id=play_146 onclick=document.all.music.url=document.all.play_146.value; value=attachment.php?attachmentid=146 type=radio name=Music>ฟัง</TD><TD>[​IMG]</TD><TD>อรูป4.mp3 (2.89 MB, 4252 views)</TD></TR></TBODY></TABLE></FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  6. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    การเข้าอรูปฌาณ ท่านต้องได้กสิณ กองใดกองหนึ่งก่อน และทำกสิณกองนั้น ให้ถึงฌาณ ๔ ละเอียด และทรงอารมณ์ไว้พอสมควร

    จากนั้น ถอยจิต มาที่อุปจารสมาธิ (กายและจิต จะเริ่มรับสัมผัสอีกที) และเริ่มพิจารณา อากาศ จนจิตสงบ ตามความเป็นจริง ( ถ้าจะอธิษฐานจิต ก็ทำช่วงนี้ )

    ต่อจากนั้นก็เข้า ฌาณ ๔ อีกหน (ส่วน วิญญา อากิญ เนวสัญญา ทำแบบเดียวกัน)

    การเข้า อรูปฌาณ ก็คือการเข้า ฌาณ ๔ สองรอบ คือ ฌาณ ๔ ในรูปฌาณ และฌาณ ๔ อรูปฌาณ

    ในส่วนที่ท่านทำ ในกลุ่มนักปฏิบัติ เรียกว่า อรูปฌาณ ดิบ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ขออนุญาตย้ายคำถาม....ไปถามเป็นการส่วนตัว....ใน พี่เอ็มนะครับ....

    ขออนุญาตท่าน อริยบุตร ตอบคำถามผมใน พี่เอ็ม....ไม่ต้องตอบที่นี่นะครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  8. bentagon

    bentagon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    ต้องขอขอคุณทุกท่านที่อนุเคราะห์มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

     
  9. bentagon

    bentagon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    ขอขอบคุณท่าน อริยบุตร เป็นอย่างยิ่ง
    และขอเรียนถามท่าน ต่อ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ตัวข้าพเจ้าเองดังนี้


    คำว่า "ถอยจิตมาที่อุปจารสมาธิ" พอจะกำหนดได้ไหมครับว่า
    เป็น ฌาน ที่เท่าไร ตัวข้าพเจ้าเอง ไม่ค่อยเข้าใจคำว่าอุปจารสมาธิ
    แต่เข้าใจ สภาวะไหนอยู่ในฌานใด



    หมายถึงแบบนี้หรือปล่าวครับ

    รูปฌาณ = เข้าฌาณ ๔ หนึ่งรอบ


    อากาสา = เข้าฌาน ๔ สองรอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา


    วิญญา = เข้าฌาน ๔ สามรอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา+วิญญา


    อากิญ = เข้าฌาน ๔ สี่รอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา+วิญญา+อากิญ


    เนวสัญญา = เข้าฌาน ๔ ห้า
    รอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา+วิญญา+อากิญ+เนวสัญญา


    แล้วส่วนที่เป็นอรูปฌาณ ไม่ดิบ
    หรือ อรูปฌาณ ละเอียดเป็นอย่างไรครับ

    ขอพระคุณเป็นอย่างยิ่ง

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011
  10. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    อรูปฌาณเป็นของละเอียด เกินคนทั่วไปจะหยั่งถึง นอกจาก พระที่เจริญฌาณมานานแล้ว

    ทรงฌาณ 4 ให้ได้ก็ว่ายากแล้ว จะละ สัญญา ขึ้นสู่ สภาวะอรูปยิ่งยากขึ้นไปอีก

    คำถามก่อนที่จะไปทำอรูปฌาณ ถามว่า อารมณ์ฌาณ 4 ที่เราคิดว่า เราได้นั้น เราได้จริงหรือไม่แค่ไหน

    ให้ถามตนเอง ให้ศึกษาให้แน่ใจก่อน เพราะคนทั่วไปยังไม่เข้าใจ เรื่องฌาณดีพอ ก็คิดไปว่า ตนได้ฌาณนั้นฌาณนี้ แล้วคิดจะก้าวขึ้นไปโดยไม่ได้รู้อะไร ก็อาจจะทำให้ไม่ได้อะไรเลยทั้งขึ้นทั้งล่อง
     
  11. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ครับท่าน ผม ขอมืด ๆ นิด นะ ช่วงนี้ติดธุระ จะไม่ค่อยว่าง ..

    bentagon

    ขอขอบคุณท่าน อริยบุตร เป็นอย่างยิ่ง
    และขอเรียนถามท่าน ต่อ เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ตัวข้าพเจ้าเองดังนี้


    คำว่า "ถอยจิตมาที่อุปจารสมาธิ" พอจะกำหนดได้ไหมครับว่า
    เป็น ฌาน ที่เท่าไร ตัวข้าพเจ้าเอง ไม่ค่อยเข้าใจคำว่าอุปจารสมาธิ
    แต่เข้าใจ สภาวะไหนอยู่ในฌานใด

    คำว่าถอย ในที่นี้ คือเมื่อเราจับองค์กสิณ ซึ่งตอนนี้ จะใสเป็นแก้ว (ประกายพฤกษ์) หรือที่เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ให้ตัดภาพนั้นทิ้ง ด้วยการ ไม่นึกถึงภาพ นั้นๆ
    อุปจารสมาธิ หมายถึงอารมณ์ สบาย ๆ ที่ไม่มีนิวรณ์ มากวนใจ มีอาการไกล้เคียงกับปฐมฌาณ แต่ยังไม่ถึงฌาณ


    หมายถึงแบบนี้หรือปล่าวครับ

    รูปฌาณ = เข้าฌาณ ๔ หนึ่งรอบ


    อากาสา = เข้าฌาน ๔ สองรอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา

    วิญญา = เข้าฌาน ๔ สามรอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา+วิญญา

    อากิญ = เข้าฌาน ๔ สี่รอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา+วิญญา+อากิญ

    เนวสัญญา = เข้าฌาน ๔ ห้ารอบ = ฌาน ๔ ในรุปฌาณ+ฌาน ๔ ในอากาสา+วิญญา+อากิญ+เนวสัญญา

    ตัดตัวสีดำออกนะ การปฏิบัติ ให้จับองค์สุงสุด ที่เราได้ แต่ก็ต้องหมั่น อนุโลม และ ปฏิโลม

    ดูคำตอบ จากของเดิม นะครับ


    แล้วส่วนที่เป็นอรูปฌาณ ไม่ดิบ
    ก็คือ อรูปทั่วไป ที่อาศัยนิมิตกสิณ เป็นบาทฐาน
    ส่วนอรูปดิบ คือการปฏิบัติ ที่ไม่อาศัย นิมิตกสิณ (ไม่มีผลในด้านปฏิสัมภิทาญาณ) แต่มีผลในด้านสงบ ท่านกล่าวไว้ นะ

    หรือ อรูปฌาณ ละเอียดเป็นอย่างไรครับ
    ตรงนี้ ไม่ทราบครับ แต่ถ้าเป็น ฌาณ ๔ ละเอียด นี่ตัดอุเบกขา เหลือแต่ เอกคตารมณ์ หรือฌาณ ๔ ใช้งาน ความรู้สึกของจิต จะละเอียดมาก ...

    ขอพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
    อนุโมทนา ครับผม

     
  12. ปราบ-มาร

    ปราบ-มาร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +8


    กราบอนุโมทนา ครับท่าน อ่านแล้วกระจ่างแจ้งครับ
     
  13. bentagon

    bentagon สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    กราบขอบพระคุณ ท่านอริยบุตรเป็นอย่างยิ่ง
    กระจ่างแจ่มแจ้งเลยครับ
    แล้วข้าพเจ้าจะ เร่งปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
    ถ้าติดตรงไหนแล้ว จะขอความอนุเคราะห์อีกต่อไป


    :cool:
     
  14. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    พระพุทธเจ้ากล่าวไว้
    วิริเยน ทุกขมัจเจติ
    บุคคลจะล่วงทุกข์ ได้ด้วยความเพียร
    สิ่งใดที่มนุษย์ ทำไม่ได้ พระพุทธเจ้า ไม่สอน การไม่ได้ของเรา ใช่ว่า คนอื่นจะทำไม่ได้ นะครับ
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,927
    ค่าพลัง:
    +9,209
    ไม่มีใครบอกว่า ไม่มีคนทำได้
    เพียงแต่ให้ตระหนัก ก่อนว่า การที่เราตั้งปัญหาว่า อรูปฌาณ ทำอย่างไรนั้น
    เราควร สำรวจตัวเราก่อนว่า ฌาณ 4 ที่เราพูดนั้น เป็นฌาณ 4 จริงหรือ เก๊

    เพราะเท่าที่อ่านมา เห็นว่ามีแต่ ราคาท่องตำรา กัน ก็พูดเตือนเอาไว้ เพราะว่า มันไปไกลเกิน
    เพราะอรูป นั้น จิตพ้นจากรูปนี้แล้ว เป็นฌาณสมาบัติ ขั้นสูง หากทำได้กันจริง นั้น ศีล สมาธิ อินทรีย์ต้องมากแล้ว

    ไม่ใช่ว่า นั่งหลับตาใส แล้วก็คิดไปว่า ตนได้อรูป
     
  16. gatsby_ut

    gatsby_ut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    821
    ค่าพลัง:
    +14,291
    ท่านกล่าวถูก อนุโมทนา ... ครับผม
     
  17. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    เอ...พี่ภานุเดชนี่เล็งไกลเก่งและชัดดีจังเลยนะครับ แจ่มใสเชียว

    อืมมมม...อารมณ์ที่พี่ภานุเดชนำมาอธิบายเรื่องอากาศนี้ คลับคล้ายคลับคลาจะเข้าแก๊บเราบ่อยเหมือนกัน เมื่อถึงที่สุดที่เข้าได้แล้ว มันก็ตันที่รูปเนี่ยแหละ อึดอัด ไม่อยากอยู่กับรูปแล้ว เพราะเรามีรูปแล้วมันทุกข์ เราก็ว่ามันต้องเข้าไปได้เยอะกว่านี้สิ เข้าๆๆ เข้าอีกๆๆ มันบอกอย่างนี้

    สักพักอีตัวจิตมันเอาจักรวาลมาเป็นอารมณ์แทน จักรวาลที่ไม่มีโลก ไม่มีพระอาทิตย์ ไม่มีพระจันทร์ ไม่มีดวงดาว มีแต่มืดแล้วก็ไอ้ดวงๆที่ว่านั่นแหละ เราก็งงๆสงสัยว่านี่มันยังเป็นรูปนี่ เพราะเรายังเห็นเป็นดวงๆอยู่เลยอะ อันนี้ไม่รู้ว่ามันเข้าแก๊บอากาศหรือเปล่านะพี่ภานุเดช

    ทุกวันนี้อยากเข้าอยากออก อยากจับอยากทิ้งกับรูปมันก็ไม่สน แล้วแต่ว่าอารมณ์ตอนนั้นมันอยากเข้าที่ไหนบ้าง บางทีมันเป็นโพลงๆเหมือนให้พุ่งไปซะงั้น อืม บางทีมันไปถึงเร็วด้วยนะ ก็ดีเหมือนกัน

    จะเข้าหาครูอาจารย์ที่ท่านคล่องแล้วก็ไม่เคยเลยในชีวิต เพราะมุ่งกล้าท้าอยู่คนเดียวมาตลอด อาจหาญแบบไม่มีครูเคียงข้าง ลักจำจากครูที่ท่านทำแล้วสำเร็จมาทำมั่ง เออ ก็ได้ผลแฮะ แต่กลับท้อแท้ให้กับโลกที่น่าเบื่อหน่ายสิ้นดี

    เจริญธรรมครับ
     
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ครูบาอาจารย์พี่ท่านสอนว่า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าธรรมของท่านบอกให้พิสูจน์.....ท่านเมตตาสอนไว้ให้ปฏิบัติ.....เราเกิดมาพบพุทธศาสนาแล้ว.....ชาตินี้จะเอาเสียให้มันไม่เสียชาติเกิด.....ที่มาพบพระพุทธธรรม....

    ครูบาอาจารย์ท่านสอนว่า...คนอื่นเขามี ๑ หัว สองมือ สองขา เท่าเรา.....เขาทำได้...ถ้าเราทำไม่ได้...ให้มันตายไปเสีย......ลองมัน..ไม่ได้อย่างน้อยก็ชื่อว่าเป็นผู้ทรงความเพียร.....การที่คิดว่าเราทำไม่ได้เสียก่อน...ทั้งที่ไม่ได้ไปทำท่านบอกว่า...พวกนี้...มันคือพวกเอาดีไม่ได้.....

    ส่วนตัวพี่ก็ยังทำไม่ได้ดีอะไรมาก....ก็ต้องปฏิบัติต่อ....เพราะมันยังไม่จบ.....ห่างชั้นกับรุ่นพี่และครูบาอาจารย์ท่านอีกมาก.....ก็ต้องทำต่อครับ......

    __________________________________________

    ส่วนที่น้องถามนี่อุตส่าว่าไม่มีใครทันอ่าน....ยังอ่านทันอยู่นะเรา.....พี่บอกเลยครับ.....ความสามารถส่วนตัว ณ.ตอนนี้ยังไม่ได้ฝึกอรูปอย่างจริงจังนะ(เพิ่งโดนท่านแนะนำว่าเป็นอรูปดิบ).....ยังแนะนำไม่ได้.....เพราะยังไม่ได้สำเร็จและทำได้จนคล่อง........เมื่อไรก็ตามที่ทำได้จริงๆแล้ว....จึงสามารถบอกได้.....

    สถาวะของพี่ไม่เหมือนน้องนะ.....ของพี่ตอนที่ทรงอากาศครั้งนั้นคือ.....ทรงอยู่ในอุปจารสมาธิอยู่ แล้ววันนั้นมันก็นึกเล่นๆว่าเอาว่ะลองดู....ก็ทรงต่อว่าทุกอย่างเป็นอากาศ อากาศไม่มีที่สิ้นสุด ทุกอย่าง รอบกาย (ไม่ได้เป็นกรรมฐานแบบนึกนะ..เดินขึ้นตามกำลังสมาธิในแบบของฌานแต่ทรงอากาศเป็นตัวแปร)...สักครู่มันก็เป็นอากาศหมด....ในความว่างตอนนั้นไม่มีความคิด....แต่สติตามทัน(คือมันรู้)...แล้วที่นี้มันเหลือจุดสุดท้ายคือ....ร่างกายนี่...จะว่ามันเป็นตัวร่างกายมันก็ไม่ใช่..อาการมันเหมือนตัวรู้ในฌาน ๔ ของอานา..มันมีอยู่มันชัด.....แล้วพี่ก็เพิก.....เท่านั้นหละครับ....มันดับลงไปเลย.....แบบ ไม่รับรู้อะไรทั้งนั้น.....ไม่รู้ความมืด...ความสว่าง ....มันดับแบบไม่มีอะไรให้รู้....คือจิต ณ ตอนนั้น....มันมีสถาวะที่ไม่รับรู้อะไรเองโดยอัตโนมัติ.....ไม่มีความคิดนึก......แล้วสมาธิก็เด้งออกมา.....อาจเพราะว่ามันยังไม่ชิน......อย่างนี้.....ก็ยังรู้สึกแปลกใจเพราะไม่เคยทำกรรมฐานกองนี้มาก่อน.....อย่างนี้.....

    พี่ก็สงสัยอยู่...แต่ก็ไม่ได้ทำต่อ....ความจริงมันน่าจะทำต่อ....ก็จะว่าจะไปถามครูบาอาจารย์อยู่...ว่ามันคืออะไร...เพราะมันไม่ได้เป็นตามตำรา....เราเพียงแค่ทำเล่นๆ....เท่านั้น.....ถ้ามันได้เล่นๆจะดีใจมากเลย.....จะเอาเป็นฐานต่อตี ๔ ตัวเก็บหน่วยกิตให้ครบสักหน่อย.....

    ตอนนี้ถามท่านกัลญาณมิตรแล้ว.....ได้คำตอบมาแล้ว...

    อย่างไรตอนนี้พี่แนะนำได้แต่แผนที่....คือที่ยกขึ้นมาข้างบนหนะ.....ครูบาอาจารย์ท่านว่าไง....ก็นั่นหละแผนที่.....ส่วนการเดินทางน้องไปเดินเอง.....ยังไม่มีความสามารถแนะนำว่ะ.....เดี๋ยวเตี้ยอุ่มค่อม......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2011
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    ถามต่อนะครับ.....ถ้าเกิดว่าจิตทรงสมาธิตรงอรูปดิบนี้ก่อนตาย.....นี่มีผล....ไปเป็นอรูปพรหมไมครับ.......หรือว่าต้องทรงแต่อรูปสุก....ถึงไปเกิดได้ที่อรูปพรหม.......
     
  20. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,443
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,663
    อรูปถ้าทำได้ก็ดีครับ.....พูดตามตรง สมัยนี้หาคนทำได้ยากแต่ไม่ได้หมายถึงไม่มีใครทำได้......

    <O:p</O:pอรูปเหมาะแก่การใช้สำหรับพักผ่อนจิต......ไม่ต่างอะไรกับฌาน ๔ ที่เขาเรียกอีกชื่อว่าอัปณาสมาธิ......ถ้าคนที่จะติด....ต่อให้ ฌาน ๔ก็ติดครับ......ไม่ต้องไปพูดอรูปเลย.......เพราะสุขของฌาน ๔ในความสงบนั้น.....ก็เป็นอะไรที่ไม่รู้จะบรรยายอย่างใด.....<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วิปัสสนานั้น.....ไม่จำเป็นต้องใช้กำลังอรูปหลอกครับ......อย่างดีก็ใช้กำลัง ฌาน ๔ ได้ในกรรมฐานกองใดกองหนึ่งก็พอแล้วครับ......อันนี้อย่างดีนะ......เพราะอย่างไรก็ต้องถอนกำลังอยู่ดี......เพราะมันทำในฌาน๔ ไม่ได้........

    <O:p</O:pถ้าใครต้องการจะฝึกอรูป....แล้วถ้าผ่านฌาน ๔มาได้.....โดยไม่ติด.....ผมว่ามันจะติดฌานในอรูปก็เป็นไปได้ในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยลงนะ........

    <O:p</O:pและอีกอย่างครูบาอาจารย์ท่านก็สอนวิธีการกันอยู่....ที่ไม่ทรงให้ติด.....พูดตามตรง....เขาสอนวิธีไม่ให้ติดกันมาเป็นพันๆปีแล้ว......ถ้าพวกที่ฝึกแล้วติด.....เหมือนพวกที่เสพยาเสพติดนั้น.....ก็ควรจะสงเคราะห์...ให้เป็นอรูปพรหมไปเลย......ไม่ต้องมีพระพุทธเจ้าเขาก็ทำกันได้......สงเคราะห์ให้เพราะอะไร.....เพราะความโง่และหัวแข็งของตนเอง.....ที่ท่านบอกแล้วสอนแล้วก็ยังไม่ทำตาม......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...