เรียนรู้พระธรรมสู่การปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nouk, 13 เมษายน 2013.

  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ที่มา : http://www.mattaiya.org/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=2

    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต

    อานนท์ ! พุทธบริษัททั้งสี่ คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ทำสักการะบูชาด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่ อานนท์เอย ! ผู้ใดปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติอันชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม” {พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน}

    1.อริยมรรคมีองค์ 8

    2.หลักการสติปัฎฐานสี่ในพระไตรปิฎก

    3.เลือกหลักสติปัฎฐานสี่ให้ตรงกับจริตนิสัย

    4.ตรวจสอบผลการปฏิบัติธรรมด้วยตนเอง

    หลักสติปัฏฐาน ๔ และสำนักปฏิบัติธรรมแนวสติปัฏฐานในประเทศไทย มีจุดประสงค์ให้พุทธศาสนิกชนได้รับความรู้เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 ที่ถูกต้องตามหลักการที่มีปรากฎในพระไตรปิฎกและแนะนำให้รู้จักสำนักปฏิบัติธรรมในประเทศไทย[บางส่วน] ที่สอนหลักการสติปัฏฐาน 4 ที่ถูกต้องตามพระไตรปิฎก เพื่อความไม่สับสนว่าสำนักที่ตนไปปฏิบัติได้สอนถูกต้องในพระไตรปิฎกหรือไม่ เกิดความสามัคคีในหมู่พุทธศาสนิกชน

    "ไม่มีการปรามาสสำนักที่สอนสติปัฏฐานอื่นๆ "

    ทุกๆ คนที่ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ 8 คือ "ลูกศิษย์พระพุทธเจ้า" เหมือนกันหมด
     
  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อริยมรรคมีองค์ 8

    มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง

    แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์

    เรียกว่า อริยมรรค แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

    คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระหลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือและประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา

    การฝึกฝนให้ดำเนินตามมรรคแปด เราเรียกว่า ไตรสิกขา การฝึกอบรมเริ่มที่ความประพฤติหรือการแสดงออกภายนอกกายและวาจา [ศีล หรือเรียกว่า อธิศีลสิกขา] แล้วประณีตขึ้นมาสู่การอบรมจิต [สมาธิ หรือเรียกว่า อธิจิตตสิกขา] จนถึงระดับสุดท้าย คือ การทำความรู้ความเข้าใจและการหยั่งเห็นความจริง [ปัญญา หรือ เรียกว่า อธิปัญญาสิกขา]ให้แก่กล้า จนพ้นจากอวิชชา ตัณหา อุปาทานได้

    ไตรสิกขานี้ เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนที่เป็นหลักใหญ่ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์จะนำมาสั่งสอนแก่พุทธศาสนิกชน คือ "โอวาทปาฏิโมกข์"
    1.สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง (ศีล)
    2.กุสลสฺสูปสมฺปทา การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ)
    3.สจิตฺตปริโยทปนํ การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ปัญญา)
    [จากพระไตรปิฎก ที.ม. 10/54/57]

    ขยายความ อริยมรรคมีองค์8 ในแต่ละหัวข้อ [ดูในวงเล็บในแต่ละหัวข้อว่าหมวดใดเป็นศีล สมาธิ ปัญญา]

    ข้อมูลบางส่วนจากพระไตรปิฎก[เล่มที่14 หน้า 421 ข้อ375]
    และจากหนังสือพุทธธรรม โดยพระธรรมปิฎก
     
  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    1.สัมมาทิฎฐิ(ปัญญา) คือ

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฎฐิ คืออะไร ?
    ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฎฐิ"
    [ที.ม.10/299/348 ,ม.มู.12/149/123,สํ.ม.19/34/10 ,ม.มู.12/115/88, อภิ.วิ.35/163/136]

    2.สัมมาสังกัปปะ(ปัญญา)
    การดำริ การคิด และตั้งทัศนคติต่อสิ่งต่างๆอย่างถูกต้อง ไม่เอนเอียง ยึดติด ขัดผลัก

    สัมมาสังกัปปะ มี 3 อย่าง
    2.1.เนกขัมมสังกัปป์ หรือ เนกขัมมวิตก คือ การดำริที่ปลอดโลภะความนึกคิดที่ปลอดโปร่งออกจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดใคร่ในสิ่งเสพสนองความอยากต่างๆ ความคิดที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ความคิดเสียสละ ความคิดที่เป็นกุศลทุกอย่าง[เนกขัมมธาตุ=กุศลธรรมทั้งปวง ]

    2.2.อพยาบาทสังกัปป์ หรือ อพยาบาทวิตก คือ การดำริที่ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือใช้คำว่า เมตตา เป็นความปรารถนาดี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข จัดเป็นความคิดที่ปลอดโทสะ

    2.3.อวิหิงสาสังกัปป์ หรือ อวิหิงสาวิตก คือ ความคิดที่ปลอดจากการเบียดเบียน ปราศจากความคิดที่จะก่อทุกข์ให้ผู้อื่น หรือใช้คำว่า กรุณาเป็นความคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์

    การทำให้เกิดสัมมาสังกัปปะได้ ผู้นั้นต้องใช้โยนิโสมนสิการ คือ การคิดอย่างแยบคาย
     
  4. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    3.สัมมาวาจา(ศีล)

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาเป็นไฉน ? นี้เรียกว่าสัมมาวาจา คือ
    1.มุสาวาทา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ
    2.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนางดเว้นจากวาจาส่อเสียด
    3.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนางดเว้นจากวาจาหยาบคาย
    4.สมฺผปฺปลาปา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    "

    4.สัมมากัมมันตะ(ศีล)

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน? นี้เรียกว่าสัมมากัมมันตะ คือ
    1.ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนางดเว้นจากการตัดรอนชีวิต
    2.อทินนาทานา เวรมณี เจตนาการถือเอาที่เขามิได้ให้
    3.กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี การประพฤติผิดในกามทั้งหลาย"

    5.สัมมาอาชีวะ(ศีล)

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? นี้เรียกว่าสัมมาอาชีวะ คือ อริยสาวกละมิจฉาอาชีวะเสีย หาเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ"

    [มิจฉาอาชีวะคือ การโกง (หรือหลอกลวง) การประจบสอพลอ การทำเลศนัยใช้เล่ห์ขอ การบีบบังคับขู่เข็ญ ข้อมูลจาก ม.อุ.14/275/186 ฉะนั้นการประกอบสัมมาอาชีวะคือ การประกอบอาชีพที่ทำตรงกันข้ามกับมิจฉาอาชีวะ]
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    6.สัมมาวายามะ(สมาธิ)

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะ เป็นไฉน? นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    1.สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่นเพื่อป้องกัน อกุศลอันเป็นบาป ที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
    2.สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่นเพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว
    3.สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตไว้ มุ่งมั่นเพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น
    4.สร้างฉันทะ พยายาม ระดมความเพียร คอยเร้าจิตใว้ มุ่งมั่นเพื่อความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย เพื่อความไพบูลย์เจริญเต็มเปี่ยมแห่กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

    "[ข้อมูลจากพระไตรปิฎก ที.ม.10/299/348 ,ม.มู.12/149/124,ม.อุ.14/704/454,อภิ.วิ.35/168/137]

    7.สัมมาสติ

    "ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสติเป็นไฉน ? นี้เรียกว่าสัมมาสติ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    1.พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    2.พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    3.พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร มีสัมปชัญญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    4.พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้
    "(จากพระไตรปิฎก 10/299/349,ม.มู. 12/149/124,ม.อุ.14/704/454)

    ขยายความในส่วนสัมมาสติ ตามคำจำกัดความจากในพระสูตร ก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า สติปัฎฐานสี่ นั่นเอง
     
  6. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    8.สัมมาสมาธิ

    "ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา(การเจริญสมาธิ) มี 4 อย่าง ดังนี้ คือ
    1.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อทิฎฐธรรมสุขวิหาร (การอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน)
    2.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ
    3.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ
    4.สมาธิภาวนาที่เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย "
    [อง.จตุกฺก 21/41/57, ที.ปา.11/233/233]

    จากพุทธพจน์จะเห็นว่า ประโยชน์ของสมาธิที่ต้องการในพุทธธรรมคือ ภาวะจิตที่เรียกว่า "นุ่มนวล ควรแก่งาน" ซึ่งนำมาใช้ปฏิบัติการในการทำให้เกิดปัญญาต่อไป ส่วนการใช้สมาธิและฌานเพื่อประโยชน์อื่นเช่น มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ถือเป็นผลพลอยได้ และในบางกรณีกลายเป็นเรื่องที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสนับสนุน เช่น ผู้ที่บำเพ็ญสมาธิเพื่อต้องการอิทธิฤทธิ์ ผู้นั้นถือว่า คิดผิด [ไม่ปฏิบัติตามสัมมาสังกัปปะ] เพราะอิทธิฤทธิ์อาจก่อให้เกิดผลร้ายได้ เช่น หมกมุ่น ลำพองในฤทธิ์ หลงเพลินทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น อาจพอกพูนกิเลสจนถึงขนาดไม่สามารถบรรลุจุดหมายของพุทธธรรมคือไม่สามารถบรรลุพระนิพพานได้เลย พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ในกรณีที่ต้องกำราบผู้ลำพองในฤทธิ์ ให้หมดพยศ พร้อมที่จะฟังธรรม

    ส่วนผู้ที่ปฏิบัติจนได้บรรลุจุดหมายของพุทธธรรมแล้ว และได้อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ด้วย ก็ถือว่าเป็นความสามารถพิเศษที่พลอยได้ไป และใช้เป็นเครื่องพักผ่อนอย่างสุขในโอกาสว่าง อย่างที่เรียกว่า ทิฎฐธรรมสุขวิหาร ยกตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงปลีกพระองค์ไปอยู่ในที่สงัดเป็นเวลานานๆ เพื่อเจริญสมาธิก็เคยมี ฉะนั้นย้ำว่าหากยังไม่ถึงจุดหมายปลายทาง หากหลงเพลินในสมาธิ อาจจะกลายเป็นความประมาทและกีดกั้นความก้าวหน้าในการปฏิบัติ และอาจละเลยความรับผิดชอบในส่วนรวม
     
  7. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ระดับของสมาธิ
    1.ขณิกสมาธิ คือ สมาธิชั่วขณะ ซึ่งคนสามัญทั่วไปใช้ในการปฏิบัติกิจการงาน ในส่วนของสัมมาสมาธิคือ การนำขณิกสมาธิมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ
    2.อุปจารสมาธิ คือ สมาธิเฉียดๆที่จวนจะแน่วแน่ ซึ่งหากเป็นสัมมาสมาธิคือ การนำอุปจารสมาธิมาใช้ในการวิปัสสนากรรมฐาน ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ
    3.อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท ที่เรียกว่า เป็นสมาธิในขั้นฌาน ซึ่งเป็นขั้นที่สำเร็จในการเจริญสมาธิ ซึ่งหากนำมาใช้ในการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ก็จะเรียก สัมมาสมาธิ
    ฌานมีหลายขั้น ยิ่งสูงขึ้นไป องค์ธรรมก็ยิ่งลดน้อยลงไป

    ฌานแบ่งเป็น 2 ระดับคือ รูปฌาน 4และอรูปฌาน 4 รวมเรียกว่า ฌาน 8 หรือ สมาบัติ 8

    3.1.รูปฌาน4 ได้แก่
    3.1.1.ปฐมฌาน หรือ ฌานที่ 1 มีองค์ประกอบ 5 ประการคือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
    3.1.2.ทุติยฌาน หรือ ฌานที่ 2 มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ ปีติ สุข เอกัคคตา
    3.1.3.ตติยฌาน หรือ ฌานที่ 3 มีองค์ประกอบ 2 ประการคือ สุข เอกัคคตา
    3.1.4.จตุตถฌาน หรือ ฌานที่4 มีองค์ประกอบ 2 ประการคือ อุเบกขา เอกัคคตา

    3.2.อรูปฌาน 4 ได้แก่
    3.2.1.อากาสานัญจายตนะ[ฌานที่กำหนดอากาศ -space อันอนันต์]
    3.2.2.วิญญาณัญจายตนะ [ฌานที่กำหนดวิญญาณเป็นอันอนันต์]
    3.2.3.อากิญจัญญายตนะ[ฌานที่กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใดๆ]
    3.2.4.เนวสัญญานาสัญญายตนะ[ฌานที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช้]

    ผลสำเร็จจากสมาธิเรียกว่า "สมถะ" สำหรับปุถุชนจะได้จิตที่มีสมาธิสูงสุดเพียงแค่เนวสัญญานาสัญญายตนะเท่านั้น แต่หากเป็นผู้บรรลุธรรมที่สำเร็จทั้งฝ่ายสมถะและวิปัสสนา เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ สามารถถเข้าถึงภาวะที่ประณิตสูงสุดอีกขั้นคือ "สัญญาเวทยิตนิโรธ" หรือนิโรธสมาบัติ เป็นภาวะที่สัญญาและเวทนาดับ คือทั้งสัญญาและเวทนาหยุดปฏิบัติหน้าที่ เป็นความสุขขั้นสูงสุดในฝ่ายสมถะ
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    หลักการสติปัฎฐานสี่ในพระไตรปิฎก

    สติปัฎฐานสี่ = สัมมาสติ=วิปัสสนากรรมฐาน

    คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าสัมมาสติคือสติระลึกรู้ทั่วๆ ไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เราขับรถได้ เรามีสติในการทำงานในชีวิตประจำวัน เราพูดคุยกับคนอื่นรู้เรื่อง ซึ่งสติเหล่านี้เป็นสติทั่วๆ ไปที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ และคนส่วนใหญ่ [ส่วนน้อยที่มีปัญหาด้านสมอง] สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันเป็นปรกติ

    แต่หลักการสำคัญของสัมมาสติมีความลึกซึ้งกว่าสติที่กล่าวมาและหากไม่ศึกษาสัมมาสติที่ถูกต้องก็ไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมได้เลย และเมื่อศึกษาสัมมาสติที่ถูกต้องแล้ว ต้องไม่ละเลยอริยมรรคข้ออื่นๆด้วยเพราะทุกๆข้อของอริยมรรคจะสอดคล้องและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติพ้นออกไปจากความทุกข์
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ในพระไตรปิฎกได้แสดงหลักการสติปัฎฐานสี่มหาสติปัฎฐานสูตร เล่มที่ 10 ทีฆนิกาย มหาวรรค

    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้


    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานหนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้

    พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ


    จบอุทเทสวารกถา
     
  10. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    1.กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
    1.1.อานาปานบรรพ

    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว

    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง

    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    จบอานาปานบรรพ
     
  12. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    1.2.อิริยาปถบรรพ

    [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน
    เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน
    เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน
    หรือเธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง

    สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบอิริยาปถบรรพ
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    1.3.สัมปชัญญบรรพ

    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง
    ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม

    ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง
    การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบสัมปชัญญบรรพ
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    1.4.ปฏิกูลมนสิการบรรพ

    [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตามันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลืองงา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขนเล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืดไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือดเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบปฏิกูลมนสิการบรรพ
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    1.5.ธาตุมนสิการบรรพ
    [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

    ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบธาตุมนสิการบรรพ

    1.6.นวสีวถิกาบรรพ
    [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่าถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
     
  16. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ

    [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ

    [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปในทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้งไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทางหนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่งกระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้

    ดังพรรณนามาฉะนี้
    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ

    [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ

    [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้างพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
    จบนวสีวถิกาบรรพ
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    2.เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐาน

    [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร
    เล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา
    หรือเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา
    หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
    หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
    เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่
    แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
    จบเวทนานุปัสสนา
     
  19. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    3.จิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน

    [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้

    จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ
    จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ
    จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ
    จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน
    จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต
    จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ
    จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น

    ดังพรรณนามาฉะนี้

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
    พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่

    อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
    จบจิตตานุปัสสนา
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    4.ธรรมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน

    4.1.นีวรณบรรพ

    [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
    กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใดย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด

    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด
    ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่าถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

    อีกอย่างหนึ่ง เมื่อวิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา

    อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วยวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...