สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า
    เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้
    เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ
    ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    คัดมาส่วนหนึ่งจากตอบปัญหาธรรม
    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล(หลวงป๋า)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    nmf_3bgqwc2yf4jm6cv5jnqqt7l717-9hr5buks_pggmcgnyvyahefkecjsr2xlcho6r-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    วิธีเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน พิจารณาและปหานอนุสัยกิเลส.

    วิธีเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    พิจารณาและปหานอนุสัยกิเลส( ตามแนววิชชาธรรมกาย )




    -----------------------------------------------------------------

    "อนุสัยกิเลส" หมายถึงกิเลสละเอียดที่นอนเนืองอยู่ในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน ๗ อย่าง

    ๑. กามราคานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความยินดี พอใจ ติดใจ อยู่ในกามคุณทั้ง ๕ คือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสทางกาย กิเลสประเภทนี้ เมื่อมีสิ่งที่ก่ออารมณ์จากภายนอกมากระทบ หรือจิตสร้างอารมณ์ขึ้นมาเอง ก็จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิต ในรูปของราคะ โลภะ หรืออภิชฌา-วิสมะโลภะ ซึ่งเป็นกิเลสในระดับกลางและหยาบตามลำดับ

    ๒. ทิฏฐานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความเห็นผิดซึ่งจะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโมหะ หรือมิจฉาทิฏฐิ พร้อมกับอกุศลจิต ในฐานะเป็นเหตุนำหรือเหตุหนุนแล้วแต่กรณี

    ๓. ปฏิฆานุสัย คือ กิเลสละเอียดประเภทความขัดเคืองใจ ไม่พอใจในอารมณ์ต่างๆ เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ ก็จะแสดงตัวขึ้นมาในรูปของโทสะ คือความโกรธอย่างรุนแรง ในรูปของโกธะ คือความโกรธอย่างบางเบา หรืออุปนาทะ คือความผูกใจเจ็บ ผูกพยาบาทหรือจองเวร

    ๔. ภวราคานุสัย คือ ความยินดีในความเป็นอยู่ในภพ

    ๕. มานานุสัย คือ ความอวดดื้อถือดี ไม่ยอมใคร ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ถือว่าตนดี หรือถือว่าตนด้อย ซึ่งแสดงออกมาในรูปของมานะทิฏฐิ อันเป็นปมด้อยหรือปมเด่นทางใจต่างๆ

    ๖. วิจิกิจฉานุสัย คือ ความลังเลสงสัยในสภาวะธรรมต่างๆ

    ๗. อวิชชานุสัย คือ ความไม่รู้แจ้งสัจธรรมทั้ง ๔ ได้แก่ ความไม่รู้ในลักษณะของทุกข์ทั้งลับและเปิดเผย ทั้งที่เห็นง่ายและเห็นยาก, ความไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์, ความไม่รู้ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ,ความไม่รู้ในหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร, ความไม่รู้อดีต, ความไม่รู้อนาคต, ความไม่รู้ทั้งในอดีตและในอนาคต, และความไม่รู้เหตุและผลที่เกี่ยวเนื่องกัน ที่เรียกว่า "ปฏิจจสมุปบาทธรรม" อวิชชานุสัยนี้จะแสดงตัวออกมาพร้อมกับอกุศลจิตในฐานะที่เป็นทั้งเหตุนำและเหตุหนุนกิเลสอื่น ในลักษณะโมหะหรือมิจฉาทิฏฐิ

    อนุสัยกิเลสทั้ง ๗ นี้ ความจริงก็มีอนุสัยหลักอยู่ ๓ ประเภท คือ ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และ อวิชชานุสัย
    ส่วนอนุสัยกิเลสอื่นนอกจากนี้ ก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดแยกย่อยออกไปจากอนุสัยหลัก ในการพิจารณาสภาวะธรรมจึงจะยกมากล่าวแต่เพียง ปฏิฆานุสัย, กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย


    ให้ท่านผู้ปฏิบัติรวมใจของทุกกายให้หยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุด แล้วให้ญาณ หรือ ตาพระธรรมกายเพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

    หยุดนิ่ง ให้ดวงเห็น(รับ) ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้หยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกันทั้งหมด

    แล้วตรวจพิจารณารอบๆดวงรู้ ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของรู้อยู่รอบๆรู้ หนาประมาณ ๑ กระเบียด มีลักษณะสัญฐานกลมประมาณเท่าเมล็ดพริกไทยสีดำ มัวๆ ถ้าเป็นผู้มีกิเลสมาก ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้าเป็นผู้มีกิเลสน้อยก็จะเห็นเป็นสีมัวๆฝ้าๆเหมือนกระจกฝ้า เครื่องหุ้ม"รู้"อยู่รอบนอกดวงรู้(ดวงวิญญาณ หรือที่เรียกว่าตัวรู้)นี้เองคือ "อวิชชานุสัย"


    ทีนี้ก็ให้ตรวจพิจารณาดูรอบๆดวงคิด หรือ"ดวงจิต" ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของคิดมีลักษณะสัญฐานกลม โตประมาณเท่าลูกตาดำหนาประมาณ ๑ กระเบียด สีมัวๆ หุ้มดวงคิด(จิต)อยู่รอบนอก คือ "กามราคานุสัย" สำหรับผู้มีกามราคะกล้า ก็จะเห็นเป็นสีเข้มมาก ถ้ามีกามราคะเบาบางลงมากแล้ว ก็จะเห็นสีมัวๆฝ้าๆ

    เมื่อพิจารณาผ่านไปยังดวงจำและดวงเห็น(รับ) ก็จะเห็นเครื่องหุ้มของเห็นและจำอยู่โดยรอบ มีสัญฐานกลมประมาณเท่าลูกตาขาวทั้งหมด สีดำมัวๆ หนาประมาณ ๑ กระเบียด คือ "ปฏิฆานุสัย" ผู้ที่มีกิเลสประเภทเจ้าโทสะ ก็จะเห็นเป็นสีดำเข้มมาก ถ้ามีกิเลสประเภทโทสะน้อย ก็จะเห็นเป็นสีจางๆมัวๆ

    ตามนัยที่พิจารณานี้ เป็นการพิจารณาจากละเอียดมาหาหยาบ ที่เรียกว่า ปฏิโลม คือจากตัวรู้มาหาตัวเห็น(รับ)




    แต่ถ้าพิจารณาจากหยาบไปหาละเอียดเป็น อนุโลม ก็จะเห็นว่า ปฏิฆานุสัย หุ้มเห็นและจำอยู่ชั้นนอก เหมือนลูกตาขาว, กามราคานุสัย ก็หุ้มคิด(จิต)อยู่ชั้นกลางเข้าไปเหมือนลูกตาดำ, และอวิชชานุสัย ก็หุ้มตัวรู้(วิญญาณ)อยู่ชั้นในเข้าไปอีก เหมือนแววตาดำฉะนั้น

    เนื่องด้วยอนุสัยทั้งสาม คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยนี้ต่างก็หุ้ม เห็น จำ คิด รู้ เป็นไส้กัน คือในกลางของกลาง เป็นชั้นๆกันเข้าไปในจิต นี้ประการหนึ่ง, และตัวอนุสัยกิเลสเอง ก็เกิดจากความนอนเนืองของกิเลส ทั้งหยาบ กลาง ละเอียด ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมอกุศลจิตที่ฟุ้งซ่านออกไปรับ-ไปยึด ไปเกาะอารมณ์ภายนอกที่ถูกใจบ้าง ที่ไม่ถูกใจบ้าง และที่เฉยๆบ้าง แล้วประกอบกรรมที่เป็นอกุศลด้วย กาย วาจา ใจ ไปโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือเพราะความมืดมน ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ หรือไม่รู้จักทางเจริญ ทางเสื่อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิเลสประเภทโมหะและมิจฉาทิฏฐิ ได้แก่ความหลงผิด เห็นผิด ความไม่รู้แจ้ง แล้วหมักหมมนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน นี้อีกประการหนึ่ง

    การกำจัดหรือปหานอนุสัยกิเลสเหล่านี้ จึงต้องกระทำที่จิตใจ อันประกอบด้วย เห็น(รับ) จำ คิด รู้ ซึ่งเป็นชุมทางของกิเลสนั่นเอง

    กล่าวคือ ผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้หมั่นพิสดารกายไปสู่สุดละเอียดอยู่เสมอ หรือให้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของใจรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่สุดละเอียด ทุกอริยาบถ ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ให้เห็นละเอียดอยู่เสมอ เห็นดำหรือขุ่นมัวก็รู้แล้วละจนใสสะอาดทันที เพราะดำหรือขุ่นมัวนั้นก็คือ ธรรมฝ่ายอกุศลและอัพยากฤต ซึ่งกำลังแทรกซ้อนเข้ามาในจิตใจ เอิบอาบ ซึมซาบ ปนเป็น เข้ามาในจิตใจ จึงต้องมี"สติพิจารณาเห็นจิตในจิต"เป็นภายในแล้วเร่งกำจัดเพื่อชำระจิตใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ โดยให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด กลางของกลางๆๆลงไป ณ ที่ศูนย์กลาง เห็น จำ คิด รู้ นั่นแหละ

    พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมซึ่งตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบก็ตกสูญ ลงไปยังฐานที่ ๖ แนวสะดือ เมื่อจิตดวงเดิมว่างหายไป จิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดก็จะบังเกิดขึ้นมาแทนที่ เครื่องหุ้ม เห็น จำ คิด รู้ คือ ปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัย ก็จะจางลงและกลับใสละเอียด บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้ดวงเห็น จำ คิด รู้ของกายมนุษย์ละเอียดขยายส่วนโตขึ้นกว่าของกายมนุษย์หยาบ คือโตขึ้นเป็นประมาณสองเท่าของไข่แดงของไข่ไก่

    ทีนี้ก็ให้ใจของกายมนุษย์ละเอียดรวมหยุดนิ่งลงไปที่ตรงกลางเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์ละเอียดต่อไป พอใจหยุดถูกส่วนเข้า จิตดวงเดิมพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้นก็ตกสูญว่างหายไปอีก แล้วจิตดวงใหม่พร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ เครื่องหุ้มเห็น จำ คิด รู้ คือปฏิฆานุสัย กามราคานุสัย และอวิชชานุสัยของทิพย์ก็จางลง ใสละเอียดและสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งกว่าของกายมนุษย์ละเอียด ดวงเห็น จำ คิด รู้ก็ขยายส่วนโตขึ้นไปอีก เป็นประมาณสามเท่าของไข่แดงของไข่ไก่... พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จิตดวงเดิมและดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็ตกสูญ ว่างหายไป ปรากฎดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เป็นไปในลักษณะนี้ตามลำดับในกายต่างๆ กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม

    จนถึงใจของกายอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งลงไปที่กลางเห็น จำ คิด รู้ ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดต่อไปอีก พอใจหยุดถูกส่วนเข้า ก็จะตกสูญพร้อมด้วยดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ว่างหายไป แล้วจะเห็นจิตของธรรมกายโคตรภู พร้อมด้วยดวงธรรมของธรรมกายโคตรภู ก็ปรากฎขึ้นแทนที่ อวิชชานุสัย เครื่องหุ้มรู้ ก็ยิ่งใสละเอียดยิ่งขึ้น และกลับเป็น"วิชชา" ธรรมเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมและสภาวะที่แท้จริงของธรรมชาติ ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามความเป็นจริง ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ก็ขยายขึ้นโตเต็มส่วนเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย

    "กาย กับ ใจ" ของธรรมกายก็กลับเป็น ปฐมมรรค เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระวินัยปิฎก(สภาวะ) ดวงศีล ก็เป็นอธิศีลไป คือศีลยิ่งอย่างแท้จริง กาย วาจา ใจตลอดทั้งเจตนา ความคิดอ่านทั้งหลาย เป็นอันสะอาดบริสุทธิ์ทั้งหมด

    "จิต" ก็กลับเป็น มรรคจิต เป็นเนื้อหนังอันแท้จริง รวบยอดกั่นมาจากพระสุตตันตปิฎก(สภาวะ) เป็น อธิจิต คือ จิตอันยิ่งแท้ๆ

    "ตัวรู้"หรือ"วิญญาณ" ก็เป็น มรรคปัญญา เป็น ญาณ เพราะอวิชชานุสัย เครื่องหุ้มของรู้จางลงมาก จึงใสละเอียดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองมาก และขยายโตเต็มส่วนของธรรมกาย มรรคปัญญานี้เป็นเนื้อหนังที่แท้จริง รวบยอดกลั่นออกมาจากพระอภิธรรมปิฎก(สภาวะ) จึงเป็น อธิปัญญาแท้ๆ

    กายธรรมนี้เองคือพุทธรัตนะ ดวงธรรมของธรรมกาย คือ ธรรมรัตนะ และกายธรรมละเอียดๆในท่ามกลางพุทธรัตนะนี้คือ สังฆรัตนะ

    ก็ให้ใจของกายธรรมหยุดในหยุด ลงไปที่กลางของกลางๆๆ ต่อๆไปอีก ก็จะถึงจิตและดวงธรรมของกายธรรมที่ละเอียดๆต่อไป คือ ธรรมกายโคตรภูละเอียด, ธรรมกายโสดาบัน, ธรรมกายโสดาบันละเอียด, ธรรมกายสกิทาคามี, ธรรมกายสกิทาคามีละเอียด, ธรรมกายอนาคามี, ธรรมกายอนาคามีละเอียด, ธรรมกายอรหัตต์, ธรรมกายอรหัตต์ละเอียด ซึ่งใสละเอียด บริสุทธิ์จาก
    เครื่องหุ้มฝ่ายอกุศลทั้งปวง ดวงธรรมของธรรมกายก็ขยายส่วนโตขึ้นไป ตามลำดับยิ่งดำเนินไปสุดละเอียดเพียงใด จิตใจก็จะยิ่งใสสะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองยิ่งขั้นไปเพียงนั้น

    ทั้งหมดนี้ คือการเจริญภาวนาพิจารณาสภาวะของจิตให้รู้จริงเห็นจริงตามธรรมชาติ พร้อมด้วยถอนอนุสัยกิเลสจากจิตของกายหยาบ ไปสู่จิตที่ละเอียดยิ่งกว่า จนถึงโลกุตตรจิต คือจิตของธรรมกายซึ่งเป็นกายในกายที่สุดละเอียด พ้นจากกายในภพสามนี้ตั้งแต่กายที่เก้าเป็นต้นไปจนสุดละเอียด ช่วยให้ปัญญาหยั่งรู้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็วจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น พร้อมด้วยวิชชา ได้แก่ วิชชาสาม วิชชาแปด ที่จะใช้ปหานอวิชชาอันเป็นมูลรากฝ่ายเกิดบาปอกุศลทั้งปวงให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

    เพราะฉะนั้น แนวทางปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย ที่ให้ผู้ปฏิบัติรวมใจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ผ่านกาย เวทนา จิต และธรรม หรือที่เรียกว่า พิสดารกายจนสุดละเอียด

    แล้วก็รวมใจหยุดในหยุดไว้ ณ ศูนย์กลางกายธรรมที่ละเอียดที่สุดที่เข้าถึงอยู่เสมอ อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่งของใจ ให้เห็นใส ละเอียด สะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองอยู่เสมอนั้น ก็คือการปฏิบัติภาวนาที่ให้ผลเป็นการดับกิเลสจากจิตของกายหยาบไปสู่จิตของกายละเอียด

    ที่เรียกว่า "ดับหยาบไปหาละเอียด"ไปจนสุดละเอียด อันเป็นธรรมเครื่องปหานหรือกำจัดอนุสัยกิเลสที่ละเอียดๆและนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดานให้หมดสิ้นไป ด้วยโลกุตตรปัญญา คือมรรคจิตและมรรคปัญญา(โลกุตตรฌานและโลกุตตรวิปัสสนา)อันเจริญขึ้นเมื่อถึงธรรมกายแล้ว

    พร้อมด้วยวิชชา ธรรมเป็นเครื่องช่วยให้รู้แจ้งเห็นจิรงในสัจธรรม และสภาวะของธรรมชาติที่เป็นจริงจากการได้ทั้งรู้และเห็นนั่นเอง


    และในขณะเดียวกัน การเจริญภาวนาดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นการถอดขันธ์จากกายโลกียะทั้งแปด ซึ่งเป็นกายที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์ ไปสู่กายที่ละเอียดกว่า คือ ธรรมขันธ์ ซึ่งเป็นกายที่พ้นภพสามไปแล้ว และไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอสังขธาตุ อสังขตธรรมล้วนๆ จึงไม่ต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งไตรลักษณ์

    ผลจากการเจริญภาวนาดังกล่าวนี้เอง ที่สามารถช่วยให้เจโตวิมุตติ หลุดพ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ และเสวยสุขจากความสงบด้วยปัญญาอันเห็นชอบต่อไป



    ?temp_hash=299460f91a77728e1d1c189e04ae5ace.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a.jpg
      a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.8 KB
      เปิดดู:
      97
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    การปฏิบัติกรรมฐานโดยทั่วไป


    เมื่อเราจะเริ่มฝึกหัดเจริญกรรมฐานใหม่ๆ ท่านอาจารย์
    มักสอนให้เรากำหนดลมหายใจ บางทีก็ให้บริกรรมภาวนา
    ด้วย การกำหนดลมหายใจนี้ เรียกว่า อานาปานสติ แต่การ
    เจริญอานาปานสติที่แท้นั้น ใช้ วิธีนับลมหายใจเข้าออกเป็น
    อารมณ์ จนแลเห็นลมหายใจเข้าออกเป็นดวงๆ ต่อจาก
    นั้น ก็บำเพ็ญเพียรต่อไปจนบรรลุขั้นรูปฌาน เช่นเดียวกับสม
    ถกรรมฐานอื่นๆ นอกจาก อาโลกกสิณ และ อากาศกสิณ
    การเจริญอานาปานสติ ไม่อาจประกันได้ว่า ผู้ปฏิบัติจะมี
    ความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนาอย่างจริงใจ เพราะเมื่อถึง
    อุปจารสมาธิ กรรมฐานจะเข้าสู่ทางหลายแพร่ง เพื่อเป็นการ
    ป้องกันไม่ให้สานุศิษย์มีจิตใจแปรเปลี่ยนไป ในทางที่จะตัดหน
    ทางขึ้นสู่วิปัสสนากรรมฐาน ในโอกาสข้างหน้า สำนักต่างๆ จึง
    แนะนำให้ใช้คำบาลีที่มีความหมายถึงพระบรมศาสดา หรือ พระ
    พุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ กล่าวคือ พุทโธ บ้าง อรหัง
    บ้าง นะโมพุทธายะ และ ยะธาพุทโมนะ บ้าง ด้วยเหตุ
    นี้ การเจริญกรรมฐานโดยมาก จึงเป็นพุทธานุสติกลาย ๆ

    ด้านพุทธานุสติ มีผู้เข้าใจว่า อริยบุคคลจึงจะเจริญพุ
    ทธานุสติได้ถึงขั้นอุปจารสมาธิ ไม่อาจจะเจริญให้สูงขึ้นไป
    ถึง อัปปนาสมาธิ ได้ ในทางปฏิบัติ เมื่อได้ดวงแล้ว
    สมาธิจะยึดวัณณกสิณ หรือ อาโลกกสิณเป็นอารมณ์ แล้ว
    เข้าถึง อุปจาระ และ อัปปนาได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็น
    อริยบุคคล เมื่อถึงขั้นอุปจารสมาธิ อาจารย์อาจแนะนำให้
    อธิษฐาน จิต หันไปยึดเอาสัญลักษณ์ ของพระพุทธ
    ศาสนา เช่น พระพุทธรูปเป็นอารมณ์กรรมฐาน

    มีผู้เข้าใจผิดเหมือนกันว่า การภาวนาว่า พุทโธ
    หรือ อรหัง เป็นอารมณ์ ไม่อาจเจริญกรรมฐานได้ถึงขั้น
    วิปัสสนา อันที่จริง เมื่อปฏิบัติได้ปฏิภาคนิมิตแล้ว ก็ไม่ต้อง
    ภาวนา พุทโธ หรือ อรหัง อีกต่อไป เมื่อชำนาญใน
    ปฏิภาคนิมิต อุปจารสมาธิก็เกิด ที่จุดนี้เอง เป็นจุดที่จะนำสมาธิ
    ไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปใช้ในการเจริญวิปัสสนา ถ้าผู้ใด
    เจริญ ได้ถึงอัปปนาแล้ว ก็จำต้องถอยลงมาที่อุปจารสมาธินี้
    เช่นเดียวกัน การขึ้นวิปัสสนาของสมาธิ อาจกระทำได้ 3
    ทางด้วยกัน คือ

    1. น้อมใจไปเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์
    2. เจริญฌานสมาบัติ โน้มใจเข้าสู่มรรคผล ตามแบบของ
    วิปัสสนา แบบโบราณ
    3. เจริญสมาธิให้ได้ รูปฌาน และ อรูปฌาน แล้วถอยลงมา
    ขั้น อุปจารสมาธิ แล้วขยายนิมิตให้ใหญ่ขึ้นๆ จนมอง
    ไปทางซ้าย ขวา ก็ยังไม่สุดองค์พระ

    นิมิตในตอนนี้มีสองอย่าง คือ เป็นสีเหลืองอย่าง
    หนึ่ง กับ สีขาวอีกอย่างหนึ่ง สีเหลืองเป็นนิมิตของผู้มี
    ศรัทธาจริต สีขาวเป็นนิมิตของผู้มีอภิญญา ต่อจากนี้ ผล
    ของการปฏิบัติคล้ายกับ สำนักวิปัสสนาแบบธรรมกาย

    ก่อนจะผ่านข้อนี้ไป ขออธิบายว่า ฌาน นั้นมีความ
    หมายอยู่สองประการ เป็นการเพ่ง ประการหนึ่ง เป็นการดับ
    กิเลสหรือดับทุกข์ ชั่วครั้งคราว อีกประการหนึ่ง
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    #ภาพกิจกรรม
    โครงการอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่80
    ระหว่างวันที่ 1-14 ธันวาคม พ.ศ.2563
    แบ่งกลุ่มเจริญภาวนา

    ?temp_hash=0f6e96ab877328c6318ed5051126bf51.jpg

    ?temp_hash=0f6e96ab877328c6318ed5051126bf51.jpg ?temp_hash=0f6e96ab877328c6318ed5051126bf51.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ทุก1-14 พฤษภาคม กลางปีและ ทุก1-14 ธันวาคม


    อบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี (ฆราวาสเข้าร่วมอบรมได้) ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชุบรี
    - ขั้นพื้นฐาน เพื่อให้จิตสงบ พบดวงใส
    - ขั้นกลาง เพื่อต่อจากดวงใส เป็น 18 กาย และต่อไปถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
    - ขั้นสูง เพื่อตรวจภพตรวจจักรวาล เจริญวิชชา และละกิเลสในใจตน
    นำโดย พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริมชัย ชยมงฺคโล, ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม พระวิทยากร และอุบาสก อุบาสิกาวิทยากร ที่ครูบาอาจารย์คัดเลือกให้สอนสมาธิได้

    - ปฏิบัติธรรมรวมกลุ่มใหญ่
    - ปฏิบัติธรรมแยกกลุ่มย่อยกับวิทยากร
    - ฟังธรรมจากพระมหาเถระ




    ?temp_hash=bddd2e3cc92ff14aad1fc51de66ddb35.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • t18.jpg
      t18.jpg
      ขนาดไฟล์:
      121.3 KB
      เปิดดู:
      179
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ?temp_hash=8436884ffbbfa11581a6d052fe70ff4b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    สมถวิปัสสนากรรมฐานแบบไตรลักษณ์( วิปัสสนาญาณ16)


    มีหลายท่านที่จะพยายามยกย่อง การเจริญวิปัสสนาแบบ
    ไตรลักษณ์ว่า เป็นการเจริญวิปัสสนา แบบสติปัฏฐาน การ
    ยกย่องเช่นนี้รู้สึกว่า ออกจะมีนโยบายรุกรานมากไปสักหน่อย
    ทั้งนี้เพราะ ....

    พระพุทธองค์ทรงประทานมหาสติปัฏฐานสูตรแก่
    ชาวโลก ในฐานะเป็นของกลาง

    ไม่ว่าวิปัสสนาแบบไหน ก็มี
    โอกาสได้แอบอิงมหาสติปัฏฐานสูตรได้ทุกประเภท


    การเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เป็นการเจริญกรรมฐาน เพื่อหวัง
    ปัญญาวิมุตติ คนทั้วไปคิดว่าสามารถบรรลุมรรคผลได้ง่ายกว่า
    การเจริญวิปัสสนาแบบอื่น

    แต่ก็ได้เพียงผลอันสืบมาแต่ปัจจัยภายนอก ไม่มุ่ง

    อภิญญา ไว้ประดับสติปัญญา นอกเสียจากว่า จะกลับมาเจริญกรรมฐาน เพื่อหวัง
    เจโตวิมุตติอีกครั้ง หรือมีของเก่าเคยฝึกมาในอดีตกลับมาปรากฏหลังจากบรรลุ
    ปัญญาวิมุตติ ตัดกิเลสได้แล้ว

    โดยทั่วไป การเจริญวิปัสสนามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ

    1. เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น
    2. เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    3. เจริญสมถะคู่กับวิปัสสนา

    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์นี้ อาจอธิบายวิปัสสนาได้
    สองนัย นัยหนึ่งอธิบายโดยแสดงการเจริญอย่างมีสมถะเป็น
    เบื้องต้น และอีกนัยหนึ่งอย่างมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น แต่ใน
    ที่นี้ จะอธิบายทั้งสองนัยนี้พร้อมกัน ในแง่การปฏิบัติ
    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีวิปัสสนาญาณอยู่ 16 ญาณ
    ญาณทั้ง 16 นี้ใกล้ชิดกันมาก ยากต่อการอธิบาย ฉะนั้น จึง
    ปรากฏว่า ไม่ว่าตำราไหนก็ตำรานั้น พากันลอกวิสุทธิมรรคกัน
    มาเป็นแถวๆ ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะกลัวจะถูกหาว่าเก่งกว่าพระ
    อรหันต์ มีแต่ตำราของพระสังฆราชไก่เถื่อน และ แบบ
    เวียงจันทน์เท่านั้น ที่อธิบายความเข้าใจ แต่ก็อธิบายไว้สั้นๆ
    อ่านไม่ค่อยเข้าใจ การกำหนดอิริยาบถและสัมปชัญญะเพื่อ
    เจริญวิปัสสนานั้น ไม่มีอะไรดีไปกว่าการกำหนดเสียง เพราะ
    ถ้ากำหนดด้วยสัมผัสอย่างอื่น อาจมีอารมณ์ลวงเกิดขึ้นได้

    วิปัสสนา 16 ญาณ ได้แก่

    1. นามรูปปริจเฉทญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่า กาย
    นั้นอยู่ส่วนหนึ่ง จิตนั้นอยู่อีกส่วนหนึ่ง

    2. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ คือการกำหนดรู้หรือเห็นว่ากาย
    นั้นเป็นผู้ทำการเคลื่อนไหว ส่วนจิตเป็นผู้บังคับบัญชาการ
    เคลื่อนไหวของกาย หรืออีกนัยหนึ่ง เห็นหรือกำหนดรู้ว่ากาย
    นั้นเป็นอนิจจัง ส่วนจิตซึ่งขณะนี้ยังนับเนื่องในวิญญาณนั้นคง
    ที่ ไม่ว่ากายจะเป็นรูปมนุษย์และสัตว์ เห็นและกำหนดรู้ว่า
    การมีกายนี้เกิดขึ้นทำให้มีความทุกข์ และกายไม่ใช่ตัวตนของ
    เรา เป็นเพียงผลของตัณหาและกรรม

    3. สัมมสนญาณ คือการกำหนดรู้และเห็นกายและจิตได้
    ตามความเป็นจริง และกำหนดรู้เห็นว่ากายและจิต สามารถ
    แยกจากกันได้

    การปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ จะกำหนดรู้ญาณนี้ได้
    ว่า กายภายในนั้น เปรียบเหมือนถ้ำที่กักขังจิตไว้ ส่วนจิตดิ่ง
    อยู่ตรงกลางถ้ำกายภายใน ตามความเป็นจริงนั้นเป็นรูปถุง ปาก
    ถุงอยู่ตรงส่วนบนของลิ้นปี่ แล้วโค้งตามชายโครงไปตาม
    สีข้าง แล้วโค้งตามลำตัวห่างจากสีข้างเข้าไปประมาณครึ่งนิ้ว
    ลงไปยังท้องน้อย บรรจบกันเป็นรูปถุง ส่วนจิตนั้นลอยอยู่ตรง
    กลาง จิตตามความเป็นจริงในที่นี้คือ มหาภูตรูป พร้อมด้วยจิต
    และวิญญาณและดวงอากาศธาตุ ตรงจุดนี้เป็นจุดที่วิชชา
    ธรรมกายเริ่มต้น โดยเดินไปคนละทิศ คือเดินไปทางทิศตรงกัน
    ข้าม การแทงตลอดลึกเข้าไปในปัจจัยภายใน ตามวิธีปฏิบัติ
    ในวิชชาธรรมกายมากเท่าใด วิปัสสนาญาณเช่นที่เกิดใน
    วิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ก็เกิดสูงขึ้นเท่านั้นพร้อมกันไปด้วย

    นักปฏิบัติตามแบบของวิชชาธรรมกาย จะสามารถเห็น
    ญาณนี้ ได้โดยละเอียด ญาณนี้แปลกกว่าญาณอื่นอีก 13
    ญาณถัดไป กล่าวคือ ญาณนี้ต้องเห็นเสียก่อน จึงจะกำหนดรู้
    ได้อย่างละเอียด ญาณทั้งสามญาณที่กล่าวมาแล้วนี้
    เห็นและกำหนดรู้พร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ นักปฏิบัติโบราณจึง
    กำหนดว่า วิปัสสนาญาณเริ่มตั้งแต่ สัมมสนญาณ

    สมมุติว่าในขณะปฏิบัติอยู่นั้น เกิดปวดฟันขึ้นมา และได้
    หันไปกำหนดที่การปวดฟันนั้น จะรู้สึกว่าฟันและการปวดออกไป
    อยู่ทางหนึ่ง จิตอยู่อีกทางหนึ่ง ความเจ็บปวดไม่เกาะอยู่ที่จิต
    คือไม่มีความเจ็บเลย นี่เป็นการกำหนดรู้เวทนาในเวทนา
    เป็นการกำหนดรู้ทั้งเวทนาภายในและเวทนาภายนอก การ
    กำหนดที่การปวดฟันนี้ ต้องมีตัวรู้ตามไปด้วยทุกขณะ มิ
    ฉะนั้นจะปวดมากขึ้น

    นิมิตวิมาน ปราสาท เทพ พรหม และสิงสาราสัตว์ที่ได้
    เคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ ถ้าจะปรากฏให้เห็น ก็จะปรากฏนอกขอบ
    ถุง ในทางปฏิบัติจะต้องสละคืนนิมิตเหล่านี้ และสละคืนตัวถุง
    ด้วย ให้ความรู้สึกเกาะอยู่ที่จิตอย่างเดียว นิ่งอยู่ได้สำเร็จ
    ญาณต่อไปก็เกิดขึ้น

    4. อุทยัพพยญาณ คือ ญาณกำหนดรู้การเกิดดับของกายและ
    จิต ได้แก่ จิตเต้นถี่เร็วเข้าๆ คล้ายกระแสความถี่ของวิทยุ
    หรือคล้ายฝนตกจั้กๆ ทำท่าจะดับ ว่างเปล่าไป ญาณนี้ทาง
    สมถะก็อาจปฏิบัติได้ แต่ ที่ไม่เป็นวิปัสสนาก็เพราะ ไม่ได้
    เห็นกายและจิต จึงไม่มีเชื้อของ นิพพิทาญาณ

    5. ภังคญาณ คือ ญาณกำหนดรู้ความดับ หรือ แตกสลาย
    ของกายและจิต เมื่อจิตเต้นถี่เร็วๆเข้า กายก็ดับว่างเปล่า
    ไป ญาณนี้เป็นที่เริ่มต้นของคำว่า จิตว่าง ไม่มีการเห็นตั้งแต่
    ญาณนี้เป็นต้นไป กล่าวคือ แต่ญาณนี้เป็นอารมณ์ปรมัตถ์

    มีข้อสังเกตว่า กายหรือรูปได้ดับไปแล้วอย่างเด็ดขาด
    วิปัสสนาญาณต่อไป จะไม่มีอาการที่สืบมาแต่กาย โดยกาย
    เป็นใหญ่เกิดขึ้นเลย ถ้ามีอาการเกี่ยวกับกาย โดยกายเป็นใหญ่
    เกิดขึ้น อาการนั้นเป็นอาการของปีติ ไม่ใช่วิปัสสนาญาณ
    ญาณต่อไป เป็นการแยกนาม หรือ เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณ ออกจากมหาภูตรูป จิตจึงเริ่มมีความหมายใหม่
    ว่า นามรูป

    6. ภยตูปัฏฐานญาณ คือการกำหนดรู้ว่านามรูปเป็นภัยที่น่า
    กลัว ได้แก่ อาการรู้สึกกระสับกระส่ายอย่างแรง ญาณนี้เป็น
    ญาณแรกใน 6 ญาณ ที่แสดงอาการของทุกข์ใน
    วิปัสสนา ญาณนี้จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    7. อาทีนวญาณ คือการกำหนดรู้โทษของนามรูป เนื่องจาก
    อาการกระสับกระส่ายของญาณที่ 6 ผู้ปฏิบัติจะมีความรู้สึกอึด
    อัด คล้ายถูกขังอยู่ในห้องเล็กๆ ที่มีอากาศน้อย ญาณนี้เป็น
    ญาณที่สองที่แสดงอาการของทุกข์ และจะกำหนดรู้ได้ชัดใน
    เที่ยวที่สอง

    8. นิพพิทาญาณ คือการกำหนดรู้ความเบื่อหน่ายในสังขาร
    ได้แก่ ความรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิต พร้อมกับรู้สึกว่าชีวิตเราเกิด
    มานี้ เป็นอนิจจัง ไม่มีความแน่นอนเป็นแก่นสารอะไรเลย มีแต่
    ความทุกข์ ถ้าไม่ต้องเกิดเสียได้ ก็จะไม่มีทุกข์อีกต่อไป เป็น
    การรู้ว่าจิตมีธรรมอื่นๆยิ่งกว่า หรือเป็นการกำหนดรู้จิตในจิต ใน
    เที่ยวที่สอง ญาณนี้จะปรากฏขึ้นระหว่างอาการของทุกข์แวบ
    เดียว เพื่อให้กำหนดรู้ สมุทัย ญาณนี้เป็นญาณที่สาม ที่
    แสดงอาการของทุกข์

    ญาณนี้จะกำหนดรู้ ปฏิจจสมุปบาทธรรม รวมทั้งรู้ว่า
    ถ้าดับตัณหาและอุปทานเสียได้ ก็จะเป็นการดับทุกข์

    9. มุญจิตุกัมยตาญาณ คือการกำหนดรู้ความปรารถนา ใคร่จะ
    หลุดพ้นไปจากทุกข์ เมื่อผู้ปฏิบัติรู้สึกอึดอัด จิตนั้นก็เริ่ม
    พยายามดิ้น เพื่อจะออกไปนอกตัว คล้ายปลาที่อยากออกไป
    จากแห ญาณนี้เป็นญาณที่สี่ ที่แสดงอาการของทุกข์ จะ
    กำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    10. ปฏิสังขาญาณ คือการกำหนดรู้ความพยายามจะให้พ้นไป
    จากทุกข์ ได้แก่การกำหนดรู้ว่า เมื่อพยายามอย่างนิ่มนวลไม่
    สำเร็จ จิต ก็ดิ้นแรงขึ้น แต่ภังคญาณเป็นต้นมา กายได้
    ดับลงสนิทแล้ว จิตจึงมีความเป็นใหญ่ ฉะนั้น เมื่อจิตดิ้น
    กายก็ดิ้นตามไปด้วย การดิ้นของจิต เพื่อหนีจากทุกข์นี้ มี
    ความรุนแรงถึงกับดิ้นปัดๆ ในอาการเช่นเดียวกับปลาติดแหแล้ว
    ดิ้น และจะมีกลิ่นสาบออกมาจากตัวด้วย ญาณนี้เป็น ญาณที่
    ห้า ที่แสดงอาการของทุกข์ จะกำหนดรู้ได้ชัดในเที่ยวที่สอง

    11. สังขารุเปกขาญาณ คือการกำหนดรู้การวางเฉยของนาม
    รูป เมื่อพยายามจะออกไปจากกองทุกข์นี้ไม่สำเร็จ ก็ปล่อย
    ไปตามเรื่อง หรือวางเฉยเสีย บางท่านว่าเหมือนความรู้สึกต่อ
    สตรี ที่ได้หย่าขาด จากกันแล้ว นี่เป็นการรู้นิโรธในความ
    หมายว่าเป็นการดับทุกข์ ในทางปฏิบัติจะเห็นญาณนี้แวบเดียว
    แต่ก็สามารถทำให้ทุกข์มหาศาลในวิปัสสนาดับลงได้โดยฉับ
    พลัน ญาณนี้ เป็นญาณสุดท้าย ที่แสดงอาการของทุกข์ จะ
    กำหนดรู้ได้ในเที่ยวที่สอง

    นิโรธในวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ มีความหมายแต่เพียงว่า
    เป็นการดับทุกข์ ส่วนนิโรธในความหมายว่า ทำให้แจ้งแห่ง
    สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ตามสัจจกถาปฏิสัมภิทามรรคนั้น มี
    อยู่แต่ในวิชชาธรรมกาย และ วิปัสสนาแบบโบราณเท่านั้น


    12. อนุโลมญาณ คือการปล่อยไปตามวิถีแห่งอารมณ์นิพพาน
    จะมีปัญญาแนะให้รู้ว่า มีญาณวิถีเกิดขึ้น เพื่อจะช่วยให้ข้ามไป
    ยังฐานะใหม่ พ้นไปจากทุกข์ของโลกนี้ ถ้าผู้ปฏิบัติยังเสีย
    ดายโลกียวิสัย ก็จะไม่กล้าเกาะญาณวิถีนี้ไป แต่ถ้าเบื่อหน่าย
    ชีวิตในสภาพปัจจุบันนี้ ก็จะ มีปัญญา แนะให้ยอมเป็น ยอม
    ตาย เกาะญาณวิถีนี้ไป

    สำหรับผู้เคยปฏิบัติทางสมถะมาก่อน ญาณวิถีที่เกิดขึ้นใน
    ตอน นี้ จะมีอาการดูดหนุบๆ ถ้ามีสติไม่ตกใจมาก ก็จะชะงัก
    อยู่นิดหนึ่ง แล้วข้ามโคตรปุถุชนไป ถ้าตกใจมากก็ไม่อาจจะ
    ข้ามไปได้

    13. โคตรภูญาณ คือการกำหนดรู้การข้ามโคตรปุถุชน เมื่อ
    ตัดสินใจ เกาะญาณวิถีต่อไป ญาณวิถีจะพากระโดดข้าม
    โคตรปุถุชน

    14. มัคคญาณ ได้แก่ ระยะทางจากจุดที่เริ่มตัดสินใจเกาะ
    ญาณวิถี กระโดดข้ามโคตรปุถุชน มาถึงจุดที่ญาณวิถีกระโดด
    มาถึงที่หมาย อาการของมรรคที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ มีผู้นำ
    ไปผูกเป็นสำนวนว่า เป็นการข้ามไปยังฝั่งขวา ที่ระบุว่าเป็นฝั่ง
    ขวา เพราะในพระพุทธศาสนานิยมการเวียนขวา

    15. ผลญาณ คือการกำหนดรู้ จุดที่ญาณวิถีกระโดดข้ามมา
    ถึงที่หมาย การปฏิบัติแบบวิชชาธรรมกาย จะทำให้สามารถเห็น
    ผลญาณ คือ อายตนะนิพพาน อีกด้วย

    16. ปัจจเวกขณญาณ ต่อจากผลญาณ จะมีภวังค์คั่นอยู่หน่อย
    หนึ่ง แล้วจะมีญาณบอกให้รู้ว่า มีปัญญาได้อะไรมาแล้วบ้าง
    การปฏิบัติในเที่ยวแรก วิปัสสนาญาณจะเกิดแต่สัมมสนญาณ
    ขึ้นมาตามลำดับ จนถึงภังคญาณ ข้ามไปกำหนดรู้
    นิพพิทาญาณ แล้วก็อนุโลมญาณ ต่อไป ก็บรรลุมรรคผล
    เป็นการได้ อนิจจสัญญา ในเที่ยวนี้จะกำหนดรู้สมุทัยและมรรค
    ได้ชัดเจน มีข้อสังเกตว่าการปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์
    นี้ จะต้องมีศีล ต้องสละคืนสมาธิ ต้องมีสติอยู่เสมอ คือให้
    มีตัวรู้ตามติดญาณไปทุกขณะ แล้วตัวรู้นี้จะกลายเป็น
    ปัญญา ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจะเกิดขึ้น
    ในระหว่างการปฏิบัติ

    การจะเจริญวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์เที่ยวสองได้
    นิพพิทาญาณจะต้องมีกำลังถึงกับแผ่เป็นวงกลม ออกไปนอก
    ตัว ราว 1 ศอก กำลังสมาธิในตอนนี้ เท่ากับกำลัง
    สมาธิขั้น อรูปฌาน นิพพิทาญาณหรือ ตัวอนิจจัง หรือ
    สมุทัยนี้ จะเป็นพื้นของวิปัสสนาญาณตลอดการปฏิบัติใน
    เที่ยวสอง การปฏิบัติจะเจริญขึ้น ตามลำดับ จนถึงภังค
    ญาณ แล้วก็จะกำหนดรู้ทุกข์ใน ภยตูปัฏฐานญาณ และ
    อาทีนวญาณ จะกำหนดรู้ นิพพิทาญาณ นิดหนึ่ง แล้วก็จะรู้
    อาการของทุกข์ ต่อไป ในมุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขา
    ญาณ และ สังขารุเปกขาญาณในที่สุด ซึ่งแสดงว่าทุกข์ใน
    วิปัสสนานั้นใหญ่หลวงนัก ต้องใช้ญาณถึง 6 ญาณ จึงจะ
    กำหนดรู้อาการของทุกข์ได้ครบ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนว
    ญาณ และ นิพพิทาญาณ เป็นการกำหนดรู้ทุกข์

    ส่วน มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ และ สังขารุเปก
    ขาญาณ เป็นการกำหนดรู้ความพยายามให้พ้นทุกข์

    อาการของทุกข์เป็นสภาวะที่ไม่อาจจะทนทานได้ที
    เดียว จะระงับอย่างไรก็ไม่ได้ แม้จะพยายามใช้สมาธิระงับก็
    เข้าไม่ถึง พอทุกข์แรงจนถึงขีดสุด ก็จะกำหนดรู้นิโรธใน
    สังขารุเปกขาญาณ แล้วก็อนุโลมไปตามญาณวิถี ต่อจากนั้น
    ก็จะกำหนดรู้อนัตตา ในความหมายว่าไม่ใช่ตัวตนของเรา
    และ ทุกข์เป็นสภาพที่ไม่อาจบังคับบัญชาได้ ซึ่งเท่ากับเป็น
    ปัญญาผ่าน มัคคญาณ ผลญาณไปด้วยในตัว และเป็นการ
    ปรากฏของ อนัตตสัญญา

    มีข้อสังเกตว่า จะต้องผ่านการปฏิบัติในเที่ยวแรกเสีย
    ก่อน จึงจะสามารถกำหนดรู้พระไตรลักษณ์ได้ชัดเจน และ ใน
    เที่ยวที่สองนี้ จะได้ผ่านอริยสัจ 4 อีกครั้ง ทำให้สามารถ
    กำหนดรู้อริยสัจ 4 ได้ชัดขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเห็นธรรมใน
    ธรรม นิโรธมีอยู่แล้วที่สังขารุเปกขาญาณ และ
    นิพพิทาญาณ แต่นิโรธทั้งสองแห่งเป็นนิโรธที่ยังหยาบอยู่

    สำหรับการปฏิบัติในเที่ยวสาม ท่านผู้รู้แนะให้แต่
    เพียงว่า นิพพิทาญาณ จะเป็นเจ้าเรือนอยู่ตามเดิม
    ตามที่อธิบายมาข้างต้นว่า การปฏิบัติในเที่ยวแรก ได้
    ข้ามวิปัสสนาญาณไปสองแห่ง ไม่ได้กำหนดรู้วิปัสสนาญาณ
    รวม 5 ญาณนั้น ไม่ได้หมายความว่า ญาณนั้นๆไม่ได้เกิด
    ขึ้น ถ้าอาจารย์ผู้ควบคุมตรวจสอบอารมณ์กรรมฐานดู จะรู้
    ว่า อันที่จริง ญาณนั้นเกิดขึ้นแต่ไม่ชัด ผู้ปฏิบัติจึงไม่อาจรู้
    ได้ ต้องปฏิบัติเที่ยวที่หนึ่ง สามารถกำหนดรู้สาเหตุแห่งทุกข์
    ได้แล้ว จึงสามารถรู้ทุกข์ได้ชัด

    ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติสมถภาวนามาแล้วอย่างโชกโชน
    ย่อมผ่านอาการกายดับ จิตว่างมาแล้วอย่างนับครั้งไม่ถ้วน
    ถ้ามีอะไรผิดสังเกต จิตจะรีบกลับไปนิ่งอยู่ที่ศูนย์ที่ตั้งจิตโดย
    อัตโนมัติทันที ส่วนมากเห็นกายในกายและ จิต หรือ สัมมสน
    ญาณแล้ว การที่ไม่อาจบรรลุมรรคผลได้ ก็เพราะไปอธิษฐาน
    จิตเสีย ถ้าเผอิญเกาะจิตนิ่งอยู่ ไม่คิดอะไรเลย ได้นานพอ
    เพียง ก็อาจบรรลุมรรคผลได้ ในกรณีพระสาวกที่บรรลุ
    มรรคผลได้โดยฉับพลันก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่เลื่อมใสพระ
    ธรรมข้อหนึ่งข้อใดนั้น ศรัทธาในพระธรรมเอิบอาบซาบซ่าน
    ไปทั่วกายอย่างลึกซึ้ง จนทำให้ความรู้สึกย้อนกลับมาดูกาย
    และจิตทันที เมื่อนิ่งอยู่ที่นั่น อุทยัพพยญาณ และ ภังค
    ญาณ หรืออาการจิตว่างก็เกิด แล้วนิพพิทาญาณก็จะเกิดตาม
    มาโดยรวดเร็ว ถ้าจิตละเอียดมากอยู่แล้ว ก็อาจบรรลุมรรค
    ผลขั้นต่ำ สำหรับผู้ที่เคยปฏิบัติสมถภาวนามาบ้าง ถ้าเปลี่ยน
    ศูนย์ที่ตั้งจิตมาตั้งอยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้ว แล้วหยุด
    อธิษฐานจิต อาจจะบรรลุมรรคผลได้เร็วกว่าการตั้งจิต
    อยู่ที่ศูนย์อื่น

    ถ้าเริ่มปฏิบัติสมถกรรมฐานมาก่อน แล้วหันมา
    ปฏิบัติวิปัสสนา เรียกว่า เป็นการเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็น
    เบื้องต้น ถ้าเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรงแล้ว ความ
    สามารถทางสมถะเกิดขึ้นเป็นผลพลอยได้ เรียกว่า การเจริญ
    สมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

    เมื่อได้ อุทยัพพยญาณ แล้ว จะมี วิปัสสนูปกิเลส
    เกิดขึ้น 10 ประการ คือ

    1. โอภาส เห็นแสงสว่างมากผิดปกติ สามารถเห็นที่
    ต่างๆได้ ถ้าได้ปัญจมฌานแล้ว อาจ
    เห็นได้ถึงพรหม
    2. ปีติ ขนลุก และ รู้สึกวาบๆไปทั่วตัว ลมพัด
    ไปทั่ว กายเป็นละลอก มีอาการตัวจะ
    ลอยขึ้น และ มีความเย็นเยือกวาบลงไป
    กลางกาย แล้วแผ่ไปทั่วตัว คล้ายน้ำ
    โกรกชะโงกผา
    3. ปัสสัทธิ รู้สึกว่าร่างกายโปร่ง เบา สงบมาก
    มีความเย็นอย่างละเอียดเนียนๆ
    4. อธิโมกข์ มีศรัทธาแก่กล้า อยากให้คนทั้งโลกมา
    เจริญวิปัสสนา
    5. ปัคคหะ มีความเพียรอยากปฏิบัติวิปัสสนา อย่าง
    หามรุ่ง หามค่ำ
    6. สุข เป็นอุปกิเลสที่เกิดต่อจากปัสสัทธิ คือ
    เมื่อสงบแล้ว ก็มีความรู้สึกเป็นสุข ชนิด
    ที่ไม่อาจจะหาได้ในโลกนี้
    7. ญาณ ทำวิปัสสนาญาณได้คล่องผิดกว่าปกติ
    8. อุปัฏฐาน กำหนดสติได้คล่องแคล่วทุกอิริยาบถ
    9. อุเบกขา วางเฉยไม่ยินดียินร้ายในเรื่องอะไรเลย
    10. นิกันติ ความอยาก หยุดเพียงอุปกิเลสอย่าง
    หนึ่งอย่างใด ก็ตาม

    ที่กล่าวมาข้างต้นวิปัสสนูปกิเลสนี้ อาจทำให้สำคัญ
    ผิดไปว่า ตนได้บรรลุมรรคผลแล้ว หรือไม่ ก็หลงเพลิดเพลิน
    อยู่ในอารมณ์เหล่านี้ จนไม่เป็นอันปฏิบัติสืบต่อไป
    ตามมติของสำนักวัดมหาธาตุ ผู้ปฏิบัติได้ญาณ 16 ญาณนี้
    ครั้งหนึ่งจะบรรลุมรรคผลขั้นโสดาบัน ถ้าได้สองครั้งจะบรรลุ
    มรรคผลขั้นสกิทาคามี ถ้าสามครั้งได้อนาคามี สี่ครั้งได้
    อรหัตผล ปัจจัยสำคัญที่ทำให้บรรลุมรรคผล โดยการเจริญ
    วิปัสสนาแบบนี้ อาจจะกล่าวได้ว่า มีดังต่อไปนี้

    1. ต้องมีศีล
    2. ต้องสละคืนสมาธิ
    3. ต้องมีสติอยู่เสมอ คือ ให้มีตัวรู้ ตามติดญาณไป
    ทุกขณะแล้วตัวรู้นี้ จะกลายเป็น ปัญญา
    4. ต้องพยายามพิจารณา อุทยัพพยญาณ ให้เห็น
    ลักษณะของ อนิจจัง ทุกขัง หรือ อนัตตา
    5. ระวังอย่าหลงอยู่ใน วิปัสสนูปกิเลส
    (ข้อนี้ใช้เฉพาะการปฏิบัติในครั้งแรกเท่านั้น)

    เมื่อครั้งพุทธกาล มีการบรรลุมรรคผลกันโดยฉับพลัน
    เป็นจำนวนมาก ถ้าพิจารณาดูให้ดี จะเข้าใจว่าผู้บรรลุมรรคผล
    ได้โดยฉับพลันเหล่านั้น มีเงื่อนไขอยู่หลายประการ เช่น

    1.ด้วยอภินิหารของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    2.ตนเองได้สร้างบุญบารมี หรือ มีนิสัยมาแล้วในชาติก่อน
    อย่างแก่กล้า
    3.บุคคลชั้นกษัตริย์และพราหมณ์ ได้เจนจบไตรเพทมาแล้ว
    ส่วนมากได้ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ถ้าได้คำแนะนำที่ถูก
    ต้องอาจบรรลุอาสวักขยญาณได้ทันที
    4.พระพุทธองค์สามารถทราบได้ว่า ในชาติก่อนบุคคลเหล่า
    นั้นได้เคยมีความสลดใจในอาการอย่างไร หรือ เคยใช้
    อารมณ์อะไรมาเป็นกรรมฐาน จึงต่อกรรมฐานให้แก่บุคคลผู้
    นั้นในอารมณ์เดียวกับที่ได้เคยมีมาในกาลก่อน
    5.เป็นผู้ที่ได้ประสบกับความไม่เที่ยง และ ความทุกข์อย่าง
    รุนแรงในโลกนี้ เพียงแต่แนะให้เข้าใจ ลักษณะอนัตตา
    ก็อาจหลุดพ้นได้

    ด้วยเหตุนี้ ผู้บรรลุมรรคผลโดยฉับพลัน จึงมีหลาย
    ประเภท บางท่านก็เป็น สุกขวิปัสสก คือ บรรลุปัญญาวิมุตติ
    บางท่านบรรลุ เจโตวิมุตติ บางท่านก็บรรลุทั้งสองทางหรือ
    ประกอบด้วย จตุปฏิสัมภิทา

    ผู้สำเร็จมรรคผล ชั้นโสดาบัน สามารถอดทนต่อ
    ความทุกข์ยากได้ดี อย่างน้อยจะรู้สึกตนว่าโชคดี ไม่เสียทีที่ได้
    เกิดมาพบพระพุทธศาสนา บัดนี้ตนเองได้ประสบชัยชนะต่อ
    ทุกข์แล้ว เป็นอันหวังได้ว่า ชีวิตในชาติหน้า ไม่มีทางจะตก
    ต่ำ พระโสดาบันอาจทำความผิดเล็ก น้อยได้ ถ้าเป็นผู้เห็น
    ทุกขลักษณ์ชัด จะมีกามราคะเบาบางมาก แต่ความรู้สึกทาง
    อารมณ์ยังมีอยู่ ส่วนผู้ที่เห็นชัดในด้านอนิจจัง และอนัตตา
    อาจมีชีวิตครองเรือนบ้าง เพราะกามราคะถูกตัดไปไม่มาก
    กามราคะของพระสกิทาคามี จะเบาบางลงไปอีก ขนาดมอง
    เห็นของสวยของงาม โดยจิตใจไม่เคลื่อนที่ แต่ความรู้สึก
    ทางอารมณ์ยังมีอยู่บ้างในยามเผลอ ถ้าได้มรรคผลทางทุกข
    ลักษณ์ ความรู้สึกทางอารมณ์จะสงบลงไป แต่ยังอาจเกิด
    ขึ้นได้ ต้องบรรลุมรรคผลชั้นอนาคามี กามราคะจึงจะหมดไป
    อย่างเด็ดขาด

    ในปัจจุบันนี้มักจะมีการพูดกันอย่างหนาหูว่า มนุษย์
    ผู้หญิงหรือผู้ชายก็คือ โครงกระดูกที่หุ้มด้วยหนัง หรือ ถุงที่
    บรรจุสิ่งปฏิกูล ฟัง ๆ ดูอาจเข้าใจไปได้ว่า ผู้พูดเป็นผู้ปลงตก
    แล้ว เพราะสำนวนนี้ถอดมาจากวิสุทธิมรรค ขอแนะนำว่าอย่า
    ได้ไปหลงลมเป็นอันขาด จะเสียตัว อารมณ์ของผู้ละกาม
    ราคะได้อย่างแท้จริงนั้น คือ ผู้ที่มองเห็นความงามอ่อนช้อย
    หรือ ความงามที่บาดตา มองเห็นความงามที่เยือกเย็น หรือ
    ความงามที่ยั่วยวน ด้วยอารมณ์อันว่างเปล่า ถ้าเห็นมนุษย์เป็น
    โครงกระดูกได้จริงๆ ก็เป็นเพียงผู้มีความสามารถทางสมาธิสูง
    เท่านั้น เมื่อใดกามราคะเกิดขึ้น ตัณหาจะรุนแรงยิ่งกว่าคน
    ธรรมดา คนจำพวกนี้แหละที่สำคัญนัก ต้องนำโครงกระดูกมา
    พิจารณา ให้เกิดความสังเวชสลดใจใน อนิมิตตสมาธิ กาม
    วิตก พยาบาทวิตก และ วิหิงสาวิตก จึงจะหลุดพ้นไปได้ หรือ
    ถ้าบุญบารมีถึง อาสวกิเลสอาจสิ้นไปด้วย อาการหลุดพ้นจาก
    กามวิตก เสมือนความโล่งใจ เมื่อสามารถถอดแหวนที่คับนิ้ว
    ออกมาได้ หากแต่ในกรรมฐาน เป็นความเบาระคนไปด้วย
    ความสุขสงบ เมื่อพ้นมาจากพันธนาการของตัณหา
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    KtjKBw8Gsh1ga2U8_5hrv5YE4gaIcoSb-1ybhyZBMXnz&_nc_ohc=3ahLo6L7584AX95YEiP&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    การเจริญวิปัสสนาแบบโบราณ


    การเจริญวิปัสสนาแบบโบราณมี 3 วิธี

    วิธีแรก เมื่อได้รูปฌาน และ อรูปฌานแล้ว ก็ถอย
    มาเจริญวิปัสสนาตามแบบไตรลักษณ์ วิปัสสนาแบบ
    โบราณ กำหนดญาณไว้เพียง 10 ญาณ มีสัมมสน
    ญาณเป็นเบื้องต้น และมี อนุโลมญาณเป็นญาณสุดท้าย วิธีนี้
    จะได้มรรคผลทางปัญญา แต่เมื่อได้มรรคผลแล้ว อาจย้อน
    มาเดินสมาบัติ เพื่อให้ได้ เจโตสมาธิ อีกได้

    วิธีที่สอง ได้แก่ การแบ่งวิปัสสนาญาณทั้ง
    สิบออกเป็น 5 คู่ แล้วเดินฌานสมาบัติ น้อมจิตเข้าหา
    วิปัสสนาญาณทีละคู่ เป็นอนุโลมปฏิโลมจนบรรลุมรรคผล
    วิธีนี้อาจได้มรรคผลทั้งทางปัญญาและเจโตสมาธิ

    วิธีที่สาม ได้แก่ เดินทางสมาบัติ จนบรรลุปุพเพนิ
    วาสานุสสติญาณ ในระหว่างการเดินทางสมาบัติ ให้อธิษฐาน
    จิตขอให้บรรลุเมืองแก้ว เมื่อได้บรรลุเมืองแก้ว ก็ขอประทาน
    กำแพงแก้ว 7 ชั้น จากพระบรมศาสดา เมื่อได้กำแพงแก้ว 7
    ชั้นแล้ว ก็จะสามารถบรรลุจุตูปปาตญาณได้โดยง่าย ต่อมา
    เมื่อมีความสลดใจในความเวียนว่ายตายเกิดขึ้น ก็จะมีปัญญา
    สามารถประหารตัณหาให้หมดไป แล้วจะมีอาสวัก
    ขยญาณ แจ้งให้ทราบว่ากิเลสได้สิ้นไปแล้ว ไม่ต้องไปเกิดใน
    ภพใหม่อีกต่อไป แต่ถ้าหากยังมีอุปาทานเหลืออยู่ จะบรรลุ
    เพียงอนาคามิผล การบรรลุความหลุดพ้นทำนองนี้ เรียก
    ว่า เจโตวิมุตติ



    --------------------------------------------------------

    มรรค ผล

    เมื่อบุคคลใดได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้นเรื่อย ๆ
    แล้ว ก็จะเกิดปัญญามองเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่าง ๆ
    มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่เรียกว่าญาณขั้นต่าง ๆ (คำว่าญาณนี้เป็นชื่อ
    ของปัญญาในวิปัสสนา ต่างจากฌานซึ่งเป็นขั้นต่าง ๆ ของ
    สมาธิ) จนกระทั่งปัญญาญาณนั้นแก่กล้าจนสามารถทำลาย

    ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่าง ๆ อย่างถาวร อันเป็นผลให้กิเลสที่
    เกิดจากความยึดมั่นในขั้นนั้นถูกทำลายลงไปอย่างสิ้นเชิง จิต
    ในขณะที่เห็นแจ้งในความที่ไม่สามารถยึดมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง
    ได้อย่างชัดเจน จนสามารถทำลายกิเลสได้นี้เรียกว่ามรรคจิต
    ซึ่งจะเกิดขึ้นเพียงแค่ขณะจิตเดียว คือเกิดอาการปิ๊งขึ้นมาแว๊ป
    เดียว กิเลสและความยึดมั่นในขั้นนั้นก็จะไม่เกิดขึ้นอีกเลย

    บุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นนี้เรียกว่ามรรคบุคคล
    ซึ่งนับเป็นอริยบุคคลประเภทหนึ่ง


    บุคคลจะเป็นมรรคบุคคลแค่เพียงชั่วขณะจิตเดียวเท่านั้น
    หลังจากนั้นก็จะได้ชื่อว่าผลบุคคล คือบุคคลผู้เสวยผลจากมรรค
    นั้นอยู่ ไปจนกว่ามรรคจิตในขั้นที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เพื่อ
    ทำลายความยึดมั่นและกิเลสที่ประณีตขึ้นไปอีก

    มรรคจิตแต่ละขั้นนั้นจะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
    แล้วจะไม่เกิดขึ้นในขั้นเดิมซ้ำอีกเลย จะเกิดก็แต่ขั้นที่สูงขึ้นไป
    เท่านั้น เพราะความยึดมั่นในขั้นที่ถูกทำลายไปแล้ว จะไม่มี
    โอกาสกลับมาให้ทำลายได้อีกเลย


    อริยบุคคล 8 ประเภทนั้นประกอบด้วยมรรคบุคคล

    4 ประเภท และผลบุคคล 4 ประเภท ดังนี้คือ1.) โสดาปัตติมรรคบุคคล คือบุคคลในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้น
    เป็นครั้งแรก ที่เรียกว่าโสดาปัตติมรรคจิต โสดาปัตติมรรค
    บุคคลนี้นับเป็นอริยบุคคลขั้นแรก และได้ชื่อว่าเป็นผู้หยั่งลงสู่
    กระแสพระนิพพานแล้ว มรรคจิตในขั้นนี้จะทำลายกิเลสได้ดังนี้
    คือ(ในที่นี้จะใช้สัญโยชน์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการแบ่ง
    ประเภทของกิเลส เป็นหลักในการอธิบาย - ดูเรื่องสัญโยชน์
    10 ประกอบ)

    - สักกายทิฏฐิ
    - วิจิกิจฉา
    - สีลพตปรามาส

    รวมทั้งโลภะ(ความโลภ) โทสะ(ความโกรธ, ขัดเคืองใจ,
    กังวลใจ, เครียด, กลัว) โมหะ(ความหลง คือไม่รู้ธรรมชาติที่
    แท้จริงของสรรพสิ่ง) ในขั้นหยาบอื่น ๆ อันจะเป็นผลให้ต้องไป
    เกิดในอบายภูมิ (เดรัจฉาน, เปรต, อสุรกาย, นรก) ด้วย

    2.) โสดาปัตติผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าโสดาบัน
    คือผู้ที่ผ่านโสดาปัตติมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติที่สำคัญของโสดาบันก็คือ

    - พ้นจากอบายภูมิตลอดไป คือจะไม่ไปเกิดในอบายภูมิอีกเลย
    เพราะจิตใจมีความประณีตเกินกว่าที่จะไปเกิดในภูมิเหล่านั้นได้
    (ใครจะไปเกิดในภูมิใดนั้น ขึ้นกับสภาพจิตตอนใกล้ตายที่เรียก
    ว่ามรณาสันนวิถี ถ้าขณะนั้นจิตมีสภาพเป็นอย่างไร ก็จะส่งผล
    ให้ไปเกิดใหม่ในภูมิที่มีสภาพใกล้เคียงกับสภาพจิตนั้นมากที่สุด)

    - อีกไม่เกิน 7 ชาติจะบรรลุเป็นพระอรหันต์

    - มีศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างมั่นคง ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน
    จะไม่คิดเปลี่ยนศาสนาอีกเลย

    - มีศีล 5 บริบูรณ์ (ไม่ใช่แค่บริสุทธิ์) คือความบริสุทธิ์ของศีล
    นั้นเกิดจากความบริสุทธ์/ความประณีต ของจิตใจจริง ๆ
    ไม่ใช่ใจอยากทำผิดศีลแต่สามารถข่มใจไว้ได้ คือใจสะอาด
    จนเกินกว่าจะทำผิดศีลห้าได้

    3.) สกทาคามีมรรคบุคคล หรือสกิทาคามีมรรคบุคคล
    คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไปอีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้น
    เป็นครั้งที่ 2 ที่เรียกว่าสกทาคามีมรรคจิต มรรคจิตในขั้นนี้ ไม่
    สามารถทำลายกิเลสตัวใหม่ให้หมดไปได้อย่างสิ้นเชิงเหมือน
    มรรคจิตขั้นอื่น ๆ เป็นแต่เพียงทำให้ โลภะ โทสะเบาบางลงเท่า
    นั้น โดยเฉพาะกามฉันทะ และปฏิฆะ ถึงแม้ว่าความยึดมั่นที่มี
    อยู่จะน้อยลงไปก็ตาม ทั้งนี้เพราะกามฉันทะและปฏิฆะนั้นมี
    กำลังแรงเกินกว่า จะถูกทำลายไปได้ง่าย ๆ

    4.) สกทาคามีผลบุคคล หรือสกิทาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่าน
    สกทาคามีมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติสำคัญของสกทาคามีผลบุคคลก็คือ ถ้ายังไม่
    สามารถบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ในชาตินี้ ก็จะกลับมาเกิดใน
    กามภูมิอีกเพียงครั้งเดียวก็จะบรรลุธรรมที่สูงขึ้นไปได้ แล้วจะ
    พ้นจากกามภูมิตลอดไป เพราะอริยบุคคลขั้นนี้เป็นขั้นสุดท้าย
    ที่จะเกิดในกามภูมิได้อีก

    คำว่ากามภูมินั้นได้แก่ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษยภูมิ เดรัจฉาน
    เปรต อสุรกาย นรก แต่สกทาคามีบุคคลนั้นพ้นจากอบายภูมิไป
    แล้วตั้งแต่เป็นโสดาบัน จึงเกิดได้เพียงในสวรรค์ และมนุษย์เท่านั้น

    5.) อนาคามีมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไป
    อีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่เรียกว่าอนาคามี
    มรรคจิต ทำลายกิเลสได้เด็ดขาดเพิ่มขึ้นอีก 2 ตัวคือ

    - กามฉันทะ
    - ปฏิฆะ


    6.) อนาคามีผลบุคคล คือผู้ที่ผ่านอนาคามีมรรคมาแล้ว

    คุณสมบัติที่สำคัญของอนาคามีผลบุคคลคือ ถึงจะยังไม่บรรลุ
    เป็นพระอรหันต์ ก็จะไม่กลับมาเกิดในกามภูมิอีกเลย แต่จะไป
    เกิดในภูมิที่พ้นจากเรื่องของกามคือรูปภูมิ หรืออรูปภูมิเท่านั้น
    (ดูหัวข้อรูปราคะ และอรูปราคะในเรื่องสัญโยชน์ 10 ประกอบ)
    ในรูปภูมิ 16 ชั้นนั้น จะมีอยู่ 5 ชั้นที่เป็นที่เกิดของอนาคามีผล
    บุคคลโดยเฉพาะ ซึ่งรวมเรียกว่าสุทธาวาสภูมิ ดังนั้น ใน
    สุทธาวาสภูมิทั้ง 5 ชั้นนี้ จึงมีเฉพาะอนาคามีผลบุคคล อรหัต
    ตมรรคบุคคล และพระอรหันต์ (ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ในภูมินี้
    แล้วยังมีชีวิตอยู่) เท่านั้น

    สุทธาวาสภูมิ 5 ชั้นประกอบด้วย

    - อวิหาภูมิ
    - อตัปปาภูมิ
    - สุทัสสาภูมิ
    - สุทัสสีภูมิ
    - อกนิฏฐาภูมิ

    7.) อรหัตตมรรคบุคคล คือบุคคลที่เจริญวิปัสสนาต่อไป
    อีกจนกระทั่ง มรรคจิตเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่าอรหัตต
    มรรคจิต ทำลายกิเลสที่เหลือทุกตัวได้อย่างหมดสิ้น จนไม่มี
    กิเลสใด ๆ เหลืออีกเลย สัญโยชน์ที่มรรคจิตขั้นนี้ทำลายไป
    ได้แก่

    - รูปราคะ
    - อรูปราคะ
    - มานะ
    - อุทธัจจะ
    - อวิชชา

    8.) อรหัตตผลบุคคล หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าพระอรหันต์
    คือผู้ที่ปราศจากกิเลสอย่างสิ้นเชิงแล้ว เพราะกิเลสตัวสุดท้าย
    ถูกทำลายไปในขณะแห่งอรหัตตมรรคจิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นผู้ที่
    พ้นจากทุกข์ทางใจทั้งปวง เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งใดเลย แต่ยังคง
    ต้องทนกับทุกข์ทางกายต่อไป จนกว่าจะปรินิพพาน เพราะตราบ
    ใดที่ยังมีร่างกายอยู่ก็ไม่อาจพ้นจากทุกข์ทางกายไปได้


    นิพพานนั้นมี 2 ชนิด คือ


    - สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานเป็น หมายถึงนิพพาน

    ที่ยังมีส่วนเหลือ คือกิเลสทั้งหลายดับไปหมดแล้ว พ้นจากทุกข์
    ทางใจทั้งปวงแล้ว แต่ยังมีร่างกายอยู่ ได้แก่พระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง

    - อนุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพานตาย หมายถึงนิพพาน

    โดยไม่มีส่วนเหลือ คือพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ทั้งทางกาย และทาง
    ใจอย่างสิ้นเชิง ได้แก่พระอรหันต์ที่ตายแล้วนั่นเอง ซึ่งเรียกได้
    อีกอย่างว่าปรินิพพาน (ปริ = โดยรอบ, ปรินิพพาน = นิพพาน
    โดยรอบทุกส่วน คือทั้งร่างกายและจิตใจ คือนิพพานจากทุกข์
    ทั้งปวงนั่นเอง)




    พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบชีวิตในวัฏสงสารว่า
    ปุถุชนทั้งหลายเหมือนผู้คนที่ผุด ๆ โผล่ ๆ อยู่กลางน้ำลึก
    ต้องทนทุกข์ทรมาน สำลักน้ำอยู่อย่างไม่รู้อนาคต
    ต้องเสี่ยงภัยจากปลาร้ายทั้งหลาย

    โสดาบันเปรียบเหมือนผู้ที่พยุงตัวพ้นจากผิวน้ำขึ้นมาได้
    จนสามารถมองเห็นฝั่ง(แห่งพระนิพพาน)
    แล้วเตรียมตัวว่ายเข้าหาฝั่งนั้น

    สกทาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่กำลังว่ายเข้าหาฝั่ง

    อนาคามีบุคคลเปรียบเหมือนผู้ที่เข้าใกล้ชายฝั่งมาก
    คือถึงจุดที่น้ำตื้นพอที่จะหยั่งเท้าถึงพื้นดินได้
    แล้วเดินลุยน้ำเข้าหาฝั่ง จึงพ้นจากการสำลักน้ำแล้ว

    พระอรหันต์เปรียบเหมือนผู้ที่เดินขึ้นฝั่งได้เรียบร้อยแล้ว
    พ้นจากอันตรายทั้งปวงแล้ว รอวันปรินิพพานอยู่
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    กรรมชั่ว เหมือนสุนัขไล่เนื้อ





    กรรมที่เป็นบาปอกุศลหรือกรรมชั่ว
    หรือที่เรียกว่าทุจริต
    เราอาจจะได้ประพฤติปฏิบัติมาแล้ว
    ในอดีตชาติในการเวียนว่านตายเกิด...
    อยู่ในสังสารจักรไม่มีที่สิ้นสุด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    กรรมนี้ไม่ได้หายไปไหน
    ติดตามให้ผลเหมือนสุนัขไล่เนื้อ
    ที่เคยยกตัวอย่างนั่นเอง
    ทีนี้มีอยู่ว่า
    เรานี้ถูกสุนัขอย่างนั้นแหละไล่ตามกัด
    มานับภพนับชาติไม่ถ้วน
    เข้ามาในภพชาตินี้มันก็เปรียบเสมือนว่า
    กรรมที่เป็นฝ่ายทุจริตหรือบาปอกุศลต่างๆ
    มันเหมือนสุนัขไล่เนื้อหลายประเภท
    หลายตัว ไม่ใช่ตัวเดียว
    มันนับไม่ถ้วน มาเป็นฝูงเลย
    ฝูงนี่ฝูงใหญ่ซะด้วย
    แล้วก็มีทั้งตัวที่มีกำลังมาก
    มีกำลังน้อย
    ฝีตีนเร็ว ฝีตีนช้า
    ดุมาก ดุน้อย
    ทีนี้ถามว่า
    ถ้าอย่างนั้นเราอยู่เฉยๆ
    เกิดมานี้ไม่ทำล่ะ ดีก็ไม่ทำชั่วก็ไม่ทำ
    เป็นยังไง
    เหมือนกับเรายืนอยู่เฉยๆ
    ในเมื่อสุนัขไล่เนื้อมันวิ่งมาที่จะมากัดเรา
    เรายืนอยู่เฉยๆก็แปลว่า
    สุนัขไล่เนื้อตัวใดที่มีกำลังแรงอาจงับทัน
    งับได้มาก ได้น้อย ท่านนึกวาดภาพเอาละกัน
    อยู่เฉยๆเนี่ยถ้าจะมองในแง่ธรรมดา
    ก็คือไม่ดีไม่ชั่ว
    แต่ถ้ามองให้ดีเป็นโมหะ หลง
    เพราะไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง
    ถ้าเรารู้จริงแล้ว เราอยู่เฉยๆไม่ได้
    ต้องละชั่ว ต้องทำดี ทำใจให้ใส
    ตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
    ข้อนี้ต้องทำอย่างนี้
    ..........................
    พระเทพญาณมงคล
    (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    (เทศนาธรรมเรื่อง...ความตระหนี่)
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    อะไรเป็นเหตุให้พุทธสาวกสำเร็จธรรมด้วยข้อธรรมะที่แตกต่างกัน ?
    -------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    จะขอตอบในประเด็นที่บรรลุธรรมเร็วช้าต่างกัน เนื่องด้วยบำเพ็ญบารมีมาต่างกัน เสียก่อน

    บางท่านอธิษฐานบารมีเป็นปกติสาวก ก็บำเพ็ญบารมีเต็มเร็ว และการบำเพ็ญบารมีไม่ต้องยิ่งใหญ่ จึงเต็มเร็วและบรรลุได้

    ผู้ที่บำเพ็ญบารมีสูง ผลของการบรรลุก็ต่างกัน และอัธยาศัยของสัตว์โลกที่สั่งสมมาก็ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นวิธีการบำเพ็ญบารมีก็ไม่เหมือนกัน บางคนบำเพ็ญด้วยศรัทธามาก บางคนบำเพ็ญด้วยวิริยะมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสติมาก บางคนบำเพ็ญด้วยสมาธิมาก บางคนบำเพ็ญด้วยปัญญา คืออินทรีย์ความเป็นใหญ่ในการบำเพ็ญบารมีไม่เท่ากัน เหตุแห่งการพิจารณาสภาวธรรมและบรรลุในข้อธรรมต่างๆ กัน จึงเป็นไปด้วยอินทรีย์ไม่เหมือนกัน เช่นบางคนรักสวยรักงาม การบำเพ็ญบารมีเป็นไปด้วยศรัทธาจริต อย่างนี้ถ้าได้พบพระพุทธเจ้า กัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ที่รู้อัธยาศัย รู้อินทรีย์ว่าแก่กล้าด้านไหน ? ก็จะสามารถชี้แนะในจุดนั้นที่เคยสร้างสมอบรมมาแต่ในอดีต ยกตัวอย่างเช่น มีลูกศิษย์พระสารีบุตร อยู่ในสำนักของพระสารีบุตร เป็นผู้รักสวยรักงาม พระสารีบุตรเห็นว่ารักสวยรักงามจึงให้อสุภกัมมัฏฐาน ทำอย่างไรก็ไม่บรรลุ จึงพาลูกศิษย์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของคนๆ นี้ เดิมเป็นช่างทอง ชอบทำดอกบัวสวยๆ พระพุทธเจ้าเลยให้ดอกบัวเป็นนิมิต ให้พิจารณากัมมัฏฐานคือดอกบัวว่าสวยขึ้นมาอย่างนี้ และพระพุทธเจ้าได้โอภาสแสงสว่างไปด้วยพระฤทธิ์ให้ดอกบัวมันสวย ช่างทองถูกใจมาก ใจจดจ่อจนใจเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคง และใจหยุดนิ่ง พอใจหยุดพอเหมาะ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นด้วยพระฤทธิ์ว่า ดอกบัวเหี่ยว ค่อยๆ เหี่ยวแห้งไป เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา บรรลุเลย นี่ทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ แปลว่าทรงมีอาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัติญาณ ซึ่งเป็นญาณสำคัญของพระพุทธเจ้าเพื่อใช้ในการโปรดสัตว์

    พระพุทธเจ้ามีพระญาณทั้ง 2 ซึ่งบำเพ็ญมานาน อินทริยปโรปริยัติญาณ คือญาณหยั่งรู้อินทรีย์ของสัตว์ว่า สัตว์บำเพ็ญมาแก่กล้ามาทางไหน ทางศรัทธา ทางวิริยะ ทางสติ ทางสมาธิ หรือทางปัญญา ซึ่งอินทรีย์นั้นจะแก่กล้าเป็นพละ จึงชื่อว่า อินทรีย์ 5 พละ 5 ซึ่งจะมีผลให้ข้อธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น เป็นโพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ เจริญให้สามารถตรัสรู้พระอริยสัจ 4 เป็นพระอรหันตขีณาสพได้

    และทรงมีอาสยานุสยญาณ รู้อัธยาศัยของสัตว์ว่าบำเพ็ญมาอย่างไร พระองค์จะให้ข้อธรรมที่ถูกทั้งอินทรีย์ที่เคยสร้างสมอบรมมาและอัธยาศัยของบุคคล และครูบาอาจารย์มีสิ่งนี้ก็ช่วยได้บ้างครับ
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    ถาม....ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก





    ......................................................



    ตอบ......ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน

    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า

    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ

    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ

    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย

    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง

    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา

    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง

    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย

    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    R-FsRI5wbU7I8ohrn0buNWQBi3XmmiHn1QxulX9nm_xw&_nc_ohc=ZO1v_8j_JfoAX9bi3EB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    เห็นนิมิตต่างๆ ?


    นั่งแล้วกำหนดเห็นแสงสีขาว แต่จะมีเหมือนรูปรอยเท้าอยู่ จะมีแสงกลมๆ ขนาดลูกมะพร้าวเป็นสีม่วง สีแดง สีเหลืองสลับกัน ลอยห่างออกไป กำหนดเห็นจุดขาวเล็กๆ แต่ถ้าเพ่งจะหายไป จะกำหนดอย่างไร ?

    -----------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    กำลังจะได้ที่ อย่าอธิบายว่าอะไรเป็นอะไรเลย กระผมจะถวายคำแนะนำวิธีปฏิบัติเลย

    ถ้าใครเห็นแสงเฉยๆ อยู่ภายนอก หรือเห็นดวงเฉยๆ อยู่ภายนอกแล้วหายไป จะเป็นสีอะไร ปล่อยครับ หลวงพ่อจงปล่อยเลย อย่าสนใจ ให้เหลือบตากลับนิดๆ กำหนดเป็นจุดเล็กใสตรงศูนย์กลางกายไว้


    ค่อยๆ นึกให้เห็นดวงใส ได้เท่าไหร่เอาเท่านั้น ใจเย็นๆ หยุดในหยุด กลางของหยุด แต่อย่าเพ่งแรง ถ้าเพ่งแรงแล้วหาย นึกถึงการกดลูกปิงปองให้จมลงในน้ำ ถ้ากดแรงเกินไปก็จะกลิ้งหลุดมือ ถ้ากดค่อยเกินไปก็ไม่จมลง ต้องกดเบาๆ ตรงศูนย์กลางพอดีๆ

    เหมือนเมื่อครั้งพระอานนท์เถรเจ้าปฏิบัติธรรมเกือบตาย เพราะพระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า ท่านจะได้บรรลุธรรมก่อนการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 1 หนึ่งวัน พอถึงวันทำสังคายนาพระมหาเถระ ที่จะประชุมทำสังคายนาได้ให้จัดอาสนะเตรียมพร้อมไว้ให้ท่านอานนท์ ท่านปฏิบัติเต็มที่แต่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน สังขารของท่านเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการจัดงานถวายพระเพลิง สังขารไม่สบาย จิตใจจึงไม่สงบ ท่านจึงฉันยาระบาย สันนิษฐานว่าเป็นสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฉันแล้วระบายท้อง ระบายท้องแล้วสบายตัว ดึกแล้ว เอนกายในท่าพอเหมาะพอสบาย ก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานทันที ตื่นเช้าขึ้นมา ไปแสดงตนในที่ประชุมสงฆ์ทำสังคายนาด้วยวิธีปรากฏตัวขึ้นโดย ไม่ต้องเดินมาให้เห็น เพื่อแสดงความเป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทา เพราะการทำปฐมสังคายนานั้น อาราธนาแต่เฉพาะพระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา* ทั้งสิ้น เพราะว่าทรงจำข้อธรรมต่างๆ ได้ด้วย ระลึกเหตุการณ์และเห็นแจ้งในพระธรรมได้ด้วยพระญาณ

    คำตอบที่ว่า เมื่อเพ่งไปที่จุดเล็กแล้วหายไป คงจะเข้าใจดีว่า ต้องมีความพอดี อย่าเพ่งแรง อย่าอยากเห็นเกินไป นั่นเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ระวังจิตใจอย่าให้ฟุ้งซ่านเผลอออกไป ก็จะจืดจางจากความเป็นสมาธิ ปล่อยใจให้ดิ่งลงที่กลางของกลางจุดเล็กใส ณ ศูนย์กลางกายเลย ปักดิ่งไม่ถอน ให้ปักดิ่งแต่ต้องเบาๆ สบายๆ ไม่เคร่งครัดเกินไป ดังที่หลวงพ่อท่านว่า “ต้องให้ถูกศูนย์ ถูกส่วน” แล้วจะได้ที่ เพราะฉะนั้นเรื่องอื่นไม่อธิบายละเอียด นึกกำหนดศูนย์กลาง ทุกอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน เดี๋ยวติด เห็นใสสว่างเลย อย่างนี้ไม่ช้า


    --------------------------------------------------------------------------------

    * พระอรหันต์ประดับด้วยอภิญญา ด้วยปฏิสัมภิทานั้นก็คือ 1) อรรถปฏิสัมภิทา คือมีญาณหยั่งรู้ในเหตุ ไปถึงต้นๆ เหตุ 2) ธรรมปฏิสัมภิทา รู้ผล 3) นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้ภาษาหลายภาษา แม้กระทั่งภาษาสัตว์ และ 4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้การโต้ตอบปัญหาที่ถูกต้อง ตรงประเด็น ตรงไหนควรย่อควรไหนควรขยาย พระอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทา มีอภิญญาด้วย มีญาณหยั่งรู้ เมื่อมี 4 อย่างนี้ คุณธรรมมีเพียบเลย ไม่ใช่พระอรหันต์สุกขวิปัสสกะ หรือสุกขวิปัสสโก ยกตัวอย่าง ท่านพระจักขุปาล เทวดาเดินมา ท่านก็ยังไม่ทราบว่าเป็นเทวดา ต่อเมื่อท่านกำหนดจิตดู สังเกตได้ว่า นี่ไม่ใช่เป็นคนธรรมดา แต่เป็นพระอินทร์ เป็นท้าวสักกเทวราช แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์จตุปฏิสัมภิทา เทวดาแปลงโผล่มาก็รู้ ก็เห็นได้เลย หรือไม่มาก็รู้ได้เลย
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,069
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +69,959
    128524531_3386784154767138_6959480462469759282_o-jpg.jpg

    เบื้องต้น อาศัยอุบายสมถะกรรมฐาน เพื่อให้ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้
    มารวมหยุดเป็นจุดเดียว แล้วจะเห็นนิมิตซึ่งสมมุติมาเพื่อเป็นอุบายให้ใจหยุด

    เมื่อนิมิตสมมุตินั้นดับลงไปแล้วเกิดขึ้นมาใหม่เป็นสิ่งที่มีจริง(ตามสมมุติ) นั้นคือ ดวงปฐมมรรค หรือ ดวงธรรมที่ทำให้เกิดเป็นกายมนุษย์ เป็นธาตุธรรมละเอียดที่ประกอบกันขึ้นมีอยู่ทุกสัตว์โลก แล้วอาศัยดำเนินเข้ากลางของกลางเข้าไป โดยละขันธ์หยาบ ผ่านขันธ์ละเอียดกว่า
    ไปเรื่อยๆ ทั้งมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม จนถึงธรรมกายโคตรภู เห็นฝั่งวัฏฏะ และฝั่งโลกุตตระ

    จากขันธ์หยาบละได้โดยผ่านศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติ วิมุตติญาณทัศนะขันธ์
    ไปสู่ขันธ์ที่ละเอียดกว่า เรียกว่า ดับหยาบไปหาละเอียด

    อาศัยตาคือญาณของธรรมขันธ์ พิจารณาอริยสัจจ์ของแต่ละกายตั้งแต่กายมนุษย์มาจนถึงกาย
    ปัจจุบัน เป็นการละกิเลสอาสวะ

    เมื่อบำเพ็ญแก่กล้าขึ้น จนสติสัมปชัญญะ เต็มรอบ มีอารมณ์ฌาณเกิดได้เองทุกขณะ สามารถเดินสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์และเห็นสายปฎิจจสมุปบาทได้ตลอดสาย ทุกายสุดกายหยาบ สุดกายละเอียด ทั้งของตน ของสัตว์โลก เป็นทางไปเพื่อพ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...