สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    หลวงพ่อวัดปากน้ำนำหมู่สงฆ์วัดปากน้ำเจริญพระพุทธมนต์ในวันรัฐธรรมนูญ อันถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่มวลมนุษยชาติจะได้มีสิทธิเท่าเทียม ดังที่พระพุทธองค์ไม่รับธรรมเนียมชนชั้นวรรณะในอินเดีย

    ผู้รู้กล่าวว่า การเกิดประชาธิปไตยจะทำให้ผู้คนสุขสบาย มีสิทธิมนการกำรงชีวิตอย่างเสรี เป็นหนึ่งในกุศลกรรมที่ธรรมะภาคขาวตั้งผังสำเร็จไว้




    ?temp_hash=9c34d2fada1f2bf245ab2f445d29684b.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พิธีปฐมนิเทศน์โครงการปฏิบัติธรรม

    วันนี้ช่วงเช้าได้มีพิธีปฐมนิเทศน์โครงการปฏิบัติธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง(อภิญญาเทสิตธรรม) ตั้งแต่วันที่ ๑๑-๑๗ ธันวาคม นี้ ส่วนพิธีเปิดจะมีในช่วงบ่าย(เวลา ๑๔.๐๐ น.)ซึ่งจะมีพระเถระ เจ้าสำนักปฏิบติธรรมจากทั่วประเทศมาร่วมปฏิบัติธรรมประมาณ ๔๐๐ รูป
    ณ พระมหาเจดีย์สทเด็จฯ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ในช่วงนี้จึงขอชักชวนญาติโยมทุกท่านมาร่วมทำบุญกุศลกันได้ทุกเวลา



    ?temp_hash=bf4dafc41b58a4c1680739ebfd298895.jpg


    ?temp_hash=bf4dafc41b58a4c1680739ebfd298895.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    การถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย...ที่สืบทอดต่อกันมานั้น มีข้อสังเกตว่า
    ๑. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด มีภูมิธรรมภูมิปัญญา...ไม่เท่ากัน
    การรับ......จึงไม่เท่ากัน
    ๒. วาระของการสอนออกไป
    แม้บางคนจะมีภูมิธรรมภูมิปัญญาสูง บางทีมาในขณะในสมัยที่กำลังแสดงธรรมนั้น บางทีก็ไม่ได้มา
    และบางคนที่มีภูมิธรรมปานกลางก็มา ในส่วนที่กำลังแสดงที่สำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง
    สรุปง่ายๆว่า แต่ละคนมีโอกาสเข้ามารับฟัง มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติ
    โดยเข้ามาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน....จึงได้ธรรมะไปก็ไม่เท่ากันอยู่ดี
    ๓. ธาตุธรรมแก่กล้าไม่เท่ากัน
    อันนี้เป็นพื้นของเก่า หรือจะกล่าวว่ามี “บุพเพกตปุญญตา” ไม่เท่ากัน
    แล้วแต่ใครสร้างบารมีมาแบบไหน
    บางคนสร้างบารมีมาเพื่อเป็น “ปกติสาวก” เขาก็รับช่วงหนึ่งสมบูรณ์
    บางคนสร้างบารมีมาในระดับสูงกว่านั้น คือ
    ระดับ “พุทธอุปัฏฐาก” หรือว่า “อัครสาวก” หรือ “อสีติมหาสาวก” เขาก็รับได้มากกว่า
    บางคนก็ตั้งจิตอธิษฐานเข้าสู่ “พุทธภูมิ” ท่านเหล่านี้ก็ได้รับมาก
    มันจึงเป็นไปตามธาตุธรรมที่แก่กล้าไม่เท่ากัน
    และในแต่ละระดับที่ต่างกันนี้ บางทีผู้ที่ปรารถนาต่ำแต่บารมีเต็ม...กลับรับได้ชัดเจน
    เหมือนวิทยุเครื่องเล็กจิ๋ว...แต่ว่ารับได้ดี
    บางคนแม้จะสร้างบารมีมาในระดับปานกลาง อธิษฐานมาในระดับกลาง ระดับสูง
    อาจจะรับได้ดีหรือไม่ได้ดี...เท่าคนที่อธิษฐานบารมีน้อยๆก็ได้
    เพราะบารมียังไม่เต็มธาตุธรรม ยังไม่แก่
    สรุปใน ๓ เหตุ ๓ ปัจจัยนี้
    ทำให้ผู้รับการถ่ายทอด...ได้รับไปสมบูรณ์ไม่เท่ากัน
    เพราะฉะนั้นผลก็ออกไปตามส่วนอย่างนี้
    เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    และ หลวงพ่อพระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) มีความรู้สึกว่า
    “วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์ และสมบูรณ์ถูกต้อง” ... สมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดให้กว้างขวางขึ้น
    เผยแพร่ให้มากขึ้น และทำให้เป็นหลักเป็นฐาน
    เพื่อให้เป็นเอกสาร และพยานบุคคลอ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต
    เพราะมิฉะนั้นแล้ว
    วิชชาธรรมกายอาจจะถูกบุคคล หรือ ศิษยานุศิษย์ที่รับไปไม่เท่ากัน
    หรือ บกพร่อง เข้าใจไม่เท่าเทียมกัน หรือ เข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง
    นำออกไปปฏิบัติไปถ่ายทอด ที่ไขว้เขวออกไปนอกลู่นอกทางของแนววิชชาธรรมกาย (ซึ่งมีอยู่ตรงกับพระไตรปิฎก) ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาของบุคคลได้
    *เรียบเรียงจาก
    นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๒ ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ผมมองเห็นรูปนิมิตเป็นรูปพระสีเขียวเข้มจนเกือบดำ ทรงเครื่อง คล้ายทรงเครื่อง ฤดูร้อน อยู่กลางทรงกลม ตอนแรกเห็นทรงกลมสีขาวขุ่น มองนานๆ กลายเป็นแก้วใสติดอยู่นาน จะถือเอาเป็นนิมิตแทนลูกแก้วใสได้หรือไม่ ?

    ได้ครับ ใช้ได้เลย ถ้าเห็นเป็นดวงกลมใส ให้เข้าใจว่าองค์พระอยู่ในดวงกลมนั้น หยุดนิ่งไปกลางดวงกลมใสนั้น หยุดนิ่งถูกส่วนก็จะใสสว่าง ศูนย์กลางขยายออก ประเดี๋ยวองค์พระก็จะปรากฏ
    หรือกายมนุษย์ละเอียดจะปรากฏ เมื่อปรากฏแล้ว ท่านก็นึกเข้าไปเป็นกายละเอียดใหม่ จะเป็นกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระก็แล้วแต่ ให้ใจหยุดนิ่งกลางกายมนุษย์ละเอียดหรือองค์พระนั้น ให้ใสสว่างหมดทั้งดวงทั้งกาย จะปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ ตามขั้นตอนของเขา แต่บางทีข้ามขั้นตอนได้ ถ้าจิตละเอียดหนักจริงๆ เห็น จำ คิด รู้ ขยายโตเต็มส่วน เต็มธาตุเต็มธรรม แล้วกายธรรมหรือธรรมกายจะปรากฏขึ้นมา ข้ามขั้นตอน แทนที่จะต้องผ่านกายมนุษย์ละเอียด ทิพย์ พรหม อรูปพรหมก็ข้ามขั้นตอนไปได้ ไม่เป็นไร​
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=34832b9e2833690ea51d3483a445fea4.jpg

    . “จิตของเราต้องมีที่ตั้ง ตั้งจิตเสียให้ดี ให้ถูกหลักถูกฐานของที่ตั้งจิตเสียให้ดีแล้ว จะต่อสู้ซึ่งอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เหล่านี้ได้


    ถ้าว่าตั้งไม่ดีแล้วล่ะก็จะต่อสู้อิฏฐารมณ์อนิฏฐารมณ์ไม่ได้เลย


    ตั้งให้ดี จะตั้งตรงไหน ต้องตั้งที่ตั้งของเขา ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึงแค่กัน ตึงด้วยกันทั้ง ๒ เส้น ตรงกลางจรดกัน ตรงกลางที่จรดกันของกลางนั่นแหละ ตรงนั้นเรียกว่ากลางกั๊ก


    ใจหยุดที่กลางกั๊กนั่นแหละ ถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ หมั่นเอาใจจรดอยู่ตรงนั้นแหละ” ...

    (มงคลสูตร ๒๕ เมษายน ๒๔๙๗)
    วัดป่าวิสุทธิคุณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    ?temp_hash=d4deb8f94ad6d38b15ffca411a555962.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    25994544_10156080957543421_3152254482490818606_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
     
  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    คำถามที่ถามบ่อย (FAQ)


    คำถามทั่วไป
    1. วัดนี้ (วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) เป็นวัดเดียวกันกับ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือไม่ ?
    2. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย หรือไม่ ?
    3. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสายเดียวกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือไม่ ?
    4. เนื่องจาก มีท่านผู้สอนวิชชาธรรมกายหลายท่าน เช่น ที่ราชบุรี มีสำนักสวนแก้วที่แม่ชีหวานใจเป็นผู้สอน, ที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี, อ.การุณย์ บุญมานุช จ.จันทบุรี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ. ดังนั้นหากต้องการฝึกฝน จะพิจารณาอย่างไรว่าควรฝึกในที่ใด ?
    การเข้ารับการอบรม/ปฏิบัติธรรม
    1. ในวันอุโบสถ ฆราวาสสามารถไปอยู่ปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้หรือไม่ ?
    2. ถ้าประสงค์จะไปพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ? และจะต้องขออนุญาตอย่างไร ? ขอทราบรายละเอียดด้วย
    3. การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี และปลายปี ฆราวาสจะมาเข้ารับการอบรมด้วยได้หรือไม่ ? ในรูปเห็นมีแต่พระภิกษุเต็มไปหมด ?
    4. ในการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปี ฆราวาสจะมาเข้าอบรมในช่วงสั้นๆ เช่น 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ?
    5. มาอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?
    6. การมาเข้ารับการอบรม ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง ?
    การบรรพชาอุปสมบท
    1. การติดต่อเพื่อขอบวชที่วัดนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
    การติดต่อกับวัด
    1. ถ้าจะส่งเงินมาที่วัด จะทำอย่างไร ?
    2. เดินทางมาที่วัดได้อย่างไร ?
    คำตอบ
    คำถามทั่วไป
    1. วัดนี้ (วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) เป็นวัดเดียวกันกับ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือไม่ ?
      ตอบ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นคนละสำนักปฏิบัติธรรม - คนละคณะบริหาร - คนละนโยบายวัตถุประสงค์ - คนละกิจกรรม กับ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
    2. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย หรือไม่ ?
      ตอบ กรุณาอ่านคำตอบข้อแรก
    3. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสายเดียวกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือไม่ ?
      ตอบ หลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นศิษย์ของพระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
      พระคุณหลวงพ่อ พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม) นั้นท่านเป็นศิษย์โดยตรง และสืบทอดวิชชาธรรมกายทั้งหมด จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)*
      ส่วนเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ปัจจุบัน ก็เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ของหลวงพ่อ พระเทพญาณมงคล และท่านยังเป็นรองประธานสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย แห่งนี้ด้วย
      ดูเพิ่มเติมที่ ประวัติสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย และ ประวัติวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    * ข้อความบางส่วนจาก "ตอบปัญหาธรรม" ทำไมจึงก่อตั้งสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    "นับว่าหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร [วีระ คณุตฺตโม] เป็นศูนย์รวมหรือคลังแห่งวิชชาธรรมกาย ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง และยังเป็นที่รวมวิชชาธรรมกายชั้นสูง ที่ศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่เป็นพระเถระรุ่นพี่ ได้จดทำบันทึกไว้ ก็ยังได้มารวมตกแก่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร [วีระ คณุตฺตโม] องค์ปัจจุบันนี้อีกด้วย จึงเห็นว่าวิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง ควรจะต้องมีการรวบรวมขึ้นเป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญต่อไป เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังจะได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไปอย่างถูกทางและสมบูรณ์ ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ถ่ายทอดไว้"
    (วิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม ชื่อหนังสือว่า "มรรคผลพิสดาร" เล่ม 1-2-3 จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ไม่มีวางจำหน่าย แต่ทางวัดหลวงพ่อสดฯ จะพิจารณามอบให้โดยไม่คิดมูลค่า เฉพาะแก่ศิษย์ผู้ที่ปฏิบัติได้เข้าถึงแล้ว)
    1. เนื่องจาก มีท่านผู้สอนวิชชาธรรมกายหลายท่าน เช่น ที่ราชบุรี มีสำนักสวนแก้วที่แม่ชีหวานใจเป็นผู้สอน, ที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี, อ.การุณย์ บุญมานุช จ.จันทบุรี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ. ดังนั้นหากต้องการฝึกฝน จะพิจารณาอย่างไรว่าควรฝึกในที่ใด ?
      ตอบ หลักเกณฑ์พิจารณาเลือกสำนักปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกาย ก็คงมีหลักใหญ่ๆ อยู่ 2-3 อย่าง เช่น
      1. พิจารณาดูปฏิปทา ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป ของ อาจารย์ผู้สอนนั้นเองว่า ถูกต้อง เหมาะสม บริสุทธิ์ ตามธรรมวินัย เพียงใด และนำศิษย์ของตนทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ที่เป็นแก่นสารแท้จริงเพียงไร เป็นต้น
      2. พิจารณาการสอนวิชชาธรรมกาย ของอาจารย์ผู้สอนนั้นว่า ตรงตามหลักคำสอนของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ เพียงใด และให้ "วิชชา" ความรู้แก่ศิษย์อย่างเต็มที่หรือไม่ เป็นต้น
      3. ข้อนี้อาจไม่สำคัญเท่าสองข้อแรก คือ เรื่องสัปปายะ ความสะดวกเกื้อกูล ในด้านที่อยู่ที่พัก อาหาร อากาศ ฯลฯ
      สำนักต่างๆ ที่ได้อ้างถึงนั้น ก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเหมือนกันทั้งนั้น ย่อมจะมีหลักการสอนในเบื้องต้นเหมือนๆ กัน ไม่แตกต่างกันมาก แต่การสอนในระดับเบื้องกลางและเบื้องสูง อาจารย์แต่ละท่านก็อาจจะมีวิธีการสอน รายละเอียด และความแม่นยำ แตกต่างกันไป ตามภูมิธรรม ภูมิปัญญา และอุปนิสัย ของท่านเอง
      อาจจะลองไปปฏิบัติที่สำนักใกล้บ้านก่อนก็ได้ ถ้ายังไม่รู้ว่าจะไปที่ใดดี ก็ลองมาฝึกปฏิบัติที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามดู แต่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง (และไม่เคร่งเครียด) จึงจะได้ผลจริง
    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ตอบปัญหาธรรม "ทำไมจึงได้ธรรมกายกันมาก"
    การเข้ารับการอบรม/ปฏิบัติธรรม
    1. ในวันอุโบสถ สามารถไปอยู่ปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้หรือไม่ ?
      ตอบ ในวันอุโบสถ สามารถไปปฏิบัติธรรมและพักที่วัดได้ 1 คืน
    2. ถ้าประสงค์จะไปพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ? และจะต้องขออนุญาตอย่างไร ? ขอทราบรายละเอียดด้วย
      ตอบ การพักและปฏิบัติธรรมที่วัดในช่วงระยะ 3 วัน 5 วัน 7 วัน ในขณะนี้ทางวัดยังไม่สะดวกที่จะรับ เพราะไม่มีผู้ดูแลเพียงพอ (ยกเว้นในช่วงอบรมพระกัมมัฏฐาน หรือมาอบรมเป็นหมู่คณะ)
    3. การอบรมพระกัมมัฏฐานรุ่นกลางปี และปลายปี ฆราวาสจะมาเข้ารับการอบรมด้วยได้หรือไม่ ? ในรูปเห็นมีแต่พระภิกษุเต็มไปหมด ?
      ตอบ ได้ และขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่ง
    4. ในการอบรมพระกัมมัฏฐานประจำปี ฆราวาสจะมาเข้าอบรมในช่วงสั้นๆ เช่น 3 วัน 5 วัน 7 วัน จะได้หรือไม่ ?
      ตอบ ช่วงการอบรมพระกรรมฐาน มาอยู่ปฏิบัติธรรมสั้นๆ เช่น 3 วันได้ หรือกี่วันก็ได้ แล้วแต่สะดวก (การมาและกลับควรแจ้งเจ้าหน้าที่ด้วย) เพียงแต่ผู้ที่ไม่ได้อยู่ครบตามจำนวนเวลาที่กำหนดก็จะไม่ได้รับวุฒิบัตรเท่านั้น
    5. มาอบรมที่วัดหลวงพ่อสดฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือไม่ ?
      ตอบ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากประสงค์ทำบุญในส่วนต่างๆ ตามกำลัง ทางวัดก็ขออนุโมทนา
    6. การมาเข้ารับการอบรม ต้องเตรียมอะไรมาบ้าง ?
      ตอบ เสื้อผ้าชุดขาว, เครื่องใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น (ที่นอน หมอน มุ้ง และกลด ไม่ต้องนำมา) และยาประจำตัว
    การบรรพชาอุปสมบท
    1. การติดต่อเพื่อขอบวชที่วัดนี้ ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
      ตอบ มาวัดฯ ติดต่อพระเจ้าหน้าที่ เพื่อพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้น ฯลฯ และรับใบสมัคร, ใบท่องขานนาค (คำขอบวช), และระเบียบต่างๆ ของวัด แล้วกำหนดวันที่จะมาพร้อมกับบิดามารดา เพื่อกราบพระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล หลวงพ่อเจ้าอาวาส และพักอยู่ที่วัดเพื่อเตรียมตัวบวช
    โทรศัพท์มาติดต่อสอบถามกับพระเจ้าหน้าที่รับสมัคร/พระพี่เลี้ยงก่อนได้
    • พระมหาชินวิชญ์ จารุธมฺโม โทร. 089-913-5594
    • พระมหาอนันต์ ถิรชโย โทร. 081-777-3375, 086-304-5710
    ดูรายละเอียดที่
    ดาวน์โหลด
    การติดต่อกับวัด
    1. ถ้าจะติดต่อวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม

      • เดินทางมาที่วัดได้อย่างไร ?
        ตอบ
        1. รถโดยสารปรับอากาศ สาย ปอ.78 ขึ้นรถที่ขนส่งสายใต้
        2. รถรับ-ส่ง (ฟรี) ที่ปากทางเข้าวัดสระเกศ (วัดภูเขาทอง) ทุกวันอาทิตย์ และวันที่วัดมีกิจกรรม
        ดู แผนที่เดินทางไปวัดหลวงพ่อสดฯ
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เกี่ยวกับบริกรรมนิมิต เมื่อใดจะได้นิมิตสักที เพราะกำหนดบริกรรมนิมิตไม่ได้ จะบริกรรมภาวนาอย่างเดียวจะเกิดผลหรือไม่ ?
    ตอบ:

    จะภาวนาอย่างเดียวก็ได้ แต่ว่าถึงอย่างไร ใจต้องมีที่ตั้ง เพราะใจเรานั้น เห็นด้วยใจ เห็นที่ไหนใจอยู่ที่นั่น เพราะฉะนั้น ต้องให้เห็นอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ใจจึงจะอยู่ที่นั่น

    การนึกบริกรรมนิมิตให้เห็นด้วยใจ ณ ภายใน ซึ่งจะได้ผลดีเป็นของยาก ถ้านึกนิมิตอยู่ภายนอก มักเห็นได้ง่ายกว่า แต่เมื่อใครนึกอยู่ ณ ภายในได้จะได้ผลดีที่สุด เพราะเมื่อใจหยุดตรงนั้น ถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ เมื่อถูกแล้ว เราจะสามารถเข้าถึงธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้โดยสะดวก และไปถึงธรรมกายถึงพระนิพพาน
    เรารู้ว่าจุดนี้เป็นจุดที่เที่ยงตรง เห็นหรือไม่เห็น จงทำต่อไปจนกว่าจะเห็น แต่ถ้านึกไม่เห็นปวดเมื่อยเหนื่อยใจหนักหนา ก็นึกให้เห็นจุดเล็กใสเข้าไว้เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ใจเข้าอยู่ ณ ภายใน การนึกให้เห็น อย่าไปคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่นึกเอา "นึกให้เห็น" เป็นอุบายเบื้องต้น ใจประกอบด้วยความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ มารวมกันเป็นจุดเดียวกันตรงเห็นนั้น เพราะฉะนั้นความจำเป็นในเบื้องต้นที่นึกให้เห็นจึงต้องทำ

    แต่อุบายวิธีที่เราจะให้เห็นตรงนั้นก็ต้องปล้ำกันหลายเพลง เช่นว่า นึกดวงไม่เห็น อาจจะนึกองค์พระก็ได้ หรือนึกง่ายๆ คือนึกว่าในท้องมีลูกแก้วลูกหนึ่ง ประมาณเอา คือใจจะค่อยปรับตัวจนหยุดนิ่ง นี่เป็นอุบายอย่างหนึ่ง อาจจะต้องใช้อุบายหลายเพลงเช่นกันกว่าจะเห็นได้ แม้กระทั่งดวงไฟตรงไหนที่ไหนที่เห็นกลมๆ ก็นึกดวงให้สว่างอยู่ข้างในท้อง ซึ่งใช้ได้เช่นกัน ถ้านึกอย่างนั้นไม่ได้ให้ท่อง "สัมมา อรหังๆๆๆ" ไปตรงกลางจุดศูนย์กลางนึกให้เห็นจุดเล็กใส นิ่งๆ ไว้ พอนึกเห็นตามสบาย อย่าอยากเห็นจนเกินไป จนไม่ได้เห็น เพราะเพ่งแรงเกินไป จิตที่จะเห็นต้องพอดีๆ เหมือนกับที่ท่านทั้งหลายลองเอาปิงปองวางอยู่ในน้ำ จะกดปิงปองให้จม ในน้ำได้โดยวิธีไหน อุปมาอย่างนั้นฉันใด การเลี้ยงใจให้หยุดให้นิ่ง และจะได้เห็นเองก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน แต่ถ้าจะนึกให้เห็น พอไม่เห็นอึดอัดโมโหหรือหงุดหงิดอย่างนี้ไม่มีทางเห็น ทำให้เป็นธรรมดา เห็นก็ช่างไม่เห็นก็ช่าง ความจะเห็นต้องประกอบด้วยใจสบาย ละวางให้หมด เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต แม้ตัวเราก็ต้องละให้หมด วางใจนิ่งๆ พอดีๆ ใจสบายๆ ก็จะเห็นได้ง่าย

    อีกวิธีหนึ่ง ก่อนนอนจะหลับให้ท่อง “สัมมาอรหังๆๆ” นึกเบาๆ ท่องไป พอใจจะหลับ สภาพของใจจะตกศูนย์ ความรู้สึกภายนอกจะหมดไป จะเหลืออยู่แต่ข้างใน พอจิตตกศูนย์ ดวงธรรมดวงใหม่จะลอยขึ้นมาที่ศูนย์กลางกาย ใสสว่างอยู่ตรงนั้นก่อนหลับ แล้วก็เผลอสติหลับไป เห็นตรงนั้นจับให้ดี พอเห็นดวงก็เข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่งก็จะสว่าง นี่จะเห็นของจริงก็จะไม่หลับ จะรู้เลยว่าเมื่อวิตกวิจาร คือเห็นดวงสว่างระดับอุคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิตแล้วนั้น ความง่วงเหงาซึมเซาจะหมดไป กิเลสนิวรณ์หมดไปในขณะนั้น ช่วงจะหลับสามารถจะเห็นได้ง่าย


    ช่วงจะตื่นถ้าเคยตื่น 6 โมงเช้า ลองตื่นตีห้าครึ่ง พอตื่นแล้วไม่ตื่นเลย คือไม่ลุกขึ้นทันที ตายังหลับอยู่แต่ใจเราตื่น ดูไปที่ศูนย์กลางกายจะเห็นดวง ทำไมจึงเห็น เพราะใจคนเพิ่งตื่นใหม่ๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายลอยเด่น ยังเห็นได้อยู่ พอเห็นแล้วเราเอาอารมณ์นั้นมาสู่ใจเรา ทำบ่อยๆ ก็จะเป็น เมื่อถึงเวลาก็เป็นเอง บางทีอาจเห็นธรรมกายใหญ่มาก ขณะเดิน นั่ง ปกติธรรมดา อารมณ์สบาย ใจเป็นบุญเป็นกุศล ใจก็สบาย พอใจสบายก็จะเห็น ใจสบายด้วยบุญกุศลแตกต่าง กับการสบายด้วยกามคุณคือได้นั่นได้นี่ตามที่เราอยากได้ อันนั้นไม่สบายอย่างที่เราสบายอย่างนี้ การสบายด้วยบุญคือสบายเฉยๆ และลองกำหนดเห็นศูนย์กลางก็จะเห็นเป็นดวงใสได้โดยง่าย ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ แม้อาตมาเองถ้าไม่ทำบ่อยๆ เนืองๆ ก็จะจาง ต้องทำบ่อยๆ จึงดี
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    รัตนสูตร: ธรรมรัตนะ


    lphor_tesna_vn.jpg

    16 พฤษภาคม 2497



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
    วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค
    คิมฺหานมาเส ปฐมสฺมึ คิมฺเห
    ตถูปมํ ธมฺมวรํ อเทสยิ
    นิพฺพานคามึ ปรมํ หิตาย
    อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ
    เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตูติ.





    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย รัตนสูตร ยังค้างอยู่ ยังหาเสร็จลง ไปไม่ บัดนี้จะชี้แจงแสดงในคาถาว่า วนปฺปคุมฺเพ ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสเทศนา ธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนสัตว์ ที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว สัตว์ทั้งหลายยังหลับอยู่หาตื่นไม่ เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้ว นำเอาธรรมที่พระองค์ได้ทรงตรัสรู้นั้น มาแจกแก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย ดุจปลุกสัตว์ทั้งหลายทั้งโลกให้ตื่นขึ้นดุจพระองค์บ้าง เรื่องนี้กระแสวาระพระบาลีนี้ เป็นธรรมอันสุขุมลุ่มลึกคัมภีรภาพมาก ทั้งเรียนก็ยาก ทั้งแสดงก็ยาก ทั้งฟังก็ยาก มันยาก ด้วยกันทั้งนั้น เหตุนั้นวันนี้สมควรแล้วที่เราท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับฟังในรัตนสูตรนี้


    ตามวาระพระบาลีว่า

    วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค แปลเป็นสยามภาษาว่า ครั้นเมื่อ พุ่มไม้ในป่ามียอดอันแย้มแล้ว ปฐมสฺมึ คิมฺเห ในต้นฤดูร้อน ในต้นเดือนของฤดูร้อนฉันใด ตถูปมํ ธมฺมวรํ อเทสยิ นิพฺพานคามึ ปรมํ หิตาย พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอัน ประเสริฐ ให้ถึงซึ่งพระนิพพานอันประเสริฐ เพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย มีอุปมาฉันนั้น อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ อันนี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า เอเตน สจฺเจน ตามความสัตย์อันนี้ สุวตฺถิ โหตุ ขอความสวัสดีจงมีเถิด นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายขยายความเป็นลำดับไป


    เมื่อพุ่มไม้ในป่า เมื่อมีใบตกเสียหมดแล้ว ถ้าว่าเมื่อมนุษย์ไม่เดียงสาในต้นไม้นั้น ไม่เข้าใจในต้นไม้แล้ว เข้าใจว่าต้นไม้นั้นตายเสียแล้ว ไม่มีใบแล้วแต่ไม่ตายหรอก เขาตัดใบ เมื่อมียอดอันแย้มแล้วชื่อว่าแตกใบใหม่ ยอดมันอยู่ตรงไหนมันก็แย้มออกตรงนั้น แตก ใบออกที่ตรงนั้น นี่เรียกว่ามียอดอันแย้มแล้ว พุ่มไม้ในป่าที่จะมียอดอันแย้มออกไปได้เช่นนี้ ต้องในต้นเดือนของฤดูร้อน ชาวโลกเขาจึงรู้ได้ว่า นี่ถึงคราวเวลาใบไม้ผลิแล้ว ที่มันจะออก ดอกนั่นเอง ใบไม้ผลิ เราก็เห็นยอดต้นไม้ที่ผลิออกมาปรากฏชัดๆ เราก็รู้ว่าจะมีใบต่อไป นั่นแหละ ยถา ฉันใด พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ให้ถึงซึ่งนิพพาน อัน ประเสริฐ เพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย ตถูปมํ มีอุปมัยฉันนั้น


    เพราะธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ซึ่งเป็นธรรมอันประเสริฐน่ะ ธรรมอะไร จึงจัดได้ชื่อว่าเป็นวรธรรม เป็นธรรมอันประเสริฐ อันนี้ไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่จะคาดคั้นลงไปว่า ธรรมอันใดเป็นธรรมอันประเสริฐ ถ้าว่าอรรถกถานัยคลี่ความพระบาลีออกไว้ เราก็รู้ได้ ทีเดียวว่าธรรมอันนั้นอันนี้ ธรรมอันประเสริฐของมนุษย์น่ะมีอยู่แท้ๆ เกื้อกูลแก่มนุษย์ ทั้งหลายจริงๆ ธรรมอะไรล่ะที่ให้มนุษย์เป็นอยู่เดี๋ยวนี้แหละ เขาเรียกว่า “มนุษยธรรม” ธรรม ที่ทำให้มนุษย์เป็นอยู่ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร โตเล็กเท่าไหน สีสันวรรณะเป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน


    ธรรมนั้นสัณฐานกลมสีขาวใสเหมือนแก้ว โตเล็กตามส่วนของธรรมนั้นๆ นี่แหละ มีอยู่แท้ๆ เป็นธรรมอันประเสริฐ ถ้าเราไม่ได้ธรรมดวงนั้นละก้อ เราต้องตายแน่ มาอยู่เป็น มนุษย์กับเขาได้ ไม่ว่าหญิงว่าชายพระเณรไม่รู้ ถ้าไม่ได้ธรรมดวงนั้นแล้วเป็นตายแน่ ถ้าได้ ธรรมดวงนั้นก็เป็นอยู่ ถึงกระนั้นก็ต้องหล่อเลี้ยงเสมอเหมือนกัน หล่อเลี้ยงเสมอเหมือนอะไร เหมือนไฟ ธรรมดวงนั้นต้องหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ถ้าไม่หล่อเลี้ยงเสมอ ดับเหมือนไฟ ไฟต้อง หล่อเลี้ยงเสมอ ไฟเมื่อติดขึ้นแล้วจะใช้ไฟฟืน ก็ต้องเอาฟืนไปปรนปรืออยู่เสมอ หมดฟืนเก่า ก็เติมฟืนใหม่เข้าไป แต่ว่าเติมให้ถูกส่วนนะ ไม่ถูกส่วนก็ดับเหมือนกัน เติมถูกส่วนไฟไม่ดับ ถ้าต้องการไฟด้วยไต้ด้วยเทียน ต้องมีไต้มีเทียนมาเป็นไส้ไว้ ขาดเชื้อไม่ได้ ขาดเชื้อไฟ ก็ดับ ไฟต้องอาศัยเชื้อ ไม่มีเชื้อ ไฟอยู่ไม่ได้ ดับ ถ้าหากว่าเป็นไฟฟ้าก็ต้องบำรุงเตาไฟฟ้าไว้ ไฟนั้นจึงจะคงอยู่ได้ ถ้าว่าไฟฟ้าในเตาดับหมด ไฟที่จะจ่ายมาเอาค่าจ้างเขาก็ไม่มี อยู่ไม่ได้ หากว่าไฟที่ใช้ไฟฉายกันนี้ ใช้ถ่านไฟฉายเช่นนั้น ก็อยู่ชั่วกำลังของไฟฉายนั้น หมดกำลังไฟ ก็ดับไป อยู่ไม่ได้เหมือนกัน ต้องคอยปรนปรือเสมอ ไฟของมนุษย์ ไฟที่เรียกว่า “มนุษยธรรม” ธรรมของมนุษย์นี่ก็ดุจเดียวกัน ต้องคอยปรนปรือเสมอ ใส่เชื้อเสมอ เชื้ออะไรล่ะ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ ต้องคอยจุนเจือมันเสมอ ถ้าไม่จุนเจือแล้ว ไฟที่เรียกว่า “มนุษยธรรม” ที่ทำให้เป็นมนุษย์นี้ก็ดับเหมือนกัน ไม่จุนเจือไม่ได้ ไม่จุนเจือดับแน่นอนทีเดียว ไม่ต้องสงสัย เพราะเหตุฉะนั้นธรรมดวงนี้แหละเป็นธรรมลึกซึ้งอยู่ เขาเรียกว่า “มนุษยธรรม” ถ้าว่าเป็นกายเทวดาเข้า เขาเรียกว่า “เทวธรรม” ธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา ถ้าว่าไปเป็น กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียดเข้า เขาเรียกว่า “พรหมธรรม” ธรรมที่ทำให้เป็นพรหม ถ้าว่าไปถึงอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เขาเรียกว่า “อรูปพรหมธรรม” ธรรมที่ทำให้เป็น กายอรูปพรหม เป็นชั้นๆ ไปอย่างนี้
    ต่อนี้จะแสดงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นลำดับไป นี้แหละธรรมดวงนี้แหละเป็น ธรรมสำคัญนัก ธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์น่ะต้องบริสุทธิ์ด้วยกาย บริสุทธิ์ด้วยวาจา บริสุทธิ์ด้วยใจ ไม่มีร่องเสียเลย ในชาติก่อนภพก่อนมา เมื่อบริสุทธิ์ด้วยกายวาจาใจ ไม่มี ร่องเสียเลย แตกกายทำลายขันธ์จากมนุษย์ตนนั้น ก็กลับมาเป็นมนุษย์ใหม่ เป็นคัพภเสยยกสัตว์ เกิดในครรภ์มนุษย์ หญิงก็ดี ชายก็ดี เกิดในครรภ์มนุษย์ ที่จะเกิดในกายมนุษย์ ต้องเกิดในธรรมดวงนั้น จะไปเกิดที่อื่นไม่ได้ กายมนุษย์ละเอียดต้องเข้าไปอยู่ในกลาง ธรรมดวงนั้น ไปหยุดนิ่งอยู่ในกลางธรรมดวงนั้น เอาใจหยุดนิ่งกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ดวงนั้น เข้าไปหยุดนิ่งอยู่ พอนิ่งแล้วอาศัย “กลลรูป” ของพ่อแม่โอบอ้อมอยู่ ข้างนอกหล่อเลี้ยงธรรมดวงนั้น ก็เป็นกายมนุษย์ปรากฏขึ้นข้างนอก แต่ธรรมนั่นอยู่ข้างใน พอเป็นมนุษย์แล้วธรรมดวงนั้นอยู่ในกลางตัว สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึงแค่กัน ตึงทั้ง 2 เส้น ตรงกลางจรดกัน ตรงจรดกัน นั่นแหละเรียกว่า“กลางกั๊ก” “กลางกั๊ก”นั่นแหละถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงไก่ นี่ดวงหนึ่งละนะ ธรรมดวงนี้ใสแบบกระจก ขาวก็แบบกระจก คันฉ่องส่องเงาหน้า ใสอย่างชนิดนั้น ขาวอย่างชนิดนั้นนั่นแหละ
    ดวงนี้แหละเป็นธรรมสำคัญ แล้วก็พระไตรปิฎก วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก อยู่ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ไม่ใช่อยู่ที่อื่น อยู่ในกลางดวงธรรมนี่ทั้งนั้น ธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ อยู่ในกลางดวงธรรมนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่อยู่ที่อื่น จะต้องรู้จักธรรมดวงนี้ก่อน ธรรม ดวงนี้เป็นประหนึ่งว่าพระไตรปิฎก หรือเป็นประหนึ่งว่าหีบของพระไตรปิฎก สำหรับบรรจุ ธรรมทั้งนั้น ไม่ได้บรรจุอื่น ฝ่ายดีฝ่ายชั่วอยู่ในนี้เสร็จ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์นั่น ติดอยู่ในกลางนั่น ทำบาป บาปก็ไปติดอยู่กลางดวงนั่น ทำบุญดวงบุญก็ไปติดอยู่ กลางนั่น ศีลก็อยู่กลางนั่น สมาธิก็อยู่กลางนั่น ศีลก็อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์นั่น สมาธิก็อยู่กลางดวงศีลนั่น ปัญญาก็อยู่กลางดวงสมาธินั่น วิมุตติก็อยู่กลาง ดวงปัญญา วิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติ อยู่ที่เดียวกันนั้น ถ้ารู้จักธรรมดวงนี้ แน่นอนดังนี้ละก็ นี่แหละที่เราเกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ถ้าจะเอาตัวรอดได้ต้องไปพบ ธรรมดวงนี้ ถ้าไม่พบธรรมดวงนี้จะเอาตัวรอดไม่ได้ นี่แหละธรรมดวงนี้แหละเป็นธรรมสำคัญนัก
    ที่พระองค์ทรงแนะนำสั่งสอนพวกเราว่า ครั้นเมื่อพุ่มไม้ในป่ามียอดอันแย้มแล้วในต้น ฤดูร้อน ในเดือนต้นของฤดูร้อน ยอดไม้ในป่าก็มียอดแย้มออกไป ต้นของฤดูร้อนนั่นเป็น คราวสมัยที่ยอดไม้ในป่าจะแย้มออกละ ถ้าแย้มออกก็จะแตกกิ่งก้านสาขาออกไป เขาเรียกว่า แตกยอดใหม่ จะออกดอกออกลูกอะไรก็เวลานั้นละ แตกออกมาแล้วปรากฏออกมาแล้ว ที่ ปรากฏจนกระทั่งตามนุษย์เห็นอย่างชนิดนี้น่ะ มนุษย์ก็รู้เท่านั้น ธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอันประเสริฐน่ะ ถ้าว่าไปเห็นธรรมเข้าแล้วก็เหมือน อย่างกับเห็นดอกไม้ที่แย้มออกแล้ว ไปเห็นเข้าแล้ว พอไปเห็นธรรมรูปนั้นแล้วละก็ รู้ว่า อ้อ! ธรรมนี่เป็นอย่างนี้ เห็นปรากฏทีเดียว ธรรมอันประเสริฐ
    ถ้าว่าเข้าถึงธรรมดวงนั้นละก้อ จะเข้าถึงพระนิพพานได้แน่นอน ไม่ต้องสงสัย เข้าต้นทาง นิพพานแล้ว ถึงต้นทางนิพพานแล้ว พอถึงธรรมดวงนั้น ธรรมดวงนั้นน่ะ นิพฺพานคามึ ปรมํ ให้ถึงนิพพานอันประเสริฐทีเดียว เดี๋ยวจะแสดงให้เห็นว่าไปถึงจริงๆ หิตาย เกื้อกูลแก่สัตว์ ทั้งหลายจริงๆ สัตว์ทั้งหลายได้เห็นธรรมดวงนั้นละก้อ ต้องไปถึงนิพพานทีเดียว พอไปถึง ธรรมดวงนั้นเข้าแล้ว ต้องเอาใจของเราไปหยุดนิ่งอยู่ในกลางดวงนั้น กลางดวงธรรมนั่น พอ นิ่งอยู่ถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ก็ถึงนิพพานเท่านั้น เพราะเห็นเข้าแล้ว เห็นเข้าแล้วก็ต้องไป ถึงนิพพานทีเดียว
    ไปหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เห็นดวงธรรมอีกดวงหนึ่ง เขาเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ ดวงปฐมมรรค หรือ ดวงเอกายนมรรค อยู่กลางดวงธรรมนั่น เท่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่นแน่ อยู่กลางดวงธรรมนั่นแหละ เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น เรียกว่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เอาละทีนี้ดอกไม้จะออกละ ยอดจะออกละ มันจะมี ลูกมีผลกันยกใหญ่เชียวละคราวนี้ อย่าให้เคลื่อนนะ เคลื่อนไม่ได้ ให้มันหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอหยุดนิ่ง พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของ ใจนั่น กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลาง ของกลางหนักเข้าไป กลางของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงศีลแล้ว เท่า ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ เท่าๆ กัน อยู่กลางนั่น อยู่กลางใจที่หยุดนั่นเอง ใจก็หยุดอยู่กลาง ดวงศีล พอใจหยุด ก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เข้าถึงดวงสมาธิ เท่ากัน ดวงเท่ากัน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใจหยุดอยู่กลางดวงสมาธิ หยุดพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เข้ากลาง ของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลางของกลางๆๆๆ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่น พอใจ หยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น กลางของกลางๆๆๆ ซ้าย-ขวา-หน้า-หลัง-ล่าง-บน-นอก-ใน ไม่ไป กลางของกลางหนักเข้า พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติ พอใจหยุดอยู่กลาง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า เข้ากลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆๆ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใจหยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอหยุดอยู่กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ เข้ากลางของกลาง พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลาง ของกลางๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายมนุษย์ละเอียด ที่ฝันออกไป ที่ไปเกิดมาเกิด เห็น ปรากฏจำได้ทีเดียวนี่แน่ะ
    ไปถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้ว นี่เข้าไปชั้นที่ 2 ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ละเอียดนะ 2 เท่าฟองไข่แดงของไก่ กลมแบบเดียวกัน แต่ว่าโตขึ้นไปอีกเท่าหนึ่ง โตหนัก ขึ้นไป ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล เข้ากลางใจที่หยุดเรื่อยนะ อยู่ในใจทั้งนั้น ไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่ในใจทั้งนั้น กลางของใจที่หยุด กลางของกลางๆๆๆๆ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้า ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ พอใจหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดอยู่ในใจเรื่อยนะ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุด อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วน เข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายทิพย์ กายที่ 3 แล้ว
    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ใสแบบเดียวกัน ใส หนักขึ้นไป 3 เท่าฟองไข่แดงของไก่ โตขึ้นไปอีกแล้ว พอใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วน เข้า เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด เป็นกายที่ 4
    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด 4 เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เข้าไปแบบเดียวกัน พอถูก ส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกันนั้น แล้วก็เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายรูปพรหม
    ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม 5 เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า ก็เข้า ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด หกเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจกายรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายอรูปพรหม
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เจ็ดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจกายอรูปพรหม หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายอรูปพรหม ละเอียด
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด แปดเท่าฟองไข่แดงของไก่ ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะถูกส่วนเข้าแล้วก็เข้าถึงกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าโตเล็กตามส่วน
    ใจกายธรรมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แค่นี้เข้านิพพานได้ แล้ว ไปนิพพานได้แล้วนะถึงแค่นี้น่ะ แต่ว่ายังไม่ถนัดนัก ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นธรรมกาย เท่าไหนล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่า หน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว นั่นแหละดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม ใจกายธรรมก็หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็ถึงกายธรรม ละเอียด กายธรรมละเอียดวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว หน้าตัก 5 วา ดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียดนั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
    ใจกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูมใสหนักขึ้นไป ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดา หน้าตัก 5 วา กลมรอบตัวเหมือนกัน
    ใจกายพระโสดาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูก ส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน พอถูกดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนัก ขึ้นไป
    ใจพระสกทาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา พอถูกส่วน เข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระสกทาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระอนาคาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูก ส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายธรรมพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา ละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป
    ใจพระอรหัตก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก 30 วา สูง 30 วา เกตุดอกบัวตูม ใส หนักขึ้นไป
    นี่ตั้งแต่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด, กายโสดา-โสดาละเอียด, กายธรรมสกทาคา-สกทาคาละเอียด, กายธรรมอนาคา-อนาคาละเอียด, กายธรรมอรหัต-อรหัตละเอียด 10 กายนี่ไปนิพพานได้ทั้งนั้น แต่ว่าไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์เหมือนพระอรหันต์ พระอรหันต์ พระอนาคามี มีนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่มีอารณ์อื่นละ สัตว์โลกในโลกนี้มีกามคุณเป็นอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นที่ชอบใจเป็นอารมณ์หมดทั้งสากลโลก ผู้หญิงก็แบบนั้น ผู้ชายก็แบบนั้น มีอารมณ์เพราะมีกามภพ จะไม่ให้คิดเรื่องอื่น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เท่านั้นเป็นอารมณ์ของมันเชียว ไม่คิดเรื่องอื่นๆ นั่นเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เท่านั้น เมื่อกามภพ มีอารมณ์เช่นนี้มนุษย์ชั้นหนึ่ง สวรรค์ 6 ชั้น มีอารมณ์อย่างเดียวกัน เมื่อถึงกายรูปพรหมอีก 16 ชั้น พวกรูปพรหม 16 ชั้นนั้น มีปฐมฌานเป็นอารมณ์ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เป็นอารมณ์ ใจจรดใจจ่ออยู่ที่ฌานนั่นแหละ ไม่ไปจ่อจรดที่อื่นละ สวรรค์ 6 ชั้น มนุษย์ชั้นหนึ่ง ไม่จรดจ่อที่อื่น จรดจ่ออยู่ที่กามทั้งนั้น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ใจจรดอยู่นั่น ถอดไม่ออกติดแน่นเชียว ส่วนรูปพรหมนั่นติดอยู่ที่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ติดแบบเดียวกัน ติดยิ่งกว่าติดในกามอีก แน่นหนาทีเดียว ส่วนกายอรูปพรหม 4 ชั้นเล่า ใจจ่ออยู่ที่อรูปฌาน อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ติดอยู่นั่น ถอนไม่ออก นี่สุดภพทั้งหมด
    ส่วนกายธรรมล่ะ ใจจ่ออยู่ที่นิพพาน ธรรมกาย-ธรรมกายละเอียด, ธรรมกายโสดา-โสดาละเอียด พวกนี้จรดนิพพานมาก จรดอื่นน้อย ถึงสกทาคา-สกทาคาละเอียด จรด นิพพานมากหนักขึ้นไป ถึงอนาคา-อนาคาละเอียด จรดนิพพานหนักขึ้นไป ถึงอรหัต-อรหัตละเอียด จรดนิพพานไม่ถอยเลยทีเดียวนั่นน่ะ เป็นอย่างนี้แหละ นิพฺพานคามึ ปรมํ หิตาย ให้ถึงนิพพานอันประเสริฐ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อไปถึง นิพพานได้แล้วก็พ้นจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย จากกามภพ รูปภพ อรูปภพ ไม่ต้องเวียนว่าย ตายเกิดในกามภพ รูปภพ อรูปภพ มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    พระพุทธเจ้าเกิดมาในโลกมากน้อยเท่าใด ขนรื้อเอาเวไนยสัตว์ให้ไปนิพพาน ไม่ให้ เวียนว่ายใน กิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ วิปากวัฏฏ์ ให้จิตหลุดจากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา หลุดจากปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน จากอากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ที่เขาเรียกว่า ไตรวัฏฏ์ หลุดจากไตรวัฏฏ์ มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    นี้ในคาถาที่แสดงมาแล้วนี้ ก็ประสงค์อย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักอันนี้ก็รู้จักว่าพระพุทธศาสนานี้เป็นของลึกซึ้งจริงๆ
    ไม่ใช่เท่านั้นในคาถาที่ 2 รับรองลงไปอีก ว่าเป็นรัตนคาถาเหมือนกัน วโร วรญฺญู วรโท วราหโร อนุตฺตโร ธมฺมวรํ อเทสยิ อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ “วโร” แปลเป็น ภาษาไทยของเราว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ “วรญฺญู” ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ “วรโท” ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ “วราหโร” ทรงนำธรรมอันประเสริฐมา “อนุตฺตโร” หาผู้ใด ผู้หนึ่งเสมอถึงมิได้ “ธมฺมวรํ อเทสยิ” ทรงแสดงซึ่งธรรมอันประเสริฐ นี่เป็นรัตนะอันประณีต ในพระพุทธเจ้า นี่ชั้นที่หนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านทรงพระนาม “พระวโร” ก็ถูก พระพุทธเจ้า วโร ก็พระพุทธเจ้าแท้ๆ ท่านเป็นผู้ประเสริฐ วโร แปลว่าผู้ประเสริฐ วโร อันว่าพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ วรญฺญู ทรงทราบธรรมอันประเสริฐ วรโท ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ วราหโร ทรงนำธรรมอันประเสริฐมา อนุตฺตโร ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งมาเสมอถึง ธมฺมวรํ อเทสยิ ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ นี้แสดงธรรมแถวนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่แสดงธรรมแถวอื่นๆ เลย ไม่ได้ ทรงแสดงธรรมที่อื่นเลย แสดงธรรมแถวนี้ ธรรมอยู่ตรงนี้ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์นั่น มนุษย์ผู้ฟังธรรมต้องเอาใจไปจรดตรงนั้น ถ้าไม่จรดตรงนั้นไม่ถูกทางไปของ พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ถูกเป้าหมายใจดำของพุทธศาสนา เมื่อเอาใจไปจรดอยู่ตรงนั้น แล้วทำใจให้หยุดนั่นแหละ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญทีเดียว นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ สุขอื่น นอกจากความหยุดความนิ่งไม่มี หยุดตรงนั้นแหละเป็นสุขละ ถูกทางไปของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ทีเดียว แล้วก็ถูกความสรรเสริญของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ทีเดียว นี่แหละ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาละ นี่เป็นความอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าดังนี้ นี้แหละเป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตนํ ปณีตํ แม้นี้ก็เป็นรัตนะอัน ประณีต ในพระพุทธเจ้า เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ด้วยความสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีเถิด
    นี่เราได้ฟังของจริงดังนี้แล้วละก็ จำไว้เป็นหลักนะ อย่าให้คลาดเคลื่อน เป็นข้อวัตร ปฏิบัติ จะได้พาตนหลีกลัดออกจากไตรวัฏฏสงสาร ทางตรงอยู่เท่านี้นะ อย่าซมซาน เซอะซะไปทางอื่น ไม่ได้ เหลวไหลไปไม่ได้
    ถ้าว่าจะเข้าไปในทางนี้แล้ว ต้องเป็นชั้นๆ ต้องให้พ้นจากกายมนุษย์-มนุษย์ละเอียด กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียดไปเสีย จะได้พ้นจากกาม เมื่อพ้นไปจากกามแล้ว ไปติดรูปอีกแล้ว ให้พ้นจากกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียดไปเสีย จะได้เลิกติดรูป ไปติดอรูปอีกแล้ว ไปติด อรูปพรหมอีกแล้ว ให้พ้นกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดไปเสียจะได้ไม่ติด จะได้ถึง กายธรรม พอไปถึงกายธรรมก็ไปติดอีกเหมือนกัน สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ไปติดเข้าโน่นอีกแล้ว ให้พ้นกายธรรม-กายธรรมละเอียดไปเสีย จะได้หลุดไปเข้าถึงกายธรรม โสดา-โสดาละเอียด ก็พ้นสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสไปเสีย ก็ยังติดกามราคะ พยาบาทอีก นั่นเกร่วอยู่นั่นอีกแล้ว ให้พ้นกายโสดา-โสดาละเอียดไปเสีย ให้ถึงกายสกทาคา-สกทาคาละเอียด กามราคะพยาบาทหยาบหมด ยังติดกามราคะพยาบาทอย่างละเอียด อยู่ ให้พ้นกายสกทาคา-สกทาคาละเอียดไปเสีย เข้าถึงกายพระอนาคา-พระอนาคาละเอียด กามราคะพยาบาทอย่างละเอียดหมด หลุดไปหมด ยังไปติดรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ยังไปไม่ได้ ให้พ้นกายพระอนาคา-อนาคาละเอียดไปเสีย ให้เข้าถึงกาย พระอรหัต-พระอรหัตละเอียดนั่นแหละ พ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เรียกว่าเข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรมแล้ว พ้นจากไตรวัฏฏสงสารแล้ว มีนิพพานเป็นที่ไปใน เบื้องหน้า นี้พระพุทธเจ้าประสงค์อย่างนี้ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา เมื่อพระพุทธเจ้า มีพระชนม์อยู่ก็ประสงค์แง่นี้ แม้พระพุทธเจ้ารุ่นหลังจะมาอีกเท่าไร ก็ประสงค์อย่างนี้ แบบเดียวกัน เมื่อรู้จักเช่นนี้แล้วเราก็อุตส่าห์พยายามทำให้เข้าถึงธรรมเหล่านี้ให้ได้ เมื่อ เข้าถึงธรรมเหล่านี้แล้ว เราจะได้พ้นทุกข์ออกจากไตรวัฏฏสงสาร มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    ที่ได้ชี้แจงแสดงมา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ ที่พึ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุก ถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยม ความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    เขมาเขมสรณาคมน์
    [13]
    3 กุมภาพันธ์ 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ
    อารามรุกฺขเจตฺยานิ
    เนตํ โข สรณํ เขมํ
    เนตํ สรณมาคมฺม
    โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ
    จตฺตาริ อริยสจฺจานิ
    ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ
    อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ
    เอตํ โข สรณํ เขมํ
    เอตํ สรณมาคมฺม ปพฺพตานิ วนานิ จ
    มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
    เนตํ สรณมุตฺตมํ
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
    สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
    สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
    ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
    ทุกฺขูปสมคามินํ
    เอตํ สรณมุตฺตมํ
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.


    เสร็จกิจ 16 ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ 16 ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ 4, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ 4 เป็น 8, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม 4 เป็น 12, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก 4 มันก็เป็น 16 นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง 2 สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้

    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า มนุษย์เป็นอันมาก อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่ เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่ เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง 4 ตามปัญญาอันชอบ ทุกฺขํ คือทุกข์ ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ 8 ไปจากข้าศึก ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์ เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้ นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา

    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป ปริยัติเทศนาว่า มนุษย์เป็นอันมาก ไม่ใช่น้อย หมดทั้งสากลโลก ชมพูทวีป แสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล นิพพานถอดกาย มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น มีมากน้อยเท่าใด มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน ภยตชฺชิตา อันภัยคุกคามเข้าแล้ว เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น แล้วทำไง บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้ พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน กลัวพระยามารมัน อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์ บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่ เจริญพาสน์นั่นแน่ ต้นมะขามใหญ่ นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว ต้องไหว้ กลัว กลัวใครละ กลัวฤทธิ์พระยามาร มันมีฤทธิ์มีเดช มันสิงมันทรงได้ มันบอกไหว้นบเคารพเสีย มันให้ความสุขความเจริญ ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้ ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว ก็ต้องไหว้ กลัวต้องภัยได้ทุกข์ ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น ที่พึ่งทีเดียว

    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้ เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก พลาดไปเรื่องนี้ เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน ในประเทศไทยนี่ อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว เพราะเหตุอะไร ? เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ อยู่ในตัวทุกคน กายเป็นชั้นๆ เข้าไป กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่ กายธรรม-กายธรรมละเอียด กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ ถ้าตัวจริงละก้อ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้ โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง 3 นั้นว่าเป็นที่พึ่ง

    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง 4 เห็นอริยสัจทั้ง 4 ตามปัญญาอันชอบที่ถูก ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง 4 อริยสัจธรรมทั้ง 4 เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เราไม่เดียงสาทีเดียว ไม่เดียงสาอย่างไร ? ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ? ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ 8 ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ นี้เป็นตัวสำคัญนัก วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะแสดงทางปริยัติก่อน แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที

    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง 4 เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง 4 รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง 4 นี้ ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง 4 เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้ เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ เป็นไม่ได้ทีเดียว นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว สัจธรรมทั้ง 4 นะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ

    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็ ในสัจธรรม 4 นี่น่ะคือใคร ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน

    • พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง 4 น่ะ เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? ไม่ใช่
    • หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ? ไม่ใช่ ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ? กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    • เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ? ไม่ใช่ ไม่เห็น เช่นนั้น เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ? เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ? ไม่ใช่
    • เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ 7 ที่ 8 กระนั้นหรือ ? ไม่ใช่ เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ มันยังติดภพอยู่
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล อนาคามิมรรคผล อรหัตมรรคผลไม่ เห็นด้วยตากายธรรม รู้ด้วยญาณของกายธรรม ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ ญาณไม่มี กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว

    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ? ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด แล้วมีญาณของกายธรรม ญาณน่ะเป็นอย่างไร ? ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด ก็แบบเดียวกัน หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้ ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้าดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง กลมรอบตัว ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น 2 วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา กลมรอบตัว ขยายอย่างนั้น ถ้าหน้าตัก 4 วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 4 วา กลมรอบตัว แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง 5 วา หย่อน 5 วาเล็กน้อย ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม 5 วา ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า 5 วา หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน ดวงญาณก็โตเท่านั้น ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติ ธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย หยุดนิ่ง เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา 8 ศอก กลมเป็นวงเวียน เป็นกงจักร กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้ มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้ แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน ขยายส่วน เห็นใส เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป ขยายส่วนออกไป 2 วา กลมรอบตัว แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น หนาคืบหนึ่ง ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว รองนั่งของธรรมกาย ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ ชอบเนื้อชอบใจ วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป ตรวจตราไปถี่ถ้วน เป็นของที่ไม่มีที่ติ ปลื้มอกปลื้มใจ ดีอกดีใจ มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ เต็มส่วนของปีติ มีความสุข นิ่งอยู่กลางฌานนั่น สุขในฌาน อะไรจะไปสู้ ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้ สุขในฌานนะ สุขนักหนาทีเดียว เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น ไม่มีคู่สองเลย จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี ต่างคนต่างมา ต่างคนต่างไป ต่างคนต่างตาย ต่างคนต่างเกิด เป็นจริงอย่างนี้ ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร ไม่ยึดถือทีดียว เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้ หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้ เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้ เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้ เห็นดิ่งลงไปทีเดียว เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่ ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่ ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย นิ่งพอถูกส่วนเข้า ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน ปฐมฌานเหมือนกัน ทุติยฌานเหมือนกัน พอเข้าฌานที่ 2 ได้แล้ว ก็นึกว่าฌานที่ 2 มันใกล้ฌานที่ 1 มันเสื่อมง่าย ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก ทุติยฌานก็จางไป ตติยฌานมาแทนที่ นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น ถูกส่วนเข้า เมื่อนึกถึงฌาน ตติยฌานก็จางไป จตุตถฌานเข้ามาแทนที่ ยังไม่พอแค่นั้น นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี ว่าละเอียดกว่านี้มี จตุตถฌานก็จางไป อากาสานัญจายตนฌาน กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน ดวงเท่ากัน ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้ คล่องแคล่วว่องไวดี แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่ ดวงก็เท่ากัน นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า วิญญาณัญจายตนฌานจางไป อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไปเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้ นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม

    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ 8 นั้น จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น มาถึงอากาสานัญจายตนะ ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน เข้าไปดังนี้อีก นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ อนุโลมเข้าไปอีก ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ไปอีก ถอยจากที่ 8 มาถึง ที่ 7 ที่ 6 ที่ 5 ที่ 4 ที่ 3 ที่ 2 ที่ 1 มาถึงอีก นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้ พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ เห็นทุกข์ละนะ นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก เขาเรียกว่า โลกายตนะ อ้อ! มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่ อายตนะของโลกเขาดูดนะ ก็เห็นอายตนะทีเดียว มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง เราเคยค้นพบ เรารู้จักแล้ว อายตนะของมนุษย์ รู้จักกันทั่วแหละ อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่ ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด อายตนะอยู่ที่ไหน ? ที่บ่อเกิดของมนุษย์ อายตนะแปลว่าบ่อเกิด บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ? นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว อายตนะของทิพย์ละ มันมีมากด้วยกันนี่ อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง 4 คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้ อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง สังเสทชะ เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน ไม่ใช่เท่านั้น อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้ อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน คล้ายมนุษย์เหมือนกัน อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์ อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์ อายตนะในอบายภูมิทั้ง 4 สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก นรกทั้ง 8 ขุมใหญ่นี้ ขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ 4 ด้านๆ ละ 4 ขุม เป็น 16 ขุม แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง 4 ทิศๆ ละ 10 ขุม เป็น 40 ขุม นรกทั้ง 456 ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ ต้องไปติด ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็ อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง 4 มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ เห็นทีเดียว ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว

    ตัณหาคืออะไรล่ะ ? กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา แยกออกไปเป็น 3 เห็นตัณหาอีก อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง เจ้าถึงต้องมาเกิด เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้ รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ ! อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น ในอบายภูมิทั้ง 4 นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ 6 ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ อ้ายนี่สำคัญนัก

    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว ไปดูถึงรูปพรหม 16 ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ รูปพรหม 16 ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย 8 ดวงนี่เอง เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้ มันสบายเหลือเกิน มันสุขเหลือเกิน ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป มันพิลึกกึกการละ มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง 16 ชั้นนี่

    ฝ่ายอรูปภพทั้ง 4 ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา เข้าใจว่า นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์ ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย 3 ตัวนี่แหละสำคัญนัก ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น กามตัณหาทั้ง 11 ชั้นนี่เห็น ภวตัณหาทั้ง 16 ชั้นนั่นก็เห็น วิภวตัณหาทั้ง 4 ชั้นน่ะ เห็นหมด เห็นปรากฏทีเดียว เอ! นี่จะทำอย่างไร ? ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ ถ้าละไม่ได้ละก้อ หลุดพ้นไปไม่ได้ละ ก็ทุกข์อยู่นี่ ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว แน่นอนในใจของตัวทีเดียว เข้าสมาบัติดูอีก ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูไปดูมา อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่ ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ละอย่างไร ? วิธีจะละ ละอย่างไรนะ ? เออ ! วิธีจะละ ละท่าไหนกันนะ ? เห็นทางทีเดียวว่า อ้อ ! พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย ธรรมกายละเอียดนี้ เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้ เริ่มต้นต้องหยุดเชียว พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว

    หยุดอะไรละ ใจหยุดสิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ หยุดกลางของกลาง กลางของหยุด กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด อนาคา-อนาคาละเอียด ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์ พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม เข้านิพพานไปได้ทีเดียว นี้ไปอย่างนี้ ไปจริงๆ อย่างนี้ ก็ไปได้ เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง 4 แล้ว ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง 4 ไว้ ยังไม่ปล่อยทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ มั่นกับใจดูแล้วดูอีก ทบทวนแล้วทบทวนอีก แน่นอนในใจ พอแน่นอนในใจ เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ 4 เข้าเท่านั้นแหละ ได้บรรลุพระโสดาทันที พอพระโสดาเข้าสมาบัติ นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ 4 เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร ? กิจ 16 ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ 16 ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้ นี่แหละเสร็จกิจ 16 ละ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ 4, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ 4 เป็น 8, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม 4 เป็น 12, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก 4 มันก็เป็น 16 นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหัตแค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง 8 นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ

    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง 8 ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา

    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง 8 ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า เห็นในสัจจธรรมทั้ง 4 ชัดอีก ได้บรรลุ พระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว

    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต

    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด

    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนา เข้าปริยัติก็ไม่ถูก ปฏิบัติก็ไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูก มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก 10 ปี 100 ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้ ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้ เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง 4 นี้

    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง 4 เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง 4 แล้ว สัจจธรรมทั้ง 4 นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้ นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย เป็นไปในทางปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,243
    กระทู้เรื่องเด่น:
    998
    ค่าพลัง:
    +70,040
    มหาสติปัฏฐานสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg

    10 ตุลาคม 2497



    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)
    กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโทสํ วา จิตฺตํ วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ. อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ. สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ. อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนฺสส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ยาวเทว ญาณมตฺตาย ปติสฺสติมตฺตาย อนิสฺสิโต จ วิหรติ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ. เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรตีติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่แสดงไปแล้วนั้น โดยอุเทศวาร ปฏินิเทศวาร แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นอุเทศวารนั้น ตามวาระพระบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย. แค่นี้ จบอุเทศวารของมหาสติปัฏฐานสูตร แปลภาษาบาลีว่า เอกายโน อยํ ภิกฺขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อยํ มคฺโค อันว่า หนทางนี้ เอกายโน เป็นเอก เอกายโน อยํ มคฺโค หนทางนี้เป็นหนทางเอก ไม่มีสองแพร่ง เป็นหนทางเดียวแท้ๆ หนทางหนึ่งแท้ๆ เอกน่ะ คือหนึ่ง เอโก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ เหล่านี้ เอโก เขาแปลว่า หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป สตฺตานํ วิสุทฺธิยา เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก ความแห้งใจ ความปริเทวะ ความพิไรรำพันเพ้อ ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย เพื่ออัสดงคตหมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส ญายสฺส อธิคมาย เพื่อบรรลุซึ่งธรรมที่ควรรู้ นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน นี่แสดงดังนี้เพียงเท่านี้ เรียกว่า อุเทศวาร จักได้แสดงเป็นปฏินิเทศวารสืบต่อไป

    กตเม จตฺตาโร 4 อย่างอะไรบ้าง ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา นี้คือ สติปัฏฐาน 4 กตเม จตฺตาโร สติปฏฺฐานา สติปัฏฐาน 4 คืออะไรบ้างล่ะ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. 4 อย่างนี้ เรียกว่าปฏินิเทศวาร อุเทศวารแสดงแล้ว อีก 2 นี้เป็นปฏินิเทศวาร อุเทศน่ะแสดงออกเป็นหนึ่งทีเดียว ปฏินิเทศนั้นแสดงหนึ่งออกไปเป็น 4 กาย เวทนา จิตธรรม แปลภาษาบาลีว่าอิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ นั้นเป็นไฉนเล่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อ้ายนี้ต้องคอยจำนะ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ ถ้าเห็นเข้าแล้ว ทำให้ อาตาปี เพียรเทียว เพียรให้เห็นอยู่เสมอนั้นไม่เผลอทีเดียว สมฺปชาโน รู้รอบคอบอยู่ เพียรแล้วก็รู้รอบคอบ สติมา มีสติด้วยไม่เผลอ รู้รอบคอบไม่เผลอ วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ คอยกำจัดความเพ่งเฉพาะอยากได้และโทมนัสเสียใจที่ไม่ได้สมบัติ นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย อย่าเพ่งเฉพาะเสียใจ เพราะอยากได้แล้วไม่สมหวัง มันจะทำกายในกายให้เป็นที่เสื่อมไปเสีย อภิชฌา สำคัญนัก เพ่งเฉพาะอยากได้ เมื่อไม่ได้ มันก็เสียใจเพราะไม่สมหวัง ไอ้ดีใจเสียใจนี่แหละอย่าให้เล็ดลอดเข้าไปได้ทีเดียว เมื่อเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่แล้วก็ อาตาปี มีความเพียรเร่งเร้าทีเดียว มีความรู้รอบคอบ ประกอบด้วยสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ นำอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสียได้ นี่ข้อต้น ข้อที่ 2 คือ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีความรู้รอบคอบ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน นำอภิชฌา โทมนัสในโลกออกเสีย ไม่ให้ลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่ส่วนเวทนา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติไม่พลั้งเผลอ นำอภิชฌาในโลกนี้ออกเสียได้ อย่าให้ความยินดียินร้ายมันลอดเล็ดเข้าไปได้ นี่เป็นข้อ 3 ข้อที่ 4 ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. เห็นธรรมในธรรมเนืองๆ อยู่ เมื่อเห็นแล้วให้มีความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้ 4 ข้อนี้แหละเรียกว่า ปฏินิเทศวาร กาย เวทนา จิต ธรรม เห็นกายในกายอยู่ เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ เห็นจิตในจิตอยู่ เห็นธรรมในธรรมอยู่ นี่ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสอนต่อไปเป็นลำดับ

    เห็นกายในกาย นี่เห็นอย่างไร เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ เห็นชัดๆ อย่างนั้นนะ เห็นกายในกายก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดเท่ากายมนุษย์นี้แหละ นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป ทำหน้าที่ไป ผู้เห็นกายในกายก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นเอง เห็นเวทนาในเวทนาล่ะ มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกัน เห็น นี่ ไม่ได้พูดรู้นี่ เวทนาในเวทนานั่นเป็นอย่างไรล่ะ สุข กายนั้นเป็นสุข ก็เห็นเป็นสุข กายนั้นเป็นทุกข์ ก็กายละเอียดนั่นแหละ ที่เห็นกายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์ เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เห็นว่าไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ อย่างนี้ เห็นจิตในจิต ล่ะ ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ ไม่ใช่เห็นง่ายๆ นี่ จิตเป็นดวงนี่ เท่าดวงตาดำข้างนอกนี่แหละ เท่าดวงตาดำของตัวทุกคนๆ นั่นแหละดวงจิต เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ เป็นประธาน เห็นกายในกายชัดๆ ก็เห็นกายละเอียดนั่น

    เห็นเวทนาในเวทนา เห็นกายแล้วก็เห็นเวทนา เวทนาเพราะใจกำหนดอยู่ที่จะดูกาย เห็นกายน่ะ ต้องกำหนดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ เมื่ออยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละก้อ นั่นแหละ ตาเห็นกาย ก็เห็นอยู่ในกลางกายมนุษย์นั่นแหละ เห็นเวทนาล่ะ เป็นอย่างไรล่ะ เห็นสุขเป็นดวงกลมใสอยู่ในกลางกายมนุษย์ละเอียดนั่น เห็นสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ เห็นชัดๆ เป็นดวงอยู่กลางกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เวทนาของกายมนุษย์นี้เป็นเวทนานอก เวทนาของกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นเวทนาของกายมนุษย์ละเอียดข้างใน นั่นแหละเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต ล่ะ ดวงจิต ก็เห็นดวงจิตของกายละเอียดนั่น เห็นดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นดวงจิต มั่นอยู่ในกลางดวงจิตนี่แหละ อยู่ในกลางดวงจิตมนุษย์หยาบนี่แหละ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดมันก็ไปเห็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียดนั่น นี่เห็นจิตในจิต

    เห็นธรรมในธรรม ล่ะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ มันมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั่น พอไปเห็นกายละเอียด มันก็เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ เป็นธรรมข้างใน ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบ นี่เป็นดวงธรรมข้างนอก เห็นจริงอย่างนี้นะ วัดปากน้ำเขาเห็นกัน จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่เห็นเล่นๆ

    นี่ เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เห็นจริงๆ อย่างนี้ นี่อุเทศวาร แล้วก็เห็นอย่างนี้เรื่อยๆ ขึ้นไป กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม วัดปากน้ำเห็นเข้าไปตั้ง 18 กายนั่นแน่ะ เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ 18 กาย ชัดๆ ทีเดียว ชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ใช่พอดีพอร้ายหละ เห็นชัดใช้ได้ทีเดียว ไม่ชัดแต่ว่าเห็นหละ ถ้าว่าสนใจจริงๆ ก็เห็นจริงๆ เห็นจริงๆ อย่างนี้ เมื่อเห็นจริงๆ เป็นจริงๆ อย่างนี้แล้วละก็ ตำราบอกไว้ตรงๆ อย่างนี้แล้วมันก็ถูกตำรับตำราทีเดียว แล้วจะได้แสดงในกาย เวทนา จิต ธรรม ต่อไปอีก คัมภีร์นิเทศวารต่อไป

    มีคำถามสอดเข้ามาว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหรติ อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ อันนี้แล้ว อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา นี่ปฏินิเทศวาร อรญฺญคโต วา รุกฺขมูลคโต วา สุญฺญาคารคโต วา นิสีทติ ปลฺลงฺกํ อาภุชิตฺวา อุชุ ํ กายํ ปณิธาย ปริมุขํ สตึ อุปฏฺฐเปตฺวา โส สโต ว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ฑีฆํ วา อสฺสสนฺโต ฑีฆํ อสฺสสามีติ ฯเปฯ ฑีฆํ วา ปสฺสสนฺโต ฯเปฯ อสฺสสนฺโต ฯเปฯ รสฺสํ วา ปสฺสสนฺโต รสฺสํปสฺสสามีติ ปชานาติ. นี่เป็นปฏินิเทศวาร กว้างออกไปทีเดียว กว้างนี่แหละที่แสดงไปแล้ว ส่วนกายที่แสดงไปแล้ว ท่านจัดออกเป็น ข้อกำหนด เป็น ปัพพะ คือเรียก อานาปานปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยลมหายใจเข้าออก อิริยาปถปัพพะข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง นอน สัมปชัญญปัพพะ ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบถแห่งอวัยวะ รู้อยู่เสมอ นั่นเรียกว่าสัมปชัญญปัพพะ ปฏิกูลมนสิการปัพพะ ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกายของคนเราแห่งฟัน หนัง เนื้อ ตามบาลีว่า อตฺถิ อิมสฺมึ กาเย เกสา โลมา นขา ทนฺตา ปฏิกูลนั้นไม่น่ารักน่าชมเลย ปฏิกูลแห่งร่างกาย นี้ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขา ที่ไหน ประสมกันแล้วก็เป็นร่างกาย ล้วนแต่เป็นดิน น้ำ ไฟ ลม ไป นี้เป็น ธาตุปัพพะ พอกายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์หยาบแล้วก็เน่ากันทั้งนั้น เป็นปฏิกูลอย่างนี้ ปฏิกูลนั่นเป็นข้อที่ 5 นวสีวถิกปัพพะ ข้อกำหนด ด้วยศพ 9 รูป ตายวันหนึ่ง สองวัน ท้องเขียว น้ำเลือดน้ำหนองไหล เป็นลำดับไปจนกระทั่งเหลือแต่กระดูกนั่น นี้ได้แสดงมาแล้ว

    วันนี้จะแสดง เห็นเวทนาในเวทนา สืบต่อไปว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ. กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ เวทนาสุ เวทนานุปสฺสี วิหรติ. อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ สามิสํ วา สุขํ เวทนํเวทิยมาโน สามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา สุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ สุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ ทุกขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ ทุกฺขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. สามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน สามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. นิรามิสํ วา อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยมาโน นิรามิสํ อทุกฺขมสุขํ เวทนํ เวทิยามีติ ปชานาติ. อันนี้เวทนาไม่ใช่เป็นของฟังง่ายเลย เป็นของฟังยากนัก แต่ว่าท่านแสดงไว้ย่อๆ ว่า สุข เมื่อเราเสวยความสุขอยู่ ก็รู้ชัดว่าเวลานี้เสวยความสุขอยู่ เมื่อเราเสวยความทุกข์อยู่ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์อยู่ เมื่อเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์อยู่ เมื่อเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส เมื่อเสวยสุขที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความสุขที่ปราศจากอามิส เมื่อเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เมื่อสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความทุกข์ที่ปราศจากอามิส เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่ปราศจากอามิส นี้เรียกว่า เวทนา รู้จักเวทนาอย่างนี้ แต่เวทนาที่จะแสดงวันนี้จะแสดง เวทนาในจิต

    คำว่า จิต นะ เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข มิฉะนั้นมันก็บังคับเราใช้มันอยู่ทุกๆ วัน ถ้าเราใช้มันไม่เป็นมันจะกลับมาข่มเหงเอาเราเข้า จิตนั่นเป็นตัวสำคัญ ท่านจึงได้ยืนยันตามวาระพระบาลีว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นั่นเป็นไฉน อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ วีตราคํ วา จิตฺตํ วีตราคํ วา จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากราคะ สโทสํ วา จิตฺตํ สโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโทสะ วีตโทสํ วา จิตฺตํnbsp; วีตโทสํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโทสะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโทสะ สโมหํ วา จิตฺตํ สโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโมหะ วีตโมหํ วา จิตฺตํ วีตโมหํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตปราศจากโมหะ ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโมหะ สงฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ สงฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหดหู่ ก็ทราบชัดว่าจิตหดหู่ วิกฺขิตฺตํ วา จิตฺตํ วิกฺขิตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตฟุ้งซ่าน ก็ทราบชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน มหคฺคตํ วา จิตฺตํ มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตเป็นมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตเป็นมหัคคตะ จิตประกอบด้วยบุญกุศลยิ่งใหญ่ เรียกว่า มหัคคตกุศล กุศลเกิดด้วยรูปฌาน เป็นมหัคคตกุศล อมหคฺคตํ วา จิตฺตํ อมหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ประกอบด้วยมหัคคตะ สอุตฺตรํ วา จิตฺตํ สอุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตยิ่งก็ทราบชัดว่าจิตยิ่ง อนุตฺตรํ วา จิตฺตํ อนุตฺตรํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตตั้งมั่น อสมาหิตํ วา จิตฺตํ อสมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่ตั้งมั่น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น วิมุตฺตํ วา จิตฺตํ วิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตหลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตหลุดพ้น อวิมุตฺตํ วา จิตฺตํ อวิมุตฺตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตไม่หลุดพ้น ก็ทราบชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น อิติ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ ดังนี้ แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ พหิทฺธา วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเนืองๆ อันเป็นภายนอกอยู่ อชฺฌตฺตพหิทฺธา วา จิตฺเต จิตตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิต ในจิตเนืองๆ ทั้งเป็นภายในและภายนอกอยู่ สมุทยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็น ธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นในจิตอยู่ วยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเสื่อมไปในจิตอยู่ สมุทยวยธมฺมานุปสฺสี วา จิตฺตสฺมึ วิหรติ เห็นธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเพียงในจิตอยู่ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าปรากฏว่าจิตมีอยู่ ยาวเทว ญาณมตฺตาย เพียงสักแต่ว่ารู้ ปติสฺสติมตฺตาย เพียงสักแต่ว่าอาศัยระลึก อนิสฺสิโต จ วิหรติ เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิยึดถือไม่ได้ น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ยึดถือมั่นอะไรๆ ในโลก เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ อย่างนี้แหละ ภิกษุเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ นี้เนื้อความของพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษาได้ ความเพียงเท่านี้

    ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่องจิต จิตนั่นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร คำที่เรียกว่า “จิต” นั่น หนึ่งใน 4 ของใจ ดวงวิญญาณเท่าดวงตาดำข้างใน ดวงจิต เท่าดวงตาดำข้างนอก เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็ ดวงจำ ก็โตไปอีกหน่อย อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ ดวงเห็น อยู่ในกลางกาย โตไปอีกหน่อย ดวงเห็นอยู่ข้างนอก มันซ้อนกันอยู่

    ดวงเห็นอยู่ข้างนอก ดวงจำอยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดอยู่ข้างในดวงจำ ดวงรู้อยู่ข้างในดวงคิด

    ดวงรู้ เท่าตาดำข้างใน นั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างใน เขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ

    เท่าดวงตาดำข้างนอกนั้นเขาเรียกว่า ดวงจิต หรือ ดวงคิด

    โตออกไปกว่านั้น โตออกไปกว่าดวงจิต เท่าดวงตานั่นแหละ นั่นเขาเรียกว่า ดวงใจ หรือ ดวงจำ

    โตกว่านั้นอีกหน่อย เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า ดวงเห็น ดวงเห็นนั้นคือ ดวงกายทีเดียว 4 ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ

    ดวงกาย นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลาง อยู่ศูนย์กลางกำเนิดดวงกายนั้น อ้ายดวงใจนั่นแหละเป็นที่ตั้งของจำ ธาตุจำอยู่ศูนย์กลางดวงใจนั่นแหละ อ้ายดวงจิตนั่นแหละเป็นที่ตั้งของคิด ธาตุคิดอยู่ศูนย์กลางจิตนั่นแหละ อ้ายดวงวิญญาณเป็นที่ตั้งของรู้ ธาตุรู้อยู่ศูนย์กลางดวงวิญญาณนั่นแหละ ธาตุเห็น จำ คิด รู้ 4 ประการนั้น ธาตุเห็นเป็นที่ตั้งของเห็น ธาตุจำเป็นที่อยู่ของจำ ธาตุคิดเป็นที่อยู่ของคิด ธาตุรู้เป็นที่อยู่ของรู้ เห็น จำ คิด รู้ 4 ประการ ยกแพลบเดียวโน้นไปนครศรีธรรมราช ไปแล้ว เห็นจำคิดรู้ไปแล้ว ยกไปอย่างนั้นแหละไปได้ ไปได้ ไปเสียลิบเลย ไปเสียไม่บอกใครทีเดียว ไปอยู่เสียที่นครศรีธรรมราชโน้น ถ้าว่าคนเขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช ไปเห็นเอากายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว อ้ายคนนี้ รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนั้น แต่งเนื้อแต่งตัวเป็นอย่างนั้น เราคิดว่าเราส่งใจไปนี่นะ ส่งไปนครศรีธรรมราช อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช เห็นทีเดียว เขามีธรรมกาย อ้ายนี่มายุ่งอยู่ที่นี้แล้ว เราก็ยกเห็น จำ คิด รู้ ไปนี่ ไม่ได้ไปทั้งตัว นั่นแหละกายละเอียดไปแล้ว ไปยุ่งอยู่โน้นแล้ว ดูก็ได้ ลองไปดูก็ได้ พวกมีธรรมกายเขามี เขาเห็นทีเดียว อ้ายนี้มายุ่งอยู่นี่แล้ว จำหน้าจำตาจำตัวได้ เอ! ก็แปลกจริงนะ ไม่ใช่ของพอดีพอร้าย พระพุทธศาสนาเป็นของลึกซึ้งอยู่ แต่ว่าจะส่งใจไปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามเถอะ ไปได้อย่างนี้แหละ 4 อย่างไปได้อย่างนี้ คือ เห็น จำ คิด รู้ มันหยุดเป็นจุดเดียวกัน เป็นกายละเอียด มันแยกกันไม่ได้ แยกไม่ได้เด็ดขาดเชียว เป็นตัวเป็นตัวตายอยู่ เหมือนกายมนุษย์นี่เราจะเอาแยกเป็นหัวใจเสีย จากหัวใจเสีย หัวใจแยกจากดวงจิตเสีย จิตแยกจากดวงวิญญาณเสียไม่ได้ ถ้าแยกไม่เป็นเลย แยกตายหมด ถ้าแยกเวลาใด มนุษย์ก็ตายเวลานั้น ถ้าไม่แยกก็เป็นอย่างนี้ เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่างนี้แยกไม่ได้ แยกก็ตายเหมือนกัน แยกเข้าอ้ายกายละเอียดนั้นตาย แยกหัวใจออกไป ดวงจำ ดวงเห็น ตาย แยกไม่ได้ หากว่ากายทิพย์ก็เหมือนกัน แยกไม่ได้ มันเป็นตัวของมันอยู่อย่างนั้นแหละ เอาแต่ตัว กายมนุษย์ละเอียด มันก็ละเอียดพอแล้ว พอเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด ก็ยิ่งละเอียดไปกว่านั้นอีก ละเอียดพอแล้วหรือ พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรม ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก เข้าถึงกายธรรมละเอียด ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก

    นี่ถ้าว่าทำธรรมกายเป็นละก้อ มันฉลาดกว่ามนุษย์หลายสิบเท่าเชียวนะ นี่พอเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ก็ฉลาดกว่าเท่าหนึ่งแล้ว สูงกว่าเท่าหนึ่งแล้ว เข้าถึงกายทิพย์ก็ 2 เท่าแล้ว กายทิพย์ละเอียดก็ 3 เท่าแล้ว กายรูปพรหม 4 เท่า กายรูปพรหมละเอียด 5 เท่า กายอรูปพรหมหกเท่า กายอรูปพรหมละเอียดเจ็ดเท่า เข้าถึงกายธรรมและกายธรรมละเอียด 8-9 เท่าเข้าไปแล้ว มันมีความฉลาดกว่ากันอย่างนี้นะ ให้รู้จักว่าของสูงของต่ำอย่างนี้ เมื่อรู้จักอย่างนี้แล้วก้อ วันนี้ที่จะแสดง จิต ตำราท่านวางไว้แค่จิต เอาดวงจิตนี้เท่านั้น ดวงเห็นก็ไม่ได้เอามาพูด ดวงจำไม่ได้มาพูด ดวงรู้ไม่ได้มาพูด มาพูดแต่ดวงจิตดวงเดียว ที่เราแปลจิต ถ้าเราเอามาใส่ปนกันกับเรื่องจิตก็ป่นปี้หมด เพราะจิตมีหน้าที่คิดอย่างเดียวเท่านั้นแหละ ดวงรู้ก็มีหน้าที่รู้อย่างเดียว ไม่มีหน้าที่คิด ดวงจิตก็มีหน้าที่คิดอย่างเดียว ดวงจำก็มีหน้าที่จำอย่างเดียว ดวงเห็นก็มีหน้าที่เห็นอย่างเดียว จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้ แต่ว่า ถ้าไม่รู้หลักความจริงแน่นอนอย่างนี้ละก็ ท่านก็แปลเอาดวงจิตไปรวมเข้ากับรู้เสียว่า รู้ก็คือจิตนั่นแหละ วิจิตฺตารมฺมณํ ดวงจิตวิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์ นี่วิจิตรด้วยอารมณ์ต่างๆ อย่างนี้ ดวงจิตนั่นอีกนัยหนึ่ง อารมฺมณํ วิชานาตีติ จิตฺตํ จิตรู้ซึ่งอารมณ์ จิตรู้เสียอีกแล้ว เอาละซี เอาวิญญาณไปไว้ที่ไหนแล้ว ไม่พูดดวงวิญญาณเสียอีกแล้ว พูดเป็นรู้เสียแล้ว

    เพราะฉะนั้น คำว่า จิต นี่แหละ เป็นดวงใสเท่าดวงตาดำข้างนอก ใสเกินใส ปกติมโน ใจเป็นปกติ คือ ภวังคจิต จิตที่เป็นภวังคจิตน่ะ ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใส ใสเหมือนยังกับน้ำที่ใสนะ จิตที่ใสนั่นแหละ เมื่อระคนด้วยราคะเหมือนยังกับน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว มันก็ปนเป็นนะซี นี่เป็นอย่างนั้นนา เมื่อจิตระคนด้วยราคะเหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว จิตระคนด้วยโทสะเล่า เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปน น้ำเขียวเข้าไปปนระคนเสียแล้ว จิตระคนด้วยโมหะเหมือนน้ำตมเข้าไประคนเสียแล้ว ไอ้จิตใสนะมันก็ลางไป ก็รู้นะซี

    สราคํ วา จิตฺตํ สราคํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตระคนด้วยราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยราคะ จิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ ก็ทราบชัดว่าจิตไม่มีราคะ ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ จิตหดหู่ที่ใสน่ะ หดหู่ไป ผู้สร้างพอรู้ว่าผู้สร้างเป็นอติวิสัย ไม่คงที่เสียแล้ว ผู้สร้างก็รู้ว่าผู้สร้าง จิตประกอบด้วยกุศลที่ระคนด้วยญาณ เป็นมหัคคตจิต จิตไม่ประกอบด้วยกุศลก็เห็น จิตประกอบด้วยกุศลก็เห็นชัดๆ ดังนี้ สมาหิตํ วา จิตฺตํ สมาหิตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ จิตตั้งมั่นใสมั่นดิ่งลงไปก็เห็นชัดๆ ดังนี้ รู้ชัดๆ อย่างนี้ จิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ว่าจิตไม่ตั้งมั่น จิตพ้น ใสพ้นจากเครื่องกิเลส ก็รู้ว่าพ้น ไม่พ้นก็รู้ว่าไม่พ้น เห็นชัดๆ อย่างนี้ เมื่อเห็น ชัดเข้าดังนี้ละก็ อชฺฌตฺตํ วา จิตฺเต จิตฺตานุปสฺสี วิหรติ เห็นจิตในจิตเป็นภายในเนืองๆ อยู่ภายในน่ะคือจิตกายละเอียดเห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิตเป็นภายนอกนี้ จิตของกายมนุษย์ เห็นเนืองๆ ซึ่งจิตในจิต ทั้งภายในภายนอก เห็นเป็นรูปจิต เป็นจิตของกายมนุษย์ละเอียด เห็นทั้ง 2 ทีเดียว เห็นทั้งภายในและภายนอก เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความเสื่อมไป ความเกิดขึ้นของจิต เห็นเนืองๆ เป็นธรรมดาคือความดับไปของจิต คือความดับไปในจิต เมื่อเห็นเนืองๆ เป็นธรรมดา ทั้งเกิดขึ้นทั้งความดับไป เมื่อเห็นชัดดังนี้ละก็ อตฺถิ จิตฺตนฺติ วา ปนสฺส สติ ปจฺจุปฏฺฐิตา โหติ ก็หรือสติของเธอเข้าไปปรากฏว่าจิตมีอยู่ เห็นจิตแล้ว เมื่อจิตมีสติของเธอ ปรากฏว่าจิตมีอยู่ เพียงสักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าอาศัยความระลึก อันตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัยไม่ได้เลย น จ กิญฺจิ โลเก อุปาทิยติ ไม่ถือมั่นอะไรเลยในโลก รู้ว่าปล่อยวางแล้ว ไม่ถือมั่น ไม่ติด ไม่แตะ ไม่อะไรแล้ว ให้รู้ชัดๆ เห็นชัดๆ อย่างนี้ อย่างนี้แหละเรียกว่าภิกษุทั้งหลาย เห็นในจิต เนืองๆ อยู่ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เพราะได้ยินเสียงระฆังหง่างๆ อยู่แล้ว เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อธิบายอ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดี จงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพได้ชี้แจงแสดงมาตามสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...