สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    สมาธิแก้โรคภัยไข้เจ็บ

    สมาธิยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้อีก อันนี้อาตมาจะแถมหน่อยว่า สมาธิจิตไม่ใช่แต่เพียงช่วยข่มเวทนานะ ยิ่งถ้าเมื่อเจริญสมาธิถึงขั้นเป็นวิชชา คือความสามารถพิเศษด้วยแล้ว ยังช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บได้มากตามส่วน

    เพราะว่า กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของขันธ์ ๕, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘ ฯลฯ ซึ่งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆกันเข้าไปข้างใน ส่วนนอกที่สุดเป็นธาตุละเอียดของรูปขันธ์ที่ขยายส่วนหยาบเป็นดวงกายแล้วเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นรูปกาย กลางธาตุละเอียดของรูปขันธ์เป็นนามขันธ์ ๔ ขยายส่วนหยาบออกมาเป็นเห็น-จำ-คิด-รู้-คือ"ใจ"ของเรา

    เฉพาะธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นดวงกาย ขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ ดวงนั้นแหละประกอบด้วยธาตุละเอียดของธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม และอากาศธาตุ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมส่วนที่เป็นของเหลว ส่วนที่หยาบแข็ง อุณหภูมิ ลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกายและช่องว่างภายในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ แล้วเจริญเติบโตขึ้นเป็นรูปกาย

    เมื่อฝ่ายนามขันธ์ ๔ คือ"ใจ" ออกไปนอกตัว ไปยึดไปเกาะอารมณ์ หรือรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกาย ณ ภายนอก ถ้าเป็นอนิฏฐาอารมณ์ คือไม่ชอบใจ ก็จะเกิดกิเลสนิวรณ์ประเภทโทสะ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของกิเลสนั้น เช่น ประทุษร้ายหรือเข่นฆ่าเขา กรรมชั่วจากปาณาติบาต คือการประทุษร้ายร่างกายหรือชีวิตของผู้อื่นด้วยกิเลสคือโทสะนั้น จะปรากฏที่ใจ และประทับอยู่ที่ธาตุละเอียดซึ่งตั้งอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม

    ธาตุละเอียดนั้นแหละ กลายเป็นสภาพธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ด้วยอำนาจกรรม และกิเลสนั้นปรุงแต่งออกมาเป็นผลกรรม รอที่จะให้ผลแก่บุคคลหรือสัตว์ที่กระทำความชั่วแต่ละอย่างๆ รอที่จะให้ผลเชียวแหละ

    อย่างเรื่องการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต การเบียดเบียนสัตว์ ต่อไปจะได้รับผลเป็นคนขี้โรคอ่อนแอ หรืออายุสั้น เช่น การประสบอุบัติเหตุ ในกรณีที่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตสัตว์ใหญ่ หรือผู้ที่มีคุณมาก อย่างนี้เป็นต้น กรรมนี้จะให้ผลปรากฏเป็นความเจ็บไข้ได้ป่วย หรือมีอายุสั้น

    ทีนี้ ถ้าใจเรามาฝึกให้หยุดให้นิ่งบ่อยๆ ใจก็สะอาดบ่อยๆด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญาอันเห็นชอบ เมื่อใจใสสะอาดบ่อยๆเข้า ธาตุธรรมนั้นก็พลอยกลับสะอาด เมื่อธาตุธรรมนั้นสะอาดด้วยกรรมดี ก็จะมีผลช่วยผ่อนคลาย หรือบรรเทาผลกรรมที่หนักให้เป็นเบา จากที่เบาก็หายไปเลย

    เหตุนี้ #ที่วัดปากน้ำ #สมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จึงแก้โรคด้วยวิชชาธรรมกายแต่มาถึงสมัยลูกศิษย์คนนี้ ไม่เก่งเหมือนหลวงพ่อ จึงบอกญาติโยมว่า จงช่วยตัวเองด้วยการทำสมาธิ ให้เอาใจไปหยุดไว้ตรงนั้นเสมอ จะช่วยแก้ปัญหา และช่วยแม้แก้โรคในตัวเราเองด้วยตัวของเราเองได้มากที่สุด คือปฏิบัติภาวนาเพื่อช่วยชำระธาตุธรรมที่สุดละเอียดบ่อยๆเสมอๆเข้า จะช่วยได้มาก จากหนักเป็นเบา จากเบาก็หายไปเลย

    นี้คือคุณค่าของสมาธิ ที่เอาใจไปตั้งไว้ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมไว้เสมอ.

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    "ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ"
    "ธรรมะปฏิบัติเบื้องต้น"
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
    ขอบคุณภาพประกอบธรรมะ.
    _______________
     
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    - ความแตกต่างของการเห็นนิมิตในตัว
    และการเห็นนิมิตนอกตัว.

    เห็นนิมิตนอกตัวกับเห็นนิมิตในตัวแตกต่างกันมาก สำหรับผลการปฏิบัติ ยกตัวอย่างให้ฟัง หลวงปู่มั่นท่านนั่งเห็นนิมิตเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ใสแจ่มในเบื้องต้น ท่านเห็นอยู่ข้างนอก ที่นี้ ท่านก็ตามนิมิตไปเรื่อย จะเห็นอดีตก็ได้ เห็นอนาคตก็ได้ บางทีก็แม่น บางทีก็ถูก บางทีก็ผิด ถูกค่อนข้างมากเหมือนกัน ไปๆก็เห็นอดีตของตนเองก็ได้

    หลวงพ่อบอกว่า เอ! เห็นอย่างนี้อยู่ตั้ง 3-4 เดือน ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเรื่องอะไรกันนี่ สรุปแล้ว หลวงพ่อก็ทราบว่านิมิตนอกตัวถูกหลอกได้โดยง่าย และมิได้เป็นไปเพื่อสติปัฏฐาน 4 หลวงพ่อหรือหลวงปู่มั่นจึงเพ่งนิมิตเข้าไปในตัวท่าน เรียกว่า"#ดวงพุทโธ" จะขอยกตัวอย่างให้ฟัง ท่านก็สอนศิษย์ยานุศิษย์ ถ้าเห็นนิมิตนอกตัวให้พิจารณาว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่าไปตามนิมิตนั้น ตามไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีการกำจัดกิเลสสักที แต่นิมิตในตัว (ได้เห็นในประวัติของท่าน ซึ่งหลายท่านคงได้อ่านประวัติแล้ว) ท่านเรียกว่า"ดวงพุทโธ" มีชาวป่าชาวเขาที่ท่านได้เคยไปพักห่างจากหมู่บ้านพอประมาณ ท่านเดินจงกรม ดูดวงใส มีชาวป่าชาวเขาสังเกต เอ! ท่านดูอะไรหนอ เลยมาถามท่าน "ตุ๊เจ้า ดูอันหยัง เดินหาอันหยัง" ท่านบอกว่า "#เดินหาดวงพุทโธ" ชาวเขาถามท่านว่า ตัวเขาอยากจะช่วยตุ๊เจ้าหาบ้างได้ไหม? ท่านบอกว่า "ได้สิ หาเถิด ดวงพุทโธนี้พระพุทธเจ้าประทานมาให้ แต่บางทีมันก็หาย ต้องเดินหา"

    อุบายของท่านลึก แต่ว่าหาได้นะ หาได้ก็เป็นของตัวเอง คนป่าคนเขาก็หา ลองทำดูว่าทำอย่างไร ท่านก็ว่าพุทโธ สอนไป พวกเจ้าเหล่านั้นไปเดินก็หาพบจริงๆ บางคนพบแล้วถึงธรรมกาย ในประวัติหลวงพ่อบอกว่า เจ้านี่ถึงธรรมกาย ท่านเล่าอยู่ในประวัติของท่าน

    ที่กล่าวนี้ เป็นเรื่องย่อ แม้ที่ปฏิบัติพุทโธเขาก็เอานิมิตเข้าใน พิจารณาภายใน ไม่ได้เอาไว้ข้างนอก เหตุเพราะอะไร? เพราะข้างนอกเป็นนิมิตหลอก เป็นกสิณ เป็นปฏิภาคนิมิต ติดปฏิภาคนิมิตบางครั้งก็จริงบ้างเพี้ยนบ้าง เพราะเห็น-จำ-คิด-รู้-ไม่ได้ซ้อนกัน ฝรั่งเขาเรียกโฟกัสซ้อนกัน เหมือนเราปรับกล้องถ่ายรูป เหมือนแว่นแก้ว หรือแว่นสายตา จะปรับโฟกัสหรือจุดรวมแสง คล้ายกันอย่างนั้น ไม่ได้มีโอกาสปรับอย่างนั้น เพราะไม่ได้หยุด ณ ภายใน ไม่ได้หยุด ณ ที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ18, ซึ่งเขาตั้งอยู่กลางของกลางกันและกันตามลำดับตรงกำเนิดธาตุธรรมเดิม แตกต่างกันอย่างนี้ จึงไม่มีสภาวะจะไปพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม กิเลสก็ไม่หมด

    และการเห็นนิมิตภายนอก ด้วยความเห็น(ด้วยใจ) ความจำ ความคิด ความรู้ บางครั้งก็เที่ยง บางครั้งก็เล่ห์ คือไม่ตรงตามที่เป็นจริง เพราะถูกภาคมารเขาสอดละเอียดให้เห็นนิมิตหลอกได้ง่าย

    เพราะฉะนั้น ให้ไปถามบูรพาจารย์ของเราที่ดีๆ ประเสริฐๆ ท่านต่างเพ่งไปข้างในหมดทั้งนั้น จึงจะถึงนิพพาน เพราะที่นั่น จะสามารถพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายในแบบเบื้องต้น คือเอาปัจจัยในตัวเรา กายมนุษย์นี้แหละ เป็นปัจจัยในการน้อมนำกาย เวทนา จิต ธรรม ของคนอื่น มาเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องพิจารณา ณ ภายนอก

    แต่ถ้าทำละเอียดไปๆ ก็เหมือนอย่างวิธีปฏิบัติของเรา กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆเข้าไป ณ ภายใน

    แต่การจะเข้าถึงกาย เวทนา จิต ธรรม ณ ภายใน ต้องเหมือนขึ้นบันได ขึ้นบันไดขั้นที่ 1 เมื่อขึ้นไปยืนแล้ว เรายืนบนชั้นที่ 1 แล้วจึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 เอาชั้นที่ 1 เป็นฐานจึงก้าวขึ้นชั้นที่ 2 ยืนอยู่บนชั้นที่ 2 เรียบร้อยมั่นคงแล้ว เอาชั้นที่ 2 เป็นฐานก้าวขึ้นสู่ชั้นที่ 3 ชั้นที่ 4 ตามลำดับดังนี้

    ใจก็เหมือนกัน ที่จะสามารถบริสุทธิ์ ต้องอาศัยฐานที่ตั้ง ฐานในการพิจารณา ฐานในการกำจัดกิเลสเป็นชั้นๆไป กิเลสของเรามีตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียด

    กิเลสหยาบ มีอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หนาเตอะอยู่ในกายมนุษย์หยาบ

    กิเลสละเอียดต่อไป โลภะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายทิพย์

    ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ในใจของกายรูปพรหม นี้ละเอียดไป

    ปฏิฆะ กามราคะ อวิชชา นั่นกิเลสละเอียดค้างอยู่ในใจของกายรูปพรหม

    แต่ว่ากายหยาบลงมา มีกิเลสทั้งหมดที่ละเอียดๆไป ก็กิเลสที่เหลือๆบางๆไปจากกิเลสหยาบไปเป็นกิเลสละเอียด

    อยู่ที่ไหน ?
    อยู่ในธาตุธรรมเห็น-จำ-คิด-รู้ นั่นเอง

    แต่เมื่อสุดละเอียดของกายรูปพรหม อรูปพรหม พ้นจากอรูปภพ นั่นเป็นธาตุธรรมบริสุทธิ์ที่พ้นโลก คือ"#ธรรมกาย" เพราะฉะนั้น #จะเข้าถึงธรรมกาย#เข้าถึงพระนิพพาน ต้องปฏิบัติภาวนาธรรมให้ทั้งรู้ ทั้งเห็น และทั้งเป็น ธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ชำระกิเลสเป็นชั้นๆผ่านกาย เวทนา จิต ธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน ละเอียดไปสุดละเอียดเป็นชั้นๆไป

    การจะไปรู้เห็นอย่างนั้น ใจจะต้องหยุดอยู่ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม จึงไปพิจารณาเห็นอยู่ตรงนั้น คนไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่รู้ เลยเหมาเอาว่าการปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายติดนิมิต แต่เขาไม่รู้เมื่อเอาใจเข้าข้างใน หยุดนิ่งกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมแล้ว เราก็ดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยไปจนสุดละเอียด จะติดนิมิตเดิมที่ไหน คนพูดไม่รู้ พูดตำหนิเขาอย่างง่ายๆ นั่นตัวเองไม่รู้ตัว เพราะไม่รู้ว่านิมิตรเป็นอย่างไร

    #นิมิตนั้นเรากำหนดขึ้นเพื่อรวมใจ เพราะสายตาเนื้อมองไม่เห็นว่า"ใจ"มีรูปร่างอย่างไร เพราะใจไม่มีรูปร่าง แต่ธาตุละเอียดเขามี เห็นได้ด้วยตาใน ตาเนื้อมองเห็นไม่ได้ เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยอุบายวิธีรวมธรรมชาติของใจ 4 อย่าง คือ ความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด และความรู้ ให้มาหยุดข้างใน ก็ต้องให้นึกเห็นนิมิตข้างในไว้ นึกให้เห็นเครื่องหมายหรือนิมิต

    นิมิตแปลได้หลายอย่าง ความฝันก็ได้ สิ่งที่เห็นอย่างอื่นเรียกนิมิตก็ได้ นิมิตนึกให้เห็นเครื่องหมาย หรือนิมิตด้วยใจเรียก"กำหนดบริกรรมนิมิต" เป็นเครื่องหมายที่นึกเห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามาอยู่ในองค์บริกรรมนิมิต เมื่อใจค่อยๆมาหยุดนิ่งแล้ว เห็นสิ่งที่เราเอามาเป็นเครื่องหมายนั้นใส แต่เห็นเดี๋ยวเดียวก็หาย เห็นได้ชั่วคราว เรียก"#อุคคหนิมิต"

    ถ้าว่า"ใจ"แค่นึกเห็นได้ บริกรรมนิมิตคือกำหนดนิมิตได้นั้น เป็นสมาธิอยู่ในระดับ"#ขณิกสมาธิ" คือสมาธินิดหน่อย แต่พอเอาเกศา(ผม)มาเพ่ง คือนึกให้เห็นด้วยใจและบริกรรมภาวนา คือนึกท่องไว้ในใจว่า"เกศาๆๆๆ" จนกระทั่งเห็นเกศาใส เรียกว่าพอสามารถถือเอาอุคคหนิมิตได้ นี้เป็นสมาธิอยู่ในขั้น"#อุปจารสมาธิ" ขั้นตอนนิมิต อันมีผลให้เกิดสมาธิระดับต่างๆ เป็นไปอย่างนี้

    ถ้าจิตนิ่งสนิท เห็นใสแจ่ม ทีนี้ เส้นเกศานิดเดียวจะขยายให้เท่าตึกนี้ก็ได้ ย่อลงมาเล็กนิดเดียวก็ได้ ใสอย่างนี้เรียก"#ปฏิภาคนิมิต" นิมิตติดตา ลืมตาก็เห็น ยืนก็เห็น เดินก็เห็น หลับตาก็เห็น เรียกว่าได้ปฏิภาคนิมิต นี้เป็นสมาธิระดับ"#อัปปนาสมาธิ"

    นิมิตนี้ ตั้งแต่นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจเข้ามา ใจก็ค่อยๆหยุด เครื่องหมายเดิมที่คิดเห็นมาเป็นเห็นใส จากใสก็เห็นติดตา ติดตาติดใจเป็นปฏิภาคนิมิต ลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น นอนหลับไปแล้วตื่นมาก็เห็นอีก ก็อย่างนี้

    เพราะฉะนั้น นิมิตเป็นเครื่องช่วยให้ใจหยุดนิ่งเป็นสมาธิแน่นมั่นคงถึงอัปปนาสมาธิ โดยมีนิมิตหรือเครื่องหมายเป็นสื่อให้รวมใจมาหยุดนิ่ง ณ จุดใดจุดหนึ่ง

    ถ้าเห็นนิมิตอยู่ภายนอกนั้นเป็นปฏิภาคนิมิตล้วนๆ ภายนอกนั้น เห็น-จำ-คิด-รู้คือ"ใจ"มันเล่ห์ได้ เช่นว่า พอใครเห็นนิมิตอยู่ภายนอก จะอธิษฐานเห็นอะไรๆ เดี๋ยวเดียวก็เห็น ใจลำเอียงนิดเดียวก็เห็นตามที่ใจนึกลำเอียงไว้ก่อนได้ เพราะใจหยุดยังไม่จริง ไม่หยุดนิ่งจริง ความปรุงแต่งจึงยังมีได้ บางทีก็มีมากด้วย

    แต่การนึกให้เห็นด้วยใจในครั้งแรก เป็นอุบายวิธีที่กระทำขึ้นเพื่อรวมใจเข้ามา ตั้งแต่บริกรรมนิมิต นึกให้เห็นด้วยใจ อย่างนี้ไม่ผิด ถูกทีเดียว เป็นวิธีให้ได้อุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ให้ได้สมาธิตั้งแต่ระดับขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ แล้วใจหยุดนิ่งสนิทจริงๆ เมื่อได้ปฏิภาคนิมิตก็เป็นสมาธิระดับอัปปนาสมาธิ อันเป็นเบื้องต้นของ"#ปฐมฌาน"...

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    ธรรมปฏิบัติเบื้องต้น
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    การมองย้อนไปในอดีตชาติเป็นอย่างไร ?


    การมองย้อนไปในอดีตชาติเป็นอย่างไร ?

    ------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ก็รวมใจของท่านไว้ที่กลางของกลางดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบ รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด เพื่อทำใจของท่านให้เป็นกลาง สังเกตช่องว่างที่กลางจุดเล็กใสนั้น ก็จะเห็นสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น ก็อธิษฐานให้เห็นชีวิตในอดีตของท่านเอง ย้อนหลังไปสัก 10 ปี หยุดนิ่งที่กลางของกลางจนกระทั่งใจของท่านสงบเต็มที่ จุดศูนย์กลางนั้นก็จะขยายตัว ว่างออก ก็จะเห็นอัตตภาพของเองเมื่อ 10 ปีที่แล้ว รวมใจของท่านหยุดนิ่งเข้าไปที่กลางของกลางศูนย์กลางกายนั้น นึกอธิษฐานย้อนเข้าไปเห็นอัตตภาพในอดีต จนกระทั่งเห็นอัตภาพของท่านเอง ถึงขณะที่แรกเกิด ท่านสามารถพิจารณาย้อนเข้าไปอีกจนถึงเมื่อท่านอยู่ในมดลูกของมารดา เข้าไปที่ศูนย์กลางของทารกนั้น นึกให้เห็นอดีตชาติก่อนชาตินี้ เมื่อเห็นแล้วให้สังเกตว่าท่านเป็นใคร อยู่ที่ไหน เป็นชาติๆ ไปในอดีต จนถึงนับชาติไม่ถ้วนได้

    เมื่อใดท่านเห็นอดีตชาติเหล่านี้ ท่านจงพิจารณาขันธ์ 5 ทั้งหมด รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเหล่านี้ว่าล้วนตกอยู่ภายใต้สามัญญลักษณะ ได้แก่ความเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยง ต้อง เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย ได้แก่ การทำดี (เกิดจากบุญกุศล) หรือการทำชั่ว (เกิดจากกิเลส หรือตัณหา) นี้เป็นเหตุให้บุคคลไปเกิดในโลกที่มีความสุข หรือความทุกข์ตามกรรม ผู้ใดยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านี้ ด้วยตัณหาและอุปาทานแล้วประกอบกรรมชั่ว กล่าวคือ พูดชั่ว ทำชั่ว คิดชั่ว ก็จะไปเกิดในโลกที่มีความทุกข์ ในขณะที่ผู้มีชีวิตเป็นบุญกุศล กระทำแต่คุณความดี กรรมดีก็จะส่งผลให้ได้รับความสุขความเจริญในชีวิต กรรมอาจให้ผลเป็นความทุกข์และความสุข แม้ในชาติปัจจุบันและต่อๆ ไปถึงสัมปรายภพคือภพหน้า สุดท้ายท่านก็จะตระหนักว่า แต่ละชาติที่ท่านได้พิจารณาเห็นแล้วนั้น แม้ชีวิตในภพชาติปัจจุบัน แท้จริงล้วนเป็นทุกข์และเป็นอนัตตาทั้งสิ้น และไม่มีอะไรคงที่ให้สามารถยึดถือได้ตลอดไปเลย

    เมื่อพิจารณาไตรลักษณ์คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของทุกสิ่งแล้ว จึงอธิษฐานกลับมาสู่ปัจจุบัน แล้วชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ โดยจรดใจนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางของกลางกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียดต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ซึ่งขณะนี้ใสสว่างและบริสุทธิ์กว่าเดิม จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายที่ใสบริสุทธิ์ที่สุด นี้จะเป็นผลให้เบื่อหน่ายคลายถอนจากความยึดถือจากขันธ์ 5 ทั้งหมด แล้วท่านจะมีใจเป็นกลาง เป็นอิสระพ้นจากอารมณ์สุข-ทุกข์อย่างชาวโลก เป็นใจที่สงบสันติสุขอย่างมาก

    ธรรมกายที่ละเอียดบริสุทธิ์ที่สุดจะไปปรากฏในนิพพาน เป็นที่ซึ่งธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพ ที่ขันธ์ 5 ดับไปแล้วสถิตอยู่ ท่านจะเห็นธรรมกายที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ แวดล้อมด้วยธรรมกายที่บรรลุ พระอรหัตตผลแล้วของพระอรหันต์สาวกที่ประทับอยู่บนองค์ฌาน เวียนรอบ ห่างกันชั่วกึ่งองค์ฌาน นับไม่ถ้วน ไม่ใช่แต่เท่านี้ ท่านยังจะเห็นพระพุทธเจ้าในอดีต ทั้งที่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ที่แวดล้อมด้วยพระอรหันต์สาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ พระองค์เดียวโดดๆ (ไม่มีพระอรหันต์สาวก) อีกนับไม่ถ้วน
     
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
     
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    48421354_2090589187684976_5072115849817489408_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    - เหตุที่ให้เพ่งพิจารณาดูดวงแก้วจนจำติดตา
    ในสายวิชชาธรรมกาย เพราะเหตุใด ???

    การแนะนำให้เพ่งพิจารณาดูลูกแก้วให้จำได้ แล้วให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย และให้ตรึกนึกถึงดวงที่ใส ให้ใจอยู่ในกลางดวงที่ใส และให้บริกรรมภาวนา (นึกท่องในใจ) ว่า"สัมมาอะระหังๆๆๆ" เรื่อยไป จนกว่าใจจะหยุดนิ่งเป็นสมาธิแน่วแน่มั่นคงตรงศูนย์กลางกายนั้น เป็นอุบายวิธีสงบใจ ในขั้นของการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน เพื่ออบรมใจให้สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์

    โดยให้ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ #วิตก #วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิต อันเป็นธรรมเครื่องกำจัด #ถีนมิทธะ ( ความง่วงเหงาซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่าแห่งจิต) และ #วิจิกิจฉา ( ความลังเลสงสัยในธรรมะปฏิบัติ)

    มีอารมณ์ #ปีติ #สุข #เอกัคคตา ธรรมเครื่องกำจัด #พยาบาท (ความหงุดหงิด) #อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านแห่งจิต) และ #กามฉันทะ ( ความพอใจ ยึดติด ในรูป,เสียง,กลิ่น,รส,สิ่งสัมผัสทางกาย) ได้เป็นอย่างดี

    การยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ธรรมเครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ออกจากจิตใจนี้ เป็นการเจริญสมถภาวนาในระดับปฐมฌาน อันเป็นเบื้องต้นของสัมมาสมาธิ หนึ่งในอริยมรรคมีองค์๘ เพื่อการเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม และให้พัฒนาต่อไปได้ถึงการเจริญปัญญารู้แจ้งในพระอริยสัจทั้ง ๔ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    และ #การแนะนำให้เพ่งดูดวงแก้วจนจำติดตา แล้วให้รวมใจให้หยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย พร้อมด้วยบริกรรมภาวนาเพื่อรวมใจให้หยุดนิ่งได้สนิทนั้น มิใช่อุบายวิธีกล่อมใจให้ผู้ปฏิบัติภาวนาเคลิ้มเคลิ้ม หลับไป โดยขาดสติสัมปชัญญะ ไม่รู้สึกตัว แล้วให้ปฏิบัติอยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของผู้สอนแต่อย่างใด

    วิธีปฏิบัติและผลการปฏิบัติกลับเป็นตรงกันข้าม กล่าวคือ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้สึกตัว มีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา (ถ้าหลับไม่ใช่สมาธิ) ผู้สอนเพียงแต่แนะนำให้ผู้ฝึกปฏิบัติภาวนา ที่ยังปฏิบัติไม่ได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ให้รู้และดำเนินไปตามวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม อันเป็นอุบายวิธีสงบใจที่จะให้ได้ผลดี คือ ให้ใจหยุดนิ่งสนิทอยู่ในอารมณ์เดียวได้โดยง่าย และโดยมีสติสัมปชัญญะ คือ มีความรู้สึกตัวพร้อม

    ครู แนะนำเป็นแต่เพียงชี้แนะแนวทางให้เท่านั้น แล้วปล่อยให้ผู้ปฏิบัติฝึกอบรมใจของตัวเอง ให้สงบเป็นสมาธิเอง

    อนึ่ง
    แม้เมื่อปฏิบัติได้ถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายแล้ว ครูผู้แนะนำ ก็ยังจะช่วยชี้แนะวิธีเจริญภาวนาอีกเป็นขั้นๆไป เพื่อให้เห็นและเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ต่อไปจนถึงธรรมกาย เพื่อให้รู้เห็นสภาวะของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งตามธรรมชาติที่เป็นจริง และให้รู้แจ้งในพระสัจจธรรมตามที่เป็นจริงเอง เพื่อละธรรมที่ควรละ เจริญธรรมที่ควรเจริญ และเพื่อความรู้เอง,เห็นเอง,เข้าถึงและเป็น ธรรมชาติที่ควรเข้าถึงเอง ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ต่อไป

    การแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นๆไปดังที่กล่าวนี้ ช่วยให้ผู้ปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติภาวนาได้ผลดีขึ้นมาก ถ้าไม่ได้รับคำแนะนำจากครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์มาดีพอสมควรแล้ว น้อยรายนักที่จะปฏิบัติได้ผลดีได้เอง โดยที่ไม่ต้องมีใครแนะนำ ดูตัวอย่างง่ายๆต่อไปนี้

    ๑. ให้ลองย้อนไปดูพฤติกรรมของสาธุชนพุทธบริษัท ก่อนแต่จะมีการให้คำแนะนำอย่างนี้ว่า ในสมัยหรือระยะเวลานั้น มีผู้เข้ามาสนใจฝึกปฏิบัติภาวนาธรรมดีกี่มากน้อย เมื่อเทียบส่วนกับสาธุชนเข้ามาฝึกปฏิบัติธรรมกับครู ผู้ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติภาวนาเป็นขั้นตอนตามหลักวิชชา และด้วยประสบการณ์ของครูที่เคยประสบมาก่อน

    ๒. ให้สอบถามดูจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมตามแนวนี้ ที่เขาปฏิบัติได้ผลดีพอสมควรถึงดีมากว่า ถ้าเขาไม่มีครูผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีประสบการณ์มาดีแล้ว ให้คำแนะนำวิธีปฏิบัติและวิธีแก้ปัญหาในธรรมะปฏิบัติเป็นขั้นๆไป เขาจะปฏิบัติภาวนาเจริญมาเพียงนี้หรือไม่ และว่า สำหรับผู้ที่ปฏิบัติภาวนาได้ผลดีโดยไม่อาศัยครูแนะนำมีกี่มากน้อย

    เพราะว่า การปฏิบัติภาวนาที่จะให้ได้ผลดี ย่อมต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายประการเข้าช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เคล็ดลับวิธีปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในแต่ละขั้นตอน ให้ปฏิบัติไปถูกแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม ตลอดทั้งวิธีแก้ปัญหาในธรรมะปฏิบัติ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในแต่ละขั้นของการปฏิบัตินั้น ยังเป็นสิ่งจำเป็นแก่ผู้ที่รู้สึกตัวว่า"ยังเป็นผู้ศึกษาอยู่" แม้ผู้ตอบปัญหานี้ก็ยังต้องอาศัยการชี้แนะจากครูอาจารย์ผู้รู้กว่าอยู่

    ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นครูผู้แนะนำผู้อื่น ก็ไม่พึงประมาทในธรรมทั้งหลาย ต้องสอบ"รู้" สอบ"ญาณทัสสนะ" กับครูผู้ทรงคุณวุฒิสูงกว่า และแม้กับศิษย์ผู้ปฏิบัติธรรมได้ผลดีพอสมควรแล้ว เพื่อพิสูจน์การรู้การเห็น และแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง และให้ได้ผลดียิ่งๆขึ้นไปอยู่เสมอ

    แต่ส่วนว่า ครูอาจารย์ใดจะมีสติปัญญาความสามารถ ที่จะให้คำแนะนำแก่ศิษย์ ให้ปฏิบัติได้ผลดีมากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับบุญบารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ ฯลฯ ที่อบรมสั่งสมมา รวมเป็น #อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ของแต่ละท่านไม่เท่ากัน

    ๓. แม้พระพุทธองค์จะได้ทรงแสดงหลักปฏิบัติไว้ ดังเช่น สมถภูมิ ๔๐ วิปัสสนาภูมิ ๖ ฯลฯ ก็ยังทรงต้องชี้แนะเพิ่มเติมแก่ผู้เข้ามาทูลถามปัญหา และผู้เข้ามาศึกษาอบรมประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยความเหมาะสมแห่งอัธยาศัย และความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของแต่ละบุคคล แม้ถึงกระนั้น ก็หาได้บรรลุมรรคผลเท่าเทียมกันทั้งหมดไม่.

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า



    ?temp_hash=0adf2860cc9742a56bd939670e86eab8.jpg

    ?temp_hash=0adf2860cc9742a56bd939670e86eab8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ผู้ที่อยู่ในวงพระพุทธศาสนา
    ถ้าไม่เอาใจใส่ศึกษาสัมมาปฏิบัติให้ดี
    ก็มีค่าเท่ากับคนนอกศาสนา.

    กรรมที่ปฏิบัติไปแล้ว ที่เป็นคุณความดี มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น ย่อมนำไปสู่ความเจริญและสันติสุข ไม่ใช่เจริญแล้วนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อน นั่นผู้ที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ

    หรือแม้ผู้ที่อยู่ในวงพระพุทธศาสนานี่ ถ้าไม่เอาใจใส่ในการศึกษาสัมมาปฏิบัติ เรียนรู้ให้ดี ก็ไปหลงคิดผิด รู้ผิด ประพฤติปฏิบัติผิดๆ ไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง ก็มีค่าเท่ากับคนนอกศาสนา คือไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง ก็เป็นแต่เพียงพุทธแต่เพียงในนามหรือในสำมโนครัว มันก็ได้ประโยชน์เพียงนิดเดียว

    เหมือนกับว่า ชามหรือหม้อ หรือทัพพี ชามหรือหม้อที่ใส่แกง หรือหุงต้ม ทัพพีที่ตักแกงหรือถ้วย ที่ตักแกงหรืออาหารมาใส่ ไม่รู้รสอาหาร เหมือนกับคนที่แม้อยู่ในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ตั้งใจศึกษาสัมมาปฏิบัติให้รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง ก็เหมือนทัพพีที่ไม่รู้รสแกง หรือว่าหม้อข้าว หม้อแกง กะทะ หรือถ้วยชาม ที่มันใส่แกงใส่อาหาร ไม่รู้รสอาหาร ไม่รู้รสแกง ฉันใดฉันนั้นทีเดียว

    นี่ ก็ต้องบอกกันไว้ว่า คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นธรรมะที่แฟร์ต่อมนุษย์ชาติหรือสัตวโลกทั้งหลาย ใครปฏิบัติจึงเข้าถึง รู้เห็น และเป็นได้ ถ้าใครไม่ปฏิบัติก็ช่วยไม่ได้ ตัวใครตัวมัน แล้วก็จึงไม่มีการบังคับให้ต้องทำอย่างนั้น ให้ต้องทำอย่างนี้ คุณต้องมาเองด้วยปัญญาของคุณเอง.

    ____________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _____________
    ที่มาจากเทศนาธรรมเรื่อง
    "บุญไม่รู้จักหมด"
    _____________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    49698455_2051877994906979_236822555376222208_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk5-8.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    49422667_1012849048916267_6644146100028571648_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_ht=scontent.fbkk5-8.jpg



    การนึกบริกรรมนิมิตให้เห็นด้วยใจ ณ ภายใน
    ซึ่งจะได้ผลดีเป็นของยาก ถ้านึกนิมิตอยู่ภายนอก มักเห็นได้ง่ายกว่า แต่เมื่อใครนึกอยู่ ณ ภายในได้จะได้ผลดีที่สุด เพราะเมื่อใจหยุดตรงนั้น ถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ เมื่อถูกแล้ว เราจะสามารถเข้าถึงธรรมในธรรม กายในกาย จิตในจิต ได้โดยสะดวก และไปถึงธรรมกายถึงพระนิพพาน

    เรารู้ว่าจุดนี้เป็นจุดที่เที่ยงตรง เห็นหรือไม่เห็น จงทำต่อไปจนกว่าจะเห็น แต่ถ้านึกไม่เห็นปวดเมื่อยเหนื่อยใจหนักหนา ก็นึกให้เห็นจุดเล็กใสเข้าไว้เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ใจเข้าอยู่ ณ ภายใน การนึกให้เห็น อย่าไปคิดว่าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่นึกเอา นึกให้เห็นเป็นอุบายเบื้องต้น ใจประกอบด้วยความเห็นด้วยใจความจำ ความคิด ความรู้ มารวมกันเป็นจุดเดียวกันตรงเห็นนั้น เพราะฉะนั้นความจำเป็นในเบื้องต้นที่นึกให้เห็นจึงต้องทำ

    แต่อุบายวิธีที่เราจะให้เห็นตรงนั้นก็ต้องปล้ำกันหลายเพลง เช่นว่า นึกดวงไม่เห็น อาจจะนึกองค์พระก็ได้ หรือนึกง่ายๆ คือนึกว่าในท้องมีลูกแก้วลูกหนึ่ง ประมาณเอา คือใจจะค่อยปรับตัวจนหยุดนิ่ง นี่เป็นอุบายอย่างหนึ่ง อาจจะต้องใช้อุบายหลายเพลงเช่นกันกว่าจะเห็นได้ แม้กระทั่งดวงไฟตรงไหนที่ไหนที่เห็นกลมๆ ก็นึกดวงให้สว่างอยู่ข้างในท้อง ซึ่งใช้ได้เช่นกัน ถ้านึกอย่างนั้นไม่ได้ให้ท่อง "สัมมา อรหังๆๆๆ" ไปตรงกลางจุดศูนย์กลางนึกให้เห็นจุดเล็กใส นิ่งๆ ไว้ พอนึกเห็นตามสบาย อย่าอยากเห็นจนเกินไป จนไม่ได้เห็น เพราะเพ่งแรงเกินไป จิตที่จะเห็นต้องพอดีๆ เหมือนกับที่ท่านทั้งหลายลองเอาปิงปองวางอยู่ในน้ำ จะกดปิงปองให้จม ในน้ำได้โดยวิธีไหน อุปมาอย่างนั้นฉันใด การเลี้ยงใจให้หยุดให้นิ่ง และจะได้เห็นเองก็เป็นฉันนั้นเหมือนกัน แต่ถ้าจะนึกให้เห็น พอไม่เห็นอึดอัดโมโหหรือหงุดหงิดอย่างนี้ไม่มีทางเห็น ทำให้เป็นธรรมดา เห็นก็ช่างไม่เห็นก็ช่าง ความจะเห็นต้องประกอบด้วยใจสบาย ละวางให้หมด เรื่องในอดีต ปัจจุบัน อนาคต แม้ตัวเราก็ต้องละให้หมด วางใจนิ่งๆ พอดีๆ ใจสบายๆ ก็จะเห็นได้ง่าย

    อีกวิธีหนึ่ง ก่อนนอนจะหลับให้ท่อง “สัมมาอรหังๆๆ” นึกเบาๆ ท่องไป พอใจจะหลับ สภาพของใจจะตกศูนย์ ความรู้สึกภายนอกจะหมดไป จะเหลืออยู่แต่ข้างใน พอจิตตกศูนย์ ดวงธรรมดวงใหม่จะลอยขึ้นมาที่ศูนย์กลางกาย ใสสว่างอยู่ตรงนั้นก่อนหลับ แล้วก็เผลอสติหลับไป เห็นตรงนั้นจับให้ดี พอเห็นดวงก็เข้ากลางของกลาง หยุดในหยุดนิ่งก็จะสว่าง นี่จะเห็นของจริงก็จะไม่หลับ จะรู้เลยว่าเมื่อวิตกวิจาร คือเห็นดวงสว่างระดับอุคหนิมิต หรือปฏิภาคนิมิตแล้วนั้น ความง่วงเหงาซึมเซาจะหมดไป กิเลสนิวรณ์หมดไปในขณะนั้น ช่วงจะหลับสามารถจะเห็นได้ง่าย

    ช่วงจะตื่นถ้าเคยตื่น 6 โมงเช้า ลองตื่นตีห้าครึ่ง พอตื่นแล้วไม่ตื่นเลย คือไม่ลุกขึ้นทันที ตายังหลับอยู่แต่ใจเราตื่น ดูไปที่ศูนย์กลางกายจะเห็นดวง ทำไมจึงเห็น เพราะใจคนเพิ่งตื่นใหม่ๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายลอยเด่น ยังเห็นได้อยู่ พอเห็นแล้วเราเอาอารมณ์นั้นมาสู่ใจเรา ทำบ่อยๆ ก็จะเป็น เมื่อถึงเวลาก็เป็นเอง บางทีอาจเห็นธรรมกายใหญ่มาก ขณะเดิน นั่ง ปกติธรรมดา อารมณ์สบาย ใจเป็นบุญเป็นกุศล ใจก็สบาย พอใจสบายก็จะเห็น ใจสบายด้วยบุญกุศลแตกต่าง กับการสบายด้วยกามคุณคือได้นั่นได้นี่ตามที่เราอยากได้ อันนั้นไม่สบายอย่างที่เราสบายอย่างนี้ การสบายด้วยบุญคือสบายเฉยๆ และลองกำหนดเห็นศูนย์กลางก็จะเห็นเป็นดวงใสได้โดยง่าย ต้องทำบ่อยๆ เนืองๆ แม้อาตมาเองถ้าไม่ทำบ่อยๆ เนืองๆ ก็จะจาง ต้องทำบ่อยๆ จึงดี

    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล(หลวงป๋า)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=19438434b8a09c7d6d6f3f74b33416b0.jpg


    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า
    เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้
    เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ

    ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง

    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย

    คัดมาส่วนนึงจากตอบปัญหาธรรม
    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล(หลวงป๋า)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    เมื่อเริ่มปฏิบัติธรรมเห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้ ควรทำอย่างไร จึงจะน้อมเข้ามาในตัวได้ ?


    -----------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    วิธีปฏิบัติ ก็ให้เหลือบตากลับนิดๆ ในขณะที่หลับตาภาวนาอยู่ พร้อมๆ กับรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใส พยายามจดจำอารมณ์ที่เห็นดวงแก้วใสนั่นไว้


    แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วใสนั้นปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกาย โดยกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกายนั้นไว้ให้มั่น เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน หยุดในหยุดกลางของหยุด นิ่งลงตรงนั้น ถ้าใจจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านออกนอกตัว ก็ให้มีสติรู้เท่าทันในนิวรณ์กิเลสเช่นนั้น และกำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งลงตรงนั้น

    ไม่ช้า ใจจะรวมลงหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสสว่าง ปรากฏขึ้นมาเอง

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็ปล่อยตาซึ่งเหลือบกลับให้เป็นไปตามธรรมชาติต่อไป เห็นแล้วก็อย่าตื่นเต้น ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดกลางของกลางดวงใสสว่างนั้น หยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางก็จะขยายออก และจะเห็นดวงใสสว่างละเอียดยิ่งกว่าเดิมปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใสละเอียดที่สุด

    เมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุด ศูนย์กลางจะขยายออกแล้วจะเห็นกายในกาย ณ ภายในของเราปรากฏขึ้นมาเอง ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือละความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบเข้าไปเป็นกายละเอียด พร้อมกับรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกายละเอียดๆ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ให้ใสละเอียดหมดทั้งดวงธรรมและกาย เมื่อกายในกายปรากฏขึ้นใหม่ ก็ให้ปฏิบัติตามแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ละเอียดๆ นั้น รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงและกายเรื่อยไป โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกายจนถึงธรรมกายที่สุดละเอียด


    a.gif


    a.gif


    a.jpg


    %E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7-png.png
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    50270000_1020278021506703_4057713238144450560_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg



    #พึงปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดกิเลส
    อย่าเอาใจออกนอกตัว เพราะนั่นเป็นถิ่นทำเลของมาร

    เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ดับหยาบไปหาละเอียดจนเป็นธรรมกายที่ละเอียด ทีนี้แม่นยำนักเชียว แต่ถ้าเคลื่อนศูนย์เมื่อไร ก็หายแม่น หรือว่าโอ้อวด อยากจะอวด อยากจะโก้ อยากดัง จิตถูกปรุงด้วยกิเลส ก็เคลื่อนจากศูนย์ออกมาจากธรรมกาย โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว

    พวกที่ธรรมกายมัวหมอง หรือไม่ก็ดับไปเลย ไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต ไม่รู้เท่าทันกิเลส จึงบอกกัน ณ บัดนี้ว่า มาปฏิบัติธรรม ณ สถานที่แห่งนี้ ไม่มีการพยากรณ์กัน เว้นแต่ครูกับศิษย์ ไม่มีการพยากรณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ข้างหลังจะเป็นอย่างไร ไม่มีใครให้มาดูว่าพ่อแม่ไปอยู่ไหนนะ เราไม่พูด ที่วัดนี้ไม่ทำ และบอกต่อๆกันว่าอย่าทำ เพราะใจท่านเริ่มออกไปถิ่นทำเลของมารแล้ว พอจิตปรุงปุ๊บ เดี๋ยวก็หลงลาภสักการะ เสร็จภาคมารเขาเท่านั้นแหละ

    ฉะนั้น จงจำไว้ เราปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดกิเลส

    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล(หลวงป๋า)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2019
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=e4815b1f2a418cf5577b1fadeb12b43c.jpg




    วันนี้ในอดีต



    วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มรณภาพ เวลา ๑๕.๐๕ น.


    รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ. (สํ.ส. ๑๕/๒๑๐/๕๙)


    รูปกายของสัตว์ทั้งหลายย่อมแตกสลายไป แต่นามและโคตรหาแตกสลายไปไม่.


    *********************************

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    ?temp_hash=9786fc6b60821c3713a85d0cff7d053c.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    51818475_1033000016901170_3720503437201244160_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_ht=scontent.fbkk5-3.jpg





    มนุษย์ในโลกนี้ คนมั่งมีเขาก็เหนี่ยวรั้งคนมั่งมีไปรวมกัน คนยากจนมันก็เหนี่ยวรั้งคนยากจนไปรวมกัน นักเลงสุรามันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงสุราไปรวมกัน
    นักเลงฝิ่นมันก็เหนี่ยวรั้งนักเลงฝิ่นไปรวมกัน
    ภิกษุก็เหนี่ยวพวกภิกษุไปรวมกัน
    สามเณรก็เหนี่ยวพวกสามเณรไปรวมกัน
    อุบาสกก็เหนี่ยวพวกอุบาสกไปรวมกัน
    อุบาสิกาก็เหนี่ยวพวกอุบาสิกาไปรวมกัน
    มีคล้ายๆ กันอย่างนี้

    แต่ที่จริงที่แท้เป็นอายตนะสำคัญ อายตนะดึงดูด เช่น โลกายตนะ อายตนะของโลกในกามภพ อายตนะของกามมันดึงดูดให้ข้องอยู่ในกาม คือ กามภพ รูปภพ อายตนะรูปพรหมดึงดูด เพราะอยู่ในปกครองของรูปฌาน อายตนะดึงดูดให้รวมกัน อรูปภพ อายตนะของอรูปพรหม อรูปฌานดึงดูดเข้ารวมกัน
    อตฺถิ ภิกฺขเว สฬายตนํ นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง เมื่อหมดกิเลสแล้ว นิพพานก็ดึงดูดไปนิพพานเท่านั้น ให้รู้หลักจริงอันนี้ก็เอาตัวรอดได้

    หลวงปู่สด จนฺทสโร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    50794612_1081151178759595_7872596408421842944_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_ht=scontent.fbkk5-6.jpg

    #อมตวัชรวจีหลวงป๋า

    - เคล็ดลับที่จะเอาชนะธาตุธรรมภาคดำได้เร็ว
    คือ...ต้องทำใจให้หยุด

    หน้าที่ของเรา เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว จึงมีหน้าที่อยู่ว่า "กำจัดธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ"

    #แต่วิธีกำจัด กำจัดอย่างไร ?

    วิธีกำจัดต้องกำจัดด้วย เบื้องต้น รักษากาย วาจา ใจ ของเราให้เรียบร้อยเีไม่มีโทษ ด้วยการรักษาศีล และด้วยการประพฤติปฏิบัติกุศลกรรมบททั้ง 10 เว้นอกุศลกรรมบท นี้เป็นสำคัญ ให้กาย ให้วาจา ของเราสงบเสียก่อน

    ทีนี้ ไอ้ชีวิตที่เราผ่านมา เราทำคละเคล้าปนกันไปหมดทั้งบุญ ทั้งบาป ไอ้ส่วนบุญเราบำเพ็ญบารมีมาเท่าไหร่ก็ตาม แต่เมื่อมีบาปอกุศลเข้ามาสอดมาแทรก มาปิดมาบัง ทำให้เราเข้าถึงธรรมภาคขาวได้ด้วยยาก ด้วยยาก

    เพราะฉะนั้น อุบายวิธีที่จะเอาชนะได้เร็ว อย่างมีประสิทธิภาพ เรารู้จุดอ่อนของธาตุธรรมภาคดำอยู่อย่างหนึ่ง จุดอ่อนนั้นก็คือว่า ธาตุธรรมภาคดำนี่ เค้าจะมีโอกาสดลจิตดลใจสัตว์ได้ต่อเมื่อ สัตว์นั้นส่งจิตใจออกนอกตัว ไปรับไปสัมผัสอารมณ์ภายนอก แล้วก็ไปยึดไปติด ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยตัณหา และทิฐิ คือ ความหลวงผิด กิเลสก็สอดแทรกเข้ามา ให้คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ทำผิด อย่างนั้น แล้วก็ส่งผลทับทวีกันอยู่อย่างนั้น

    เพราะฉะนั้น
    #เคล็ดลับสำคัญของเราคือ #ต้องทำใจให้หยุด

    หยุดเพื่ออะไร หยุดตั้งแต่กิเลสหยาบ หยุดทำความชั่ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ไปจนถึงหยุดที่ใจ หยุดที่ใจ พอใจเราหยุดปุ้บ ถูกศูนย์ถูกส่วนเข้าเมื่อไหร่ หมายความว่า ใจเราไม่ออกนอกตัว ใจเราไม่ออกนอกตัวมันก็ไม่สังขาร ไม่ปรุงแต่ง เมื่อมันไม่สังขาร มันไม่ปรุงแต่ง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้

    เสมือนหนึ่งว่า โจรมันมี มันอยู่รอบบ้านเรา มันมีอยู่รอบๆบ้านเราแหละ แต่เราอยู่กลางบ้าน มันก็เลยไม่เข้ามา มันยังเข้ามาไม่ได้ ในขณะที่มันเข้ามาไม่ได้นี่เราเร่งทำกุศล คุณควมดียิ่งๆขึ้นไป คือ เมื่อเราใจเราหยุดกิเลสทำอะไรเราไม่ได้ เราก็ถูกตัวบุญ

    คือ 1. กิเลสนิวรณ์หมดไป เป็นเบื้องต้น เมื่อกิเลสนิวรณ์หมดไปเพียงใดแล้ว เราก็ถึงธาตุธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ ที่เป็นธรรมฝ่ายขาว อันนี้เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานน่ะ ถ้าจะกล่าวรวบยอด เบื้องต้น ท่านให้พิจารณากิเลสนิวนณ์ในใจของเราเสียก่อน ให้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 แล้วกำจัดกิเลสนิวรณ์เสียก่อน

    เมื่อกิเลสนิวรณ์หมดไปแล้ว กิเลสอื่นๆซึ่งเป็นธรรมภาคดำ เมื่อเราเข้าไปถึงธรรมขาวด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนหยาบและส่วนละเอียด คือ ใจ เข้าไปละเอียดเพียงใด เราก็ถึงธรรมขาวมากขึ้นเพียงนั้น

    หมดทั้งพระไตรปิฎก ที่เราจะศึกษาเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ประชุมรวมกันอยู่ธาตุธรรม 3 ฝ่าย ว่าเราจะต้องเรียนรู้ธรรมดำ เรียนรู้ธรรมขาว เรียนรู้ที่มาของธรรมดำ และ ธรรมขาว

    แล้วพึงมีสติสัมปชัญญะ ทำใจให้หยุดให้นิ่งเพื่อกำจัดธรรมดำ เพื่อเข้าถึงธรรมขาวให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

    การเข้าถึงด้วยใจ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจว่า การเข้าถึงด้วยใจ เมื่อใจหยุดใจนิ่ง เบื้องต้นกิเลสนิวรณ์หมดไป เพราฉะนั้น ตรงนี้ที่ธรรมะจะเป็นหรือไม่ ให้พึงเข้าใจว่า กิเลสนิวรณ์นี้ มีธรรมภาคขาวซึ่งเป็นธรรมแข่งกันอยู่ เป็นธรรมคู่แข่งนะ อันนี้ก็จึงเป็นเคล็ดลับในการที่จะทำธรรมะให้เป็น ว่านอกจากบุญกุศลที่เราได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้ว ประการสำคัญที่สุดเราต้องรู้จักธรรมคู่แข่งของธรรมดำ โดยธรรมขาว

    #ธรรมดำที่เรียกว่ากิเลสนิวรณ์ที่สำคัญที่สุดคือฟุ้งซ่านแห่งจิตใจ แล้วก็ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่าแห่งจิต ความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม ความหงุดหงิด ความโกรธ ความพยาบาท ไปจนถึงความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เศร้าใจ โทมนัสทั้งหลาย นี่ก็เป็นธรรมภาคดำ เป็นกิเลสนิวรณ์

    #และประการสำคัญที่สุดคือ ความยินดี พอใจ ยึดติด ในกามคุณทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย

    แต่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี่มันจะเกิดขึ้น เรารู้ช่องโหว่ของธรรมดำ คือ ใจอย่าออกนอกตัว นี่ประการที่ 1 ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอก

    ประการที่ 2 เราต้องทำธรรมชาติเป็นคู่แข่งกัน เพื่อมาประหารกิเลสนิวรณ์นี้ให้จงได้

    คู่แข่งกันมีอะไรจำไว้นะ นี่แหละเป็นเครื่องช่วย ต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตให้ได้ ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใสให้ได้ พยายามเข้า

    แต่ความพยายามนี้ #อย่าบังคับใจนะ ใจบังคับไม่ได้ ยิ่งบังคับล่ะยิ่งไปใหญ่ ยิ่งหงุดหงิดยิ่งไม่ได้ ยิ่งเสียใจ ยิ่งไม่สบายใจ ยิ่งไปกันใหญ่

    #เพราะฉะนั้นเคล็ดลับมันมีอยู่ว่า ทำใจสบายๆ นึกให้ถึงบุญกุศลที่เราได้สร้างสมอบรมมา ด้วยทานกุศลก็ดี ศีลกุศลก็ดี ภาวนากุศลก็ดี นี้ก็เป็นธรรมในธรรม เราพิจารณาแล้ว อ้อ! เราทำแล้ว เราสบายใจ เรากำลังจะทำ เราสบายใจ นี้อันหนึ่ง เมื่อความสบายใจเกิดขึ้น ใจมันเริ่มสงบ เราก็นึกให้เห็นโดยยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ให้ได้ ด้วยการนึกให้เห็นนิมิตดวงแก้วกลมใสก่อน

    #ดวงแก้วกลมใสนี่เป็นผลของอาโลกกสิณนะอาโลกกสิณ กสิณแสงสว่าง แล้วก็เป็นทางนำให้เกิดอุคคหนิมิต ไปจนถึงปฏิภาคนิมิต ใจจะได้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้ดี

    แต่ส่วนที่จะถึงอุคคหนิมิตนั่นน่ะ มันต้องเป็นบริกรรมนิมิตก่อน คือ นึกให้เห็นด้วยใจ จำไว้อย่าใช้สายตาเนื้อ ข้อนี้สำคัญ อย่าใช้สายตาเนื้อ วิธีไม่ใช้สายตาเนื้อ และวิธีทำให้จิตใจไม่ออกนอกตัวทำอย่างไร เหลือบตากลับนิดๆ ไอ้นี่ก็เป็นเคล็ดลับเหมือนกัน

    เราเหลือบตากลับนิดๆในขณะที่เราหลับตาลง แต่อย่าลืมตานะมันดูไม่สวย อันนี้ก็เป็นธรรมชาติของสัตว์โลกเวลาจะเกิด จะดับ คือตาย จะหลับ จะตื่น จิตมันจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ด้วยอาการอย่างใหม่จะปรากฏลอยขึ้นมา มีการเกิดดับเกิดดับแห่งจิตอยู่อย่างนั้น แต่ว่าจิตดวงเดิมน่ะมันยังอยู่ ไม่ได้ดับไปไหน ถ้าดับก็ต้องตายแน่ แต่อาการของจิตมันแสดงอย่างนั้น ด้วยความปรุงแต่งด้วยผลบุญ หรือ ผลบาป นี่ มันเป็นอย่างนี้

    ทีนี้ เมื่อเราเหลือบตากลับนิดๆนี่ สายตาเนื้อมันไม่ทำงาน มันไม่ไปแย่งงานตาใน ทีนี้เมื่อเรารวมใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย โดยตำแหน่งให้อยู่ตรงนั้นนะ ให้หยุดตรงนั้นนะ มันถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมตรงนั้น สติปัฏฐาน 4 อยู่ตรงนั้น ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆไปเลย จนถึงนิพพานโน่นน่ะ ตรงนั้นแหละ

    เพราะเมื่อใจหยุดตรงนั้นได้ มันจะถูกธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และก็กลางของกลางธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์น่ะ เมื่อเราหยุดนิ่งเข้าไปตรงนั้นแล้วนี่ มันจะถึงคุณธรรมขั้นที่ 2 เป็นความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งเราเรียกว่า ศีลบริสุทธิ์

    #ศีลบริสุทธิ์นี่ #ความจริงถ้าพูดกันธรรมดาเปลือกนอก มันหมายเอาการสำรวมระวังกาย วาจา แต่เมื่อละเอียดเข้าไปแล้ว เราหมายถึง "ใจที่บริสุทธิ์" ด้วยเจตนาความคิดอ่าน

    ทีนี้ เมื่อใจมันหยุดนิ่ง กิเลสนิวรณ์หมดไป ใจมันก็บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เมื่อใจบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น กาย วาจา ของกายตั้งแต่มนุษย์หยาบ ไปจนถึงมนุษย์ละเอียด มันก็บริสุทธิ์ ศีลก็บริสุทธิ์ด้วยอาการอย่างนั้น นี่ก็เป็นธัมมานัปัสสนาสติปัฏฐาน

    และผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว อาจจะพิจารณาและควรจะมีสติพิจารณาศีลของเราในแต่ละวันละวัน และแต่ละครั้งละครั้ง ก็ดูที่ดวงศีลนี่แหละ แต่ว่าพึงดูเขาเราเป็นสำคัญ ของคนอื่นอย่าไปสน อย่าไปสนใจ ดูตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราเผลอสติไป แล้วคราวหลังนึกได้ เรามาตรวจดู อ้อ! ศีลเราไม่บริสุทธิ์ ใจมันไม่บริสุทธิ์ มันอยู่ตรงนั้น ดูกันตรงนั้น นี่ ศีล ศีลบริสุทธิ์

    ถ้าเราประคองดวงศีลนี้ไว้ กาย วาจา และใจ เป็นอันบริสุทธิ์ นี่ เป็นคุณธรรมภายใน ที่เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นธรรมฝ่ายขาว ซึ่งมีสภาวะที่เป็นเครื่องกำจัดธาตุธรรมฝ่ายดำ เข้าใจนะ.....

    ______________

    รับฟังธรรมะเต็มเรื่องได้ที่ลิ่งนี้
    https://youtu.be/QnnVG7MeEDk

    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    ________________
    ที่มา
    https://youtu.be/QnnVG7MeEDk
    เคล็ดลับความเข้าใจในการปฏิบัติธรรม
    _________________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    FVd9jwJz0O72E7zkUDzHl7fmc0OGMPWvX0hW8Pebrm6W-H4P6OoEteH4cFJncuylv2dbdAhQ&_nc_ht=scontent.fbkk5-1.jpg




    "ไม่ว่าจะเห็นหรือไม่เห็นก็ให้ปฏิบัติเรื่อยไป
    อย่าปล่อยให้กาลเวลาล่วงเลยไปโดยเปล่าประโยชน์
    ความเพียรก็ต้องมีที่สุดของความเพียร
    ความอดทนก็ต้องมีที่สุดของความอดทน
    การเข้าถึงธรรมต้องปล่อยทั้งชีวิตจิตใจ
    ไปรักไปห่วงอะไรไม่ได้ปล่อยกันให้หมดสิ้นทีเดียว
    ถ้ายังมีรักมีห่วงอยู่เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด"

    หลวงพ่อสด จันทสโร
     
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    อมตวัชรวจีหลวงป๋า

    - ของจริงในพระพุทธศาสนาต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
    ให้จำหลักไว้ มารตัวจริงคือกิเลส.

    บุคคลที่มีจิตใจที่เต็มไปด้วยกิเลสมาร เขาเรียกเทพบุตรมาร ยิ่งอยู่ในที่สูงแล้วมีกิเลสมารอยู่มาก เรียกว่าเทพบุตรมาร อย่างนี้ เพราะฉะนั้นให้เข้าใจความหมาย

    มารคือกิเลส
    กิเลสคืออะไร ?
    หรือมารคืออะไร ?

    คือ ธรรมชาติที่ขัดขวางคุณความดี กิเลสมารก็ขัดขวามคุณความดี สังขารมารความเจ็บไข้ได้ป่วยก็ขัดขวางคุณความดี มัจจุมาร มารยังให้เกิดความตายก็ขัดขวางคุณความดี เพราะฉะนั้นให้เข้าใจความหมายว่า มารมีจริงอย่างไร โดยความหมายอย่างไร ภาษาพระแท้ๆ

    ที่นี้ ยักษ์ล่ะ มาจากไหน ?

    ยักษ์ ผู้ที่มีกิเลสมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าโทสะ เป็นต้น แล้วก็ ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นยักษ์ ยักษ์จริงๆ เป็นบริวารของท้าวเวสวัณ เพราะฉะนั้น ยักษ์ส่วนใหญ่เป็นมิจฉาทิฏฐิ แต่มีสัมมาทิฏฐิด้วยเหมือนกัน

    แต่ว่า ประสงค์ไปเกิดเป็นยักษ์ก็มี ตัวอย่างนี้ ก็คือท่านที่ไปเกิดเป็น ชนวสภะเทพบุตร น่ะบริวารของท้าวเวสวัณ

    พระเจ้าพิมพิสาร ประวัติพระพุทธเจ้าน่ะ เป็นพระโสดาบันแล้ว ถูกบุตรชายคือ พระเจ้าอชาติศรัตรู ทรมานจนตาย นั่นแหละ พระเจ้าอชาติศรัตรูนั่นแหละ มีอาการของเทพบุตรมาร เพราะมีความโง่เขลาเบาปัญญา แต่ภายหลังได้กลับมาเป็นสัมมาทิฏฐิก่อนตาย ก็ยังดีหน่อย ตายแล้วก็ต้องไปล่ะ ปิตุฆาต นั่น ฆ่าพ่อ เป็นอนันตริยกรรม ได้รับกรรมนี้ก่อน หนักมาก ตายแล้วต้องไปเกิดอยู่ในอเวจีมหานรก เพราะไม่มีอะไรจะไปขัดขวางได้ กรรมเจ้ากรรมเนี่ย คือ กรรมหนักเนี่ย

    ปิตุฆาต คือ ฆ่าพ่อ ตายแล้วมีคติเดียว ไปเกิดในอเวจีมหานรก เป็นขุมที่ ๘ อย่างนี้เป็นต้น แต่ว่าได้กระทำความดีในภายหลังนะ ในภายหลังในบั้นปลายชีวิต ได้สนับสนุนอุปถัมป์พระพุทธศาสนา ก็ยังดี นี่ก็เป็นตัวอย่าง

    พระเจ้าพิมพิสารนี่ เป็นพระโสดาบันบุคคลแล้ว เสด็จสวรรคตเพราะถูกพระราชโอรสทรมานจนตาย เมื่อเสด็จสวรรคตแล้ว จิตยังผูกพันธ์อยู่กับภพเก่าที่เคยเป็นบริวารของท้าวเวสวัณ ปรารถนาจะไปเกิดที่นั่น ตายแล้วก็ไปเกิดเป็นพญายักษ์ เรียกว่าเป็นเหมือนกับมือขวาของท่านท้าวเวสวัณเลย ในระดับเลขาอะไรประมาณนั้น ชื่อ ชนวสภะเทพบุตร นี่ก็มี เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่า ยักษ์จริงๆมีอยู่

    แต่ผู้มีจิตใจเป็นยักษ์เป็นมาร มารคือกิเลส แม้ยักษ์ก็ไปจากกิเลสประเภทโทสะมากๆ นี่ ไปเกิดเป็นยักษ์ก็มาก แต่ที่เป็นสัมมาทิฏฐิก็มี แต่นั่นเพราะจิตใจผูกพันธ์อยู่ในภพเก่า ที่เคยเป็นบริวารของท้าวเวสวัณ

    ท้าวเวสวัณนี่ มีอำนาจมากนะ รูปร่างเดิมของท่านก็เป็นยักษ์นะ แต่ท่านจะอธิษฐานเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้นแหละ พระรูปจริงๆ หรือว่ารูปกายจริงๆ ถ้าให้สวยงามก็สวยหล่อไปเลย แต่ถ้ารูปดั้งเดิมของท่านล่ะก็ ดูไม่ได้เลยแหละ อย่างนี้เป็นต้น

    ของจริงในพระพุทธศาสนาต้องเข้าใจให้แจ่มแจ้ง เข้าใจนะ อันนี้ หลวงตาก็เล่าให้ฟังพอเป็นเกร็ดความรู้

    ให้จำหลักไว้ มารตัวจริงคือกิเลส คือกิเลสมาร มีอยู่ในจิตใจของผู้ใดมาก ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมันมาก บุคคลเช่นนั้นก็ชื่อว่ามาร เทพบุตรมาร..ถ้าเป็นผู้ที่อยู่ในที่สูงถ้าว่าปฏิบัติตามอำนาจของมันมาก

    แต่ว่าเทพบุตรมารมีจริงๆมั้ย ที่เป็นเทพบุตร เทพธิดา...มี แม้แต่ที่ชื่อว่า นางตัณหา นางราคา ที่เคยผจญพระพุทธเจ้าก็ของจริง นั่นแหละ เป็นพระราชธิดาของจอมเทพในมารโลก มีอยู่ของจริง ไอ้นั่นแหละคอยดลจิตดลใจ หรือคอยสำแดงด้วยกิเลส นั้นแหละ เพื่อผูกใจสัตว์โลกให้ติดอยู่ในกิเลสกาม มีอยู่

    เพราะฉะนั้นให้เข้าใจว่า มารคือกิเลส ถ้าอยู่ในจิตใจของผู้ใดมาก คนนั้นชื่อว่าเทพบุตรมาร แต่มารที่ทำให้เกิดความเจ็บไข้ได้ป่วย อันนั้นเขาเรียกว่าสังขารมาร หรือจะแปลว่าโดยความหมายว่า มารคือความเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ได้ แต่ถ้ามารยังให้เกิดความตาย เรียกว่ามัจจุมาร ก็ความตายนั่นแหละมัจจุมาร

    ให้เข้าใจนะ เป็นสมมติเรียกชื่อให้ตรงกับสภาวะของเขา เป็นสมมติชื่อในอาการอย่างนั้นของสัตว์โลก มนุษย์ ทิพย์ อย่างโน้นอย่างนี้ หรือเทพยดา เทพบุตร อย่างโน้นอย่างนี้มีอยู่ ให้เข้าใจนะ

    แต่ว่า..ความเป็นพระก็มีอยู่ในใจคน มีมากก็เรียกว่าพระภายใน ที่ห่มผ้ากาสาวพัสตร์เนี่ย พระภิกษุภายนอก นี่ เรามาสร้างพระในใจตน คือ สร้างคุณความดีให้เกิดขึ้น ณ ภายใน แล้วเกิดความดีนี่ มีพระมั้ย..มี ค่อยๆรู้ไป พระนั้นคือธรรมกาย นี่แหละ เราจะสร้างพระในใจตน แล้วช่วยสร้างพระในใจผู้อื่น เข้าใจนะ

    _______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    _______________
    ที่มา
    เทศนาธรรมช่วงอบรมพระวิปัสสนาจารย์
    รุ่นปลายปี ๒๕๕๙
    _______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,100
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,003
    ค่าพลัง:
    +69,974
    CjWgjIX1pbe1b5zWeUVGQzz1JPgQajGjrnnrSpO4JwR9gt8V0ECUakWzOLM9tvejULCtX1FA&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.jpg

    วันนี้หลวงป๋าแวะมาหา โดย หลวงตาอู๋ 24 ก.พ. 62

    หลวงป๋าท่านยังอยู่ที่วัดยังไม่ได้ไปไหน วันก่อนมีคนมาเล่าให้อาตมาฟังว่ามีคนๆ หนึ่งเดินทางมาที่วัดหลวงพ่อสดเพื่อจะทำบุญ พอเขาลงจากรถเมล์ที่หน้าวัด ขณะกำลังจะเดินเข้าประตูหน้าวัดก็เห็นพระแก่องค์หนึ่งผิวขาวยืนถือไม้เท้ายิ้มให้ แล้วก็เอ่ยทักขึ้นว่า

    "โยมจะไปไหนหรือ"
    เขาก็ตอบท่านไปว่า "ผมจะเข้าไปทำบุญ เพิ่งมาวัดนี้เป็นครั้งแรกครับ"
    พระแก่องค์นั้นก็บอกว่า "ดีๆๆ " แล้วก็ยิ้มให้

    พอเขาทำบุญเสร็จแล้วก็ได้ขึ้นไปที่ศาลาสมเด็จชั้น 3 เห็นมีการตั้งหีบศพบูชาอยู่ก็เข้าไปกราบ พอเขาเห็นรูปถ่ายของหลวงป๋าที่หน้าหีบศพก็ตกใจ "อ้าว พระองค์นี้ท่านสิ้นไปแล้วหรือ" หลวงป๋าท่านยังทำหน้าที่ต้อนรับโยมที่มาทำบุญที่วัดอยู่ทุกวัน......

    วันนี้อาตมารับแขกสลับกับนั่งสมาธิทั้งวัน พอตอนบ่ายหลังจากนั่งสมาธิเสร็จก็รู้สึกเพลียเพราะอาตมานั่งสมาธิไม่เหมือนคนอื่น อาตมาใช้การเพ่งลูกแก้วเป็นพื้นฐานทำให้นั่งสมาธิแล้วเพลีย เลยไปนอนงีบเพื่อให้สมองผ่อนคลาย กำหนดลูกแก้วไปสักพักก็หลับ อยู่ๆ ก็เห็นหลวงป๋าท่านมาหา ภาพของหลวงป๋ามันชัดเจนมาก อาตมาเพ่งมองดูให้แน่ใจว่าใช่หลวงป๋าหรือเปล่าเพราะไม่คิดว่าท่านจะมาหาในตอนกลางวันแบบนี้

    เมื่อเห็นจนแน่ใจว่าเป็นหลวงป๋าแล้วอาตมาก็พยายามที่จะลุกขึ้นเพื่อไปกราบและกอดท่านเมื่อเมื่อตอนที่ท่านยังอยู่ พยายามจะลุกขึ้นมันก็ลุกไม่ได้ ดิ้นรนขลุกขลักจนสะดุ้งตื่นขึ้นมา อ้าวอาตมาฝันไปหรือนี่ ตอนที่เห็นหลวงป๋านั้นมันไม่คิดว่าตัวเองอยู่ในความฝันเพราะภาพมันชัดเจนเหมือนมองด้วยตาเนื้อเลย คิดแล้วก็ดีใจที่หลวงป๋าท่านยังคิดถึงลูกหลาน แต่เสียดายที่ไม่ได้พูดกันสอบถามกันและเข้าไปกราบเท้าท่านเท่านั้น.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...